คนสร้างสุข

ส่งเสริมอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าแก่ผู้ได้รับผลกระทบฯ ในพื้นที่ จชต.

รายละเอียดโครงการ
รหัสโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าแก่ผู้ได้รับผลกระทบฯ ในพื้นที่ จชต.
ประเภทโครงการ/ประเด็นงาน ประเด็นที่ 5 งานพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และคุณภาพชีวิตประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ มูลนิธิสตรีผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้
วันที่อนุมัติโครงการ 17 กันยายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 30 พฤศจิกายน 2560
งบประมาณโครงการ 245,865.00 บาท
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย 60 คน
กลุ่มเป้าหมายหลักในโครงการ

กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายยินดีแซ่เหง่า ประธานมูลนิธิสตรีผู้ได้รับผลกระทบ ฯ
รายชื่อคณะทำงาน ? 1. นางยินดี แซ่เหง่า มีหน้าที่ ควบคุม ดูแล การดำเนินงานตามแผนงานที่ตั้งไว้ 2. นางสาวนูรียา เจะแว มีหน้าที่ ดำเนินการ การจัดกิจกรรมทั้งหมด 3. นางสุนิดา สมาแอ มีหน้าที่ เหรัญญิก 4. นางพัชรี ศรีบุญเรือง มีหน้าที่ บันทึกข้อมูลและรวบรวมเอกสารเพื่
พื้นที่ดำเนินการ
ผู้ดำเนินการติดตามสนับสนุนโครงการ
  • มูลนิธิสตรีผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ จังหวัดชายแดนภาคใต้มูลนิธิสตรีผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบ จังหวัดชายแดนภาคใต้ (Owner)  
งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
รวมงบประมาณ 0.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (0.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (245,865.00 บาท)

รายละเอียดโครงการ

หลักการและเหตุผล

เหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นเหตุการณ์ที่นานาชาติต่างให้ความสนใจแต่สำหรับคนไทยถือว่าเป็นพื้นที่เดียวที่นำมาซึ่งความเจ็บปวดและทุกข์ทรมานให้แก่ชาวไทยมากและยาวนานซึ่งในปัจจุบันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดและ 4 อำเภอของสงขลาประมาณ 4,000 ครอบครัวครอบครัวเหล่านี้ทางมูลนิธิสตรี ฯ ได้เล็งเห็นความสำคัญมาก เพราะเป็นครอบครัวที่ได้รับการสูญเสียที่แท้จริงจากเหตุการณ์ดังกล่าวที่เกิดขึ้นทำให้ในพื้นที่มีสตรีหม้ายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในแต่ละปีและมีครอบครัวเลี้ยงเดียวเพิ่มมากขึ้น ทำให้สตรีหม้ายในพื้นที่ต้องรับหน้าที่เป็นทั้งพ่อและแม่ในเวลาเดียวกัน บางครอบครัวต้องทำงานหนักเพื่อหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวประกอบกับในปัจจุบันค่าครองชีพสูงทำให้กลุ่มสตรีหม้ายจากสถานการณ์เหล่านี้ต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้นจากการลงและพื้นที่เพื่อสัมผัสกับครอบครัวอย่างใกล้ชิดจะเห็นว่าครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ ฯ เหล่านี้ บางครอบครัวต้องออกไปทำงานนอกพื้นที่ทำให้ลูกต้องอยู่ตามลำพังหรืออาศัยกับอยู่กับญาติ ทำให้ส่งผลกระทบ ฯ ต่อพฤติกรรมของเด็กในการเข้าไปผัวพันกับสิ่งเสพติดและอบายมุขตลอดจนการก่อปัญหาทางสังคมอีกมากมาย เพราะการปล่อยละเลยของของแม่ที่ไม่มีเวลาได้ใกล้ชิดกับลูก บางครอบครัวทำงานจนไม่มีเวลาดูแลลูก ทำให้ลูกติดเพื่อนมากกว่าติดแม่ และบางครอบครัวไม่มีอาชีพ ทำให้ลูกไม่สามารถเรียนต่อได้ จึงเกิดปัญหาในครอบครัวขึ้นโดยมีปัญหาหลักๆ ดังนี้ 1.1 ปัญหาการไม่เข้าใจระหว่างแม่กับลูกเพราะแม่ไม่มีโอกาสได้นั่งคุยกับลูก 1.2 ปัญหาความยากจนรายได้ไม่พอกับรายจ่ายของครอบครัว 1.3 ปัญหาลูกติดยา ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนบั่นทอนสภาพจิตใจของสตรีผู้เป็นแม่อย่างมากเพราะต้องเจอปัญหาความรุนแรงที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดและเกิดโดยไม่ทันตั้งตัวเหตุการณ์เลวร้ายทีเกิดขึ้นทำลายสภาพจิตใจ ทำลายสภาพร่างกายอย่างบอบช้ำซ้ำต้องเจอกับปัญหาต่างๆโดยที่ต้องหาวิธีแก้ปัญหาโดยลำพังต้องทำจิตใจให้เข้มแข็งในสภาวะน้ำตาเต็มอก แต่สตรีเหล่านี้ก็ยังยืนยัดโดยไม่มีสิทธิท้อไม่มีสิทธิเหนื่อยไม่มีสิทธิพัก เพื่อความอยู่รอดของสมาชิกในครอบครัวต่อไป ด้วยเหตุนี้มูลนิธิสตรีผู้ได้รับผลกระทบ ฯ จึงจัดกิจกรรม “ส่งเสริมอาชีพแก่ผู้ได้รับผลกระทบ ฯ ”ขึ้น เพื่อช่วยเหลือครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบ ฯ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและฟื้นฟูสภาพจิตใจสภาพความเป็นอยู่ และเพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ ฯ อีกทั้งยังส่งเสริมให้สตรีหม้ายจากเหตุการณ์ไม่ต้องออกไปทำงานนอกพื้นที่กลับมาทำงานในชุมชนมีเวลาดูแลครอบครัว มีเวลากอดลูก นั่งคุยกับลูก เพื่อสร้างครอบครัวที่อบอุ่นและเป็นกำลังใจให้คนในครอบครัวต่อไป

