ความเป็นมา สภาองค์กรชุมชน (รอข้อมูล)

รู้จักงานส่งเสริม สนับสนุนสภาองค์กรชุมชน
หลังจากที่พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2551 โดยมีเจตนารมณ์สำคัญในการส่งเสริมให้ชุมชน ซึ่งเป็นสังคมรากฐานมีความเข้มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่นตามความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นผู้รักษาการตาม พ.ร.บ. และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) มีหน้าที่ในการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดตั้ง และพัฒนากิจการของสภาองค์กรชุมชน

พอช.ได้กำหนดแนวทางสำคัญในการขับเคลื่อนงานสภาองค์กรชุมชน โดยมุ่งเน้นให้เครือข่ายองค์กรชุมชนทุกระดับ มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการจดแจ้งจัดตั้งสภาองค์กรชุมชน สนับสนุนให้สภาองค์กรชุมชนที่จัดตั้งแล้ว เป็นเวทีกลางในการเชื่อมโยงงานพัฒนาด้านต่าง ๆ ของชุมชนในระดับตำบลและจังหวัด ส่งเสริมให้สภาองค์กรชุมชนมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหนุนเสริมการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น รวมถึงพัฒนาพื้นที่เรียนรู้สภาองค์กรชุมชนเพื่อการขยายผลการจัดตั้งและดำเนินงานของสภาองค์กรชุมชนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ภารกิจสภาองค์กรชุมชน ระดับตำบล ใน “ระดับตำบล” สภาองค์กรชุมชนตำบลมีภารกิจตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน ดังนี้

  1. ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนอนุรักษ์ฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือ วัฒนธรรมอันดีของชุมชนและของชาติ
  2. ส่งเสริมสนับสนุนให้สมาชิกองค์กรชุมชนร่วมมือกับ อปท.และหน่วยงานของรัฐในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติที่จะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืน
  3. เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกันในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน
  4. เผยแพร่และให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกองค์กรชุมชน รวมตลอดทั้งการร่วมมือกันในการคุ้มครองคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  5. เสนอแนะปัญหาและแนวทางแก้ไข หรือความต้องการของประชาชนเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ หรือ อปท.
  6. จัดให้มีเวทีการปรึกษาหารือเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของปชช.ในการให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการของ อปท.หน่วยงานรัฐหรือเอกชนที่มีผล หรือ อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตชุมชน ทั้งนี้ อปท.หรือหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นผู้อนุญาตให้ภาคเอกชนดำเนินการต้องนำความเห็นดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย
  7. ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข้มแข็ง สมาชิกองค์กรชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
  8. ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนตำบลอื่น
  9. รายงานปัญหาและผลที่เกิดขึ้นในตำบลอันเนื่องจากการดำเนินงาน ของ อปท.หรือหน่วยงานของรัฐ  ต่อ อปท.และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง
  10. วางกติกาในการดำเนินกิจการสภาองค์กรชุมชน
  11. จัดทำรายงานประจำปีของสภาฯ รวมถึงสถานการณ์ด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นในตำบล เพื่อเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบ
  12. เสนอรายชื่อผู้แทนสภาองค์กรชุมชนตำบลสองคนเพื่อไปร่วมประชุมในระดับจังหวัดของสภาองค์กรชุมชนตำบล