คนสร้างสุข

directions_run

"ทางออกของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้" อย่างยั่งยืน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ "ทางออกของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้" อย่างยั่งยืน
ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมประชาภาคสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
ภายใต้องค์กร องค์กร???
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 20 กันยายน 2560 - 30 ธันวาคม 2560
งบประมาณ 349,910.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โครงการชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา “ทางออกของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” อย่างยั่งยืน
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวคนึงนิจมากชูชิต
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 9 ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 94000 โทร 081-5425178
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่กำลังเกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา อาจจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตามแต่ ยิ่งนานวันยิ่งก่อให้เกิดความเสียหายและส่งผลกระทบต่อสังคมของผู้คนทั้งในพื้นที่และนอกพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในด้านสุขภาพจิตของประชาชน ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อยู่ในพื้นที่ เติบโตท่ามกลางภาพแห่งความรุนแรงต่างๆ กังวลถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้คนในสังคมอนาคตมีความคิดที่เบี่ยงเบนต่อกัน จึงเป็นสิ่งท้าทายสำหรับทุกคนทุกฝ่าย ต้องมาร่วมกันคิด ร่วมกันค้นหาแนวทางที่เป็นทางออกที่เหมาะสม เพื่อให้แต่ละฝ่ายที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน หันมาใช้แนวทางแห่งสันติวิธี ซึ่งมีอยู่อีกหลากหลายแนวทางด้วยกัน
ในสภาพความเป็นจริง ประชาชนทุกพื้นที่ทุกหมู่บ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความประสงค์อยากเห็นชุมชนของตนเอง มีการศึกษาที่ดี มีความปลอดภัยสงบสุข การมีที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมที่ดี การบริการที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล กิจการวิสาหกิจชุมชน ระบบดูแลสุขภาพพลานามัย การคมนาคมการเดินทาง รวมถึงการขจัดความยากจน ทั้งนี้ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมาทางองค์การสหประชาชาติได้เน้นย้ำแนวทางการสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นหลักให้ทุกประเทศพิจารณาดำเนินการ (Sustainable Development Goals) มี 17 ประการ เพื่อลดปัญหาและความทุกข์ยากของพลเมืองในการดำรงชีวิตในสถานการณ์โลกปัจจุบัน ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งและบานปลายไปสู่การใช้กำลังความรุนแรงต่อกัน ซึ่งกำลังเกิดเหตุในหลายๆพื้นที่ของโลก ในขณะที่อีกด้านหนึ่งโลกกำลังเผชิญกับปัญหาใหม่ๆที่หนักหน่วงมากกว่าเดิม เช่น ปัญหาโลกร้อน ปัญหาความมั่นคงทางอาหารและสุขภาพอนามัย NCDs จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของทุกฝ่าย ต้องคิดค้นหานวัตกรรมใหม่ๆในการจัดการกับปัญหาที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งคงไม่สามารถดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จได้ ต้องเกิดความร่วมมือและหลายๆฝ่ายมาร่วมบูรณาการ เมื่อปี 2545 นักพัฒนาได้ลงทำงานในพื้นที่ ด้วยหลักคิด “ประชาชนต้องค้นหาและแก้ปัญหา ด้วยตนเอง” ภายใต้โครงการปฏิบัติการชุมชนและเมืองน่าอยู่ มูลนิธิชุมชนไท ซึ่งมีเป้าหมายมุ่งเน้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง เน้นกิจกรรมที่เป็นรูปธรรม สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้ท่ามกลางการปฏิบัติจริง