assignment
บันทึกกิจกรรม
พบพี่เลี้ยงทำรายงานฉบับสมบูรณ์31 กรกฎาคม 2557
31
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในโรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

พี่เลี้ยงตรวจสอบหน้าเวบไซค์ การบันทึก การเงินงวด 2  การทำ ง.2 การบันทึก ส.3 ส.4 ส.2 การเข้าเล่มรายงานส่ง สสส.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้สังเคราะห์ความรู้การบันทึกการเงินงวด 2 การทำ ง.2 ส.3 ส.4 ส.2 การเข้าเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ส่ง สสส.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการผู้รับผิดชอบ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยง ที่ศูนย์ สบส.27 กรกฎาคม 2557
27
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในโรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.พี่เลี้ยงทบทวนการรายงานหน้าเวบไซค์ ในเรื่องของรายละเอียด ดูงบประมาณต้องตรงกับกิจกรรมที่ทำของโครงการ 2.เรียนรู้การบันทึกข้อมูล 3.ซักถามปัญหา แลกเปลี่ยนปัญหาในการบันทึกข้อมูล พี่เลี้ยงช่วยกันอธิบายและแก้ไขปัญหา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้ตรวจสอบหน้าเวบไซค์ว่าสมบูรณ์แบบหรือไม่ 2.ได้เรียนรู้การทำรายงานฉบับสมบูรณ์ประกอบด้วย - การเงินงวด 2 (ง.1 งวด 2) - การเงินปิดโครงการ ง.2 - รายงานฉบับสมบูรณ์ ส.3 - สรุปผลสิ้นสุดโครงการ ส.4 - บันทึกพี่เลี้ยงเสนอแนะ ส.2

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 7 คน จากที่ตั้งไว้ 7 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการผู้รับผิดชอบ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดเก็บ รวบรวมเอกสาร บันทึกข้อมูลหน้า เวบไซค์24 กรกฎาคม 2557
24
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ผู้รับผิดชอบโครงการฯบอกผู้เข้าร่วมทุกคนว่าวันที่ 27 ก.ค. 2557 นี้พี่เลี้ยงนัดตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ทำกิจกรรม วันนี้จึงนัดให้มาช่วยดูกัน ว่ายังขาดตกบกพร่องอะไรบ้าง
  • แบ่งงานกันช่วยดูแลเรื่องเอกสาร
  • บันทึกและตรวจสอบหน้าเวบไซค์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามารถรับรู้และเข้าใจการทำกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการฯ ว่ากิจกรรมที่เราทำต้องเป็นไปตามที่เรากำหนดไว้และเรื่องเอกสารก็ต้องเสร็จสมบูรณ์เป็นปัจจุบันเหมือนกัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการ ตัวแทนกลุ่ม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จัดทำเอกสารข้อมูลความรู้กิจกรรมโครงการ22 กรกฎาคม 2557
22
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

มีการรวบรวมองค์ความรู้ของแต่ละกลุ่ม เช่นของกลุ่มเครื่องแกง กลุ่มทำปุ๋ย กลุ่มเพาะชำกล้าไม้ กลูกปลูกพืชผักสวนครัว เช่นการทำน้ำหมักชีวภาพการจัดเตรียมวัตถุดิบ พร้อมอุปกรณ์ 1. ถังหมักขนาด 200 ลิตร 2. มีด 3. กระป๋องตวงขนาด 1 ลิตร 4. น้ำ สูตร 1 น้ำหมักชีวภาพ  50  กิโลกรัม - ผักหรือผลไม้ 40  กิโลกรัม - กากน้ำตาล  10  กิโลกรัม - น้ำ  10  ลิตร - พด.2 จำนวน  1 ซอง / 25 กรัม วิธีทำ  ใช้มีดหั่นหรือสับผักหรือผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปบรรจุในถังหมัก  นำกากน้ำตาลและพด.2 ไปผสมกับน้ำ  ราดลงถังหมัก กวนให้เข้ากัน  ปิดฝาแบบไม่สนิท  วางไว้ในที่ร่ม แล้วกวนอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ใช้เวลาหมัก  7-10  วัน  นำไปใช้ให้หมดภายใน  3  เดือน สูตร 2  น้ำหมักชีวภาพ  50  กิโลกรัม - ปลา / หอยเชอรี่ 30  กิโลกรัม - ผักหรือผลไม้ 10  กิโลกรัม - กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม - น้ำ 10 ลิตรพด.2จำนวน10 ซอง / 25 กรัม วิธีทำ  ใช้ไม้ทุบหอยเชอรี่ให้แตก ใช้มีดหั่นหรือสับผักหรือผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปบรรจุในถังหมัก  นำกากน้ำตาลและพด.2 ไปผสมกับน้ำ  ราดลงถังหมัก กวนให้เข้ากัน  ปิดฝาแบบไม่สนิท  วางไว้ในที่ร่ม แล้วกวนอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ใช้เวลาหมัก  30  วัน  นำไปใช้ให้หมดภายใน  3  เดือน วิธีใช้
1. นำไปใช้รดผัก น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร 2. นำไปราดดับกลิ่นหรือฆ่าเชื้อ น้ำหมักครึ่งลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การจัดเตรียมวัตถุดิบพร้อมอุปกรณ์ 1. จอบ 2. พรั่ว สำหรับพริกกองปุ๋ย 3. บัวรดน้ำ 4. ถังน้ำ 5. กระป๋องตวงขนาด 1 ลิตร 6. กระสอบป่าน/ผ้ายางคลุม 7. น้ำ สูตรที่ 1  อัตราส่วนผสมวัตถุดิบ  1,000  กิโลกรัม 1. ขี้วัวแห้ง 250 กก.
2. ขี้ไก่แกลบ 250 กก.
3. แกลบดิบ/ขุยมะพร้าว 100 กก.
4. รำข้าวละเอียด 100 กก.
5. ขี้เค้กปาล์ม 300 กก.
6. หัวเชื้อจุลินทรีย์และกากน้ำตาล 30 ลิตร วิธีทำ
1. นำวัตถุทั้งหมดได้แก่ ขี้วัวแห้ง ขี้ไก่แกลบ แกลบดิบ/ขุยมะพร้าว ขี้เค้กปาล์ม รำข้าวละเอียดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์และกากน้ำตาลที่ผสมน้ำตามอัตราส่วน ราดลงบนกองปุ๋ยให้ชุ่ม พอประมาณคลุกเคล้าอีกครั้ง
3. ทำเป็นกองสูงประมาณ 50 เซนติเมตร  คลุมด้วยกระสอบ/ผ้ายาง ทิ้งไว้ 7 วัน
4.  พลิกกลับกองปุ๋ยจำนวน 6 ครั้ง ทุก ๆ 7 วัน 5. ปล่อยทิ้งไว้ให้ปุ๋ยเย็นโดยเปิดผ้ายางคลุมออก นำปุ๋ยบรรจุกระสอบ พร้อมนำไปใช้ * กองปุ๋ยควรอยู่ในที่ร่มหรือในโรงเรือน วิธีนำไปใช้ 1. ใช้รองก้นหลุมปลูกพืชผัก  ผลไม้ ฯลฯ 2. เป็นส่วนของดินในการบรรจุถุงสำหรับเพาะชำกล้าไม้ 3. เป็นปุ๋ยบำรุงพืชผักหลังการปลูก การชำกิ่งพันธ์ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการชำกิ่ง 1. กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ 2. มีดคัตเตอร์ 3. เชือกฟาง 4. ถุงพลาสติกสำหรับห่อ 5. ดินที่ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพ 6. ถัง ตะกร้า วิธีทำ 1. คัดเลือกกิ่งพันธ์ที่สมบูรณ์  ลักษณะกิ่งตั้งฉากกับพื้นหรือเอียงเล็กน้อย 2. ใช้กรรไกรตัดแต่งใบหรือกิ่งที่กีดขวางออก
3. ใช้มีดควั่นเปลือกบน ระยะห่างจากรอยควั่นด้านล่างเท่ากับ วงรอบของกิ่ง  แล้วลอกเปลือกนอกออก ขูดเนื้อเยื่อออกจนถึงเนื้อไม้ ทิ้งไว้  5- 10 นาที 4. นำถุงพลาสติกที่บรรจุดินผสมปุ๋ยหมักไว้แล้ว ผูกปากถุง  ใช้มีดกรีดข้างถุงด้านเดียว  แบออก  ประกบทาบกิ่งพันธ์จนรอบ  ใช้เชือกฟางมัดบน – ล่าง เหนือรอยควั่น วิธีนำไปใช้ 1. สังเกตการณ์งอกราก  ใช้เวลา 15 – 20 วัน เมื่อรากเป็นสีน้ำตาล สามารถตัดไปปลูกในแปลงหรือใส่ถุงเพาะรอการเพาะปลูก การทำเครื่องแกงป่า การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 1. กะละมัง 2. มีด 3. เขียง 4. ตะกร้า 5. ถังบรรจุ 6. เครื่องบด7. น้ำ การจัดเตรียมวัตถุดิบ 1. พริกขี้หนูแห้งและสด 2. ขมิ้น 3. ตะไคร้ 4. หัวหอมแดง 5. กระเทียม 6. ข่าแก่
7.  กระชาย 8. เกลือ 9. พริกไทยดำ 10. ผิวมะกรูด/ใบมะกรูด วิธีทำ 1. ล้าง ทำความสะอาดวัตถุดิบ  ให้สะเด็ดน้ำ
2. นำวัตถุดิบที่จัดเตรียมมาคลุกเคล้าในกะละมัง  นำไปบด 3. เก็บใส่ถัง ปิดฝาให้มิดชิด การทำเครื่องแกงส้ม การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 1. กะละมัง 2. มีด 3. เขียง 4. ตะกร้า 5. ถังบรรจุ 6. เครื่องบด 7. น้ำ การจัดเตรียมวัตถุดิบ 1. พริกขี้หนูแห้งและสด 2. ขมิ้น 3. หัวหอมแดง 4. กระเทียม5. เกลือ วิธีทำ 1. ล้าง ทำความสะอาดวัตถุดิบ  ให้สะเด็ดน้ำ
2. นำวัตถุดิบที่จัดเตรียมมาคลุกเคล้าในกะละมัง  นำไปบด 3. เก็บใส่ถัง ปิดฝาให้มิดชิด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ถอดชุดความรู้กลุ่มต่าง ๆ  การทำน้ำหมักชีวภาพ การจัดเตรียมวัตถุดิบ พร้อมอุปกรณ์ 1. ถังหมักขนาด 200 ลิตร 2. มีด 3. กระป๋องตวงขนาด 1 ลิตร 4. น้ำ สูตร 1 น้ำหมักชีวภาพ  50  กิโลกรัม - ผักหรือผลไม้ 40  กิโลกรัม - กากน้ำตาล  10  กิโลกรัม - น้ำ  10  ลิตร - พด.2 จำนวน  1 ซอง / 25 กรัม วิธีทำ  ใช้มีดหั่นหรือสับผักหรือผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปบรรจุในถังหมัก  นำกากน้ำตาลและพด.2 ไปผสมกับน้ำ  ราดลงถังหมัก กวนให้เข้ากัน  ปิดฝาแบบไม่สนิท  วางไว้ในที่ร่ม แล้วกวนอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ใช้เวลาหมัก  7-10  วัน  นำไปใช้ให้หมดภายใน  3  เดือน

สูตร 2  น้ำหมักชีวภาพ  50  กิโลกรัม - ปลา / หอยเชอรี่ 30  กิโลกรัม - ผักหรือผลไม้ 10  กิโลกรัม - กากน้ำตาล  10  กิโลกรัม - น้ำ  10  ลิตร - พด.2 จำนวน 1  ซอง / 25 กรัม วิธีทำ  ใช้ไม้ทุบหอยเชอรี่ให้แตก ใช้มีดหั่นหรือสับผักหรือผลไม้ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ นำไปบรรจุในถังหมัก  นำกากน้ำตาลและพด.2 ไปผสมกับน้ำ  ราดลงถังหมัก กวนให้เข้ากัน  ปิดฝาแบบไม่สนิท  วางไว้ในที่ร่ม แล้วกวนอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ใช้เวลาหมัก  30  วัน  นำไปใช้ให้หมดภายใน  3  เดือน วิธีใช้
1. นำไปใช้รดผัก น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร 2. นำไปราดดับกลิ่นหรือฆ่าเชื้อ น้ำหมักครึ่งลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ การจัดเตรียมวัตถุดิบพร้อมอุปกรณ์ 1. จอบ 2. พรั่ว สำหรับพริกกองปุ๋ย 3. บัวรดน้ำ 4. ถังน้ำ 5. กระป๋องตวงขนาด 1 ลิตร 6. กระสอบป่าน/ผ้ายางคลุม 7. น้ำ สูตรที่ 1  อัตราส่วนผสมวัตถุดิบ  1,000  กิโลกรัม 1. ขี้วัวแห้ง 250 กก.
2. ขี้ไก่แกลบ 250 กก.
3. แกลบดิบ/ขุยมะพร้าว 100 กก.
4. รำข้าวละเอียด 100 กก.
5. ขี้เค้กปาล์ม 300 กก.
6. หัวเชื้อจุลินทรีย์และกากน้ำตาล 30 ลิตร วิธีทำ
1. นำวัตถุทั้งหมดได้แก่ ขี้วัวแห้ง ขี้ไก่แกลบ แกลบดิบ/ขุยมะพร้าว ขี้เค้กปาล์ม รำข้าวละเอียดมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน
2. ใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์และกากน้ำตาลที่ผสมน้ำตามอัตราส่วน ราดลงบนกองปุ๋ยให้ชุ่ม พอประมาณคลุกเคล้าอีกครั้ง
3. ทำเป็นกองสูงประมาณ 50 เซนติเมตร  คลุมด้วยกระสอบ/ผ้ายาง ทิ้งไว้ 7 วัน
4.  พลิกกลับกองปุ๋ยจำนวน 6 ครั้ง ทุก ๆ 7 วัน 5. ปล่อยทิ้งไว้ให้ปุ๋ยเย็นโดยเปิดผ้ายางคลุมออก นำปุ๋ยบรรจุกระสอบ พร้อมนำไปใช้ * กองปุ๋ยควรอยู่ในที่ร่มหรือในโรงเรือน วิธีนำไปใช้ 1. ใช้รองก้นหลุมปลูกพืชผัก  ผลไม้ ฯลฯ 2. เป็นส่วนของดินในการบรรจุถุงสำหรับเพาะชำกล้าไม้ 3. เป็นปุ๋ยบำรุงพืชผักหลังการปลูก

