โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 2

ชื่อโครงการ โครงการตลาดอาหารปลอดภัยของชุมชน ม.13 บ้านนา ต.เกาะเต่า อ.ป่าพะยอม จ.พัทลุง

ชุมชน หมู่ที่ 13 ตำบลเกาะเต่า อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 57-01424 เลขที่ข้อตกลง 57-00-0952

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2558

รายงานงวดที่ : 2 จากเดือน พฤศจิกายน 2557 ถึงเดือน มิถุนายน 2558

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

วันที่ 25 ธันวาคม 2557 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ครัวเรือนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จำนวน 20 คือ

  1. นายจำเริญ แก้วหนู
  2. น.ส.กมล แก้วคง
  3. นายประจวบ ขาวโปง
  4. นายวิวัฒ คงขำ
  5. นายเรียงศักดิ์ รักคง ุ6. นายชาคริต ช่วยเนื่อง 7.นายคนอง บัวแก้ว 8.นายใจ หนูนวล 9.นางวรรณี เรืองเพชร 10.นายธนตรี เมืองราม 11.นายสุชาติ คงสุด 12.นายชาคริต จันทร์แก้ว 13.นางละออง สังข์แก้ว 14.นางอาภรณ์ ปานแก้ว 15.นางวันดี ชูปาน
  6. นางเกษร ทองคำ
  7. นายนิรัตน์ ช่วยราม
  8. นายจำรัส เขียวเยาว์ 19.นายกระจ่าง ปานแก้ว
  9. นายสมจิตร ศรีคงแก้ว กำหนดจัดกิจกรรมรณรงค์ตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน และพิธีมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบปรับพฤติกรรมการบริโภคในวันที่ 8 มกราคม 2558

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกันประชุม สรุปกิจกรรมประเมิน ครัวเรือนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค จำนวน 20 คน
จากนั้นร่วมวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมรณรงค์ตลาดอาหารปลอดภัยชุมชน รวมทั้งพิธีมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบปรับพฤติกรรมการบริโภค

  • photo

 

15 14

2. กิจกรรมรณรงค์ตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนและพิธีมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบ

วันที่ 8 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างพื้นที่กลางให้ชุมชนได้นำผลผลิตจากแปลงผักรวมของชุมชนมาจำหน่ายและเพิ่มช่องทางในการได้รับการบริโภคอาหารปลอดภัยให้กับคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การกิจกรรมตลาดนัดอาหารปลอดดภัย เป็นการปรับสภาพแวดล้อมในชุมชนให้มีพื้นที่ที่เอื้อให้คนในชุมชนที่สนใจจะปรับพฤติกรรมการบริโภคมาเป็นการบริโภคอาหารที่ปลอดสารพิษ ได้มีโอกาสเลือกซื้อสินค้าต่าง ๆได้ง่ายและสะดวกขึ้นอีกประการหนึ่งวคือครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการปลูกผักปลอดสารพิษในพื้นที่สาธารณะของชุมชนก็ได้มีโอกาสนำผลผลิตมาจำหน่ายให้กับคนในชุมชนในราคาถูกเพราะไม่ต้องจ่ายค่าขนส่งไปขายในตลาดในเมืองผลการจัดตลาดมีร้านค้ามาร่วมจำหน่ายอาหารปลอดภัยจำนวน 18 ร้านค้า

ในส่วนของการรณงค์แม้ว่าการเดินรณรงค์จะไม่ได้สร้างความรู้หรือความสนใจให้กับคนในหมู่บ้านมากนักแต่ก็เป็นการสร้างกระแสให้คนออกมาดูกิจกรรมที่ตลาดนัดอาหารปลอดภัย และได้ชมมโนราห์ที่แสดงโดยสอดแทรกความรู้เรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัยทำให้คนที่มาร่วมกิจกรรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริโภคอาหารปลอดภัยมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

จัดกิจกรรมรณรงค์ตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนและพิธีมอบรางวัลครัวเรือนต้นแบบปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคในครัวเรือน

กิจกรรมที่ทำจริง

ช่วงเช้าจัดกิจกรรมเดินรณงค์เพื่อประชาสัมพันธ์การเปิดตลาดนัดอาหารปลอดภัย และรณงค์ให้เห็นถึงโทษภัยที่เกิดจากการบริโภคที่ไม่ถูก ช่วงสายพิธีเปิดตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชนบ้านนา พิธีมอบรางวัลแก่ครัวเรือนต้นแบบที่ปลูกผักและปรับพฤติกรรมการบริโภคปลอดภัย การแสดงศิลปะพื้นบ้านมโนราห์เพื่อรณงค์การบริโภคปลอดภัย กิจกรรรมเลือกซื้อและแลกเปลี่ยนสินค้าของคนในชุมชน

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

165 192

3. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

วันที่ 15 มกราคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำกับติดตามการดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานได้รับทราบผลการดำเนินงานในกิจกรรมที่ผ่านมาและได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงปัญหาอุปสรรค์ที่เกิดขึ้น  และได้ออกแบบวางแผนการดำเนินโครงการไว้ 2 ลักษณะคือหากได้รับการจัดสรรเงินงวดในเดือนกุมภาพันธ์ก็จะดำเนินโครงการตามแผนเดิม แต่หากยังไม่ได้รับจะปรับแผนไปจัดกิจกรรมในช่วงหลังจากได้รับงบประมาณ เพราะไม่มีแหล่งงบประมาณให้สำรองจ่ายแล้ว

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ผู้รับผิดชอบโครงการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมาคือกิจกรรมรณรงค์อาหารปลอดภัยและการมอบรางวัลให้กับครัวเรือต้นแบบให้ที่ประชุมทราบว่าสามารถดำเนินกิจกรรมได้ตามวัตถุประสงค์ มีผู้เข้าร่วมมากกว่าที่คาดไว้ และสื่อที่ให้ในการรณงค์ก็เป็นที่สนใจของชาวบ้าน  จากนั้นที่ประชุมได้หารือร่วมกันถึงการจัดกิจกรรมต่อไปตามแผนรวมถึงวางแผนสำรองหางบประมาณเงินงวดที่ 2 หากยังไม่ได้รับจาก สส จะมีแผนสำรองอย่างไร

 

15 14

4. ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวด

วันที่ 20 มีนาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

1.ประชุมสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะกรรมการโครงการร่วมกันตรวจเอกสารรายงานประจำงวด

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวด

กิจกรรมที่ทำจริง

ตรวจสอบเอกสารรายงานประจำงวด

 

15 8

5. .เวทีเรียนรู้การปรุงอาหารปลอดภัย ชีวิตยืนยาว

วันที่ 2 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ในการบริโภคอาหารปลอดภัยให้แก่ครัวเรือนต้นแบบ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกใช้วัตถุดิบในการประกอบอาหารที่ปลอดภัย  รู้โทษภัยของการใช้ภาชนะประกอบอาหารที่อาจมีสารเคมีปนเปือนหากใช้งานไม่ถูกต้อง  และได้มีโอกาสพัฒนาสูตรอาหารปลอดภัยที่ใช้วัตถุดิบที่หาได้จากในชุมชนบ้านนา  นอกจากนี้ยังได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกันทำงาน ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีขึ้นระหว่างประชาชนในพื้นที่ ซึ่งหากไม่มีกิจกรรมนี้ก็อาจไม่มีโอกาสได้ทำงานร่วมกัน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีเรียนรู้การปรุงอาหารปลอดภัย ชีวิตยืนยาว โดยให้ความรู้แก่ตัวแทนครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการในการปรุงและใช้วัตถุดิบเพื่อการปรุงอาหารที่ปลอดภัย

