directions_run

โครงการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 พัฒนาคุณภาพของโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดยดำเนินการร่วมกับเครือข่าย แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย และขยายพื้นที่ดำเนินงานกิจกรรมทางกายในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ในการพัฒนาโครงการ และติดตาม ประเมินผลโครงการของเครือข่าย
ตัวชี้วัด : 1. ได้คู่มือการพัฒนา ติดตามประเมินผลโครงการ เพื่อใช้สนับสนุนการพัฒนาโครงการของแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. ได้เอกสารชุดการสังเคราะห์ความรู้และประสบการณ์การขับเคลื่อนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3. เกิดการสื่อสารเรื่องกิจกรรมทางกาย ขยายเผยแพร่สู่สาธารณะในวงกว้างของสังคม นำไปสู่การรับรู้ เข้าใจ และมีความตระหนักต่อการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในชีวิตประจำวัน 4. ได้ข้อเสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ที่สอดคล้องแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และเป็นโครงการที่มีคุณภาพ ร้อยละ 90 5. ได้ระบบสารสนเทศ online ที่ใช้ในการพัฒนาข้อเสนอโครงการและการติดตามประเมินผลโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 6. เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพที่มีความรอบรู้มีขีดความสามารถด้านสุขภาพประเด็นกิจกรรม ทางกาย (Health Literacy - PA) ได้แก่ เครือข่ายกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล (ท้องถิ่น สปสช.) 270 กองทุน และภาคีเครือข่ายแผนกิจกรรมทางกาย สสส. 7. ผู้เสนอโครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย ร้อยละ 100 ได้รับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพด้านการเขียนข้อเสนอโครงการที่มีคุณภาพ และมีทักษะในการใช้ระบบติดตามและประเมินผล และนำความรู้ไปปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 8. เกิดข้อเสนอโครงการ 100 โครงการที่มีคุณภาพ ในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ และเครือข่ายแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สสส. 9. เกิดพื้นที่สุขภาวะต้นแบบในกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ อย่างน้อย 4 พื้นที่ 10. กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ มีแผนและโครงการ ครอบคลุมเรื่องกิจกรรม ทางกายและอาหารจำนวน 270 กองทุน

 

 

 

2 ขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพครั้งที่ 10 วาระ การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นสู่การปฏิบัติ โดยมีการดำเนินการร่วมกับหน่วยงาน ภาคีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมติ
ตัวชี้วัด : 1. ได้ข้อมูลความคุ้มทุนทางเศรษฐศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 2. เกิดต้นแบบการมีกิจกรรมทางกาย อย่างน้อย 2 พื้นที่ 3. เกิดนโยบาย แผน และโครงการกิจกรรมทางกาย ในกลุ่มคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน (กขป.) เครือข่ายสมัชชาจังหวัด คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กับ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น