ระบบติดตามโครงการ
ระบบติดตามโครงการอื่น ๆ
ข่าวประชาสัมพันธ์
งานสร้างสุข ภาคใต้ ครั้งที่ 11
งานสร้างสุข ภาคใต้ (ปี62) ครั้งที่ 11
เดินหน้ากองทุน 50 ล้านขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของประชาสังคม ชี้จ่ายงบฯงวดแรก 30 สิงหาคมนี้
พล.อ.อุดมชัย ธรรมสาโรรัช ผู้แทนพิเศษรัฐบาล เป็นประธานเปิดโครงการขับเคลื่อนการมีสาวนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการอบรมแนวทางการขับเคลื่อนโครงการเพื่อการเสนอโครงการในการขอรับทุนสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาองค์กรภาคประชาสังคมที่รัฐบาลได้จัดตั้งขึ้นจำนวน 50 ล้านบาท
พล.อ.อุดมชัย กล่าวในระหว่างพิธีเปิดว่า ภาคประชาสังคมในพื้นที่เป็นผู้ที่อยู่กับประชาชนในพื้นที่ เป็นตัวเชื่อมระหว่างรัฐกับประชาชนและเป็นผู้ที่รู้ข้อมูลต่างๆ ว่าประชาชนนั้นมีความเป็นอยู่อย่างไร ประชาชนต้องการอะไร ดังนั้นโครงการที่เสนอจะสามารถเชื่อมโยงกับภาคประชาสังคมได้ เพื่อที่จะให้ภาคประชาสังคมได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่
“ภาคประชาสังคมในพื้นที่มีความสำคัญมากเพราะพี่น้องประชาชนเชื่อใจและไว้วางใจ การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับภาคประชาสังคม คิดว่าจะมีส่วนสำคัญในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้ เพราะบุคลากรจากภาคประชาสังคมมีความรู้ ความสามารถในการสื่อสารกับพี่น้องประชาชน เข้าใจปัญหาในพื้นที่เป็นอย่างดี ทำงานด้วยอุดมการณ์ ซึ่งในส่วนของปัจจัยในการขับเคลื่อนงานที่ทำเพื่อประชาชน รัฐจะพยายามสนับสนุนอย่างเต็มที่” พล.อ.อุดมชัยกล่าว
ในส่วนการดำเนินการในโครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในครั้งนี้ ได้ตั้งคณะกรรมการจำนวน 15 คน ในจำนวนนี้มีผู้แทนของภาคประชาสังคมจำนวน 5 คน เรียกว่า คกป. และมีเจ้าหน้าที่ประสานงานจำวน 25 คน โดยมีนายปรีชา ชนะกิจกำจร ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบุคลากร ศอ.บต ปฏิบัติหน้าที่ ผอ.สำนักประสานเครือข่ายภาคประชาสังคม ซึ่งศูนย์ประสานงานที่ตั้งอยู่ในบริเวณพื้นที่ของ ศอ.บต. โดยคณะกรรมการดังกล่าวนี้จะเป็นผู้พิจารณากลั่นกรองโครงการที่ภาคประชาสังคมในพื้นที่เสนอขอรับการสนับสนุนทุน รวมทั้งการกำกับดูแล ติดตามภาคประชาสังคมที่ได้รับกรอนุมัติทุนดำเนินการ
สำหรับโครงการที่จะขอรับการสนับสนุนทุนในกรอบของกองทุนจะต้องเป็นโครงการที่มีประเด็นตามกรอบนโยบายใน 10 ประเด็นคือ 1 ด้านการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 2 ด้านความยุติธรรมและเยียวยา 3 งานสร้างความเข้าใจทั้งในและต่างประเทศและเรื่องสิทธิมนุษยชน 4 การศึกษา ศาสนาและศิลปวัฒนธรรม 5 การพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และคุณภาพชีวิตประชาชน 6 การแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธี 7 การขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองต้นแบบ สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน 8 งานขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหา จชต.ปี 60-62 9 การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด 10 การพัฒนาสร้างศักยภาพองค์กรภาคประชาสังคม
ในการสนับสนุนงบประมาณให้กับองค์กรประชาสังคมในกรอบของกองทุนนั้น ประชาสังคมที่สามารถเสนอโครงการจะต้องเป็นองค์กรที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ปี มีผลงานเป็นที่ประจักษ์และมีสมาชิกที่เหมาะสม โดยสามารถเสนอโครงการขอสนับสนุนงบประมาณไม่ต่ำกว่า 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 1,000,000 บาท
สำหรับองค์กรประชาสังคมที่ประสงค์จะเสนอโครงการเพื่อรับการสนับสนุนงบประมาณจะต้องเสนอโครงการให้คณะกรรมการพิจารณาภายในวันที่ 18 สิงหาคมนี้ โดยคณะกรรมจะพิจารณาโครงการและจะดำเนินการจ่ายงบประมาณงวดแรกภายในวันที่ 30 สิงหาคม ทั้งนี้หลักเกณฑ์การพิจารณาต่างๆ จะอยู่ในดุลยพินิจของ คปก.
นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ รองเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวถึงกรอบการพิจารณาการสนับสนุนงบประมาณโครงการว่าจะเป็นการเปิดโอกาสให้กับทุกฝ่ายที่ทำงานให้ประโยชน์กับประชาชนและกรอบคิดข้อเสนออาจจะมากกว่า10 ประเด็นตามที่กำหนดไว้ได้ซึ่งเป้าหมายที่แท้จริงของการดำเนินโครงการคือการหนุนเสริมและการสร้างสภาวะแวดล้อมที่เกื้อกูลต่อการพูดคุยสันติสุขที่กำลังดำเนินอยู่
การดำเนินกิจกรรมโครงการ
สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลโคกม่วง ปีที่2
การลงระบบตามขั้นตอนการทำกิจกรรม@28 ก.พ. 64 23:05สร้างความร่วมมือการจัดการขยะตำบลโคกม่วง ปีที่2
หมู่บ้านทั้ง 15 หมู่ สามารถจัดการขยะได้ทั้ง 4 ประเภทแต่ยังไม่ครอบคลุมทุกครัวเรือน หมู่บ้านทั้ง15 หมู่ สามารถนำขยะไปใช้ประโยชน์ใหม่ได้มากว่า 50% กำหนดการจัดทำเตาเผาขยะในแต่ละหมุ่บ้าน@28 ก.พ. 64 22:42จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
ได้รู้ขยะที่กำจัดได้แต่ยังทิ้ง เศษผัก เปลือกผลไม้ เศษอาหาร เศษไม้ เปลือกหอย พรตพร้าว ได้รู้จุดกำเนิดขยะว่ามาจากจุดไหนบ้าง คือ ร้านค้า รถเร่ ตลาดนัด ครัวเรือน นักท่องเที่ยว ทะเล เรือประมง เด็ก/เยาวชน ได้รูปแบบของบ้านตัวอย่าง@22 ก.พ. 64 15:49จัดการขยะชุมชนชายฝั่งทะเลเพื่อรองรับการท่องเที่ยวบ้านมดตะนอย ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง
กรรมการที่ได้รับมอบหมายหน้าที่มีความรับผิดชอบและเก่งขึ้น แต่ละโซนมีการจัดการขะที่แตกต่างกัน รวมถึงบ้านตัวอย่างของแต่ละโซนมีจุดเด่นทุกโซน -ชาวบ้านได้ผลประโยชน์จากการมาศึกษาดูงานจากพื้นที่ข้างนอก เช่น ขายของดีขึ้น เกิดความร่วมมือของชาวบ้าน@22 ก.พ. 64 15:20เรียนรู้ทำนาข้าวเพื่อการบริโภคปลอดภัยที่บ้านตะโหมด
สมาชิกได้ความรู้เรื่องการเก็บเกี่ยวข้่าวที่ถูกต้อง สมาชิกได้ความรู้เรื่องการแปรรูปและการใช้ประโยชน์จากข้าว สมาชิกสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้@21 ก.พ. 64 04:46เรียนรู้ทำนาข้าวเพื่อการบริโภคปลอดภัยที่บ้านตะโหมด
ได้ความพร้อมเรื่องเอกสารความถูกต้อง ได้สรุปเรื่องวันเวลาในการจัดกิจกรรมการเก็บเกี่ยวและแปรรูป ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนปัญหาอุปสรรค@21 ก.พ. 64 04:32เรียนรู้ทำนาข้าวเพื่อการบริโภคปลอดภัยที่บ้านตะโหมด
สมาชิกได้รู้จักชื่อสมุนไพรที่สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำสมุนไพรไล่แมลงในนาข้าวได้ ได้กำหนดวันเวลา ในการไปศึกษาดูงานที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (มอ.หาดใหญ่) ได้มีการส่งเสริมให้สมาชิกปลูกสมุนไพร@21 ก.พ. 64 04:27พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
อบรมพัฒนาศักยภาพ การใช้กฏหมายจราจร คุณธรรมจริยธรรมการใช้รถใช้ถนนสาธารณะ (เด็กและเยาวชน) ?@19 ก.พ. 64 11:56พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
อบรมพัฒนาศักยภาพ การใช้กฏหมายจราจร คุณธรรมจริยธรรมการใช้รถใช้ถนนสาธารณะ (ผู้ปกครองและร้านค้า) ?@19 ก.พ. 64 11:53พัฒนาพื้นที่ต้นแบบลดอุบัติเหตุทางถนนระดับตำบล โดยกระบวนการมีส่วนร่วม
ส่งเสริมให้เด็กเป็นต้นแบบของการส้รางปลูกฝังจิตสำนึกดูแลความปลอดภัยลดอุบัติเหตุทางถนน (นักจราจรจิ๋ว) โดยสร้างพลังมุ่งเน้นการป้องกันและแก้ไขปัญหา ให้เด็กนักเรียนมีส่วนร่วมเฝ้าระวังความปลอดภัยใช้รถใช้ถนน@19 ก.พ. 64 11:13พัฒนาระบบป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอำเภอรามัน
ได้ร่วมรับฟังความคืบหน้าการนำเสนอผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์ ของแต่ละโครงการย่อย ที่ได้ดำเนินงานที่ผ่านมา มีการแบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่ม ได้รับการแลกเปลี่ยนแนวทางและแผนการพัฒนา Model ตามประเด็นสู่การขยายผลในระดับจังหวัด@17 ก.พ. 64 09:25ส่งเสริมการปลูก กิน ขายผักปลอดภัย ต.อัยเยอร์เวง
โดยแบ่งหน้าที่ตามความรับผิดชอบ และรับรู้ วันเวลา ในการจัดกิจกรรม@15 ก.พ. 64 22:16