การชำกิ่งพันธ์ การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในการชำกิ่ง 1. กรรไกรตัดแต่งกิ่งไม้ 2. มีดคัตเตอร์ 3. เชือกฟาง 4. ถุงพลาสติกสำหรับห่อ 5. ดินที่ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพ 6. ถัง ตะกร้า วิธีทำ 1. คัดเลือกกิ่งพันธ์ที่สมบูรณ์  ลักษณะกิ่งตั้งฉากกับพื้นหรือเอียงเล็กน้อย 2. ใช้กรรไกรตัดแต่งใบหรือกิ่งที่กีดขวางออก
3. ใช้มีดควั่นเปลือกบน ระยะห่างจากรอยควั่นด้านล่างเท่ากับ วงรอบของกิ่ง  แล้วลอกเปลือกนอกออก ขูดเนื้อเยื่อออกจนถึงเนื้อไม้ ทิ้งไว้  5- 10 นาที 4. นำถุงพลาสติกที่บรรจุดินผสมปุ๋ยหมักไว้แล้ว ผูกปากถุง  ใช้มีดกรีดข้างถุงด้านเดียว  แบออก  ประกบทาบกิ่งพันธ์จนรอบ  ใช้เชือกฟางมัดบน – ล่าง เหนือรอยควั่น วิธีนำไปใช้ 1. สังเกตการณ์งอกราก  ใช้เวลา 15 – 20 วัน เมื่อรากเป็นสีน้ำตาล สามารถตัดไปปลูกในแปลงหรือใส่ถุงเพาะรอการเพาะปลูก การทำเครื่องแกงป่า การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 1. กะละมัง 2. มีด 3. เขียง 4. ตะกร้า 5. ถังบรรจุ 6.เครื่องบด7.น้ำ การจัดเตรียมวัตถุดิบ 1. พริกขี้หนูแห้งและสด 2. ขมิ้น3. ตะไคร้ 4. หัวหอมแดง5. กระเทียม 6.ข่าแก่7.กระชาย 8. เกลือ9. พริกไทยดำ 10. ผิวมะกรูด/ใบมะกรูด วิธีทำ 1. ล้าง ทำความสะอาดวัตถุดิบ  ให้สะเด็ดน้ำ
2. นำวัตถุดิบที่จัดเตรียมมาคลุกเคล้าในกะละมัง  นำไปบด 3. เก็บใส่ถัง ปิดฝาให้มิดชิด การทำเครื่องแกงส้ม การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ 1. กะละมัง 2. มีด 3. เขียง 4. ตะกร้า 5. ถังบรรจุ 6. เครื่องบด 7. น้ำ การจัดเตรียมวัตถุดิบ 1. พริกขี้หนูแห้งและสด 2. ขมิ้น 3. หัวหอมแดง 4. กระเทียม5. เกลือ
วิธีทำ 1. ล้าง ทำความสะอาดวัตถุดิบ  ให้สะเด็ดน้ำ
2. นำวัตถุดิบที่จัดเตรียมมาคลุกเคล้าในกะละมัง  นำไปบด 3. เก็บใส่ถัง ปิดฝาให้มิดชิด

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ถอดบทเรียน21 กรกฎาคม 2557
21
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ผู้นำกล่าวเปิดประชุม ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมโครงการว่ากำลังจะปิดโครงการ แต่โครงการได้รับงบประมาณสนับสนุนเพิ่มอีกปีหน้า ขอเชิญชวนให้เข้าร่วมกิจกรรม วัตถุประสงค์ของการประชุมถอดบทเรียน แนะนำวิทยากร นายเมษา ชื่นโชคสันต์ ผอ.รพ.สต.บ้านพรรณราชลเขต เป็นผู้ดำเนินการถอดบทเรียนโครงการ 2.วิทยากรได้กล่าวชื่นชม ม.4 นี้ผู้นำและประชาชนมีความพร้อมในการพัฒนา มีศักยภาพด้านการนำไปสู่หมู่บ้านต้นแบบตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยเฉพาะด้านงานการส่งเสริมด้านสุขภาพ  และเริ่มให้มีการแบ่่งกลุ่มย่อย เป็น 4 กลุ่ม ตามการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ตามที่ได้ทำมา โดยเริ่มต้นคำถามดังนี้ -ท่านเกี่ยวข้องกับโครงการนี้ได้อย่างไร  อะไรเป็นรูงจูงใจให้ท่านเข้าร่วมโครงการนี้ -ความสำเร็จของโครงการนี้เป็นอย่างไร -ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น -ท่านได้เรียนรู้อะไรจากการทำโครงการนี้ ท่านมีข้อเสนอแนะอย่างไรหากต้องทำโครงการนี้ต่อ กลุ่มที่1 กลุ่มทำปุ๋ย ตอบคำถาม เช่น เป็นประธาน เป็นคณะกรรมการกลุ่ม เป็นสมาชิก โครงการนี้เป็ฯประโยชน์ต่อชุมชน สามารถนำมาใช้ในวิถีชีวิต อาชีพเสิรมได้ สามารถนำปุ๋ยหมักมาใช้ประโยชน์ ใช้บำรุงผัก ผลไม้ ลดค่าใช้จ่าย ปลอดจากสารเคมี มีความสามัคคี ร่วมกันคิด ร่วมกันรับผิดชอบ ช่วยกันหาวัตถุดิบ วัตถุดิบที่มีในชุมชนนำมาช่วยได้ ทุกคนเห็นความสำคัญและประโยชน์เมื่อนำไปใช้จริงที่บ้าน ได้เรียนรู้ถึงการทำปุ๋ยหมัก การนำปุ๋ยไปใช้ประโยชน์ การรองก้นหลุม การผสมดิน เห็นวัตถุดิบเหลือใช้มาทำเป็นประโยชน์ ข้อแนะนำ อยากให้มีการทำแบบนี้และนำมาใช้กับชุมชนตลอดไป กลุ่มที่2 กลุ่มปลูกพืชผักสวนครัว เป็นคณะกรรม การเป็นสมาชิก โดยค่าครองชีพสูง ได้มีผู้นำที่เป็นแกนผลักดันให้เห็นเป็นรูปธรรม  ความสำเร็จ ร่วมทำร่วมผิดชอบ เกิดความสามัคคี  ทุกกลุ่มในชุมชนช่วยเหลือกันดูแลกัน ได้เรียนรู้ร่วมกัน ได้รับความสามัคคีร่วมกัน ข้อเสนอแนะให้มีตลาดนัดในชุมชน เพื่อหารายได้เข้าครัวเรือน
กลุ่มที่ 3 กลุ่มเพาะชำกล้าไม้ เป็นประธาน เป็ฯสมาชิก ฯลฯ  แรงจูงใจเพราะมีการเรียนรู้และปฎิบัติจริง ความสำเร้จเพราะมองว่าเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและลูกหลาน เพื่อนำไปใช้พัฒนาอาชีพของครัวเรีือน  ได้เรียนรู้วิธีการตอนกิ่ง การชำก่ิงชะอม ก่ิงส้มป่อย กิ่งผักเขลียง การเพาะเมล็ดพันธ์ไม้ เช่น สะตอ มะม่วงหิมพานพ์ สะเดาเทียม มะขาม  ข้อเสนอในคราวหน้า ให้เพาะชำเพื่อแจกจ่ายให้สมาชิกทุกครัวเรือน กลุ่มที่ 4 กลุ่มเครื่องแกง เป็นประธาน เป็นกรรมการ ฯลฯ แรงจูงใจ เพราะได้เข้ากลุ่มทำกิจกรรมร่วมกัน เนื่องจากจะได้ความรู้ ประสบการณ์ รู้ขั้นตอนและวิธีการทำเครื่องแกง ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ความสำเร็จมองว่าเพราะสิงที่ทำเป็นความต้องการของคนในชุมชนท่ัวไปและท้องตลาด ช่วยลดค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้ให้ผู้ทำ มีความปลอดภัย สะอาด ที่เป็นเช่นนั้นเพราะสมาชิกให้ความร่วมมือกัน ช่วยเหลือกัน ได้เรียนรู้ การคัดเลือกวัตถุดิบ วิธีการผสมวัตถุดิบ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันถือเป็นประสบการณ์  ข้อเสนอแนะในคราวหน้า ให้ผลิตวัตถุดิบเพื่อรองรับกลุ่มเครื่องแกง โดยให้ชาวบ้านช่วยกันปลูกและนำมาจำหน่ายให้กับกลุ่ม มีผู้มาให้ความเรื่องบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย และอยากให้มีสถานที่ผลิตที่เป็นของกลุ่มเอง 3.วิทยากรกล่าวชื่นชมความตั้งใจของสมาชิกแต่ละกลุ่ม  ชื่นชมที่เห็นการเปลี่ยนที่มองว่าไปสู่เศรษฐกิจที่ดีของชุมชน และมองว่าทุกคนสามารถเรียนรู้และทำได้จริง เห็นได้จากส่ิงที่นำเสนอแสดงว่าได้ปฎิบัติจริง ส่ิงที่ท่านเสนอแนะนั้นเป็นส่ิงที่ดี ทางคณะกรรมการโครงการฯจะนำไปสรุปและเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.การทำงานเป็นทีมในระดับกลุ่มใหญ่ กลุ่มย่อยสามารถแบ่งงานกันทำ มีการเคารพกฎของกลุ่ม ดูจากความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย 2.สามารถถอดชุดความรู้ของแต่ละกลุ่มได้ โดยมีตัวแทนของแต่ละกลุ่มมาบรรยายและพัฒนาไปสู่วิทยากรชุมชนได้ 3.การวางแผนการทำงาน รัดกุม ดูจากกิจกรรมของโครงการสามารถทำได้ สำเร็จ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4.โครงการพัฒนาโรงเรียนนี้ เป็นโครงการที่ดี เพราะสามารถเปลี่ยนแปลงวัตถุ สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมการยอมรับ สร้างทีมการทำงาน โครงการสร้างผู้นำ โครงการได้สร้างกฎ ความรับผิดชอบ ได้ถ่ายทอดภูมิปัญญาจากรุ่นสู่รุ่น  ได้ใช้ทุนทรัพย์สินที่กำลังจะสร้างปัญหาเป็นที่มั่วสุมของบางกลุ่มให้เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชน เปลี่ยนไปจากด้านมืดเป็นสว่าง ลดความวิตกกังวล เครียด ของผู้นำและชาวบ้านได้
5.ทุกคนยินดีที่จะรับงบประมาณสนับสนุนในปีต่อไป เพราะปีนี้มองว่าเป็นการปรับปรุงขั้นพื้นฐาน และปีต่อไปเป็นการสร้าง เช่นเป็นศูนย์เรียนรู้ เป็นตลาดนัดชุมชน เป็นสถานที่ออกกำลังกาย ใช้พักผ่อน ฯลฯ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 85 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการดำเนินโครงการ  สมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ชาวบ้าน ภาคีเครือข่าย ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สนใจ เข้าร่วม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะกรรมการและพี่เลี้ยงติดตามโครงการในพื้นที่10 กรกฎาคม 2557
10
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวเปิดประชุม ให้สมาชิกแนะนำตัวเอง
2.เครือข่าย กศน.บอกเล่าเครื่องแกงที่เข้าร่วมกับบูด กศน.วันที่จังหวัดเคลื่อนที่ มา ณ ร.ร.บ้านแพรกกลาง ม.5 ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช กล่าวชื่นชมว่ากลุ่มดูแลสินค้าได้ดี มีการใส่กล่องซึ่งถือว่าเป็นแพ็กกิ่งที่ดี ทำให้เป็นที่สนใจของผู้ซื้อ และอยากให้ดูแลให้ดีตลอดไป สินค้าไม่ให้ขาดตลาด 3.พี่เลี้ยง โดย อ.กำไล สมรักษ์ กล่าวชื่นชมการทำงานของคณะทำงาน และบอกว่าปีหน้าโครงการจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณอีก ให้ทุกคนช่วยตอบคำถามที่พี่เลี้ยงถาม เช่นถามโครงการนี้ดีม่าย ดีอย่างไร น้าเสมบอกว่า ดี ต่อยอดจากที่ทำที่ ร.ร.ไปทำที่บ้าน ภรรยา แม่ยาย ปลูกผักขายได้อาทิตย์ละหลายร้อย  และอยากให้ประชุมบ่อย ๆ งานจะได้ต่อเนื่อง อย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ให้มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ สันติบอกให้เอาเครื่องแกงไปช่วยงานในหมู่บ้าน เป็นการประชาสัมพันธ์  เพิ่มกิจกรรมที่เขาสนใจ หรือน่าสนใจให้เขาทำ  ตอนนี้มี DJ วิทยุบอกว่าจะช่วยประชาสัมพันธ์โครงการให้  กลุ่มเครื่องแกงอยากมีโลโก้ เพ็กกิ้ง  มีสถานที่ผลิตเพื่อขอ อย. มผช. สันติ กลุ่มต้องทำข้อมูลไว้เพื่อศึกษา ทวย(ประธานขับเคลื่อนเครือข่ายเศรษฐกิจพอเพียง)กลุ่มต้องมีโครงสร้าง ต้องมีผู้แลกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้ผู้ผลิต คือครัวเรือนเป็นผู้ผลิตวัตถุดิบ ส่งขายให้กลุ่ม 2. ได้ผู้บริโภค คือครัวเรือนในชุมชน เป็นผู้บริโภค 3. สร้างอาชีพสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ ตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ ภาคีเครือข่าย พืี่เลี้ยงโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะกรรมการและพี่เลี้ยงติดตามโครงการในพื้นที่10 กรกฎาคม 2557
10
กรกฎาคม 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนการทำงาน วางแผนงาน สรุปผลงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบการขับเคลื่อนให้ได้ต่อเนื่อง พึ่งตนเองได้หลังหมดงบจาก สสส

