แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย สสส. ระดับกลุ่มพื้นที่ภาคใต้

รหัสโครงการ 59-01612 เลขที่ข้อตกลง 59-00-2386

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2560 ถึง 31 ตุลาคม 2561

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2559 ถึงเดือน มีนาคม 2560

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงาน วันที่ 3 พฤศจิกายน 2559

วันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานหลักสูตร นำโดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ได้อธิบายถึงความเป็นมาของการจัดทำหลักสูตรว่า สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ (สภส)จึงมุ่งเน้นการพัฒนากลไกกลางที่เอื้อต่อการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพภาคี สสส. (Capacity Building)เพื่อเสริมสร้างทักษะความรู้ สมรรถนะ และความสามารถที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานมาแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดเกิดการเชื่อมต่อความรู้ ขยายผลต่อยอดให้เกิดประโยชน์และเกิดประสิทธิผลในการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพทั้งในระดับชุมชน ท้องถิ่น องค์กร และนโยบาย ทั้งในภาคีเครือข่ายเองหรือข้ามภาคีเครือข่าย สามารถขับเคลื่อนงานทางสังคมและสร้างพลังเครือข่ายได้อย่างยั่งยืน และมีกระบวนการพัฒนาทักษะให้แก่ภาคีเครือข่าย สสส. และนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานให้บรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้จนนำไปสู่สังคมสุขภาวะโดย มีโจทย์ว่า ออกแบบอย่างไรให้กลุ่มเป้าหมายมาแล้วได้ในสิ่งทีต้องการ และActive Learning เสริมสิ่งที่เค้าทำอยู่แล้วให้ดีมากยิ่งขึ้น มีกระบวนการ คือ
1) พัฒนากระบวนการ ออกแบบ หลักสูตร 7 หลักสูตร
2) แบ่งหน้าที่การดำเนินงานในแต่ละหลักสูตรให้ อาจารย์แต่ละท่านรับผิดชอบออกแบบกระบวนการดังนี้ 1.Health promotion theory and methodology ดร.เพ็ญ สุขมาก 2.Leadership and Management skill in Health promotion ดร.ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา 3.Network and Partnership management ดร.กุลทัติ หงส์ชยางกูร 4.Project management in Health promotion ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 5.Social communication in Health promotion ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 6.Knowledge management in Health promotion ดร.จีรเนาว์ ทัศศรี ,ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา ,คุณวัลภา ฐาน์กาญจน์ ,คุณอุรพิณ หนุนอนันต์ 7.Sustainable managementดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ 3) ประชาสัมพันธ์เพื่อรับสมัคร
คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจากแต่ละสำนักจาก สสส.เลือกแกนนำ 4 เครือข่ายหลัก ปัจจัยเสี่ยง อาหาร ทรัพยากร ชุมชนนาอยู่ และบุคลากรทั่วไปที่สนใจ เช่น สายสุขภาพ มหาวิทยาลัย ฯลฯ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะกรรมการของโครงการหลักสูตร ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559  สถานที่ ห้องประชุม 1405 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานหลักสูตร

 

6 0

2. ประชุมคณะทำงานหลักสูตร วันที่ 11พฤศจิกายน 2559

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมคณะทำงานหลักสูตร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-คณะทำงานนัดปรึกษาหารือ เรื่อง outline ของแต่ละหลักสูตรที่อาจารย์แต่ละท่านรับผิดชอบ โดยมี concept คือ หยิบงานเดิมมาปัดฝุ่น ทบทวน ให้ดีขึ้น และให้ทราบว่าสิ่งที่ทำอยู่ได้ความรู้อะไรบ้าง

-หลักสูตรต้องพัฒนาศักยภาพของคนโดย ให้ความรู้ ให้ทักษะ ให้คู่มือ ให้เครื่องมือ ที่สามารถนำกลับไปใช้ต่อในพื้นที่ได้

-วางแผนว่าต้องมีการติดตามงานในพื้นที่ โดยที่กลุ่มเป้าหมายนำความรู้ที่ได้ไป นำไปใช้อย่างไร วางแนวทาง ให้ทีมนำเสนอให้เห็น

-ทีมเข้าร่วมต้องเป็นแกนนำเครือข่าย รวมไปถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการดำเนินงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานหลักสูตร ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2559  สถานที่ ห้องประชุม 1405สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานนัดปรึกษาหารือ เรื่อง outline ของแต่ละหลักสูตรที่อาจารย์แต่ละท่านรับผิดชอบ

  • photo

 

7 10

3. ประชุมคณะทำงานหลักสูตร วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมเตรียมงานอบรมหลักสูตร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานงานหลักสูตร ปรึกษาหารือ ในเรื่องรายละเอียดการสอนในแต่ละหลักสูตรและช่วงเวลาในการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ 1. Health promotion theory and methodology
ดร.เพ็ญ สุขมาก และ Project management in Health promotion ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ระหว่างวันที่ 23-27 มกราคม 60 - การสอนแบบ Lecture ให้น้อย
-ใช้สื่อ case study มาร่วมคุยแลกเปลี่ยน/วิเคราะห์ -ใช้เกมส์ เป็นสื่อในการสอน - key note อ.สุเมธ/อ.สุปรีดา

2.Leadership and Management skill in Health promotion
ดร.ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา และ Network and Partnership management ดร.กุลทัติ หงส์ชยางกูร ระยะเวลา : เดือนพฤษภาคม 2560 -ใช้รูปแบบ ศึกษาวิเคราะห์จากวีดีโอ -ออกแบบเครือข่ายการสร้างผู้นำในชุมชน -Game
-มีเอกสารคู่มือ

