คนสร้างสุข

อัลฟารุกสร้างคน ขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ มุ่งสู่สันติภาพที่ยั่งยืน

รายละเอียดโครงการ
รหัสโครงการ
ชื่อโครงการ อัลฟารุกสร้างคน ขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ มุ่งสู่สันติภาพที่ยั่งยืน
ประเภทโครงการ/ประเด็นงาน ประเด็นที่ 5 งานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และคุณภาพชีวิตประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมเยาวชนอัลฟารุก บ้านกือทอง
วันที่อนุมัติโครงการ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 31 ธันวาคม 2560
งบประมาณโครงการ 249,190.00 บาท
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 150 คน
กลุ่มเป้าหมายหลักในโครงการ

สมาชิกชมรมเยาวชนอัลฟารุกทุกคน จำนวน 45 คน
เด็กนักเรียนตาดีกาทุกคน จำนวน 68 คน
ชาวบ้านในชุมชนบ้านกือทองทุกคน จำนวน 100 คน

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฮัสนาน หะยีเจ๊ะเลีาะ ตำแหน่งประธานชมรมเยาวชนอัลฟารุก บ้านกือทอง
รายชื่อคณะทำงาน ? 1. นายฮิลมาน หะยีเจ๊ะเล๊าะ เบอร์โทร098 016 13722. นายอัมมือลีเปาะเต๊ะ เบอร์โทร061 264 18493. นายนัสรีอาแวบือซา เบอร์โทร065 395 36024. เด็กชายฮากีฟขาเดร์ เบอร์โทร092 927 73325. เด็กชายฮากิมขาเดร์ เบอร์โทร092 927 73326. นายนัสรูอาแวบือซา เบอร์โทร063 767 105
พื้นที่ดำเนินการ บ้านกือทอง หมู่ที่ 5 ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ผู้ดำเนินการติดตามสนับสนุนโครงการ
  • ชมรมเยาวชนอัลฟารุก บ้านกือทองชมรมเยาวชนอัลฟารุก บ้านกือทอง (Owner)  
งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2560 31 ธ.ค. 2560 249,190.00
รวมงบประมาณ 249,190.00

