คนสร้างสุข

ศึกษาออกแบบศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น "ฮัจยีสุหลง"

รายละเอียดโครงการ
รหัสโครงการ
ชื่อโครงการ ศึกษาออกแบบศูนย์การเรียนรู้ท้องถิ่น "ฮัจยีสุหลง"
ประเภทโครงการ/ประเด็นงาน ประเด็นที่ 4 งานการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มูลนิธิอาจารย์ฮัจยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา
วันที่อนุมัติโครงการ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 ธันวาคม 2561 -
งบประมาณโครงการ 250,000.00 บาท
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 1000 คน
กลุ่มเป้าหมายหลักในโครงการ

ด้วยมูลนิธิอาจารย์ฮัจยีสุหลงฯ ต้องการที่จะให้สถานที่นี้เป็นพื้นที่กลาง เป็นที่เรียนรู้ของประชาชนทั่วไปและผู้ที่สนใจในเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อปัจจุบันและการดำเนินงานในแนวทางสันติวิธี ขณะเดียวกัน ในปัจจุบันก็มีผู้คนหลากหลายสาขาอาชีพ เช่น นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ ผู้ทำวิจัย ภาคประชาสังคม สถาบันพระปกเกล้าฯ ทหาร รวมถึงประชาชนทั่วไปเดินทางมาเยี่ยมบ้านฯ และฟังการบรรยายอยู่บ่อยครั้ง กลุ่มเป้าหมายจึงเป็นประชาชนทั่วไป นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และภาคประชาสังคม ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มีความสนใจศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้
ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการนี้ก็ได้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ระบุไว้ข้างต้น ที่สามารถมาเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อปัจจุบัน และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต โดยใช้องค์ความรู้เพื่อดำเนินไปในแนวทางสันติวิธี

ผู้รับผิดชอบโครงการ มูลนิธิอาจารย์ฮัจยีสุหลง อับดุลกอเดร์ โต๊ะมีนา
รายชื่อคณะทำงาน ? นักเรียน, นักศึกษา, นักวิชาการ
พื้นที่ดำเนินการ การดำเนินการตามกิจกรรมของโครงการ ใช้สถานที่ดังนี้คือ ๕.๑ ห้องประชุมของบริษัทปัตตานีขนส่ง จำกัด ใช้ในกิจกรรม ประชุมเตรียมการและเปิดตัวโครงการ การรื้อค้น/จัดหมวดหมู่เอกสารเก่า และเก็บรักษาเอกสาร วิเคราะห์เอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับฮัจยีสุหลงฯ โ
ผู้ดำเนินการติดตามสนับสนุนโครงการ
  • มูลนิธิอาจารย์ฮัจยีสุหลง อับดุลกอเดร์โต๊ะมีนามูลนิธิอาจารย์ฮัจยีสุหลง อับดุลกอเดร์โต๊ะมีนา (Owner)  
งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 17 ก.ย. 2560 31 มี.ค. 2561 25,000.00
รวมงบประมาณ 25,000.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (25,000.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (250,000.00 บาท)

