คนสร้างสุข

directions_run

รายงานกิจกรรม สำหรับพี่เลี้ยงโครงการ PA จังหวัดสตูล

assignment
บันทึกกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงในการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผล29 มกราคม 2561
29
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย อนัญญา แสะหลี
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. โดยนางกัลยทรรศน์  ติ้งหวัง กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและชี้แจงวัตถุประสงค์การดำเนินงานกิจกรรมในครั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงให้สามารถพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผลกองทุนได้ และพี่เลี้ยงมีความรู้ความเข้าใจสามารถใช้โปรแกรมในการพัฒนาโครงการและการติดตามโครงการออนไลย์ได้ ซึ่งการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ซึ่งต้องเขียนโครงการให้เงินเหลือไม่เกิน 10%  ซึ่งปัญหาหลักๆตอนนี้คือ 1. กลุ่มองค์กรชาวบ้านไม่กล้าเขียนโครงการเนื่องจากกองทุนเข้มในเรื่องของการอนุมัติโครงการ 2. ไม่มีโครงการที่แนะนำเรื่องการเขียนโครงการ ของหน่วยงาน 3. ปัญหาการแทรกแซงของนักการเมืองท้องถิ่น คุณลิขิต : กระบวนการในการพิจารณาโครงการแต่ละกองทุน อย่าให้โครงการเป็นการพิจารณาของคนคนเดียวให้มีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกลองแผนงานโครงการ และคณะกรรมการต้องมีความหลากหลายมีความชำนาญเฉพาะด้าน คุณกัลยทรรศน์ : ในการพิจารณาโครงการของตนเองจะให้ทุกโครงการซึ่งเป็นโครงการเดิมๆในฐานะกรรมการต้องมีการปรับเพื่อให้โครงการแตกต่างไปจากเดิมมีการต่อยอด และในการทำงานทำแบบเดิมได้แต่อาจเปลี่ยนเป้าหมาย การดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 กรรมการของทุนต้องรู้อะไรบ้างจำนวน 5 ข้อ 1. ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ? 2. สนับสนุนงบประมาณให้หน่วยงานไหนได้บ้าง? 3. สนับสนุนงบประมาณเรื่องใดได้บ้าง? 4. สนับสนุนได้เท่าไหร่ อย่างไร? 5. หน้าที่อื่นต้องทำอะไรบ้าง? ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๗ ข้อ ๑ ให้ยกเลิกประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. ๒๕๕๒ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒ ข้อ ๒ “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น” หมายความว่า องค์การบริหารส่วนตำบล ตามกฎหมายว่าด้วยสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาล หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่นที่มีกฎหมายจัดตั้ง ที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ “กองทุนหลักประกันสุขภาพ” หมายความว่า กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต “การจัดบริการสาธารณสุข” หมายความว่า การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ตามที่คณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานกำหนด “สถานบริการ” หมายความว่า สถานบริการสาธารณสุขของรัฐ ของเอกชน และของสภากาชาดไทย หน่วยบริการการประกอบโรคศิลปะสาขาต่างๆและสถานบริการสาธารณสุขอื่นที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดเพิ่มเติม “หน่วยบริการ” หมายความว่า สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
“หน่วยงานสาธารณสุข” หมายความว่า หน่วยงานที่มีภารกิจด้านการสาธารณสุขโดยตรง แต่มิได้เป็นสถานบริการหรือหน่วยงาน เช่น สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ส่วนสาธารณสุข เป็นต้น “หน่วยงานอื่น” หมายความว่า หน่วยงานที่มิได้มีภารกิจด้านการสาธารณสุขโดยตรง แต่อาจดำเนินกิจกรรมด้านส่งเสริมสุขภาพหรือการป้องกันโรคได้ในขอบเขตหนึ่ง เช่น โรงเรียน สถาบันการศึกษา วัด เป็นต้น “กลุ่มหรือองค์ประชาชน” หมายความว่า องค์กร ชุมชน องค์กรเอกชน หรือภาคเอกชน ที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่มชมรม สมาคม มูลนิธิ หรือองค์กรที่เรียกชื่ออื่นตั้งแต่ ๕ คนขึ้นไป ซึ่งเป็นการรวมตัวกันดำเนินกิจกรรมโดยมีวัตถุประสงค์ไม่แสวงหาผลกำไร ทั้งนี้จะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้ “ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” หมายความว่า ผู้สูงอายุหรือบุคคลอื่นๆที่มีคะแนนประเมินความสามรถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีแอล (Barthel ADL index) เท่ากับ หรือน้อยกว่า ๑๑ คะแนนซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ กลุ่ม และมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขตามชุดสิทธิประโยชน์ในเอกสารแนบท้าย “การบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” หมายความว่าการบริการตามชุดสิทธิประโยชน์ในเอกสารแนบท้าย ที่เป็นการให้บริการ ณ ครัวเรือน หรือที่ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือที่หน่วยบริการ หรือที่สถานบริการที่ให้บริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงโดยบุคลากรสาธารณสุขหรือผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ “ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน” หมายความว่าศูนย์พัฒนาและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการ หรือศูนย์ที่มีชื่ออย่างอื่นตามข้อ 7 (3) ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือที่คณะอนุกรรมการตามข้อ ๘/๑ เห็นชอบ “ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” (Care giver) หมายความว่า บุคคลที่ผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง หรือคณะอนุกรรมการอื่นภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสำนักงานหลักประกันสุขภาพเห็นชอบ คำนิยามเพิ่มเติม การสร้างเสริมสุขภาพ หมายความว่า การใดๆที่มุ่งกระทำเพื่อสร้างเสริมให้บุคคลมีสุขภาวะทางกาย จิต และสังคมโดยสนับสนุนพฤติกรรมของบุคคล สภาพสังคม และสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปสู่การมีร่างกายที่แข็งแรงสภาพจิตที่สมบูรณ์ อายุยืนยาวและคุณภาพชีวิตที่ดี (พระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. ๒๕๔๔ การป้องกันโรค หมายความว่า การกระทำหรืองดกระทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคและการป้องกันไม่ให้กลับเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากการเจ็บป่วยหรือเป็นโรคแล้วสามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ระดับ คือ การป้องกันก่อนการเกิดโรคหรือก่อนการเจ็บป่วย การป้องกันโรคในระยะที่เกิดโรคหรือเจ็บป่วยขึ้นแล้ว และการป้องกันฟื้นฟูสภาพเมื่อหายจากการเจ็บป่วยแล้ว (ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๒) การฟื้นฟูสมรรถภาพที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต หมายความว่า การเสริมสร้าง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาความบกพร่องของร่างกายและจิตใจ ที่ยังไม่มีหรือสูญเสียไปให้เกิดมีขึ้น ให้สามารถเรียนรู้ปฏิบัติงาน และดำรงชีวิตในสังคมได้ เช่น ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชให้สามารถพัฒนาศักยภาพความสามรถช่วยเหลือตนเองและพึ่งตนเองได้มากที่สุด การรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิ หมายความว่า การจัดบริการระดับปฐมภูมิเชิงรุกในชุมชนเป็นโครงการพิเศษนอกเหนือจากการจัดบริการปกติของหน่วยบริการ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่เข้าถึงบริการมากขึ้นและต้องไม่ซ้ำซ้อนกับงานของหน่วยบริการปฐมภูมิปกติโดยกองทุนควรส่งเสริมประชาชน ๕ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้พิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ ให้สามารถพึ่งตนเองในการดูแลสุขภาพและเข้าถึงการบริการอย่างต่อเนื่องทั่วถึงและเท่าเทียม ข้อ ๓ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ (๑) มีความประสงค์เข้าร่วมบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ (๒) มีการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในพื้นที่มาก่อนแล้ว และมีการจัดทำแผนและดำเนินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยการมีส่วนร่วมของภาคีต่างๆในพื้นที่ (๓) มีความพร้อมในการอุดหนุนเงินหรืองบประมาณตามอัตราส่วนที่กำหนด ข้อ ๔ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ภายใต้ความเห็นชอบของคณะกรรมการกองทุน วัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ หรือสถานบริการ หรือหน่วยงานสาธารณสุขหรือหน่วยงานอื่น หรือสนับสนุนและส่งเสริมให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชนดำเนินกิจกรรมด้านสาธารณสุขในพื้นที่เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในพื้นที่ ข้อ ๕ เงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย (๑) เงินที่ได้รับจัดสรรแต่ละปีจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด และสำหรับปีงบประมาณ ๒๕๕๗ ได้รับการจัดสรรเป็นเงิน ๔๕ บาท ต่อประชาชนในพื้นที่หนึ่งคน (๒) เงินสมทบจากเงินอุดหนุนหรืองบประมาณที่ได้รับจากองค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาลหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น ตามที่กฎหมายบัญญัติ (๓) เงินสมทบจากชุมชนหรือกองทุนชุมชนอื่นๆ (๔) รายได้อื่นๆหรือทรัพย์สินที่ได้รับมาในกิจการของกองทุนหลักประกันสุขภาพ ข้อ ๕/๑ นอกจากเงินหรือทรัพย์สินในกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ ๕ แล้ว ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความพร้อม ความเหมาะสม ซึ่งได้แสดงความจำนงเข้าร่วมและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเห็นชอบ ได้รับเงินเพิ่มจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในส่วนค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด ข้อ ๕/๒ ให้เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ ๕ สามารถใช้ในปีงบประมาณถัดๆไปได้และสามารถนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ทั้งนี้ภายใต้บังคับของข้อ ๗/๑ ได้ ข้อ ๖ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตกลงสมทบเงินเข้ากองทุนหลักประกันสุขภาพ ไม่น้อยกว่าอัตราร้อยละของเงินทีได้รับจัดสรรจากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดังนี้
(๑) องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดเล็ก สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๓๐
(๒) องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๔๐ (๓) องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่หรือเทศบาลตำบล สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๐ (๔) เทศบาลเมืองหรือเทศบาลนครหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบอื่น สมทบเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๖๐ ข้อ ๗ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนหรือส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน หรือโครงการหรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ ดังนี้ (๑) เพื่อสนับสนุน และส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการหรือสถานบริหาร หรือหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ โดยเน้นเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกัน การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิต เพื่อให้กลุ่มแม่และเด็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนพิการ กลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่มีความเสี่ยง และกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่อยู่ในพื้นที่ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น (๒) เพื่อสนับสนุนให้กลุ่มหรือองค์กรประชาชน หรือหน่วยงานอื่น ในพื้นที่ ได้ดำเนินงานตามแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ให้แก่สมาชิกหรือประชาชนในพื้นที่ และกรณีที่มีความจำเป็นต้องจัดซื้อวัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ให้สนับสนุนได้ในวงเงินไม่เกิน ๕,๐๐๐ บาทต่อโครงการ วัสดุที่มีลักษณะเป็นครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาของกลุ่มหรือองค์กรประชาชนหรือหน่วยงานอื่นที่ได้รับการสนับสนุนนั้นๆ (๓) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ของศูนย์เด็กเล็กหรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการพัฒนาและดูแลเด็กเล็กในชุมชน หรือศูนย์ชื่ออื่นที่ดำเนินกิจกรรมเกี่ยวกับการและฟื้นฟูคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการในชุมชน ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด เป็นเงินไม่น้อยกว่าร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น (๔) เพื่อสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารหรือพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ต้องไม่เกินร้อยละ ๑๕ ของเงินรายรับของกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละปีงบประมาณนั้น และในกรณีที่มีความจำเป็นต้องใช้จ่ายเพื่อซื้อครุภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องโดยตรง ครุภัณฑ์นั้นจะต้องมีราคาไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาทต่อหน่วย โดยการจัดซื้อจัดจ้างให้ใช้ระเบียบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยอนุโลม และครุภัณฑ์ที่จัดหาได้ ให้อยู่ในความดูแลและบำรุงรักษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ (๕) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็น เหมาะสม และทันต่อสถานการณ์ได้ ข้อ ๗/๑ เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพ ตามข้อ ๕/๑ และข้อ ๕/๒ ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราที่กำหนดในเอกสารแนบท้ายของศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการที่จัดบริการ ดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ที่คณะอนุกรรมการตามข้อ ๘/๑ เห็นชอบ ทั้งนี้กรณีที่ใช้เงินกองทุนตามข้อ ๕/๑ และข้อ ๕/๒ ให้คณะอนุกรรมการรายงานให้คณะกรรมการกองทุนทราบ ค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้จ่ายเป็นค่าตอบแทนของบุคลากรที่เกี่ยวข้องตามอัตราที่หน่วยงานที่จัดบริการกำหนดได้และรวมถึงจ่ายเป็นค่าตอบแทนช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในอัตราที่แตกต่างกันได้ตามอัตราที่หน่วยงานที่จัดบริการกำหนดหรือตามที่คณะอนุกรรมการตามข้อ ๘/๑ กำหนดหรือเห็นชอบ แต่ต้องไม่เกินค่าแรงขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนด ข้อ ๘ ให้มีคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในแต่ละท้องถิ่นหรือพื้นที่ ประกอบด้วย (๑) ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นประธาน (๒) ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ จำนวน ๒ คน เป็นรองประธาน (๓) สมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สภามอบหมายจำนวน ๒ คน เป็นกรรมการ (๔) หัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ เป็นกรรมการ (๕) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ที่คัดเลือกกันเองจำนวน ๒ คน เป็นกรรมการ (๖) ผู้แทนหมู่บ้านหรือชุมชนที่ประชาชนในหมู่บ้าน เป็นกรรมการ หรือชุมชนคัดเลือกกันเอง จำนวนไม่เกิน ๕ คน (๗) ผู้แทนศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพประชาชน เป็นกรรมการ หรือหน่วยรับเรื่องร้องเรียนอิสระในพื้นที่ จำนวน ๑ คน (ถ้ามี) (๘) ปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าที่อื่นที่ผู้บริหารสูงสุด เป็นกรรมการและเลขานุการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย
(๙) ผู้อำนวยการหรือหัวหน้ากองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เป็นคณะกรรมการ หรือส่วนสาธารณสุขหรือที่เรียกชื่ออื่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ช่วยเลขานุการ หรือเจ้าหน้าที่อื่นที่ผู้บริหารสูงสุดขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมอบหมาย ให้สาธารณสุขอำเภอ และผู้อำนวยการโรงพยาบาลในพื้นที่ เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการกองทุน การคัดเลือกคณะกรรมการตาม (๕) และ (๖) ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จัดประชุมเพื่อให้บุคคลในแต่ละกลุ่มได้คัดเลือกกันเองอย่างเปิดเผยและมีส่วนร่วมของประชาชนที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตามหลักเกณฑ์ที่สำนักงานกำหนด กรณีในพื้นที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีหน่วยบริการปฐมภูมิมมากกว่า ๒ แห่ง ให้นำหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามวรรคสองมาบังคับใช้เพื่อคัดเลือกหัวหน้า หน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ จำนวน ๒ คนเป็นกรรมการ ให้กรรมการตาม (๑) และ (๓) – (๙) ประชุมคัดเลือกกรรมการตาม (๒) จำนวน ๒ คน จากผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่โดยให้คนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการคนที่หนึ่ง และอีกคนหนึ่งเป็นรองประธานกรรมการคนที่สอง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แจ้งรายชื่อผู้ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการพร้อมบันทึกรายงานการประชุมคัดเลือกให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสำนักงานเขตออกคำสั่งแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการกองทุนต่อไป ข้อ ๘/๑ ให้คณะกรรมการกองทุนแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดหนึ่งชื่อ “ คณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง” มีหน้าที่พิจารณาจัดหากำหนดอัตราการชดเชยค่าบริการ และเห็นชอบให้ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชน หรือหน่วยบริการ หรือสถานบริการ เข้าร่วมจัดบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงตามข้อ ๗/๑ เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ได้รับบริการตามชุดสิทธิประโยชน์และอัตราที่กำหนดในเอกสารแนบท้าย