วัตถุประสงค์

2.1ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ให้กับครอบครัว บรรเทาความเดือดร้อน ดูแลคุณภาพชีวิตและสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบ ฯ เพื่อขจัดปัญหาความขัดแย้งระหว่างแม่กับลูกเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้ครอบครัวของผู้ได้รับผลกระทบ ฯ 2.2ลดปัญหาการว่างงาน และแก้ปัญหาความเครียดแก่สตรีหม้ายที่ได้รับผลกระทบ ฯ โดยการลดช่องว่างในการนึกถึงเหตุการณ์อันเลวร้ายที่ผ่านมา 2.3เพื่อเปิดโอกาสให้สตรีหม้ายที่ได้รับผลกระทบ ฯ ได้ทำกิจกรรมร่วมกันและได้พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สะท้อนปัญหาครอบครัวให้กับผู้ได้รับผลกระทบ ฯ ด้วยกัน ทำให้กลุ่มสตรีหม้ายเหล่านี้มีการระบายความรู้สึกออกมา ทำให้เกิดการผ่อนคลายลดภาวะทางจิตใจมากขึ้น
2.4ลดปัญหาเด็กกำพร้าอยู่ตามลำพัง สร้างภูมิคุ้มกันให้เด็กกำพร้าจากสถานการณ์ในพื้นที่ที่อยู่อย่างโดดเดี่ยวมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น ได้รับความรักจากครอบครัวมากขึ้นทำให้เด็กเหล่านี้ห่างไกลจากกระบวนการยาเสพติดมีสภาพจิตใจที่เข้มแข็ง สามารถก้าวเดินไปถึงจุดหมายที่สูงสุดได้

การดำเนินงาน/กิจกรรม

วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย (คน)งบกิจกรรม (บาท)ทำแล้วใช้จ่ายแล้ว (บาท)
1 - 29 ก.ย. 60 ประชุมประจำเดือนคณะกรรมการ 4 ครั้ง 17 7,140.00 7,140.00 more_vert
1 ก.ย. 60 - 30 พ.ย. 60 ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการ รายงาน 60 1,405.00 1,405.00 more_vert
1 ก.ย. 60 - 30 พ.ย. 60 วัสดุอุปกรณ์ 0 48,240.00 48,240.00 more_vert
2 - 29 ก.ย. 60 กิจกรรมลงพื้นที่พบปะผู้เข้าร่วม 17 17,480.00 17,480.00 more_vert
8 - 23 ต.ค. 60 อบรมอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้าแก่สตรีผู้ได้รับผลกระทบ ฯ 60 171,600.00 171,600.00 more_vert
14 ก.ค. 61 การอบรมบันทึกข้อมูล โครงการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนา จชต.2560 111 0.00 0.00 more_vert
11 - 12 ก.ย. 61 กิจกรรม "พัฒนาศักยภาพภาคประชาสังคม รุ่นที่ 2" 521 0.00 0.00 more_vert
รวม 786 245,865.00 7 245,865.00

โครงการเข้าสู่ระบบโดย เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2567 น.