รายละเอียดโครงการ

หลักการและเหตุผล

๑. หลักการและเหตุผล
โครงการศึกษาออกแบบ ศูนย์การเรียนรู้ฯ ซึ่งดำเนินการโดยมูลนิธิอาจารย์ฮัจยีสุหลงฯ มีเป้าหมายในการออกแบบแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการคลี่คลายสถานการณ์ความไม่สงบ รวมทั้งบรรจุเรื่องราวชีวิตและผลงานของ “ฮัจยีสุหลง” รวมถึงการแสดงเอกสารและผลงานที่สำคัญๆ ของฮัจยีสุหลงฯ ณ บริเวณบ้านพักอาศัยของฮัจยีสุหลงเมื่อครั้งยังมีชีวิต ซึ่งมูลนิธิฯได้รับการสนับสนุนจาก ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ในการปรับปรุงซ่อมแซมตัวบ้าน ในปี ๒๕๕๘ ซึ่งแล้วเสร็จภายในปี ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา แต่ยังขาดการสนับสนุนในการจัดการเอกสารเพื่อการเรียนรู้และจัดรูปแบบของแหล่งเรียนรู้ให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากติดขัดข้อจำกัดทางด้านงบประมาณในขณะนั้น เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย มูลนิธิฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการออกแบบศูนย์การเรียนรู้ฯ ผ่านการศึกษาเรื่องราวของฮัจยีสุหลง ทั้งข้อมูลในเชิงวิชาการ การมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างรอบด้านและครอบคลุม รวมทั้งการทำให้บ้านของฮัจยีสุหลงมีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้คนตระหนักถึงการใช้ความรู้และสันติวิธี เพราะเรื่องราวของฮัจยีสุหลงได้กลายเป็นเรื่องราวของสาธารณะเมื่อฮัจยีสุหลงตัดสินใจยื่นข้อเสนอเพื่อการเปลี่ยนแปลง ๗ ข้อต่อรัฐบาลไทยเมื่อปี ๒๔๙๐ และถูกบังคับสูญหายหลังจากนั้น การเป็นบุคคลสาธารณะของฮัจยีสุหลงฯ ทำให้มูลนิธิอาจารย์ฮัจยีสุหลงฯ ตระหนักได้ว่าการกระทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับฮัจยีสุหลงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมจากทุกฝ่าย รวมถึงตระหนักอย่างรอบด้านและมีหลักการเหตุผลที่ยอมรับได้อย่างเพียงพอ เหตุผลอีกประการหนึ่งในการที่ต้องมีการจัดการวางแผนหรือออกแบบศูนย์การเรียนรู้แห่งนี้ เนื่องจาก มูลนิธิฮัจยีสุหลงฯ ได้ค้นพบเอกสารสำคัญต่างๆ หลายชิ้นของฮัจยีสุหลงฯ ในปี ๒๕๕๙ ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารปฐมภูมิ มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์อย่างยิ่ง เช่นเอกสารที่เขียนด้วยลายมือของฮัจยีสุหลงฯ ในเรื่องการร่างระเบียบการก่อตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี แม่พิมพ์ปฏิทินละหมาดที่ใช้ได้ตลอดชีวิต ที่ฮัจยีสุหลงฯได้คำนวณไว้ รวมถึงจดหมายขณะถูกคุมขังที่เรือนจำบางขวาง รูปถ่าย ตำราเรียนและบันทึกต่างๆ เป็นต้น

วัตถุประสงค์

๒. วัตถุประสงค์
๒.๑ออกแบบบ้านฮัจยีสุหลงให้เป็นแหล่งความรู้/เรียนรู้ ในเชิงสันติวิธี และประวัติศาสตร์การเมืองที่ตระหนักถึงสภาพความเป็นจริงและคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของผู้คนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ๒.๒เพื่อศึกษาและบันทึกบริบททางการเมืองและผู้คนที่ร่วมสมัยในช่วงที่ฮัจยีสุหลงยังมีชีวิต ๒.๓ เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนใช้ความรู้เพื่อเป็นฐานในการขับเคลื่อนสันติภาพและสังคมที่ใช้เหตุผล ใช้สันติวิธี และส่งเสริมให้เกิดการใช้ประโยชน์ของศูนย์การเรียนรู้ฮัจยีสุหลงอย่างเต็มประสิทธิภาพ ๒.๔ เพื่อจัดเวทีวิชาการในการนำเสนองานวิชาการและ/หรือบรรยายให้ความรู้แก่ผู้มาเยี่ยมชมในแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์ การเมือง สังคม วัฒนธรรม ของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และการทำงานของฮัจยีสุหลงฯ ในแนวทางสันติวิธี โดยผ่านมุมมองที่หลากหลาย

การดำเนินงาน/กิจกรรม

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
15 ก.ค. 60 - 17 ม.ค. 61 ครั้งที่ ๑ การจัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อจำแนกหมวดหมู่เอกสาร ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษามลายูท้องถิ่นและภาษาอารบิค ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์สังคม การเมืองและวัฒนธรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ผู้สร้างสรรค์กิจกรรมทางสังคมในพื้นที่สามจังหวั 100 83,300.00 0.00 more_vert
15 ก.ค. 61 อบรมกิจกรรม.บัญทึกข้อมูล. 120 0.00 - more_vert
15 ก.ค. 61 บัญทึกข้อมูลรายละเอียดโครงการ.บัณทึกข้อมูลกิจกรรม.บัยทึกข้อมูลองค์กร 120 0.00 - more_vert
รวม 340 83,300.00 1 0.00

โครงการเข้าสู่ระบบโดย เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 น.