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ผู้เข้าร่วมทุกคนได้พูดคุยและเสนอแนะตามวัตถุประสงค์การติดตามโครงการ ๒ เรื่อง คือ สิ่งทีเกิดขึ้นในการทำโครงการ และการพัฒนาต่อเนื่องโดยพื้นที่ ประเด็นการพัฒนาร่วมกัน ทั้งชุมชน หน่วยงาน และกลุ่ม องค์กร ในหมู่บ้าน สรุป และติดตามดูในศูนย์เรียนรู้ เสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่อในพื้นที่จริง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. จากการบอกเล่าของแกนนำที่เล่าด้วยความภูมิใจ "พวกเราคนในชุมชนได้ร่วมกันพัฒนาท้องถิ่น จากเดิมคนในหมู่บ้านมั่วสุมทำสิ่งไม่ดี ทีมงานได้ร่วมกันคิดและทำ โดยนำทุนของพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นปราชญ์ชาวบ้าน โรงเรียนที่รกร้าง กศน.เข้าช่วย ประกอบกับมีความสามัคคีของกลุ่มแกนนำ ได้ร่วมกันพัฒนาโรงเรียนร้างให้เปลี่ยนเป็นศูนย์เรียนรู้ เกิดศูนย์รวมใจของคนในหมู่บ้านทุ่งหนองควาย และในอนาคตเราต้องทำให้ดีกว่านี้ เราทำแบบขั้นบันใด ค่อยๆ ขยับไปทีละขั้น เพิ่มการพูดคุยในสภากาแฟให้มากขึ้น  ให้ไปดูที่บ้านสามารถเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายจากการเรียนรู้เรื่องพืชผักปลอดสารพิษ ปลูกไว้กิน เหลือขายได้ราคาดี ที่ว่างทำให้เกิดประโยชน์  ถ้ายึดแนวนี้ได้ เป็นแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เป็นรายได้เพิ่มของครอบครัว เราไม่ต้องซื้อเขา แต่เราเอาของเราไปแลกไปขายมา เราไม่ต้องควักตังในเป๋าทั้งหมด ตัวอย่างแม่ยายและภรรยา แต่ละนัดได้หลายร้อย จากผลผลิต ยอดมะขาม ขีดละ ๘ บาท บอดชะอม ส้มป่อย ยอดเขลียง ข่า ตะไคร้ อยากให้เข้มข้นกว่านี้สักนิด นั่งคุยเดือนละ ๒ ครั้ง เดือนละครั้งน้อยไป แก้ปัญหาเรื่องพืชผักไม่ทัน"

    2. มีแนวทางการพัฒนาต่อเนื่อง ดังนี้

        2.1 พัฒนาพื้นที่ว่างในหมู่บ้านเป็นพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษ ใช้ศูนย์เรียนรู้เป็นฐานเรียนรู้และไปทำต่อที่บ้าน โดยขยายผลให้ทั่วหมู่บ้าน  มีกลุ่มปุ๋ย กลุ่มปลูกพืชผัก กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มเพาะชำ เป็นต้น

        2.2 ร่วมกันกำหนดแหล่งผลิตที่มีคุณภาพ ให้มีการทำข้อมูลการใช้และการจำหน่าย รายเดือน รายปี มีการบริหารจัดการครบวงจร จัดทำแผนผังการผลิตทั้งหมู่บ้าน แบ่งโซนทำข้อมูลวัตถุดิบ เพิ่มทีมให้ครอบคลุมทั้งหมู่บ้าน เพิ่มคุณภาพและการตลาด

        2.3 เกิดการจัดการของชุมชน โดยมีกติกา คือ ในหมู่บ้าน มีงานก็ต้องซื้อจากกลุ่มและมีการหมุนเวียนเปลี่ยนกันช่วยเหลือในกลุ่ม ทำเป็นโซนทั่งหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์ ตามกลุ่ม ออมทรัพย์ ป้ายประชาสัมพันธ์ ปากต่อปากจากกรรมการ ๒๐ คน บอกในเวที อสม. และติดตามเยี่ยมตามบ้าน

        2.4 พัฒนาการตลาด ทำเพ็คกิ้ง ให้นำเครื่องแกงไปใช้ได้ง่ายมีสติกเกอร์ ใช้กระปุก วันหมดอายุ ขอ อย.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผอ.กศน. อาจารย์จาก กศน. ตัวแทนเกษตรกรอำเภอ คณะกรรมการ ปราชญ์ชาวบ้าน แกนนำกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

มีสภากาแฟช่วยบอกปากต่อปาก ให้ประชาชนได้มาร่วมมากขึ้น และสรุปการจัดทำรายงานให้เสร็จทันเวลา

ประชุมคณะทำงานโครงการทุกเดือน5 กรกฎาคม 2557
5
กรกฎาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.มีการพูดคุยถึงกิจกรรมที่ผ่านมา ความก้าวหน้า ปัญหา ความสำเร็จ ความภาคภูมิใจ 2.มีการนำตารางกิจกรรมโครงการมาดูกัน เพื่อจะทำกิจกรรมในครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน แจ้งความก้าวหน้าโครงการ ตอนนี้พืชผักที่ลงแปลงสาธิตงอกงามดี ส่วนหนึ่งมาจากการใช้ปุ๋ยหมักที่ผลิตเอง กลุ่มปลูกผักก็มีการถาก ถางโคนเพื่อจะใส่ปุ๋ย มีการเพะชำกล้าไม้เพื่อจะปลูกในพื้นที่ว่างเปล่าบริเวณโรงเรียนเพิ่มเติมเพราะว่ามีต้นไม้ใหญ่บางต้นได้ล้มหักโค่นลงเนื่องจากฝนตกลมพัดแรง ได้รับความเสียหาย และปลูกทดแทนที่มีการตัดต้นสะเดาเทียม 1 ต้นเพื่อนำมาทำห้องสุขา ที่จะรองรับการเปิดเป็นตลาดนัดชุมชนต่อไป กลุ่มเครื่องแกงก็เพิ่งบดเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2557 ส่วนหนึ่งจะนำไปออกบู๊ดของ กศน.ที่เป็นเครือข่ายของโครงการและของชุมชน เพื่อร่วมงานวันจังหวัดเคลื่อนที่ ณ ร.ร.บ้านแพรกกลาง ม.5 ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช ในวันที่ 4 ก.ค. 2557

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ ประกอบด้วย ผู้นำ ตัวแทนจากกลุ่มต่าง ๆ ของโครงการ เช่นกลุ่มปลูกพืชผัก กลุ่มทำปุ๋ย กลุ่มทำเครื่องแกง และผู้สนใจ จำนวน 22 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่ม่

ติดตามโครงการ ลงพื้นที่ของคณะกรรมการ28 มิถุนายน 2557
28
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ผู้นำกล่าวเปิดประชุม บอกเล่ากิจกรรมของการทำโครงการ ทบทวนกิจกรรมที่ผ่านมาของกลุ่มต่าง ๆ และกิจกรรมยังต้องทำตามตารางกิจกรรมของโครงการ ชักชวนให้ชาวบ้านที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการ บอกเล่าภาคีสนับสนุน เช่นมี กศน.ให้การสนับสนุนความรู้ และให้สมาชิกกลุ่มทำเครื่องแกงช่วยเข้าร่วมกิจกรรมของวันที่ 4 กรกฎาคม 2557 ด้วย ซึ่งเป็นกิจกรรมจังหวัดเคลื่อนที่ ที่ ร.ร.บ้านแพรกกลาง ม.5 ต.คลองเส อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช 2.ให้ตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ นำเสนอการทำกิจกรรมของกลุ่ม เช่น กลุ่มเครื่องแกงบอกว่าตอนนี้ได้รับการประสานงานจาก กศน.ให้บดเครื่องแกงและเข้าร่วมกับบูด กศน. ในวันจังหวัดเคลื่อนที่ ชักชวนให้เข้าร่วมกิจกรรมกับกลุ่มเครื่องแกง กลุ่มทำปุ๋ยบอกว่าจะทำปุ๋ยอีกเพื่อทบทวนความรู้และมีปุ๋ยไว้ใช้ทำกิจกรรมการปลูกผักของกลุ่มปลูกผัก  กลุ่มปลูกผักบอกว่าตอนนี้ผักที่ปลูกไว้เติบโต สวยงามมาก เพราะสมาชิกกลุ่มได้ถางหน้า ใส่ปุ๋ยหมักให้ ทำให้ผักที่ปลูกไว้สวยงาม ประทับใจมากและจะขยายการปลูกเป็นการปลูกพริกไทยดำ ตามต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ในบริเวณ ร.ร.  กลุ่มเพาะชำกล้าไม้ก็บอกว่าเมล็ดพันธ์ไม้ที่เพาะชำอยู่ในโรงสามารถนำไปปลูกได้แล้ว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.การวางแผนการทำงานรัดกุมขึ้น ง่ายขึ้น 2.มีการแบ่งงานกันทำ การทำงานเป็นทีม 3.การทำงานของกลุ่มปลูกผัก นัดกันมาถากหญ้า ดายหญ้า เอาพร้ามาบ้าง เอาจอบมาบ้าง พาเด็ก ๆ มาด้วย เหมือนการลงแขกในสมัยก่อน ได้บรรยากาศแบบอบอุ่น เด็กตัวเล็ก ๆ กับคุณทวดวัย 80 ปี เด็กอาสาช่วยถอนหญ้าบ้างถอนต้นผักไปบ้างโดนทวดเอ็ดเอาบ้าง ก็มีการแนะนำว่าต้นหญ้าคือแบบไหน สังเกตุยังไงว่าเป็นต้นผัก เช่นถ้าเป็นผักจะปลูกเป็นแถว เด็กก็ว่าต้นอะไรเหมือนหญ้าเลย ทวดบอกต้นข้าวโพด พอต้นใหญ่เป็นผักสีเหลืองต้มกินอร่อยมาก เด็กเข้าใจร้องอ่อด้วยสีหน้าดีใจ ให้เห็นว่าความรู้แบบนี้ไม่ท่องจำและเด็กไม่ต้องมโนเอาเอง เพราะเป็นการปฏิบัติให้ดู ประทับใจมาก เด็กจะได้มีสังคมที่ดีด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะกรรมการ25 มิถุนายน 2557
25
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เป็นการประชุมพูดคุย เตรียมความพร้อมของการลงพื้นที่ ในวันที่ 28 มิ.ย. 2557  การออกหนังสือเชิญประชุม การจัดสถานที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การวางแผนการจัดประชุม การเตรียมความพร้อมของการจัดสถานที่ เชิญภาคี ปราชญ์ชาวบ้านมาร่วมประชุมในวันที่ 28 มิ.ย. 2557 ในการติดตามโครงการลงพื้นที่ของคณะกรรมการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำ คณะกรรมการดำเนินโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะกรรมการทุกเดือน5 มิถุนายน 2557
5
มิถุนายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ประุชุมชี้แจงเพื่อทราบตามปฏิทินโครงการ ประกอบด้วย
        1.1 การไปพบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามโครงการกับทีม สจรส.มอ. ที่โรงแรมทวินโลตัส เมื่อวันที่ 20 พ.ค. 2557 ผลสรุปโดยภาพรวม โครงการดำเนินไปตามปฏิทินโครงการและการทำกิจกรรม ภาพถ่ายประกอบ เป็นไปด้วยดีพี่เลี้ยงชม     1.2 อ.กำไล สมรักษ์และทีม ลงพื้่นที่ติดตามโครงการ การดำเนินกิจกรรมโครงการ ในพื้นที่ เมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2557 อ.กำไล ชื่นชมการทำกิจกรรมที่นำสู่การเปลี่ยนแปลง 3 ยอด คือ 1)ยอดคน มีการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติ การมีส่วนร่วม การเสียสละ ทำงานเป็นทีม และทุกคนสามารถเล่าผลงานที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกันอย่างละเอียด และยังมีความคิดต่อยอดโครงการ  2)ยอดสิ่งแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดจากเดิมเป็นพื้นที่ รกร้าง สุ่มเสี่ยงกับภัยสังคมหลายรูปแบบ เราสามารถปรับเปลี่ยนให้สิ่งแวดล้อมดีขึ้น โดยกิจกรรมของโครงการจึงเห็นว่าโรงเรียนเรามีชีวิตขึ้นมาอีกครั้ง ดูจากไม่มีป่ารกร้างปกคลุมแต่เป็นพื้่นผักปลุกคลุมพื้นที่แทน  เมื่อก่อนมีกลุ่มเยาวชนใช้เป็นแหล่งมั่วสุมแต่ปัจจุบันอาคารใช้เป็นสถานที่ประชุม พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ กลายเป็นสถานที่สาธิตการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ สนามที่เคยรกร้างปัจจุบันแบ่งเป็นสองส่วน คือ ส่วนของแปลงปลูกพืชผักสวนครัว  โรงเพาะชำ อีกส่วนหนึ่งเป็นสนามกีฬา สนามเด็กเล่นได้ 3)ยอดการบริหาร คือการทำงานที่มี กฎ กติกา ระเบียบ มีาแผนงาน การทำงานระบบภาคี การทำกิจกรรมต้องมีการจดบันทึกและวางแผนต่อ เช่นการจัดตั้งตลาดนัดชุมชน อาจารย์ชม ดีมาก ให้ดำเนินการตามที่ตั้งใจและสอดคล้องวัตถุประสงค์ ความต้องการของ สสส.
  2. ผู้ดำเนินโครงการ ให้ประธานกลุ่มย่อยนำเสนอการทำกิจกรรมแต่ละกลุ่ม ซักถามความก้าวหน้า การเปลี่ยนแปลง บอกเล่าสิ่งดีดี  ปัญหาอุปสรรค
        2.1 นายจรูญ ถิ่นพระบาท ประธานกลุ่มปุ๋ยหมัก บอกว่ากิจกรรมของการทำปุ๋ยเสร็จสิ้นและปุ๋ยนำมาใช้ในกิจกรรมการปลูกผัก พืชสวนครัว การเพาะชำกล้าไม้ ได้แล้ว และนำเสนอต่อว่าหากมีงบประมาณเราจะทำปุ๋ยหมักอีกเพราะว่าจากการนำไปใช้พืชผักโตเร็วไม่ต้องใช้ปู๋ยเคมี ประหยัดต้นทุน ไม่เป็นอันตรายต่อการบริโภค     2.2 นายประเวศ  หอมแก้ว ประธานกลุ่มปลูกผัก พืชสวนครัว จากที่สมาชิกได้นำปู๋ยหมักมารองก้นหลุมในการปลูกผัก เช่นข้าวโพด ขมิ้น ตะไคร้ ข่า แตงกวา  พริกขี้หนู มะเขือ ถั่ว ฯลฯ ผลปรากฏว่าพืชผัก ใบมีลักษณะเป็นมัน (ที่ประชุมหัวเราะ ฮา กลายเป็นมัน(มันคือพืชชนิดหนึ่งที่เรียกกันเช่นมันสำปะลัง มันเทศ) ได้อย่างไร เราปลูกมะเขือ พริกไม่ใช่หรือ ) ประธานรีบอธิบายว่ามันในที่นี้ คือ ใบที่มีลักษณะเขียว วาว ใบโต สมบูรณ์ น่ากิน ประธานดุแบบเอ็นดูว่าอย่าแปลแบบว่า....กวน และฝากให้ทุกคนช่วยกันทำกิจกรรมและดูแลแปลงปลูกผัก ปลูกที่บ้านเพิ่มเติมและแนะนำให้บ้านข้างเคียงปลูกกัน หากมีข้อสงสัยก็ซักถามและมาเรียนรู้เพิ่มเติมกับกลุ่มเราได้ และเสนอแนวคิดไว้ว่า เราควรพัฒนาให้ริมถนนเป็นถนนกินได้ เช่น พื้นที่ว่างข้างถนน เรามาปลูกต้นมะละกอ ชะอม มะขาม มะม่วงหิมพานต์ สะตอ กระถิน ผักหวาน ฯลฯ ที่ประชุมเห็นด้วยพร้อมจะดำเนินนำร่อง
  3. คณะผู้เข้าร่วมประชุมลงดูแปลงปลูกผัก โรงเพาะชำ ทุกคนบอกว่า ทุกกิจกรรมผลออกมาดี และดำเนินกิจกรรมอื่นต่อไป