เป้าหมายและตัวชี้วัดกองทุนในปี 61 เป้าหมาย ตัวชี้วัด - บริหารจัดการมีประสิทธิภาพ 1.บริหารจัดการเงินคงเหลือไม่เกิน 10% 2.เกิดทีมพี่เลี้ยง(Coaching)  ลงพื้นที่อย่างน้อย 2 ครั้ง 3.เกิดระบบบริหารจัดการกองทุนแบบออนไลน์(www.localfund.happynetwork.org) 4.มีแผนงานอย่างน้อย 5 เรื่องนำร่อง คือ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร/โภชนาการ และกิจกรรมทางกาย นวัตกรรมที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพ 1.เกิดนวัตกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผ่านกลไกกองทุนสุขภาพตำบลในประเด็นร่วม นโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ 1.กองทุนสุขภาพตำบลจัดทำนโยบายสาธารณะด้านสุขภาพผ่านเครื่องมือธรรมนูญสุขภาพ หรือสถานการณ์สุขภาพในชุมชน 1. เพิ่มขีดความสามารถของคน/กรรมการ/ชุมชน/พี่เลี้ยง 2. เกิดชุดความรู้/นวัตกรรม/ภูมิปัญญา 3. สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย 4. เกิดกติกาชุมชน

สิ่งที่กองทุนฯต้องดำเนินการในพื้นที่ 1. บริหารจัดการเงินคงเหลือไม่เกินร้อยละ 10 2. แผนสุขภาพชุมชน 3-5 ปี  แผนประจำปี 3. มีแผนงานนำร่องอย่างน้อย 5 เรื่อง คือ เหล้า บุหรี่ ยาเสพติด อาหาร/โภชนาการ และกิจกรรมทางกาย 4. จัดทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อทราบสถานการณ์ชุมชนทุกปี 5. รู้เป้าหมายกองทุน และดำเนินการให้สอดคล้อง 6. รู้เป้าหมาย/และตัวชี้วัดของกองทุน ปี 2561 7. จัดการระบบข้อมูลผ่านอิเลคโทรนิคไฟล์ให้เป็นปัจจุบัน 8. ประเมินตนเองปีละครั้ง 9. จัดทำเป้าหมายธรรมนูญสุขภาพให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 10. จะมีพี่เลี้ยงติดตามทุกกองทุนฯ อย่างน้อย 2 ครั้ง/กองทุนฯ 11. ระบบการตรวจสอบจากตรวจสอบผ่านทางอินเตอร์เน็ต สิ่งที่ต้องดำเนินการในปี 61 1. แผนการดำเนินงาน 3-4 ปี / แผนประจำปี 2. จัดทำประชาคมหมู่บ้านเพื่อทราบสถานการณ์ชุมชนทุกปี 3. รู้เป้าหมายกองทุน และดำเนินการให้สอดคล้อง 4. รู้เป้าหมาย/และตัวชี้วัดของกองทุน ปี 2561 5. จัดการระบบข้อมูลผ่านอิเลคโทรนิคไฟล์ให้เป็นปัจจุบัน 6. ประเมินตนเองปีละครั้ง 7. จัดทำเป้าหมายธรรมนูญสุขภาพให้ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน 8. จะมีพี่เลี้ยงติดตามทุกกองทุนฯ 9. ระบบการตรวจสอบจากตรวจสอบผ่านทางอินเตอร์เน็ต

คำถามที่พบบ่อย 1. ทำไมต้องมีกองทุนหลักประกันสุขภาพ พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๔๗ เพื่อสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้กับบุคคลในพื้นที่ โดยส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมตามความพร้อม ความเหมาะสม และความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น ให้คณะกรรมการสนับสนุนและประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยให้ได้รับค่าใช้จ่ายจากกองทุน
2. กองทุนหลักประกันสุขภาพใช้จ่ายอะไรได้บ้าง ใช้จ่ายได้เกือบทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตามประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ภายใต้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  เรื่อง การจัดบริการสาธารณสุขของกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ. 2557 (หน้า 184) 3. หน้าที่คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพควรมีอะไรบ้าง 1. พิจารณาอนุมัติแผนงาน หรือโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
2. ออกระเบียบที่จำเป็นในการบริหารกองทุนฯ
4. ควบคุมและกำกับดูแลการรับเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงิน และการทำบัญชีฯ (อบต.ทำ) 5. กำกับดูแลให้หน่วยงาน หรือกลุ่ม หรือองค์กร ที่ได้รับอนุมัติ ตามข้อ 7 ดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการที่ได้รับอนุมัติ (หน้า 23 ) 6. สนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย( 5 กลุ่ม หน้า 16) เข้าถึงบริการสาธารณสุข 7. ให้คำแนะนำในการจัดทำข้อมูล และแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับปัญหาสาธารณสุข... 8. พิจารณาให้ความเห็นชอบในการจัดทำรายงานสรุปฯ ภายในเดือน ธันวาคม ของทุกปี 9. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน แลกเปลี่ยนสถานการณ์ปัญหาของแต่ละกองทุน อบต.น้ำผุด ขาดเจ้าหน้าที่ในการดำเนินงาน ทำงานไม่ทัน ในส่วนโครงการจะมีปัญหาโครงการของ รพ.สต. ซึ่งส่วนใหญ่กิจกรรมมีความซ้ำซ้อน เช่นส่วนใหญ่จะมีการประชุมผู้เกี่ยวข้องและจะมีค่าวิทยากร - การติดตามประเมินผลในพื้นที่เป็นชุดคณะกรรมการติดตามทั้งวันจะเบิกค่าอาหารกลางวันได้ - คณะกรรมการยังขาดความเข้าใจในการพิจารณาโครงการ - เสนอให้พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการกองทุน น้ำผุด ปัญหาของอบต.ละงู นักการเมืองท้องถิ่นแทรกแซง ตำบลละงูมีพื้นที่กว้าง ประชากรเยอะ คีย์ข้อมูลไม่ทัน


หลักการทำแผน : แผนที่ดีต้องตอบคำถาม 4 ข้อ 1. อยู่ไหน 2. ไปอย่างไร 3. จะไปไหน 4. ไปถึงอย่างไร ช่วงบ่ายทำความเข้าใจเวบไซค์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม