directions_run

กระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์ 60พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาที่ บ้านทุ่งจูด

assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดเตรียมเอกสาร รายงาน13 ตุลาคม 2559
13
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ลงข้อมูลในเว็บไซด์ จัดเตรียมสรุปเอกสาร พี่เลี้ยงให้คำปรึกษา พร้อมตรวจสอบความถูกต้องรายงานโครงการเอกสารการเงิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

พัฒนารายละเอียดเนื้อหาโครงการ

  1. รายงานการจัดกิจกรรมสอดคล้องกับรายละเอียดและแผนงานโครงการที่กำหนดไว้
  2. คุณภาพการบันทึกกิจกรรมในโครงการมีความละเอียดสอดคล้องกับกิจกรรมที่วางแผนไว้ และผลเชิงคุณภาพเกินเป้าหมาย
  3. ผลการดำเนินงานเกิดความตระหนักในเรื่องการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรม การทำงานเป็นกลุ่มอย่างเป็นระบบ เกิดการพบปะแลกเปลี่ยนกัน รู้ถึงคุณของการนำทรัพยากรในพื้นที่มาใช้และมีแนวทางอนุรักษ์ฟื้นฟุูอีกด้วย การนำปัญหามาปึกษาพูดคุยกันมากขึ้น เด็กเยาวชนรู้จักชุมชนตนเองจากอดีตถึงปัจจุบัน มีความเคารพต่อผู้อาวุโส
  4. ปัจจัยความสำเร็จเนื่องจากคนตระหนักและเห็นคุณค่า คนและกลุ่มคนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมมาก มีทรัพยากรที่เอื้อต่อการทำกิจกรรม หน่วยงานให้ความร่วมมือ มีเครือข่ายจากภายนอกชุมชนมาร่วมกิจกรรมเพราะเชื่อว่า การทำงานแบบบูรณาการกับทุกภาคีย่อมมีความสำเร็จกว่าทำเพียงคน หรือกลุ่มคน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สรุปปิดโครงการในหมู่บ้าน12 ตุลาคม 2559
12
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปเอกสารการจัดทำรายงาน รวบรวมเอกสารกิจกรรม วิเคราะห์ผลการจัดกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ผู้รับผิดชอบโครงการได้ให้บัญชีการเงินตรวจสอบเอกสารไล่ตามกิจกรรมจนครบ ตรวจสอบลายเซ็นต์ครบถ้วน ฝ่ายตรวจสอบทะเบียนผู้เข้าร่วมมีการลงทะเบียนครบทุกกิจกรรม ฝ่ายการเงินได้ตรวจสอบใบเสร็จ ใบสำคัญรับเงิน ทุกกิจกรรม ประธาน ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการ ช่วยกันรวบรวมเอกสารเป็นชุด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้เอกสารเอกสารที่ครบถ้วน ถูกต้อง พร้อมส่งรายงานให้ สจรส.ม.อ.ตรวจสอบความถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ร่วมงานคนใต้สร้างสุข กับสสส.3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อเรียนรู้การจัดกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ร่วมจัดบูชแสดงสินค้า  ร่วมเรียนรู้ตามบูชต่างๆ หาข้อมูลเพื่อเพิ่มความรู้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับสื่อเป็นเอกสาร และอื่นๆ ได้เรียนรู้ตามบูชต่างๆ ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ถอดบทเรียนความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรคของโครงการ2 ตุลาคม 2559
2
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อได้รับทราบถึงการดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามแผนงาน  2.เพื่อได้ทราบปัญหาอุปสรรค  3. ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 4. พบพี่เลี้ยง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ผู้รับชอบโครงการ ได้เชิญอาจารย์ ธีรัศมิ์ พูลนวล เป็นวิทยากรในการถอดบทเรียนโครงการ เตรียมสถานที่รพสต.ปลายเส เตรียมเครื่องเสียง เตรียมกระดาษ ปากกาเคมี เริ่มกิจกรรมเวลา 9.00 น. วิทยากรได้ชวนผู้เข้าร่วมประชุมได้แสดงความคิดเห็นทั่วไป
วิทยากรได้ชวนคุยในเรื่องการพัฒนาศักยภาพกรรมการ พัฒนาศักยภาพสภาผู้นำ การประชุม ผู้นำกลุ่มอื่นๆ ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ครัวเรือนที่เข้าร่วมโ่ครงการ 40 ครัวเรือน ทำการสำรวจความสุขและความขัดแย้งของครัวเรือนตามประเพณี วัฒนธรรม และการนำเสนอข้อมูลการสำรวจ การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ทุ่งจูด และประเพณีบุญสารทเดือนสิบโบราณ การแห่กระจาด3 วัด และการถวายกระจาดแด่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วมประชุมได้เล่าว่ามีความภูมิใจ และถือเป็นเกียติประวัติของตนเองและชุมชน มีกระจาดรวมใจเกิดขึ้น 1 กระจาด และจะอนุรักษ์ให้สืบต่อไป เกิดสูตรขนมคู่กระจาด ที่สามารถนำไปใช้ในปีต่อๆ ไปด้วนตนเอง 2.ได้กระจาดที่เกิดจากการมีส่วนร่วม 1 จาด
  2. ได้สูตรขนมโบราณ  4 ชนิด
  3. ได้สภาผู้นำ  1 ชุด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

อสม. ฝ่ายปกครอง ฝ่ายท้องถิ่น หน่วยงานราชการ คณะกรรมการโครงการ คณะกรรมการสภาผู้นำ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จำลองเหตุการณ์ สมโภชน์ และแห่กระจาดเดือนสิบครั้งที่ 31 ตุลาคม 2559
1
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำกระจาดไปสมโภชน์ และร่วมขบวนแห่กระจาดเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของชุมชน ไปวัดที่ 3 คือวัดโคกเมรุ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

9.00 น.กระจาดทุกชุมชนทุกหมู่บ้านมารวมตัวกันจุดนัดพบ เคลื่อนขบวนด้วยกลองยาวและเหล่านางรำ นำขบวนต่อด้วยพุ่ม และตัวหุ่นและคนที่แต่งตัวตามความคิดสร้างสรรค์แต่สื่อได้ถึงความเกี่ยวข้องกับสารทเดือนสิบ ต่อด้วยขบวนกระจาดจำนวนมาก (ประมาณ 15 กระจาด)และกลองยาวหน้ากระจาดแต่ละชุมชน หมู่บ้าน เดินเท้าจนถึงวัด ก็ได้พบกับขบวนกระจาดที่มีจากอีฝั่งแล้วร่วมขบวนเดียวกันเข้าวัดแก่รอบโบถส์ 3 รอบต่อจากนั้นก็เข้าสู่พิธีกรรมทางศาสนา เมื่อเสร็จพิธีกรรมทางศาสนา คนจะเอาเข้าของที่เตรียมไว้ตั้งเปรต วิญญาณเร่ร่อน ที่เข้าวัดไม่ได้ หรือที่ลูกหลานไม่มารับในวันขึ้น 15 ค่ำ มาตั้งบริเวณโคนไม้ แล้วทำพิธีเพื่ออุทิศส่วนบุญกุศลใหญ่วิญญาณเหล่านั้นด้วย จากนั้นผู้ที่มาวัดก็นั่งล้อมวงกันกินข้าวในโรงครัว ที่นำมาถวายพระ และที่มีการจัดเลี้ยง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ประเพณีวัฒนธรรมสารทเดือนสิบ ที่มีขบวนการจัดหมรับและแห่กระจาดจะพบเห็นเฉพาะตั้งแต่อำเภอช้างกลางมาถึงอำเภอฉวาง  และอำเภอถ้ำพรรณรา
  2. มีประเพณีรำกลองยาว และนางรำ เพื่อความรื่นเริง เพิ่มสีสรร และเร้าใจทำให้มีผู้เข้าร่วมขบวนเพิ่มจำนวนขึ้นตลอดระยะทาง
  3. มีการนำพุ่มที่ประดับด้วยเงิน(ธนบัตร) จัดเป็นพุ่มสวยงามเพื่อเป็นการร่วมทำบุญ และได้ร่วมพัฒนาวัด
  4. เห็นถึงความรักความสามัครคีผ่านทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน ทุนทางสังคมในการถามสุขทุกข์ เอื้ออาทรต่อกัน ได้ช่วยเหลือกัน
  5. ความเป็นเครือญาติยังคงมีให้เห็นอย่างชัดเจน เมื่อญาติทุกฝ่ายได้นิยมมารวมตัวกันที่วัดที่มีการเผาหรือฝังญาติตนเอง
  6. เห็นความเป็นครอบครัวใหญ่อยู่ไกลแค่ไหนเดือนสิบคนใต้ต้องกลับบ้าน
  7. ครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน แสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ
  8. วัดยังคงเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจคน
  9. ได้แลกเปลี่ยนสิ่งของกัน และมีของฝากญาติ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 122 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนจากบ้านทุ่งจูด ประชาชนทั่วไปทั้งใกล้ไกล องค์กร หน่วยงาน เด็ก เยาวชน โรงเรียน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จำลองเหตุการณ์ สมโภชน์ และแห่กระจาดเดือนสิบครั้งที่ 230 กันยายน 2559
30
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อนำกระจาดไปสมโภชน์ และร่วมขบวนแห่กระจาดเป็นธรรมเนียมปฎิบัติของชุมชน ไปวัดที่ 2 คือวัดควนมะปริง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

