แบบฟอร์มการเก็บข้อมูลเพื่อการประเมินแบบมีโครงสร้าง
ชื่อโครงการ ฟื้นอ่าว เพิ่มป่า ที่บ้านคลองขุด
รหัสโครงการ 57-01445 รหัสสัญญา 57-00-0949 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2557 - 30 มิถุนายน 2558
แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้
- ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
- การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
- ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
- กระบวนการชุมชน
- มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มี | ไม่มี | |||||||||
1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน |
|
|
|
|||||||
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่ | ความรู้เกี่ยวกับระบบนิเวศน์บริเวณชายฝั่ง จากการสำรวจของแกนนำเด็กและเยาวชน โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์และสรุปผลโดยคณะกรรมการโครงการ |
ข้อมูลระบบนิเวศน์1 ฉบับ แผนที่ทรัพยากร 1 ชุด |
|
|||||||
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่ | มีจำนวนพันธุ์สัตว์น้ำหลากหลายชนิดเพิ่มขึ้นในขณะเดียวกัน มีการฟื้นระบบนิเวศน์ริมคลองด้วยพันธุ์ไม้ที่หลากหลาย สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ |
ข้อที่ได้จากการสำรวจการเปลี่ยนแปลงหลังการทำกิจกรรม โดยมีการจัดทำฐานข้อมูลที่ชัดเจน |
มีการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ในหมู่บ้านใกล้เคียง และการปลูกต้นไม้เพิ่ม |
|||||||
3. กระบวนการใหม่ | มีการวางแผนออกแบบก่อนการทำกิจกรรมทุกครั้ง และมีการมอบหมายบทบาทภารกิจแต่ละฝ่ายทำงานที่ชัดเจน |
บันทึกการพูดคุยในการออกแบบเตรียมการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง |
|
|||||||
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่ | นอกจากมีการวางแผนออกแบบก่อนการทำกิจกรรมแล้ว หลังจากการทำกิจกรรม จะมีการสรุปประเมินผลการทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งเป็นทางการและไม่เป็นทางการ |
บันทึกการพูดคุยในแต่ละครั้ง |
มีแผนในการสร้างคนรุ่นใหม่เข้ามาร่วมออกแบบกระบวนการในการติดตามประเมินผล พร้อมการบันทึกข้อมูลที่เป็นระบบ สามารถตรวจสอบได้ |
|||||||
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่ | ทำให้เกิดการรวมกลุ่มของคนในชุมชน ในการร่วมทำกิจกรรมในชุมชน จากคนที่ไม่เคยเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ก็มีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมของกลุ่ม |
มีกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชนคือ กลุ่มออมทรัพย์สตรีบ้านคลองขุด ม.8 ต.หานโพธิ์ อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง |
เกิดกลุ่มเเกนนำในชุมชนที่ร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่เพิ่มขึ้น |
|||||||
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่ | เกิดแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์และขอบเขตอนุรักษ์ ซึ่งได้จากการออกแบบสำรวจของกลุ่มแกนนำเยาวชน ที่ร่วมกันวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลกับคณะทำงาน |
แผนที่อาณาเขตและแผนที่ทรัพยากรบ้านคลองขุดและข้อมูลระบบนิเวศน์ริมชายฝั่ง |
นำแผนที่ได้จากเวทีการสังเคราะห์ในชุมขน นำไปประสานเชื่อมโยงกับท้องถิ่น เพื่อบูรณาการแผนร่วมฟื้นฟูระบบนิเวศน์ริมชายฝั่ง |
|||||||
7. อื่นๆ |
|
|
|
|||||||
2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ |
|
|
|
|||||||
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล |
|
|
|
|||||||
2. การบริโภค | มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินพืชผักที่ปลูกไว้เองในครัวเรือน/และใส่ใจในอาหารการกินมากยิ่งขึ้น |
มีจำนวนกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนที่ปลูกผักกินเองในครัวเรือนโดยมีฐานข้อมูลที่ชัดเจน |
ยกระดับเป็นกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน แและมีตัวแทนชุมชนนำผักปลอดสารพิษมาจำหน่ายในงาน อาหารปลอดภัยทุกวันศุกร์ณ หน้า สนง. เกษตร จังหวัดพัทลุง |
|||||||
3. การออกกำลังกาย | มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการอกกำลังกาย ของกลุ่มผู้สูงวัย |
กลุ่มผู้สูงวัยจำนวน15คน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใส่ใจในการออกกำลังกานฃยมากขึ้น เช่นการเดิน ในตอนเช้าและตอนเย็น |
|
|||||||