  4. ลงพื้นทีดูแปลงปลูกผักและโรงเพาะชำ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.พี่เลี้ยง โดยอาจารย์กำไล สมรักษ์ และทีม ลงพื้นที่จริง พอใจและชื่นชมการทำกิจกรรมของโครงการ ให้กำลังใจ วางแผนเพื่อรองรับการต่อยอดปีสอง 2.ทุกกลุ่มย่อยทำกิจกรรมประสบความสำเร็จ ดูจาก การมีส่วนร่วม ความพึงพอใจต่อกิจกรรม มีการนำเสนอสิ่งดีดีเพื่อพัฒนาและต่อยอดต่อไป 3.เมื่อมีการพัฒนาโรงเรียนในระดับหนึ่งเห็นการเปลี่ยนแปลงจึงมีการเสนอจัดตั้งตลาดนัดชุมชน ขณะนี้กำลังสร้างห้องน้ำ และปรับปรุงสถานที่ ระบบไฟฟ้า ประปา เพื่อรองรับการจัดตั้งตลาดนัดชุมชนในเดือนกรกฏาคม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 26 คน ประกอบด้วย ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต.  ผู้ดำเนินโครงการ คณะกรรมการกลุ่มปลูกผัก - พืชสวนครัว  กลุ่มเพาะชำกล้าไม้ กลุ่มทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  และผู้สนใจ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมกรรมการและติดตามโครงการร่วมกับพี่เลี้ยง30 พฤษภาคม 2557
30
พฤษภาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย กำไล
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมทบทวนการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา การมีส่วนร่วม และผลงานที่เกิดขึ้น ร่วมกันวางแผนดำเนินการต่อเนื่อง โดยผู้รับผิดชอบโครงการ เริ่มกล่าวนำทบทวนการทำงาน และให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนได้เล่าเรื่องราวการร่วมกิจกรรม ความประทับใจ และเสนอแนะความต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พี่เลี้ยงโครงการร่วมสรุปผลและเสนอแนะเพิ่มเติม จากนั้นทุกคนร่วมกันวางแผนการพัฒนาโรงเรียร้างสร้างชีวิต ให้เป็นตลาดชุมชนของหมู่บ้าน ร่วมคิดการบริหารจัดการ และกลไกการจัดการให้เป็นศูนย์เรียนรู้คู่ชุมชนได้ต่อเยื่องแและยั่งยืน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันพูดคุยและสรุปผลการปฏิบัติตามกิจกรรมในสัญญา ผลการจัดกิจกรรม และร่วมวางแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง สรุปได้ ดังนี้ 1. ทุกคนพูดเหมือนกันว่าทำแล้วดีมาก รู้สึกประทับใจในกิจกรรม เกิดการมีส่วนร่วมของทุกคนมากขึ้น  จากเดิมไม่คิดว่าจะพัฒนาโรงเรียนร้างมาเป็นศูนย์เรียนรู้ได้ ตอนนี้ทำสำเร็จแล้ว จากของเดิมเป็นโรงเรียนรกร้างมาก มีปลวกขึ้น แต่ตอนนี้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ มีแปลงผัก มีการใช้ประโยชน์ในอาคาร ใช้เป็นที่ประชุม มีแผนงานพัฒนาให้โรงเรียนเป็นศูนย์รวมของหมู่บ้าน พัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นตัวอย่างเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มี เริ่มหน่วยงานมาร่วมมากขึ้น ได้แก่ เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล พัฒนาชุมชน การศึกษานอกโรงเรียน มาร่วมกิจกรรมแล้วเห็นว่าดี จึงเสนอแนวทางการพัฒนาต่อเป็นตลาดชุมชน ในเดือนหน้าจะมีหัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงานในอำเภอ มาประชุมร่วมกันที่โรงเรียนแห่งนี้ เพื่อหาแนวทางพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะ  ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ เป็นพื้นที่เป็นตัวอย่าง เป็นแปลงสาธิต ให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับหมู่บ้านอื่นๆ  ดังคำพูดของนายสันติ “คนในหมู่บ้านตั้งใจดีมาก สนใจร่วมกิจกรรม มีความหวงแหนพื้นที่ ช่วยทำกันดีมาก มีความคิดจะขยายผลต่อไป ให้เกิดตลาดชุมชน มีหน่วยงานมาช่วยเพิ่ม จากไม่เคยมาร่วมก็มาร่วม” 2. เกิดผู้นำที่โดดเด่นมากกว่า 10 คน จากการร่วมทำกิจกรรม ได้แก่ 1) น้องนก ประธานกลุ่มเพาะชำพันธุ์ไม้ นำความรู้เรื่องการชำต้นชะอม ต้นส้มป่อย จากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ใช้สูตรตัวเอง พัฒนาจนสำเร็จ นำความรู้มาถ่ายทอดให้เพื่อนบ้านได้นำไปปฏิบัติได้ และเสนอแนะการวางแผนงานเพื่อจัดรูปแบบการปลูกผักให้เหมาะสมตลอดปี  คำนึงถึงระยะเวลา และฤดูกาลที่เหมาะสมมาช่วยเพื่อให้มีผลผลิตชุมชนออกมาจำหน่ายได้ทั้งปี พัฒนาได้แล้วนำมาบอกต่อในเวทีเรียนรู้ของหมู่บ้านต่อไป 2) นายสันติ ผู้รับผิดชอบโครงการ พี่เลี้ยงพบว่า มีการพัฒนาด้านภาวะผู้นำมากขึ้น มีการนำแบบมีส่วนร่วม พูดคุยมีเหตุผล และนำความรู้ในโครงการมาใช้ประโยชน์ในการถ่ายทอดให้กลุ่มได้มากขึ้น มีความสามารถในการเชื่อมโยงเครือข่ายของหลายกลุ่มในหมู่บ้าน มาร่วมกันดำเนินงาน โดยใช้กิจกรรมในโครงการ และพื้นที่โรงเรียนร้างเป็นตัวเดินเรื่อง พัฒนากลุ่มเพาะชำ กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ ให้มาร่วมพัฒนาไปพร้อมกัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบการสื่อสารในหมู่บ้าน ได้ติดตั้งสัญญาณ TOT บริเวณที่ทำการกลุ่ม เพื่อให้เด็กและประชาชนได้สืบค้นข้อมูลความรู้ สื่อสารกับบุคคลภายนอกได้ เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นพื้นที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ และไม่มีอินเตอร์เน็ต 3) น้าเวศ มีการพัฒนาตัวเองได้มาก จากเดิมเป็นคนว่างงงานอยู่กับบ้าน ต่อมาได้มาเรียนรู้การทำบัญชีกลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน จนเกิดความรู้เรื่องค้าขาย นำความรู้ไปใช้ จนตนเองสามารถขยายร้านค้าเพิ่มได้ 4) ตัวแทนเกษตรหมู่บ้าน ได้นำข้อมูลการพัฒนาพื้นที่และความรู้ไปบอกต่อในเวทีของตำบล อำเภอ และจังหวัด ได้นำลูกหลานที่มีความรู้การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์มาให้ข้อมูลและความรู้ให้ชาบ้านได้นำไปปฏิบัติ  5) น้องโน ประธานกลุ่มเครื่องแกง เป็นคนวางแผนการทำงานที่ดี วางแผนการผลิตวัตถุดิบในการทำเครื่องแกง เน้นวัตถุดิบที่มีในหมู่บ้าน หาได้ง่าย ได้แก่ พริก ตะไคร้ ขมิ้น โดยมีการจัดการให้ชาวบ้านได้หมุนเวียนกันปลูกให้พอดีกับการใช้ และเป็นพืชหมุนเวียนได้ตลอดปี ชาวบ้านได้ประโยชน์มาก 6) น้าถิตย์ อาสาพัฒนาหมู่บ้าน เป็นตัวอย่างการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ครบวงจร บอกเล่าด้วยสีหน้ามีความสุข บอกว่า “ทำตามประสาชาวบ้าน นำมูลสัตว์มาเป็นปุ๋ย เพาะพันธุ์ผักเอง ทำรั้วให้มีทุกอย่าง นำภูมิปัญญาการเพาะพันธุ์ผักมาใช้  รู้สึกดีใจมาก“ 7) น้าเสถียร ทำรั้วกินได้ ปลูกผักหวาน มะม่วงหิมพานห์ และพืชล้มลุก ทำน้ำหมักใช้แล้วดี เสนอให้กลุ่มมีการทำปุ๋ยหมักรวมกันอีกครั้ง เห็นผลการใช้ดีมาก 8) หญิง เขียด ประเสริฐ สามคนนี้ช่วยกันทุกอย่าง ไม่ว่าเตรียมอุปกรณ์ จัดอาหาร จัดสถานที่ ทำแปลงผัก ปรับพื้นที่ ได้ความรู้จากการเรียนรู้ร่วมกันไปทำต่อที่บ้านได้  9) จ้วน และหนุก สองคนนี้ ได้นำความรู้เรื่องการทำปุ๋ย ไปทำต่อ และนำผักไปเพาะพันธุ์ ลงแปลงเกิดผลดี 3. พี่เลี้ยงเสนอแนะให้ร่วมคิดกันต่อเรื่องการพัฒนากลไกการติดตาม และกำหนดกติกากลุ่ม เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้และตลาดชุมชนปลอดสารเคมี ให้นำข้อมูลนำเสนอในเวทีเดือนหน้า ซึ่งเป็นเวทีของหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 0 คน
ประกอบด้วย