9.00 น.เริ่มขบวนแห่จากจุดนัดพบที่รวมกระจาด มีขบวนกลองยาวนำ และเหล่านางรำ มีผู้ที่แต่งตัวในรูปแบบต่างๆ บ้างก็ทาตัวดำ เดินถือเบ็ดเพื่อรับผู้มีจิดศรัทธาร่วมทำบุญ บ้างก็ใส่หุ่นตัวสูง หลากหลายรูปแบบทำตามแบบโบราณมาแต่อาจจะนำสมัยกว่า ตามความคิดสร้างสรรค์ บ้างก็ทำเป็นรูปสัตว์ บ้างก็หาบขนมเดือนสิบ เมื่อมาถึงวัดก็วนรอบโบถส์ 3 รอบ จากนั้นก็เข้าสู่พิธีศาสนา และจบด้วยกันร่วมรับประทานอาหารที่นำมาถวายพระและที่มีการจัดเลี้ยงอาหาร บรรดาญาติมิตร ลูกหลานมีโอกาสพบกันก็ได้มีการกราบ ไหว้ พูดคุย นำของมาฝาก หรือแลกเปลี่ยนสิ่งของกัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กระจาด และ ประเพณีเดือนสิบ ยังคงเป็นสื่อเพื่อให้ลูกหลานได้มีโอกาสร่วมกับครอบครัวชุมชนได้แสดงถึงศักยภาพด้านทุนทางสังคม ทุนวัฒนธรรม ทุนธรรมพยาการ อันแสดงถึงความเข้มแข็ง มีที่ยึดเหนียวทางจิตใจ ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมพัฒนาวัดในชุมชน และเป็นประเพณีปฏิบัติหากญาติของครัวเรือนไหนเผา ฝังวัดไหน ทุกคนในเครือญาติจะต้องไปรวมกันที่วัดนั้น ยังให้สืบผังเครือญาติได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 121 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

ประชาชนในชุมชนบ้านทุ่งจูด ชุมชนใกล้เคียง หมู่บ้าน ตำบล อำเภอถ้ำพรรณรา และต่างพื้นที่ รวมทั้งกลุ่มองค์กร หน่่วยงานราชการ โรงเรียน และชาวพม่าที่อาศัยอยู่บ้านใกล้เรือนเคียง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

จำลองเหตุการณ์ สมโภชน์ และแห่กระจาดเดือนสิบ ครั้งที่ 128 กันยายน 2559
28
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสมโภชน์ และถวายกระจาดแก่ระรูปสมเด็จพระเทพฯ ทำพิธีที่นำกระจาดไปวัดแรก คือสำนักสงฆ์นาเส

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. 9.00 น.ขบวนแห่กระจาด นำด้วยกลองยาว
  2. มีการทำพุ่ม(ปัจจัยเป็นตัวเงินที่จัดเป็นรูปทรงสวยงาม) นำไปร่วมพิธีและถวายวัด
  3. มีการนำข้าว ปลาอาหาร ผลไม้ไปถวายพระ
  4. มีการนำขนมเดือนสิบ ไปถวายพระ  และร่วมรับประธาน(แม้มีอาหารที่จัดเตรียมไว้เลี้ยงก็ตาม)
  5. มีขบวนกระจาดนับได้หลายลูกร่วมขบวนด้วย และวนรอบโบถส์ 3 รอบ
  6. มีพิธีกรรมทางศาสนา
  7. มีพิธีถวายกระจาดแก่พระรูปสมเด็จพระเทพฯ มีพิธีเปิดกรวย จากรักษาการนายอำเภอถ้ำพรรณรา และแถวหน่วยงานราชการ
  8. เมื่อเสร็จพิธีก็ร่วมรับประทานอาหารกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ประเพณีและวัฒนธรรมยังคงอยู่กับชุมชน และคนมีส่วนร่วมมากเช่นอดีตที่ผ่่านมา
  2. ลูกหลาน ครอบครัว ปู่ยา ตายาย ได้มีโอกาสอยู่กันพร้อมหน้า ได้พูดคุย ได้ทำ ได้กิน ได้ร่วมกิจกรรมกัน
  3. ภูมิปัญญาชุมชนได้รับการยกย่องเสมอ
  4. คนยังคง รักชาติ ศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์ เห็นได้จากที่ทุกคนบอกว่าภูมิใจและเต็มใจร่วมกิจกรรมครั้งนี้ที่สุด
  5. เมื่อทุกคนมาวัดได้พบปะกัน ก็ได้มีโอกาสได้ถามสุข ทุกข์ กัน ร่วมเก็บภาพไว้เป็นที่ระลึก
  6. คณะครู นักเรียน โรงเรียนเข้ามามีส่วนร่วมจำนวนมาก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 110 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

คนในชุมชนบ้านทุกจูด ชุมชน หมู่บ้าน ตำบลข้างเียง หน่วยงานภาครัฐ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 817 กันยายน 2559
17
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

  เพื่อพัฒนาศักยภาพและการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนทุกกลุ่มทั้งผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น  อาสาสมัครต่างๆ กลุ่ม และกองทุนต่างๆ ปราชญ์ชุมชน รวมทั้งหน่วยงานในพื้นที่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ในที่ประชุมแสดงความคิดเห็นว่า เมื่อมีการจัดตั้งสภาผู้นำแล้ว ก็ให้ใช้สภานี้เป็นเวทีเพื่อให้คนในชุมชนได้มีพื้นที่ในการแสดงความมีส่วนร่วม
  2. ให้สภาผู้นำมีแผนระยะสั้น และระยะยาว และส่งเสริมกลุ่มในชุมชนให้เข้มแช็ง
  3. ให้มีการค้นหาศักยภาพของชุมชน เพื่อนำไปวิเคราะห์สู่การจัดการแก้ไขปัญหาในทุกๆ ด้าน อย่างต่อเนื่อง อย่าหยุดเมื่อเสร็จสิ้นการทำโครงการ
  4. ให้ใช้เวทีนี้เป็นเวทีประชาคมหมู่บ้าน
  5. อยากให้มีพี่เลี้ยงที่ปรึกษาและติดตาม ให้กับคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ให้มีการประชุมของสภาผู้นำพร้อมกับการประชุมประจำเดือนของท้องที่ เพื่อได้รับทราบความเคลื่อนไหวของฝ่ายท้องที่ด้วย
  2. มีการส่งเสริมกลุ่มในชุมชนให้เข้มแข็งได้เพราะตัวแทนกลุ่มได้เข้ามาเป็นคณะกรรมการสภาผู้นำ
  3. มีการนำแผนแม่บทชุมชน หรือข้อมูลมาใช้และสามารถแปลงแผนในแผนและนำข้อมูลมาสู่การปฏิบัติ เฉพาะตัวที่สามารถทำได้ด้วนตนเองไม่ต้องรอการสนับสนุน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน คณะกรรมการโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เตรียมการประเพณีสารทเดือนสิบ ประกอบกระจาดเตรียมถวาย ครั้งที่ 512 กันยายน 2559
12
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.ประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมความเรียบร้อยของกระจาด 2. กำหนดวัน เวลา สถานที่ ทำพิธี 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเพื่อตรวจสอบความพร้อมของผู้รับผิดชอบฝ่ายต่างๆ  ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมได้รับทราบ และเติมเต็มในส่วนที่ยังบกพร่อง 1. ตัวกระจาด 2. ขนมคู่กระจาด 3. สถานที่ 4. วัน เวลา 5. บุคคลที่เข้าร่วม 6.พิธีกรรมทางศาสนา 7. พิธีกรรมถวายกระจาด 8. ขบวนแห่ 9. นำ้และอาหาร 10. แบ่งคน 2 กลุ่ม เพื่อทำ 2 กิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ติดต่อประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน องค์กรท้องถิ่น
  2. ได้ติดต่อประสานงานขอใช้สถานที่ และนิมนต์พระในเรื่องพิธีกรรมทางศาสนา
  3. ได้เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการจัดสถานที่ในพิธีถวายกระจาด
  4. ได้ติดต่อให้คนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการตกแต่งพระบรมรูปสมเด็จพระเทพฯ
  5. ทุกคนเกิดความภาคภูมิใจในสิ่งที่ได้ปฏิบัติอันแสดงถึงความจงรักภักดีั
  6. เป็นประวัติศาสตร์ของชุมชน หมู่บ้าน ตำบล และอำเภ
  7. กลุ่มที่ 1 ประกอบกระจาด กลุ่มที่ 2 ทำขนมคู่กระจาด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 84 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ คณะกรรมการสภาผู้นำ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เตรียมการประเพณีสาทรเดือนสิบ ตกแต่ง ดอกไม้ ครั้งที่ 411 กันยายน 2559
11
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อตกแต่งกระจาดให้สวยงามที่สุด  2. กลุ่มจัดดอกไม้ของชุมชนได้ถ่ายทอดให้คนอื่นๆ ทำเป็น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ผู้นำกลุ่มได้จัดหาวัสดุอุปกรณ์มาร่วมกันปดิษฐ์
  2. แบ่งกลุ่ม เช่น กลุ่มตัดเตรียม กลุ่มพับ กลุ่มเย็บ กลุ่มนำไปประดิษฐ์
  3. ปราชญ์การทำกระจาดได้บอกขั้นตอน หรือชั้นแต่ละชัั้นต้องตกแต่งด้วยอะไรบ้าง 4.แบ่งกลุ่ม คนเป็น 2 กลุ่ม ตกแต่งกระจาด และทำขนม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. กลุ่มแกนนำได้ถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นในชุมชน
  2. สมาชิกที่เข้าร่วมได้พบปะพูดคุย และแลกเปลี่ยนกัน ช่วยกันแนะนำผู้ที่เพิ่งฝึกหัดใหม่
  3. ได้เห็นคนได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เห็นความห่วงใย
  4. ได้เห็นการมีส่วนร่วม
  5. ทุกคนมีความสุขและทำด้วยความสมัครใจ
  6. มีความรู้ในเรื่องประเพณีวัฒนธรรมสารทเดือนสิบมากขึ้น จากเดิมให้ความสนใจน้อยมาก
  7. ได้กลุ่มตกแต่งกระจาด และได้คนทำขนมคู่กระจาด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 86 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มสตรี กลุ่ม อสม. กลุ่มแม่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เตรียมการประเพณีสารทเดือนสิบ ว่าด้วย ขนม ครั้งที่ 310 กันยายน 2559
10
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำขนมแบบดั้งเดิม เพื่อใส่หมรับเป็นขนมคู่กระจาด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. นัดพบพูดคุยก่อน 1 วันเพื่อเตรียมความพร้อม คน วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ วิทยากร อาหารหลักและอาหารว่าง
  2. วันทำจัดหา วัสดุอุปกรณ์
  3. เตรียมสถานที่
  4. ลงทะเบียนทำกิจกรรม แบ่งกลุ่ม แต่กละกลุ่มมีวิทยากรประจำกลุ่ม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ขนมพอง ทำจากข้าวเหนียวนึ่งให้สุกพอดีไม่แฉะ นำมากดลงในพิมพ์วงกลมอาจจะใช้ฝากระป๋องแทนก็ได้ กดเบาๆลงบนใบตองอย่ากดให้แน่น จากนั้นนำไปตากแดดจนแห้งสนิท นำลงทอดในน้ำมันร้อนจัดทอดเร็วๆพลิกกลับด้านละครั้งก็ใช้ได้แล้ว ขนมพองเป็นขนมที่ใช้ในวันสาทรเดือนสิบ ซึ่งใช้เป็นสัญลักษณ์แทนเรือ แพ ที่บรรพบุรุษใช้ข้ามห้วงมหรรณพเหตุเพราะขนมพองนั้นแผ่ดังแพมีน้ำหนักเบาย่อมลอยน้ำและขี่ข้ามได้

  1. การทำขนมพอง

    1) ส่วนผสมที่ใช้ทำขนมพอง

- สารข้าวเหนียว - น้ำมันพืช

2) อุปกรณ์ที่ใช้ทำขนมพอง - กระทะ - แบบพิมพ์ - สวด

3) วิธีทำขนมพอง

  • แช่ข้าวสารเหนียวทิ้งไว้ 1 คืนแล้ว
  • นำมาล้างให้สะอาดจนหมดกลิ่นจากนั้นนำไปนึ่งด้วย
  • เมื่อสุกแล้วนำมาอัดลงในแบบพิมพ์เป็นรูปตามต้องการ ซึ่งแบบพิมพ์มักทำด้วยไม้ไผ่แผ่นบางๆเป็นขอบสูงประมาณ 1 เซนติเมตร โดยส่วนมากจะทำเป็นรูปวงกลมรูปพระจันทร์ครึ่งซีกรูปสามเหลี่ยมรูปข้าวหลามตัดและรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์เมื่อตกแต่งข้าวเหนียวเป็นรูปตามแบบพิมพ์แล้วจะถอดพิมพ์ออก
  • เมื่อทำเสร็จแต่ละชิ้นนำเรียงบนภาชนะอื่นแล้วนำไปตากแดดจนแห้ง
  • นำไปทอดในกระทะที่น้ำมันกำลังร้อนจัด โดยใช้น้ำมันมะพร้าวใหม่หรือน้ำมันอื่นๆแล้วรอให้ข้าวเหนียวพองฟูขึ้น
  • เมื่อสุกดีแล้วก็ตักใส่ตะแกรงให้สะเด็ดน้ำมันโดยปกติพองจะเป็นสีขาวแต่ถ้าต้องการให้เป็นสีอื่นก็ใช้สีที่ต้องการย้อมข้าวเหนียวตั้งแต่ตอนแช่น้ำ

ขนมลา

2.ขนมลา ทำจากแป้งข้าวเจ้าและแป้งข้าวเหนียวเล็กน้อย ผสมกับน้ำตาลจากหรือน้ำตาลตะโหนด ใส่ลงในกะลาเจาะรูเล็กๆหรือกระป๋องเจาะรูก็ได้ แป้งจะออกเป็นเส้นฝอยๆ ก่อนทอดใช้น้ำมันมะพร้าวผสมกับไข่แดงต้ม *ลา กระทะให้ทั่ว แล้วโรยแป้งจากกระป๋องลงให้เป็นเส้นเหมือนตาข่าย ทอดจนขนมเป็นสีทองใช้ไม้แหลมๆยาวๆเขี่ยขึ้นจากกระทะ วางชั้นๆกัน รอจนเย็น 1-2วันแล้วค่อยหยิบจับ เพราะหลังทอดจะกรอบ ห้ามหยิบเพราะขนมจากแตกได้ง่าย

ขนมลาเป็นขนมหวานพื้นบ้านของทางภาคใต้ ของประเทศไทย ซึ่งทำมาจากแป้งข้าวเจ้า เป็นขนมสำคัญหนึ่งในห้าชนิดที่ใช้สำหรับจัดเพื่อนำไป ถวายพระสงฆ์ในงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ซึ่งเป็นงานบุญประเพณีที่สำคัญของจังหวัดในภาคใต้ เช่น จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา โดยอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ขนมลาปรุงขึ้นเพื่อเป็นเสมือนแพรพรรณเสื้อผ้า ขนมลา คำว่า ขนมลา ชื่อเรียกนี้มี่ที่มาอยู่ 2-3 กระแส กระแสด้านความเชื่อ

กระแสที่ 1 คือ มาจากกะลา (กะลามะพร้าว) เพราะสมัยก่อนยังไม่มีกระป๋องเพื่อใส่แป้งในการทอดลา จึงใช้กะลามะพร้าว (ชาวใต้เรียกว่า “พรก”) นำมาเจาะรูเล็กๆหลายๆ มีรู ขนาดรูเท่ากับไม้จิ้มฟัน เมื่อตักแป้งใส่แล้วจึงแกว่งส่าย (ชาวใต้เรียกว่า “ทอดลา”) แกว่ง เป็นวงกลมไปตามรูปกระทะ แป้งที่ดีเส้นจะต้องไม่ขาด และเส้นต้องเล็กเท่ากับเส้นด้าย สีแป้งสะท้อนแวววาวเป็นประกาย ถ้าเส้นแป้งใหญ่จะเป็นปัญหาด้านความเชื่อที่ว่า “เปรตจะกินขนมลาไม่ได้” เพราะขนมลาเป็นความเชื่อมาตามประเพณีว่า ใช้แทนแพรพรรณ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม หรือเป็นอาหารให้กับบรรพชนผู้ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว ส่วนใหญ่คนที่ตายไปแล้วจะตกนรกกลายไปเป็นเปรต รูปร่างผอม สูงใหญ่ ตาโปน มีปากเท่ากับรูเข็ม ดังนั้นเส้นของขนมลาจะต้องเล็ก เหนียวนุ่มเป็นประกาย ไม่ขาดสายเหมือนกับเส้นไหมสอดรูเข็มได้

และกระแสที่ 2 มาจากการเช็ดกระทะด้วยน้ำมัน ชาวใต้เรียกว่า “ลามัน”คือการทาเช็ดกระทะ เพราะทุกครั้งที่มีการทอดแป้งลาลงในกระทะจะต้องมีการ “ลามัน” ทุกครั้ง ถ้าเป็นลาแผ่น ลามัน 1 ครั้งจะลอกดึงแผ่นลาได้ 2 แผ่น ถ้ามากกว่านั้นแป้งจะติดกระทะ ลอกดึงขึ้นไม่ได้ การลอกดึงแผ่นลา ชาวใต้เรียกว่า “การพับลา” ดังนั้นหากไม่มีการลามัน แผ่นลาจะพับหรือลอกดึงขึ้นจากกระทะไม่ได้ แป้งจะติดกระทะ ความสำคัญของการ “ลามัน” จึงอาจทำให้เกิดคำว่า “ขนมลา” กระแสด้านความน่าจะเป็น อำเภอปากพนังในสมัยก่อนถือได้ว่าเป็นเมืองท่าในการค้าขาย ทั้งแถบอินโดจีน มลายู จีน และหลายๆประเทศ ถือได้ว่าเป็นอู่ข้าวอู่น้ำเพราะมีการปลูกข้าวไว้บริโภคและขายกันมาก อุดมสมบูรณ์ และมีโรงสีไฟประมาณ 14 โรง รวมถึงโรงสีไฟแม่ครู ซึ่งครั้งหนึ่งประมาณปี 2448 รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสปากพนังและมาเปิดโรงสีไฟแห่งนี้ และจัดได้ว่าเป็นโรงสีที่สวยงามที่สุดในปากพนัง และด้วยเหตุที่มีการปลูกข้าวกันมากนี้เอง เกษตรกรหรือชาวบ้านจึงนำข้าวมาเก็บไว้ในยุ้งฉางจำนวนมากเพราะบริโภคหรือกินไม่ทัน จนกระทั่งเกิดน้ำท่วม เป็นเหตุให้ข้าวเปลือกและข้าวสารเปียกน้ำเป็นจำนวนมากจะทิ้งก็เสียดาย แต่ด้วยเหตุที่ข้าวเปลือกและข้าวสารมีรสเหม็นเปรี้ยว จึงคิดวิธีที่จะนำข้าวเหล่านั้นมาแปรรูปเป็นขนมอย่างอื่นแทนโดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านนำใบไม้ชนิดหนึ่งมาช่วยในการหมักข้าวสารนั่นคือ “ ใบคุระ” ซึ่งเป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งมีมากในสมัยก่อน เก็บใบนำมาบ่มในถังหรือกระสอบข้าวสารเพื่อทำให้เกิดความร้อน เป็นตัวเร่งให้ข้าวสารทุกเม็ดเปื่อยยุ่ยพร้อมกัน จากนั้นก็นำข้าวสารมาล้างให้สะอาดเพื่อให้รสเปรี้ยวละลายไปกับน้ำ เสร็จแล้วก็นำข้าวสารไปบดให้ละเอียด แล้วนำน้ำแป้งที่บดแล้วไปกรองด้วยผ้าด้ายดิบ เพื่อต้องการแต่เนื้อแป้งที่ละเอียด เสร็จแล้วก็พักแป้งไว้จนตกตะกอน จะมีน้ำใสๆอยู่ก็ริน หรือเทออกให้เหลือแต่เนื้อแป้ง แล้วก็ตักแป้งใส่ผ้าหนาๆแล้วห่อด้วยกระสอบป่านอีกชั้นหนึ่ง ผูกแล้วนำไปแขวนไว้ แต่ถ้าหากต้องการให้แห้งเร็วๆก็จะทุบห่อแป้งด้วยไม้ น้ำแป้งจะออกมาเร็วขึ้น หรืออาจจะนำมาหนีบหรือทับด้วยของหนักๆ เมื่อแป้งแห้งแล้วก็นำไปคลุกเคล้ากับน้ำตาลจาก หรือน้ำผึ้งจากให้เหลวๆแล้วนำไปโรยหรือทอดในกระทะใบบัวขนาดใหญ่ ซึ่งสมัยก่อนจะนำกะลามะพร้าวมาเจาะรูเพื่อใช้ในการทอดลา แต่ปัจจุบันใช้กระป๋องนม หรือกระป๋องแสตนเลส แทน สรุปแล้วเป็นภูมิปัญญาที่จะนำข้าวเปลือกและข้าวสารมาแปรรูปเพื่อไม่ให้มันสูญเปล่านั่นเอง ประวัติความเป็นมาและการสืบทอดภูมิปัญญาการทำขนมลา ของชุมชนบ้านศรีสมบรูณ์ ขนมลาเกิดขึ้นเมื่อใด ใครเป็นคนคิด ทำขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏเป็นที่แน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็นร้อยๆปี แต่จากการเล่าสืบทอดกันมาจากแม่เฒ่าของกระผมเอง แม่เฒ่าเล่าว่า ในอดีตเปรตที่ได้ตายไปแล้วได้มาเข้าฝันว่าตั้งแต่ตายไปแล้วทุกข์ทรมานมาก หนาวก็หนาว เสื้อผ้าไม่มีใส่ อาหารการกินก็กินไม่ได้ ไม่มีอาหารที่จะกินได้ ขอให้ลูกหลานผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ช่วยทำอาหาร ผลิตอาหาร ออกแบบส่งส่วนบุญไปให้หน่อย หลังจากนั้นในความฝันเปรตจึงบอกวิธีทำขนมลาให้ จนรุ่งเช้าจึงได้มาทดลองทำจนเกิดเป็นขนมลาเป็นเส้นเล็กๆเท่าเส้นด้าย เป็นผืนๆแผ่นๆใช้แทนผ้าห่ม เครื่องนุ่งห่มได้มาจนถึงทุกวันนี้ แต่สมัยก่อนใช้กะลามะพร้าวใส่แป้งทอดขนมลา เพราะสมัยก่อนยังไม่มีกระป๋องที่ใช้ใส่แป้งลาเพื่อใช้ในการและปัจจุบันขนมลามีจำหน่ายตลอด ทั้งปี ไม่ปรุงเฉพาะในเทศกาลอย่างที่เคยปฏิบัติมา ขนมลามี 2 ชนิดคือลาเช็ดและลากรอบ ขนมลาเช็ดจะใช้น้ำมันน้อย โรยแป้งให้หนา เมื่อสุกพับเป็นครึ่งวงกลม รูปร่างเหมือนแห ลากรอบ นำลาเช็ดมาโรยน้ำตาลแล้วนำไปตากแดด ในปัจจุบันมีการทำลากรอบแบบใหม่ โดยเพิ่มแป้งข้าวเจ้าให้มากขึ้น ใช้น้ำมันมากขึ้น เมื่อแป้งสุกแล้วม้วนเป็นแท่งกลม พักไว้จนเย็นจึงดึงไม้ออก

เมื่อกาลเวลาเปลี่ยน ฤดูเปลี่ยน คนเปลี่ยน แม้แต่พอง สีและขนาดยังเปลี่ยน เพราะเดี๋ยวนี้มีสีแตกต่างมากมาย เมื่อก่อนมีแต่สีดำจากข้าวเหนียวดำ กับสีขาว เท่านั้น เพราะนอกจากเอาไปวัดแล้วยังมีให้คนอื่นๆเอาไปกินด้วย ตอนนี้นะหรือ สีสันสดใส ไม่กล้ากิน รูปแบบก็ต่างๆนาๆ แล้วแต่ชอบ
2. การทำขนมลา

1) วัสดุอุปกรณ์ในการทำขนมลา

  • เครื่องบดแป้ง และเครื่องกรองแป้ง
  • เครื่องหนีบแป้ง
  • กระป๋องทอดขนมลา
  • กระทะทอดขนมลา
  • เตาแก๊สหรือเตาถ่าน
  • ผ้ากรองแป้ง
  • เตาอบแปรรูปขนมลา
  • ไม้พับลาและถาดหรือภาชนะอื่นใช้ใส่ขนมลาหลังจากพับ หรือลอกดึงมาจากกระทะ
    2) ส่วนประกอบ

  • ข้าวเจ้า -น้ำตาลทราย

  • น้ำผึ้ง
  • น้ำมันมะพร้าวใหม่ๆ (หรือน้ำมันอื่นๆ)
  • ไข่ต้ม (ใช้เฉพาะไข่แดง)

3) วิธีทำ

  • ล้างข้าวเจ้าให้สะอาดแล้วหมักลงกระสอบจูดทิ้งไว้ 2 คืน ครบกำหนดนำออกล้างให้หมดกลิ่น โม่เป็นแป้งแล้วบรรจุลงถุงผ้าบางๆ แขวนหรือวางไว้ให้สะเด็ดน้ำ พอหมาดนำไปวางราบลง หาของหนักๆ วางทับเพื่อให้แห้งสนิท นำแป้งที่แห้งแล้วนั้นไปตำให้ร่วน ใส่น้ำผึ้งคลุกเคล้าจนเข้ากันดี เอามือจุ่มโรย(ทอด)ดู เมื่อเห็นว่าเป็นเส้นดีและโรยได้ไม่ขาดสายก็ใช้ได้ ลองชิมดูรสจนเป็นที่พอใจ
  • โรยทอดด้วยกระทะขนาดใหญ่ ไฟอ่อนๆ เอาน้ำมันผสมไข่แดงทาให้ทั่วกระทะ พอกระทะร้อนได้ที่ตักแป้งใส่กะลามะพร้าวหรือขันหรือกระป๋องที่ทำขึ้นอย่างประณีตสำหรับโรยแป้งโดยเฉพาะคือเจาะก้นเป็นรูเล็กๆจนพรุน
  • วิธีการโรยก็วนไปวนมาให้ทั่วกระทะหลายๆครั้ง จนได้แผ่นขนาดใหญ่ตามต้องการ สุกแล้วใช้ไม้ปลายแหลมพับตลบนำมาวางซ้อนๆกันให้สะเด็ดน้ำมัน โรยแผ่นใหม่ต่อไป อย่าลืมทาน้ำมันผสมไข่แดงทุกครั้งไป
  • ขนมลาให้โปรตีนจากแป้ง น้ำตาล และไข่แดง และมีส่วนประกอบของไขมันอยู่ด้วย เป็นขนมที่แสดงถึงฝีมือประณีตบรรจงอย่างยิ่ง จากแป้งข้าวเจ้า ผสม น้ำผึ้ง แล้วค่อยๆละเลงลงบนกระทะน้ำมันที่ร้อนระอุ กลายเป็นแผ่นขนมลาที่มีเส้นเล็กบางราวใยไหม สอดสานกันเป็นร่างแห

ประโยชน์ของขนมลา

  1. ขนมลา ให้โปรตีนจาก ไข่แดง น้ำตาลจากแป้ง และมีส่วนประกอบของไขมัน
    2" เป็นขนมที่แสดงถึงศิลปะการผลิตที่ประณีตบรรจงอย่างยิ่งจากแป้งข้าวเจ้าผสมน้ำผึ้ง แล้วค่อยๆละเลงลงบนกระทะน้ำมันที่ร้อนระอุ กลายเป็นแผ่นขนมลาที่มีเส้นเล็กบางราว ใยไหม และสอดสานกันเป็นร่างแห

ขั้นลงมือทำกัน

  1. นำเข้าเหนียวที่นึ่งแล้วมาใส่พิมพ์กระจายข้าวเหนียวให้บาง ข้าวเหนียวที่นึ่งนั้นเมื่อก่อนเรียกว่า “สวด” สำหรับใส่เหนียวไปนึ่ง โดยสวดจะถูกนำไปตั้งบนหม้อ หรือภาชนะที่ตั้งบนเตาไฟใส่น้ำ เมื่อน้ำเดือดไอน้ำ จะทำให้ข้าวเหนียวที่อยู่ในสวดสุก ส่งกลิ่นหอม จากนั้นจะนำข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ เทลงใส่ในกะละมัง
  2. นำข้าวเหนียวที่เขี่ยเป็นรูปทรงต่างๆ โดยใช้วัสดุอุปกรณ์แบบโบราณที่ทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นซี่บาง ๆ นำมาขัดสานกันเป็นพิมพ์
  3. นำข้าวเหนียวไปใส่ในพิมพ์ขนาดและรูปร่างต่าง ๆโดยส่วนใหญ่พิมพ์ก็ทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นแผ่นบาง ๆ ดักให้โค้งงอเป็นรูปต่าง ๆ เช่น รูปวงกลม สามเหลี่ยม สีเหลี่ยม ไปตากแดดจนแห้งสนิท ประมาณ 2-3 แดด ตากบนไม้ไผ่สาน หรืออะไรที่โปร่งๆ วันแรก เริ่มแห้งวันที่ 2 เริ่มแห้งอีกนิด ต้องให้โดดแดดทั้งวัน ก่อนจะนำไปตากแดดจนแห้งข้าวเหนียวจะจับตัวกันเป็นแผ่นแข็ง ๆเก็บไว้ได้ เรียกว่า “พองดิบ” ซึ่งพองดิบจะเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เมื่อรับประทานหรือนำไปทำบุญก็จะนำ พองดิบ ไปทอดในกระทะที่มีน้ำมันร้อน ๆ ทำให้พองดิบ ฟูขยายออกเป็นแผ่นใหญ่กว่าแผ่น พองดิบ3-4 เท่า โดยเมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการและขั้นตอนทั้งหมดก็จะเรียกว่า “ขนมพอง”