ด้วยกิจกรรมเล็กๆที่ทำกับกลุ่มแม่บ้านในชุมชนเมือง เขตเทศบาลเมืองปัตตานี จนกระทั่งขยายงานสู่การแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับคนจนในเขต สามจังหวัดชายแดนใต้แนวทางตามโครงการบ้านมั่นคง จำนวน 96 พื้นที่ และต่อเนื่องมาถึงการแก้ปัญหาชุมชนประมงพื้นบ้านในบริเวณชายฝั่งทะเลของ จังหวัดปัตตานีและจังหวัดนราธิวาส จนกระทั่งการสร้างกระบวนการแก้ปัญหาที่ดินทำกิน ในบริเวณเทือกเขาบโูด การพัฒนาดังกล่าวได้พิสูจน์อย่างชัดเจนว่า การใช้กระบวนการพัฒนาที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง แทนที่การมุ่งเอาชนะใจด้วยวิธีการสงเคราะห์ ในลักษณะขาดเงื่อนไขของการเรียนรู้จึงจะสามารถสร้างขบวนประชาชนที่มีความเข้มแข็งได้ เป็นที่เชื่อมั่นและสามารถปรับทัศนคติของประชาชนที่มีต่อชาติบ้านเมืองได้อย่างแท้จริง ในปี 2550 ได้เกิดการรวมตัวเป็นองค์กรเครือข่ายภาคประชาชนขึ้นมา โดยวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับพื้นที่ชุมชนของตนเองตามแนวทางสันติวิธี ตามสโลแกน “หลักศาสนานำการพัฒนา โดยชุมชนเป็นแกนหลัก” ซึ่งลักษณะที่เป็นจุดเด่นดังนี้
1. การใช้หลักศรัทธา
คำว่า “ชุมชนศรัทธา” แปลเป็นภาษามลายูว่า “กัมปง ตักวา” “กัมปงยังเบอรฺอีมาน” “เดซายังเบอรฺตักวา” เป็นต้น เป็นชื่อที่ชวนให้สื่อความหมายแก่ชาวบ้านในทำนองที่ว่า ต่อไปนี้ทุกกิจกรรมที่จะดำเนินการในชุมชนของเราจะต้องอ้างอิงหรืออยู่ในกรอบที่มาจากหลักการศาสนา และบรรทัดฐานการปฏิบัติในสิ่งที่ดีงามของคนในชมุชน ไม่แบ่งแยกกิจกรรมเหล่านี้ออกจากกรอบของหลักศาสนธรรม ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างความรู้สึกที่ด่ีและเกิดความไว้วางใจ จึงทำให้เป็นที่ยอมรับโดยกว้างขวาง


2. การให้ผู้นำชุมชน 4 เสาหลักเป็นแกนนำ โดยการใช้พระราชบัญญัติคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) ที่มีผู้นำศาสนา ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องที่ และผู้นำธรรมชาติ เข้าไปเป็นคณะกรรมการทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ที่ได้สัมผัสมีความมั่นใจมากขึ้น เมื่อเราใช้กฎหมายพระราชบัญญัติคณะกรรมการหมู่บ้านในการจัดโครงสร้างการปกครองดูแล การแก้ปัญหาและสร้างงานพัฒนาของตนเอง เพราะในส่วนลึกชาวบ้านมีความเคารพในกฎหมายบ้านเมือง เพียงแต่ที่ผ่านมาในมุมมองของชาวบ้านเห็นว่าผู้รักษากฎหมาย มีความหละหลวม ไม่เอาจริงเอาจังกับการรักษากฎกติกา และอีกประการหนึ่งการที่โครงสร้างคณะกรรมการหมู่บ้านที่ได้ผ่านมติที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการหมู่บ้านเพื่อแก้ไขสถานการณ์ ความไม่สงบในหมู่บ้านจังหวัดชายแดนใต้ที่กำหนดให้โต๊ะอีหม่ามในฐานะ รองประธานกรรมการหมู่บ้านมาดูแลกิจการด้านสังคม การศึกษา การศาสนาและวัฒนธรรมที่เป็นปัญหาที่สร้างความอ่อนแอให้กับท้องถิ่นก็จะได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง
3. การใช้มิติทางด้านศาสนา
ในความเป็นจริงคนในพื้นที่ไม่ได้แยกระหว่างเรื่องทางโลกกับเรื่องทางศาสนธรรม แต่โดยกระบวนการของระบบประเทศเรา มักจะแยกเรื่องทางโลกและทางธรรมออกจากกัน ทำให้เรื่องของคุณธรรมจริยธรรมก็ไปอยู่มุมหนึ่งจะไม่มายุ่งเกี่ยวกับเรื่องของงานพัฒนา อันนี้เป็นจุดอ่อนอย่างยิ่งของการปกครอง เช่นเดียวกันในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนฝ่ายศาสนาหรือโต๊ะอีหม่ามจะมุ่งเพียงแต่ในเรื่องของพิธีกรรมทางศาสนาโดยไม่ค่อยมาเกี่ยวข้องกับปัญหาความเป็นอยู่ของคนในหมู่บ้านเท่าใดนัก เป็นการแยกส่วนกันโดยสิ้นเชิง แต่ในกระบวนการของ “ชุมชนศรัทธา” จะไม่แยกส่วนและให้มีการบูรณาการเป็นเนื้อเดียวกัน สร้างความชัดเจนในเรื่องนี้ให้มากยิ่งขึ้นโดยในกฎหมายคณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.) ระบุให้ผู้นำศาสนามีบทบาทสำคัญ ใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมของชุมชน
4. การทำงานโดยภาคประชาชนมีส่วนร่วม กระบวนการมีส่วนร่วมเป็นเป้าหมายที่หลายฝ่ายพยายามจะทำให้เกิดให้ได้ โดยเฉพาะส่วนราชการจะพูดถึงเรื่องนี้มากเป็นพิเศษ แต่ประเด็นปัญหาอยู่ที่โครงสร้างระบบและการปฏิบัติที่เคยชิน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงยาก ฉะนั้นทางออกหนึ่งคือการให้โอกาสแก่ภาคประชาชนได้ปฏิบัติการในเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยมีภาคส่วนภาคีอื่นๆคอยดูช่วงจังหวะให้การสนับสนุน ซึ่งการปฏิบัติในลักษณะนี้ สามารถสร้างความไว้วางใจแก่ประชาชนได้มากมาย ทั้งนี้เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่มีความแตกต่างจากภาคส่วนอื่นๆ เช่น การใช้ภาษาพูดที่เหมาะสม การไม่ทำงานในกรอบที่ถูกจำกัดด้วยวินัย รายได้และเวลา มีความบริสุทธิ์ใจที่จะช่วยเหลือพี่น้อง กอปรกับแนวคดิการพัฒนาที่อยู่บนพื้นฐานแหง่ศรทัธาจึงสรา้งความเข้าใจได้ง่ายและทำงานอย่างเป็นกันเอง มีความผูกพันฐานญาติมิตร ก่อให้เกิดการกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพดีการทำกิจกรรมก็จะอยู่บนพื้นฐานของหลักจิตวิญญาณที่มีความเป็นพี่น้อง มีความรักต่อกันที่สามารถสัมผัสได้จากความรู้สึกเมื่อได้พบปะกันมีการติดตามงาน อย่างใกล้ชิดอย่างเป็นกันเอง

  1. การเข้าถึงและสร้างรูปธรรมในระดับหมู่บ้านหรือชุมชน
    จากสภาพปัญหาความรุนแรงในขณะนี้ การไม่สามารถเข้าถึงพื้นที่ซึ่งเป็นหน่วยปกครองที่เล็กที่สุดได้ ก็ไม่สามารถรับรู้สภาพปัญหาและความต้องการที่แท้จริงได้ ไม่สามารถสร้างรูปธรรมที่ตรงกับความต้องการของประชาชน ปัญหาที่ดำรงอยู่ในหมู่บ้านก็ไม่สามารถแก้ไขได้ โดยองค์กรภาคประชาชนมีความหลากหลายในประสบการณ์สามารถเข้าถึง และเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนมาร่วมกันพัฒนาบ้านพัฒนาเมืองได้ ซึ่งเป็นหนทางให้งานพัฒนาเกิดความยั่งยืนและสามารถพัฒนากระบวนการแหง่การพึ่งพาตนเองในที่สุด ด้วยแนวคิดและรูปธรรมการปฏิบัติเหล่านี้ได้เป็นนวัตกรรมใหม่ที่ได้เกิดขึ้นแล้วในระดับหมู่บ้านที่สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง ซึ่งมีอยู่อย่างหลากหลายตามบริบทของแต่ละพื้นที่หมู่บ้าน อีกทั้งมีความสอดคล้องกับแนวทางขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มีรูปธรรมการปฏิบัติไม่น้อยกว่า ๑๒๐ หมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งด้วยกระบวนการเหล่านี้ เครือข่ายมีความเชื่อมั่นว่าสามารถเป็นเครื่องมือพัฒนาที่ประชาชนพึงพอใจและเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มใจในการพัฒนาชาติบ้านเมือง พร้อมๆกับการใช้ความรุนแรงค่อยๆลดลง ฉะนั้นเพื่อให้พื้นที่อื่นๆเกิดการเรียนรู้ครอบคลุมในวงกว้างมากยิ่งขึ้น จนสามารถเปลี่ยนแปลงปัญหาความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างทั้งในระดับหมู่บ้านและระดับที่สูงขั้นไป ควรมีการเผยแพร่องค์ความรู้เหล่านี้ให้กับพื้นที่เป้าหมายอื่นๆ จึงได้เสนอ “โครงการชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา ทางออกของการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้” เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ต่างๆในการทำกิจกรรมที่ผ่านมาของเครือข่ายฯและเผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อการเรียนรู้ต่อไป
stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,457.00 0 0.00
25 ก.ย. 60 - 25 ก.ค. 61 ประชุมคณะกรรมการเครือข่ายฯเดือนละ ๑ ครั้งจำนวน ๔ เดือน 0 0.00 -
25 ก.ย. 60 ประชุมอาสาสมัครประจำพื้นที่ 0 21,310.00 -
29 ต.ค. 60 - 29 ก.ค. 61 สัมมนากลุ่มออมทรัพย์เครือข่ายชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา (จำนวน ๒ วัน ๑ คืน) 0 147.00 -
22 พ.ย. 60 - 22 ก.ค. 61 บันทึกภาพนิ่ง วีดีทัศน์ 0 0.00 -
15 ก.ค. 61 การอบรมบันทึกข้อมูล 0 0.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2561 13:46 น.