ถอดบทเรียนแผนงานพลังงานชุมชน

by jitsak @9 พ.ค. 55 16.00 ( IP : 113...48 )
photo  , 638x560 pixel , 154,789 bytes.

แนวคิด
ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน  มีแนวคิดในการดำเนินงาน  ซึ่งได้รับแรงผลักดันจากหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมให้มีการเรียนรู้เพื่อตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต  “พลังงาน สิ่งแวดล้อม และการดำเนินชีวิต” มีความสัมพันธ์กันจนเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ในการดำรงชีวิตประจำวัน ซึ่งวันหนึ่งๆ  ชาวตำบลควนรูได้สิ้นเปลืองงบประมาณในการใช้พลังงานจากไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิงและแก๊สหุงต้ม ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 4,500 บาท ต่อครัวเรือนต่อเดือน  จึงได้นำความรู้และประสบการณ์จากการศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์  โดยการนำวัสดุอุปกรณ์เหลือใช้มาดัดแปลงเพื่อผลิตเตาชีวมวล มาใช้แทนเตาแก๊ส  เชื่อว่าลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้
ตำบลควนรู มีสภาพพื้นที่เชิงชนบทเอื้ออำนวยต่อการนำวัสดุอุปกรณ์เหลือใช้ วัสดุเชื้อเพลิงจำพวก ถ่าน ไม้ฟืน และใบไม้แห้ง  มาใช้ให้เกิดประโยชน์  คณะกรรมการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานมาประยุกต์ใช้ตามภูมิปัญญาท้องถิ่น จนเกิดองค์ความรู้สามารถถ่ายทอดให้กับเยาวชนและผู้มีความสนใจ นำไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและกลุ่มองค์กรได้อีกทางหนึ่ง
กระบวนการเรียนรู้พลังงานชุมชนได้ถูกถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อชุมชนส่งผลให้แหล่งเรียนรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์สามารถเกื้อกูลกันได้อย่างเหมาะสม ด้วยเหตุปัจจัยจากการรวมกลุ่ม  การปรึกษาหารือ การถ่ายทอดภูมิปัญญา จนสามารถนำไปปรับใช้ในแหล่งเรียนรู้ของตนเองได้ ปัจจัยการหนุนเสริมความสำเร็จ ของการรวมกลุ่มพลังงานชุมชน เกิดจากผู้นำได้เล็งเห็นความสำคัญจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการนำความคิดและประสบการณ์ไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในเครือข่ายผู้นำและสภาประชาชน ประกอบกับได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ  พัฒนาชุมชนอำเภอเมืองรัตภูมิ  สำนักงานพลังงานจังหวัดสงขลา ตลอดถึง สำนักงาน สสส.สำนัก 6  ในเรื่ององค์ความรู้และปัจจัยหนุนเสริมการเรียนรู้    ทำให้กลุ่มสามารถสาธิตและถ่ายทอดภูมิปัญญาให้กับผู้มีความสนใจ  ทำให้เกิดเป็นศูนย์รวมของการเรียนรู้พลังงานชุมชนตำบลควนรู


ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน
แผนภาพที่  แนวคิดการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน

เส้นทางการพัฒนา ศูนย์การเรียนรู้พลังงานชุมชน  ได้มีการจุดประกายจากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่พัฒนาชุมชนเมืองรัตภูมิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในภาคความร่วมมือและองค์กรประชาชน  ให้มีการเรียนรู้เพื่อตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นพื้นฐานของการดำเนินชีวิต  โดยน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นแนวทางในการดำเนินงานกิจกรรมเพื่อการเลี้ยงชีพและการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในพื้นที่มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

เมษายน  2554  ได้รับการสนับสนุนจาก พัฒนาชุมชนอำเภอรัตภูมิให้ไปศึกษาดูงานจากศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง บ้านเขากรม จังหวัดกระบี่ โดยคัดเลือกแกนนำชุมชน จำนวน 30 คน ผู้เข้าร่วมศึกษาดูงานมีความรู้เรื่องต่างๆ ดังนี้ 1. การใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
2. การใช้พลังงานทดแทน เตาถ่านชีวมวล  เตาแก๊สชีวภาพ  เตาย่างประหยัดพลังงาน เตาย่างพลังงานแสงอาทิตย์  เตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้
กลุ่มแกนนำผ่านการศึกษาดูงาน  ได้ความรู้ทักษะและประสบการณ์ด้านการใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและเรื่องพลังงานธรรมชาติ พลังงานทดแทน เช่น การใช้เตาถ่านชีวมวลประหยัดพลังงาน ตู้ตากปลา เนื้อ พลังงานแสงอาทิตย์ เตาเผาถ่าน เตาย่างปลาระบบความร้อนสูง กรกฎาคม 2554  นายธีรวิทย์  จันทกูล  ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่  2  ได้สำเสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณ จาก สสส. จำนวน 8 แผนงาน ได้แก่ 1. การเฝ้าระวังภัยทางสังคม 2.สื่อสร้างสุข  3.ภัยธรรมชาติ  4.พลังงานทดแทน 5. ธนาคาขยะ  6. เศรษฐกิจพอเพียง  7. ธนาคารอาหารชุมชน  8. ปลูกผักในบ่อซิเมนต์  พลังงานทดแทนเป็น 1 ใน 8 โครงการที่นำเสนอโดยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2  ณ ที่พักสงฆ์เกาะบกโครงการได้ผ่านการพิจารณา หมู่ที่ 2 ได้รับการอนุมัติ สนับสนุนงบประมาณ จากสำนักงาน สสส.สำนัก 6ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สสส. จำนวน 200,000 บาท (โครงการพลังงานทดแทนได้รับ  30,000บาท) กันยายน  2554  นำเสนอเรื่องพลังงานทดแทนในที่ประชุมหมู่บ้านซึ่งได้ประชุมในวันเสาร์ที่ สองของเดือนซึ่งเป็นการประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน หมู่ที่ 2  ตำบลควนรู ได้นำเรื่องการศึกษาดูงานและการผลิตเตาชีวมวลเพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ครัวเรือนที่มีความสนใจ ในที่ประชุมได้มีการคัดเลือกครัวเรือนอาสาสมัคร มีความพร้อมและต้องการทดลองใช้เตาชีวมวล  ได้รับการตอบรับจำนวน  30 ครัวเรือน นำร่องในการใช้เตาชีวมวล และมีความพร้อมที่จะถ่ายทอดและขยายผล ตุลาคม  2554  ปัญหาหนึ่งซึ่งประสบคือไม่มีช่างที่มีความชำนาญในการผลิตและออกแบบเตาชีวมวลจึงมีการ สรรหาช่างผู้มีความรู้มีความชำนาญในการออกแบบการผลิต ได้ช่างผู้ผลิต คือ นายฉลอง  บุญรัตน์ และ  นายอุกฤษ เจ๊กแช่ม นักเรียนโรงเรียนหลวงประทาน  ได้นำวัสดุเหลือใช้มาผลิตและออกแบบปรับปรุงวิธีการประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับการใช้งาน มีการลองผิดลองถูกอยู่ระยะหนึ่งการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ในการผลิตเตาถ่านชีวมวลซึ่งประกอบด้วย ถังเหล็กในรูปแบบต่างๆของวัสดุเหลือใช้ เช่น ปี๊บ ถังแก๊สปิกนิก, ถังสีทาบ้าน และจานเกียร์รถจักรยาน ท่อเหล็กขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับเกียร์รถจักรยานผลิตและทดลองใช้ประยุกต์จากแบบเดิมที่ไปศึกษาดูงาน ในที่สุดก็ได้ผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญา ในการใช้งานโดยใช้พลังงานความร้อนมีศักยภาพดังนี้ -มีเตาถ่านชีวมวลที่มีศักยภาพในการให้ความร้อนสูง -ไม่สิ้นเปลืองวัสดุพลังงาน(เชื้อเพลิงได้แก่ ถ่าน,ไม้,ใบไม้) -ลดค่าใช้จ่ายในการใช้แก๊สหุงต้มในครัวเรือน -สามารถนำทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้ให้เกิดประโยชน์ที่สุด -สามารถนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ให้เกิดประโยชน์ -ต้นทุนต่ำคุณภาพสูง (แต่ไม่มีการบันทึกวิธีทำรูปแบบที่ชัดเจน ใช้ความชำนาญของช่างเป็นเกณฑ์ในการผลิต) เมษายน  2555  ได้รับการประสานความช่วยเหลือด้านวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตเตาถ่านชีวมวล จากพัฒนาชุมชน จำนวน10 ชุด ได้ทราบข่าวช่วยเหลือจากพัฒนาชุมชน อย่างไม่เป็นทางการ ถึงการตอบรับของการจำนวน 10  ชุดมอบให้ครัวเรือนที่มีความประสงค์จะใช้ในโอกาสต่อไป (ข้อมูล ณ วันที่ 29 เม.ย.55 ยังไม่ได้รับอุปกรณ์ดังกล่าว)

เส้นทางการพัฒนาศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน
แผนภาพที่  เส้นทางการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน

ความเชื่อมโยงทุนทางสังคมของศูนย์การเรียนรู้พลังงานชุมชน

ศูนย์การเรียนรู้พลังงานชุมชน มีการเชื่อมโยงและประสานงานกับกลุ่มบุคคลในระดับแกนนำ และผู้นำที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนกิจกรรมกระบวนการกลุ่มพลังงานชุมชน ให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน กับกลุ่มต่างๆในพื้นที่อย่างเกื้อกูลกันสอดคล้องกับการใช้วิถีชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วยบุคคลต่างๆที่มีบทบาทดังนี้
นายธีรวิทย์  จันทกูล   ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 2  ตำบลควนรู เป็นผู้นำหมู่บ้าน มีบทบาทในการส่งเสริมและผลักดันให้เกิดกลุ่มพลังงานชุมชน  ให้การสนับสนุนการเรียนรู้และประสานภาคีต่างๆเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งได้แก่ การขอสนับสนุนทุนจาก สำนักงาน สสส.สน.6 การประสานความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่อีกด้วย ได้แก่ ศูนย์ประสานงานองค์การชุมชนตำบลควนรู  อีกทั้งให้การสนับสนุนสถานที่รวบรวมวัสดุอุปกรณ์และระบบการเรียนรู้ในเรื่องการใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง และพลังงาน
นายเสรี&nbsp;  จันทกูล&nbsp;  ตำแหน่ง ผู้นำ อช.ประจำตำบลควนรู&nbsp; เป็นแกนนำในระดับตำบล ที่มีบทบาทหน้าที่การทำงานเป็นผู้นำอาสาพัฒนาชุมชน นำนโยบายของหน่วยงานพัฒนาชุมชน มาประสานความร่วมมือสู่การปฏิบัติ ในกลุ่มพลังงาน และคอยประสานขอความร่วมมือขอรับการสนับสนุนงบประมาณต่างจากพัฒนาชุมชน อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ในพื้นที่ได้นำแนวคิดและวิธีการประหยัดพลังงานเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อประจำตำบลควนรู<br />
นายแอบ&nbsp; ขำจิตร&nbsp;  ตำแหน่งประธานกลุ่มพลังงานชุมชน และเป็นคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านหมู่ที่ 2 (ฝ่ายตรวจสอบ)&nbsp; มีบทบาทหน้าที่ในการคิดค้นรูปแบบเตาชีวมวลที่ใช้ถ่าน และไม้ฟืน ให้มีประสิทธิภาพในการใช้งาน คือ&nbsp; ให้ความร้อนสูง ประหยัดเชื้อเพลิง ประยุกต์จากวัสดุเหลือใช้&nbsp; มีความสามารถสาธิตและถ่ายทอดการใช้เตาพลังงานชนิดต่างๆ ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากได้ถ่ายทอดจากความรู้และประสบการณ์ที่ปฏิบัติจริงของตนเอง
พระครูสิริญาณวิมล&nbsp; &nbsp; เป็นพระสงฆ์ผู้ดูแลที่พักสงฆ์เกาะบก&nbsp;  ทำหน้าที่ควบคุมดูแลสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประจำอำเภอรัตภูมิ&nbsp; FM 95.50 / FM101.00 MHz&nbsp;  มีส่วนเกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนรู้พลังงานชุมชน คือ ผู้มีบทบาทหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และให้ความช่วยเหลือในการร่วมบริจาควัสดุอุปกรณ์ในการผลิต ได้แก่ เตาชีวมวล<br />
นายถั่น&nbsp; จุ่นนวล&nbsp; ตำแหน่ง นายกองค์การบริหารส่วนตำควนรู&nbsp; เป็นประธานกลุ่มธนาคารอาหารชุมชน มีส่วนเกี่ยวโยงคือ&nbsp; สนับสนุนให้คำปรึกษาด้านวิชาการและงบประมาณ มีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สร้างความสำคัญของเรื่องพลังงาน&nbsp; ในขณะเดียวกันก็ได้ขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงจากโครงการธนาคารอาหารชุมชน สร้างอาชีพ รายได้ ให้ประชาชนบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ&nbsp; และเตาพลังงานชีวมวลไปใช้ในกิจกรรมโครงการธนาคารอาหารชุมชนอีกด้วย
นายณัฏฐชัย&nbsp; ศรีสุวรรณ&nbsp;  เป็นประธานกลุ่มโคขุน ตำบลควนรู&nbsp; มีบทบาทหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์การเรียนรู้พลังงานชุมชน คือ ได้ประสานความร่วมมือร่วมคิดร่วมทำโดยการนำมูลโค มาเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตแก๊สชีวมวล เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกทักษะประสบการณ์ร่วมกันของกลุ่มพลังงานชุมชนและเผยแพร่สาธิตสู่การปฏิบัติในโอกาสต่อไป

ความเชื่อมโยงทุนทางสังคมของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน
แผนภาพที่    ความเชื่อมโยงทุนทางสังคมของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนกับแหล่งเรียนรู้อื่นในตำบล

ผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการและบทบาทหน้าที่

    ศูนย์การเรียนรู้พลังงานชุมชนตำบลควนรู&nbsp;  ตั้งอยู่ที่&nbsp; 113&nbsp; หมู่ที่&nbsp; 2&nbsp; ตำบลควนรู&nbsp; อำเภอรัตภูมิ&nbsp; จังหวัดสงขลา&nbsp; ปัจจุบันมี นายแอบ&nbsp; ขำจิตร&nbsp;  เป็นประธานศูนย์การเรียนรู้ และมีคณะกรรมการร่วมจำนวน&nbsp; 10 คน (แอบ&nbsp; ขำจิตร, สัมภาษณ์: 29 เมษายน&nbsp; 2555)&nbsp; ศูนย์การเรียนรู้พลังงานชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ในเรื่องพลังงาน โดยนำบริบทของชุมชนมาประยุกต์ใช้ สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญ มีส่วนช่วยในเรื่องการนำทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว เช่น พลังงานทางธรรมชาติ พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานเชื้อเพลิงในท้องถิ่น เศษวัสดุเหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์&nbsp; ทั้งหมดทั้งหลายเหล่านี้ได้รวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ และมีความพร้อมที่จะสามารถสาธิตและถ่ายทอดให้ผู้ที่มีความสนใจได้ บทบาทหน้าที่ของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน สามารถจำแนกได้ดังนี้