3.Knowledge management in Health promotion ดร.จีรเนาว์ ทัศศรี ,ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา ,คุณวัลภา ฐาน์กาญจน์ ,คุณอุรพิณ หนุนอนันต์ ระยะเวลา : เดือนมีนาคม 2560 -นำทีม KM คณะแพทย์ร่วมออกแบบหลักสูตร และเป็นวิทยากรกระบวนการ
-ดูวีดีโอ ความรู้เบื้องต้น การจัดการความรู้ -สอนกระบวนการถอดบทเรียน โดยนำโครงการของทีมมาประยุกต์

4.Sustainable managementและ Social communication in Health promotion ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
-key note คุณสุพัฒนุช สอนดำริห์ สสส. หมายเหตุ จะจัดให้มีกิจกรรมกรรมก่อนการอบรม 1 วัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงาน  ดูเนื้อหาหลักสูตรพัฒนาศักยภาพ สสส. (รายละเอียดคู่มือ) วันที่ 21 พฤศจิกายน 2559  สถานที่ ห้องประชุม 1405สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่
จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมเตรียมความพร้อมของแต่ละหลักสูตร

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

7 0

4. ประชุมคณะทำงานหลักสูตร วันที่ 7 ธันวาคม 2559

วันที่ 7 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมคณะทำงานเพื่อปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เนื้อหา • แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก (Mega Trend)

• และทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG)

• ระบบสร้างเสริมสุขภาวะในระดับสากล และในประเทศไทย

• บทบาทองค์กร การสร้างเสริมสุขภาวะในระดับสากล ระดับชาติ และระดับพื้นที่

• การสร้างแบบจำลองทางสุขภาวะเพื่อการตอบโจทย์สุขภาวะในบริบทของตนเอง

• การสร้างแบบจำลองและกระบวนการผลักดันนโยบายสาธารณะ

• การสร้างชุมชนเข้มแข็ง

• การสร้างแรงบันดาลใจของนักจัดการสุขภาพ

• การวิเคราะห์สถานการณ์ สร้างฉากทัศน์ วางภาพอนาคต วางจุดหมาย

• วางเป้าประสงค์ และตัวชี้วัดที่สำคัญ

• การวิเคราะห์และสร้างสรรค์ยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุจุดหมาย เขียนโครงการสร้างกิจกรรมตามแผนที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์

• 10.การบริหารจัดการโครงการให้บรรลุผลสำเร็จ ทั้งการจัดหาปัจจัยนำเข้า การจัดกระบวนการการได้ผลผลิต ผลลัพธ์ และสร้างผลกระทบเชิงบวก วางระบบการติดตาม และการประเมินผลโครงการเพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงพัฒนา

หลักสูตรการจัดการความรู้

เนื้อหา

• การจัดการความรู้เพื่อมุ่งสู่ความสำเร็จในการทำงานสุขภาวะ

• กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) ในการจัดการความรู้

• พลัง และประโยชน์จากการนำความรู้/บทเรียนไปใช้

• หลักการ รูปแบบ วิธีการ และเทคนิคการสกัดความรู้ (ถอดบทเรียน)

• กระบวนการกลุ่มกับการจัดการความรู้

ผู้นำและการบริหารเครือข่ายด้านสุขภาวะ

เนื้อหา

• การนำตนเอง การนำผู้อื่น การนำองค์กร การนำสังคม การบริหารจัดการองค์กร ในการทำงานด้านสุขภาวะในพื้นที่

• การวิเคราะห์เปรียบเทียบ หน่วยงาน องค์กรที่ใช้แนวทางการบริหารด้านสุขภาวะ ในยุคของการเปลี่ยนแปลง

• แนวคิดของเครือข่ายและการบริหารเครือข่าย

• การวินิจฉัยความเข้มแข็ง ความต้องการของเครือข่าย

• ทักษะและกระบวนการสร้างเครือข่ายเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะ

• การสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของเครือข่าย

ครั้งที่ 4 การสื่อสารและการบริหารจัดการความยั่งยืน

เนื้อหา

• การสื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

• การสื่อสารเพื่อการผลักดันนโยบายและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเชิงนโยบาย

• กลยุทธ์การสื่อสารดิจิตอลเพื่อส่งเสริมสังคมสุขภาวะ

• เทคนิคและเครื่องมือเพื่อการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์งานสุขภาวะ

• การสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์และคุณค่าองค์กรและเครือข่าย

• ความยั่งยืนในมิติเศรษฐกิจระดับบน และเศรษฐกิจชุมชน

• ความยั่งยืนในมิติการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

• ความยั่งยืนในมิติของกระบวนการการจัดการนโยบายสาธารณะ

• ความยั่งยืนในมิติการเงินการงบประมาณ เทคนิคการขอทุนจากแหล่งทุนทั้งใน และต่างประเทศ หลักการสำคัญ คือ เนื้อหาส่วนใหญ่จะใช้กระบวนการกลุ่ม การ Lecture จะน้อยที่สุด ให้ผู้เข้าร่วมได้มีส่วนร่วมวิเคราะห์ มากทีสุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุม 1405สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

-

  • photo
  • photo

 

10 10

5. ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นหลักสูตรพัฒนาศักยภาพ สสส.วันที่ 20 ธันวาคม 2559

วันที่ 20 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นหลักสูตรพัฒนาศักยภาพ สสส.