กรรมการ แกนนำกลุ่ม ผู้นำชุมชน พี่เลี้ยงงโครงการ สมาชิกกลุ่มในหมู่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะกรรมการ30 พฤษภาคม 2557
30
พฤษภาคม 2557รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทบทวนการทำงาน วางแผนงาน สรุปผลงานอย่างต่อเนื่อง ประกอบการขับเคลื่อนให้ได้ตามวัตถุประสงค์โครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมทบทวนการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา การมีส่วนร่วม และผลงานที่เกิดขึ้น ร่วมกันวางแผนดำเนินการต่อเนื่อง โดยผู้รับผิดชอบโครงการ เริ่มกล่าวนำทบทวนการทำงาน และให้ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนได้เล่าเรื่องราวการร่วมกิจกรรม ความประทับใจ และเสนอแนะความต้องการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พี่เลี้ยงโครงการร่วมสรุปผลและเสนอแนะเพิ่มเติม จากนั้นทุกคนร่วมกันวางแผนการพัฒนาโรงเรียร้างสร้างชีวิต ให้เป็นตลาดชุมชนของหมู่บ้าน ร่วมคิดการบริหารจัดการ และกลไกการจัดการให้เป็นศูนย์เรียนรู้คู่ชุมชนได้ต่อเยื่องแและยั่งยืน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมร่วมกันพูดคุยและสรุปผลการปฏิบัติตามกิจกรรมในสัญญา ผลการจัดกิจกรรม และร่วมวางแผนการดำเนินงานต่อเนื่อง สรุปได้ ดังนี้ 1. ทุกคนพูดเหมือนกันว่าทำแล้วดีมาก รู้สึกประทับใจในกิจกรรม เกิดการมีส่วนร่วมของทุกคนมากขึ้น  จากเดิมไม่คิดว่าจะพัฒนาโรงเรียนร้างมาเป็นศูนย์เรียนรู้ได้ ตอนนี้ทำสำเร็จแล้ว จากของเดิมเป็นโรงเรียนรกร้างมาก มีปลวกขึ้น แต่ตอนนี้กลายเป็นศูนย์เรียนรู้ มีแปลงผัก มีการใช้ประโยชน์ในอาคาร ใช้เป็นที่ประชุม มีแผนงานพัฒนาให้โรงเรียนเป็นศูนย์รวมของหมู่บ้าน พัฒนาพื้นที่เพื่อเป็นตัวอย่างเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มี เริ่มหน่วยงานมาร่วมมากขึ้น ได้แก่ เกษตรตำบล เกษตรอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล พัฒนาชุมชน การศึกษานอกโรงเรียน มาร่วมกิจกรรมแล้วเห็นว่าดี จึงเสนอแนวทางการพัฒนาต่อเป็นตลาดชุมชน ในเดือนหน้าจะมีหัวหน้าส่วนราชการทุกหน่วยงานในอำเภอ มาประชุมร่วมกันที่โรงเรียนแห่งนี้ เพื่อหาแนวทางพัฒนาให้เป็นพื้นที่สาธารณะ  ให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ เป็นพื้นที่เป็นตัวอย่าง เป็นแปลงสาธิต ให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับหมู่บ้านอื่นๆ  ดังคำพูดของนายสันติ “คนในหมู่บ้านตั้งใจดีมาก สนใจร่วมกิจกรรม มีความหวงแหนพื้นที่ ช่วยทำกันดีมาก มีความคิดจะขยายผลต่อไป ให้เกิดตลาดชุมชน มีหน่วยงานมาช่วยเพิ่ม จากไม่เคยมาร่วมก็มาร่วม” 2. เกิดผู้นำที่โดดเด่นมากกว่า 10 คน จากการร่วมทำกิจกรรม ได้แก่ 1) น้องนก ประธานกลุ่มเพาะชำพันธุ์ไม้ นำความรู้เรื่องการชำต้นชะอม ต้นส้มป่อย จากการทดลองปฏิบัติด้วยตนเอง ใช้สูตรตัวเอง พัฒนาจนสำเร็จ นำความรู้มาถ่ายทอดให้เพื่อนบ้านได้นำไปปฏิบัติได้ และเสนอแนะการวางแผนงานเพื่อจัดรูปแบบการปลูกผักให้เหมาะสมตลอดปี  คำนึงถึงระยะเวลา และฤดูกาลที่เหมาะสมมาช่วยเพื่อให้มีผลผลิตชุมชนออกมาจำหน่ายได้ทั้งปี พัฒนาได้แล้วนำมาบอกต่อในเวทีเรียนรู้ของหมู่บ้านต่อไป 2) นายสันติ ผู้รับผิดชอบโครงการ พี่เลี้ยงพบว่า มีการพัฒนาด้านภาวะผู้นำมากขึ้น มีการนำแบบมีส่วนร่วม พูดคุยมีเหตุผล และนำความรู้ในโครงการมาใช้ประโยชน์ในการถ่ายทอดให้กลุ่มได้มากขึ้น มีความสามารถในการเชื่อมโยงเครือข่ายของหลายกลุ่มในหมู่บ้าน มาร่วมกันดำเนินงาน โดยใช้กิจกรรมในโครงการ และพื้นที่โรงเรียนร้างเป็นตัวเดินเรื่อง พัฒนากลุ่มเพาะชำ กลุ่มเครื่องแกง กลุ่มปุ๋ยชีวภาพ ให้มาร่วมพัฒนาไปพร้อมกัน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาระบบการสื่อสารในหมู่บ้าน ได้ติดตั้งสัญญาณ TOT บริเวณที่ทำการกลุ่ม เพื่อให้เด็กและประชาชนได้สืบค้นข้อมูลความรู้ สื่อสารกับบุคคลภายนอกได้ เนื่องจากหมู่บ้านนี้เป็นพื้นที่ไม่มีสัญญาณโทรศัพท์ และไม่มีอินเตอร์เน็ต 3) น้าเวศ มีการพัฒนาตัวเองได้มาก จากเดิมเป็นคนว่างงงานอยู่กับบ้าน ต่อมาได้มาเรียนรู้การทำบัญชีกลุ่มร้านค้าสวัสดิการชุมชน จนเกิดความรู้เรื่องค้าขาย นำความรู้ไปใช้ จนตนเองสามารถขยายร้านค้าเพิ่มได้ 4) ตัวแทนเกษตรหมู่บ้าน ได้นำข้อมูลการพัฒนาพื้นที่และความรู้ไปบอกต่อในเวทีของตำบล อำเภอ และจังหวัด ได้นำลูกหลานที่มีความรู้การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์มาให้ข้อมูลและความรู้ให้ชาบ้านได้นำไปปฏิบัติ  5) น้องโน ประธานกลุ่มเครื่องแกง เป็นคนวางแผนการทำงานที่ดี วางแผนการผลิตวัตถุดิบในการทำเครื่องแกง เน้นวัตถุดิบที่มีในหมู่บ้าน หาได้ง่าย ได้แก่ พริก ตะไคร้ ขมิ้น โดยมีการจัดการให้ชาวบ้านได้หมุนเวียนกันปลูกให้พอดีกับการใช้ และเป็นพืชหมุนเวียนได้ตลอดปี ชาวบ้านได้ประโยชน์มาก 6) น้าถิตย์ อาสาพัฒนาหมู่บ้าน เป็นตัวอย่างการปลูกผักและเลี้ยงสัตว์ครบวงจร บอกเล่าด้วยสีหน้ามีความสุข บอกว่า “ทำตามประสาชาวบ้าน นำมูลสัตว์มาเป็นปุ๋ย เพาะพันธุ์ผักเอง ทำรั้วให้มีทุกอย่าง นำภูมิปัญญาการเพาะพันธุ์ผักมาใช้  รู้สึกดีใจมาก“ 7) น้าเสถียร ทำรั้วกินได้ ปลูกผักหวาน มะม่วงหิมพานห์ และพืชล้มลุก ทำน้ำหมักใช้แล้วดี เสนอให้กลุ่มมีการทำปุ๋ยหมักรวมกันอีกครั้ง เห็นผลการใช้ดีมาก 8) หญิง เขียด ประเสริฐ สามคนนี้ช่วยกันทุกอย่าง ไม่ว่าเตรียมอุปกรณ์ จัดอาหาร จัดสถานที่ ทำแปลงผัก ปรับพื้นที่ ได้ความรู้จากการเรียนรู้ร่วมกันไปทำต่อที่บ้านได้  9) จ้วน และหนุก สองคนนี้ ได้นำความรู้เรื่องการทำปุ๋ย ไปทำต่อ และนำผักไปเพาะพันธุ์ ลงแปลงเกิดผลดี 3. พี่เลี้ยงเสนอแนะให้ร่วมคิดกันต่อเรื่องการพัฒนากลไกการติดตาม และกำหนดกติกากลุ่ม เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้และตลาดชุมชนปลอดสารเคมี ให้นำข้อมูลนำเสนอในเวทีเดือนหน้า ซึ่งเป็นเวทีของหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ แกนนำกลุ่มบ้าน ผุ้นำหมู่บ้าน พี่เลี้ยงโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

พี่เลี้ยงเสนอแนะให้ร่วมคิดกันต่อเรื่องการพัฒนากลไกการติดตาม และกำหนดกติกากลุ่ม เพื่อพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้และตลาดชุมชนปลอดสารเคมี ให้นำข้อมูลนำเสนอในเวทีเดือนหน้า ซึ่งเป็นเวทีของหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ

ร่วมประชุมติดตามโครงการ ตรวจสอบเอกสารกับ สจรส.มอ.20 พฤษภาคม 2557
20
พฤษภาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเข้าร่วมประชุม ตรวจสอบเอกสารการทำกิจกรรมโครงการกับเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. พบพี่เลี้ยงโครงการฯ 2.รายงานความก้าวหน้า จากหน้าเวบไซค์ เอกสารประกอบการรายงานกิจกรรมโครงการ 3.พบพี่เลี้ยง สจรส.มอ.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้สังเคราะห์ความรู้กันระหว่างพี่เลี้ยงกับการบันทึกหน้าเวบไซค์ การบันทึกในเอกสารประกอบรายงานการทำกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ เหรัญญิก ผู้จดบันทึกคอมพิวเตอร์ จำนวน 3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะกรรมการทุกเดือน5 พฤษภาคม 2557
5
พฤษภาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการ 2.เตรียมการปลูกพืชตามฤดูการ ค้นหาพันธ์พืช ชนิดพืชตามชุมชน เช่น ขมิ้น ข่า ตะไคร้ ฯลฯ 3.นัดกลุ่มปลูกผักมาเตรียมการปลูกผัก ทำระบบน้ำ 4.มีการเสนอจัดตั้งตลาดนัดเช้า เป็นการจำหน่ายผลผลิดในชุมชน เห็นชอบให้การทำตลาดนัด จึงให้เตรียมจัดทำแผงหรือที่วางของ ปรับปรุงห้องน้ำ ปรับปรุงสถานที่ ลานจอดรถ รวมถึงระบบไฟฟ้า มีคณะการชุมชมเป็นผู้แลประสานงาน บริหารจัดการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ขมิ้นที่ใช้ในชุมชนและทำเครื่องแกง คือขมิ้นด้วง ลักษะทั่วไปภายนอก คล้าย ๆ ตัวด้วง สีเหลือง กลิ่นไม่ฉุน ต้องอนุรักษ์เป็นพันธ์พื้นเมือง 2.พริกขี้หนูที่ใช้บดเครื่องแกงส้ม ใช้ชื่อเรียกว่า "ดีปลีชี" ดอกขาว เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม เมื่อบดเครื่องแกงแล้วสีจะสวยแบบสะอาด จูงใจให้น่าซื้อหารับประทาน ต้องปลูกไว้ในแปลง 3.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

กรรมการ ผู้นำชุมชน สมาชิกชุมชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

นัดสมาชิกเรียนรู้การทำเครื่องแกง20 เมษายน 2557
20
เมษายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ให้ความรู้ทางวิชาการ เรื่องการทำเครื่องแกง เนื่องจากเครื่องแกงเป็นส่วนประกอบของการทำอาหาร ต้องเน้นความสะอาด ผู้ผลิตต้องใส่หมวกคลุมผม ใส่ผ้ากันเปื้อน ถุงมือ ภาชนะที่ใช้ใส่เครื่องแกงเป็นพลาสติกสำหรับใส่อาหาร หรือเป็นอลูมิเนียม แสตนเลส เพราะว่าเครื่องแกงมีส่วนประกอบของเกลือ หากเป็นภาชนะทำจากเหล็กจะเป็นสนิมปนเปื้อนในเครื่องแกง เมื่อทำเครื่องแกงเสร็จแล้วต้องในภาชนะและเก็บในอุณภูมิที่เหมาะสม 2.อาจารย์จาก กศน.ให้คำแนะนำในเรื่องเพคกิ้งพร้อมจะให้ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม 3.มีการสาธิตการทำเครื่องแกง 2 ชนิด คือ แกงส้ม แกงคั่วพริกป่า มีส่วนผสมดังนี้ แกงคั่วพริกป่า คือ ขมิ้น ตะไคร้ พริกขี้หนูแห้ง พริกขี้หนูสด กะเทียม หอมแดง ข่า ใบมะกรูด เกลือ พริกไทยดำ แกงส้ม คือ พริกขี้หนูแห้ง พริกขี้หนูสด เกลือ ขมิ้น กระเทียม หอมแดง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เครื่องแกงคั่วพริกป่า มีส่วนผสมของสมุนไพรหลายชนิด ขมิ้นช่วยสมานแผลในกระเพาะ สำใส้ กระเทียมช่วยขับลม ลดกรดในกระเพาะ หอมแดงทำให้หายใจโล่ง พริกไทยดำบำรุงเลือด เกลือให้ไอโอดีน พริกขี้หนูสดมีเบต้าเคโรทีนและช่วยต่อต้านอนูมูลอิสระ ซึ่งเครื่งอแกงคั่วพริกป่าเหมาะสมกับการทำอาหารทั่วไปและหญิงคลอดบุตรใหม่ ๆ ใช้แกงคั่วกับหมูและปลาช่อน ปลาทู ช่วยขับน้ำคาวปลาและบำรุงเลือด บำรุงน้ำนม 2.เป็นการส่งเสริม อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น (สุตรของใครใครก็หวง หรือสิขสิทธิ์) ไว้ให้เยาวชนคนรุ่นได้เรียนรู้และสืบสานการทำ และนำไปทำเพื่อประกอบอาชีพ ขายเครื่องแกง เปิดร้านขายข้าวแกงก็ได้ 3.การทำเครื่องแกงโดยไม่สารกันบูด ทำได้โดยการคัดสรรวัตถุดิบธรรมชาติที่มีคุณภาพ ล้าง ตากแดด ให้สะอาด ใช้ภาชนะที่สะอาดกันสนิม 4.สามารถพัฒนาต่อยอดได้ โดยการเรียนรู้เพคกิ้ง การขอ มผช. อย.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 84 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. วิทยากรชุมชน คณะกรรมการดำเนินโครงการ  อาจารย์จาก กศน. เจ้าหน้าที่ ธกส. กลุ่มเยาวชน ชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะกรรมการทุกเดือน5 เมษายน 2557
5
เมษายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการ 2.ตรวจสอบความพร้อม ของปุ๋ยหมัก พันธ์พืช แปลงปลูก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีการลงมติว่าจะปลูกผักแบบพื้นบ้าน เช่น ผักหวาน ผักเขลียง ชะอม มันเทศ ส้มป่อย ข้าวโพด มะเขือ ฯลฯ  เนื่องจากมีความทนต่อโรค เป็นการลดการใช้สารเคมี เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ เป็นที่นิยมบริโภคกัน และเป็นที่ต้องการของตลาด 2.มีการปลูกพืชเพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องบดเครื่องแกง เช่น ตะไคร้ ขมิ้นด้วง พริกขี้หนู ข่า ให้กับกลุ่มทำเครื่องบดเครื่องแกงในหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. คณะกรรมการดำเนินโครงการ ชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตามโครงการในพื้นที่ ครั้งที่ 1 โดยคณะกรรมการโครงการ28 มีนาคม 2557
28
มีนาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.คณะกรรมการและตัวแทนพร้อมกันที่ ร้านค้าชุมชน เพื่อร่วมประชุมเสวนาและติดตามกลุ่มเครื่องแกง โดยนายมโน หนูเสน ประธานกลุ่มเครื่องแกง ได้เล่าต่อที่ประชุมว่า ตอนนี้สมาชิกกลุ่มมีความพร้อมและได้ประชุมกลุ่มย่อยเพื่อคัดเลือกสูตร โดยใช้สูตรแกงคั่วของป้าเจตน์แต่ความเพิ่มพริกขี้หนูและพริกไทยดำ ให้มีรสชาติเข้มข้นกว่า เนื่องจากคนในชุมชนนิยมอาหารรสจัด ได้สูตรเครื่องแกงส้ม(พิเศษ)จากร้านป้าเอิบ ตลาดบ้านส้อง รสชาติเป็นยอมรับของคนทั่วไป  ทางกลุ่มจะนัดสมาชิกพร้อมผู้สนใจมาเรียนรู้และสาธิตการบดเครื่องในวันที่ 20 เม.ย.2557
2.ติดตามกลุ่มปุ๋ย โดยนายจรูญ  ถิ่นพระบาท ประธานกลุ่มปุ๋ยหมัก รายงานว่าตอนนี้ปุ๋ยทำเสร็จสิ้นแล้ว บรรจุกระสอบแล้ว พร้อมที่จะให้กลุ่มปลูกพืชผักสวนครัว ลงแปลง 3.ติดตามการทำโรงเพาะชำ  ตัวแทนรายงานว่าได้ทำโรงเพาะชำตั้งแต่เดือน ก.พ. พบปัญหาคือ ฝนแล้ง ต้องใช้น้ำประปาเข้าช่วย 4.ตัวแทนเยี่ยมกลุ่มปุ๋ย กลุ่มปลูกผัก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทุกกลุ่มสามารถทำตามตารางกิจกรรมได้ เนื่องจากมีผู้นำกลุ่มที่เข้มแข็ง การทำงานเป็นทีม และเชื่อฟังผู้อาวุโส อาศัยคำแนะนำจากปราชญ์ชาวบ้านและเครือข่ายเกษตรตำบล กศน. 2.มีการเก็บบันทึกข้อมูลการทำกิจกรรม ไว้เป็นคู่มือการเรียนรู้ต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 85 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการกลุ่ม ตัวแทนกลุ่มต่าง ๆ เช่นกลุ่มเครืองแกง กลุ่มปุ๋ยหมัก กลุ่มปลูกพืชผัก ผู้นำ ชาวบ้าน และผู้ที่สนใจ  จำนวน 85 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สมาชิกโครงการฯมาบรรจุปุ๋ยหมักใส่กระสอบ12 มีนาคม 2557
12
มีนาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.สังเกตุกองปุ๋ยเนื้อละเอียด ร่วนซุย กลิ่นไม่ฉุน เนื้อปุ๋ยเย็นสนิท พร้อมบรรจุใส่ถุง รอการลงแปลงปลูก 2.การบรรจุกระสอบ ได้ 132 กระสอบ ประมาณน้ำหนัก 4,000 -4,200 กก.

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ปุ๋ยหมักที่พร้อมสำหรับการเพาะปลูก ต้องไม่มีกลิ่นเหม็นแบบฉุนมีความร้อน เนื้อปุ๋ยต้องร่วนซุยเมื่อกำไม่เป็นก้อน เนื้อปุ๋ยเย็นสนิท
2.คุณภาพของปุ๋ยที่ทำเองนี้คุณภาพ 95 เปอร์เซนต์  ความมั่นใจ 100 เปอร์เซนต์

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 83 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะผู้ดำเนินโครงการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. และนัดสมาชิกทุกกลุ่มมาช่วยกันบรรจุปุ๋ยหมักใส่กระสอบ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

กลับหรือพริกกองปุ๋ย6 มีนาคม 2557
6
มีนาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในโรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สมาชิกกลุ่มปุ๋ยหมักช่วยกันกลับหรือพริกกองปุ๋ย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-การกลับหรือพริกกองปุ๋ยเป็นครั้งสุดท้าย รอจนเนื้อปุ๋ย  ทิ้งไว้โดยไม่ต้องคลุม รอบรรจุกระสอบเพื่อใช้ในการปลูกพืชผัก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้นำ คณะกรรมการดำเนินกิจกรรม  สมาชิกกลุ่มปุ๋ย

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะกรรมการทุกเดือน5 มีนาคม 2557
5
มีนาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประชุมคณะกรรมการโครงการเพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ ไม่มีปัญหาอุปสรรค
2.วางแผนการดำเนินกิจกรรมต่อไป ว่าด้วยการเรียนรู้และสาธิตการทำเครื่องแกง 3.กลุ่มทำปุ๋ยร่วมกันกลับพริกกองปุ๋ย เนื้อปุ๋ยสามารถนำไปใช้เพาะปลูกได้แ่ล้ว นัดสมาชิกมาบรรจุกระสอบเป็นลำดับต่อไป 4.การไถพรวนตากหน้าดิน และเตรียมดินสำหรับการเพาะปลูก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.การเตรียมดินสำหรับทำแปลงปลูกผัก ใช้รถไถเพื่อตากหน้าดิน 2 ครั้ง ครั้งที่ 3 เป็นการไถสาดร่องและทำให้ดินร่อนซุยเหมาะแก่การเพาะปลูก ซึ่งในช่วงฤดูแล้งเหมาะสมมาก ช่วงฤดูฝนรถติดไม่สะดวกในการไถ 2.การทำเครื่องบดเครื่องแกง เน้นที่การคัดเลือกวัตถุดิบในท้องถิ่นก่อน  และเน้นที่คุณภาพ ความสะอาด โดยการล้างวัตถุดิบ ตากแดด ไม่ใส่สีและสารกันบูด และพยายามบดบ่อย ๆ เพื่อความสดใหม่ 3.การใช้ปุ๋ยหมัก หากเป็นการปลูกผักอายุสั้น เช่น ผักบุ้ง ผักกาด ใช้ปุ๋ยคลุกเคล้ากับดินได้เลย หากเป็นการปลูกพืชที่มีอายุมากกว่าก็ใช้รองก้นหลุมตอนปลูก เช่น มะเขือ พริกขี้หนูสวน ตะไคร้ ขมิ้น ฯลฯ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 41 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ และสมาชิกกลุ่มทำปุ๋ยหมัก จำนวน 41 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

นัดสมาชิกกลับหรือพริกกองปุ๋ยหมัก26 กุมภาพันธ์ 2557
26
กุมภาพันธ์ 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.สังเกตุการเปลี่ยนแปลง ยังมีน้ำไหลออกมาจากกองปุ๋ย กลิ่นไม่ค่อยเหม็น อุณภูมิต่ำลงมาก ไม่ต้องใช้พัดลมช่วยเป่า เมื่อกลับกองปุ๋ยง่ายขึ้นมาก วิทยากรบอกว่าหากไม่คลุมไว้ปล่อยให้เย็นตัวลงก็สามารถนำไปใช้ในการปลูกผักได้แล้ว

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ปุ๋ยร่วนซุยดีมาก ขุยมะพร้วเริ่มเปื่อย เนื้อปุ๋ยไม่เป็นก้อนแล้ว กลับอีกครั้งก็ใช้ได้แล้ว

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกลุ่มทำปุ๋ยหมัก ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. เยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

นัดสมาชิกกลับหรือพริกกองปุ๋ยหมัก20 กุมภาพันธ์ 2557
20
กุมภาพันธ์ 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. สังเกตุการเปลี่ยนแปลง น้ำไหลออกมาเยอะ สมาชิกตัวได้ประมาณ 2 ลิตร กลิ่นฉุนลดลง อุณภูมิลดลง กลับหรือพริกกองปุ๋ยง่ายขึ้น ปุ๋ยร่วนซุย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สมาชิกที่นำน้ำที่ไหลออกจากกองปุ๋ยเมื่อมากลับกองปุ๋ยครั้งที่ 2 ไปรดต้นผักหวาน มาเล่าสู่กันฟังว่าผักใบเขียวขึ้น แตกยอดโต อ้วน ยอดก็กลอบขึ้น แสดงว่าเหมาะจะใช้รดพืชผักได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. วิทยากรชุมชน สมาชิกกลุ่มทำปุ๋ยหมัก จำนวน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สร้างโรงเพาะชำกล้าไม้19 กุมภาพันธ์ 2557
19
กุมภาพันธ์ 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพือใช้เป็นที่สาธิตการเพาะกล้าไม้ การชำกิ่งไม้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.มีการประชุมให้ความรู้ทางวิชาการถึงข้อดี  ความสำคัญของโรงเพาะ เช่น เป็นการจำกัดบริเวณของพืชง่ายต่อการดูแลต้นอ่อนของพืช ดูแลเรื่องวัชพืช การให้น้ำ การให้ปุ๋ย 2.การสร้างโรงเพาะชำแบบชั่วคราว และแบบถาวร เช่นแบบชั่วคราวก็ใช้วัสดุทั่วไปที่มีในชุมชน เช่น ไม้ไผ่ ต้นหมาก ต้นมะพร้าว กิ่งไม้ มาทำเป็นเสา มุงด้วยใบมะพร้าว ใบสาคู ใบทัง ก็ได้ กั้นด้วยผาที่ทำจากไม้ไผ่ เป้นต้น แต่ถ้าแบบถาวรก็ใช้เสาปูนซิเมนต์ มุงด้วยแสลม กั้นด้วยอิฐบล๊อก ก็ได้
3.การให้น้ำ จะใช้แบบรดด้วยบัวรดน้ำหรือทำเป็นสปริงเกอร์ ก็ได้ 4.เมื่อถึงเวลาก็ไปตัดไม้ไผ่มาทำเป็นเสา มุงด้วยแสลม ติดตั้งปริงเกอร์รดน้ำ 5.มีการสาธิตการชำกิ่งชะอม  กิ่งส้มป่อย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.วิทยากรชุมชนสาธิตการทำเสาจากไม้ไผ่ การมัดแป รอด กับเสาไม้ได้แข็งแรง กลุ่มผู้ชายช่วยกันทำ สามารถนำความรู้ไปใช้กับกิจกรรมของครอบครัวต่อไปได้ 2.การมุงด้วยแสลมวิทยากรบอกว่าปลอดภัยจากเชื้อรา หากมุงด้วยทางมะพร้าวพอเปียกน้ำจะเกิดเชื้อรา ติดพืชในโรงเพาะชำได้ 3.การชำกิ่งชะอม กิ่งส้มป่อย เลือกกิ่งที่ได้ขนาด 5-10 ซม. กิ่งขึ้นสีน้ำตาล รากจะงอกได้เร็วกว่า ประมาณ 20-25 วัน ก็ลงแปลงได้ ตอนนี้มีชะอมแบบพันธ์ไร้หนามด้วย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 82 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

คณะผู้ดำเนินโครงการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. วิทยากรชุมชน สมาชิกสภาเกษตร ปราชญ์ชาวบ้าน เยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

นัดสมาชิกกลับหรือพริกกองปุ๋ยหมัก12 กุมภาพันธ์ 2557
12
กุมภาพันธ์ 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

นัดสมาชิกกลุ่มทำปุ๋ยมาพร้อมกันที่กองปุ๋ยในโรงเรียนร้าง สภาพทั่วไปใกล้ ๆ กองปุ๋ยเริ่มมีมดตัวเล็กมาอยู่ใกล้ ๆ กองปุ๋ย เอามือเตะผ้าคลุมกองปุ๋ยยังอุณหภูมิยังสูง ร้อนจัด เมื่อเปิดผ้าคลุมมีกลิ่นเหม็นแรงต้องใช้พัดลมขนาดใหญ่เป่าไล่กลิ่นและอุณภูมิ เมื่อเริ่มกลับกองปุ๋ย กองปุ๋ยยุบตัวลงเล็กน้อย เนื่อปุ๋ยเริ่มมีความละเอียดมากขึ้น เริ่มร่วนซุย กลับหรือพริกง่ายขึ้น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เริ่มมีมดตัวเล็ก ๆ เข้าใกล้กองปุ๋ยแสดงให้เห็นว่ากองปุ๋ยไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต 2.น้ำที่ไหลออกจากกองปุ๋ยสามารถนำไปใช้รดต้นไม้หรือพืชผักได้ ในอัตราประมาณ 2 ช้อนโต๊ยต่อน้ำ 20-25 ลิตร 3.ปุ๋ยกำลังจะถึงกำหนดการใช้งานได้ ดังนั้นจึงวางแผนที่จะเตรียมดินในบริเวณโรงเรียน เพือใช้ในการปลูกผัก พืชผักสวนครัว ต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 24 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. วิทยากรชุมชน คณะผู้จัดทำโครงการ ชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมสมาชิกโครงการการทำแปลงปลูกผัก คัดเลือกพันธ์ผัก/ไม้10 กุมภาพันธ์ 2557
10
กุมภาพันธ์ 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. เรียนรู้ 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.1 โรงเพาะชำ/การชำกล้าไม้ 1.2 แปลงปลูกผักสวนครัว 1.3 แปลงปลูกผัก เช่นผักบุ้ง ผักเขลียง
  2. เรียนรู้การนำปุ๋ยหมักและน้ำหมักชีวภาพมาใ่ช้อย่างถูกวิธี ตามอัตราส่วนที่เหมาะสม อายุของพืช ชนิดของพืช
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ความรู้เรื่องการใช้ปุ๋ยหมัก เมื่อปลูกผักนำปุ๋ยหมักมารองก้นหลุมก่อน
2.ความรู้เรื่องการใช้น้ำหมัก เมื่อปลูกผักสามารถนำน้ำหมักมาผสมน้ำตามอัตราส่วน 2 ช้อนต่อน้ำ 20 ลิตร หรือตามความเหมาะสมของชนิดพืชผัก มาฉีดพ่นได้ทุกวัน ไม่เหมือนปุ๋ยเคมีที่ไม่สามารถใส่ได้ทุกวัน ที่ทำให้ดินเสื่อมคุณภาพและใส่ปริมาณมากเป็นอันตรายต่อพืช 3.เรียนรู้การทำโรงเรือน แบบภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยการใช้วัสดุในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ป่า(ไผ่ผาก ไผ่ตากวาง ไผ่เกียบ) ไผ่บ้าน (ไผ่ตง ไผ่สีสุก) นำมาทำเป็นเสา ทำรอด ทำแป เรียนรู้การผูกเชือกที่ทำให้โครงสร้างแข็งแรง การมุงหลังคาใช้ใบมะพร้าว ทางสาคูได้ แต่มีผลกระทบเนื่องจากเมื่อโดนน้ำจะเกิดมีเชื่อรา และเชื้อราจะติดกับพืชในโรงเรือนได้  วิทยากรบอกให้ใช้แสลมเป็นการป้องกันเชื้อราได้
4.เรียนรู้เรื่องผักสวนครัว เช่น ขมิ้นมีหลายชนิด มีขมิ้นทอง(กลิ่นฉุน สีแดงจัด) ขมิ้นพันธ์แพ (กลิ่นหอมจืด ๆ ) ขมิ้นด้วง (ขมิ้นแบบพื้นบ้าน) เป็นขมิ้นที่เหมาะจะทำเครื่องแกง มีราคาสูง เป็นที่ต้องการของท้องตลาด เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศบ้านเรา 5.เรียนรู้การใช้ตะไคร้หอมปลูกรอบ ๆ แปลงผัก เพื่อเป็นการไล่แมลงเนื่องจากกลิ่นตะไคร้มีกลิ่นฉุนแรง หรือนำไปเผาไล่ยุงได้ด้วย 6.เรียนรู้การปลูกผัก ที่ประชุมคัดเลือกผักพื้นบ้านมาปลูก เช่น ชะอม ผักเขลียง ผักหวาน ส้มป่อย มะขามกินยอด เพราะเป็นพืชอายุยืน มีกลิ่นแรงแมลงไม่รบกวน เป้นที่ต้่องการของตลาด ฯลฯ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 83 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำกลุ่มองค์กรต่าง ๆ สมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ปราชญ์ชาวบ้าน สมาชิก อบต. เด็กและเยาวชน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เบิกจ่ายคืนค่ากิจกรรมวันที่ 27 ม.ค. 2557 พบพี่เลี้ยงปิดงวด 19 กุมภาพันธ์ 2557
9
กุมภาพันธ์ 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อรวบรวมเอกสารสำหรับการปิดงวด 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

