คนสร้างสุข

directions_run

สานพลัง กลไกการดูแลและเฝ้าระวังสถานการณ์เด็กเยาวชนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับชุมชนต้นแบบ (อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สานพลัง กลไกการดูแลและเฝ้าระวังสถานการณ์เด็กเยาวชนสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับชุมชนต้นแบบ (อ.แม่ลาน จ.ปัตตานี)
ภายใต้โครงการ ขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมประชาภาคสังคม ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนใต้
ภายใต้องค์กร องค์กร???
รหัสโครงการ
วันที่อนุมัติ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กรกฎาคม 2561 -
งบประมาณ 250,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ องค์กรเยาวชนคำบลป้าไร อ.แม่ลาน จ.ปัตตานึ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับราน มอสู
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ 1/5 ม.2 ในตำบลป่าไร ใน7 หมู่บ้าน อำเภอแม่ลาน จ.ปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเปลี่ยนแปลงของชุมชนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547 ถึงปัจจุบัน ท่ามกลางประเด็นปัญหาความไม่สงบในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดปัญหาภายในชุมชนหลายด้าน เช่น ความขัดแย้ง การละเมิดสิทธิ ความหวาดระแวงระหว่างกัน ขณะเดียวกันมีการทุ่มเทแก้ปัญหาจากภาคส่วนต่างๆลงสู่พื้นที่        ในอำเภอแม่ลาน จังหวัดปัตตานี ก็เป็นหนึ่งในพื้นที่ ที่อยู่ท่ามกลางประเด็นปัญหาดังกล่าว ซึงมีพื้นที่ 3 ตำบล    22 หมู่บ้าน โดยเฉพาะเรื่องเด็กเยาวชน ซึ่งมีการมุ่งเน้นพัฒนาเรื่องการศึกษาที่เน้นด้านวิชาการ ทำให้เด็กและเยาวชนส่วนหนึ่งไม่สามารถปรับตัวเรียนในระบบการศึกษาได้ จึงหลุดออกนอกระบบการศึกษามากขึ้น อีกทั้งระบบการศึกษายังขาดการส่งเสริม ให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการใช้ชีวิต การประกอบอาชีพ และขาดการส่งเสริมให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องราวในชุมชนท้องถิ่น ทั้งด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ส่งผลให้เด็กและเยาวชนไม่รู้สึกผูกพันกับชุมชน ในขณะเดียวกันก็พบว่าครอบครัวโดยส่วนใหญ่ ผู้ปกครองไม่มีเวลาอบรมสั่งสอนลูกหลาน ประกอบกับปัจจุบันมีสื่อเทคโนโลยีที่ดึงเด็กออกห่างจากครอบครัวมากขึ้น ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทั้งยาเสพติด ตั้งครรภ์ไม่พร้อม การชักจูงไปในทางที่ไม่ดีโดยเฉพาะเด็กเยาวชนผู้ชายมักจะมีปัญหาความไม่เข้าใจกันกับผู้ใหญ่ในชุมชน ทำให้คนในชุมชนไม่ยอมรับกลุ่มเด็กเยาวชนที่อยู่นอกระบบการศึกษาเพราะมองว่าเป็นกลุ่มที่สร้างปัญหาให้ชุมชน สังคม ปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้ทีมแกนนำเยาวชนตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน ซึ่งเป็นกลุ่มเยาวชนที่ทำงานด้านเด็กและเยาวชน อำเภอแม่ลาน มามากกว่า 5 ปี ในการพัฒนาขีดความสามารถและเพิ่มทักษะชีวิตให้กับเด็กเยาวชน ในพื้นที่อำเภอแม่ลาน จากการดำเนินงานวิจัยชุมชน “โครงการพัฒนาเครือข่ายศรัทธาชุมชน” ที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และพัฒนาคุณภาพเยาวชน (สสค.) ที่ดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2557 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อเนื่องมายังการนำเด็กเยาวชนทั้งในและนอกระบบโรงเรียน มาร่วมกันพัฒนาขีดความสามารถของเยาวชนในการริเริ่มและดำเนินกิจกรรมอย่างเป็นเครือข่าย ภายใต้โครงการศึกษาสภาวการณ์เด็กและเยาวชนที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาของภาครัฐในพื้นที่ 3 จังหวัดกับ 4 อำเภอจังหวัดสงขลา ชายแดนภาคใต้ เพื่อเป็นฐานข้อมูลการแก้ปัญหาและส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้เชิงพื้นที่ โดยการดำเนินงานครอบคลุมพื้นที่ 45 ชุมชน สร้างแรงผลักดันให้เด็กและเยาวชนในชุมชน ให้ลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ และเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีในชุมชน สู่การลดความเกลียดชังระหว่างกันในชุมชน โดยยึดหลักการมีส่วนร่วมในชุมชน โดยเฉพาะผู้นำ 4 เสาหลัก ประกอบด้วย ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ผู้นำท้องที่ และผู้นำเยาวชน
จากประสบการณ์การทำงานพัฒนาเด็กเยาวชน และการลงพื้นที่ศึกษาเก็บข้อมูลเด็กเยาวชนในการศึกษาสภาวการณ์เด็กและเยาวชนที่หลุดออกนอกระบบการศึกษาของภาครัฐในพื้นที่อำเภอแม่ลานและใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางกลุ่มแกนนำเยาวชนตำบลป่าไร่ อำเภอแม่ลาน จึงค้นพบในงานวิจัยว่า การที่จะสร้างความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในด้านเด็กเยาวชนในพื้นที่นั้น ต้องสร้างกลไกการทำงานเชิงพื้นที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ที่อยู่บนฐานข้อมูลข้อเท็จจริงในพื้นที่ จึงจะมองเห็นพลังในตัวเด็กเยาวชนนอกระบบในระบบได้อย่างทั่วถึง ที่จะสามารถพัฒนาชีวิตตนเองและสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนของตนเองเกิดความสันติสุขได้ ด้วยการดำเนิน โครงการสานพลัง กลไกการดูแล และเฝ้าระวังสถานการณ์เด็กเยาวชน สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับชุมชนต้นแบบ
โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นเด็กเยาวชนนอกระบบและในระบบ ครอบครัว ผู้นำชุมชน คนในชุมชน สถาบันการศึกษา โรงเรียนและหน่วยงานภาครัฐในพื้นที่ มาร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนงานร่วมกับเด็กเยาวชน ร่วมกันส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ กล่อมเกลาให้เด็กเยาวชนเป็นพลเมือง เชื่อมั่นหลักศรัทธา รักชุมชน  โดยนำหลักคิดทางศาสนามาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ พร้อมทั้งเป็นการพัฒนาเด็ก เยาวชน ให้มีทักษะความรู้ความสามารถ เป็นที่ยอมรับจากคนในชุมชน สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาและการจัดการชุมชนของตนเองได้ อย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ในกระบวนการทำงานตามกรอบแนวคิด ในการนำหลัก “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาร่วมออกแบบ ซึ่งจะทำให้ผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา หน่วยงานภาครัฐ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อปกป้องเด็กและเยาวชนในพื้นที่ไม่ให้ไปก่อปัญหาต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น รวมถึงเป็นการศึกษาและค้นหาฐานข้อมูลชุมชน เพื่อวางแผนการดำเนินงานร่วมกันเพื่อป้องกัน หรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชน ซึ่งความร่วมมือต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เกิดกลไกในชุมชนที่ร่วมกันเฝ้าระวังสถานการณ์ต่างๆที่จะเกิดผลกระทบกับคนภายในชุมชน  อีกทั้งกลไกดังกล่าวจะทำให้เกิดการบูรนาการทำงานจากทุกภาคส่วน อันจะเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน นำไปสู่การสร้างความไว้วางใจ เชื่อมั่นระหว่างคนในชุมชนกับหน่วยงานสืบไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 247.00 0 0.00
9 ส.ค. 60 - 30 ธ.ค. 60 ค่าบริหารจัดการ 0 22.00 -
15 ส.ค. 60 ประชุมคณะทำงานบริหารโครงการ 0 15.00 -
14 - 15 ต.ค. 60 .ศึกษาและสำรวจข้อมูลด้านเด็กเยาวชน 5 ด้าน (การศึกษา/การดูแล/คุณภาพชีวิต/สุขภาพ/โอกาส) สู่การจัดทำเป็นฐานข้อมูลด้านเด็กเยาวชนในระดับอำเภอ 0 14.00 -
15 ต.ค. 60 อบรมให้ความรู้การบริหารจัดการกลุ่มและการจัดการชุมชนในการพัฒนาเด็กเยาวชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในระดับอำเภอต้นแบบ ต่อแกนนำเยาวชนในชุมชน 0 55.00 -
3 พ.ย. 60 . จัดประชุมกลไกการพัฒนาและเฝ้าระวังสถานการณ์เด็กเยาวชน พื้นที่เป้าหมายในระดับตำบลต้นแบบ 0 31.00 -
10 พ.ย. 60 สนับสนุนการพัฒนาการขับเคลื่อนกิจกรรม 4 ด้าน - ด้านการศึกษา(สติปัญญา) - ด้านสุขภาพ ปลอดภัยและมีความสุข (ร่างกายและจิตใจ) - ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต(อาชีพ) - ด้านการคุ้มครองสิทธิเด็กเยาวชนในชุมชน - ด้านการสืบสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นวิถีชีวิตในชุมชน 0 70.00 -
3 - 10 ธ.ค. 60 การติดตามผลักดันงานในพื้นที่ชุมชนเป้าหมายต้นแบบ 0 9.00 -
15 ธ.ค. 60 .เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และถอดบทเรียนระหว่างชุมชนต้นแบบ ( 1 วัน) 0 31.00 -

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 2561 13:58 น.