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 45 คน ประกอบด้วยภาคีเครือข่าย ทั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในโครงการ/แผนงาน และเจ้าหน้าที่ สสส. โดยมี ผศ.ดร.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สจรส. มอ. กล่าวความเป็นมาและชี้แจงรายละเอียดโครงการฯ  โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายสสส. และเครือข่ายสร้างสริมสุขภาพในพื้นที่ที่ทำงานเกี่ยวกับสร้างเสริมสุขภาพ มาออกแบบและพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน  โดยมีการแบ่งกลุ่มวิพากษ์หลักสูตร 7 หลักสูตร แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1) หลักการและแนวคิดการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ และการบริหารโครงการสุขภาวะ
โดยมีดร.เพ็ญ สุขมาก เป็นคนนำวิพากษ์ 2) การสื่อสารเพื่อส่งเสริมสังคมสุขาภาวะและการบริหารจัดการความยั่งยืน โดยมีผศ.ดร.พงษ์เทพ สุธีรวุฒิ เป็นคนนำวิพากษ์ 3) การจัดการความรู้ โดยมี รศ.ดร.จีรเนาว์ ทัดศรี และดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา เป็นคนนำวิพากษ์ 4) ผู้นำและการบริหารในงานด้านสุขภาวะและการสร้างและการบริหารเครือข่าย โดยมี ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร และดร.ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา โดยสรุปจาก แนวคิดการทำหลักสูตร 1. หลักสูตรต้องมีความเป็นพลวัตร สามารถปรับเปลี่ยนไปตามคนที่เข้ามาร่วมโครงการได้ 2. หลักสูตรจะดึงศักยภาพ ความสามารถผู้เข้าร่วมแต่ละคนออกมาเพื่อแลกเปลี่ยน 3. การเรียนรู้ พัฒนาศักยภาพในมิติที่จำเป็น 4. พัฒนาศักยภาพความรู้ความเข้าใจครอบคลุม 5. กระบวนการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม แบ่งปันความรู้อย่างเป็นธรรมชาติ มีการสอดแทรกเทคนิควิธีการต่างๆ การประเมินหลักสูตร
1. งานที่เครือข่ายทำนำมาพัฒนาเพิ่มให้ดีขึ้น ยกระดับงานปฏิบัติการในพื้นที่องเขา ความสามารถทำงานเชิงนโยบาย พัฒนาเชิงระบบ สร้างนวัตกรรม
2.การขยายต่อในพื้นที่ ได้เอาชุดความรู้ที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันไปใช้ทำให้เกิดการพัฒนาขีดความสามารถในพื้นที่ต่อไป 3. เครือข่ายที่เข้ามาต้องเข้าใจระบบสุขภาพ สามารถออกแบบระบบหรือวิธีการทำงานของตัวเองได้ สามารถกำหนดและออกแบบวิธีการนโยบายสาธารณะ มีภาวะผู้นำ มีความสามารถในการจัดการเครือข่าย เข้าใจหลักคิดการขับเคลื่อนชุมชนไปสู่ชุมชนเข้มแข็งได้ สามารถเข้าใจการบริหารจัดการโครงการ สื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลง จัดการความรู้และนวัตกรรมได้ การแลกเปลี่ยนหลักสูตร 1. หลักสูตรไม่ควรเป็นการสอนย่างเดียว แต่ต้องเป็นการจูนกัน เป็นหลักที่ผู้จัดอยากเห็น คนเข้าร่วมอยากเห็น ต้องสร้างวิธีการนี้ร่วมกัน
2. หลักสูตรต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงตัวตน กระบวนการคิด ไปสู่การแก้ไข
3. กระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ เป็นกระบวนการแผนงาน และเป็นการผลักดันเชิงนโยบาย 4. ความหลากหลายต้องการขับเคลื่อนประเด็นพัฒนาสุขภาวะ 5. คนที่เข้าเรียนต้องเรียนในพื้นที่จริง 6. การสร้างพลังภายในมาสู่ภายนอก 7. ทำยังไงเรียนแล้วนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วันที่ 20 ธันวาคม 2560สถานที่ ห้องประชุม 1401 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

-

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

45 40

6. ประชุมคณะทำงานหลักสูตร เพื่อปรับรูปแบบเนื้อหา วันที่ 27 ธันวาคม 2559

วันที่ 27 ธันวาคม 2559 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปรับเนื้อหาหลักสูตร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานหลักสูตรพัฒนาศักยภาพได้ประชุมร่วมกันเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะใช้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ โดยมีประเด็นเรื่อง
-การกำหนด Key Note Speaker ในแต่ละหลักสูตร เพื่อดึงดูดความสนใจ เพิ่มแรงบัลดาลใจ ให้แก่ผู้เข้าร่วม ไม่อยากให้เป็นการรูปแบบการบรรยายแนวราบ เพราะว่าหลักสูตรเชื่อว่าผู้เรียนมีศักยภาพ มีประสบการณ์และพร้อมที่จะแบ่งปันกับผู้อื่น หลักสูตร Key Note Speaker การจัดการความรู้ KM คุณ สุทธิพงศ์ ธรรมวุฒิ (ทีวีบูรพา) ดร.จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ (ผู้ก่อตั้ง GoToKnow) หลักการและแนวคิดการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ และการบริหารโครงการสุขภาวะ ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ (สสส) นพ.พลเดช ปิ่นประทีป (สช.) ผู้นำและการบริหารเครือข่ายด้านสุขภาวะ อาจารย์วิวัฒน์ ศัลยกำธร (มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ) การสื่อสารและการบริหารจัดการความยั่งยืน ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ (บ.อริยชน) รศ.ดร.วิลาสินี อดุลยานนท์ (Thai PBS) คุณ สุพัฒนุช สอนดำริห์(ฝ่ายสื่อสาร สสส) ผู้แทนธนาคารพัฒนาเอเชีย )ADB) -การทบทวน และกำหนดการดำเนินงาน คณะทำงานหลักสูตรฯ มีความเห็นว่า ควรมีการลงพื้นที่เพื่อติดตามงาน ครั้งที่ 1 ในเดือนเมษายน เพราะอยากทราบถึงผลสัมฤทธิ์ในการเรียนว่าผู้เข้าร่วมเรียนรู้ ได้นำไปปรับใช้ในงานที่ดำเนินการหรือไม่ อย่างไร และเพื่อปรับรูปแบบกระบวนการออกแบบหลักสูตรของคณะทำงานด้วย และเพื่อประโยชน์ในการจัดการอบรมในรุ่นที่ 2
-กำหนดแผนการประเมินหลักสูตร รุ่นที่ 1 ในเดือนสิงหาคม 2560 -กำหนดแผนประเมินติดตามประเมินผล รุ่นที่ 1 ในเดือนพฤศจิกายน 2560