1. บทบาทหน้าที่ของศูนย์การเรียนรู้พลังงานชุมชน ศูนย์การเรียนรู้พลังงานชุมชน เป็นสถานที่รวบรวมวัสดุอุปกรณ์เดี่ยวกับการการใช้พลังงานต่างๆ  ดังนี้
1.1 เตาชีวมวล แบบใช้ถ่านและ แบบใช้ไม้ฟืน 1.2 เตาย่างพลังงานความร้อนสูง 1.3 เตาแก๊สชีวภาพ 1.4 เตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้ 1.5 ตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์ อุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้น เป็นตัวอย่างเพื่อการสาธิตทดลองใช้ การถ่ายทอดระบบการใช้งานและการถ่ายทอดความรู้ประสบการณ์จนเกิดองค์ความรู้ในการคิดทดลองเพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่เหมาะกับการใช้งานและสอดคล้องกับบริบทของชุมชน สามารถให้ผู้มีความสนใจได้มาศึกษาเรียนรู้ได้ 2. บทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน 2.1 ฝ่ายส่งเสริมสนับสนุน ได้แก่กลุ่มระดับแกนนำชุมชนและผู้นำชุมชนทั้งผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น มี หน้าที่ให้คำปรึกษาและประสานความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายหรือหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่สามารถเข้ามาหนุนเสริมกลุ่มในด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ เทคนิคการผลิต และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้กลุ่มมีการพัฒนาในด้านวัสดุอุปกรณ์เพื่อการเรียนรู้  พัฒนาบุคลากร พัฒนาแหล่งเรียนรู้
2.2 คณะกรรมการกลุ่ม ได้แก่คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน จำนวน 10 คน  ประกอบด้วย
นายแอบ  ขำจิตร ประธาน  มีหน้าที่กำกับดูแลศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน และร่วมกับสมาชิกกลุ่มในการปฏิบัติงานร่วมกัน ดังนี้ 2.1 ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ประชาชนในพื้นที่และให้เกิดการขยายผลใน ระดับเครือข่ายผู้มีความสนใจได้ 2.2 ประสานความร่วมมือจากแกนนำชุมชนและผู้นำชุมชน เพื่อสนับสนุนกิจกรรม กลุ่มให้เกิดการพัฒนา 2.3 ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมตัดสินใจ ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ด้านพลังงาน และการประยุกต์ใช้เพื่อให้มีความเหมาะสมสมกับบริบทชุมชน
2.4 ดูแลรักษาวัสดุอุปกรณ์เพื่อการสาธิตตลอดถึงอาคารสถานที่ ให้มีความพร้อมต่อการศึกษาเรียนตลอดถึงการซ่อมแซมบำรุงรักษา 2.5 ให้ตระหนักถึงความสำคัญของพลังงานและสิ่งแวดล้อม ในชุมชน และการนำทรัพยากรธรรมชาติและวัสดุอุปกรณ์เหลือใช้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บทบาทหน้าที่ขององค์กรที่เกี่ยวข้อง

ตำบลควนรูมีความชัดเจนเรื่องการบริหารจัดการสร้างการและการมีส่วนร่วมของผู้นำทั้ง ท้องถิ่น  ท้องที่ ภาคประชาชน  และหน่วยงานภาครัฐ  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรูได้ให้ความสำคัญกับการจัดการปัญหาและความต้องการของคนในพื้นที่อย่างบูรณาการกับ  4  ภาคส่วนเป็นหลักซึ่งแต่ละส่วนมีบทบาทช่วยหนุนเสริมดังนี้ -ส่วนท้องถิ่น  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรูและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลควนรูได้ร่วมจัดเวทีประชาคมในพื้นที่ได้มองเห็นปัญหาและความต้องการของชาวบ้าน  และได้นำปัญหา  ความต้องการ  มาจัดทำแผนชุมชน  และนำบรรจุเข้าในข้อบัญญัติขององค์การบริหารส่วนตำบลในแต่ละปีหน้าที่อีกส่วนหนึ่งขององค์การบริหารส่วนตำบลควนรูคือเป็นช่องทางในการประสานงานกับหน่วยงานรัฐและภาคีทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ให้มาหนุนเสริมความรู้และงบประมาณกับกลุ่มต่าง  ๆ  ในพื้นที่ของตำบลทำให้คนในชุมชนได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในหลาย ๆ ด้าน -ส่วนท้องที่  กำนัน  ผู้ใหญ่บ้าน  และผู้นำชุมชน  ได้รวมกลุ่มผู้นำและทำงานภายใต้ศูนย์ประสานงานองค์กรชุมชนตำบลควนรู  ( ศอชต.)  มีหน้าที่ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาให้กับแกนหรือสมาชิกแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ พร้อมกับทำหน้าที่รับฟัง  รวบรวมปัญหาร่วมและร่วมหาแนวทางแก้ไข  หากนอกเหนือความสามารถแกนนำดังกล่าวนำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ ให้เข้ามาช่วยเหลือหรือหนุนเสริมความรู้  งานวิชาการ  งบประมาณ  และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ
-ภาคประชาชน  ทำหน้าที่ให้ความร่วมมือกับกิจกรรมของกลุ่มหรือกิจกรรมของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์พร้อมใช้ภูมิปัญญาที่มีมาปรับใช้ในกิจกรรมของกลุ่มเพื่อให้เข้ากับบริบทหรือความต้องการของคนในท้องถิ่น  พร้อมกันนั้นยังต้องทำหน้าที่ประสานขอความร่วมมือกับแหล่งเรียนรู้อื่นในด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์หรือความรู้แปลกใหม่เพื่อมาพัฒนากิจกรรมของกลุ่มในด้านอื่น -หน่วยงานภาครัฐ
- พัฒนาชุมชน  (พช.)  พาไปศึกษาดูงาน  สนับสนุนงบประมาณ  และหนุนเสริมเรื่องงานวิชาการอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะแนวการทำเศรษฐกิจพอเพียงทั้งในระดับกลุ่มและครัวเรือน - สำนักงานพลังงานจังหวัด  ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องพลังงานและการใช้พลังงานทดแทนพร้อมกับแนะนำเทคนิคการใช้พลังงานให้เข้ากับบริบทของชุมชน - โรงเรียนหลวงประทาน  สนับสนุนเรื่องวิทยากรที่มีความรู้เรื่องช่างมาให้ความรู้เรื่องของการประยุกต์ใช้วัสดุอุปกรณ์มาประดิษฐ์เตาประหยัดพลังงานไว้ใช้ในกลุ่มและครัวเรือน ¬วิธีการจัดการแหล่งเรียนรู้

  1. การจัดการงาน การจัดการงานของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน มีการผลิตวัสดุอุปกรณ์ ทดลองใช้ ประยุกต์ให้ เหมาะสมกับการใช้งานตลอดถึงการเผยแพร่ขยายผล  ด้านงานเดี่ยว ศูนย์ฯ โดยคณะกรรมการกลุ่ม ได้ประชุมและประสานความร่วมมือเพื่อขยายผล /พัฒนาผลิตภัณฑ์/เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ คัดเลือกครัวเรือนขยายผลของการนำไปทดลองใช้ เป็นต้น    ด้วนงานร่วม  อสพน. (อาสาพลังงานชุมชน)ร่วมกับคณะกรรมการร่วมกับพลังงานจังหวัด และเครือข่าย อสพน.ต.คูหาใต้  งานเชื่อม  คณะทำงานแผนพลังงานชุมชนร่วมกับที่พักสงฆ์เกาะบก (แผนงานร่วมสร้างเตาชีวมวลสองหัวเตาไว้เพื่อเป็นที่หุงอาหารในงานผ้าป่าทอดกฐินและงานอื่นๆ  โรงเรียนชุมชนบ้านโคกค่ายมีแผนสร้างสองหัวเตาเพื่อหุงอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียน ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารอาหารชุมชน จะใช้เตาชีวมวลประกอบกิจกรรมภายในศูนยฯ
  2. การจัดการคน คณะกรรมการในการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน จำนวน 10 คน อสพน.10 คน
    และครัวเรือนขยายผล นำร่อง  จำนวน 30 ครัวเรือน  ครัวเรือนผลิตและทดลองใช้เตาชีวมวลจิรง จำนวน 10 ครัวเรือน  ผู้ใช้งานสามารถสาธิตและถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ได้  มีช่างผู้มีความสามารถในการผลิต จำนวน 2 คน และกลุ่มเพื่อนบ้านในพื้นที่มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มีการจัดประชุมและรวมกลุ่มกันในที่ประชุมหมู่บ้านในวันเสาร์ที่สองของทุกเดือน

  3. การจัดการข้อมูล ข้อมูลในการจัดเก็บและวิเคราะห์ได้ถึงค่าใช้จ่ายในครัวเรือนที่ใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำมัน เชื้อเพลิงและแก๊สหุงต้ม ในตำบลควนรู มีการสำรวจโดยให้เยาวชน เป็นผู้จัดเก็บตามแบบสอบถามการใช้พลังงานในแต่ละครัวเรือน ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลวิเคราะห์สาเหตุของการใช้พลังงานอย่างฟุ่มเฟือยและไม่ประหยัดของชุมชน ทำให้ค่าใช้จ่ายในเรื่องดังกล่าวต้องใช้ไปประมาณ  4,500 บาท/ครัว/เดือน และอีกประการหนึ่งคือขอมูลเพื่อการเผยแพร่และขยายผลก็ถูกรวบรวมเพื่อการประชาสัมพันธ์โดยผ่านสื่อต่างๆ

  4. การจัดการทรัพยากร ทรัพยากรเป็นส่วนประกอบสำคัญของการดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ตำบล ควนรู ได้แก่