กิจกรรมที่ทำจริง

จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้การปรุงอาหารปลอดภัย ตามหลักสูตรที่ภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร  มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง กำหนด โดย ในช่วงเช้าเป็นการอบรมให้ความรู้เรื่องวัตถุดิบประกอบอาหารปลอดภัย และการเลือกใช้ภาชนะประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ ส่วนช่วงบ่ายเป็นการลงมือปฏิบัติการจริงการประกอบอาหารปลอดภัย

 

60 57

6. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

วันที่ 8 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมาคือกิจกรรมเรียนรู้การปรุงอาหารปลอดภัยและร่วมกันวางแผนการขับเคลื่อนงานต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ได้มีกระบวนการติดตามผลการดำเนินกิจกรรม และมีการแบ่งหน้าที่การทำงานในกิจกรรมที่จะจัดขึ้นในครั้งต่อไป ทำให้คณะทำงานมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการอย่างแท้จริง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

หัวหน้าคณะทำงานได้นำเสนอผลการจัดฝึกอบรมเรื่องการปรุงอาหารปลอดภัยที่จัดขึ้นในมหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง ว่ามีตัวแทนครัวเรือนเข้าร่วมน้อยกว่าเป้าหมายนิดหน่อย จากเป้าหมาย 50 คน มีผู้เข้าร่วม 50 คน แต่ทุกคนก็ได้รับความรู้เรื่องการเลือกวัตถุดิบและการเลือกใช้ภาชนะ  นอกจากนี้ยังได้สูตรการทำอาหารใหม่ ๆ จากการแนะนำของวิทยากร ซึ่งถือว่าการจัดโครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้  จากนั้นคณะทำงานได้สอบถามถึงเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณ ซึ่งเจ้าหน้าที่การเงินได้ชี้แจงรายละเอียดรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นพร้อมนำเสนอเอกสารทางการเงินที่มี เมื่อวาระเกี่ยวกับการติดตามงานผ่านไปเรียบร้อยหัวหน้าคณะทำงานได้หารือที่ประชุมถึงการวางแผนเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมยกร่างข้อบังการบริหารจัดการแปลงผักชุมชนบ้านนาว่าจะจัดกิจกรรมในช่วงใกี และควรมีใครมาช่วยในการจัดทำร่างข้อบังคับบ้าง  ซึ่งที่ประชุมเสนอให้จัดกิจกรรมในวันทำการอาจเป็นวันศุกร์ และให้เชิญพี่เลี้ยงโครงการคืออาจารย์ไพฑูรย์  ทองสม มาร่วมด้วย เพื่อจะได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการเขียนข้อบังคับให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ  และเชิญตัวแทนครัวเรือนมาร่วมด้วยเพื่อให้ได้ข้อบังคับที่ตอบสนองความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง

 

15 13

7. เวทีประชาพิจารณาและรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชน และการบริหารจัดการตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชน

วันที่ 17 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนเกี่ยวกับการบริหารจัดการแปลงผักรวมของชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัย

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการแปลงผักชุมชน และได้แนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยชุมชนที่เป็นที่ยอมรับของสมาชิกและประชาชนทั่วไปในชุมชน  นอกจากนี้ยังเกิดกระบวนการเรียนรู้เวทีรับฟังความคิดเห็นแบบมีส่วนที่เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็น ใช้ฉันทามติไม่ยึดเพียงแค่เสียงข้างมาก ซึ่งประชาชนในพื้นที่พอใจกับกระบวนการแลกเปลี่ยนแบบนี้มาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

เวทีประชาพิจารณาและรับฟังข้อคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชน และการบริหารจัดการตลาดนัดอาหารปลอดภับชุมชน โดยคณะทำงานนำเสนอร่างแนวทางต่อที่ประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็น