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ดำเนินการปรับปรุงเนื้อหาหลักสูตร วันที่ 27 ธันวาคม 2559 สถานที่ ห้องประชุม สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
ชั้น 14มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 7 ธันวาคม 2559 สถานที่ ห้องประชุม 1405สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา โดยคณะทำงานร่วมกันวางแผนเรื่อง เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร หลักสูตรการบริหารโครงการ และการสร้างเสริมสุขภาวะ

  • photo

 

7 5

7. ประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตรฯ วันที่ 4 มกราคม 2560

วันที่ 4 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้ร่วมกันปรับรูปแบบใบสมัคร เพื่อทราบข้อมูลเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมเรียนรู้ทั้งข้อมูลทั่วไป ลักษณะงานที่ดำเนินการในพื้นที่ และความคาดหวังต่อการเข้าร่วมในหลักสูตรนี้ ซึ่งจะทำให้ทำให้ผู้จัดรู้จักผู้เข้าร่วมเรียนรู้มากขึ้น
คณะทำงานได้ร่วมกันออกแบบแผ่นพับประชาสัมพันธ์หลักสูตร โดยจะไม่ใช้คำว่าการอบรม แต่จะเปลี่ยนเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  รายละเอียดแผ่นพับประชาสัมพันธ์ ตามเอกสารไฟล์ที่แนบมาด้วยแล้ว กลุ่มเป้าหมาย ที่นอกเหนือจากภาคี สสส. คือ - สำนักงานสาธารณสุข 14 จังหวัดภาคใต้ - องค์การบริหารส่วนจังหวัด 14 จังหวัดภาคใต้ - เครือข่าย สช. - เครือข่ายมหาวิทยาลัย - สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ 14 จังหวัดภาคใต้ สปสช.เขต 11  และ เขต 12

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วันที่ 4 มกราคม 2560 สถานที่ ห้องประชุม สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 10 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตรฯ ประสานงานรับสมัครภาคีเครือข่าย สสส.พื้นที่ ภาคใต้ รุ่นที่ 2

 

6 8

8. ประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตรฯ วันที่ 11 มกราคม 60

วันที่ 11 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามงานออกแบบหลักสูตร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง


      การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมผู้เข้าร่วมเรียนรู้  : วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 19.00 – 21.00 น. จะเตรียมความพร้อมของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมเรียนรู้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงรายละเอียด ข้อกำหนด เงื่อนไข ข้อตกลงร่วม ในการเข้าร่วมกิจกรรมตลอดหลักสูตร  และเพื่อให้กลุ่มผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานของตนเอง กับผู้เข้าร่วมท่านอื่น และจัดกระบวนการให้ผู้เข้าร่วมและทีมคณะทำงานได้ทำความรู้จักกันด้วย โดยใช้สถานที่ที่โรงแรมที่พักของผู้เข้าร่วม       กระบวนการที่จะใช้ : เทคนิค time line / การรู้จักตน (Self-awareness) การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจน การรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง โดยให้  ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ เกริ่นภาพรวมของหลักสูตร แล้วในส่วนกระบวนนั้น  ดร.ปรัชญานันท์ เที่ยงจรรยา และทีม จะเป็นคนออกแบบเพิ่มเติม โดย จะให้ทีม ที่เคยผ่านประสบการณ์ทางด้านนี้มาแล้ว เช่น คุณไมตรี จงไกรจักร ,คุณกัลยา เอี่ยวสกุล คุณอานนท์ มีศรี เพราะจะทำให้ทราบว่ากระบวนการแบบไหนควรจะเป็นไปในทิศทางที่พอจะเหมาะสมกับผู้ร่วม การออกแบบ และวางแผนงาน หลักสูตร การจัดการความรู้ คณะทำงานหลักสูตร การจัดการความรู้ (Knowledge management in Health promotion) อันประกอบไปด้วย รศ.ดร.จีรเนาว์ ทัศศรี ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา อ.วัลภา ฐาน์กาญจน์ ได้ร่วมออกแบบหลักสูตรทั้ง 3 ไว้ ในกรอบการทำงานคร่าวๆดังนี้ วันที่ 1 (22 กุมภาพันธ์ 2560)
ช่วงเช้า
- แนวคิดชุดการเรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้ (15 นาที อ.พงศ์เทพ) - แนวคิดและพื้นฐานเรื่องการจัดการความรู้  (คุณอุรพิณ หนุนอนันต์) - การจัดการความรู้: เรียนรู้ความเป็นจริงแห่งชีวิตจากงาน (คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ) ช่วงบ่าย - กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm): การจัดการความรู้: ตัวอย่างการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้หรือองค์ความรู้  (อุรพิณ หนุนอนันต์) - ความคิดรวบยอดของการจัดการความรู้ หัวข้อการเรียนรู้ (อุรพิณ หนุนอนันต์)

