directions_run

ธนาคารต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสาขาชุมชนวังกระบือ

assignment
บันทึกกิจกรรม
ประชุมเพื่อปิดโครงการร่วมกับสจรส.ม.อ.หาดใหญ่7 พฤศจิกายน 2558
7
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเข้าร่วมประชุมปิดโครงการกับสจรส.ม.อ.
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตัวแทนคณะทำงานเดินทางเข้าร่วมประชุมกับสจรส. มอ.หาดใหญ่เพื่อสรุปการเงิน (ง.2) และจัดทำรายงานสรุปกิจกรรรมของโครงการฯ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เดินทางเข้าร่วมประชุมกับสจ.รส ที่มอ.หาดใหญ่ร่วมกับโครงการฯต่างๆ ในแต่ละพื้นที่เพื่อสรุปปิดกิจกรรมของโครงการ และจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการเดินทางเข้าร่วมประชุม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำรายงานสรุปกิจกรรม7 พฤศจิกายน 2558
7
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปผลกิจกรรมโครงการธนาคารต้นไม้ตลอดระยะเวลา 1 ปี
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ได้สรุปประเด็นที่สำคัญของโครงการผ่านกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมถอดบทเรียน ประชุม เสวนา ค่ายกายูมิมปี เป็นต้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการรวบรวมข้อมูลที่สำคัญเพื่อสรุปกิจกรรม ได้แก่ จำนวนผู้เข้าร่วมแต่ละครั้ง องค์ความรู้ที่เกิดขึ้น และรับฟังความคิดเห็นจากกิจกรรมถอดบทเรียน
  • จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการฯ สรุปปัญหา และอุปสรรค
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะสภาชุมชนคนรักต้นไม้ และแกนนำกลุ่มวานีตา 2 คน สรุปกิจกรรมเพื่อจัดทำรายงานโครงการธนาคารต้นไม้
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ค่าภาพถ่ายกิจกรรม7 พฤศจิกายน 2558
7
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปและประมวลภาพถ่ายกิจกรรมที่สำคัญในโครงการธนาคารต้นไม้ฯ-
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • รวบรวมภาพถ่ายกิจกรรมในโครงการ
  • ประมวลผลและสรุปกิจกรรมผ่านภาพถ่าย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามารถรวบรวมภาพกิจกรรมที่สำคัญในโครงการธนาคารต้นไมเพื่อเผยแพร่ผู้เข้ามาชมกิจกรรมในโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • สมาชิกธนาคารต้นไม้ สภาคนรักต้นไม้ แกนนำกลุ่มวานีตา จำนวน 25 เข้าร่วมติดตามกิจกรรมโดยผ่านรูปภาพ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมประชุมถอดบทเรียน30 ตุลาคม 2558
30
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานและสรุปกิจกรรมของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้จากตัวแทนกลุ่มต้นกล้าฮาลา ของเครือข่ายค้นกล้าคืนถิ่น โดยมีการพูดคุยเรื่องการผลิตต้นไม้และวางแผนการตลาดในการขายต้นไม้เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับสมาชิก นอกจากนั้นยังได้แลกเปลี่ยนให้กับแกนนำกลุ่มวานีตาในเรื่องการศึกษาให้กับลูกในปัจจุบันซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดคนกล้าคืนถิ่นว่าการศึกษาในปัจจุบันเน้นการนำความรู้มาใช้ประโยชน์ปละปรับใช้ในชุมชนโดยการพึ่งต้นเองตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งของคนรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาชุมชนควบคู่อีกด้วย
  • ที่ประชุมได้คัดเลือกตัวแทนต่างๆ ได้แก่ แกนนำกลุ่มวานีตาในการคัดเลือกตัวแทนสภาชุมชนคนรักต้นไม้ ได้แก่ เจ๊ะซีตี บือราเฮม การิหม๊ะ อาแวดราแม เจ๊ะมีเนาะ สะมะแอ แกนนำกลุ่มวานีตาชุมชนแวกูบา ได้แก่ รอกีเย๊าะ หะยียูนุห์ ซูลยาตี มะดาโอ๊ะ รอบียะห์อาลี แกนนำผู้นำชุมชน เป็นประธาน ได้แก่ กำนันมะยาลี มะดาโอ๊ะ รองประธาน มาหามะ เจ๊ะอูมา และนายอาซิ นาพี อาสาสมัครประสานงานในชุมชน สาปีนะห์แมงสาโมง ประสงค์ เด่นสุมิตร
  • จำหน่ายต้นไม้ให้กับต้นกล้าฮาลาล ซึ่งทำให้สมาชิกธนาคารต้นไม้ จำนวน 3 คน มีรายได้จากผลิตต้นไม้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สภาชุมชนคนรักต้นไม้ จำนวน 10 คนมาจากการคัดเลือกผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมของธนาคารต้นไม้ตลอดระยะ 1 ปีที่ผ่านซึ่งพบว่า ผู้หญิงมุสลิมมีบทบาทสำคัญในการเข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่องมากกว่าผู้ชาย และกำหนดบทบาทให้คณะกรรมการเป็นผู้ประชาสัมพันธ์การผลิตต้นไม้เพื่อให้มีการจำหน่ายทั้งในและนอกชุมชนโดยที่ประชุมเห็นด้วยที่จะมีการต่อยอดของโครงการโดยเน้นให้เยาวชนในพื้นที่สืบทอดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ต้นไม้มากกว่าผู้ใหญ่เนื่องจากมองว่ากิจกรรมที่ผ่านมามีมากเกินไปที่ทำให้ผู้ใหญ่ซึ่งต้องรับผิดชอบการหาเลี้ยงชีพไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่องได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 37 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตาและวานีตาวังกระบือ จำนวน 28 คน
  • ผู้สูงอายุหญิง และปราชญ์ชาวบ้าน 8 คน
  • เครือข่ายนอกพื้นที่ ได้แก่ วิทยากรจากต้นกล้าฮาลาล จำนวน 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สรุปกิจกรรมฝากต้นไม้ไว้กับธนาคาร29 ตุลาคม 2558
29
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินกิจกรรมธนาคารต้นไม้สาขาชุมชนวังกระบือ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สมาชิกแกนนำกลุ่มวานีตาชุมชนแวกูบา จำนวน 15 ครัวเรือน เข้าร่วมผลิตต้นไม้ โดยมีการผลิตต้นไม้รวมไว้ที่ศูนย์เรียนรู้ต้นไม้ชุมชนแวกูบา หรือบ้านเมาะเต๊ะห์ ซึ่งสถานที่จัดกิจกรรม และวางจำหน่ายต้นไม้ โดยมีบ้านใกล้เคียงผลิตต้นไม้ก็ได้นำวางจำหน่ายที่เดียว ต้นไม้ที่ผลิตได้ งูแป จอแบ ต้นปลาไหลเผือก ต้นสะเดา รวมทั้งสิ้น 1,500 ต้นไม้ โดยรวมแปลงพืชสมุนไพรหายากที่จัดแสดงในบริเวณศูนย์จำนวน 50 ต้น
  • สมาชิกแกนกลุ่มวานีตาชุมชนโละจูด จำนวน 10 ครัวเรือน ซึ่งเป็นสมาชิกบ้านน่าอยู่รั้วกินได้ 5 ครัวเรือน ซึ่งมีการปรับปรุงบริเวณบ้านเพื่อผลิตต้นไม้ ได้แก่ บ้านเมาะซู ที่ผลิตกล้าไม้ ได้แก่ผักกาดน้ำ กูเล็งอากา สะเดา มะลิ มะนาวกัสตูรี ปุดสิงห์รวมทั้งสิ้น 500 ต้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สมาชิกที่เข้าร่วม "บ้านน่าอยู่ รั้วกินได้"  เป็นสมาชิกธนาคารต้นไม้ที่มีการผลิตกล้าไม้บริเวณรอบบ้าน และมีความสนใจในการพัฒนาเพื่อต้อนรับผู้มาเยือนโดยการจำหน่ายต้นไม้ โดยมีบ้านตัวอย่าง จำนวน 10 ครัวเรือน โดยเป็นสมาชิกในชุมชนแวกูบาและโละจูด จำนวน 5 ครัวเรือนที่สามารถเปิดต้อนรับผู้มาเยือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตาชุมชนแวกูบา จำนวน 15 ครัวเรือน เข้าร่วมเป็นสมาชิกธนาคารผลิตต้นไม้ให้กับธนาคาร และแกนนำกลุ่มวานีตาโละจูด จำนวน 5 ครัวเรือน เข้าร่วมกิจกรรมธนาคาร
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยนผ่านสภาชุมชนคนรักต้นไม้ฯ ครั้งที่ 313 ตุลาคม 2558
13
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้คณะกรรมการกลุ่มวานีตาติดตามการดำเนินโครงการธนาคาร
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีการพูดคุยต่อยอดของความรู้พืชสมุนไพรสำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะซึ่งการแลกเปลี่ยนความรู้จะเป็นเรื่องการดูแลผู้หญิงผ่านอวัยวะสืบพันธุ์  ได้แก่ องค์ความรู้การดูแลอวัยวะของผู้หญิง สูตรที่ 1 โดยใช้พืชสมุนไพรได้แก่ ใบพลู และเทียนกิ่ง สูตรที่ 2 คือ การนำใบทับทิม มาต้มในน้ำและตั้งให้อุ่นแล้วนำมาทำความสะอาดบริเวณจุดซ่อนเร้น เป็นต้น
  • มีการสัมภาษณ์และบันทึกต่อที่บ้านบางราย โดยเก็บข้อมูลเพิ่มในส่วนของรายละเอียดของต้นไม้ที่มีการปลูกในบริเวณรอบบ้านอีกด้วย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ชุดความรู้การดูผู้หญิงมีหลากหลายซึ่งไม่มีการพูดถึงเพราะเป็นเรื่องอับอายโดยเฉพาะการดูแลอวัยวะสืบพันธุ์จากคนโบราณดั้งเดิม แต่เมื่อผ่านกิจกรรมเสวนา ทำให้ทุกคนได้เปิดเผยข้อมูลซึ่งเห็นว่าสามารถช่วยในการดูแลผู้หญิงในครอบครัว เช่น พืชสมุนไพรในการทำความสะอาด เป็นต้น
  • มีการพูดคุยเพื่อให้มีการบันทึกแล้วปรินท์ให้สมาชิกที่เข้าร่วมได้นำไปใช้ โดยสามารถบอกต่อๆซึ่งเป็นการฟื้นฟูความรู้การใช้สมุนไพรตามวิถีของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 34 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตา และวานีตาแวกูบา จำนวน 34 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เสวนาพูดคุุยแลกเปลี่ยนผ่านสภาชุมชนคนรักต้นไม้ฯ ครั้งที่29 ตุลาคม 2558
9
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้แกนนำคณะทำงานกลุ่มวานีตา และสภาคนรักต้นไม้ติดตามการดำเนินโครงการ
  • เพื่อรวบรวมความการใช้พืชสมุนไพรและต้นไม้ของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ผู้เข้าร่วมเสวนาเป็นผู้หญิง ได้แก่แกนนำกลุ่มวานีตาจากชุมชนแวกูบา และผู้สูงอายุ หมอยาพื้นบ้านจากชุมชนโละจูด เนื่องจากผู้ชายติดภาระกิจในการสร้างมัสยิดจึงทำให้มีการพูดคุยเรื่องพืชสมุนไพรผู้หญิง โดยมีการเริ่มต้น การพูดคุยจากอวัยวะบนใบหน้า ได้แก่ โรคหรือพืชสมุนไพรรักษาใบหน้า ได้แก่ สิว ฝ้า หรือดูแลผม ปากเป็นต้นซึ่งพบว่าการแลกเปลี่ยนครั้งนี้ได้รับความสนใจจากหญิงสาวหรือวัยกลางคนที่ไม่เคยใช้พืชสมุนไพรซึ่งเป็นความรู้จากผู้สูงอายุในการดูแลตัวเองจากภูมิปัญญาดั้งเดิม ได้แก่พืชสมุนไพรขัดหน้าให้ขาว ผิวนุ่ม ได้แก่ ใบฝรั่ง หรือ ผลฝรั่งขี้นกที่ฝนหรือขยี้แล้วนำมาขัดหน้าให้สะอาด ผิวนุ่ม ถ้ารักษาสิว จะนำกายูมานิห์ ตูรงกือมือฝนแต้มสิว เป็นต้นส่วนดูแลเส้นให้ดกดำ ได้แก่ ผักหวานบ้าน ยอดพริกและกะทิหมักไว้ส่วนการดูแลฟันนั้นจะนำพืชสมุนไพรมาตำผสมเป็นยาสีฟัน ได้แก่ พลู หมาก และยอดโครงเครงผสม เป็นต้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดการส่งต่อองค์ความรู้ของผู้สูงอายุผู้หญิงที่มีการใช้พืชสมุนไพรได้ถูกบันทึกและเล่าสู่ให้หญิงสาวในชุมชนได้หันมาสนใจมากขึ้นซึ่งเป็นการฟื้นฟูองค์ความรู้การใช้พืชสมุนไพรได้เป็นอย่างดี และผู้สูงอายุที่เข้าร่วมมีกิจกรรมในชุมชนโดยให้ความรู้ในอดีตให้กับคนรุ่นใหม่
  • เป็นองค์ความรู้ใหม่ในการดูแลของผู้หญิงมีหลากหลายที่ไม่มีการบันทึกมาก่อนจึงเป็นการรวบรวมความรู้การใช้พืชสมุนไรของชุมชนโดยวิถีชุมชนแท้จริง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 37 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตา และวานีตาชุมชนแวกูบา  จำนวน 21 คน
  • ผู้สูงอายุ หมอยาพื้นบ้าน จำนวน 16 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