กิจกรรมที่ทำจริง

หัวหน้าคระทำงานชี้แจงวัตถุประสงค์และความจำเป็นที่จะต้องมีแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักชุมชน และเล่าที่มาของการยกร่างแนวทางว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไรหลังจากนั้นคณะทำงานได้นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักชุมชนให้ที่ประชุมพิจารณาเป็นรายข้อ เช่นการเลือดแปลงจะต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารการแบ่งผลผลิตร้อยละ 10 เข้าสู่กองทุนบริหารจัดการแปลงผักชุมชน ซึ่งในข้อนี้ที่ประชุมมองว่าสัดส่วนร้อยละ 10 น้อยเกินไปจะทำให้รายได้ของกองทุนน้อย จึงเสนอที่ประชุมปรับวัดส่วนผลผลิตที่ต้องนำเข้ากองทุนเป็นร้อยละ 15 จากนั้นเป็นการพิจารณาร่างข้อบังคับการบริหารจัดการตลาดนัดชุมชนซึ่งขณะนี้ดำเนินการได้ระยะหนึ่งแล้ว โดยคณะทำงานนำเสนอเป็นรายข้อ เช่นการดูแลความสะอาดของตลาดการสมทบเงินเข้ากองทุนบริหารจัดการตลาดคนละ 10 บาทต่อครั้งที่นำสินค้ามาขาย ซึ่งที่ประชุมมองว่าอัตรานี้เหมาะสมดีแล้วเมื่อพิจารณารายละเอียดรายข้อแล้วเสร็จที่ประชุมก็ได้ลงมติรับรองแนวทางการบริหารจัดการกองทุนแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัยบ้านนา

 

170 158

8. ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวดและสรุปผลโครงการ

วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

ตรวจสอบเอกสารรายงานประจำงวดและสรุปผลโครงการ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวดและสรุปผลโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวดและสรุปผลโครงการ

กิจกรรมที่ทำจริง

ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวดและสรุปผลโครงการ

 

15 13

9. ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

วันที่ 21 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำกับติดตามการดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดการติดตามผลการดำเนินกิจกรรมและการเรียนรู้ปัญหาอุปสรคค์ที่เกิดขึ้น  นอกจากนี้ยังได้แผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไปคือการจัดเวทียื่นข้อเสนอแนวทางการบริหารจีดการแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัย

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

หัวหน้าคณะทำงานนำเสนอผลสรุปการจัดเวทีประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชนและการบริหารจัดการตลาดนัดชุมชน ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนและตัวแทนครัวเรือนมากพอสมควร มีการเติมเต็มเนื้อหาและเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์บางข้อเพื่อความเหมาะสม เช่นการแบ่งผลประโยชน์จากแปลงผักเข้ากองทุน  จากนั้นคณะทำงานได้สอบถามถึงการใช้จ่ายงบประมาณซึ่งเจ้าหน้าที่การเงินโครงการก็ได้ชี้แจงรายละเอียดการเบิกจ่ายเงินให้ที่ประชุมทราบ  จากนั้นเป็นการหารือวางแผนการจัดกิจกรรมการยื่นข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมของชุมชนให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่ารับไปพิจารณาเข้ามาร่วมดำเนินการ

 

15 15

10. ยื่นข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

วันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อสร้างกลไกในการขับเคลื่อนและบริการจัดการแปลงผักรวมของชุมชนและเพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดการมีส่วนร่วมในการพิจารณาแนวทางการบริหารจัดการจัดการกิจกรรมของชุมชน และเกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างภาคประชาชนที่ทำงานในชุมชนบ้านนากับภาคท้องถิ่นคือองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่า

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

กิจกรรมยื่นข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการตลาดอาหารปลอดภัยชุมชนให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อผลักดันเป็นนโยบาย หรือออกเป็นเทศบัญญัติต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่ากล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม  จากนั้นหัวหน้าคณะทำงานได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดเวทียื่นข้อเสนอครั้งนี้ แล้วมอบให้คณะทำงานนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมของชุมชนและตลาดนัดอาหารปลอดภัย  ซึ่งที่ประชุมรับทราบและทางองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่ารับปากว่าจะผลักดันให้เป็นเทศบัญญัติต่อไป