วันที่ 2 (23 กุมภาพันธ์ 2560) ช่วงเช้า - แนวคิดการจัดการ tacit knowledge
- กระบวนการ การจัดเก็บ  และการถ่ายทอดองค์ความรู้ (ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์) ช่วงบ่าย - กระบวนการเรียนรู้ : หลักการพื้นฐานของการถอดบทเรียน เทคนิคการถอดบทเรียน - แบ่งกลุ่มปฏิบัติการถอดบทเรียน: ประเมินผลการดำเนินงาน
- แบ่งกลุ่มปฏิบัติการถอดบทเรียน : การวิเคราะห์เงื่อนไขปัจจัยต่อความสำเร็จของกิจกรรม
- แบ่งกลุ่มปฏิบัติการถอดบทเรียน : บทเรียนและข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับคุณภาพงานในระยะต่อไป
(ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และคณะ) วันที่ 3 (24 กุมภาพันธ์ 2560) ช่วงเช้า - การค้นหาข้อมูลความรู้  การค้นหาความรู้ในการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ เพื่อให้ทราบว่าถ้าต้องการจะขับเคลื่อนงานตัวเองนั้นต้องการความรู้อะไรและ จากที่ไหนบ้าง
(รศ.ดร.จีรเนาว์ ทัศศรีทีมอาจารย์ หลักสูตร) ช่วงบ่าย - การเลือกใช้ (จัดการ) ข้อมูลเชิงสุขภาวะ เพื่อสนับสนุนโครงการสุขภาวะ 1. ฝึกปฏิบัติ: การออกแบบกระบวนการกลุ่ม และการฝึกใช้เทคนิคต่าง ๆ 2. นำเสนอผลการประชุมกลุ่ม ผู้รับผิดชอบ: ผศ. ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ  ,รศ. ดร. จีรเนาว์ ทัศศรี หมายเหตุ : ในแต่ละหัวข้อการเรียนรู้ จะมีกิจกรรม ฝึกปฏิบัติ และใบงาน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้ทำร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วันที่ 11 มกราคม 2560 สถานที่ ห้องประชุม สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่  จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

กลุ่มเป้าหมายที่ร่วมเรียนรู้ตามหลักสูตร คณะทำงานกล่าวถึงกลุ่มที่จะเข้าร่วมเรียนรู้ตามหลักสูตร แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ
1.กลุ่มเป้าหมายหลักคือภาคีเครือข่าย สสส.
2.กลุ่มบุคคลที่สนใจทั่วไป
3.กลุ่มนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา การสนับสนุนค่าใช้จ่ายกลุ่มเป้าหมาย
1.กลุ่มเป้าหมายที่ เป็นภาคีหลักของ สสส.และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด  ทางโครงการ สนับสนุนค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซี่งในรุ่นที่ 1 จำนวน 60  คน
2.กลุ่มเป้าหมาย ภาคีเครือข่าย สสส.ที่สนใจ เข้าร่วมบางหลักสูตร ต้องจ่ายค่าเดินทาง  และค่าที่พักเอง  โครงการสนับสนุน ค่าอาหาร เอกสาร
3.กลุ่มประชาชนผู้สนใจทั่วไป เก็บค่าลงทะเบียน เป็นค่าเอกสาร ค่าอาหารกลางวัน/อาหารเย็น (บางวัน) ค่าใช้จ่ายในการศึกษาดูงานในพื้นที่  คิดอัตราหลักสูตรละ 3,000 บาท  กรณีที่สมัครเข้าร่วมทุกหลักสูตร คิดในอัตรา 10,000 บาท ต่อคน ไม่รวมค่าที่พัก และค่าเดินทาง ข้าราชการ สามารถเบิกจ่ายได้ตามระเบียบกระทรวงการคลัง
การเปลี่ยนแปลงช่วงเวลาประชุมเชิงปฏิบัติการ
เนื่องจากเกิดสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้เกือบทั้ง 14 จังหวัด ทำให้ภาคีเครือข่ายอาจมีความไม่สะดวกในการเข้าร่วมในช่วงเดือนเดือน มกราคม 2560  คณะทำงานหลักสูตรจึงมีความเห็นร่วมกันว่าขอให้เลื่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งที่  1 ในเดือนมกราคมออกไปก่อน ซึ่งช่วงเวลาที่ได้เปลี่ยนแปลง ดังตารางต่อไปนี้ ครั้งที่ 1 การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการจัดการความรู้ วันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2560
ครั้งที่ 2 การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ และการบริหารโครงการสุขภาวะ
วันที่ 27-30 มีนาคม 2560
ครั้งที่ 3 การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องผู้นำและบริหารเครือข่ายด้านสุขภาวะ วันที่ 22-24 พฤษภาคม 2560
ครั้งที่ 4 การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสื่อสารและการบริหารจัดการความยั่งยืน
วันที่ 17-19 กรกฎาคม 2560

 

9 10

9. ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการ งวดที่ 1

วันที่ 16 มกราคม 2560 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการ แก่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ชำระค่าธรรมเนียมบริการวิชาการ

 

0 0

10. เข้าร่วมประชุมอบรมหลักสูตรเครือข่ายที่ กทม. 23-24 มกราคม 2560

วันที่ 24 มกราคม 2560 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เรียนรู้การรายงานความก้าวหน้าของโครงการบนเว็บไซต์ DOL ของสสส. 