- โรงเรือนพลังงานชุมชน ได้รับการสนับสนุนที่พักสงฆ์เกาะบก (ไม้บางส่วน)
- งบประมาณ สสส.(สำนักที่ 6)  ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนและถ่ายทอดให้ผู้มีความสนใจได้ศึกษาดูงาน - เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ , เตาย่างพลังงานความร้อนสูง  ได้จัดซื้อมาจาการไป - ศึกษาดูงานมาเป็นต้นแบบเพื่อดัดแปลงประยุกต์จากวัสดุที่มีอยู่ในชุมชนเพื่อลดต้นทุนในการผลิตและขยายผลสู่ครัวเรือนนำร่องหรือแหล่งเรียนรู้อื่น ซึ่งสามารถเป็นสื่อของการถ่ายทอดวิทยาการด้านพลังงาน
- เตาชีวมวล (ชนิดใช้ถ่าน,ใช้ไม้,ใบไม้) เป็นอุปกรณ์ที่ผ่านการดัดแปลงออกแบบ - เพื่อให้ง่ายต่อการผลิตและการนำไปใช้ มีศักยภาพในการให้ความร้อนสูง ใช้เชื้อเพลิงน้อย รูปแบบทำจากวัสดุ - อุปกรณ์เหลือใช้มาประยุกต์ ต้นทุนต่ำ คุณภาพสูงประหยัด - เตาเผาถ่านน้ำส้มควันไม้ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นสื่อถ่ายทอดการเรียนรู้เรื่องพลังงาน - งบประมาณ  ได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สสส.(สำนักงาน 6) บริหารจัดการใน - เรื่องส่งเสริมการเรียนรู้และการขับเคลื่อนกระบวนการกลุ่มเรียนรู้ ความเชื่อมโยงของแหล่งเรียนรู้ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน - ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้  สื่อชุมชน  โดนมีคณะกรรมการแหล่งเรียนรู้บางท่านได้เป็นสมาชิกร่วมจัดรายการกับวิทยุชุมชนคลื่นความถี่  FM.  95.50 /  FM.  101.00  ทำการออกอากาศทางรายการวิทยุชุมชนเรื่องการเรียนรู้ทั้ง  8  ระบบ  และทำการออกอากาศเรื่องการทำพลังงานชุมชนช่วงเวลา  13 – 14  น.  เพื่อให้ผู้ที่รับฟังรายการได้รับทราบความเคลื่อนไหวของกระบวนการและต่อยอดแนวคิดนำไปทำตามทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนได้ - ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้  ศูนย์รักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน      นายเสรีเป็นสมาชิกกลุ่มพลังงานชุมชนได้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการและได้ต่อยอดความคิดให้กับผู้ที่เป็นคณะกรรมการศูนย์รักษาความปลอดภัยและได้ขอรับบริจาควัสดุเหลือใช้มาดัดแปลงทำเตาประหยัดพลังงาน - ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้  เด็กและเยาวชนรักษ์ถิ่น  โดยคณะครูได้นำเด็กและเยาวชนเข้ามาเรียนรู้เรื่องภูมิปัญญาของกลุ่มที่สามารถดัดแปลงวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์เตาประหยัดพลังงาน  เพื่อให้เด็กนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ทำกิจกรรมภายในโรงเรียนและไปปรับใช้ในครัวเรือนโดยถ่ายทอดให้ผู้ปกครองได้นำเอาเตาประหยัดพลังงานไปใช้ในครัวเรือน  ทำให้เกิดการลดรายจ่ายในครัวเรือนได้ - ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้  เครือข่ายผู้นำ  โดยนายธีรวิทย์  จันทกูล  ซึ่งเป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นสมาชิกกลุ่มพลังงานพร้อมทั้งเป็นคณะกรรมการในกลุ่มเครือข่ายผู้นำได้ร่วมขับเคลื่อนกิจกรรมของทั้ง  8  ระบบการเรียนรู้  30  แหล่งเรียนรู้  ทำให้มองเห็นภาพรวมและเกิดความเชื่อมโยงทางความคิดและความร่วมมือ  เช่น  ธนาคารอาหารชุมชนที่นำเตาประหยัดพลังงานไปใช้  ต่อยอดการเรียนรู้ให้กับเด็กนักเรียนในโรงเรียนเรื่องการทำเศรษฐกิจพอเพียงในครัวเรือนได้แก่การเลี้ยงหมูหลุม  การเลี้ยงไก่  การผลิตแก๊สจากมูลวัว  การเผาถ่านทำให้ได้ถ่านและน้ำส้มควันไม้เป็นสารไล่แมลงในการปลูกผักสวนครัวตามนโยบายของ  อบต.  ที่สนับสนุนให้ครัวเรือนปลูกผักสวนครัวไว้ทานเองครัวเรือนละ  10  ต้น  เป็นต้น - ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้  กลุ่มการเลี้ยงโคขุน  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนกับแหล่งเรียนรู้โคขุน  โดยขอมูลวัวเพื่อมาทำเป็นแก็สหุงต้มในครัวเรือนเพื่อมาต่อยอดแนวคิดเรืองการทำกิจกรรมประหยัดพลังงานในครัวเรือนเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนอีกทางหนึ่ง - ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้  ธนาคารอาหารชุมน  คณะกรรมการธนาคารอาหารชุมชนได้นำแนวคิดเรื่องการทำเตาประหยัดพลังงานและแนวคิดเรื่องการทำเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติในกลุ่มของตนเอง  เช่นการนำเศษฟืนในสวนยางมาปรุงอาหารเพื่อประหยัดเรื่องการใช้แก๊สหุงต้ม  การปลูกผักสวนครัวโดยใช้น้ำส้มควันไม้เป็นสารไล่แมลง  ซึ่งได้จากเตาเผาถ่านในรูปแบบของกลุ่มพลังงานชุมชน - ศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนเชื่อมโยงกับแหล่งเรียนรู้  เครือข่ายองค์กรการเงิน  โดยการส่งเสริมให้คณะกรรมการในศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนได้เกิดการออม  นอกจากจะต่อยอดแนวคิดเรื่องการใช้พลังงานชุมชนแล้วต้องส่งเสริมให้เกิดการออมและจัดสวัสดิการเพื่อให้ชุมชนช่วยเหลือชุมชนด้วยกันเอง

ความเชื่อมโยงของแหล่งเรียนรู้ศูนย์พลังงานชุมชนกับแหล่งเรียนรู้อื่น
แผนภาพที่  ความเชื่อมโยงของแหล่งเรียนรู้ศูนย์พลังงานชุมชนกับแหล่งเรียนรู้อื่น

ปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จ การดำเนินงานของศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ภายใต้การนำของ นายแอบ ขำจิตร ประธานกลุ่ม มีปัจจัยเงื่อนไขความสำเร็จดังนี้ 1. ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ภาคประชาชน  เข้ามามีบทบาทหนุนเสริม ในเรื่องที่เกินความสามารถกลุ่ม เช่น การสนับสนุนงบประมาณ เทคนิค วิธีการ  ความรู้เรื่องพลังงานที่มีความเชื่อมโยงการ การวิเคราะห์วิจัยและบันทึกข้อมูลความสำเร็จ ภาคประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในสำนึกรับผิดชอบร่วมกันในเรื่องพลังงานและสิ่งแวดล้อมชุมชน 2. ได้รับการส่งเสริมและให้ความสำคัญของบุคคลในระดับแกนนำและผู้นำชุมชน ได้เล็งเห็น ความสำคัญที่จะพัฒนาชุมชนเพื่อการอยู่ดีกินดี มุ่งเน้นตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3. การสร้างกระบวนการเรียนรู้  การมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันระหว่างตัว บุคคลและกลุ่มเชื่อมโยง สามารถที่จะนำสิ่งหนึ่งจากกลุ่มหนึ่งมาเกื้อกูลกันได้เป็นอย่างลงตัว 4. การฝึกทักษะประสบการณ์  เป็นสิ่งสำคัญทำให้เกิดองค์ความรู้จากการ ผลิตดัดแปลง
ประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและบริบทของชุมชน 5. การจัดการทุน ทั้งกายภาพและทางสังคม  ภายใต้ระบบการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมทำ ให้กลุ่มสามารถที่จะถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการปฏิบัติจริงให้ผู้ศึกษาเรียนรู้ได้ทราบเข้าใจถึงลักษณะงานและกระบวนการเรียนรู้นั้นๆ ได้

Comment #1
วันวิสา คงสงค์ (Not Member)
Posted @10 ส.ค. 55 14.25 ip : 183...176

สุดยอดดดดดดดดดดดดดด