พบพี่เลี้ยง ดูเอกสารการทำกิจกรรม ดูการรายงานหน้าเวบ ปิดงวด 1

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ปิดงวด 1 โครงการโรงเรียนร้างสร้างชีวิต

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 4 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่

เบิกจ่ายคืนค่าจัดกิจกรรมในวันที่ 5 ธันวาคม 25578 กุมภาพันธ์ 2557
8
กุมภาพันธ์ 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประชุมคณะกรรมการโครงการ
2.ติดตามการดำเนินงานและความก้าวหน้าโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.การปลูกพืชผักในช่วงฤดูแล้ง หากน้ำมีไม่พอใช้ก็ควรชะลอการปลูกเอาไว้ก่อน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ คณะกรรมการโครงการ  จำนวน 23 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

นัดสมาชิกกลับหรือพริกกองปุ๋ยหมัก6 กุมภาพันธ์ 2557
6
กุมภาพันธ์ 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1 มีการพูดคุยทบทวนถึงครั้งที่ผ่านมาว่าเนื้อปุ๋ยมีลักษณะแตกต่างไปจากเดิม กองปุ๋ยซุดตัวลง มีน้ำไหลออกมาเป็นสีน้ำตาลคร่ำ  มีความร้อนสังเกตุจากมีกลุ่มควันบาง ๆ ลอยเหนือกองปุ๋ย มีกลิ่นฉุนคล้ายแก๊สอ่อน ๆ เกิดจากการหมักหมมของซากหรือมูลสัตว์ เมื่อรอจนกลิ่นและความร้อนเจือจางจากการใช้พัดลมช่วยเป่าแล้ว สมาชิกก็ช่วยกันใช้จอบพรั้วกลับพริกกองปุ๋ย สังเกตุว่าสมาชิกหลายคนบ่นว่าหายใจไม่ค่อ่ยออก ร้อน เหงื่อไหลโชคเร็วกว่าปกติ เนื่องจากสภาพห้องที่ปิดกั้นและอยู่ในช่วงฤดูแล้วผสมกับความร้อนที่เกิดจากกองปุ๋ย วิทยากรชุมชนอธิบายว่า ตอนเรายังไม่สามารถนำปุ๋ยไปใช้ปลูกต้นไม้ได้ เนื่องจากตอนนี้ยังเป็นช่วงของการขยายเชื้อของจุลินทรีย์หรือเรียกว่าปุ๋ยยังไม่สุก แต่สามารถนำน้ำที่ไหลออกมาจากกองปุ๋ยไปใ่ช้ฉีดหรือพ่นผัก ต้นไม้ได้ แต่ต้องผสมน้ำอัตรา 2 ช้อนโต๋ะต่อน้ำ 20 ลิดร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ความรู้จากการหมักหมมของกองปุ๋ย ถ้าเรานำกองปุ๋ยไปหมักในถังมิดชิดคล้าย ๆ กับการทำก๊าซชีวภาพ ที่สามารถหุงต้มได้ 2.ความรู้ที่ได้รับจากที่เคยใช้มูลสัตว์อย่างเดียวใส่ต้นไม้โดยไม่ผ่านการหมัก ได้รับประโยชน์น้อยกว่า แถมเมล็ดพืชที่สัตว์กินแล้วถ่ายกลายเป็นวัชพืชได้ด้วย มูลสัตว์ที่ผ่านการหมักแล้วเม็ดวัชพืชจะถูกย่อยสลายด้วยความร้อน เมื่อนำไปใช้จึงไม่มีวัชพืช

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกกลุ่มทำปุ๋ยหมักประกอบด้วย สมาชิกสภาเกษตร สารวัตรกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำกลุ่มบ้าน จำนวน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงาน5 กุมภาพันธ์ 2557
5
กุมภาพันธ์ 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาพื้นที่ว่างเปล่าของโรงเรียนร้างให้เป็นพื้นที่ใช้ประโยชน์ต่อชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เป็นการประชุม พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันถึงกิจกรรมที่ทำตามตารางกิจกรรมโครงการ มีการวางแผนการทำงานให้สอดคล้องกับสภาพดินฟ้าอากาศ โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ได้จากการสังเกตุ เช่นเหมือนช่วงนี้เป็นต้นเดือนกุมภาพันธ์กำลังเข้าสู่หน้าแล้ง ซึ่งปีนี้แล้งจัด น้ำไม่พอกับการทำเกษตรเหมือนของโครงการต้องรอให้สู่หน้าฝนก่อน แต่เราสามารถเตรียมการอย่างไว้ล่วงหน้าได้ เช่น ไถพรวนปรับสภาพดิน ตากหน้าดินไว้ แผ้วถาง สร้างโรงเพาะชำกล้าไม้ไว้ได้ เนื่องจากช่วงนี้ก็ใกล้ที่ชาวบ้านบ้านเราซึ่งมีอาชีพหลักคือกรีดยางพารา จะหยุดกรีดหรือปิดกรีดกันแล้ว อาศัยช่วงว่าง ๆ นี้มาทำกิจกรรมร่วมกันในโครงการฯ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เตรียมการประชุมใหญ่เชิงปฏิบัติการ เพื่อเรียนรู้การเพาะชำกล้าไม้ การสร้างโรงเพาะชำ การเตรียมดินสำหรับการปลูกพืชผักที่จัดเตรียมหามาจากชุมชม เช่นผักเขลียง ชะอม ผักหวาน ขมิ้น ตะไคร้ ข่า ฯลฯ 2.ดูความก้าวหน้าโครงการ ดูปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ คุณภาพดีเป็นไปตามที่โครงการกำหนด 3.สมาชิกกลุ่มต่าง ๆ ให้ความสนใจร่วมกิจกรรมของโครงการ เนื่องจากมีความรู้ติดตัว สามารถนำกลับไปปฏิบัติได้จริงกับครอบครัวและอาชีพของตัวเอง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิก อบต. ผู้นำชุมชน คณะกรรมการหมู่บ้าน วิทยากรชุมชน ผู้สนใจโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

นัดสมาชิกกลับกองปุ๋ย ทุก ๆ 7 วัน1 กุมภาพันธ์ 2557
1
กุมภาพันธ์ 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อจัดศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่โรงเรียนร้าง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1 สมาชิกกลุ่มปุ๋ยมาพร้อมกัน 2.วิทยากรชุมชนอธิบายการเปลี่ยนแปลง โดยให้สมาชิกและผู้สนใจมายืนล้อมกองปุ๋ยหมัก ซักถามให้สมาชิกตอบ เช่น อุณภูมิจากวันก่อนที่เราเริ่มกองปุ๋ย สมาชิกตอบอุณภูมิสูงขึ้น มีกลิ่นแรง ยังมีฝุ่น เริ่มมีน้ำสีดำขุ่น ๆ ไหลออกมา วิทยากรบอกว่าเป็นน้น้ำบวกกากน้ำตาลและขี้เค็กปาล์ม และให้ตักน้ำนั้นกลับมาใส่กองปุ๋ยและคลุกเคล้าพร้อมกลับกองปุ๋ย เมื่อเสร็จก็คลุมไว้ตามเดิม
3.วิทยากรเรียกมาดูถังน้ำหมักที่สมาชิกได้มากวนทุกวัน สาเหตุที่ต้องกวนทุกวันเพราะจะได้กลับเนื้อส่วนผสมให้เข้ากับกากน้ำตาลและส่วนผสมอื่น มาดูปรากฏว่าเริ่มมีกลิ่นของกากน้ำตาล สมาชิกบอกว่ามันไม่มีกลิ่นเหม็นเหมือนของหมักอื่นที่ทิ้งไว้เฉย ๆ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ความรู้และประสบการณ์ทีได้รับจากการทำปุ๋ยหมัก สมาชิกเริ่มสังเกตุเห็นความเปลี่ยนแปลง รู้จักว่าปุ๋ยหมักเวลาที่เหมาะสมคือ เดือนครึ่ง-สองเดือน ที่ผ่านการหมักแล้วดีกว่ามูลสัตว์ดิบไปใช้เลย เพราะสารเร่ง พด 1 ที่ใส่เป็นสารเร่งธาตุอาหารจำเป็นต่อพืช 2.กลุ่มแกนนำต่าง ๆ ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้นและมีการนำไปบอกต่อกับหน่วยงานอื่นที่เกียวข้องในชุมชนได้ทราบกัน เช่น อบต. ผู้นำ อบต.บอกว่าเป็นสิ่งที่ดีที่มีหน่วยงาน สสส.ให้โอกาสและสนับสนุนชุมชน และอบต.เองสนับสนุนด้วย 3.แผนงาน นัดครั้งต่อไปคือ กลับพริกกองปุ๋ยในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 27 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ผู้เข้าร่วมจำนวน 27 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทำปุ๋ยหมัก22 มกราคม 2557
22
มกราคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ความรู้ ปฏิบัติจริงเกี่ยวกับการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. มีผู้เข้าร่วมจำนวน 82 คน มีภาคีร่วมจาก กศน.ด้วย
  2. วิทยาการชุมชนให้ความรู้ในขั้นตอนการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพ  มีการนำวัตถุที่รวบรวมเอาไว้มาทำปู๋ยหมัก โดยเริ่มจากการเรียงขั้นของวัตถุดิบ  จนหมดวัตถุดิบที่เตรียมไว้ รดน้ำจนชุ่มกำเป็นก้อนไม่ร่อน คลุมด้วยผ้ายาง รอ 7 วันมากลับกองปุ๋ยกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เมื่อวิทยากรบรรยายหลายคนยอมรับยังไม่ค่อยเข้าใจ แต่พอลงมือปฏิบัติจริง ร้อง อ่อ กันเลย ทำไมมันง่ายอย่างนี้ (แต่ที่เหนื่อยไม่เกี่ยวกันนะหมายถึงขั้นตอนที่ง่าย)
  2. มีการคิดต้นทุนให้ฟังว่า ปุ๋ยชีวภาพตามท้องตลาดราคากิโลกรัมละ 10 บาท แต่ของเราที่ทำ ตกกิโลกรัมละ 4 บาท ครึ่งราคาเลยนะแถมอันนี้ที่ทำคุณภาพ 100 เปอร์เซนต์
  3. คุณภาพของดิน หมายถึง การเปรียบเทียบการใช้ปุ๋ยกับการไม่ใช้ปุ๋ย (ถ้าไม่ใช้เลยธาตุอาหารในดินก็มีน้อยลง) การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างเดียวดินเสื่อมคุณภาพเร็ว การใช้ปู๋ยหมักชีวภาพมีความเหมาะสมกับการปรับสภาพดิน เพราะใส้เดือนจะเกิดขึ้นมากทำให้ดินร่อนซุย ธาตุอาหารที่จำเป็นก็ได้รับ ใส่ได้ตลอดไม่ทำให้ดินเสียเหมาะกับการปลูกพืชแถมปลอดภัยอีกด้วย
  4. ในหมู่บ้านมีกลุ่มเลี้ยงวัวอยู่แล้ว สามารถรับซื้อมาทำปุ๋ยเป็นการสร้างรายได้ให้กับสมาชิกกลุ่มเลี้ยงวัวอีกทางหนึ่ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 82 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไมีมี

ประชุมคณะทำงาน9 มกราคม 2557
9
มกราคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมคณะทำงาน เตรียมงาน และมอบหมายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

