คนสร้างสุข

อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น (สิละ)

รายละเอียดโครงการ
รหัสโครงการ
ชื่อโครงการ อนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสาน ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น (สิละ)
ประเภทโครงการ/ประเด็นงาน ประเด็นที่ 4 งานการศึกษา ศาสนา และศิลปวัฒนธรรม
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาวัฒนธรรมตำบลตะลุโบะ
วันที่อนุมัติโครงการ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 31 ธันวาคม 2560
งบประมาณโครงการ 255,140.00 บาท
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 50 คน
กลุ่มเป้าหมายหลักในโครงการ

เด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 15 ปี เด็กและเยาวชน อายุไม่เกิน 15 ปี หมู่ที่ ๑ จำนวน ๕ คน หมู่ที่ ๒ จำนวน ๕ คน หมู่ที่๓  จำนวน ๕ คน หมู่ที่ ๔  จำนวน ๒ คน หมู่ที่ ๕  จำนวน ๕ คน หมู่ที่ ๖  จำนวน ๕ คน หมู่ที่ ๗  จำนวน ๑๐ คน หมูที่ ๘  จำนวน ๙ คน หมู่ที่ ๙  จำนวน ๔ คน รวมจำนวน ๕๐ คน

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมัน สาเมาะ ประธานสภาวัฒนธรรมตำบลตะลุโบะ
รายชื่อคณะทำงาน ? 1. นายสมันสาเมาะ ประธาน 2. นางสาวกอฟเซาะสอเฮาะ รองประธาน/เหรัญญิก 3. นางสาวมารีแยราโมง รองประธาน 4. นางสาวซัยนับกาเกาะ เลขานุการ 5. นางสาวฮาซียะห์มูฮามะ ผู้ช่วยเหรัญญิก 6. นางสาวนัยซะมามะ กรรมการ 7. นางสาวแวมือแยมามะ กรรมการ 8. นางดรุณียีหมัดเส็น กรรมการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี
ผู้ดำเนินการติดตามสนับสนุนโครงการ
  • สภาวัฒนธรรมต.ตะลุโบะสภาวัฒนธรรมต.ตะลุโบะ (Owner)  
งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 ต.ค. 2560 2 พ.ย. 2560 255,140.00
รวมงบประมาณ 255,140.00

รายละเอียดโครงการ

หลักการและเหตุผล

วัฒนธรรมเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าวิถีชีวิตที่ชุมชนและท้องถิ่นต่างๆได้พัฒนาและสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการดำเนินชีวิต โดยแสดงออกในรูปแบบและวิธีการที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบของวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะการแสดง ฯลฯ เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นให้คนในชุมชนท้องถิ่นเกิดความตระหนัก มีความตื่นตัวและเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูเผยแพร่และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น และคุณค่าความหลากหลายของศิลปะและวัฒนธรรมไทย ทั้งที่เป็นวิถีชีวิต ค่านิยม และความเป็นไทย ในปัจจุบันวัฒนธรรมท้องถิ่นถูกละเลยและมีการถ่ายทอดไปสู่คนรุ่นใหม่น้อย เช่น การแต่งกาย ภาษาพูด รวมทั้งประเพณีและวิถีชีวิตที่ดีงาม ท่ามกลางความหลากหลายทางวัฒนธรรมภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ วัฒนธรรม ได้มีการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หากมรดกทางวัฒนธรรม ที่มีความแตกต่างหลากหลายกันในพื้นที่ ไม่ได้รับการสืบสานและอนุรักษ์ฟื้นฟูรวมถึงการพัฒนาต่อยอดให้เกิดคุณค่าทางสังคมและจิตใจทำให้คุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมลดน้อยไปจนแทบจะสูญหาย วัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมองค์ความรู้ในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะโดดเด่นที่แตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ ในแต่ละพื้นที่มีภูมิปัญญาหลากหลาย ควรที่จะได้รับการถ่ายทอดเยาวชนรุ่นหลังสืบไป การอนุรักษ์เป็นหนทางหนึ่งที่ยั่งยืน ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนให้ดำรงอยู่ในท้องถิ่น     การเรียนรู้ภูมิปัญญา ให้เด็กและเยาวชนเป็นผู้สืบทอด ภูมิปัญญาจากผู้รู้ในชุมชน เพื่อให้เยาวชนสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ ถ่ายทอดประมวลผล ตลอดจนสนับสนุนให้เยาวชน และชุมชนโดยตระหนักถึงความสำคัญของชุมชน มีความเข้าใจรากเหง้า ความเป็นวัฒนธรรม แบ่งปัน เกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีการศึกษาเรียนรู้วิถีการดำรงชีวิต ชุมชนภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่มีมาช้านาน บนพื้นฐานของธรรมชาติที่เกี่ยวพันสอดคล้องกันกับวิถีชีวิตชุมชน สถานการณ์และปัญหาของเด ็กและเยาวชนไทยขณะนี้กำลังเผชิญกับความเสี่ยงมากมายอันเกิดจากสังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมอันตรายที่ล้อมรอบตัวเด็ก เด็กและเยาวชนจำนวนมากซึมซับพฤติกรรมความรุนแรง สิอลามกอนาจาร เสพยาเสพติด มีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร อยู่ในแหล่งมัวสุม และอื่นๆ จนพฤติกรรมเหล่านี้กลายเป็นส่ วนหนึ่งของชีวิตร่วมสมัยของเด็กและเยาวชนที่เติบโตขึ้นทุกวัน ในโครงการศึกษาวิจัยศักยภาพท้องถิ่นในการพัฒนาและคุ้มครองเด็กและเยาวชน พบว่าปัญหาสำคัญที่จำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนมี 9 ปัญหา ได้แก่ 1) ปัญหาด้านยาเสพติด พบว่า เด็กและเยาวชนมีการเสพยาบ้า สารระเหย กัญชา และ 4X100 2) ปัญหาด้านพฤติกรรม ได้แก ่ ความฟุ้งเฟ้อ การแต่งกาย ติดเกม ขาดวินัย ความรับผิดชอบ ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ขาดความร่วมมือกับชุมชน ไม่มีพลังเยาวชน และขาดจิตสำนึก 3) ปัญหาด้านการศึกษา พบว่า เด็กและเยาวชนขาดเรียน ออกกลางคัน หนีเรียน ไม่เรียนต่อในระดับสูง ยากจน ไม่มีทุนศึกษาต่อ เรียนจบแล้วไม่มีงานทำ 4) ปัญหาทางเพศการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร พบว่า มีการค้าประเวณี เกิดปัญหาท้องไม่มีพ่อ 5) ปัญหาคุณธรรม จริยธรรม พบว่า เด็กและเยาวชนมีนิสัย กิริยามารยาทก้าวร้าว ขาดความเคารพเชื่อฟัง ไม่ปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม 6) ปัญหาการใช้เวลาว่าง เด็กและเยาวชนใช้เวลาว่างในการเล่นเกม ติดเพื่อน มั่วสุม เล่นการพนัน ดื่มสุรา ติดบุหรี่ และอื่นๆ 7) ปัญหาการก่ออาชญากรรม ม ีการทะเลาะเบาะแว้ง ยกพวกตีกัน ลักขโมย ปล้นจนถึงขั้นการข่มขืน 8) ปัญหาครอบครัว พบว่า ครอบครัวไม่มีเวลาดูแลบุตรหลาน ครอบครัวเปราะบาง แตกแยกขาดความอบอุ่น 9) ปัญหาการค้ามนุษย์แรงงานเด็ก การค้าประเวณี และอื่นๆ ดังนั้นสภาวัฒนธรรมตำบลตะลุโบะ ได้เล็งเห็นคุณค่าทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่กำลังจะสูญหาย จึงจัดโครงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ( สีสัต)ขึ้นเพื่อเป็นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู สืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
(สิละ) ให้ดำรงอยู่ รักษา ศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาอันเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัว เพื่อให้ชุมชนแข็งแรงมีรากแก้ว ไม่ถูกกลื่นไปกับกระแสโลกาภิวัฒน์โดยปราศจากดุลยภาพทางปัญญาและความรู้ที่จะอนุรักษ์สิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างไว้ และ เป็นผู้สืบทอดต่อไป

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อส่งเสริมสนับสนุนและอนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ๒. เพื่อปลูกจิตสำนึกให้เด็กเยาวชนในท้องถิ่นเกิดความตระหนัก และเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และสืบสานภูมิปัญญาและคุณค่าความหลากหลายทางวัฒนธรรม ทั้งที่เป็นชีวิต ค่านิยมที่ดีงาม และความเป็นไทย ๓. เพื่อให้เด็กเยาวชนในท้องถิ่นได้เรียนรู้ความสำคัญ รู้จักวิถีชีวิต รู้ถึงคุณค่าของประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น ความเป็นมาและวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น อันจะสร้างความภูมิใจและจิตสำนึกในการรักษาวัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่นสืบไป

การดำเนินงาน/กิจกรรม

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
26 ก.ย. 60 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 15 5,850.00 5,850.00 more_vert
1 ต.ค. 60 ค่าวัสดุ อุปกรณ์สำนักงาน 50 5,490.00 5,490.00 more_vert
4 ต.ค. 60 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 15 5,850.00 5,850.00 more_vert
12 - 13 ต.ค. 60 กิจกรรมที่ 2 เรียนรู้ศาสตร์และศิลป์และฝึก/วาด/เขียนเกี่ยวกับปันจักสีลัต 50 21,600.00 21,600.00 more_vert
14 ต.ค. 60 - 2 พ.ย. 60 กิจกรรมที่ 1 ฝึกสอนศิลปะปันจักสีสัตแก่เด็กเยาวชน 50 200,400.00 200,400.00 more_vert
3 พ.ย. 60 ประชุมคณะทำงาน คร้งที่ 3 15 5,850.00 5,850.00 more_vert
10 ธ.ค. 60 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4 15 5,850.00 5,850.00 more_vert
20 ธ.ค. 60 จัดทำรายงานผลการดำเนินงาน 15 4,250.00 4,250.00 more_vert
14 ก.ค. 61 การอบรมบันทึกข้อมูล องค์กรภาคประชาสังคม โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไข้ปัญหาและพัฒนา จชต. ประจำปี พ.ศ.2560 (งบ 50 ล้าน) 111 0.00 0.00 more_vert
รวม 336 255,140.00 9 255,140.00

ไฟล์เอกสาร

ลำดับวันที่ส่งเอกสารชื่อเอกสารผู้ส่ง  
1 14 ก.ค. 2561 ไฟล์เอกสารอื่น ๆ (.doc) สภาวัฒนธรรมต.ตะลุโบะ ดาวน์โหลด

โครงการเข้าสู่ระบบโดย เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 น.