กิจกรรมประชุมคณะทำงานกลุ่มวานีตา ครั้งที่ 52 ตุลาคม 2558
2
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้คณะกรรมการกลุ่มวานีตาติดตามการดำเนินโครงการธนาคาร
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แกนนำกลุ่มวานีตาแวกูบาเตรียมความพร้อมในพัฒนาหมู่บ้านของตนเองเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นไม้ ซึ่งได้วางแผนให้บ้านเมาะเต๊ะห์หรือศูนย์เรียนรู้ต้นไม้เป็นจุดศูนย์กลางของสมาชิกในการนำต้นไม้หายากมารวบรวมไว้ และสมาชิกบางคนมีการวางแผนผลิตต้นไม้แล้วนำมาจำหน่ายรวมที่นี่อีกด้วย
  • ที่ประชุมมีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลต้นไม้และความรู้การใช้พืชสมุนไพรขต่อเนื่องจึงแนะนำให้ผู้ประสานงาได้จัดกิจกรรมเสวนาเพื่อรวบรวมข้อมูลการใช้พืชสมุนไพรของชุมชนแวกูบาไว้เพื่อที่จะสามารถบอกเล่าให้กับผู้มาเยือน  และซักถามการต่อยอดของโครงการธนาคารต้นไม้โดยนำความรู้พืชสมุนไพรทำยาใช้เองในชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนแวกูบาได้ตอบรับกิจกรรมต่างๆของโครงการฯมากกว่าชุมชนโละจูด โดยสังเกตจากสมาชิกผลิตกล้าไม้เพิ่มจากเดิม 1 หลังคาเรือน เป็น 5 หลังคาเรือน
  • ที่ประชุมมีการพูดคุยการต่อยอดโครงการฯ แต่ชุมชนแวกูบาเป็นชุมชนขนาดเล็ก ซึ่งประกอบสมาชิกเพียงแค่ 35 หลังคาเรือนเท่าน้้นจึงไม่สามารถนำเสนอจัดทำโครงการได้
  • การพัฒนาเส้นทางต้นไม้เพื่อเป็นเส้นทางการท่องเที่ยวในชุมชนนั้น ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันในการเปิดเส้นทางในช่วงฤดูผลไม้ซึ่งสามารถเปิดบริการให้กับผู้มาเยือนพร้อมกับชมต้นไม้ในหมู่บ้าน ซึ่งแกนนำกลุ่มวานีตาเห็นว่าการคตัดเลือกเส้นทางศึกษาต้นไม้ของแวกูบานั้นเกิดจากความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำคณะทำงานกลุ่มวานีตา 6 คน และแกนนำวานีตาแวกูบา 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

แผนที่ทำมือของชุมชนแวกูบา ครั้งที่ 21 ตุลาคม 2558
1
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้แกนนำคณะทำงานกลุ่มวานีตา และสภาคนรักต้นไม้ติดตามการทำเส้นทางต้นไม้ผ่านแผนที่ทำมือ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พูดคุยการดำเนินโครงการธนาคารฯที่ส่งผลให้มีการรวบรวมต้นไม้บ้านเมาะเต๊ะห์ ซึ่งกลายเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นไม้ที่ได้รับความสนใจจากคนข้างนอก
  • ที่ประชุมมีการคัดเลือกเส้นทางต้นไม้ของชุมชนแวกูบา และพูดคุยเพื่อเพิ่มเนื้อหา ข้อมูลในแผนที่ทำมือ ได้แก่  ข้อมูลประวัติหมู่บ้าน เส้นทางดูซง เส้นทางต้นไม้ที่ประกอบด้วยป้ายชื่อต้นไม้ของแต่ละบ้านที่เข้าร่วม เป็นต้น โดยกิจกรรมเส้นทางต้นไม้ได้รับคำแนะนำจากปราชญ์ชาวบ้านโดยมาหามะ เจ๊ะอูมา ประธานอสม.จังหวัดนราธิวาส และนายอายิ นาพี ผู้มีความรู้ด้านศาสนาในการให้คำแนะนำและตรวจสอบชื่อในป้ายสื่อความหมายต้นไม้
  • มีการพูดคุยได้เสนอให้มีกิจกรรมทดลองพาเจ้าหน้าที่ บุคคลที่สนใจเข้าเยี่ยมชมเส้นทางศึกษาต้นไม้ผ่านแผนที่ทำมือ โดยเฉพาะในฤดูที่มีผลไม้ ได้แก่ ทุเรียนพื้นบ้าน ลองกองเป็นต้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เส้นทางศึกษาต้นไม้ของชุมชนแวกูบา ถูกคัดเลือกให้เป็นเส้นทางเพื่อการท่องเที่ยวของชุมชนวังกระบือ เนื่องจากคนในชุมชนแวกูแบ ซึ่งเป็นชุมชนติดป่า จำนวน 15 หลังคาเรือนมีลักษณะบ้านปลูกเป็นเส้นทางที่ล้อมด้วยต้นไม้  จึงได้ระบุในแผนที่ทำมือเพื่อกำหนดให้คนได้เข้ามาเที่ยว  โดยมีการเพิ่มเนื้อหาในแผนที่ทำมือ ได้แก่ ประวัติของหมู่บ้าน สถานที่สำคัญของชุมชน ได้แก่ ลาตอรายอ หรือ น้ำตกราชา ที่เป็นเรื่องเล่าครั้งหนึ่งในอดีตเป็นที่พักระหว่างทางของกษัตริย์ในสมัยอาณาจักรปัตตานี เป็นต้น  นอกจากนี้  ยังมีเส้นทางของดูซง ซึ่งเป็นสวนผสมผสานที่มีผลไม้หลากชนิด ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง มังคุด ฯ ซึ่งเหมาะในการเปิดต้อนรับให้คนข้างนอกเข้ามาเยี่ยมชมในเส้นทางต้นไม้อีกด้วย
  • แกนนำกลุ่มชาวบ้านแวกูบา จำนวน 8 หลังคาเรือน  มีความเข้าใจมากขึ้นในการทำเส้นทางต้นไม้ฯเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน ซึ่งมองเห็นภาพชัดมากขึ้นหลังจากที่มีการอบรมทักษะความรู้ต้นไม้และการสื่อสาร ครั้งที่ 1-2 คือที่จะต้องให้ชุมชนเข้มแข็ง และคนในชุมชนต้องรอบรู้ประวัติของหมู่บ้านอีกด้วย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 39 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตา
  • แกนนำสภาคนรักต้นไม้
  • แกนนำชุมชน และปราช์ชาวบ้าน 2 คน 
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงานกลุ่มวานีตา ครั้งที่ 417 กันยายน 2558
17
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามกิจกรรมการทำงานกลุ่มวานีตาที่เข้าร่วมกิจกรรมความมั่นคงทางสุขภาวะที่มอ.

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประชุมสรุปยอดการจำหน่ายต้นไม้ ได้แก่ ต้นปลาไหลเผือกได้มากที่สุด ส่วนต้นอื่นๆ เป้นการสนับสนุนให้กับอาจารย์คณะเภสัช มอ.เพื่อทำการจำแนกชื่อพันธู์ไม้ โดยต้นไม้ส่วนใหญ่ได้รับความสนใจจากผู้เข้าร่วมเนื่องจากเป็นต้นไม้หายาก
  • บอกเล่ากิจกรรมสาธิตการทำข้าวยำพื้นบ้านที่ต้องทำข้างนอกหอประชุม แล้วได้รับความสนใจใบไม้ที่หั่นในข้าวยำพื้นบ้านต่างๆซึ่งภาคีเครือข่ายจากจังหวัดอื่นๆที่ทำเรื่องอาหารได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนว่าเป็นต้นไม้ที่มีกลิ้นหอมมาก เช่นใบซาเมาะปือดะห์  ซาเมาะซือรา หรือใบงูแป เป็นต้น
  • กิจกรรมสาธิตยำผักกูดได้รับความสนใจและจำหน่ายดีมาก รวมทั้งขนมนีเล็งซึ่งเปิดให้ผู้เข้าร่วมชิม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • กลุ่มวานีตาแจ้งที่ประชุมว่ากิจกรรมออกบู๊ธเป็นเวทีแลกเปลี่ยนให้มีการนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนไปเผยแพร่ได้มาก แต่ระยะทางในการจัดกิจกรรมไกลมากจึงทำให้ต้องเตรียมวัสดุไม่ทัน และต้องใช้เวลาในการเดินทาทำให้อาหารเตรียมไปไม่ได้รสชาติดั้งเดิม จึงร่วมหาวิธีการปรุงอาหารให้สะอาดมากที่สุดเพื่อเก็บไว้ได้นานในการออกบู๊ธ
  • แกนนำกลุ่มวานีตาได้นำสื่อต่างๆ ของสสส.มาเผยแพร่ให้กับสมาชิกได้รับความสนใจ และทำให้รู้จักบทบาทการทำงานสสส.มากขึ้นโดยดูจากสื่อสิ่งพิมพ์ที่สามารถบอกเล่าให้กับคนในชุมชนต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตาแวกูบา 12
  • แกนนำคณะทำงานกลุ่มวานีตา 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • บู๊ธนิทรรศการขนาดเล็กเกินไป และเป็นการจัดกิจกรรมในห้องประชุมที่ไม่เหมาะในการปรุงอาหาร จึงควรมีการประสานผู้จัดงานกับชุมชนที่เข้าร่วมในการเตรียมงานให้มากกว่านี้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ร่วมกิจกรรมสสส.ในงานความมั่นคงทางสุขภาวะคนใต้4 กันยายน 2558
4
กันยายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรมธนาคารต้นไม้  - เพื่อพัฒนาทักษะของแกนนำกลุ่มวานีตา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีการลงพื้นที่เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมของสสส.ให้กับแกนนำกลุ่มวานีตาเพื่อคัดเลือกแกนนำเข้าร่วม และออกแบบกิจกรรมต่างๆภายในบู๊ธ
  • มีการเตรียมงานในพื้นที่ 3 วันในการเตรียมใบไม้เพื่อสาธิตทำข้าวยำพื้นบ้าน และขนมนีเล็ง โดยมีแกนนำกลุ่มวานีตา "แวกูบา" จำนวน 15 คนเป็นแกนนำหลัก
  • กิจกรรมออกบู๊ธที่หอประชุมนานาชาติได้ทำข้าวยำพื้นบ้าน นำขนมนีเล็งที่ทำในพื้นที่มาให้ชิมและจำหน่าย  พร้อมทั้งได้มีการจัดบู๊ธด้วยดอกกระทือ และต้นไม้ของสมาชิกมาจำหน่าย
  • ผู้เข้าร่วมงานได้สนใจบู๊ธของโครงการฯ สังเกตได้จากมีการชิมขนมใบไม้ ข้าวยำ และสามารถจำหน่ายต้นไม้ของสมาชิกได้ จำนวน 10 ต้น และมีการแจกภาคีเครือข่าย จำนวน 30 ต้น โดยมีคณะเภสัชมอ.สนใจต้นไม้ที่ยังไม่มีการจำแนกเป็นชื่อวิทยาศาสตร์  และเครือข่ายด้านอาหารจังหวัดพัทลุงบอกว่าต้นไม้ที่ใส่ในข้าวยำพื้นบ้านเป็นต้นไม้ชนิดหายากที่ภาคใต้ตอนบนไม่มี
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ธนาคารต้นไม้ฯ มีนำต้นไม้หายากมาจัดแสดงเพื่อให้ผู้สนใจสอบถามข้อมูลและสามารถจำหน่ายและสร้างให้กับสมาชิกของธนาคารที่ทำต้นไม้
  • กิจกรรมสาธิตและชิมได้ทำให้แกนนำกลุ่มวานีตามีความภาคภูมิใจต้นไม้ที่หลากหลายในพื้นที่ของตนเอง
  • แกนนำกลุ่มวานีตาที่เข้าร่วมมีการเรียนรู้ทักษะการออกบู๊ธนิทรรศการเพื่อเผยแพร่เพิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตา และผู้ประสานงาน จำนวน 3 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การประสานงานในการจัดนิทรรศการน้อยจึงทำให้การเตรียมในพื้นที่มากเพื่อนำมาเผยแพร่แต่ไม่สามารถทำได้เต็มที เช่น พื้นที่การจัดบู๊ธน้อยเกินไป เป็นต้น
  • ควรมีการจัดกิจกรรมเป็นพื้นที่ระดับจังหวัดในการนำเสนอโครงการทุกชุมชนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาระดับภาคต่อไป
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ติดตามโครงการ14 สิงหาคม 2558
14
สิงหาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย nimon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้ต้นไม้ และทักษะการสื่อสาร

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

พื้นที่ได้พัฒนาทักษะด้านการสือสารแนะนำเชิงท่องเที่ยว เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู่ร่วมกัน เพื่อสร้างการร่วมมือร่วมใจให้เกิดเป็นหมู่บ้านแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และภููมิปัญยาชาวบ้านด้านสมุนไพรและต้นไม้ ที่อยู่ในพื้นที่ โดยเน้นการเล่าเรื่องสิ่งที่มีคุณค่าในพื้นที่ หรื่อสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวรอบบ้านหรือรอบป่า ในอดีตสู่ปัจบันเป็นการสร้างการเล่าเรื่องจนเกิดเป็นตำนานบ้านวังกระบือ ตั้งแต่ ประวัติความเป็นมาในอดีดจนถึงปัจจุบัน การใช้สมุนไพร อาหารพื้นบ้าน และผลิตภัณฑ์จากป่าที่เพาะเพิ่มนำคืนสู่ป่า การสร้างป่าและการร่วมสร้างป่า
การสร้างงบกองทุนเพื่อพัฒนาและบริหารการท่องเที่ยวของชุมชน  และร่วมคิดให้งบประมาณของกองทุนเพิ่ม 

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เกิดเกิดกระบวนร่วมทำรวมคิดชองคณะทำงานร่วมกับแกนนำคนรักต้นไม้ และกลุ่มวานีตา ผู้นำชุมฃนสมาชิก "บ้านน่าอยู่ รั้วกินได้ -กองทุนเพื่อพัฒนาและบริหารการท่องเที่ยวของชุมชนซึ่งสามารถพัฒนาเพิ่มงบประมาณด้วยชุมชน -เกิดรูปแบบการสือสารเชิงท่องเที่ยวด้วยการเล่าเรื่อง เล่าตำนาน -เกิดสมาชิก "บ้านน่าอยู่รั้วกินได้" 15 หลังคาเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 36 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มวานีตา  สมาชิก "บ้านน่าอยู่ รั้วกินได้ ) และสมาชิกสภาคนรักต้นไม้ 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • การสร้างความเข้าใจเพื่อให้ครัวเรือน ร่วมเป้นสมาชิก บ้านน่าอยู๋รั้วกินได้ อาจใช้กระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน โดยคณะทำงาน กลุ่มวานีตา ครัวเรื่อนบ้านน่าอยู่รั้วกินได้ เยียมเยียนบ้านและชักชวนครัวเรือนเป็นรายครัวเรื่อน ร่วมพูดคุยเป็นวงสนทนาเล็กค้นหาปัญหา และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกิดเป็นข้อมูลรายครัวเรือน ของแต่ละบ้าน แล้วรวมกันคุยเป็นวงสนทนาใหญ่ของหมู๋บ้านเพื่อร่วมกันแก้ในภาพรวมต่อไป
กิจกรรมอบรมความรู้ต้นไม้ และทักษะการสื่อสาร ครั้งที่ 214 สิงหาคม 2558
14
สิงหาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้ต้นไม้ และทักษะการสื่อสาร
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีการอบรมเพื่อให้แกนนำกลุ่มมีความมั่นใจในการสื่อสาร โดยแนะนำให้สมาชิกทุกคนมีความมั่นใจในการนำเสนอข้อมูลของหมู่บ้าน ประวัติของหมู่บ้าน และของดีในชุมชน
  • มีการพูดคุยเพื่อให้สมาชิกที่เข้าร่วมอบรมมีความรู้สึกร่วมในการพัฒนาชุมชนตนเองเพื่อให้คนมาเที่ยว โดยนำหลักการของ CBT หรือการท่องเที่ยวโดยชุมชนมาใช้
  • วิทยากรของการอบรม คือ นายมูฮามะบักรี ลือบาฮางุ นักวิชาการพัฒนาชุมชนจากอำเภอสุคิริน ได้ร่วมแลกเปลี่ยนให้คนเข้าร่วมอบรมได้รับความรู้จากประสบการณ์ของชุมชนจุฬาภรณ์ที่กำลังพัฒนาเป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน โดยพูดถึงความหลากหลายของชุมชนซึ่งมีลักษณะเหมือนกันคือ มีทรัพยากรในพื้นที่ได้แก่ ความรู้การใช้พืชสมุนไพร อาหารพื้นบ้านและผลิตภัณฑ์จากป่าา ซึ่งเหป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาให้เกิดการท่องเที่ยวโดยชุมชนได้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำกลุ่มวานีตาได้ทักษะความรู้เพิ่มขึ้นในการสื่อสารสิ่งที่มีอยู่ใกล้ตัว ได้แก่ ข้อมูลหมู่บ้าน ประวัติชุมชน ซึ่งจากเดิมไม่ใครสนใจ และมีการเล่าเรื่องในอดีตจากผู้ใหญ่สู่เยาวชน
  • วิทยากรได้สนับสนุนค่าวิทยากรให้กับชาวบ้านเพื่อให้ชาวบ้านมีเงินกองกลางในการพัฒนาหมู่บ้านโดยสามารถนำมาเป็นเงินสำรองเพื่อใช้ในการรับนักท่องเที่ยวในอนาคตซึ่งทำให้ชาวบ้านมีความตระหนักที่จะให้สมาชิกทุกคนในหมู่บ้านได้มีส่วนร่วมในการบริหารเงินกองกลางให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชน และร่วมหาแนวทางให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย จึงเป็นแนวทางการพึ่งตนเองของชุมชนที่ดี
  • เกิดสมาชิก "บ้านน่าอยู่รั้วกินได้" เพิ่มจากเดิม จำนวน 5 หลัง เพิ่มเป็น 10 หลัง ซึ่งเป็นบ้านที่อยู่ชุมชนของแวกูบา จึงทำให้สมาชิกมีทั้งหมด 15 หลัง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 33 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตาชุมชนแวกูบา และสมาชิกสภาคนรักต้นไม้ จำนวน  28 คน
  • แกนนำเยาวชน จำนวน 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • สมาชิกบ้านน่าอยู่รั้วกินได้ ไม่สามารถตามเป้าหมายได้เนื่องจากสภาพแวดล้อมของสมาชิกแต่บ้านไม่สามารถพัฒนาได้ทั้งหมด 20 หลังที่เดียว เนื่องจากชาวบ้านยังขาดความเข้าใจและความมั่นใจในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นต่อบ้านตนเอง และกล้วหลักเกณฑ์ต่างๆของโครงการฯ จึงทำให้การพัฒนาบ้านให้น่าอยู่จึงเป็นกิจกรรมที่จะต้องทำเป็นชุมชนละแวกใกล้เคียงร่วมกันทำมากกว่าบ้านเดี่ยว
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมให้ความรู้ทักษะการสื่อสาร และทำชุดความรู้บ้านตัวอย่าง ครั้งที่113 สิงหาคม 2558
13
สิงหาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ชุมชนได้มีความรู้ และทักษะการสื่อสารเพื่อพัฒนาเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • อบรมให้ความรู้การพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเบื้องต้น จากหน่วยงานททท.จังหวัดนราธิวาส โดยมีการเปิดโอกาสให้สมาชิกบ้านน่าอยู่รั้วกินได้ได้แก่ ชุมชนโละจูด จำนวน 3 ครัวเรือน ได้แก่ เมาะมีเนาะ บ้านเมาะซู และบ้านอาแซ ซึ่งเป็นบ้านที่มีการผลิตต้นไม้จำหน่ายพร้อมกับปลูกพืชรอบบ้านกินได้  ส่วนชุมชนแวกูบา มีจำนวน 5 หลังคาเรือน ได้ผลิตต้นไม้รวมที่ศูนย์เรียนต้นไม้บ้านเมาะเต๊ะห์ เป็นแหล่งรวบรวมต้นไม้หายาก และต้นไม้ที่จำหน่ายอีกด้วย
  • มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากผู้นำชุมชน คือ ศุภโยค ลอดิง รองนายกเทศบาลบูเก๊ะตาในการพัฒนาพิพิธภัณฑ์โละจูดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
  • ชาวบ้านมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จุดแข็งจุดอ่อนของชุมชนในการพัฒนาหมู่บ้านวังกระบือเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ในอนาคต
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นายมูซา ยะโกะ วิทยากรจากหน่วยงานททท.จังหวัดนราธิวาส ได้ให้ความรู้การพัฒนาชุมชนตามหลังของ CDT อย่างง่ายๆ หรือการพัฒนาชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่สำคัญคือ ชุมชนต้องเข้มแข็ง
  • ผู้เข้าร่วมอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จุดแข็งจุดอ่อนของชุมชนวังกระบือในการพัฒนาเป็นชุมชนท่องเที่ยวได้แก่  จุดแข็ง ชุมชนวังกระบือ มีต้นสมุนไพรที่หลาก มีอาหารพื้นบ้านที่โดดเด่นแปลก มีสถานที่สมัยก่อนเรียกว่า "ลาตอรายอ" ซึ่งเป็นน้ำตกเล็กๆที่สมึยโบราณเป็นที่พักข้างทางของกษัตริย์อาณาจักรปัตตานี เป็นต้น
  • มีการจัดทำป้ายชื่อต้นไม้ซึ่งได้มอบให้กับสมาชิก "บ้านน่าอยู่ รั้วกินได้" จำนวน 50 ป้าย ซึ่งระบุชื่อต้นไม้ และสรรพคุณของต้นไม้เพื่อให้ความรู้แก่ผู้มาเยือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 54 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • สมาชิกสภาคนรักต้นไม้ 30 คน และแกนนำวานีตา 23 คน โดยเป็นสมาชิกบ้านน่าอยู่ รั้วกินได้จาก 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนแวกูบา และโละจูด
  • ผู้นำชุมชน 1 คนได้แก่ รองนายกเทศบาลตำบลบูเกะตาที่เปิดพิพิธภัณฑ์โละจูดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวในพื้นที่ตั้งอยู่ทางเข้า่ชุมชนวังกระบือ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ค่ายกายูมิมปี..สานฝันรักต้นไม้ของเยาวชนบ้านวังกระบือ31 กรกฎาคม 2558
31
กรกฎาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้เยาวชนวังกระบือได้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่นผ่านห้องเรียนธรรมชาติ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แกนนำเยาวชนวังกระบือเข้าร่วมค่ายเรียนรู้ธรรมชาติในป่าฮาลา-บาลา โดยผ่านกิจกรรมเดินป่า ดูนก และศิลปะจากใบไม้เพื่อให้เยาวชนได้สัมผัสป่าที่สมบูรณ์และธรรมชาติที่หลากหลาย
  • จัดกิจกรรมเรียนรู้พืชสมุนไพร และการทำสบู่จากใบไม้โดยวิทยากรจากกลุ่มวานีตาซึ่งได้รับความสนใจจากเยาวชนเป็นอย่างมาก
  • องค์กรเยาวชนที่เข้าร่วมเป็นวิทยากร ได้แก่ กลุ่มยังยิ้ม กลุ่มวาบูแล มีความรู้ความสามารถที่สามารถสร้างให้เด็กได้แสดงความสามารถในการกล้าแสดงออก
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เยาวชนวังกระบือสามารถแลกเปลี่ยนความรู้กับเยาวชนนอกหมู่บ้านผ่านกิจกรรมธรรมชาติห้องเรียนธรรมชาติของป่าบาลา ซึ่งมีผลทางด้านความหลากหลายของทักษะต่างๆของเยาวชนในแต่ละชุมชนที่สื่อสารเป็นความรู้สึกร่วมของเยาวชนตำบลโละจูด โดยมีกิจกรรมเยาวชนของวังกระบือเป็นตัวประสาน
  • มีกิจกรรมปลูกต้นไม้ จำนวน4 ต้นบริเวณเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลาเพื่อเป็นสัญลักษณ์ให้เยาวชนได้ดูแลป่า รักต้นไม้ซึ่งเป็นกิจกรรมเด็กๆในชุมชนสามารถเข้ามาดูแลต้นไม้ได้
  • มีการเรียนรู้สมุนไพรจากวิทยากรกลุ่มวานีตา โดยทำสบู่จากพืชสมุนไพรในท้องถิ่นซึ่งสร้างน่าสนใจใหักับเยาวชนและความภูมิใจของกลุ่มวานีตา
  • กลุ่มเยาวชนที่เข้าร่วมส่วนหนึ่งเป็นน้องๆเยาวชนจากค่ายกายูมิมปี ปี 2556 ซึ่งเรียกร้องอยากเข้าร่วมกิจกรรมต่อเนื่อง และมีการต้งเป็นชมรม "เยาวชนกายูมิมปีตำบโละจูด"
  • กิจกรรมมีความหลากหลายในการนำสื่อจากธรรมชาติมาใช้เป็นฐานเรียนรู้ โดยมีกลุ่มองค์กรเยาวชนอิสระได้แก่ กลุ่ม "ยังยิ้ม" และกลุ่มวาบูแล ที่สร้างความสนุกให้กับเด็กๆในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีส่งผลให้มีการเรียกร้องต้องการมีกิจกรรมค่ายต่อเนื่อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 82 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย
  • ได้นำเยาวชนวังกระบือ จำนวน 23 คน เข้าร่วมกิจกรรม และเยาวชนจากชุมชนใกล้เคียงซึ่งเป็นลูกหลานกลุ่มวานีตา ได้แก่ ชุมชนสะบือรัง ละหาร บาลา และบูเกะตาหมู่บ้านใกล้เคียงจำนวน 40 คน
  • มีแกนนำกลุ่มวานีตาเข้าร่วมเป็นวิทยากร และเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน7 คน
  • มีจนท.เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา- บาลา เข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยงและวิทยากรบรรยายความรู้จากป่า จำนวน 5 คน
  • มีจนท.ศูนย์วิจัยสัตว์ป่า ป่าพรุ ป่าฮาบา-บาลา เข้าร่วมเป็นวิทยากรจัดกิจกรรมฐานหล่อรอยเท้าสัตว์ป่า จำนวน 2 คน
  • มีกลุ่มเยาวชน "ยังยิ้ม" กลุ่มวาบูแล และกลุ่ม พิราบขาวชายแดนใต้ เข้าร่วมเป็นพี่เลี้ยงและวิทยากร จำนวน 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นิมลต์ หะยีนิมะ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ลงตืดตามพื้นที่ดำเนินงานโครงการและถ่ายทำวิดีโอร่วมกับทีมสจรส10 มิถุนายน 2558
10
มิถุนายน 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย nimon
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดจามการดำเนินการโครงการและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

สาปีนะห์ แมงสาโมง ผู้รับผิดชอบ โครงการธนาคารต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านสาขาชุมชนวังกระบือเล่าถึงโครงการและกิจกรรมการดำเนินการตามโครงการ ซึ่งอยากให้พื้นที่กลับไปใช้ภูมิปัญญาดั้งเดิมของชุมชน ซึ่งพื้นที่ห่างไกล การเข้าถึงหมอลำบาก ที่จะต้องพึ่งตนเองได้ด้วยสมุนไพรในชุมชน ร่วมกับการอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน โดยการจัดตั้งธนาคารต้นไม้เพาะขยายพันธุ์พืชสมุนไพรพื้นบ้านเป็นอาหารและยา โดยมีสภาผู้นำชุมชนขับเคลื่อนโครงการ และสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านวังกระบือโดยกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความรู้การใช้พืชสมุนไพรหลังคลอด รวมถึงการพัฒนาชุมชนน่าอยู่โดยทำให้ทางเข้าหมู่บ้านให้น่าอยู่ด้วยป้ายสื่อความหมายพืชสมุนไพร รวมถึงพื้นที่ได้แสดงตัวอย่างการจัดทำชุดความรู้ โดยแกนนำวานีตาชุมชนวังกระบือ และสภาชุมชนคนรักต้นไม้วังกระบือ ช่วยกันเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ สมุนไพรพื้นบ้าน มาอัดเพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูลเพื่อรวบรวมเป็นเล่มเพื่อถ่ายทอดไปสู่โรงเรียน ตัวอย่างเช่นชุดความรู้พืชผักกินได้ที่โครงการทำการสำรวจพบในชุมชนเช่นซาเมาะปือดะห์ กูเล็งอากา จอแบ ส่วนพืชสมุนไพร ได้แก่ กะจิตีเมาะ หะยีสาเมาะ ซูซงอาแยฮุแต เป็นต้นจากการเดินทางลงพื้นที่หมู่บ้านโดยเดินไปตามเส้นทางต้นไม้ของหมู่บ้านและเข้าบ้านสมาชิก"บ้านน่าอยู่ รั้วกินได้" พบสมุนไพรรอบบ้าน จำนวน 25 ชนิด ไม้กินได้ เช่น ต้นสาเม๊าะ ผักหวานช้าง พองนีเล็ง ญากง ต้นจอแบ ต้นตด ขณะที่พบพืชสมุนไพรที่หายาก เช่น ต้นหะยีสามะ ต้นกะจิตีเมาะ ต้นซูซงอาแยฮูแต ต้นปลาไหลเผือก ต้นกุเล็งอากา และชุมชนได้ร่วมกันจัดตั้งธนาคารต้นไม้ มีการ รวบรวมต้นไม้เอาไว้ 2 ส่วน คือ ที่บ้านอาสาสมัครและข้างศาลาชุมชนวังกระบือ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-เกิดชุดความรู้พืชผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพร ของชุมชนด้วยภูมิปํญญาของชุมชน โดยการอัดแห้ง -เกิดจัดทำแผนที่ทำมือคนรักต้นไม้ "บ้านวังกระบือ"ด้านสมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนรอบป่าโดยผ่านเส้นทางศึกษาธรรมชาติ -เกิดธนาคารต้นไม้ชุมชนโดยชุมชน2 ส่วน คือ ที่บ้านอาสาสมัครและข้างศาลาชุมชนวังกระบือ
-เกิดกระบวนร่วมทำรวมคิดชองคณะทำงานที่ประกอบด้วยแกนนำคนรักต้นไม้ และกลุ่มวานีตา ผู้นำชุมฃน
-เกิดกระบวนการเรียนรู้ สืบถอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการใช้พืชสมุนไพรพื้นบ้านวังกระบือโดยกลุ่มผู้สูงอายุ และปราชญ์ชาวบ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการกลุ่มผู้สูงอายุที่มีความรู้การใช้พืชสมุนไพรหลังคลอด คุณสมพงษ์รักษาศรี จากสถานีทดลองปลูกพรรณไม้พิกุลทอง สมาชิกวานีตาวังกระบือ ทีมพืี่เลี่ยง และทีมสจรส

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-การสร้างกระบวนร่วมทำรวมคิดชองคณะทำงานที่ประกอบด้วยแกนนำคนรักต้นไม้ และกลุ่มวานีตา ผู้นำชุมฃน ให้มีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และควรถอดบทเรียนในแต่ละกิจกรรมร่วมกันเพื่อนำสู่แผนต่อไป ให้เกิดสภาชุมชนขับเคลื่อนชุมชน -เกิดจัดทำแผนที่ทำมือคนรักต้นไม้ "บ้านวังกระบือ"ควรมีการปรับปรุงให้คงทนและประกาศให้ชุมชนรับรู้และสร้างเป็นพื้นที่เรียนรู้ในชชุมชนรวมถึงการนำชุดความรู้พืชผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพร
-การใช้สมุนไพร ของผู้สูงอายุ จะมีสูตรที่ไม่เหมือนกันรักษาโรคเดียวกัน แต่คนละสูตร กันทั้งเรื่องของวัตถุดิบ การปรุงส่วนนี้ยังไม่ได้มีการเก็บข้อมูลในเชิงประจักษ์ เราน่าจะมีการเรียนรู้ในลักษณะของหลักสูตรท้องถิ่น -การนำตัวอย่างกลุ่มบ้าน ระดับแนวหน้าที่มีอยู่ ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ชุมชนสู่การเพิ่มขนาดกลุ่มบ้าน -เกิดจัดทำแผนที่ทำมือคนรักต้นไม้ "บ้านวังกระบือ"ควรมีการปรับปรุงให้คงทนและประกาศให้ชุมชนรับรู้และสร้างเป็นพื้นที่เรียนรู้ในชชุมชนรวมถึงการนำชุดความรู้พืชผักพื้นบ้านและพืชสมุนไพร
-การใช้สมุนไพร ของผู้สูงอายุ จะมีสูตรที่ไม่เหมือนกันรักษาโรคเดียวกัน แต่คนละสูตร กันทั้งเรื่องของวัตถุดิบ การปรุงส่วนนี้ยังไม่ได้มีการเก็บข้อมูลในเชิงประจักษ์ เราน่าจะมีการเรียนรู้ในลักษณะของหลักสูตรท้องถิ่น -การนำตัวอย่างกลุ่มบ้าน ระดับแนวหน้าที่มีอยู่ ที่สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ชุมชนสู่การเพิ่มขนาดกลุ่มบ้าน

ประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มวานีตา ครั้งที่ 31 มิถุนายน 2558
1
มิถุนายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อติดตามการดำเนินกิจกรรมธนาคารต้นไม้ผ่านกลุ่มวานีตา - เพื่อขยายสมาชิกกลุ่มวานีตาในพื้นที่วังกระบือ(แวกูบา)
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • กลุ่มวานีตาของพื้นที่ "แวกูบา" ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มวานีตาใหม่ได้ร่วมกันทำขนมจากสีผสมอาหารจากใบไม้ในพื้นที่
  • สมาชิกของชุมชนร่วมกันปลูกต้นไม้ในบริเวณมัสยิด
  • แกนนำกลุ่มวานีตาได้มีการพูดคุยการนำผลิตภัณฑ์จากป่าของชุมชน"แวกูบา" ได้แก่น้ำผึ้ง เพื่อพัฒนาแพ็คเก็จใหม่ออกจำหน่าย 
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนได้ร่วมกันปลูกต้นไม้ในบริเวณมัสยิดโดยนำต้นไม้จากธนาคารเพื่อสร้างความร่มรื่นในชุมชน จำนวน 100 ต้น  ซึ่งปลูกในพื้นที่เดิมที่ไม่มีการใช้ประโยชน์โดยใช้แนวคิดปลูกเพื่อเยาวชนรุ่นหลังไม่ให้ตัดไม้จากป่า
  • กลุ่มวานีตาเดิมได้ร่วมพูดคุยกับสมาชิกกลุ่มวานีตาและมีการวางแผนร่วมกันในการนำผลิตภัณฑ์ของชุมชนรอบป่าแวกูบาออกจากจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิก
  • สมาชิกกลุ่มวานีตาได้เรียนรู้สีผสมอาหารจากใบไม้ในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 27 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตา 7 คน - สมาชิกใหม่กลุ่มวานีตาชุมชนแวกูบา จำนวน 12 คน
  • สมาชิกสภาคนรักต้นไม้ของวังกระบือ 8 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นิมลต์หะยีนิมะ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เบิกค่าเงินเปิดบัญชี22 พฤษภาคม 2558
22
พฤษภาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเบิกเงินเปิดบัญชีโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เบิกเงินค่าเปิดบัญชี เป็นเงิน 500 บาท
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เบิกเงินค่าเปิดบัญชี เป็นเงิน 500 บาท
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมนิเวศน์วิทยาต้นไม้ ครั้งที่ 225 มีนาคม 2558
25
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ พืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่อฟื้นฟูให้มีการใช้ประโยชน์ และอนุรักษ์ทรัพยากรด้านความรู้ภูมิปัญญาพืชสมุุนไพร
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้การใช้พืชสมุนไพรหลังคลอดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ประโยชน์จากพืชในอดีต
  • มีการเล่าเรื่องราวในอดีตของตำบลโละจูดที่เชื่อมโยงความสัมพันธุ์ระบบเกื้อกูลของชุมชนวังกระบือกับพื้นที่อื่นๆในตำบล
  • ได้บันทึกการใช้สมุนไพรหลังคลอดที่มีการใช้พืชสมุนไพรหลัง จำนวน 26 ชนิด
  • สมาชิกได้นำเมล็ดพันธุ์ของพืชกินได้ดั้งเดิมมาแลกเปลี่ยนกัน โดยให้ผู้ที่สนใจนำเมล็ดพันธุ์มาเพาะขยายเป็นผักพื้นบ้านที่ปลูกริมริ้ว
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การพูดคุยไม่เป็นทางการคือการพูดคุยเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอายุผู้หญิงได้เล่าวิธีการดูแลสุขภาพหลังคลอดสมัยโบราณจึงพบว่า ไม่ใช่เพียงแค่พืชใบไม้เท่านั้นที่นำมาดื่ม ประคบ ในช่วง 40 วันหลังคลอด ยังต้องมีการนั่งถ่าน ตูกู(ประคบด้วยหิน) แล้วนำหินที่เผาไฟมาแช่น้ำดื่มเพื่อให้หน้าท้องแบนเรียบ และบำรุงมดลูกจึงได้มีการบันทึกและเล่าสู่กันฟังให้กับผู้หญิงที่คลอดสมัยใหม่ซึ่งทำให้กลุ่มผู้หญิงดังกล่าวมีวิธีการดูแลสุขภาพที่หลากหลายเพื่อเป็นทางเลือกมากขึ้น
  • การแลกเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์เกิดจากการภายหลังที่มีการอบรมนิเวศวิทยาต้นไม้นั้นที่มีประชุมได้หาแนวทางการนำพืชผักพื้นบ้านในอดีตมาปลูกใหม่โดยสมาชิกบางบ้านที่มีการเก็บเมล็ดพันธุ์ต่างๆก็จะมาแจกเพื่อให้มีการขยายพันธุ์ในชุมชน
  • บันทึกพืชสมุนไพรหลังคลอดที่สำคัญ ได้แก่ บันตึงบือแน อีซีกือมอแย ขมิ้น จูโว๊ะ(ประคบ) ต้นกาโปบาโร๊ะ ยามาโรฮางุห์ เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 48 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานกลุ่มวานีตา 7 คน และแกนนำวานีตาวังกระบือ 18 คน
  • สภาชุมชนคนรักต้นไม้บ้านวังกระบือ 23 คน 
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • สภาพอากาศร้อน แห้งแล้ง น้ำน้อย จึงทำให้การเพาะต้นไม้ และการเพาะเมล็ดในช่วงฤดูร้อนทำให้เมล้ดพันธุ์ตายง่ายและต้องดูแลให้น้ำเป็นพิเศษ จึงทำให้สมาชิกสนใจน้อย และรอให้ถึงช่วงฝนค่อยไปปลูก
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมนิเวศวิทยาต้นไม้ฯ ครั้งที่ 124 มีนาคม 2558
24
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ พืชสมุนไพรพื้นบ้านเพื่ออนุรักษ์พันธุกรรมพืชในท้องถิ่น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คุณสมพงษ์  รักษาศรี จากสถานีทดลองปลูกพรรณไม้พิกุลทอง ซึ่งมีหน่วยผลิตต้นไม้และที่ทำการอยู่ที่ป่าพรุโต๊ะแดงได้เข้ามาอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ที่สำคัญโดยเน้นถิ่นอาศัยของต้นไม้ของชุมชนรอบป่า โดยบรรยายถึงโครงสร้างป่าให้ชาวบ้านได้เข้าใจแบบง่ายๆ และมีการพูดคุยความสำคัญของพรรณไม้กลุ่มพืชสมุนไพร
  • คุณมะยาลี มะดาโอะ กำนันตำบลโละจูดได้สนับสนุนการริเริ่มของธนาคารต้นไม้ของชุมชนวังกระบือที่เน้นพืชสมุนไพรที่กินได้ซึ่งแต่เดิมในชุมชนวังกระบือมีถึงเกือบ 100 ชนิดแต่ปัจจุบันมีให้เราฟื้นฟูและร่วมอนุรักษ์เพียง 10 กว่าชนิดเท่านั้น
  • คุณสมพงษ์ รักษาศรี ได้เดินทางลงพื้นที่หมู่บ้านโดยเดินไปตามเส้นทางต้นไม้ของหมู่บ้านและเข้าบ้านสมาชิก"บ้านน่าอยู่ รั้วกินได้" พบต้นไม้ชนิดใหม่หลายชนิดที่ยังไม่มีการจำแนก เช่น ต้นนีเล็ง ต้นกือโต๊ะผลสีขาว เป็นต้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การลงพื้นที่ของวิทยากรในหมู่บ้านพบว่า ลักษณะของหมู่บ้านวังกระบือเป็นหมู่บ้านที่มีพืชสมุนไพรขึ้นเป็นธรรมชาติ โดยชาวบ้านมีการเก็บพืชผักพื้นบ้านเหล่านี้มาเป็นอาหารและยาในสมัยอดีตก็ยังพบอีกมาก  แต่ความรู้เหล่านี้ไม่ได้รับการสืบทอดโดยการจดบันทึก เล่าต่อสู่เยาวชนจึงเป็นที่น่าเสียดาย และได้มีการแนะนำว่าหากมีกิจกรรมเส้นทางศึกษาธรรมชาติในพื้นที่หมู่บ้านก็สามารถทำได้ โดยปรับปรุงสิ่งที่มีตามธรรมชาติมาจัดระบบข้อมูลสื่อความหมายให้น่าสนใจมากขึ้น
  • การจำแนกชื่อพรรณไม้ในพื้นที่ภาคใต้ยังไม่มีนักวิชาการทำเป็นหนังสือเพื่อรวบรวมเป็นข้อมูลที่สมบูรณ์ จึงทำให้ต้นไมในพื้นที่ชุมชนยังมีการสำรวจน้อยมากจึงทำให้ต้นไม้หลายชนิดน่าจะเป็นต้นใหม่ที่ยังขาดฐานข้อมูลอยู่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานกลุ่มวานีตา 7 คน และสมาชิกวานีตาวังกระบือ 12 คน
  • สภาชุมชนคนรักต้นไม้วังกระบือ 28 คน
  • ภาคีเครือข่ายในพื้นที่ 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่าและทำแผนที่ทำมือ ครั้งที่ 221 มีนาคม 2558
21
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ชุมชนได้เรียนรู้วิถีชีวิตการพึ่งพิงป่าและร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีการพูดคุยเรื่องการปลูกป่าเสริมในพื้นที่วังกระบือโดยมีการประสานจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฯในการสนับสนุนพันธุ์ไม้ คือต้นตะเคียนให้กับผู้เข้าร่วมอบรม
  • ลงพื้นทีชุมชนรอบป่าเพิ่มเติม โดยมีการเล่าความเป็นมาของพื้นต้นน้ำที่ไหลจากป่าของหมู่บ้านวังกระบือมายังหมู่บ้านโละจุด
  • ผู้เข้าร่วมอบรมได้นำต้นตะเคียนที่ได้รับการสนับสนุนจากเขตไปปลูกในบริเวณพื้นที่สวนของตนเอง และพื้นที่สาธารณะ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การอบรมให้ความรู้เรื่องการสร้างเอกลักษณ์ชุมชนรอบป่า สมากชิกแกนนำได้นำเสนอต้นไม้ในอดีตที่หายไป ซึ่งเป็นการสูญเสียทรัพยากรที่ช่วยในการรักษาป่าให้สมบูรณ์และยังยึดดินมิให้พังทะลาย เช่น ต้นมะเดื่อริมคลอง ต้นตะเคียนต่างๆ ต้นหลุมพอ กุหลิม จึงมีการแนะนำให้สมาชิกธนาคารนำต้นไม้ปลูกเสริมในแปลงของตนเองเพื่อเพิ่มความหลากหลายโดยป้องกันการบุกรุกป่าเพื่อตัดต้นไม้ในการใช้ประโยชน์ในอนาคต จึงมีการนำต้นตะเคียนที่สนับสนุนจากหน่วยป่าไม้ที่พยายามให้รณรงค์ให้ชาวบ้านได้ปลูกเสริมแต่ไม่ได้รับความสนใจเนื่องจากใช้ระยะเวลานาน  แต่เมื่อได้ผ่านการอบรมเป็นสมาชิกของธนาคารฯ มีผู้สนใจปลูกเพิ่มโดยได้รับจากพันธุ์ไม้ จำนวน 600 ต้น มีผู้สนใจปลูก 50 คน 38 ครัวเรือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • สมาชิกแกนนำกลุ่มวานีตาวังกระบือ จำนวน 12 คน
  • แกนนำสมาชิกสภาคนรักต้นไม้ จำนวน 35 คน
  • แกนนำคณะทำงานกลุ่มวานีตา 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ติดตามและแลกเปลียนความคิดกับชุมชนเกียวกับโครงการ และทบทวนเป้าหมายและกระบวนการของโครงการ การรักษาพืขพันธ์ไม้ ปัญหาอุปสรรค ร่วมกับ อบรมให้ความรู้การสร้างชุมชนน่าอยู่ด้วย ด้วยเอกลักษณ์ ชุมชนรอบปา20 มีนาคม 2558
20
มีนาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย nimon
circle
วัตถุประสงค์

ติดตามความก้าวหน้าโครงการ และสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมคิดร่วมทำ และ เพื่อให้ชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า และมีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน - เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานในระดับชุมชนของพื้นที่ชุมนรักป่าบ้านวังกระบือ กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การชี้แจงและร่วมแลกเปลี่บนเรียนรู้กระบวนการจัดการชุมชนด้วยการ ด้วยการดูวิดีโอ การการชุมชนเข้มแข็ง และร่วมวิเคราะห์ชุมชน ดเวยกระบวนการร่วมคิดร่วมทำจากหลายภาคส่วนทั้ง ผู้นำชุมชน แกนนำต่างๆ คนในชุมชนทุกคน จนผลักดันให้เกิดสภาชุมชนเพื่อแก้ไขป้ญหา ทำให้ชุมชนรับรู้กระบวนการ และแสดงความกระตือรือร้นที่จะร่วมมือ และชักชวนคนในชุมชนมาร่วมจัดการแบบบ้านต่อบ้าน ตวมถึงได้ แสดงความคิดเห็นและตั้งคำถาม เช่น การตั้งธนาคารต้นไม้ พบปัญหาอุปสรรคด้านสถานที่ คับแคบ ที่ปนะชุมได้ร่วมคิด จนเกิด รูปแบบการตั้งธนาคารเริ่มมี่ครัวเรือน ขยายจนเกิดธนาคารต้นไม้ในชุมขน เป็นต้น  จากนั้น ตีอด้วย การอบรมความรู้เกี่ยวกับป่าจาก เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ทำให้ชาวบ้านมีความเข้าใจประเด็นต่างๆได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยหลักวิชาการมากนัก เช่น ชาวบ้านมีการตั้งคำถามว่าทำไมหมูในป่ามาทำลายสวนของชาวบ้าน จึงทำให้รู้ว่าเลยว่าป่าที่มีการบุกรุกจนทำให้ห่วงโซ่อาหารเสียหายมาก นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ยังแนะนำให้ชาวบ้านร่วมการปลูกต้นไม้ใหญ่ที่กำลังจะหมดจากป่า เช่น ตะเคียนทอง ตะเคียนชันตาแมว ซึ่งแต่เดิมเคยมีอยู่เยอะมากในป่าบริเวณแห่งนี้ และเป็นต้นไม้ที่เหมาะสมกับสภาพอากาส และสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านแม้จะต้องใช้เวลา 30 ปี จึงได้เสนอให้เจ้าหน้าที่เขตนำต้นตะเคียนให้ชาวบ้านที่สนใจปลูกแซมในสวน โดยได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนเกิดการรับรู้โครงการ และการใช้กระบวนการร่วมคิกร่วมทำตสมกิจกรรม ดึงชุมชน รักและดูแลป่า  รักษาห่วงโซ่อาหารด้วยการ ปลูกปา แซม ในสวน เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า
เกิดกระบวนแลกเปลี่ยน ความคิดเห็น เพื่อดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

แกนนำกลุ่มวานีตา 5 คน แกนนำวานีตาวังกระบือ 10 คน สมาชิกสภาคนรักต้นไม้ /ผู้นำชุมชน/เจ้าหน้าที่อบต./เจ้าหน้าที่ป่าไม้ จำนวน 37 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การบรรยาย เป็นภาษาไทย ประชาชน บางคนที่เป็นผู้สูงอายุ ฟังภาษาไทยไม่ได้ ไม่เข้าใจ แก้ไขโดย มีล่าม บรรยาย 2 ภาษาในการอบรมครั้งต่อไป  แบะควรให้ ชุมชน รับประทานข้าวให้เสร็จสิ้นก่อนบรรยาย เพื่อสรเางบรรยากาศการชี้แจงและอบรมท่มีประสิทธภาพ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

กำหนดล่าม กรณีวิทยาไม่สามรถบรรยายภาษามลายู หรือเลือกวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถที่สามารถบรรยายด้วยภาษามลายู และจัดพื้นที่ที่เหมาะสม ไม่ร้อนเกินไปสำหรับผู้เข้าร่วมประชุม

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า ครั้งที่ 120 มีนาคม 2558
20
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ชุมชนมีความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ป่า และมีการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน - เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานในระดับชุมชนของพื้นที่ชุมนรักป่าบ้านวังกระบือ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีการชี้แจงโครงการจากพี่เลี้ยงของ สจ.รส. คือ คุณนิมล หะยีนิมะ
  • มีการอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับป่าของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา
  • มีการซักถามเรื่องแนวเขตป่า การแลกเปลี่ยนความรู้การใช้ประโยชน์จากป่า ในด้านการใช้ประโยชน์ของป่าจากเจ้าหน้าที่ป่าไม้
  • มีการนำแผนที่ทำมือของชุมชนเพื่อเรียนรู้แนวเขตป่า
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การชี้แจงของพี่เลี้ยง สจ.รส.ทำให้ชาวบ้านมีการตั้งคำถามประเด็นที่ชุมชนไม่มีพื้นที่ในการผลิตต้นไม้ที่ต้องใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ ซึ่งที่ประชุมมีการหารือโดยใช้แนวทางแก้ไขการใช้พื้นที่ระเบียงของสมาชิกของชาวบ้านในการวางต้นไม้ เป็นต้น จึงทำให้เห็นว่าพี่เลี้ยงสจ.รส.ได้ชี้แจงโครงการทำให้ชาวบ้านเข้าใจและเห็นภาพการทำงานที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในชุมชน และไม่ควรคิดการทำพื้นที่ตรงกลางให้ใหญ่แต่ให้เริ่มเล็กที่ทุกคนร่วมกันทำก็จะทำให้เป็นภาพขนาดใหญ่ที่มั่นคงกว่า เป็นต้น
  • การอบรมความรู้เกี่ยวกับป่าจาก เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าฮาลา-บาลา ทำให้ชาวบ้านมีความเข้าใจประเด็นต่างๆได้ง่ายขึ้น โดยไม่ต้องอาศัยหลักวิชาการมากนัก เช่น ชาวบ้านมีการตั้งคำถามว่าทำไมหมูในป่ามาทำลายสวนของชาวบ้าน จึงทำให้รู้ว่าเลยว่าป่าที่มีการบุกรุกจนทำให้ห่วงโซ่อาหารเช่น เสือ ตายไป 1 ตัว จะทำให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะ เสือ 1 ตัว จะกินหมูทั้งปี 52 ตัว ดังนั้น เมื่อเสือ 1 ตัวหายจึงทำให้หมู 52 จึงแพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็วมาก นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ป่าไม้ยังแนะนำให้ชาวบ้านร่วมการปลูกต้นไม้ใหญ่ที่กำลังจะหมดจากป่า เช่น ตะเคียนทอง ตะเคียนชันตาแมว ซึ่งแต่เดิมเคยมีอยู่เยอะมากในป่าบริเวณแห่งนี้ และเป็นต้นไม้ที่เหมาะสมกับสภาพอากาส และสามารถสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านแม้จะต้องใช้เวลา 30 ปี จึงได้เสนอให้เจ้าหน้าที่เขตนำต้นตะเคียนให้ชาวบ้านที่สนใจปลูกแซมในสวน โดยได้รับความสนใจเป็นจำนวนมาก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตา 5 คน
  • แกนนำวานีตาวังกระบือ 10 คน
  • สมาชิกสภาคนรักต้นไม้ /ผู้นำชุมชน/เจ้าหน้าที่อบต./เจ้าหน้าที่ป่าไม้ จำนวน 37 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เดินทางเพื่อประชุมติดตามงานโครงการกับพี่เลี้ยง และสจรส.14 มีนาคม 2558
14
มีนาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรายงานการดำเนินงานโครงการฯ 
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ได้นำเสนอกิจกรรมที่ได้ดำเนินงานพร้อมกับรายงานเพื่อติดตามโครงการ
  • มีการตรวจการเบิกจ่ายอย่างถูกต้องตามข้อตกลงของสัญญา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • โครงการควรจะได้มีพี่เลี้ยงเข้าร่วมประชุมชี้แจงกับชาวบ้านในการเปิดตัวโครงการฯ หรือประชาสัมพันธ์โครงการฯเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมจากชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ 1 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมความรู้เทคโนโลยีการเพาะขยายพันธุ์และปฏิบัติการ29 มกราคม 2558
29
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้แกนนำชุมชนวังกระบือได้รับความรู้วิธีการเพาะขยายพันธุ์พืชสมุนไพรโดยวิธีการต่างๆเพิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประสานภาคีเครือข่าย คือ เกษตรอำเภอ เกษตรกรดีเด่น เข้าร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะขยายพันธุ์พืชสมุนไพร
  • อบรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วยวิธีการขยายพันธ์แบบยาเร่งรากแบบธรรมชาติ
  • สอบถามข้อมูลความรู้การขยายพันธุ์แบบภูมิปัญญาดั้งเดิมของการขยายพันธุ์ต้นไม้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกษตรอำเภอแว้งได้อธิบายและสาธิตการเพาะขยายพันธุ์โดยใช้ยาเร่งรากแบบธรรมชาติโดยใช้เครืองดื่มชูกำลังกับกะปิมาผสม แล้วนำกิ่งสมุนไพรและดอกไม้ป่าหายาก จำนวน 15 ชนิดมาชุบแล้วทดลองเพาะขยายพันธุ์
  • เกษตรดีเด่นจากอำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี คือ ครูสมาแอ ได้ร่วมถ่ายทอดการเพาะขยายพันธุ์ ได้แก่ การเสียบข้าง การตอนกิ่ง การเสียบยอดดอกชวนชม เป็นต้น
  • แกนนำชุมชนวังกระบือ และเยาวชนที่เข้าร่วมได้รับความรู้ และลงมือปฏิบัติพร้อมกับวิทยากรเพื่อทดลองเพาะขยายพันธุ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 59 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำสภาชุมชนคนรักต้นไม้
  • แกนนำกลุ่มวานีตา
  • แกนนำเยาวชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เสวนาพูดคุยแลกเปลี่ยนผ่านสภาชุมชนคนรักต้นไม้ฯ ครั้งที่17 มกราคม 2558
7
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานในระดับชุมชนวังกระบือ
  • ประชาสัมพันธ์กิจกรรมในโครงการธนาคาร
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • แกนนำกลุ่มวานีตาและชุมชนวังกระบือได้เข้าร่วมพูดคุยผ่านกิจกรรมประเมินกำนันระดับตำบล
  • แกนนำชุมชนวังกระบือได้มีการพูดคุยกิจกรรมในโครงการธนาคารต้นไม้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้มีการประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมธนาคารต้นไม้ผ่านเวทีการประเมินกำนันระดับตำบลโดยได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก
  • แกนนำชุมชนวังกระบือได้ร่วมแลกเปลี่ยนการจัดทำโครงการธนาคารต้นไม้ฯสาขาชุมชนวังกระบือโดยมีคนเสนอความเห็นว่าควรจะมีการปลูกข่าเพราะเป็นพืชที่โตเร็วได้ผลผลิตที่เป็นที่ต้องการของตลาด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำสภาชุมชนคนรักต้นไม้วังกระบือ จำนวน 20  คน
  • แกนนำกลุ่มวานีตา จำนวน 12 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงานกลุ่มวานีตา ครั้งที่ 26 มกราคม 2558
6
มกราคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างเครือข่ายการทำงานในระดับชุมชนวังกระบือและติดตามการดำเนินงานของโครงการฯ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • การประชุมพูดคุยได้ร่วมกับกิจกรรมของชาวบ้านเป็นหลัก ได้แก่ คือ การปลูกต้นไม้และการหาหอย และการเข้าไปหากลุ่มวานีตาแต่ละหมู่บ้านเพื่อปรึกษา
  • มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องของธนาคารต้นไม้ฯโดยพยายามให้เยาวชนได้เข้าร่วมเนื่องจากผู้ใหญ่ส่วนใหญ่มีภาระในการทำทาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ที่ประชุมได้ชี้แจงว่ามีสมาชิกในพื้นที่วังกระบือต้องการปลูกไม้ประดับ คือ ทานตะวัน เพิ่มจำนวน 10 คน
  • ที่ประชุมได้รายงานว่ามีสมาชิกของกลุ่มวังกระบือต้องการมีการอบรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพเพื่อนำมาเป็นรดน้ำผักในบริเวณบ้าน จำนวน 10 คน
  • หลังการประชุมได้ใช้กิจกรรมหาหอยซึ่งเป็นเป็นวิถีชีวิตของชุมชนวังกระบือที่อาศัยความสมบูรณ์ของผืนป่าที่ควรมาศึกษาและถ่ายทอดให้เยาวชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มวานีตาวังกระบือ จำนวน  12 คน
  • กลุ่มวานีตา และสภาชุมชนคนรักต้นไม้บ้านวังกระบือ 14 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำธนาคารต้นไม้เพื่อการอนุรักษ์พืชสมุนไพรพื้นบ้าน25 ธันวาคม 2557
25
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสำรวจและรวบรวมพันธุ์กรรมพืชสมุนไพรที่หายากมาปลูกและเพาะขยายพันธุ์มาดำเนินงานภายใต้กิจกรรมธนาคารฯ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดทำป้ายธนาคารฯเพื่อประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม
  • ได้นำชนิดต้นไม้ที่ผ่านการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการเพาะขยายพันธุ์พืชซึ่งบางต้นสามารถเพะาขยายพันธุ์โดยการเพาะขยายกิ่งตามความรู้ที่มีการอบรมมาจัดไว้ในธนาคาร
  • มีการผลิตต้นไม้เพื่อเป็นไม้ประดับแจกชาวบ้าน เช่น ดอกทานตะวัน เพื่อเป็นแรงจูงใจให้คนได้สนใจเข้าร่วมปลูกต้นไม้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการติดป้ายธนาคารต้นไม้ที่ศาลาของหมู่บ้านติดริมถนนใหญ่เพื่อให้คนได้รับรู้ แต่ไม่มีพื้นที่เลยมีการนำต้นไม้มาจัดเป็นธนาคารที่ศาลาหน้ามัสยิดแทน
  • ธนาคารมีผลิตเพื่อรวบรวมต้นไม้ 2 ส่วน คือ ในส่วนของบ้านอาสาสมัครและบริเวณธนาคารต้นไม้ข้างศาลาชุมชนวังกระบือ
  • ชาวบ้านได้พัฒนาบริเวณทางเข้าหมู่บ้านด้วยการปลูกดอกไม้ประดับที่มีการแจกจ่ายโดยธนาคาร ได้แก่ ดอกทานตะวัน เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานกลุ่มวานีตา 10 คน
  • แกนนำชุมชนาสภาคนรักต้นไม้ และคนในชุมชนวังกระบือ 70 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ธนาคารต้นไม้ฯ ต้องประสบปัญหาเรื่องน้ำในการดูแลต้นไม้จึงต้องมีการเก็บต้นไม้ไว้บ้านอาสาสมัครและข้างธนาคารฯ เพื่อจัดแสดงเป็นแหล่งเรียนรู้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำแผนที่ทำมือคนรักต้นไม้ "บ้านวังกระบือ" ครั้งที่ 124 ธันวาคม 2557
24
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรวบรวมข้อมูลความรู้การใช้สมุนไพรพื้นบ้านของชุมชนรอบป่าโดยผ่านเส้นทางศึกษาธรรมชาติเข้าหมู่บ้านของวังกระบือ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เป็นการพูดคุยในแต่ละหมู่บ้านที่ติดกับพื้นที่ป่า ซึ่งมีจำนวน 30 หลังคาเรือนเพื่อสำรวจเส้นทางเข้าหมู่บ้านที่ติดกับป่า
  • เสวนาพูดคุยบ้านที่มีการรวบรวมความรู้การใช้พืชสมุนไพร โดยมีการจดบันทึกจากหมอยาพื้นบ้านเพื่อติดชื่อพันธุ์ไม้ จำนวน 25 ชนิด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนวังกระบือ มีเพียง 30 หลังคาเรือน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนวังกระบือ ม.7 แต่เป็นพื้นที่หมู่บ้านที่ติดกับป่า ซึ่งมีความชุมชื้นของต้นไม้สูงมาก โดยเฉพาะในแต่ละบ้านมีลักษณะเด่นคือร่มรื่นด้วยต้นไม้ มีบ้านที่เข้าร่วม 5 หลัง
  • พบสมุนไพรรอบบ้าน จำนวน 25 ชนิด เป็นทั้งไม้กินได้ สมุนไพรที่พบส่วนใหญ่ ได้แก่ ต้นสาเม๊าะ ผักหวานช้าง พองนีเล็ง ญากง ต้นจอแบ ต้นตด เป็นต้น และพืชสมุนไพรที่หายาก เช่น ต้นหะยีสามะ ต้นกะจิตีเมาะ ต้นซูซงอาแยฮูแต ต้นปลาไหลเผือก ต้นกุเล็งอากา เป็นต้น ซึ่งชาวบ้านนำมาปลูกรอบบ้านแทนการเก็บจากป่าจำนวน 2หลัง
  • เส้นทางเพื่อเข้าบ้านตัวอย่าง จำนวน 2 หลัง มีการติดแท๊กพันธุ์ไม้ของพืชสมุนไพรจำนวน 10 ชนิด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 37 คน จากที่ตั้งไว้ 95 คน
ประกอบด้วย
  • ชาวบ้านที่ติดกับป่าของหมู่บ้านวังกระบือ จำนวน 25 คน
  • แกนนำกลุ่มวานีตา สภาชุมชนคนรักต้นไม้ 12 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ชุมชนรอบป่าบ้านวังกระบือมีผุ้สืบทอดการใช้ชีวิตวิถีจากป่าอยู่มาก โดยเฉพาะการเก็บสมุนไพรจากป่า การดูนกหายากซึ่งเป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวจึงน่าจะพัฒนาเป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์ในอนาคต แต่ปัจจุบันหน่วยงานไม่เข้ามาพัฒนาองค์ความรู้และเก็บรวบรวมเป็นฐานข้อมูลซึ่งนับวันจะสูญหาย
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำชุดความรู้พืชสมุนไพรพื้นบ้าน ครั้งที่ 219 ธันวาคม 2557
19
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์

-  เพื่อฟื้นฟูความรู้ภูมิปัญญาการใช้พืชสมุนไพรและสืบทอดให้กับชุมชนโดยผ่านชุดความรู้

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำพืชสมุนไพรที่เป็นยารักษาโรคมาจดเป็นฐานข้อมูล
  • นำพืชสมุนไพรมาอัดตัวอย่างพืชแห้ง จำนวน 25 ชนิด
  • นำข้อมูลพืชสมุนไพรจัดทำเป็นชุดความรู้เพื่อตรวจสอบความถูกต้องผ่านการเรียนรู้จากหมอยาอีกครั้ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุดความรู้ ประกอบด้วยพืชสมุนไพรต่างๆ 50 ชนิด ได้แก่ พืชผักพื้นบ้าน 24 ชนิด และพืชสมุนไพร 26 ชนิด
  • ชุดความรู้พืชผักกินได้  ได้แก่ ซาเมาะปือดะห์ กูเล็งอากา จอแบ เป็นต้น ส่วนพืชสมุนไพร ได้แก่ กะจิตีเมาะ หะยีสาเมาะ ซูซงอาแยฮุแต เป้นต้น  ซึ่งปัจจุบันกำลังรวบรวมเป็นรูปพิมพ์บางส่วน บางชนิดขาดรูป ดอก ผล ที่สมบูรณ์แต่การทำชุดความรู้พื้นฐานของชุมชนจะเน้นการใช้ประโยชน์ และจะเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรม เช่น มีการรวบรวมผักพื้นบ้านที่กินกับข้าวยำ  ผักในตำรับมุสลิมอื่นๆ เช่น ผักต้ม ผักดอง  เป็นต้น ส่วนพืชสมุนไพรที่เป็นยาจะเก็บรวบรวมจากการใช้ประโยชน์เช่นเดียวกัน โดยแบ่งต้นไม้ที่พืชสมุไพรสำหรับสตรีหลังคลอด แก้ปวดเมื่อย รักษาบาดแผล ยาประคบ เป็นต้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย
  • ชุดความรู้ที่มีการรวบรวมได้มีการแลกเปลี่ยนผ่านกลุ่มวานีตา และสภาชุมชนคนรักต้นไม้ โดยมีพูดคุยและลงสำรวจของผู้รับผิดชอบโครงการร่วมกับสมาชิกกลุ่มวานีตเป็นกลุ่มหมูบ้านเพื่อนำข้อมูลมาตรวจสอบความถูกต้องก่อนทำชุดความรู้ และสามารถส่งต่อให้เด็กและเยาวชนได้เรียนรู้ในโรงเรียนโดยการถ่ายทอดหลังเสร็จสิ้นโครงการฯ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การทำชุดความรู้ เป็น 2 ภาษานั้นจะทำให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแปลภาษาร่วมด้วยแต่การจำแนกชื่อวิทยาศาสตร์ทำได้น้องเนื่องจากต้องติดต่อวิทยากรผู้เชียวชาญจากข้างนอก
  • การทำชุดความรู้เกี่ยวกับต้นไม้ที่สมบูรณ์นั้นต้องประกอบด้วยต้นไม้ที่มี ดอก ใบ ผลที่สมบูรณ์จึงต้องใช้ระยะเวลานาน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดทำประชุมเพื่อสร้างองค์กรภาคีเครือข่ายฯ12 ธันวาคม 2557
12
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์

-  เพื่อชี้แจงการดำเนินโครงการธนาคารฯในพื้นที่ ชุมชนวังกระบือที่เป็นกระบวนการสร้างชุมชนน่าอยู่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ชี้แจงการดำเนินโครงการฯ โดยผู้รับผิดชอบและประธานชุมชนพร้อมสมาชิกแกนนำกลุ่มวานีตา
  • นายมาหามะ เจ๊ะอูมา ตัวแทนจากประธานอสม.ตำบลโละจูดเข้าร่วมให้ข้อมูลกิจกรรมสสส.เพื่อให้ชุมชนได้รับรู้การดำเนินกิจกรรมให้เข้าใจมากขึ้น
  • นายมะยาลี  มะดาโอ๊ะ  กำนันตำบลโละจูด ประธานชุมชนวังกระบือที่เข้าร่วมโครงการได้กล่าวการดำเนินกิจกรรมของหมู่บ้าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชี้แจงความสำคัญของชุมชนวังกระบือที่มีภุมิปัญญาทางด้านการใช้พืชสมุนไพรมาเข้าสู่โครงการเพื่ออนุรักษ์ให้กับคนรุ่นหลังในชุมชนโดยบรรยากาศในการชี้แจงมีการซักถามเรื่องพันธุ์ไม้ที่จะนำมาเพาะขยาย และภายหลังจัดกิจกรรมมีคนมาขอถุงดำเพาะขยายพันธุ์ต้นไม้สมุนไพรจากพืชสมุนไพรชุมชนวังกระบือ
  • โครงการจะมีกิจกรรมรพัฒนาชุมชนให้น่าอยู่ โดยมีสมาชิกที่เข้าร่วมในโครงการ "น่าอยู่ รั้วกินได้" มีผู้สมัคร จำนวน 5 คน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 56 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตา จำนวน 10 คน
  • ตัวแทนแกนนำชุมชนวังกระบือ 3 คน หมู่บ้านที่เข้าร่วมละหมาดวันศุกร์ จำนวน 43 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • การชี้แจงในวันศุกร์ ขาดสมาชิกกลุ่มสตรี มีเพียงแกนนำกลุ่มวานีตาที่เป็นผู้หญิงเท่านั้นที่เข้าร่วม จึงให้ผู้ชายที่ได้เข้าร่วงประชุมไปชี้แจงแก่สมาชิกในบ้านที่เป็นผู้หญิงให้เข้าร่วมต่อไป
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมคณะทำงานสภาผู้นำชุมชน แกนนำกลุ่มวานีตา ครั้งที่ 111 ธันวาคม 2557
11
ธันวาคม 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมแกนนำคณะทำงานกลุ่มวานีตาในการเข้าร่วมกิจกรรมธนาคาร - เพื่อให้สมาชิกกลุ่มวานีตามีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกิจกรรมพืชสมุนไพรของหมู่บ้านวังกระบือ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มีการประชุมร่วมกับกิจกรรมอบรมนวดฝ่าเท้าซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมของกลุ่มวานีตา โดยมีกลุ่มวานีตาจากพื้นที่วังกระบือเข้าร่วมอบรมนวด 2 คน
  • ที่ประชุมมีการประสานงานสมาชิกจากพื้นที่อื่นๆ เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการธนาคารต้นไม้
  • สมาชิกกลุ่มวานีตามีความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมในโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ที่ประชุมกลุ่มวานีตามีผลการประชุมที่ระบุปัญหาที่สำคัญของคณะทำงาน คือ เวลาว่างไม่ตรงกัน โดยเสนอให้มีการประชุมในวันที่มีการจัดกิจกรรมสำคัญในหมู่บ้าน เช่น ประชุม อสม.
  • แกนนำกลุ่มวานีตาวังกระบือ จำนวน 7 คน เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครเพิ่มในการประชาสัมพันธ์ให้กับคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 21 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตาของชุมชนวังกระบือ จำนวน 19 คน เข้าร่วมประสานงานกิจกรรมในชุมชน
  • กลุ่มวานีตา 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เดินทางเข้าร่วมประชุมกับสจ.รส.เพื่อปฐมนิเทศโครงการ29 พฤศจิกายน 2557
29
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์

ติดตามสนับสนุนจากสสส. สจรส. และพี่เลี้ยง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เข้าร่วมประชุมรับฟังข้อมูลการดำเนินงานผ่านคู่มือการดำเนินงานโครงการสสส.
  • ลงข้อมูลทางอินเตอร์นเน็ต"คนใต้สร้างสุข"
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เข้าใจการดำเนินโครงการผ่านคู่มือโครงการสสส.
  • ลงข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต"คนใต้สร้างสุข" ถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ และเหรัญญิก จำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • พื้นที่ดำเนินการอยู่ไกลจากที่จัดประชุมจึงต้องเดินทางล่วงหน้า สามารถเบิกค่าที่พักแต่ไม่สามารถเบิกค่าอาหารได้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำป้ายชื่อโครงการ และป้ายห้ามสูบบุหรี่24 พฤศจิกายน 2557
24
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อจัดทำป้ายชื่อโครงการและป้ายห้ามสูบบุหรี่เพื่อนำมาใช้ในการจัดกิจกรรมภายในโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำป้ายชื่อโครงการและป้ายห้ามสูบบุหรี่ติดภายในบริเวณจัดกิจกรรม และนำป้ายห้ามสูบบุหรี่มาติดบริเวณภายในมัสยิด 1 ป้าย และที่ตั้งธนาคาร 1 ป้าย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ป้ายห้ามสูบบุหรี่ได้รับความสนใจจากชุมชน และผู้นำทางด้านศาสนาเนื่องจากมี 2 ภาษา โดยป้ายดังกล่าวไปติดตั้งภายในบริเวณมัสยิด 1 ป้าย และธนาคาร 1 ป้าย
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 500 คน จากที่ตั้งไว้ 500 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้เข้าร่วมโครงการ  400 คน
  • ผู้นำชุมชน ชาวบ้านบริเวณหมู่บ้านใกล้เคียง 100
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เก็บรวบรวมชุดความรู้ (ครั้งที่ 1 ชุดผักพื้นบ้าน)21 พฤศจิกายน 2557
21
พฤศจิกายน 2557รายงานจากพื้นที่ โดย ilmoo33
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อรวบรวมความรู้ผักพื้นบ้านในชุมชนวังกระบือเป็นชุดความรู้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เป็นการลงพื้นที่สำรวจร่วมกับแกนนำวานีตาชุมชนวังกระบือในการทำชุดความรู้ครั้งที่ 1 ชุดผักพื้นบ้านวังกระบือ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามารถทำชุดความรู้ผักพื้นบ้านของชุมชนวังกระบือ 1 ชุด จำนวน 20 ชนิด
  • นำข้อมูลความรู้ผักพื้นบ้านจากฐานข้อมูลเดิมจัดทำเป็นชุดความรู้เป็นระบบมากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • แกนนำกลุ่มวานีตา 5 คน
  • แกนนำกลุ่มวานีตาจากชุมชนวังกระบือ 10 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เป็นส่วนหนึ่งของการทำชุดความรู้ของชุมชนวังกระบือ แต่ต้นไม้ส่วนใหญ่ไม่สามารถนำมาเพาะปลูกเป็นต้นไม้ในธนาคารได้จึงทำให้ชุดความรู้ผักพื้นบ้านจึงไม่ใช่ต้นไม้ใน 50 ชนิดที่จะเพาะขยายพันธ์ในธนาคารได้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-