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

อบรมการใช้เว็บไซต์ DOL ของสสส. ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการรายงานความก้าวหน้าของโครงการ ส่งรายงานในแต่ละงวด และเผยแพร่ข้อมูลของโครงการบนเว็บ DOL

 

2 0

11. ประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตรฯ วันที่ 24 มกราคม 2560

วันที่ 24 มกราคม 2560 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตร

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานหลักสูตรการจัดการความรู้ ร่วมกันออกแบบ กระบวนการ กำหนดการ ในการประชุมวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 60 ดังต่อไปนี้ วันที่ (เวลา) เนื้อหา วิทยากร/ผู้รับผิดชอบ 22 กุมภาพันธ์ 2560 09.00-09.15 น. แนะนำหลักสูตร: การจัดการความรู้ ผศ.ดร.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ

09.15-10.00 น. แนวคิดและพื้นฐานเรื่องการจัดการความรู้ คุณอุรพิณ หนุนอนันต์ และคณะ

10.30-12.00 น. การจัดการความรู้: เรียนรู้ความเป็นจริงแห่งชีวิตจากงาน คุณสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ 13.00-14.30 น.

กระบวนทัศน์ใหม่ (new paradigm) การจัดการความรู้: ตัวอย่างการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้หรือองค์ความรู้ คุณอุรพิณ หนุนอนันต์ และคณะ

15.00-16.00 น. ความคิดรวบยอดของการจัดการความรู้ คุณอุรพิณ หนุนอนันต์ และคณะ 23 กุมภาพันธ์ 2560 09.00-12 .00 น. Online Technology เพื่อการจัดการความรู้ ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์ 13.00 -16.00 น กระบวนการเรียนรู้ : หลักการพื้นฐานของการถอดบทเรียน และเทคนิคการถอดบทเรียน ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และคณะ 24 กุมภาพันธ์ 2560 09.00-10 .00 น. ถอดบทเรียน และข้อเสนอแนะจากการทำกิจกรรมกลุ่ม ผศ.ดร.จุฑารัตน์ สถิรปัญญา และคณะ 10.30-12.00 น. การเลือกใช้ (จัดการ) ข้อมูลเชิงสุขภาวะ เพื่อสนับสนุนโครงการสุขภาวะ ผศ. ดร. พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และคณะ

13.00-15.00 น. นำเสนอผลการเลือกใช้ (จัดการ) ข้อมูลเชิงสุขภาวะ เพื่อสนับสนุนโครงการสุขภาวะ รศ. ดร. จีรเนาว์ ทัศศรี และคณะ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วันที่ 24 มกราคม 2560 สถานที่ ห้องประชุม 1405 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานหลักสูตรการจัดการความรู้ ร่วมกันออกแบบ กระบวนการ กำหนดการ ในการประชุมวันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2560

  • photo
  • photo

 

5 8

12. ประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตรฯ (เตรียมความพร้อมการจัดการความรู้) วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตรฯ (เตรียมความพร้อมการจัดการความรู้) 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานหลักสูตรร่วมกันสรุปจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมในหลักสูตรการจัดการความรู้ มีจำนวนประมาณ 65 คน จาก 20 เครือข่าย และมีเครือข่ายนักศึกษาปริญญาโทสาขาการจัดการระบบสุขภาพ จำนวน 17 คน รวมทั้งสิ้น 82 คน ร่วมออกแบบใบงาน รายละเอียดดังนี้ แนวคิดและพื้นฐานเรื่องการจัดการความรู้ ใบงานที่ 1: กิจกรรมของการจัดการความรู้ 1.แบ่งกลุ่ม
2.แต่ละกลุ่มเขียนกิจกรรมที่ทำมาแล้วที่คิดว่าเกี่ยวข้องกับ กระบวนการการจัดการความรู้ (KM) ลงในกระดาษ post it แล้วนำไปสิ่งที่เขียนใน post it นั้น ไปติดลงบนต้นไม้แห่งความรู้ การจัดการความรู้: เรียนรู้ความเป็นจริงแห่งชีวิตจากงาน

ใบงานที่ 2: หลังจากฟังประเด็น “การจัดการความรู้: เรียนรู้ความเป็นจริงแห่งชีวิตจากงาน” ขอให้บันทึกในประเด็นดังต่อไปนี้ 1.ความรู้ใหม่ที่ได้รับ 2.ประเด็นที่จะนำไปใช้ในอนาคต Online Technology เพื่อการจัดการความรู้

ใบงานที่ 3: หลังจากฟังประเด็น “ออนไลน์เทคโนโลยีเพื่อการจัดการความรู้” ขอให้บันทึกในประเด็นดังต่อไปนี้1.ความรู้ใหม่ที่ได้รับ 2.ประเด็นที่จะนำไปใช้ในอนาคต กระบวนการเรียนรู้ : หลักการพื้นฐานของการถอดบทเรียน และเทคนิคการถอดบทเรียน

ใบงานที่ 4: ให้เลือกกิจกรรมที่แต่ละกลุ่มเห็นว่ามีความสำคัญ เพื่อนำมาใช้เป็นกรณีศึกษาในการถอดบทเรียน โดยควรมีลักษณะดังนี้: (1) เป็นกิจกรรมที่ดำเนินการเสร็จสิ้นในระยะเวลาที่ผ่านมา และเห็นผลลัพธ์จากการดำเนินงานแล้ว และ (2) เป็นกิจกรรมที่สมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่รู้จักและเข้าใจกระบวนการทั้งหมด หลังจากนั้นตอบคำถามดังต่อไปนี้

คำถามที่ 1 วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลที่เกิดขึ้นจริงของกิจกรรมนี้คือ อะไร
(ให้เวลา 30 นาที)

คำถามที่ 2 บอกเหตุผลว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น (เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างผลที่คาดหวังกับผลที่เกิดขึ้นจริงว่าเกิดจากเงื่อนไขปัจจัยใดบ้าง ทั้งนี้ควรวิเคราะห์เงือนไขปัจจัยให้ครอบคลุมทุกระยะตั้งแต่เริ่ม ระหว่าง และเมื่อสิ้นสุดการทำกิจกรรม พร้อมระบุรายละเอียดที่เป็นทั้งปัจจัยภายใน และภายนอกโครงการ)(ให้เวลา 60 นาที)

คำถามที่ 3 หากต้องการกิจกรรมนี้ในครั้งต่อไปให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น มีข้อเสนอแนะอย่างไรบ้าง (ข้อเสนอแนะควรอยู่บนเงื่อนไขปัจจัยข้อ 2 โดยมีความชัด และเป็นรูปธรรม)
(ให้เวลา 60 นาที) -ออกแบบเนื้อหาคู่มือ การจัดการความรู้

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานออกแบบหลักสูตรฯ (เตรียมความพร้อมการจัดการความรู้) สำหรับรุ่นที่ 2 วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 สถานที่ ห้องประชุมชั้น 10 สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

  • photo

 

10 8

13. ประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรฯ (การจัดการความรู้) รุ่นที่ 1 วันที่ 22-24 ก.พ. 2560

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรฯ (การจัดการความรู้) 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

หลักสูตรการจัดการความรู้ ทำให้ภาคีมีเข้าใจและมีทักษะด้านการทำกระบวนการจัดการความรู้ สร้างวัฒนธรรมในการเรียนรู้ บันทึก และถ่ายทอดความรู้ มีเครื่องมือการถอดบทเรียน ถ่ายทอดองค์ความรู้ หาข้อสรุปและสร้างองค์ความรู้ใหม่
ผู้เข้าร่วม จำนวน 100 คน อันประกอบไปด้วย 1.จากเครือข่ายภาคีนักสร้างเสริมสุขภาพ 20 เครือข่าย จำนวน 62 คน  ได้แก่ เครือข่ายชุมชนน่าอยู่ เครือข่ายปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ เครือข่ายปัจจัยเสี่ยงยาเสพติด เครือข่ายปัจจัยเสี่ยงผู้หญิง เครือข่ายการท่องเที่ยว เครือข่ายเยียวยาชายแดนใต้ เครือข่ายชาวเล เครือข่ายสุขภาวะในสถาบันอาชีวะ เครือข่ายอาหาร เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายสื่อ อาจารย์มหาวิทยาลัย และ 2.คณะทำงาน ทีม สจรส.มอ. ทีมวิทยากร และ สสส. จำนวน 21 คน 3.นักศึกษาปริญญาโท จำนวน 17  คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่าย เรื่อง การจัดการความรู้ 

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 22-24 กุมภาพันธ์ 2560 สถานที่สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

80 120

14. จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์หลักสูตร

วันที่ 1 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตรรับสมัครผู้เข้าร่วมอบรมรุ่นที่ 1

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แผ่นพับ 200 ชุด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ออกแบบและจัดทำแผนพับทั้งหมด 200 ชุด

กิจกรรมที่ทำจริง

  • ออกแบบเนื้อหาประชาสัมพันธ์
  • ออกแบบรูปแบบแผ่นพับ
  • ส่งตีพิพม์
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

100 0

15. ประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ และการบริหารจัดการโครงการสุขภาวะ

วันที่ 8 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ และการบริหารจัดการโครงการสุขภาวะ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานหลักสูตรร่วมประชุมปรึกษาหารือ ออกแบบกระบวนการในวันที่ 27-30 มีนาคม 60 ดังนี้ ช่วงเช้า ดร.สุปรีดา บรรยาย วิวัฒนาการทางการแพทย์ การบริการสุขภาพ และการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ไปสู่การพัฒนาแนวคิดการสร้างเสริมสุขภาวะ  หลังจากนั้นเปิดเวทีซักถาม พูดคุยแลกเปลี่ยนกับภาคีเครือข่าย ดำเนินการเวทีโดย ดร.เพ็ญ สุขมาก และคุณอานนท์ มีศรี ช่วงบ่าย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป บรรยาย กระบวนการนโยบาย  4P-W เครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนฐานแห่งปัญญา -สมัชชาสุขภาพ -ธรรมนูญสุขภาพ  -การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ร่วมกับคุณจารึก ไชยรักษ์ หลังจากนั้นเปิดเวทีซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภาคีเครือข่าย
ดำเนินการโดย คุณฐิติชญา บุญโสม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

วันที่ 8  มีนาคม 2560 สถานที่สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 10 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

กิจกรรมที่ทำจริง

-

 

6 6

16. ประชุมคณะทำงานเตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ และการบริหารจัดการโครงการสุขภาวะ วันที่ 17 มีนาคม 2560