มีคณะทำงานเข้าร่วมจำนวน 22 คน มอบหมายให้แต่ละคนจัดหาวัตถุดิบในชุมชนหรือใกล้เคียง มอบหมายการทำงานในวันทำปุ๋ยหมัก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการวางแผนการจัดหาวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก ในวันที่ 22 มกราคม 2557 ให้นำวัสดุในชุมชนมาร่วมทำเพิ่มเติม เชิญวิทยากรมาสอน เชิญ กศน. นักเรียนจาก กศน. ประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านมาร่วม และเรียนรู้การทำงานในโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พบพี่เลี้ยง ติดตามโครงการ21 ธันวาคม 2556
21
ธันวาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำกิจกรรมการติดตามโครงการครั้งที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. พบพี่เลี้ยง สจรส.มอ. เรียนรู้การรายงานผลผ่านหน้า Web ส.1
  2. พบพี่เลี้ยงดูแลโครงการฯ ตรวจดูเอกสาร การทำกิจกรรมโครงการฯของงวดที่ 1 สังเคราะห์ความรู้กัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีความเข้าใจการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการฯผ่านหน้า web และสามารถปฏิบัติการบันทึกรายงานผลได้
  2. เข้าใจการบันทึกข้อมูลบนเอกสาร หลักฐาน ประกอบการทำกิจกรรมโครงการฯ เช่น ใบสำคัญรับเงิน ตารางเซนต์ชือลงทะเบียนผู้เข้าประชุม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานในโครงการ10 ธันวาคม 2556
10
ธันวาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำร่างสัญญประชาคม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

มีผู้เข้าร่วมประชุม 60 คน มีผู้สนใจจากพื้นที่ใกล้เคียงมาร่วมรับฟังด้วยเพื่อต้องการเข้าร่วมกิจกรรมกับ สสส. ในโครงการเปิดรับใหม่ พี่เลี้ยงได้พบปะเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ สร้างความมั่นใจให้กับสมาชิกในชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการกำหนดกติการ่วมกัน
  2. มีภาคีเครือข่ายจากหมู่บ้านใกล้เคียงมาร่วมเรียนรู้ วิทยากรในหมู่บ้าน ปราชญ์ชุมชน
  3. เห็นความสำคัญและเข้าใจภาระกิจ ขอบคุณหน่วยงาน สสส. มากขึ้น
  4. มีแผนงานและมอบหมายการจัดหาวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมักชีวภาพในเดือนมกราคม ปี 2557
  5. เมื่อพบกับพี่โครงการสมาชิกมั่นใจ มีขวัญกำลังใจในการทำกิจกรรมร่วมกับแกนนำชุมชนมากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมคณะทำงานในโครงการ10 ธันวาคม 2556
10
ธันวาคม 2556รายงานจากพี่เลี้ยง โดย กำไล
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามสนับสนุนการดำเนินงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คณะทำงานในโครงการ หัวหน้ากลุ่มและสมาชิกกลุ่ม จำนวน ๔ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผัก กลุ่มปุ๋ย กลุ่มเพาะพันธุ์ไม้ กลุ่มเครื่องแกง มีสมาชิกกลุ่มละ15 - 20 คน รวม 60 คน มีพี่เลี้ยงโครงการเสนอข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ติดตามลงพื้นที่ในหมู่บ้านเพื่อค้นหาต้นทุนของหมู่บ้านมาช่วยสนับสนุนเพิ่มเติม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการและคระกรรมการได้จัดกิจกรรมตามสัญญาโครงการ จากการลงพื้นที่ในหมู่บ้านและสัมภาษณ์กลุ่มแกนนำ ให้กลุ่มแกนนำเล่าเรื่องในเวทีประชุม พบว่า 1. ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้ใหญ่บ้าน มีความเข้าใจกิจกรรมการดำเนินงาน มีความสามารถในการนำกลุ่มทำกิจกรรมได้ตามแผนงาน
2. มีผลงานตามแผน ได้แก่ พัฒนาคน โดยพัฒนากลุ่มแกนนำ มีผู้นำกลุ่มเพื่อร่วมกันพัฒนาโรงเรียนร้าง ให้เป็นศูนย์เรียนรู้สร้างชีวิตของคนในหมู่บ้าน (ช่วยกันปรับปรุงสิ่งแวดล้อม จากเดิมเป็นโรงเรียนร้าง มาเป็นโรงเรียนสร้างชีวิต ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้กลุ่มแกนนำ 4 กลุ่ม ร่วมมือกันดำเนินงาน)
3. วันนี้ชาวบ้านเกิดความภูมิใจได้มาโรงเรียนครั้งแรกในรอบหลายปี ทุกคนที่เข้ามาประชุมวันนี้ มีสีหน้าดีใจ และบอกว่า ดีใจที่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมในโรงเรียนอีก หลังจากร้างไปนาน 4. ตัวแทนกลุ่มได้เล่าเรื่องการดำเนินงานให้ชาวบ้านฟัง นายเกษม นามะหึง เล่าเรื่องปลูกผักและเพาะชำไม้ เป็นปราชญ์เรื่องนี้ และจะช่วยทำทุกเรื่อง นายสิทธิโชค เล่าเรื่องกลุ่มทำเครื่องแกง ต้องการวัตถุดิบจากหมู่บ้าน ต้องการให้ชาวบ้านร่วมปลูกพืชในศูนย์เรียนรู้แล้วส่งให้กลุ่มเครื่องแกง อยากให้ชาวบ้านมาสมัครกลุ่มเพิ่ม เพื่อให้ได้เรียนรู้กันอย่างต่อเนื่อง นายประเวศ หอมแก้ว ทำผสมผสานการปลูกผัก ชักชวนชาวบ้านมาร่วมกันปรับปรุงโรงเรียนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้าน 5. มีการพัฒนาต่อเนื่องจากหน่วยงาน ธกส.ถ้ำพรรณรา มาหนุนเสริมให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบด้านเศรษฐกิจพอเพียง สนับสนุนโครงการให้สำเร็จอีกหน่วยงานหนึ่ง
6. เห็นโอกาสพัฒนาเรื่องกลไก และกติกาชุมชน เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน โดยให้ทุกคนได้เข้ามารับผิดชอบพัฒนาแหล่งเรียนรู้ และทำเรื่องสวัสดิการ วิสาหกิจชุมชน ทำเพื่อให้มีการพัฒนาทั้งสามส่วน ได้แก่ ด้าน คน สิ่งแวดล้อม และกลไก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้พัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชนโดยสร้างกลไกและกติกาเพื่อให้เกิดแหล่งเรียนรู้ได้อย่างยั่งยืน

ปรับพื้นที่โรงเรียน(นัดแผ้วถาง)7 ธันวาคม 2556
7
ธันวาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับปรุงพื้นที่โรงเรียนที่รกร้างให้เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

มีผู้เข้าร่วม 2 วัน จำนวน 80 กว่าคน 1. มีการนำเครื่องถางป่า พร้า จอบ ขวาน ไม้กวาด ติดไม้ติดมือกันมา 2. แผ้วถางตั้งแต่รั้วหน้าโรงเรียน บริเวณสนามหญ้า บริเวณอาคาร 3. มีการเก็บกวาดในห้องภายในอาคารเพื่อเตรียมไว้สำหรับกิจกรรมปู่๋ยหมัก น้ำหมัก ต่อไป 4. มีการพูดคุยแนวทางการจัดหาวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก หาในชุมชนก่อนแล้วจึงไปบริเวณใกล้เคียง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วม 2 วัน จำนวน 80 กว่าคน 1. มีการนำเครื่องถางป่า พร้า จอบ ขวาน ไม้กวาด ติดไม้ติดมือกันมา 2. แผ้วถางตั้งแต่รั้วหน้าโรงเรียน บริเวณสนามหญ้า บริเวณอาคาร 3. มีการเก็บกวาดในห้องภายในอาคารเพื่อเตรียมไว้สำหรับกิจกรรมปู่๋ยหมัก น้ำหมัก ต่อไป 4. มีการพูดคุยแนวทางการจัดหาวัตถุดิบในการทำปุ๋ยหมัก หาในชุมชนก่อนแล้วจึงไปบริเวณใกล้เคียง 5. คนที่มาทำกิจกรรมต่างดีอกดีใจที่ภาพในอดีตเคยเห็นโรงเรียนมีชีวิตชีวา มีการเคลื่อนไหวของการทำกิจกรรมของครูและนักเรียน ผู้ปกครองร่วมกัน มาวันนี้เขาบอกว่าโรงเรียนที่เคยให้ความรู้ยังไงก็เป็นโรงเรียนคือต้องให้ความรู้ต่อไป เราต้องทำให้สถานที่แห่งนี้เป็นศูนย์การเรียนรู้ต่อไปให้ได้ ทุกคนตั้งมั่น
6. มีการวางแผนจัดหาวัตถุดิบในการมาทำปุ๋ยหมัก และน้ำหมักชีวภาพ โดยมีวิทยากรชุมชนคือนายประพิชญ์  กรดมาก เป็นผู้ให้ความรู้และแนะนำการหาวัตถุดิบที่มีในชุมชนและต่างชุมชน ให้กับผู้ทำกิจกรรม มีการบอกสูตรในการจัดหาวัตถุดิบดังนี้ การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ     -  มูลสัตว์ (ขี้ไก่  500 กก. ขี้วัว 1,000 กก.)  จำนวน 1,500 กก.   -  ขุยมะพร้าว จำนวน 150 กก.   -  ขี้เคก (ได้จากการนำปาล์มไปผ่านกระบวนการบีบน้ำมันในโรงงานแล้วเป็นกาก) จำนวน  2,000 กก.
  -  กากน้ำตาล จำนวน 20 ลิตร       -  ปู๋ยไนโตรเจน จำนวน 6 กก.   -  พด1 จำนวน 10 ซอง       -  รำละเอียด 300 กก. การทำน้ำหมักชีวภาพ       - ผักหรือผลไม้  จำนวน 40 กก.     - กากน้ำตาล จำนวน 10 กก.     - น้ำ จำนวน 10 ลิตร         - สารเร่ง พด.2 จำนวน 1 ซอง(25 กรัม)     - กวนทุกวัน หมักไว้ 7 วันนำไปใช้รดกองปุ๋ยหมัก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ. กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมใหญ่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 80 คน2 ธันวาคม 2556
2
ธันวาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อชี้แจงโครงการให้กับชุมชนและแบ่งกลุ่มย่อย เป็น4กลุ่ม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดการประชุมเพื่อชี้แจงโครงการ แนะนำคณะกรรมการโครงการ แบ่งกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มทำปุ๋ยหมัก-น้ำหมักชีวภาพ , กลุ่มปลูกผัก-พืชสวนครัว , กลุ่มทำเครื่องแกง และกลุ่มเพาะชำกล้าไม้ และมีระเบียบกติกาของแต่ละกลุ่มย่อย นัดแนะสมาชิกไปพัฒนาโรงเรียนโดยให้เตรียมอุปกรณ์ตามความถนัด เช่น พร้า เครื่องตัดหญ้า จอบ ไม้กวาด ไม้คราด ฯลฯ และจัดตั้งทีมดูแลรับผิดชอบด้าน อาหารและเครื่องดื่ม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) จัดการประชุมเพื่อชี้แจงโครงการให้คนในชุมชนได้ทราบ 2)  แนะนำคณะกรรมการโครงการ 3) แบ่งกลุ่มย่อย 4 กลุ่ม ตามความถนัดและสมัครใจ มีการคัดเลื่อกประธานและเลขาฯของแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจนและมีระเบียบกติกาของแต่ละกลุ่มย่อย
4)นัดแนะสมาชิกไปพัฒนาโรงเรียนในวันที่ 7-8 โดยให้เตรียมอุปกรณ์ตามความถนัด เช่น พร้า เครื่องตัดหญ้า จอบ ไม้กวาด ไม้คราด ฯลฯ และจัดตั้งทีมดูแลรับผิดชอบด้าน อาหารและเครื่องดื่ม

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 84 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อาจารย์กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมผู้นำแกนนำ5 พฤศจิกายน 2556
5
พฤศจิกายน 2556รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมคณะทำงาน เตรียมงาน และมอบหมายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 23 คน เพื่อทบทวนแผนการทำงานของเดือนตุลาคม ที่ได้มอบหมายให้ตัวแทนกลุ่มต่างๆ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1)กลุ่มทำปุ๋ยหมัก- น้ำหมักชีวภาพ 2)กลุ่มปลูกผัก-พืชสวนครัว 3)กลุ่มทำเครื่องแกง และ 4)กลุ่มเพาะชำกล้าไม้ ซึ่งแต่ละกลุ่มได้ชี้แจงความคืบหน้าการทำงานต่อที่ประชุม และมีการเตรียมแผนการดำเนินกิจกรรมของเดือนธันวาคม ซึ่งประกอบด้วย วันที่ 5 ประชุมทบทวนแกนนำ วันที่ 7-8 นัดปรับพื้นที่โรงเรียน(แผ้ว ถาง เก็บกวาด ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน) วันที่ 10 ประชุมชี้แจงโครงการ วันที่ 21-22 ติดตามโครงการครั้งที่ 1

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ทบทวนแผนการทำงานของเดือนตุลาคม 2) ชี้แจงความคืบหน้าการทำงานต่อที่ประชุม และมีการเตรียมแผนการดำเนินกิจกรรมของเดือนธันวาคม ซึ่งประกอบด้วย วันที่ 5 ประชุมทบทวนแกนนำ วันที่ 7-8 นัดปรับพื้นที่โรงเรียน(แผ้ว ถาง เก็บกวาด ทำความสะอาดบริเวณโรงเรียน) วันที่ 10 ประชุมชี้แจงโครงการ วันที่ 21-22 ติดตามโครงการครั้งที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 23 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อาจารย์กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมผู้นำแกนนำ5 ตุลาคม 2556
5
ตุลาคม 2556รายงานจากพื้นที่ โดย santi
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมคณะทำงาน เตรียมงาน และมอบหมายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

มีผู้เข้าประชุมจำนวน 25 คน มีการชี้แจงโครงการว่าด้วยเรื่อง งบประมาณ แผนการดำเนินงานโครงการและแผนการประชุมของแต่ละเดือน ซึ่งให้ตัวแทนแต่ละคนเป็นผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกันในเรื่องการเตรียมคน สถานที่บริเวณโรงเรียนให้อยู่ในความพร้อมสำหรับการดำเนินกิจกรรมโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1) ประชุมชี้แจงโครงการว่าด้วยเรื่อง งบประมาณ แผนการดำเนินงานโครงการและแผนการประชุมของแต่ละเดือน 2) ให้ตัวแทนแต่ละคนเป็นผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกันในเรื่องการเตรียมคน สถานที่บริเวณโรงเรียนให้อยู่ในความพร้อมสำหรับการดำเนินกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

 

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อาจารย์กำไล สมรักษ์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี