directions_run

โครงการสร้างสุขภาวะเกษตรกร ลดใช้สารเคมีทางการเกษตร

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมสรุปแลกเปลี่ยนปิดโครงการ28 กันยายน 2556
28
กันยายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์

-

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

-

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายสมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมถอดบทเรียนจากการทำโครงการ ระยะสรุปผลโครงการ16 กันยายน 2556
16
กันยายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์

-

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

-

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน21 สิงหาคม 2556
21
สิงหาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะ และสถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชน มานำเสนอให้ชาวบ้านได้รับฟัง
  • เพื่อสร้างความตระหนักในการใช้สารเคมีอันตราย
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • รับลงทะเบียน
  • กล่าวต้อนรับ โดย รองผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาพระ
  • ชี้แจงโคงการ หลักการความเป็นมาของโครงการ และวัตถุประสงค์กิจกรรม
  • นำเสนอข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมี และสถานการณ์สุขภาวะของชุมชน โดยตัวแทนนักเรียน
  • นำพุดคุยถึงสถานการสุขภาพในปัจจุบันที่เกิดขึ้น
  • เปิดเวทีซักถามข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นของโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้านได้รับรู้เรื่องการใช้สารเคมีในชุมชน
  • ชาวบ้านให้ความสนใจ และให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในเวที และกิจกรรมต่อๆไป เห็นได้จากการนำเสนอความคิดเห็นของชาวบ้านที่เข้าร่วมเวทีบางส่วน
  • เกิดการร่วมกันแชร์ปัญหาทางด้านการเกษตรที่เกิดขึ้ย
  • มีการรับปากจากชาวบ้านบางส่วนในการร่วมกันปลูกผักพื้นบ้านปลอดสารพิษ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 120 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เตรียมงานก่อนจัดกิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน14 สิงหาคม 2556
14
สิงหาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพูดคุยวางแผนการดำเนินงานในกิจกรรมคืนข้อมูลสู่ชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • นัดวันการจัดกิจกรรม
  • วางแผนการดำเนินรายการในเวที
  • แบ่งหน้าที่รับผิดชอบในการประสารงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นัดวันจันกิจกรรมในวันที่ 21 สิงหาคม 2556
  • ให้ทางโรงเรียนเชิญผู้ปกครองนักเรียนมาร่วมกิจกรรม
  • กำหนดการ คือ มีการกล่าวต้นรับโดย ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเขาพระ ชี้แจงภาพรวมโครงการโดยผู้รับผิดชอบโครงการ นำเสนอข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะ และสถานการณ์การใช้สารเคมี โดยนักเรียนที่ลงเก็บข้อมูล ให้ความรู้เรื่องสุขภาพชุมชนโดยเจ้าหน้าที่ รพ.สต.เขาพระ และเปิดเวทีให้แลกเปลี่ยน และสักถาม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมพัฒนาช่องทางการจำหน่ายผักพื้นบ้าน5 กรกฎาคม 2556
5
กรกฎาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนารูปแบบการกระ- - จายสินค้าทางการเกษตรที่ปลอดสาร
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • หารือประเด็น สถานที่จักจำหน่าย แนวการประชาสัมพันธ์ และรูปแบบการแพ็คกิ้ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ระบบการกระจายผักพื้นบ้าน

- มีผู้จักการการกระจายสินค้า คือ นายปรัชญา  หมัดหลี มีหน้าที่ หาข้อมูลดูว่าสมาชิดมีผักอะไรบ้าง(ผู้ที่เข้ามาเป็นสมาชิดต้องผ่านการตรวจสารปนเปื้อนในผักของบคณะกรรมการโดยวิธีการลงไปดูในแปลงผลิตผัก) ดูแผนการผลิตผักของสมาชิก ในรอบ วัน และรอบเดือน และนัดวันไปรับผักกับสมาชิก แล้วนำไปส่งที่จุดจำหน่อยในชุมชน - มีจุดจำหน่อยผักในชุมชนที่ชัดเจน 2 จุด คือ พื้นที่ บ้านหน้าเขา หมู่ 10 และพื้นที่บ้านแม่พรุ หมู่ 6 ต.เขาพระ - จุดจำหน่ายผักพื้นบ้านในโรงพยาบาล มีสถานที่ขายชัดเจนโดยได้คำรับรองจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลรัตภูมิ แต่ชุมยังไม่สามารถไปขายได้เนื่องจากหาผู้รับผิดชอบไม่ได้ - ตลาดหน้าอำเภอ ก็ยังหาผู้จัดการไม่ได้ แต่ชุมชนก็ยังเห็นตรงกันอยู่ว่าจะพยายามทำจุดจำหน่ายสองจุดนี้ให้เกิดขึ้น 2. แนวการประชาสัมพันธ์ มีการเสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ ผ่านทาง Facebook วิทยุเพื่อสุขภาพ และแผ่นผับต่างๆ 3. รูปแบบการแพ็คกิ้ง มีการเสนอว่า การบรรจุภัณฑ์ยังคงใช้รูปแบบเดิม แต่ ต้องมีโลโก้ของเกษตรธาตุ 4 เพื่อรับรองความเชื้อมั่นต่อผู้บริโภค

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ภ.ก.สมชาย ลงพื้นที่ติดตามโครงการครั้งที่ 216 มิถุนายน 2556
16
มิถุนายน 2556รายงานจากพี่เลี้ยง โดย twoseadj
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ ตลอดจนทบทวนปัญหาอุปสรรคการทำกิจกรรมช่วงที่ 2 ตลอดจนการต่อยอดโครงการในปีที่ 2

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เป็นการประชุมร่วมของคณะทำงานโครงการและพี่เลี้ยงเพื่อนำเสนอผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาว่า เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบ จากการดำเนินกิจกรรมอะไรบ้าง การร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาที่ยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ การดำเนินการแก้ไขในส่วนที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย การร่วมกันพูดคุยประเด็นที่ต้องการต่อยอดโครงการในปีที่ 2 มีผู้เข้าร่วมจำนวน 7 คน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.พี่เลี้ยงและผู้รับผิดชอบโครงการมีการทบทวนผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาของโครงการและผลการดำเนินโครงการเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในโครงการเดิมหรือไม่ รายละเอียดมีดังนี้

  • พี่เลี้ยงมีการทวทวนวัตถุประสงค์ของการดำเนินโครงการซึ่งเขียนไว้ในโครงการ เพื่อให้คณะทำงานได้รับทราบอีกครั้ง และมีการเขียนเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างผลการดำเนินกิจกรรมและวัตถุประสงค์แต่ละข้อ
  • ประเด็นที่เป็นหัวใจของโครงการ คือ
    1.1การพัฒนากลไกการจำหน่ายผักพื้นบ้านและผักปลอดสารในชุมชน ขณะนี้ยังไม่ชัดเจนในเรื่องระบบการจัดการ ช่องทางกระจายสินค้า ระบบของกลุ่มเพื่อจำน่ายไม่ชัดเจน ซึ่งพื้นที่มีการเล่าให้ฟังแค่เพียงมีกิจกรรมผู้ผลิตพบผู้บริโภค ซึ่งผลที่ออกมาเป็นแค่การจัดกิจกรรมเฉพาะครั้งคราว

พี่เลี้ยงเสนอแนะ:ควรมีการมาทบทวนการกระจายผักพื้นบ้านที่ชัดเจน เช่น รูปแบบการกระจายผักพื้นบ้านในชุมชน การกระจายในระดับอำเภอ เช่น การไปจำหน่ายที่ รพ.รัตภูมิ เป็นต้น และการกระจายผักพื้นบ้านไปยังหาดใหญ่ ผ่านระบบ CSA ซึ่งพื้นที่ควรมีผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน

1.2 การจัดทำข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะของเกษตร พบว่าข้อมูลที่ได้ไม่สามารถใช้ประโยชน์ในการวัดระดับสุขภาวะของเกษตรกรได้ชัดเจนมากนัก เช่น มีแค่ตัวเลขปริมาณการใช้สารเคมี หรือการใช้ยาฆ่าแมลง เป็นต้น

พี่เลี้ยงเสนอแนะ:ควรมีการทบทวนแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะใหม่ และอาจปรับประยุกต์ใช้เครื่องมือแผนที่เดินดินมาใช้ในการจัดเก็บ ตลอดจนการเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมทำงาน เช่น เจ้าหน้าที่ รพ.สต. อบต.เป็นต้น พร้อมกับมีการนำเสนอและใช้ข้อมูลเพื่อให้คนในพื้นทีเกิดความตระหนักถึงสถานการณ์สุขภาวะของเกษตรกร

1.3 การผลักดันนโยบายเกี่ยวกับผักพื้นบ้าน เช่น การผลักดันให้เมนูผักพื้นบ้านไปบรรจุไว้ในเมนูอาหารกลางวันของโรงเรียนในพื้นที่

พี่เลี้ยงเสนอแนะ:ให้มีการเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อันประกอบด้วย ผู้บริหารและผู้ปรุงอาหารแก่นักเรียนของโรงเรียนในพื้นที่ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. เภสัชกรและโภชนการของโรงพยาบาลรัตภูมิ เพื่อมาร่วมกันหารือและจัดการผลักดันให้เกิดเมนูอาหารอย่างชัดเจนต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ให้เร่งดำเนินกิจกรรมในส่วนที่ยังไม่บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ประกอบด้วย การพัฒนากลไกการกระจายผัก การพัฒนาระบบข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะเกษตรกร การเร่งผลักดันให้เมนูผักบรรจุอยู่ในเมนูอาหารกลางวันเด็กนักเรียน
  • ให้รวบรวมข้อมูลเพื่อทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฉบับสมบูรณ์(ส.3)และ การงานสรุปปิดโครงการ(ส.4)
  • ประเด็นการต่อยอดโครงการปีที่ 2 นั้นให้พื้นที่ลองพูดคุยประเด็นที่ต้องการทำงานต่อ
ผู้บริโภคพบผู้ผลิต28 พฤษภาคม 2556
28
พฤษภาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคผักพื้นบ้าน และเป็นการประชาสัมพันธ์เปิดตลาดผักพื้นบ้านในชุมชนอีกด้วย
  • เพื่อเผยแพร่คุณค่า และประโยชน์ของการบริโภคผักพื้นบ้านปลอดสาร
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ลงทะเบียน
  • กล่าวเปิดงาน โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลรัตภูมิ
  • ชี้แจงวัตถุประสงค์โดย นายอภินันต์  หมัดหลี (ผอ.ศูนย์เรียนรู้เกษตรธาตุ 4 ฯ)
  • ลงพื้นที่ชมแปลงเกษตรต้นแบบ ม.3,ม.7,และม.10 ต.เขาพระ
  • รับประทานอาหาร(เมนูผักพื้นบ้าน)
  • เวทีเสวนา  - สถานการสุขภาพในปัจจุบัน และสถานการการใช้สารเคมี
                      - เรียนรู้เทคนิค การตอนกิ่งมะละกอ การเพาะถั่วงอกแบบพกพา                                        .                    และการปลูกพริกตีลังกา
    คุณได้อะไรจากกิจกรรมในครั้งนี้บ้าง
  • ผู้ดำเนินรายการ  1.นายชิต    ขวัญคำ      2.นายภูมิปัญญา  หมัดหลี
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วม 131 คน จากคนในชุมชน ชุมชนใกล้เคียง โรงพยาบาลรัตภูมิ โรงเรียนในพื้นที่ จำนวนสามโรงเรียน กลุ่มผู้บริโภคหาดใหญ่ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 5 โรงพยาบาลในอำเภอรัตภูมิ
  • เมื่อผู้บริโภคจากภายนอกได้เข้ามาเดินชมดูแปลงต้นแบบที่มีการผลิดผักปลอดสาร ได้เห็นของจริง ตั้งแต่แนวคิด วิธีการของผู้ผลิด ก็เกิดความมั่มใจในแหล่งผลิดนั้นๆ
  • ผู้บริโภคได้เห็นตลาดผักพื้นบ้านปลอดสารพิษของทีมทำงานโครงการซึ่งตั้งอยู่ริมถนน
  • ทำให้ช่าวบ้านมีความมันใจกับกลุ่มผู้ผลิดผักพื้นบ้านที่เป็นกลุ่มซึ่งได้จัดตั้งขึ้นจากโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เวลาในการจัดกิจกรรมน้อยเกินไป ทำให้มีเวลาในการชมแปลงน้อยมาก หากมีการจัดกิจกรรมแบบนี้อีกควนที่จะกำหนดเวลาให้มากกว่านี้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำเมนูผักปลอดสารพิษในอาหาร15 พฤษภาคม 2556
15
พฤษภาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์

-เพื่อรวบรวมเมนูผักพื้นบ้านที่มีอยู่ในพื้นที่ -เพื่อนำเมนูผักพื้นบ้านมาเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ออกแบบเครื่องมือแบบสอบถาม
  • ให้เยาวชนโรงเรียนศึกษาศาสน์ โรงเรียนบ้านควนดินแดง และโรงเรียนบ้านเขาพระเก็บข้อมูลเมนูผักพื้นบ้านโดยใช้แบบสอบถาม
  • รวบรวมข้อมูล แลัวจัดพิม
  • พูดคุยกับทางโรงเรียนในการหาวิธีการสรอดแทรกเมนูผักพื้นบ้านเข้าสู่อาหารกลางวันของนักเรียน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีหนังสือเมนูผักพื้นบ้านที่ได้จารการเก็บข้อมูลของเยาวชน จำนวน 1 ชุด จัดพิมแล้ว 200 เล่ม
  • เยาวชนได้เรียนรู้เกียวกับเมนูผักพื้นบ้าน
  • เผยแพร่เมนู
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมเตรียมงาน ก่อนจัดกิจกรรมผู้บริโภคพบผู้ผลิต10 เมษายน 2556
10
เมษายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมผู้บริโภคพบผู้ผลิต
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • หารือการจัดกิจกรรมผู้บริโภคพบผู้ผลิต ในเรื่องของรูปแบบการจัดกิจกรรม วางกำหนดการ กำหนดวันจัดกิจกรรม แล้ววางกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กำหนดวันจัดกิจกรรม ในวันที่ 28 เดือนพฤษภาคม 2556

วันอังคาร ที่ 28 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2555 ณ.ศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยเกษตรธาตุ 4

08.00 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 09.30 น. กล่าวเปิดงาน โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาลรัตภูมิ

09.30 - 10.00 น. ชี้แจงวัตถุประสงค์โดย นายอภินันต์  หมัดหลี (ผอ.ศูนย์เรียนรู้เกษตรธาตุ 4 ฯ)

10.00 - 12.00 น. ลงพื้นที่ชมแปลงเกษตรต้นแบบ ม.3,ม.7,และม.10 ต.เขาพระ

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหาร(เมนูผักพื้นบ้าน)

13.00 - 15.30 น. เวทีเสวนา  - สถานการสุขภาพในปัจจุบัน และสถานการการใช้สารเคมี

                                        - เรียนรู้เทคนิค การตอนกิ่งมะละกอ การเพาะถั่วงอกแบบพกพา                                        .                                                              และการปลูกพริกตีลังกา

         - คุณได้อะไรจากกิจกรรมในครั้งนี้บ้าง

ผู้ดำเนินรายการ  1.นายชิต    ขวัญคำ      2.นายภูมิปัญญา  หมัดหลี

....กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม....


E-mail:   book_4635@hotmail.com หรือโทร. นายอภินันต์  หมัดหลี 084-8599849 ผอ.ศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยเกษตรธาตุ 4   นายภูมิปัญญา หมัดหลี 081-5410681 ผู้รับผิดชอบ และผู้ประสางานโครงการ

  • มีกลุ่มเป้าหมาย คือ โรงพยาบาลสงเสริมสุขภาพตำบล ในอำเภอรัตภูมิ โรงพยาบาลละ 10 คน โรงพยาบาลรัตภูมิ 20 คน โรงเรียน 30 คน สมาชิดศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยเกษตรธาตุ 4 จำนวน 40 คน และคณะผู้ใหญ่บ้าน 10 คน
  • เกิดคณะทำงาน ประกอบด้วย ผู้ดำเนินรายการ ฝ่ายอาคารสถานที่ ฝ่ายดูแลความปลอดภัยเรื่องรถ ฝ่านต้อนรับ ผู้รับลงทะเบียน ตากล้อง วิทยากรสนาม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมตรวจสารฆ่าแมลงในผัก19 กุมภาพันธ์ 2556
19
กุมภาพันธ์ 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจดูสารฆ่าแมลงในผักพื้นบ้าน
  • เพื่อต้องการทำข้อมูลผักเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • เก็บผักในแปลงต้นแบบ
  • ส่งตรวจโดย รพ.สต.
  • รับฟังผล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผักทุกชนิดที่ส่งตรวจผ่านการตรวจสอบทั้งหมัด ไม่มีสารปนเปื้อนไดๆ เช่น ผักเหรียง,ผักกูด,ยอดตกเบ็ด,ผักหนาม,หยวกปุด,เตาร้าง,หน่อไม่,มันปู, ฯลฯ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ภ.ก.สมชาย ลงพื้นที่ติดตามโครงการครั้งที่ 110 กุมภาพันธ์ 2556
10
กุมภาพันธ์ 2556รายงานจากพื้นที่ โดย wanna
circle
วัตถุประสงค์

เพือติดตามความก้าวหน้าโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ติดตามความก้าวหน้าโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดการวางแผนการทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นายสมชาย ละอองพันธุ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ภ.ก.สมชาย ลงพื้นที่ติดตามโครงการครั้งที่ 110 กุมภาพันธ์ 2556
10
กุมภาพันธ์ 2556รายงานจากพี่เลี้ยง โดย twoseadj
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อรับทราบความก้าวหน้าการจัดกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมา
  2. เพื่อรับทราบปัญหาอุปสรรคตลอดจนให้ข้อเสนอ การเป็นกำลังใจแก่คณะทำงานของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

พี่เลี้ยงลงพื้นที่จริงเวลา 10.30 น. ณ ศูนย์เรียนเรียนรู้เกษตรธาตุ เมื่อไปถึงมีทีมนำของโครงการ จำนวน 10 คน มาร่วมพูดคุยถึงการทำกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมา ประกอบด้วยกิจกรรมการพูดคุยทำความเข้าใจคณะทำงาน ชาวบ้าน หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการทำกิจกรรม เช่น เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล(รพ.สต.) เจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาลรัตภูมิ (มีผู้อำนวยการโรงพยาบาล และเภสัชกรจากฝ่ายเภสัชกรรม ) มาร่วมในการทำกิจกรรม และที่สำคัญคือ ชาวบ้าน จำนวน 10 คน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้รับพบคณะทำงานที่ดำเนินโครงการอย่างพร้อมเพรียงและเห็นการมีส่วนเข้ามารับรู้การดำเนินกิจกรรมของชุมชนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
  2. ได้รับการบอกเล่าผลสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการ ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น ตลอดจนการให้คำแนะนำแนวทางการดำเนินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  1. มีเวลาจำกัด เนื่องจากในวันดังกล่าวมีกิจกรรมหลายอย่างเข้ามาทำงานในพื้นที่

แนวทางแก้ไข: พี่เลี้ยงควรลงพื้นที่ในวันที่มีการทำกิจกรรมจริงตามตาราง

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

สามารถมาถอดบทเรียนเป็นตัวอย่างที่ดีแก่พื้นที่อื่น

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

1.มีปัญหาเรื่อง การลงข้อมูลรายการใช้จ่ายเงิน ที่ไม่ทันสมัย จึงแนะนำให้มีการลงข้อมูลให้เรียบร้อยทุกครั้งที่ทำกิจกรรมเสร็จ และให้มีการแจ้งการใช้จ่ายเงินในที่ประชุมประจำเดือน 2. การดำเนินกิจกรรมบางอย่างที่ล่าช้า เช่น การจัดช่องทางกระจายสินค้าทางการเกษตร

แนวทางแก้ไขปัญหา:

พัฒนายุวเกษตรน้อย10 กุมภาพันธ์ 2556
10
กุมภาพันธ์ 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนในโรงเรียนได้เรียนรู้การทำเกษตรปลอดสารพิษ
  • เพื่อให้เยาวชนมีความตะนักในเรื่องของการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่มีผลต่อสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ลงพื้นที่กลุ่มเป้าหมาย ณ.โรงเรียนบ้านควนดินแดง
  • ชวนเยาวชนวาดแผนที่ที่ลงเก็บข้อมูล
  • สอนการทำเกษตรในรูปแบบปลอดสารพิษ
  • สอนวิธีการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการที่ได้พูดคุยกับทาง ผอ.โรงเรียนบ้านควนดินแดง ในการทำกิจกรรมพัฒนายุวเกษตรน้อยเกี่ยวกับรูปแบบกิจกรรม ทาง ผอ.โรงเรียนได้เสนอว่าทางโรงเรียนต้องการสอนการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการขยายพันธุ์ไม้ กิจกรรมจึงเริ่มขึ้นเมื่อนัดวันกันในวันที่ 13 กุมพาพันธ์ 2556 กับทางโรงเรียนเป็นที่เรียนร้อย หลังจากที่คณะทำงานโครงการได้พูดคุยกับทางโรงเรียนก็กลับมาติดต่อเชิญทางครูภูมิปัญญาในชุมชนที่มีความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการขยายพันธุ์ไม้ เพื่อไปให้ความรู้กับเยาวชนในพื้นที่ หลักจากนั้นก็เตรียมอุปกรณ์การทำปุ๋ยหมัก และอุปกรณ์การขยายพันธุ์ไม้
    เมื่อถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 ก็ได้ลงไปที่โรงเรียนตามที่ได้นัดกันไว้ ก่อนที่จะเข้าสู่การเรียนรู้เรื่องของปุ๋ยหมัก นายภูมิปัญญาหมัดหลี ได้ชวนคุยเล่าถึงที่มาที่ไปขอกกิจกรรม และชวนวิเคราะห์ข้อมูลที่น้องๆได้ลงไปเก็บมาอีกครั้งหนึ่งแต่ครั้งนี้เป็นการทำแผนที่ทำมือแล้วให้น้องเล่าถึงสถานการณ์สุขภาพแต่ละหลังแล้วมาจุดไว้ในแผนที่ เมื่อเสร็จจากการทำแผนที่ก็เชิญครูปุ๋ยหมักมาสอนเกี่ยวกับวิธีการทำปุ๋ยหมักในสูตรต่างๆ แล้วให้ตัวแทนนักเรียนขึ้นมาทำปุ๋ยหมักให้เพื่อนๆดู เสร็จจากการทำปุ๋ยหมัก ก็ต่อด้วยเรื่องของการขยายพันธ์ไม้

  • นักเรียนได้เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักน้ำ 2  สูตร คือ สูตรเร็งดอก และสูตรบำรุงต้น บำรุงใบ และบำรุงดอก ได้เรียนรู้กายขยายพันธุ์ไม้ 4 วิธี คือ การตอนกิ่ง การเสียบยอด การเสียบข้าง และปักชำ และได้เรียนรู้เกี่ยวกับแผนที่ทำมืออีกด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดเวทีวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้ลงไปเก็บมา19 มกราคม 2556
19
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อนำข้อมูลดิบมาวิเคราะห์
  • เพื่อให้เห็นสถานการณ์การการใช่สารเคมีและสถานการณ์สุขภาวะในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ให้เยาวชนนำข้อมูลที่ได้ลงไปเก็บมา เปิดดูไปที่ละข้อ
  • แล้วให้ตอบคำถามตามที่คณะทำงานถาม เช่น เราไปเก็บข้อมูลมาจำนวนกี่ครัวเรือน? เป็นต้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เมื่อเยาวชนแต่ละโรงเรียนได้เก็บข้อมูลเสร็จกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ละโรงเรียนก็ได้นัดวันกันลงไปที่โรงเรียนเพื่อที่จะร่วมกันวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมา โดยเริ่มดูจากแบบสอบถามว่ามีเรื่องอะไรบ้าง แล้วนำมาตั้งเป็นโจทย์ เช่น
  1. จำนอนผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดกี่คน ?
  2. ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ
  • จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ปลูกผักกินเองมี่กี่ราย? ประเภทอะไรบ้าง?

  • จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ซื้อผักกินมีกี่ราย? ประเภทอะไรบ้าง? รวมค่าใช้จ่ายของทุกรายในการซื้อผักต่อเดือนเท่าไร?

  • โรคประจำตัว(รวมทั้งหมดจากการเก็บข้อมูลทุกคนทั้งผู้ให้ข้อมูล และสมาชิกในครอบครัวของผู้ให้ข้อมูล)

ประเภทโรค
เบาหวาน ความดัน หอบหืด
ผิวหนัง ปวดเมื่อย
กระเพาะอาหาร
ปวดหัวบ่อยๆ ไอเรื้อรัง
วัณโรค
อื่นๆ รวม(คน )

  1. สถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชน
  • อาชีพหลักของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด ?

  • อาชีพเสริมของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด ?

(ข้อมูลอาชีพเกษตร)

  • เนื้อที่ในการทำเกษตรของผู้ให้ข้อมูลร่วมทั้งหมด ?

  • รูปแบบในการทำเกษตร

i. จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวมีกี่ราย

ii. จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ทำอาชีพแบบผสมผสารมีกี่ราย

iii. จำนวยผู้ให้ข้อมูลที่ทำเกษตรทั้งสองรูปแบบมีกี่ราย

iv. ต้นทุนการผลิต

  1. ค่าปุ๋ยรวมทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงินเท่าไรต่อปี และใช้ตราอะไรบ้าง
  2. ค่ายาปราบศัตรูพืชทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงินเท่าไรต่อปี และใช้ตราอะไรบ้าง
  3. ค่ายาฆ่าหญ้าทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงินเท่าไรต่อปี และใช้ตราอะไรบ้าง
  4. ค่าอื่นๆมีอะไรบ้าง
  5. รวมต้นทุนการผลิตของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดคิดเป็นเงินเท่าไรต่อปี เมื่อได้โจทย์ออกมาเป็นข้อๆแล้ว ก็น้ำข้อมูลดิบออกมาเพื่อตอบโจทย์ดังกล่าวที่ได้กำหนอไว้
  • หลังจากนันก็ดูในแบบสอบถามแล้วช่วยกันตอบ
  1. จำนวนผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด 355 คน
  2. ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ

- จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ปลูกผักกินเองมี  201 ราย
- จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ซื้อผักกินมี 80 ราย    รวมค่าใช้จ่ายของทุกรายในการซื้อผักต่อเดือนประมาณ 72,150 บาท

  • จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ปลูกผักกินเองบ้าง และที่ซื้อผักกินบ้างมี ๗๔ ราย  รวมค่าใช้จ่ายของทุกรายในการซื้อผักกินเองบ้าง และที่ปลูกผักกินเองบ้างต่อเดือนประมาณ ๗๕,๒๑๐ บาท

  • โรคประจำตัว(รวมทั้งหมดจากการเก็บข้อมูลทุกคนทั้งผู้ให้ข้อมูล และสมาชิกในครอบครัวของผู้ให้ข้อมูล) อันดับ

  1. ปวดเมื่อย 248 ราย
  2. ปวดหัวบ่อยๆ 132 ราย
  3. กระเพราะอาหาร 81 ราย
  4. ความดัน 71 ราย
  5. โรคผิวหนัง 57 ราย
  6. หอบหืด 54 ราย
  7. เบาหวาน 25 ราย
  8. โรคภูมิแพ้ 25 ราย
  9. ไอเรื้อรัง 21 ราย 10.โรคหัวใจ 7 ราย
  10. ริดสีดวง 5 ราย
  11. กรดไหลย้อน 3 ราย
  12. มะเร็ง 2 ราย
  13. ไทรอย 2 ราย
  14. ไมเกรน 2 ราย


  15. สถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชน

- อาชีพหลักของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด คือ
1. ทำสวนยางพารา
2. ทำสวนผลไม้
3. กรีดยาง
4. รับจ้างทั่วไป
5. ค้าขาย
6. ผลิตและจำหน่ายมีด
7. เพาะพันธุ์ไม้
8. ครูโรงเรียนเอกชน 9. รับซื้อน้ำยาง 10. รับราชการ 11. ทำนา 12. ประมง 13. ขับรถรับจ้าง - อาชีพเสริมของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมด คือ
1. ค้าขาย
2. รับจ้างทั่วไป
3. ก่อสร้าง
4. ช่างไฟฟ้า
5. ช่างเย็บผ้า
6. ครูฟัรดูอีน(คุรุสัมพันธ์)
7. หมอบีบนวด
8. ขับรถรับส่งนักเรียน

(ข้อมูลอาชีพเกษตร)

  • เนื้อที่ในการทำเกษตรของผู้ให้ข้อมูลร่วมทั้งหมด 3,861 ไร่

  • รูปแบบในการทำเกษตร

i. จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ทำเกษตรแบบเชิงเดี่ยวมี  196 ราย

ii. จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ทำอาชีพแบบผสมผสานมี 72 ราย

iii.จำนวนผู้ให้ข้อมูลที่ทำเกษตรทั้งสองรูปแบบมี  60 ราย

iv. ต้นทุนการผลิต

  1.ค่าปุ๋ยรวมทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงิน 3,553,080 บาท/ปี 

  2. ค่ายาปราบศัตรูพืชทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงิน 165,680บาท/ปี

  3. ค่ายาฆ่าหญ้าทั้งหมดจากผู้ให้ข้อมูลทุกคนคิดเป็นเงิน 268,910 บาท/ปี

  4. ค่าอื่นๆ เช่น ค่าเมล็ดพันธุ์พืช  ค่าจ้างหรือค่าแรงในการตัดหญ้า ค่าน้ำมัน ค่าจ้างในการฉีดหญ้า เป็นต้น คิดเป็นเงิน 35,600 บาทต่อปี

  5. รวมต้นทุนการผลิตของผู้ให้ข้อมูลทั้งหมดคิดเป็นเงิน 4,023,270 บาท/ปี

  4. อื่นๆ

  • เนื้อที่ในการปลูกยางพาราบางส่วน ไม่มีเอกสารสิทธิ เนื่องจากเป็นที่ สปก.ที่ซื้อต่อกันมาที่ไม่มีหลักฐานในการซื้อขายและการเป็นเจ้าของ
  • เกษตรกรบางราย รับจ้างกรีดยาง บางรายรับจ้างเก็บน้ำยาง รับจ้างฉีดยาหญ้าในสวน รับจ้างจัดหญ้าในสวน ซึ่งเกษตรกรส่วนนี้บางรายใช้สารเคมีไม่ระมัดระวัง ใช้ไม่ถูกวิธี จึงทำให้มีผลต่อสุขภาพ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีติดตามการดำเนินงานกิจกรรม18 มกราคม 2556
18
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

มาเข้าร่วม และรับฟังการเสนอแนะจากพี่เลี้ยงโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รายงานยังไม่เสร็จ เนื่องการยังไม่ชำนานในการเคลียงบประมาณ
  • ได้ซักถามเกียวกับการเครียงบประมาณ จนเข้าใจ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ถอดบทเรียนจากการทำโครงการ10 มกราคม 2556
10
มกราคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์

เมื่อถึงวันที่ 10 ซึงเป็นวันประชุมประจำเดือนของศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยเกษตรธาตุ 4 คณะทำงานของโครงการจึงได้ใส่วาระเรื่องการถอดบทเรียนระยะที่สอง ผู้รับผิดชอบโครงการก็ได้เล่าว่าการดำเนินงานการลงเก็บข้อมูลโดยเยาวชนทั้ง 3 โรงเรียน เรื่องการจัดทำข้อมูลส

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • มีการพูดถึงกิจกรรมที่ทำผ่านมา
  • พูดถึงปัญหาที่แต่ละคนพบ
  • ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เมื่อถึงวันที่ 10 ซึงเป็นวันประชุมประจำเดือนของศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยเกษตรธาตุ 4 คณะทำงานของโครงการจึงได้ใส่วาระเรื่องการถอดบทเรียนระยะที่สอง ผู้รับผิดชอบโครงการก็ได้เล่าว่าการดำเนินงานการลงเก็บข้อมูลโดยเยาวชนทั้ง 3 โรงเรียน เรื่องการจัดทำข้อมูลสถานการณ์ การใช้สารเคมี และสถานการณ์สุขภาวะ ได้ดำเนินการเสร็จไปสองโรงเรียน คือโรงเรียนศึกษาศาสน์ และโรงเรียนบ้านเขาพระ ส่วนโรงเรียนบ้านควนดินแดงยังทำข้อมูลไม่ครบถ้วน นายเศกสิทธ์ เกียติเสนากุล ได้ถามต่อว่าเนื่องจากสาเหตุอะไรที่โรงเรียนบ้านควนดินแดงทำข้อมูลยังไม่เสร็จ ผู้รับผิดชอบโครงการก็ตอบว่า ได้ไปพูดคุยกับผู้อำนวยการโรงเรียนแล้ว เหตุผลก็คือ ทางโรงเรียนกำลังวุ่นอยู่กับการลงตรวจโรงเรียนโดย สมศ.สำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมิมคุณภาพการศึกษาการดำเนินการก็เลยไม่ราบรื้นมากนัก คณะทำงานจึงหารือกันว่า ก็ให้เวลากับทางโรงเรียนเพิ่ม
  • การเก็บข้อมูลโดยเยาวชนล้าช้านิดหน่อย แต่ก็ไม่เป็นปัญหากับโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ลงพื้นที่เก็บข้อมูล200ครัวเรือนในหมู่ที่624 ธันวาคม 2555
24
ธันวาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรวบรวมข้อมูลสถานการสุขภาวะ และสถานการการใช้สารเคมีของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • เยาวชนทั้งสามโรงเรียนก็ได้ลงเก็บข้อมูลในช่วงเดือนธันวาคมในวันเวลาที่ตนเองว่างจากการเรียน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะ และสถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชน 355 ครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ถอดบทเรียนจากการทำโครงการ10 ธันวาคม 2555
10
ธันวาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อปรึกษาหารือ  ปัญหาอุปสรรคในการจัดเวทีที่ผ่านมาและหาวิธีการแก้ไขปัญหากิจกรรมครั้งต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • มีการพูดคุยเรื่องการดำเนินงานที่ผ่านมา
  • รวมกันมองปัญหาที่เกิดขึ้น
  • ร่วมกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • หลังจากที่ผู้ประสานงานโครงการได้ประสานกับสมาชิกเข้าร่วมประชุมในวันที่  10  ธันวาคม  2555  เพื่อถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา  สมาชิกของโครงการที่ไม่ติดภาระกิจอะไร  ก็มาร่วมประชุมกันพร้อมหน้า  เมื่อถึงเวลาบ่ายโมงตรง  นายภูมิปัญญา  หมัดหลี (ผู้รับผิดชอบโครงการ)  ก็ได้พูดคุยถึงการจัดเวทีอบรมเชิงปฎิบัติการที่ผ่านมาในวันที่  27  พฤศจิกายน  2555  เล่าเหตุการณ์ในวันนั้นเพื่อเป็นการทบทวนความจำเล็กๆน้อยๆ
          เมื่อเล่าเหตุการณ์ของวันนั้นจบ  ก็เปิดเวทีให้ทุกคนได้ช่วยระดมความคิดเห็นกันในทุกๆเรื่องของการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา  ในช่วงนี้ต่างคนต่างช่วยกันมองถึงปัญหาที่ตัวเองประสบในวันนั้น  เมื่อทุกคนได้ร่วมแชร์ปัญหาออกมาจนหมดแล้ว     นายภูมิปัญญา  หมัดหลี  ก็ได้อธิบายการดำเนินงานตามแผนงานในช่วงต่อไป
  • นายอภินันท์  หมัดหลี  กล่าวว่า  รู้สึกมีความภาคภูมิใจกับเวทีในวันนั้นมาก  หน่วยงานที่เราได้เชิญก็มากันครบทุกหน่วยงาน
  • นายสัน  เส็นหล๊ะ (ครูภูมิปัญญาด้านเกษตร  4ย.)  กล่าวว่า  สำหรับผมเห็นอยู่นิดเดี่ยวก็คือ  ช่วงแสดงความคิดเห็นควรกำหนดเวลาให้แต่ละคน
  • นายชิต  ขวัญคำ  กล่าวว่า  ดีใจกับการที่โรงเรียนทั้ง  3  โรงเรียนให้ความสำคัญแต่รู้สึกว่า  นักเรียนที่มาในวันนั้น ยังคงงงๆอยู่กับเวที -คุณชลาทิพย์  หมัดเส็น  กล่าวว่า  ในช่วงบ่าย ผู้เข้าร่วมประชุมเหลือน้อยเพราะว่ามีภาระกิจต่างๆ  เช่น  รับลูกที่โรงเรียน  ติดประชุมที่อื่นๆบ้าง  นายชิตก็บอกว่าเป็นเรื่องธรรมดาทุกเวทีก็จะพบปัญหาแบบนี้  นายภูมิปัญญา  หมัดหลี  ก็นำเสนอว่าเราควรจะเอาเนื้อหาสาระมาเน้นในช่วงเช้าให้หมดและช่วงบ่ายหากมีคนเหลือน้อยก็เป็นการสรุป -การหารือกันในเวที  การประชาสัมพันธ์ยังไม่ทั่วถึง  ซึ่งก๊ะเหม๊าะที่เป็นทีมทำงานของโครงการยังไม่ได้มา  ก็ด้วยเหตุว่า  วันที่ประชุมเตรียมเวที  ก๊ะเหม๊าะได้กลับก่อนและผู้ประสานคิดว่าก๊ะเหม๊าะรู้แล้ว  และยังคิดว่าทีมทำงานที่อยู่บ้านใกล้กันได้บอกให้ฟังแล้ว
  • วิทยากรมีเวลาน้อยมากในการพูด  เพราะมีเรื่องอื่นๆเข้ามา  และเวลาแลกเปลี่ยนก็เกินเวลา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชนในการเก็บข้อมูล8 ธันวาคม 2555
8
ธันวาคม 2555รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์

จากการจัดเวทีชี้แจงภาพรวมโครงการ ได้มีโรงเรียนต่างๆ 3 โรงเรียนที่อยู่ในระแวกชุมชนได้เข้ารวมในเวที ทั้ง 3 โรงเรียนเห็นความสำคัญ และสนใจในการทำงานร่วมกัน จึงมีกลุ่มเป้าหมายเพื่มขึ้นมา 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านควนดินแดง จากสองโรงเรียนได้แก่ โรงเรียนบ้านเขา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ออกแบบเคื่องมือ แบบสอบถาม
  • ชี้แจงให้กับเยาวชนในการเก็บข้อมูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการจัดเวทีชี้แจงภาพรวมโครงการ ได้มีโรงเรียนต่างๆ 3 โรงเรียนที่อยู่ในระแวกชุมชนได้เข้ารวมในเวที ทั้ง 3 โรงเรียนเห็นความสำคัญ และสนใจในการทำงานร่วมกัน จึงมีกลุ่มเป้าหมายเพื่มขึ้นมา 1 โรงเรียน คือ โรงเรียนบ้านควนดินแดง จากสองโรงเรียนได้แก่ โรงเรียนบ้านเขาพระ และโรงเรียนศึกษาศาสน์  ในกิจกรรมที่ 2 การจัดทำข้อมูลสถานะการณ์สุขภาพ และสถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชน คณะทำงานโครงการจึงได้ลงไปพูดคุยกับทางโรงเรียนแต่ละโรงเรียน เพื่อกำหนดวันเวลาในการดำเนินงานในกิจกรรมพัฒนาศักยภาพแกนนำเยาวชน คณะทำงานจึงให้ความเห็นตรงกันว่า ควรที่จะลงไปทำกิจกรรมทีละโรงเรียนด้วยกับสาเหตุว่าโรงเรียนแต่ละโรงว่างไม่ตรงกัน แต่ละโรงจะมีคาบชุมนมที่ไม่ตรงกัน หลังจากนั้นคณะทำงานโครงการก็ได้ร่วมกันออกแบบเครื่องมือแบบสอบถามร่วมกัน แล้งลงไปสอนการใช้เครื่องมือแบบสอบถามในวันที่ 3 ธันวาคม 2555 ให้กับนักเรียนโรงเรียนศึกษาศาสน์ วัันที่ 4 ธันวาคม 2555 ให้กับโรงเรียนบ้านเขาพระ และวันที่ 7 ธันว่าคม 2555 ให้กับโรงเรียนบ้านควนดินแดง
  • มีแบบสอบถามดังนี้

    ข้อมูลสถานการณ์สุขภาวะ และสถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชน

  1. ประวัติผู้ให้สัมภาษณ์

• ชื่อ.......

• ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้..............• เบอร์โทรศัพท์........

  1. ข้อมูลสถานการณ์สุขภาพ

• สมาชิกในครอบครัว................

• ข้อมูลการบริโภคผัก

  •  ปลูกเอง ประเภท.......................

  •  ซื้อกิน ประเภท.........หากซื้อกินมีค่าใช้จ่ายในการซื้อ ต่อเดือนละประมาณ............บาท

• โรงประจำตัว หรือความเจ็บป่วย ( ใช้เครื่องหมาย ในตาราง )

• สวนใหญ่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่.................

  1. สถานการณ์การใช้สารเคมีในชุมชน

• อาชีพหลักในครอบครัว...............

• อาชีพเสริม......................

(หากทำอาชีพเกษตรให้ตอบข้อมูลด้านล้างนี้)

• เนื้อที่ในการทำเกษตรร่วมทั้งหมด..............ไร่

• รูปแบบในการทำเกษตร

  •  เชิงเดียว

ปลูก.............

  •  ผสมผสาร

ปลูก............

  • ต้นทุนการผลิต
  1. ค่าปุ๋ยรวมทั้งหมด.........บาท/ปี ตรา............

  2. ค่ายาปราบศัตรูพืช.....บาท/ปี ตรา.......

  3. ค่ายาฆ่าหญ้า.......บาท/ปี ตรา.......

  4. ค่าอื่นๆ............

รวม....................บาท/ปี

  1. อื่นๆ................

ลงชื่อผู้สัมภาษณ์            ลงชื่อผู้ให้สัมภาษณ์

    .................               .................

(.....................) (.........................)

  วดป.../..../..            ว/ด/ป..../....../........

  • นักเรียนทั้งสามโรงเรียนมีความเข้าใจในการทำแบบสอบถาม และสามารถนำไปใช้ในการเก็บขอมูลในชุมชนได้จริง

  • โรงเรียนแต่ละโรงกำหนดวันในการลงพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมเชิงปฏิบัติการ27 พฤศจิกายน 2555
27
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  1. ร้อยละ 70 ของชาวบ้านที่เข้าร่วมโครงการมีพฤติกรรมลด ละ การใช้สารเคมี
  2. เกิดแปลงเกษตรต้นแบบด้านการปลูกผักและผลไม้ที่ไม่ใช้สารเคมี จำนวน  50 ครัวเรือน
  3. เกิดการรวมกลุ่มของเกษตรกรที่ปลูกผักผลไม้ไม่ใช้สารเคมี
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ชี้แจงโครงการ
  • แลกเปลียนเรียนรู้เรื่องการทำเกษตรปลอดสารพิษกับครูภูมิปัญญาในพื้นที่
  • ร่วมกันหารือช่องทางการตลาด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สำหรับวันนี้เป็นกิจกรรมที่ 1 ของโครงการ จึงรู้สึกเป็นกังวนเล็กน้อยเกี่ยวกับกลุ่มเป้าหมาย เพราะกลัวว่า กลุ่มเป้าหมายที่ได้เชิญไปไม่ให้ความสนใจ เมื่อได้เวลาตามกำหนดการ 09.00 น. เป็นการเริ่มลงทะเบียน ความกังวนก็ได้จากหายไปจนหมดเมื่อเวลา 10.00 น. กลุ่มเป้าหมายทุกกลุ่มทุกองค์กร ได้ให้เกียรติเข้าร่วมเวทีกันถ้วนหน้า
    เมื่อทุกคนพร้อมกันแล้วผู้ดำเนินรายการก็เชิญเข้าห้องประชุม แล้วเชิญคุณอภินันต์  หมัดหลี ผอ.ศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยเกษตรธาตุ 4 กล่าวต้อนรับ และกล่าวเปิดพิธี หลังจากนั้น ก็เชิญ คุณจำรัช เพ็ชรหมาด มาอธิบายความเป็นมาหลักการและเหตุผลของโครงการ แล้วนายภูมิปัญญา  หมัดหลี ก็ต่อด้วยการอธิบายวัตถุประสงค์ และแผนกิจกรรมของโครงการทั้งหมด เมื่อได้อธิบายเรียนร้อยแล้วก็เปิดเวทีให้ผู้เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยน และซักถามข้อสงสัยเกี่ยวกับโครงการ ในช่วงระยะนี้ ก็มีการตอบรับการร่วมโครงการเป็นอย่างดี จากผู้อำนวยการโรงเรียน และคุณครูทั้ง 3 โรงเรียน คือ 1.โรงเรียนบ้านเขาพระ 2.โรงเรียนบ้านควนดินแดง และ3.โรงเรียนศึกษาศาสน์  ทางชุมชนก็ให้ความสนใจ
    หลังจากที่หลายๆหน่วยงานเข้าใจโครงการมากขึ้นก็ได้เชิญครูภูมิปัญญาในพื้นที่ คือ นายสัน  เส็นหล๊ะ ผู้เชี่ยวชานด้านการทำเกษตร 4 ย. ที่พูดถึงความยั้งยืนทั้งชีวิต ดิน น้ำ และผลผลิต นายชิต  ขวัญคำผู้เชี่ยวชานเรื่องเกษตร 5 ต.ต้อง ที่ดูดถึง การจัดการพื้นที่รอบ-- บ้านให้เกิดประโยชน์มากที่สุด และนายเศกสิทธ์ เกียติเสนากุล ผู้เชี่ยวชาดเรื่องเกษตรทฤษฎีใหม่ ที่พูดถึงการนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับพื้นที่ของตัวเอง เมื่อทั้งสามคนได้พูดจบ เวลาของช่วงเช้าก็หมดลง ทุกคนก็พักรับประทานอาหารกลางวัน ที่เต็มไปด้วยผักพื้นบ้านมากมาย จากการปรุงแต่งของกลุ่มสตรีก้าวหน้า กลุ่มแม่บ้านที่อยู่ในพื้นที่ เวลา 13.00 น.ก็เข้าสู่กิจกรรมของช่วงบ่าย โดยผู้ดำเนินรายการได้ตั้งโจทย์ คือ “แนวคิด แนวทางวิธีการการจักการของแต่ละหน่วยงานให้เกิดผักพื้นบ้านปลอดสารพิษขึ้นในชุมชน” แล้วผู้ดำเนินรายการก็อธิบาย ทำความเข้าใจโจทย์ให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจ หลังจากนั้นก็ให้แต่ละหน่วยงาน นั่งรวมกันเป็นกลุ่มแล้วแจกกระดาษ เพื่อเขียนแนวคิด แนวทางของตนในแต่ละหน่วยงาน หลังจากนั้นก็เป็นการน้ำเสนอ นายภูมิปัญญา  หมัดหลี(ผู้รับผิดชอบโครงการ)ก็นำสรุปเนื้อหาประเด็นต่างๆที่ได้นำเสนอขึ้นจากหน่วยงานต่างๆ  ขณะนี้เป็นเวลา 15.00 น. ซึ่งตามกำหนดการก็อยู่ในช่วงทายของเวที จึงได้เชิญนายอภินันต์ หมัดหลี ขึ้นมาพูดคุย และให้การฝากฝังการทำงานรวมกันให้ประสบผลสำเร็จ ไปด้วยกัน


    หน่วยงานต่างๆให้การยอมรับ และตอบรับโครงการ และมีการนำเสนอแนวคิดและวิธีการ ดั่งนี้ โรงเรียนบ้านเขาพระ
  • จากผู้อำนวยการโรงเรียน “ยินดีรวมสนับสนุน สถานที่ในการปลูกผัก และให้นักเรียนร่วมจัดกระบวนการการเรียนรู้เรื่องผักพื้นบ้าน อย่างเต็มที่”
  • จากแผนระดมความคิดเห็น และแนวทางการจักการ ปลูกผักในกระถางที่ทำจากล้อรถ แล้วว่างหน้าห้องเรียนของทุกห้อง เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักจากปราชญ์ชาวบ้านในพื้นที่ เสนอขายให้กับโครงการอาหารกลางวัน และตลาดข้างโรงเรียน โรงเรียนบ้านควนดินแดง
  • จากผู้อำนวยการโรงเรียน “โรงเรียนควนดินแดงเป็นโรงเรียนน้องใหม่ที่เข้าร่วมงานกับศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยเกษตรธาตุ 4 แต่ก็สนใจและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี”
  • จากแผ่นระดมความคิดเห็น และแนวทางการจัดการ ชวนกันนำผักพื้นบ้านมาเพราะ แล้วนำไปปลูกที่โรงเรียน เพื่อนำผลผลิตมาทำอาหารในโรงเรียน เพื่อให้เด็กได้กินผักปลอดสารพิษ และรณรงค์ห้ามใช้สารเคมี แล้วทำกิจกรรมเรียนรู้การทำปุ๋ยหมักนำไปใช้ในโรงเรียน โรงเรียนศึกษาศาสน์
  • จากคุณครูผู้รับผิดชอบ “อยากให้ปราชญ์เขาไปสงเสริมการเรียนรู้การปลูกผักพื้นบ้าน และการทำปุ๋ยหมักในโรงเรียน รวบรวมผักไว้ในโรงเรียน ไปศึกษาดูงานการแพคกิ้ง จากพายนอก
  • จากแผนระดมความคิดเห็นฯ โรงเรียนมีแปลงที่จะปลูกผักซึ่งมีเนื้อที่ มากพอที่จะใช้ในการ ปลูกผักปลอดสารพิษ และอาจจะขยายผลเป็นโรงเรียนต้นแบบ สอนเรื่องของผักพื้นบ้านปลอดสารพิษได้ ชุมชน
  • จากแผนระดมความคิดเห็น เริ่มจากการหาสมาชิดโดยการแนะนำชักชวนมาปลูกผักปลอดสารพิษเพื่อรับประทานเอง แจกพันผักให้กับสมาชิกในกลุ่ม เมื่อรับผลผลิตแล้ว ก็กินเองที่เหลือจากกินก็นำไปขาย โรงพยาบาล
  • จากแผ่นระดมความคิดเห็นฯ มีการนำเสนอเรื่องของตลาด สองรูปแบบ คือ 1. หากชุมชนรวบรวมผักปลอดสารกันได้ก็สามารถส่งให้ทางโภชนากรของโรงพยาบาลเพื่อปรุงเป็นอาหารของโรงพยาบาล 2.ชาวบ้านคนไหนสามารถนำผักไปข่ายก็จะมีสถานที่ๆเตรียมไว้ กรณีนี้จะต้องไปขายเอง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีเตรียมทีม และทำความเข้าใจโครงการ10 พฤศจิกายน 2555
10
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อทำความเข้าใจโครงการรวมกันกับผู้รับผิดชอบโครงการ และคณะทำงานของโครงการ
  2. เพื่อหารือการดำเนินงานในกิจกรรมที่ 1 คือกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • อธิบายความเป็นมาของโครงการ
  • ชี้แจงการสนับสนุนทุนจาก สสส.
  • วางแผนการจัดกิจกรรมที่ 1
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การดำเนินงาน เวลาบ่ายโมงของวันที่ 10 ของเดือนพฤศจิกายน ก็มีสมาชิกของศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยเกษตรธาตุ 4 เริ่มทยอยกันเข้ามา พูดคุยทักทายกับเจ้าของสถานที่ คือ นายอภินันต์  หมัดหลี หรือบังนันต์ กันเรื่อยเปื่อย กินน้ำชงน้ำชากันระหว่างรอสมาชิก ก็เริ่มมีเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาที่ดินเข้ามา เมื่อได้เวลาบ่ายสองโมงก็ชวนกันเข้าห้องประชุมปามประสาชาวบ้าน
    “ก่อนอื่นก็ขอสวัสดีเจ้าหน้าที่จากกรมพัฒนาที่ดิน และสมาชิกศูนย์ฯทุกคนครับ วันนี้ก็เป็นวันที่ 10 ของเดือนพฤศจิกายน ซึ่งเราก็รู้กันอยู่ว่าเป็นวันประชุมประจำเดือน ของศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยเกษตรธาตุ 4” เป็นคำพูดของนายภูมิปัญญา  หมัดหลี หรือน้องบุ๊ค ซึ่งทำหน้าที่แทนเลขาของศูนย์ในวันนี้ หลังจากนั้นก็ได้ว่างวาระการประชุมร่วมกัน ก็มีหลักๆอยู่ 4 เรื่องด้วยกัน คือ 1. แจ้งเพื่อทราบ 2. เขตพัฒนาที่ดิน 3. กลุ่มเกษตรภูมิปัญญา และกองทุนกลุ่ม และ4. โครงการสร้างสุขภาวะเกษตรกร ลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก สสส.
    มาพูดถึงโครงการฯกันนะครับ น้องบุ๊ค ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการได้อธิบายความเป็นมาของโครงการ และการได้รับสนับสนุนทุนจาก สสส. ว่า “จากวันที่ 10 เดือนมิถุนายน 2555 ที่พวกเราได้นั่งคุยกันเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนเขาพระ และเครือข่ายของเรา ปัญหาที่สำคัญ เป็นอันดับ 1 ก็คือปัญหาเรื่องสุขภาพที่มาจากสาเหตุ การปริโภคสารเคมีเข้าไปสะสมในร่างกาย และการใช้สารเคมีในการทำเกษตรของคนในชุมชน พวกเรายังจำได้กันอยู่ใช้ไหมครับ หลังจากวันนั้นผมก็ได้นำข้อมูลทั้งหมด มารวบรวม และยกร่างเป็นโครงการขึ้นมาเพื่อขอสนับสนุนจาก สสส.เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จากวันนั้นถึงวันนี้เป็นเวลา 5 เดือนที่ผมได้ดำเนินการติดต่อประสารงานกับทาง สสส. จนได้รับกาสนับสนุนในที่สุด” หลังจากนั้น บังนันต์ ก็ได้ช่วยพูดคุยเสริมเพื่อให้ผู้เข้าร่วมเข้าใจตรงกัน น้องบุ๊ค ก็ได้อธิบายแผนการดำเนินงานทั้งหมดตามแผนกิจกรรมในโครงการ เมื่อทุกคนเข้าใจแล้วก็ชวนคุยวางแผนการจัดกิจกรรมที่ 1 คือ กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยการกำหนดวันจัดฝึกอบรมให้สมาชิกทุกคนว่างพร้อมกัน กำหนดกลุ่มเป้าหมายอย่างชัดเจน และร่างกำหนดการ
  1. สมาชิกทุกคนมีความเข้าใจที่ตรงกันเกี่ยวกับโครงการ

  2. กำหนดวันจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ ในวันอังคาร ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

  3. กลุ่มเป้าหมาย

a. คณะทำงาน 10 คน

b. เยาวชน 10 คน

c. ชาวบ้าน 20 คน

d.ตัวแทนโรงพยาบาลรัตภูมิ 2 คน

e.ที่ปรึกษาโครงการ 5 คน

f. อบต. 3 คน

g. คุณครู รร.บ้านเขาพระ 2 คน

h. คุณครู รร.ศึกษาศาสน์ 2 คน

i. โรงเรียนบ้านควนดินแดง 2 คน

j. ผู้นำศาสนา 2 คน

k. ผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วย 2 คน

l. กำนัน 1 คน

m. อสม. 3 คน

n. สำนักงานป่าไม้ 2 คน

o. กรมพัฒนาที่ดิน 2 คน

p. กศน. 2 คน

  1. กำหนดการอบรมเชิงปฏิบัติการ

09.00 - 10.00 น. ลงทะเบียน พร้อมรับประทานอาหารว่าง

10.00 - 10.30 น. กล่าวเปิดงาน โดยนายอภินันต์  หมัดหลี(ผอ.ศูนย์การเรียนรู้ครูภูมิปัญญาไทยฯ)

10.30 - 11.00 น. ชี้แจงโครงการ โดย นางจำรัส  เพ็ชรหมาด และ นายภูมิปัญญา  หมัดหลี

11.00 - 12.00 น. บรรยายการทำเกษตรโดยใช้ภูมิปัญญา โดยครูภูมิปัญญา 4 ท่าน 1. นายชิต ขวัญคำ 2. นายสัน เส็นหล๊ะ 3. นายเศกสิทธ์ เกียติเสนากุล 4. นายเจ๊ะเล๊าะ บิลอะหลี

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหาร / ปฏิบัติศาสนกิจ

13.00 - 13.20 น. แบ่งกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม พร้อมกับชี้แจงโจทย์ ( แนวคิด แนวทางวิธีการการจักการของแต่ละหน่วยงานให้เกิดผักพื้นบ้านปลอดสารพิษขึ้นในชุมชน )

13.20 – 14.20 น. ระดมความคิดเห็นในกลุ่มย่อย  พร้อมรับประทานอาหารว่าง

14.20 – 15.00 น. นำเสนอ ของแต่ละกลุ่ม

15.00 – 15.30 น. สรุปกิจกรรม โดย นายอภินันต์ หมัดหลี และนายชิต  ขวัญคำ


ผู้ดำเนินรายการ 1.นายบีสอน  หมัดหลี  2.นายอาซันย์ เกลี้ยงสัน และ3.นายภูมิปัญญาหมัดหลี 


หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

3 พฤศจิกายน 2555
3
พฤศจิกายน 2555รายงานจากพื้นที่ โดย เกษตรภูมิปัญญา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนโครงการชุมชนเข็มแข็ง ปี 55 ในการบริหารจัดการโครงการ - เพื่อให้ผู้รับทุนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการสรุปโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ทบทวนภาพรวมขั้นตอนกระบวนการพัฒนา
  • การรายงานโครงการร่วมสร้างชุมชน และท้องถินให้น่าอยู่ ปี 53-54
  • การติดตามประเมินผล
  • การฝึกปฏิบัติการรายงานโครงการ
  • การบริการจัดการโครงการ และการรายงานงบประมาณ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับทุนสามารถประเมินผลด้วยตัวเองได้
  • ผู้รับทุนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียนรายงานสรุปกิจกรรมในแต่ละเวทีได้
  • ผู้รับทุนสามารถบริหารจัดการโครงการตามเป้าหมายที่ว่างไว้อย่างเข้าใจ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สมชาย ละอองพันธ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-