วันที่ 17 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อเตรียมการประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะ และการบริหารจัดการโครงการสุขภาวะ 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานหลักสูตร และเจ้าหน้าที่ร่วมประชุมเพื่อจัดเตรียมความพร้อม เรื่อง เอกสารสำหรับการประชุม -หนังสือติดตามประเมินผล คู่มือการบริหารจัดการโครงการ คู่มือการสร้างเสริมสุขภาพ คู่มือชุมชนน่าอยู่
-การเตรียมประกาศนียบัตรเพื่อให้ ดร.สุปรีดา ลงนาม เพื่อแจกภาคีที่เช้าร่วมหลักสูตร -นิทรรศการ ติดต่อ เชภาดร เครือข่ายท่องเที่ยว และ ทีม ชันชีนาทร จ.สตูล - CD ข้อมูล ซึ่งมีข้อมูล โปรแกรม mind map และไฟล์หนังสือคู่มือ ของ ดร.เพ็ญ และ ดร.พงค์เทพ -การเตรียมสื่อออนไลน์ผ่านเว็บ หน้าเว็บไซต์ควรมีเอกสารหลักสูตร ที่ใช้ในการประชุมเชิงปฏิบัติ หรือเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมด -รูปแบบการจัดห้องประชุม -การรับส่งวิทยากร ทีมเสริม จาก สจรส. เพื่อช่วยดูแลประจำกลุ่ม สอนการใช้งาน mind map

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

-

กิจกรรมที่ทำจริง

-

 

10 0

17. การประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรฯ (การสร้างเสริมสุขภาวะและการบริหารโครงการสุขภาวะ) รุ่นที่ 1

วันที่ 27 มีนาคม 2560 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรฯ (การสร้างเสริมสุขภาวะและการบริหารโครงการสุขภาวะ) 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

หลักสูตรการสร้างเสริมสังคมสุขภาวะและการบริหารโครงการสุขภาวะทำให้ภาคีมีเข้าใจและมีทักษะด้านการออกแบบระบบสร้างเสริมสุขภาพทั้งระดับพื้นที่และประเด็นขับเคลื่อนชุมชน เข้าใจและมีทักษะด้านเครื่องมือกระบวนการนโยบายสาธารณะทางสุขภาพ ใช้เครื่องมือธรรมนูญสุขภาพ สมัชชาสุขภาพ และการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ มีความเข้าใจและทักษะด้านการบริหารจัดการโครงการ วางจุดหมาย สร้างยุทธศาสตร์ ออกแบบวิธีดำเนินงาน และติดตามประเมินผล ผู้เข้าร่วม จำนวน 95 คน อันประกอบไปด้วย 1.เครือข่ายภาคีนักสร้างเสริมสุขภาพ 16 เครือข่าย จำนวน 50 คนได้แก่ เครือข่ายชุมชนน่าอยู่ เครือข่ายปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ เครือข่ายปัจจัยเสี่ยงผู้หญิง เครือข่ายการท่องเที่ยว เครือข่ายเยียวยาชายแดนใต้ เครือข่ายชาวเล เครือข่ายสุขภาวะในสถาบันอาชีวะ เครือข่ายอาหาร เครือข่ายเยาวชน เครือข่ายสื่อ อาจารย์มหาวิทยาลัย
2.คณะทำงาน ทีม สจรส.มอ. ทีมวิทยากร สช.และ สสส. จำนวน 28 คน 3.นักศึกษาปริญญาโท จำนวน17 คน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมเชิงปฏิบัติการ

กิจกรรมที่ทำจริง

วันที่ 27-30 มีนาคม 2560 สถานที่สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ชั้น 14 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

80 80

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 40 17                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 5,000,000.00 1,043,259.00                  
คุณภาพกิจกรรม 68 54                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. ประชุมคณะทำงานเพื่อเตรียมลงพื้นที่ จัดประสบการการเรียนรู้ 26 เมษายน 2560 ( 26 เม.ย. 2560 )
  2. การเข้าร่วมประชุมหลักสูตร DOL วันที่ 2 พฤษภาคม 2560 ที่ สสส. ( 2 พ.ค. 2560 )
  3. ลงพื้นที่ติดตามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่าย ครั้งที่ 1 ( 8 พ.ค. 2560 - 11 พ.ค. 2560 )
  4. ประชุมคณะทำงานเตรียมหลักสูตรผู้นำและการบริหารเครือข่าย รุ่นที่ 1 วันที่ 19 พฤษภาคม 2560 ( 19 พ.ค. 2560 )
  5. ประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรผู้นำและการบริหารจัดการเครือข่าย รุ่นที่ 1 วันที่ 22-24 พฤษภาคม 2560 ( 22 พ.ค. 2560 - 24 พ.ค. 2560 )
  6. ประชุมคณะทำงานออกแบบกระบวนการประชุมหลักสูตรสื่อสารและความยั่งยืน รุ่นที่ 1 วันที่ 16 มิถุนายน 2560 ( 16 มิ.ย. 2560 )
  7. ค่าธรรมเนียมบริการวิชาการ งวดที่ 2 ( 20 มิ.ย. 2560 )
  8. ประชุมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสื่่อสารและการบริหารจัดการความยั่งยืน รุ่นที่ 1 วันที่ 17-19 กรกฎาคม 2560 ( 17 ก.ค. 2560 - 19 ก.ค. 2560 )
  9. ประชุมคณะทำงานเตรียมหลักสูตรสื่อสารและความยั่งยืน วันที่ 17 กรกฏาคม 2560 ( 17 ก.ค. 2560 )

(................................)
ดร.เพ็ญ สุขมาก
ผู้รับผิดชอบโครงการ