รายละเอียดโครงการ

หลักการและเหตุผล

เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2547 ส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาด้านต่างๆของคนในพื้นที่ อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย เช่น ปัญหาความมั่นคง ปัญหาความขัดแย้งปัญหายาเสพติด เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ทำให้สังคมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ขาดสันติภาพ ขาดโอกาสการพัฒนา สร้างความเดือดร้อน และผลกระทบมากมายต่อชุมชน ชุมชนไม่น่าอยู่ ประชาชนต้องดำเนินชีวิตอยู่บนความหวาดระแวง และไม่เป็นสุขเช่นเดียวกับชุมชนบ้านกือทอง หมู่ที่ 5 ตำบลบองอ อำเภอ ระแงะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นกลุ่มบ้านย่อยออกจากเขตหมู่ที่ 5 มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในพื้นที่อยู่บ่อยครั้ง เคยมีเหตุการณ์ยิงสังหารเสียชีวิตยกครัว 9 ศพ และเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบอื่นๆอย่างต่อเนื่อง เป็นเขตพื้นที่สีแดง ประชาชนในพื้นที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก เกิดความเดือดร้อนและเกิดความหวาดระแวงต่อกัน ขาดความสามัคคี ประชาชนอยู่ไม่เป็นสุข ชุมชนไม่น่าอยู่และมีปัญหาต่างๆมากมาย อาทิ ปัญหาความยากจน ด้อยโอกาส ปัญหาขาดโอกาสทางการศึกษาและปัญหาสำคัญคือปัญหายาเสพติดในกลุ่มเยาวชน ตลอดจนสิ่งสำคัญที่กำหนดการพัฒนาก็คือในเขตชุมชนบ้านกือทองนั้นเป็นกลุ่มบ้านย่อยออกจาก หมู่บ้านหลักของหมู่ที่ 5 คือหมู่บ้านลาไม ซึ่งมีผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.หรือผู้นำชุมชนอื่นๆที่สำคัญอยู่ในหมู่บ้านลาไมทั้งหมด ส่วนชุมชนบ้านกือทองหรือกลุ่มบ้านกือทอง มีผู้นำสูงสุดในพื้นที่เพียงแค่โต๊ะอีหม่าม และ ผรส. เมื่อมีโครงการสำคัญหรือการสนับสนุนงบประมาณด้านต่างๆจากรัฐ ก็จะลงโดยตรงไปที่หมู่บ้านหลักก่อน เช่น โครงการพนม. หรือโครงการพนพ. ทำให้ชุมชนบ้านกือทองขาดโอกาส ขาดการสนับสนุน ขาดการหนุนเสริมสำคัญทั้งในด้านทรัพยากรและงบประมาณ ไม่ค่อยจะมีโครงการใหญ่ๆจากภาครัฐลงดำเนินการอย่างจริงจังในพื้นที่นี้ จึงทำให้การพัฒนาหมู่บ้านล่าช้ามาโดยตลอด และเกิดปัญหาสะสมต่างๆมามากมายที่รอคอยการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ด้วยเหตุผลดังกล่าว จึงกล่าวได้ว่าเป็นที่มาของการรวมกลุ่มของคนในพื้นที่ โดยการรวมตัวกันของกลุ่มเยาวชนในพื้นที่ที่มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด มีความเป็นจิตอาสา และมีจุดยืนเดียวกันคือการเป็นกำลังหลักสำคัญนำการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาสู่ชุมชน โดยการตั้งกลุ่มเยาวชนในชื่อกลุ่มว่าชมรมเยาวชนอัลฟารุก บ้านกือทอง หมู่ที่ 5 ตำบล บองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส โดยเป็นชมรมที่มีภารกิจการดำเนินงาน 4 ด้าน คือการพัฒนาด้านกีฬา ด้านจิตอาสา ด้านจิตวิญญาณและด้านปัญญา ซึ่งในภารกิจทั้ง 4 ด้านเป็นภารกิจในการขับเคลื่อนชมรมฯ โดยมีแนวคิดสำคัญคือ หนึ่งกระบวนการสร้างคน คือการสร้างคนเป็นคนดี มีคุณธรรมและปลูกฝังจิตสำนึกที่ดี และมีจิตสาธารณะ เห็นประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ประการที่สอง คือการสร้างกลไกหรือรูปแบบของการจัดการชุมชน โดยมีเยาวชนเป็นตัวเคลื่อนสำคัญ ภายใต้การมีส่วนร่วมของประชาชนทุกคนและจุดมุ่งหมายในการเห็นชุมชนบ้านเกิดมีการพัฒนาจึงต้องมาร่วมกันกำหนดเป้าหมายของชุมชน มาร่วมกันกำหนดวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมาย สร้างกติการ่วมกันและกำหนดแนวทางการจัดการชุมชนด้วยตัวเอง และประการสุดท้ายคือการร่วมพัฒนาและการพึ่งตนเองอย่างมั่นคงยั่งยืน กล่าวคือเมื่อมีคนดี มีการบริหารจัดการที่ดี ผลลัพธ์สุดท้ายก็คือการร่วมมือกันในการเดินหน้าตามรูปแบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่ความยั่งยืนของการพัฒนา นั่นคือการที่สามารถเป็นชุมชนที่มีการพึ่งตนเองได้อย่างแท้จริงอีกทั้งจากภารกิจดังกล่าวได้นำไปสู่การกำหนดแผนงานยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ชัดเจนของชุมชนบ้านกือทองทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยมุ่งหวังในการสร้างยุทธศาสตร์และวาระของชุมชนที่ทุกคนในชุมชนจะต้องร่วมมือกันทำให้สำเร็จ เกิดผลเป็นรูปธรรม คือ “บ้านกือทองน่าอยู่”โดยมีเป้าหมายตามนิยามของชุมชนน่าอยู่ใน 3 ประเด็น คือ หนึ่ง ต้องเป็นชุมชนที่ปลอดยาเสพติด มีระบบการเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงที่เข้มงวดไม่ให้เยาวชนยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด มีการรณรงค์สร้างกระแสที่ต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ด้านการปราศจากสิ่งไม่ดีในชุมชนสอง ต้องเป็นชุมชนที่มีการจัดการเรื่องขยะ เป็นชุมชนที่สามารถเป็นต้นแบบด้านความสะอาด และสร้างการบริหารจัดการขยะเป็นทุนในการสร้างกิจกรรมดีๆในพื้นที่ ซึ่งเป็นผลลัพธ์ความน่าอยู่ของชุมชนในด้านสิ่งแวดล้อม และสาม คือการดูแลผู้ป่วย ผู้พิการและคนยากจนที่อาศัยหลักการดูแลแบบไม่ทอดทิ้งกัน ช่วยเหลือกันอย่างเต็มที่ จะเป็นผลลัพธ์ด้านกระบวนการช่วยเหลือ เกื้อกูล ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่งดงามของชุมชนที่พึงมี ทั้ง 3 นิยาม “บ้านกือทองน่าอยู่” นี้เป็นยุทธศาสตร์ที่จะดำเนินการอย่างเต็มที่ เข้มงวดและเข้มข้นเพื่อบรรลุเป้าหมาย ทั้งนี้ชมรมคาดหวังอย่างยิ่งที่จะเป็นพลังเยาวชนสำคัญในการสร้างสรรค์กิจกรรมการพัฒนาในชุมชน สร้างโอกาสการพัฒนาเป็นเยาวชนต้นแบบที่รักบ้านเกิด และมีจิตวิญญาณของความเป็นจิตอาสาเป็นตัวแปรสำคัญในการแก้ไขปัญหาต่างๆในพื้นที่สามจัดหวัดชายแดนภาคใต้ สร้างชุมชนน่าอยู่และนำสันติภาพสู่สังคมจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างยั่งยืน
ดังนั้น ชมรมเยาวชนอัลฟารุก บ้านกือทอง หมู่ที่ 5 ตำบลบองอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการจัดทำโครงการ อัลฟารุกสร้างคนขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ มุ่งสู่สันติภาพที่ยั่งยืน เพื่อตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาต่างๆในพื้นที่ จุดประกาย และสร้างกลไกการพึ่งตนเองของชุมชน สร้างชุมชนน่าอยู่ตามแผนงานยุทธศาสตร์ระยะยาวของชมรมและสอดคล้องแผนปฏิบัติการการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถของเยาวชน ให้มีความพร้อมในการเป็นกำลัง สำคัญของการพัฒนาชุมชน
  2. เพื่อปลูกฝังและพัฒนาศักยภาพเด็กนักเรียนในพื้นที่ ให้เป็นเด็กนักเรียนที่ดี มีคุณธรรม ตลอดจน ปลูกฝังการมีจิตสาธารณะและการเห็นประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
  3. เพื่อพัฒนาศักยภาพชาวบ้านและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาตามยุทธศาสตร์และ วาระของชุมชน “บ้านกือทองน่าอยู่”
  4. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีของคนในชุมชน ส่งเสริมกิจกรรมที่สร้างความรักความสามัคคี สร้าง ความไว้วางใจ และลดความหวาดระแวงต่อกัน หันมาร่วมกันพัฒนาชุมชน

การดำเนินงาน/กิจกรรม

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
1 ก.ย. 60 - 31 ธ.ค. 60 กิจกรรมค่าเดินทางประสานงาน 15 3,000.00 3,000.00 more_vert
1 ก.ย. 60 - 31 ธ.ค. 60 อุปกรณ์สำนักงาน 15 4,265.00 4,265.00 more_vert
25 ก.ย. 60 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 1 15 2,500.00 2,500.00 more_vert
26 ก.ย. 60 กิจกรรมการประชาคม 100 4,100.00 4,100.00 more_vert
28 - 30 ก.ย. 60 กิจกรรมการพัฒนาศักยภาพเยาวชน 45 37,800.00 37,800.00 more_vert
1 - 2 ต.ค. 60 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพชาวบ้าน 100 44,400.00 44,400.00 more_vert
3 ต.ค. 60 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2 15 2,500.00 2,500.00 more_vert
7 - 8 ต.ค. 60 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพเด็กนักเรียน ตาดีกา 76 39,600.00 39,600.00 more_vert
14 พ.ย. 60 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 15 2,500.00 2,500.00 more_vert
18 พ.ย. 60 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 15 2,500.00 2,500.00 more_vert
19 พ.ย. 60 กิจกรรมสัมพันธ์ชุมชน 150 98,950.00 98,950.00 more_vert
16 ธ.ค. 60 กิจกรรมสรุปถอดบทเรียน 100 3,500.00 3,500.00 more_vert
17 ธ.ค. 60 กิจกรรมสรุป และจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน 15 3,575.00 3,575.00 more_vert
14 ก.ค. 61 การอบรมบันทึกข้อมูล โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 (งบ 50 ล้าน) 111 0.00 0.00 more_vert
รวม 787 249,190.00 14 249,190.00

ไฟล์เอกสาร

ลำดับวันที่ส่งเอกสารชื่อเอกสารผู้ส่ง  
1 14 ก.ค. 2561 ไฟล์เอกสารอื่น ๆ (.docx) ชมรมเยาวชนอัลฟารุก บ้านกือทอง ดาวน์โหลด

โครงการเข้าสู่ระบบโดย เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 น.