 

40 42

11. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

วันที่ 5 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมาคือกิจกรรมยื่นข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชนและตลาดนัดชุมชนต่อท้องถิ่นและร่วมกันวางแผนการขับเคลื่อนงานต่อไป

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากผลการประชุมทำให้คณะทำงานได้ทราบถึงความคืบหน้าหลังจากได้ยื่นข้อเสนอต่าง ๆ ให้กับทาง องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเต่าว่าขณะนี้ทาง อบต. รับทราบและพร้อมหนุนเสริมการทำงานของชุมชน โดยในปีต่อไปการดำเนินโครงการจะได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณของ อบต. เป็นหลัก  ได้ร่วมกันสรุปงานและมอบหมายหน้าที่การทำงานให้กับคณะทำงานเพื่อจัดกิจกรรมต่อไปตามแผนการดำเนินโครงการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมต่อไป

กิจกรรมที่ทำจริง

ประธานคณะทำงานได้ให้เลขานำเสนอผลการหารือและยื่นข้อเสนอแนวทางการบริหารจัดการแปลงผักรวมชุมชนและแนวทางการบริหารจัดการตลาดนัดเพื่อสุขภาพของชุมชน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว โดยลการหารือนั้นทาง อบต.เกาะเต่ายินดีที่จะร่วมผลักดันให้แปลงผักและตลาดสามารถดำเนินการได้ต่อไปตามแนวทางที่ชุมชนเสนอ และพร้อมตั้งงบประมาณในปีงบ 59 ที่จะหนุนเสริมให้มีการขยายพื้นที่ปลูก เพิ่มความหลากหลายของชนิดผัก และดูแลเรื่องสุขาภิบาลบริเวณตลาดให้ดีขึ้น  จากนั้นตัวแทนจาก อบต.เกาะเต่า ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจะดกิจกรรมของ อบต. ต่อไปจะใช้พื้นที่บริเวณตลาดเป็นหลัก เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่หรือต่างพื้นที่ได้รู้จักและเข้ามาใช้บริการตลาดมากยิ่งขึ้น  จากนั้นประธานคณะทำงานได้หารือถึงปัญหาอุปสรรค์และแนวทางที่จะจัดกิจกรรมต่อไปพร้อมแบ่งหน้าที่ให้คณะทำงานแต่ละคนรับไปดำเนินการ

 

15 13

12. สรุปผลการดำเนินโครงการจัดทำรายงานเพื่อส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคืนข้อมูลสู่ชุมชน

วันที่ 9 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปผลการดำเนินโครงการเพื่อจัดทำรายงานต่าง ๆที่เกี่ยวข้องละคืนข้อมูลผลการดำเนินงานให้กับชุมชน

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้ผลสรุปการดำเนินโครงการในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งพบว่าการดำเนินกิจกรรมในช่วงที่ผ่านมาเป็นต้นแบบที่ดีในการพัฒนาพื้นที่ที่ใช้การมีส่วนร่วมของชาวบ้านเป็นหลัก เริ่มจากฐานรากของชุมชนมาร่วมคิด ร่วมทำ แม้ในช่วงแรกท้องถิ่นจะเข้ามาร่วมน้อย แต่เมื่อดำเนินการไปสักระยะหนึ่งท้องถิ่นก็เข้ามาร่วมดำเนินการทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น  อย่างไรก็ตามการดำเนินงานก็มีปัญหาอยู่บ้าง เช่นในส่วนของงบประมาณสนันสนุนจาก สสส. ในงวดที่ 2 ที่ได้รับล่าช้าทำให้ต้องปรับแผนกิจกรรมทำให้บางกิจกรรมต้องเร่งดำเนินการ  และจากการหารือกลุ่มย่อยได้ข้อเสนอที่ไปในทิศทางเดียวกันคืออยากให้ท้องถิ่นเข้ามาร่วมเป็นเจ้าภาพหลักในการดำเนินงานและต้องขยายผลให้ครอบคลุมทั้งตำบล เพื่อให้เป็นตำบลต้นแบบในการสร้างสุขภาวะของชุมชนด้วยการใช้เรื่องของอาหารปลอดภัยเป็นเครื่องมือในการสร้างการมีส่วนร่วม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุม สภาผู้นำ ผู้ทรงคุณ วุฒิ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมกันสรุปผลการดำเนินโครงการ จัดทำรายงานเพื่อส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคืนข้อมูลสู่ชุมชน

กิจกรรมที่ทำจริง

ประธานคณะทำงานได้เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้เลขานำเสนอสรุปผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม จากนั้นได้แบ่งกลุ่มเพื่อหาแนวทางการพัฒนาหากว่าจะดำเนินโครงการนี้ต่อไปควรดำเนินการในรูปแบบใด และดำเนินการในระดับไหน  จากนั้นจึงให้ผุ้แทนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยในแต่ละกลุ่มจะมีผู้ทรงคุณวุฒิเป็นผู้ดำเนินการหารือ ผลสรุปของแต่ละกลุ่มไปในทางเดียวกันคือควรยกระดับการดำเนินกิจกรรมให้ครอลคลุมทั้งตำบลและควรให้ท้องถิ่นเข้ามาเป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการเป็นหลัก

 

50 42

13. ตรวจสอบเอกสารต่าง ๆ เกี่ยวกับรายงานประจำเดือน

วันที่ 13 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อปรึกษาหารือและตรวจสอบการจัดทำรายงานต่าง ๆ

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เอกสารรายงานต่าง ๆที่จะต้องรายงานให้ สสส. ทราบได้รับการตรวจสอบ ปรับแก้ ให้ถูกต้องพร้อมที่จะเสนอ สจรส. มอ. และ สสส. ต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ตรวจสอบเอกสารต่างๆเกี่ยวกับรายงานประจำงวด

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานร่วมกันเสนอรายงานต่าง ๆเกี่ยวกับการดำเนินโครงการและทีมพี่เลี้ยงให้ข้อเสนอแนะและปรับแก้เอกสารให้ถูกต้อง

 

15 14

14. ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน

วันที่ 17 มิถุนายน 2558 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

เพื่อกำกับติดตามการดำเนินโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ที่ประชุมรับทราบผลการจัดทำรายงานต่าง ๆ และเสนอแนะให้มีการเพิ่มรูปกิจกรรมเข้าไปในรายงานเพิ่มขึ้น ในส่วนของโครงการใหม่ที่ประชุมเห็นด้วยที่จะใช้ประเด็นความมั่นคงทางอาหาร แต่อยากให้เป็นโครงการใหญ่ที่ทำทั้งตำบล โดยอาจขอทุนจาก สสส. หรือกองทุนสุขภาพตำบลก็ได้ หรืออาจให้ทาง อบต. เป็นผู้จัดสรรทุน โดยมอบให้ประธานไปหารือกับนายก อบต. อีกครั้งหนึ่งว่าจะขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทุนไหนดี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

ประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปผลการดำเนินงานและร่วมกันพัฒนาโครงการใหม่เพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมที่ทำจริง

ประธานคณะทำงานรายงานผลการสรุปการจัดทำรายงานเอกสารต่าง ๆให้ที่ประชุมทราบ และหารือแนวทางการพัฒนาโครงการที่จะขอรับทุนจาก สสส. ในปีต่อไป โดยจะขอใช้ประเด็นความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นหลักในการดำเนินงานในปีต่อไป

 

25 20

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 31 31                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 194,100.00 178,026.00                  
คุณภาพกิจกรรม 124 98                  

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)
นายอนันต์ ทิพย์รักษ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