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่ | มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดื่มเหล้าและบุหรี่ |
มีเขตปลอดเหล้าและบุหรี่ในชุมชน มรสํญลักษณ์ป้ายประกาศที่ชัดเจน |
|
|||||||
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท |
|
|
|
|||||||
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด | 1.ทำให้คนในชุมชนได้ออกมาร่วมกันทำกิจกรรม จะได้ไม่เกิดภาวะเครียด |
มีกลุ่มผู้สูงอายุจัดวงพูดุยเล่าเรื่องราวใอดีตของหมู่บ้านให้เด็กได้เรียนรู้ |
|
|||||||
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง |
|
บันทึกจากการเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงด้านอาชีพของคนในชุมชน |
|
|||||||
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน |
|
|
|
|||||||
9. อื่นๆ |
|
|
|
|||||||
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) |
|
|
|
|||||||
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ | มีการรณรงค์ลดใช้สารเคมีเกาตรซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาน้ำเสียและการลดลงของสัตว์น้ำในอ่าวบ้านคลองขุด |
บันทึการพูดคุย/การแสดงความคิดเห็นของผูเ้าร้วมประชุมในเวทีการพูดคุย |
|
|||||||
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา | มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริให้คน 3 วัย เข้ามามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเช่น กิจกรรมปลูกป่า/การโยน emballซึ่งทำให้คนผ่อนคลายมีความสุขกับการทำกิจกรรมร่วมกัว |
|
|
|||||||
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้ | ทำให้เกิดอาชีพที่หลากหลายในชุมชน ส่งผลให้คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น |
|
|
|||||||
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ |
|
|
|
|||||||
5. อื่นๆ |
|
|
|
|||||||
4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ |
|
|
|
|||||||
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน | 1.มีกฏกติกาในการห้ามจับสัตว์น้ำ ออกประกาศโดยชุมชนในพื้นที่ 2. มีป้ายเขยตอนุรักษ์ ห้ามจับสัตว์น้ำในชุมชน |
มีป้ายเขตอนุรักษ์ของชุมชนในพื้นที่ ม. 8 บ้านคลองขุด อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง |
มีการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ในชุมชน โดยมีกฏกติกา คือ การออกกฏ ห้ามจับปลาในฤดูวางไข่ในระยะเวลา 4 เดือน |
|||||||
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน | มีกติกา/ข้อตกลงที่คนในชุมชนร่ามกันกำหนดเกี่ยวกับการร่วมรักษาระบบนิเวศและการจัดการทัพยากร |
ดูจากเอกสารกฎกติกา ข้อตกลงของชุมชน |
มีการสมัครเป็นประมงอาสา จำนวน 15 คน ทำหน้าที่ในการดูแลเขตอนุรักษ์ |
|||||||
3. มีธรรมนูญของชุมชน |
|
|
|
|||||||
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ |
|
|
|
|||||||
5. เกิดกระบวนการชุมชน |
|
|
|
|||||||
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน) | เกิดกระบวนการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่มเครือข่ายทั้งในและนอกชุมชน เพราะโครงการนี้เป็นโครงการที่ทำขึ้นเพื่อคนทั้งชุมชนในการทำงานจึงต้องอาศัยความร่วมมือ การประสานงานของคนในชุมชน และความช่วยเหลือจากองค์กรต่างๆทั้งในและนอกชุมชน |
การร่วมเป็นสมาชิกเครือข่ายกับกลุ่มกิจกรรมต่าง ๆ เช่น เครือข่ายชุมชนคนรักลุ่มน้ำจังหวัดพัทลุง |
|
|||||||
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน) | ในการดำเนินโครงการตลอดทั้งปีย่อมมีปัญหาเข้ามาแน่นอน แต่ด้วยความร่วมมือ สามัคคี และการรู้จักเตรียมงาน การวางแผนทำให้สามารถแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นให้ลุล่วงไปได้ด้วยดี |
|
|
|||||||
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน |
|
สมุดออมทรัพย์ กองทุนฟื้นฟูสิ่งเเวดล้อม ของกลุ่มออมทรัพย์สตรี บ้านคลองขุด ม.8 อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง |
-เพิ่มพื้นที่ปลูกป่าจาก พื้นที่อ่าวคลองขุด ถึง บริเวณอ่าวขุนนนท ระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร |
|||||||
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง | มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่องเช่น กลุ่มแกนนำเด็กและเยาวชน ที่เกิดขึ้น ก็จะมีการนัดกันทำกิจกรรมเกือบทุกอาทิตย์เช่นการล่องเรือเก็บขยะ/สำรวจพันูกล้าไม้ที่ปลูก |
บันทึกการทำกิจกรรมของโครงการ |
มีแผนงาน/ทิศทางที่จะขยายผลการทำกิจกรรมในชุมชนใกล้เคียงและยกระดับการทำงานในการเชื่อมร้อยในรูปแบบภูมินิเวศน์ |
|||||||
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน | ในการดำเนินโครงการมีกิจกรรมการสำรวจข้อมูลระบบนิเวศน์ต่างๆของคลองป่าใส เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วก็ต้องมีการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ให้ได้ข้อมูลที่เป็นความรู้ หรือแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนได้ |
บันทึกสรุปผลการดำเนินกิจกรรม |
|
|||||||
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ | ในการดำเนินโครการ ก็ต้องมีการวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปได้ด้วยดี |
รูปธรรมที่ชัดเจน คือ แกนนำมีศักยภาพ สามารถบอกเล่าสรุปภาพรวมการดำเนินกิจกรรมได้ พร้อมทั้งกำหนดทิศทางโดยใช้ฐานข้อมูลที่ได้จากการทำกิจกรรม |
|
|||||||
7. อื่นๆ |
|
|
|
|||||||
6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ |
|
|
|
|||||||
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน | รู้สึกภาคภูมิใจสำหรับโครงการนี้ ที่สามารถพลิกฟื้นริมชายฝั่งที่เคยแห้งแล้งและทรุดโทรมให้กลับมามีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้นถึงแม้ว่าการดำเนินโครงการจะไม่ได้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างเต็มร้อยแต่สิ่งที่เกิดขึ้นก็คุ้มค่าเช่นเกิดกลุ่มแกนนำเด็กและเยาวชน สามารถปลูกฝังให้แกนนำ มีจิตสำนึกรักบ้านเกิด มีความรับผิดชอบต่อส่วนรวมและช่วยกันบำรุงรักษาทรัพยากรในหมู่บ้านให้อยู่คู่ชุมชนตลอดไป |
บันทึกการประเมินผลการดำเนินโครงการและการพูดคุยของคนในชุมชน |
|
|||||||
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล | โครงการนี้เป็นโครงการที่เอื้อประโยชน์ให้กับคนในชุมชน คนในชุมชนจึงให้ความร่วมมือ ยอมเสียสละเวลามาร่วมกิจกรรมกับโครงการเป็นอย่าง |
บันทึกการสรุปการประเมินผลการดำเนินโครงการ ตลอดถึงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เข้าร่วมกิจกรรมของคนในชุมชน |
|
|||||||
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง | โครงการนี้ต้องอาศัยความร่วมมือของคนในชุมชนและอีกหลายฝ่ายเพื่อให้งานสำเร็จุล่วงไปได้ด้วยดี เมื่อคนในขุมขนให้ความร่วมมือ คนในชุมชนมีความสามัคคี รักใคร่ปรองดอง รวมไปถึงมีความเอื้ออาทรต่อกัน ทำให้คนในชุมชน ใช้ชีวิตเเบบเรียบง่ายไม่ฟุ่มเเฟือยเเละใช้ชีวิตอย่างพอเพียง |
พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของคนในชุมชนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีน้ำใจช่วยเหลือกันมากขึ้น |
|
|||||||
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร | เกิดการเเบ่งปันของคนในชุมชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น รวมทั้งนในชุมชนเกิดการเอื้ออาทรในการอยู่ร่วมกันของคนในชุมชน ที่จะนำไปสู่ การเเบ่งปันเเละการร่วมมือในการทำงานได้เป็นอย่างดี |
พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของคนในชุมชนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และมีน้ำใจช่วยเหลือกันมากขึ้น |
|
|||||||
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา | ภายใต้การดำเนินโครงการสร้างการเรียนรู้ในการตัดสินใจที่ผ่านการวิเคราะห์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางความคิดที่ต้องใช้ความคิดและการวิเคราะห์ในเชิงลึกมากขึ้นในการตัดสินใจ |
บันทึกการพูดคุยและภาพประกอบในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และเสียงสะท้อนจากคณะกรรมการ และสมาชิกในชุมชนที่เข้าร่วมการทำกิจกรรมโครงการ |
|
|||||||
6. อื่นๆ |
|
|
|
|||||||
7. บทคัดย่อ |
|
|
|
|||||||
1. บทคัดย่อ | ภายใต้การขับเคลื่อนโครงการ ฟื้นอ่าว เพิ่มป่า ที่บ้านคลองขุด ที่มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความร่วมมือของคนในชุมชน ให้เห็นความสำคัญและความตระหนักในการฟื้นรักษาระบบนิเวศน์ริมชายฝั่ง เพื่อให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของพัยธุ์สัตว์น้ำและระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์จากการดำเนินการ พบว่าคนในชุมชนมีความตื่นตัวภายใต้การทำกิจกรรมต่าง ๆ จนสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความคิด จนเข้ามาร่วมกิจกรรมภายใต้โครงการอย่างเข้มข้น ทำให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ คือ ผลผลิต
ผลลัพท์
ผลกระทบ จากผลการดำเนินงานชุมชนนำไปจัดทำเป็นแผนเพื่อผลักดัน บูรณาการการทำงานกับท้องถิ่นและจังหวัด |