โดยนิยมเขี่ยพองกันในช่วงกลางคืนเพราะอากาศไม่ร้อน และการจำหน่ายก็จะจำหน่ายในรูปแบบพองดิบ เพราะง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ไม่แตกหัก เมื่อต้องการรับประทานหรือนำไปทำบุญ
ผู้ซื้อจะนำไปทอดในน้ำมันเอง อย่างไรก็ตามมีบางส่วนที่จำหน่ายขนมพองหรือทอดสำเร็จรูปไปแล้ว
เมื่อข้าวเหนียวแห้งดีแล้วก็นำไปทอดในน้ำมันร้อนๆ จนลอยฟูเป็นแพขึ้นมาก็ใช้ได้แล้วในกรณีนี้เมื่อผู้ซื้อพองสำเร็จรูปแล้วจะนำไปทำบุญตามวัดต่าง ๆ ทันที จะไม่เดินทางพาพองสำเร็จรูปไปไกลเสี่ยงต่อการแตกหัก
แล้วนำมาวางไว้ในที่แห้ง ให้คลายร้อน และน้ำมันระเหยออก

ขนมบ้า เป็นสัญลักษณ์แทน ลูกสะบ้า สำหรับใช้เล่น ต้อนรับสงกรานต์ เหตุเพราะขนมบ้า มีรูปทรงคล้ายลูกสะบ้า การละเล่นที่นิยมในสมัยก่อน

ขนมดีซำ เป็นสัญลักษณ์แทน เงิน เบี้ย สำหรับใชัสอย เหตุเพราะรูปทรงของขนม คล้ายเบี้ยหอย

ขนมกง (ไข่ปลา) เป็นสัญลักษณ์แทน เครื่องประดับ เหตุเพราะรูปทรงมีลักษณะ คล้ายกำไล แหวน

ขนมดีซำ

แป้งข้าวเหนียว 1 ช้อนโต๊ะ แป้งข้าวเจ้า 250 กรัม น้ำตาลโตนด 80 กรัม น้ำตาลทราย 200 กรัม น้ำเปล่า ครึ่งถ้วย

  1. แป้งข้าวเจ้ากับแป้งข้าวเหนียวผสมกันพักไว้
  2. ผสมน้ำตาลทั้งสองชนิดเข้าด้วยกัน ยกขึ้นตั้งไฟ เติมน้ำเปล่าลงไป เคี่ยวให้น้ำที่ได้มีลักษณะเหนียวข้น ระวังอย่าให้ตกทราย
  3. น้ำตาลที่เคี่ยวได้ทิ้งไว้ให้เริ่มอุ่น ใส่แป้งที่ผสมรวมกันไว้ลงไปนวด นวดประมาณ 30 นาที ให้มีลักษณะขึ้นเงา ทิ้งแป้งไว้ 1 คืน
  4. นำแป้งที่ได้ปั้นเป็นก้อนกลมๆ ให้มีขนาดเท่าๆกัน เตรียมใบตอง (วิธีแบบดั้งเดิม) ทาน้ำมันลงไปเล็กน้อยบนใบตอง
  5. ปั้นแป้งที่ได้จนหมด คลึงบนใบตองกดให้แบน แล้วทำเป็นรูตรงกลาง ลักษณะจะคล้ายการเจาะหู
  6. นำลงทอดให้เหลืองกรอบ ลักษณะจะคล้ายกับโดนัทเล็กๆ ของฝรั่ง

ส่วนผสม

แป้งข้าวเหนียวแห้ง 3 ถ้วยตวง มันเทศต้มสุกบดให้ละเอียด 1 ถ้วยตวง นํ้าตาลทราย2 ถ้วยตวง น้ำดอกมะลิ 2 ถ้วยตวง งาขาว ¼ถ้วยตวง

วิธีทำ

  1. เคี่ยวนํ้าตาลทรายกับน้ำดอกมะลิพอข้น ยกลงทิ้งไว้ให้เย็น
  2. นวดแป้งกับมันเทศให้เข้ากัน เติมน้ำเชื่อมที่เย็นแล้วลงไปผสมกันพอปั้นได้
  3. ปั้นเป็นก้อนกลมๆ วางเท่าๆ กันใช้ผ้าขาวบางชุบน้ำคลุมแป้งไว้
  4. ตั้งกระทะพอร้อนใส่น้ำมันเมื่อน้ำมันร้อน นำแป้งที่ปั้นไว้ลงคลุกในงาให้ทั่ว แล้วกดให้แบน อย่างลูกสะบ้า ทอดในนํ้ามันไฟกลางพอเหลืองสุกตักขึ้นซับนํ้ามัน หมายเหตุ เวลาทอด ควรกลับขนมบ่อยๆ ขนมจะได้มีสีเหลืองสม่ำเสมอ

วิธีทำและเคล็ดลับดี ๆ ที่ควรรู้

ส่วนผสม

◊ แป้งข้าวเหนียว ๑/๒ กิโลกรัม ◊ น้ำตาลทราย ๑/๒ กิโลกรัม ◊ มันฝรั่งต้ม ๑ กิโลกรัม (ไม่มีมันไทย ก็ต้องใช้มันฝรั่งนี่แหละ) ◊ น้ำมันสำหรับทอด แป้ง และ น้ำตาลค่ะ มันฝรั่งปอกเปลือกให้สะอาด แล้วหั่นใส่ภาชนะไว้ค่ะ ใช้ส้อมกดให้มันพอแหลก ใส่น้ำตาลลงไป โทรไปถามแม่ แม่บอกว่าให้ขยำแป้งกับน้ำตาลให้เข้ากัน แต่มาราตีทำไม่ได้ค่ะ มันร้อนอ่ะแม่จ๋า หนูก็เลยเอาช้อนนี่แหละ นวดๆ คนๆ ให้มันเข้ากันดี แบบนี้จ๊ะ มันกับน้ำตาลเข้ากันดีแล้ว ใส่แป้งลงไปเลยค่ะ นวดจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วปั้นเป็นก้อนกลมๆ กดให้แบนนิดหน่อยแต่อย่าให้แบนมากนะคะ แค่พอเห็นรูปว่าแบนก็พอ ประมาณเหรียญ ๕ บาทบ้านเราน่ะค่ะ แล้วนำไปทอดในน้ำมันร้อนจัด ใช้ไฟปานกลาง ค่อนข้างแรง สุกแล้วค่ะ เวลาทอดต้องคอยดูด้วยนะคะ เพราะขนมจะสุกเร็วมากค่ะ ส่วนผสม

◊ แป้งข้าวเหนียว ๑ ๑/๔ ถ้วย ◊ น้าตาลทรายแดง ๑/๔ ถ้วย (ที่จริงเค้าใช้น้ำตาลปึกแต่เราไม่มีจึงใช้น้ำตาลทรายแดงแทน) ◊ ถั่วดำ หรือ ถั่วเขียวเราะเปลือก นึ่งหรือต้มจนสุกแล้ว ๑ ถ้วยตวง (ถ้าแบบดั้งเดิมเค้าจะไม่ใส่ถั่วลงไปด้วย แต่แบบใหม่นี่จะใส่ถั่วลงไป อย่างน้อยก็ได้โปรตีนจากถั่วด้วย) เราใช้ถั่วดำกระป๋องนะ เพราะสะดวกดี ◊ น้ำสะอาด ๑/๒ ถ้วยตวง ◊ งาดำหรืองาขาว ตามชอบ ◊ น้ำมันสำหรับทอด

สูตรนี้ทำขนาดเล็กจะได้ ๒๐ กว่าลูก

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มสตรี กลุ่มอสม.นักเรียน ผู้นำชุมชน ปราชญ์จำนวน 60 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เตรียมการประเพณีสารทเดือนสิบ เข้าป่าหาไม้ทำโครงกระจาด ครั้งที่ 29 กันยายน 2559
9
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อใช้ทรัพยากรที่ในชุมชนมีอยู่ 2. เพื่อให้สมาชิกร่วมเรียนรู้เกี่ยวกับชนิดของไม้ และแหล่งที่มา 3. เพื่อให้เข้าใจเรื่องภูมิปัญญาการตัดไม้ และการทำโครงกระจาด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สมาชิกมาพร้อมกันที่ศาลาหมู่บ้าน ออกเดินทางเข้าป่าพร้อมทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันตลอดทาง เช่นในเรื่องว่าต้องตัดไม้อะไร จำนวนเท่าไร และทำไมต้องตัดวันนี้ ซึ่งปราชญ์ได้ให้ความรู้ว่า ในวันข้างขึ้นให้ตัดไม่ในวันปิดทำให้ปลอดภัยจากศัตรูที่มาทำลายไม้ วันปิดข้างขึ้นคือวันเลขคี่ วันเปิดเลขคู่ไม่นิยมตัดไม้ ถ้าเป็นข้างแรม วันปิดข้างแรมคือเลขคู่สามารตัดไม้ได้ ถ้าเลขคี่จะเป็นวันเปิดไม่นิยมตัดไม้ เมื่อได้ไม้แล้วต้องตากแดดให้แห้งก่อนจะนำไปแปรรูปเป็นรูปแบบตามต้องการ และควรมีการวางแผนคำนวณมาก่อนว่าจะใช้ไม้อะไร เท่าไร จะช่วยลดการสูญเสียทรัพยากร ช่วยกันใช้อย่างประหยัด แบ่งคน ทำขนม และตัดไม้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีความรักความสามารถมัครคีั
  2. มีการมีส่วนร่วม
  3. มีภูมิปัญญาพร้อมถ่ายทอดสู่รุ่นหลัง
  4. รู้จักชนิดของไม้
  5. รู้จักวางแผนและคำนวณในการใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า
  6. มีความรู้เรื่องวันปิดเปิดในประเพณีการตัดไม้
  7. รู้การจัดเตรียมไม้ก่อนแปรรูป
  8. ผู้เข้าร่วมมีความใคร่รู้ให้ความสนในสังเกตุได้จากมีการซักถามตลอด ทำให้ได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน
  9. ได้คนแบ่ง 2 กลุ่มตัดไม้ และ ทำขนม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 87 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย

แกนนำ ปราชญ์

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เตรียมการประเพณีสารทเดือนสิบ วางแผน แบ่งทีมงาน ครั้งที่ 18 กันยายน 2559
8
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อวางแผนการทำงาน 2.เพื่อจัดกำลังคนและแบ่งงาน 3.เพื่อจัดเตรียมวัสดุ แลอุปกรณ์ สถานที่ และประสานกลุ่มองค์กรชุมชนในการเตรียมการงานสารทเดือนสิบ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ลงทะเบียน 2. บอกเล่าให้ผู้เข้าร่วมทราบ 3. หาคนมีความรู้เฉพาะด้าน เช่นการตัดไม้มาทำโครงกระจาด ตัดข้างขึ้นในวันปิด เปิด ต้องใช้เลขคู่หรือคี่ 4. แบ่งงานกันทำ เจาะจงผู้รับผิดชอบทีมแต่ละทีม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ผู้นำทีมในการจัดสถานที่
  2. ได้ผู้นำทีมในการตัดไม่ที่ต้องอาศัยภูมิปัญญา เลือกวันตัดไม้ ประเภทของไม้ จำนวนที่ต้องใช้เพื่อเป็นการใช้ทรัพยากรในชุมชนอย่างรู้คุณค่า
  3. ได้นายวีระ รักษ์วงศ์เป็นผู้นำทีมสานกระจาด
  4. ได้ผู้นำทีมจัดตกแต่งกระจาด
  5. ได้ผู้นำทีมในการทำขนม แต่ละชนิด
  6. ได้ผู้ประสานงานกลุ่มองค์กรท้องถิ่น
  7. ได้ผู้นำทีมจัดสถานที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 84 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มอสม. กลุ่มผู้สูงอายุ ตัวแทนครัวเรือน นักเรียน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 126 กันยายน 2559
6
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้กรรมการโครงการเข้มแข็ง 2.เพื่อให้กรรมการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ 3.เพื่อร่วมกันแก้ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการ(ถ้ามี)

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ลงทะเบียน 2. เปิดเวที 3. ผู้รับผิดชอบหรือกรรมการได้เล่าถึงการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา ได้ทำทุกกิจกรรม และแจ้งให้ทราบยังมีกิจกรรมที่เหลืออีก 3.การเตรียมการเพื่อถอดบทเรียนโดยจะต้องเชิญวิทยากรที่มีความสามารถ ถอดบทเรียนทั้งโครงการทุกประเด็น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้เปิดเวทีให้มีการชี้แจงของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  2. กรรมการโครงการได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในการดำเนินโครงการ
  3. ได้ทราบถึงกิจกรรมที่ทำแล้วและยังไม่ได้ทำ หรือกิจกรรมที่ทำได้ไม่ดีตามที่ต้องการ (อาจมีการซ่อม หรือทำใหม่)
  4. มีมติให้ผู้รับผิดชอบจัดหาวิทยากรมาถอดบทเรียน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

กรรมการโครงการ มีผู้สูงอายุ และคนวัยทำงานที่มาจากครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมร่วม สสส.สจรส. มอ. และพี่เลี้ยง3 กันยายน 2559
3
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำรายงานเอกสาร และรายงานเว็บไซด์ ส่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ได้รับฟังการชี้แจงจากอาจารย์สิทธิพรรณ เรือนจันทร์ และอาจารย์กำไล สมรักษ์กรรมการแบ่งงานกันทำ คนที่หนึ่ง จัดรวบรวมและสรุปเอกสาร อีกคนรายงานกิจกรรผ่านเว็ปไซด์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 ได้รับฟังการชี้แจงการจัดทำรายงานสรุปและพร้อมให้ สสส สจรส มอ ตรวจ 2 กรรมการโครงการได้รายงานกิจกรรมลงเว็ปไซด์ 3 กรรมการโครงการได้รวบรวมสรุปเอกสาร

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

กรรมการโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ติดตาม และถอดบทเรียนการจัดกิจกรรมที่่่ผ่านมา27 สิงหาคม 2559
27
สิงหาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการดำเนินกิจกรรมและให้ข้อเสนอแนะ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. รับฟังปัญหา อุปสรรค ในการจัดกิจกรรมการบริหารโครงการ การจัดกิจกรรมล่าช้ากว่าแผนที่วางไว้เนื่องจาก ได้รับงบประมาณล่าช้ามาก  ที่ผ่านมาช่วงไม่รับงบ ก้มีการประชุมพูดคุยจัดกิจกรรมที่สามารถดำเนินการได้ ได้แก่ กิจกรรมประชุมคณะกรรมการ กิจกรรมสภาผู้นำ และร่วมกันวางแผนการจัดกิจกรรมเตรียมงาน เตรียมประเพณีทำจาด การทำขนม
  2. ถอดบทเรียน พบสิ่งดีๆคือ  ทางอำเภอถ้ำพรรณรา ได้นำจาด ของหมู่บ้านไปร่วมแห่ การจัดประเพณีแห่จาดเดือนสิบ ในงานระดับอำเภอร่วมกับตำบลอื่นๆ
  3. ปัญหาที่ยังคงค้างคือ ไม่มีผู้บันทึกข้อมูลลงในโปรแกรม ต้องให้ผู้ช่วยมาจากอำเภออื่นมาช่วย
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีผู้เข้าร่วม 12 คน
และร่วมวางแผนเพื่อเตรียมจัดกิจกรรมเตรียมจัดประเพณีแห้จาดเดือนสิบ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ 10 คน ปราชญ์ชาวบ้านด้านการทำจาด 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ให้ผู้ใหญ่บ้าน และเลขาโครงการ เขียน ผลการจัดกิจกรรมลงในสมุดบันทึกอย่างละเอียด และส่งข้อมูลไปให้ผู้บันทึกช่วยคีย์ลงโปรแกรมให้

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 76 สิงหาคม 2559
6
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อติดตามการมอบหมายงานของกรรมการในการจัดเตรียมประเพณีสารทเดือนสิบครั้งที่ 12. ติดตามการจัดเตรียมทำกิจกรรมครั้งต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ผู้รับผิดชอบโครงการได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบจากการมอบหมายงาน ได้ไปประสานกับปราชญ์ชาวบ้าน นายวีระ รักษ์วงศ์ นางเมี้ยนศรีวิสุทธ์นางอนงค์ รักษาศิริ นายวินัย ขวัญเกลื่อนเรียบร้อยแล้ว นายวีระ รักษ์วงศ์ได้เล่าถึงการจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ของจาด มีทางระกำ 10 ทาง ตากแห้ง ไม้ไผ่ 10 ท่อน ย่างไฟ ตากแดดไม้ตีนเป็ด 3 ท่อน ติดตามสัดส่วน กระดาษถุงปูนเพื่อรองพื้นโครงจาด กระดาษแก้วติดรูปย้า 24 แผ่นกระดาษรองพื้น 5 แผ่นกระดาษย่น ทำดอกไม้ 30 แผ่นลวดเส้น0.5 กก. ตะปู1 กก.และไม้ไผ่เหลาเล็กๆ ตัดสั้นที่ใช้แทนตะปู เชือกฟาง2 ลูก หวาย คร้าใบโพ16 อัน ใบโพราย20 อัน ปราย 20 ตัวนกปีกสูญ(นกไม่กางปีก) 4 ตัว นกปีก4ตัวหัวนาค 8หัว หางสิงห์ 32 หาง หัวสิงห์ 32 หัว ยอดจาด 1 อัน ฟันปลา 100 อันสีทาไม้1กระป๋อง ลูกปัด 5ถุง ดอกไม้ ซิ้งหยาติดดอกไม้ครอบจาด ในครั้งต่อไปต้องมาช่วยกันประกอบชิ้นส่วนทีละชั้นจนครบ แล้วประดับ ตกแต่ง
นางเมี้ยน เล่าว่าส่วนประกอบใส่หมรับ ขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า พืชพันธุ์ธัญญาหาร เครื่องครัว น้ำสะอาดต้องเตรียมตัวในเรื่องของสูตรขนม และอุปกรณ์ที่จะผสมส่วนผสม รวมทั้งอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ผู้รับผิดชอบโครงการได้ประสานงานกับนายกอบต.คลองเส เพื่อหาประธานในการทำพิธีถายกระจาด

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้รับทราบความก้าวหน้าของกิจกรรม และกิจกรรมที่จะทำครั้งต่อไป จากผู้รับผิดชอบ มีกลุ่มประดิษฐ์ดอกไม้รับอาสาที่จะมาช่วยตกแต่งกระจาดก่อนถึงวันแห่กระจาด 3 วัน
  2. ได้จัดคนเพื่อช่วยประกอบจาด มีผู้สมัครใจร่วมสานกระจาด 3 คน
  3. ได้จัดเตรียมสูตรขนมไว้ล่วงหน้า และจัดอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง มีสูตรการทำขนมดังนี้ การเคี่ยวมันมะพร้าว ทำขนมพอง ขนมลา ขนมบ้า ขนมดีซำ
  4. ทำให้การทำกิจกรรมไม่ชะงักด้วยการประสานงานนายออมสิน เตรียมร่างหนังสือถึงหน่วยงาน เพื่อความถูกต้องจึงได้ไปปรึกษากับนายกอบต.คลองเส และได้ความอนุเคราะห์ขัดเกลาให้ และมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของอบต.ได้อำนวยความสะดวกในเรื่องการจัดสถานที่ วัสดุอุปกรณ์ในพิธีถวายกระจาด ประธานโครงการได้ไปติดต่อกับปลัดอาวุโสเพื่อมาเป็นประธานในพิธีเนื่องจากนายอำเภอหมดวาระ และติดต่อผอ.รพสต. เชิญชวนอสม.ได้เข้าร่วมกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 18 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ผู้สูงอายุ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 116 สิงหาคม 2559
6
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์
  1. ติดตามงานที่มอบหมาย 2.ประสานงานให้คนเข้าร่วมกิจกรรม 3. มอบหมายงานต่อ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานขอความร่วมมือให้ผู้เข้าร่วมประชุมอย่าหยุดประชาสัมพันธ์โครงการ ให้ทำเป็นกิจวัตร ให้กรรมการทุกคนเตรียมการระดมคน หน่วยงาน นักเรียน มาร่วมกิจกรรม มองกลุ่มเป้าหมายไว้ล่วงหน้า และชวนพูดคุยไว้เบื้องต้น ติดตามงานที่มอบหมายของกรรมการ หากคนใดขับเคลื่อนไปไม่ได้ หรือต้องการคนช่วยให้แจ้งให้ทราบเพื่อจะได้ช่วยกัน ได้มอบหมายให้ประธานโครงการทำหนังสือรายงานจังหวัด ในการจัดพิธีการถวายกระจาด การประชุมหมู่บ้าน มีเรื่องแจ้งในที่ประชุมว่าทางอำเภอให้สำรวจเรื่องยาเสพติดว่าในหมู่บ้านเพิ่มขึ้น หรือลดลง มีการเตรียมการทอดผ้าป่าเพื่อสมทบทุนกองทุนแม่ การชี้แจงเรื่องโครงการประชารัฐ ที่ลงมาในหมู่บ้าน สตง.จะลงตรวจสอบทุกหมู่บ้าน
การปรับปรุงข้อมูลฐานเกษตร ว่าด้วยเรื่องภัยพิบัติ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีการประชาสัมพันธ์โครงการอย่างต่อเนื่อง
  2. ได้จัดเตรียมการระดมคน กลุ่มเป้าหมาย
  3. งานที่มอบหมายขับเคลื่อนไปได้ ไม่มีใครแจ้งปัญหาอุปสรรค
  4. ประธานรับทำหนังสือส่งถึงจังหวัด แต่ผู้รับผิดชอบโครงการได้จัดเตรียมไว้แล้ว ด้วยนายกอบต.เป็นที่ปรึกษา การประชุมหมู่บ้าน มีแนวโน้มว่าลดลงเล็กน้อย โครงการประชารัฐ 500,000 บาท ทุกหมู่บ้านจะถูกลงตรวจโดยไม่บอกล่วงหน้า หมู่บ้านต้องพร้อมตลอดเวลา
  5. กำหนดทอดผ้าป่าในวันที่ 6กันยายน 2559 การปรับปรุงข้อมูลเกษตรดำเนินการในหมู่บ้านด้วยอาสาเกษตร ร่วมกับฝ่ายปกครอง หมู่บ้านได้ให้ฝ่ายปกครองสำรวจเรื่องภัยพิบัติ แล้วส่งข้อมูลให้ อบต.
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 11 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ 8 คน คณะกรรมการสภาผู้นำ 3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ทางชุมชนไม่มีความเชี่ยวชาญเรื่องหนังสือ ต้องปรึกษาทางวัฒนธรรมอำเภอ

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้ประวัติบ้านทุ่งกระจูด และประเพณีบุญสารทเดือนสิบ"กระจาด"แต่โบราณ ครั้งที่ 431 กรกฎาคม 2559
31
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.ให้คนในชุมชนได้ทราบประวัติหมู่บ้าน ชุมชน ประเพณีบุญสารทเดือนสิบ 2.ให้เยาวชนได้เรียนรู้เรื่องชุมชนตนเองในด้านประวัติศาสตร์ 3. ให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ และตระหนักในการสืบทอดและอนะรักษ์ของดีของชุมชน 4. ให้ทุกวัยเล่าเรื่องประวัติชุมชน ประวัติงานประเพณีเดือนสิ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานโครงการได้แจ้งให้ทราบว่าวันนี้ เราจะมาเล่าเรื่องประวัติศาสตร์หมู่บ้าน ชุมชน สารทเดือนสิบ ใครสนใจสมัครได้จะจัดคิวให้ มีกรรมการที่เป็นปราชญ์ด้านประวัติศาสตร์ 3 ท่านเป็นกรรมการ ใครเล่าได้สมบูรณ์ที่สุดเป็นผู้ชนะมีรางวัลให้ ทำให้วันนี้มีความครึกครื้น สนุกสนานมาก ได้เห็นรอยยิ้ม ทีั่ได้นั่งลุ้นคนเล่า และคนในชุมชนได้เสริมว่าปีนี้ภูมิใจเป็นพิเศษ ต้องทำให้เด่นกว่าที่ผ่านมา เนื่องจากทำเพื่อเฉลิมพระเกียรติหกสิบพรรษาสมเด็จพระเทพฯ ให้คนได้พูดถึงและจดจำเหตุการณ์นี้ไปอีกนาน มีผู้ที่สมัครเข้าร่วมเล่าเรื่องประวัติศาสตร์หมู่บ้าน 3 คน จากกศน. คือ นายพงศกร สวนทองวรกุล น.ส จุฑาฑิพย์ ชัยเพชร น.ส สุรัตน์ญา ชัยเพชร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ผู้รับรู้เรื่องราวประวัติศาสตร์เพิ่มขึ้น
  2. ได้ผู้สืบทอดรักษาประวัติศาสตร์
  3. เกิดความอบอุ่นผูกพันธ์
  4. สัมพันธภาพค่อยๆ กลับมา
  5. มีความสามัคคี
  6. เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม
  7. มีความอยากให้มีการจัดกิจกรรมแบบนี้อีก
  8. มีความภาคภูมิใจในประเพณีวัฒนธรรมของชุมชน

ผลการเล่าเรื่องประวัติศาสตร์หมู่บ้านและสารทเดือนสิบ 3 คน จากกศน. คือ นายพงศกร สวนทองวรกุล น.ส จุฑาฑิพย์ ชัยเพชร น.ส สุรัตน์ญา ชัยเพชร กรรมการให้เสมอกันเพื่อลดความขัดแย้ง และผู้เล่ามีความประสงค์แต่แรกแล้วว่าจะไม่รับรางวัล

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 72 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

นักเรียนระดับประถม มัทธยม กศน. คณะกรรมการโครงการ คณะกรรมการสภาผู้นำ กลุ่มองค์กร หน่วยงานราชการ สมาชิกครัวเรือน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้ประวัติบ้านทุ่งกระจูด และประเพณีบุญสารทเดือนสิบ"กระจาด"แต่โบราณ ครั้งที่ 330 กรกฎาคม 2559
30
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อให้ทราบถึงการตั้งกระจาด แห่หมรับ  2. เพื่อทราบขั้นตอนการทำกระจาด 3.ทราบความหมายและความสำคัญของประเพณีวัฒนธรรมบุญสารทเดือนสิบ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การพบปะกันในครั้งนี้ ได้มีวิทยากร 3 ท่าน คือ นายสงวน ศรีวิสุทธิ์ นายวีระ รักษ์วงศ์ และนายสมศักดิ์ หยูทองอิน ได้มาเล่าถึงการเกิดจาดเดือนสิบในชุมชน ผู้จดบันทึกได้รวบรวมแล้วสรุปได้ดังนี้ ประวัติการทำกระจาด มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรด์ เพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรก ที่ตนต้องจองจำอยู่ เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์ โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 ชุมชนทุ่งจูดจึงมีประเพณีทำจาดมาตั้งแต่ก่อเกิดหมู่บ้าน 1 จาด 1 หมู่บ้าน เดิมคนในหมู่บ้านเรียกกระจาดว่า “จาด” จะมีวันที่ถูกกำหนดเพื่อดำเนินการเรื่อง จาด และ “หฺมฺรับ” อยู่หลายวัน เมื่อมีการประกอบจาดเสร็จ มีการคุมจาด ก่อนวันสมโภชน์ 15 วัน เพื่อระดมคน ทำให้คนในหมู่บ้านได้มารวมตัวกันหลังเลิกงาน ได้พบปะพูดคุยกัน มีการสันทนาการ เกิดความสนุกสนานรื่นเริงตรงกลางจาดใบใหญ่ มีหรรับเพื่อใส่พืชพันธุ์ธัญญาหาร ขนมคู่จาด แล้วคนในชุมชนได้มีการนำขนมไปฝากซึ่งกันและกัน ยังบ้านใกล้เรือนเคียง หรือหมู่ญาติมิตรที่อยู่บ้านไกล หรือถามข่าวคราวเยี่ยมเยือนกัน บางท้องถิ่นทำขนม สำหรับบูชา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม่พระโพสพ ผีนา ผีไร่ด้วย เมื่อถวายพระสงฆ์เสร็จแล้ว ก็นำไปบูชาตามไร่นา โดยวางตามกิ่งไม้ต้นไม้ หรือที่จัดไว้เพื่อการนั้นโดยเฉพาะ ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรม ของประเพณีสารทเดือนสิบ จะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ ถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปี แต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะนิยมทำบุญกันมากคือ วันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้ว จะตรงกับเดือนกันยายน ในช่วงเดือนกันยายนเป็นระยะที่พืชพันธุ์ธัญญาหารในท้องถิ่นออกผล จึงมีความต้องการที่จะนำไปถวายพระด้วย การจัดเทศการงานเดือนสิบ ถือเป็นความพยายามของมนุษย์ ที่มุ่งทดแทน พระคุณบรรพบุรุษ แม้ว่าจะล่วงลับไปแล้วก็ตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่ชาวไทยทุกคน ควรต้องยึดถือปฏิบัติ รวมทั้งปลูกฝังให้อนุชนรุ่นหลัง ได้ปฏิบัติสืบทอดต่อๆไป อย่างน้อย หากมนุษย์ระลึกถึงเรื่องเปรต ก็จะสำนึกถึง บาปบุญคุณโทษ รวมทั้งการแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวที ที่เป็นหัวใจสำคัญ ในการอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างสงบสุข ตลอดไป ความตั้งใจของลูกหลานที่อยู่ใกล้ หรือไกลต้องกลับมารวมตัวกันในวันสำคัญนี้ 1) เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล ให้กับ พ่อ แม่ ปู่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง หรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว 2) เป็นการทำบุญ ด้วยการเอาผลผลิตทางการเกษตร แปรรูปเป็นอาหารถวายพระสงฆ์ รวมถึง การจัดหฺมรับ ถวายพระ ในลักษณะของ “สลากภัต” นอกจากนี้ ยังถวายพระ ในรูปของผลผลิตที่ยังไม่แปรสภาพ เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ ในช่วงเข้าพรรษาในฤดูฝน ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคล แก่ตนเอง ครอบครัว และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป 3) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริงประจำปี เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณี ของชาวนคร แต่ประเพณีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุกๆ ปี เรียกว่า “งานเดือนสิบ” ซึ่งงานเดือนสิบนี้ ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ มาตั้งแต่ พ.ศ. 2466 จนถึงปัจจุบัน พิธีกรรม การปฏิบัติพิธีกรรมการทำบุญสารทเดือนสอบ มี 3 ขั้นตอน คือ 1) การจัดหมฺรับและยกหมฺรับ 2) การฉลองหมฺรับและการบังสุกุล 3) การตั้งเปรตและการชิงเปรต รูปแบบกระจาด 2 แบบ 1.กระจาดโบราณ 2. กระจาดสร้างสรรค์

กระจาดโบราณ ลักษณะ ฐานแบบบัวคว่ำ บัวหงายยอดเป็นยอดฉัตร
ส่วนประกอบด้านในเป็นสิ่งของเพื่ออุทิศให้กับบรรพบุรุษ ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว มีขนมคู่กระจาด เครื่องครัว พืชพันธุ์ธัญญาหาร น้ำ สิ่งของเหล่านี้คนในชุมชนต่างคนต่างนำมาใส่รวมกันในหมรับ หมรับเป็นภาชนะเล็กๆ ที่สานด้วยไม้ไผ่เพื่อใส่ของคู่จาด โครงสร้างของจาด เป็นไม้ที่อยู่ในชุมชน ทางระกำตากแห้ง ไม้ตีนเป็ดเพื่อนำมาแกะเป็นรูปแบบเพื่อประดับจาดเช่นใบโพ โพราย นก กนก เกร็ด หัวสิงห์ หางสิงห์หัวพญานาค หัวทาก ฟันปลา ไม้ไผ่นำมาสานโครงจาด และทำฐานด้านล่าง และนำมาผูกเพื่อไว้ใต้ฐานจาดเรียกว่าทำแม่แคร่ให้คนแบกหามไปวัด นำไม้ไผ่ตอกแทนตะปู กระดาษสีพื้น หรือลายเล็กๆ ห่อหุ้มปิดโครงสร้างเพื่อความเรียบร้อยสวยงาม กระดาษทำระย้า ดอกไม้ ตัดริ้ว ทำดอกไม้หลากสี เชือกสำรับผูกที่ใช้หวาย ต้นคร้า กระจาดสร้างสรรค์รูปทรงและการประดับขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้ทำ และของที่นำมาใส่ในหมรับจะคล้ายๆ กับของในหมรับโบราณ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ทราบถึงประวัติความเป็นมา
  2. ได้รู้จักวัสดุอุปกรณ์การทำกระจาด ขั้นตอนการทำ
  3. ความหมายและความสำคัญ
  4. วัตถุประสงค์ของงานสารทเดือนสิบในชุมชน
  5. ลูกหลานได้มาพบเจอกันพร้อมหน้า 6.พิธีกรรมต่างๆ
    7.ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับวัด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 74 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

สมาชิกของครัวเรือนในชุมชน คณะกรรมการสภาผู้นำ คณะกรรมการดำเนินโครงการ ผู้นำทางการ ผู้นำกลุ่มองค์กร นักเรียน หน่วยงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้ประวัติบ้านทุ่งกระจูด และประเพณีบุญสารทเดือนสิบ"กระจาด"แต่โบราณ ครั้งที่ 224 กรกฎาคม 2559
24
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ทราบประวัติศาสตร์ของชุมชน และชื่อเรียกทุ่งจูด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันนี้มีวิทยากร นายสงวน ศรีวิสุทธิ เป็นปราชญ์ชุมชน ร่วมรับฟังการเล่าเรื่องประวัติทุ่งจูด ของคนในชุมชน 2-3 คน และนายสงวน ศรีวิสุทธิ์ ได้สรุปให้ทุกได้รับทราบพร้อมกัน คือ
ชุมชนทุ่งจูดมีหนองน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่
ทิศตะวันออก เรียกว่าคลองควายปากโหมก มีทางน้ำไหลออกจากทุ่งจูดลงสู่คลองเส อยู่ติดกับคลองควายเลนเตย เกาะหนองคัน หนองคันเบ็ด น้ำไหลผ่านจากคลองควายหนองคันเบ็ดไปคลองควายปากโหมกลงสู่คลองเส พื้นที่เหล่านี้มีน้ำเฉพาะในฤดูฝน ขาดแคลนไม่มีน้ำในฤดูแล้ง ทิศเหนือ เรียกคลองควายหัวไสมาจากเป็นทางควายเดินไปหัวไสขึ้นโคกกลาง มีพื้นที่ประมาณ ๔-๕ ไร่ มีหญ้าเจ้าชู้ขึ้นหนาแน่น และมีจอมปลวกประมาณ ๕ ลูก มีเกาะกลมกลางคลองโดยน้ำล้อมรอบพื้นที่ประมาณ ๓ งานเรียกว่าโคกกลาง ทิศใต้ของโคกกลาง เรียกว่าเลนหนองหลาด มีเลนติดต่อกับหนองคันเบ็ด มีความหลากหลายทางชีวภาพ ตามธรรมชาติ ทิศเหนือเฉียงตะวันออก เรียกว่าเกาะหนองเมา ทิศตะวันตกของโคกกลางสภาพพื้นที่เป็นที่ทำนา แต่ปัจจุบันขุดเป็นที่สาธารณะ ทิศใต้ของโคกกลางตลอดจนถึงทิศตะวันตก มีหนองน้ำอยู่ทิศใต้ของโคกกลาง เรียกว่าหนองหลาด หนองเถี๊ยะลอยเกาะสี่โยม หนองเป็ดน้ำ หนองหมอ หนองกำประ เป็นแหล่งหาปลาของชาวบ้านมีไม้เถี๋ยะและต้นกระจูดขึ้นเยอะแยะบริเวณนี้ในเวลาต่อมาเรียกว่าทุ่งจูด จนถึงปัจจุบัน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ทราบความเป็นมาและชื่อของชุมชน
  2. ได้รับทราบถึงอาณาเขตของพื้นที่
  3. ได้รับรู้ถึงความอุดมสมบูรณ์ของชุมชน มีความหลากหลายทางธรรมชาติ
  4. มีต้นทุนด้านทรัพยากรธรรมชาติ
  5. ทำให้คนรุ่นใหม่ได้รับรู้ถึงก่อน50 ปีชุมชน ทำให้เห็นคุณค่า ทำให้เกิดวิธีคิด และการปฏิบัติใหม่ๆ ต่อทุนของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 73 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ กลุ่มองค์กรในชุมชน นักเรียนกศน. คณะกรรมการสภาผู้นำ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 623 กรกฎาคม 2559
23
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์
  1. เพื่อติดตามการดำเนินงานโครงการ 2. เพื่อสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของกรรมการสภาผู้นำ และกรรมการโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ติดตามความคืบหน้าจากการมอบหน้าที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายของกิจกรรมโครงการกระจาด ทุกฝ่ายพร้อมขับเคลื่อน

  1. สอบถามเรื่องทีมตัดไม้เพื่อเตรียมสานโครงกระจาด มีผู้เข้าร่วมเดินป่า 6 คน
  2. ได้มีการวบรวมมะพร้าว ได้ประมาณ 50 ลูก จากครัวเรือน
  3. นายออมสิน ศรีแก้วได้แจ้งว่าจะจัดหาวัสดุในการทำขนมใกล้ๆ ถึงวันการทำขนม
  4. ได้ผู้เป็นวิทยากร การทำขนมแต่ละชนิด ด้วยการประสานงานของนายสมศักดิ์ หยูทองอินทร์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ทราบความคืบหน้า เรื่องทีมตัดไม้พร้อมที่จะไปตามวันที่นัดหมาย และการรวบรวมมะพร้าวจะนำมารวมกันใกล้วันจัดกิจกรรม พร้อมกับนำกระต่ายขูดมะพร้าวมาด้วย มีการรวบรวมอุปกรณ์ในการทำขนม ทยอยนำมาเก็บที่ศาลาหมู่บ้าน
  2. ได้มีการประชุมร่วมกัน และเสนอผู้ที่มีความรู้ความสามารถในเรื่องขนมเดือนสิบ ได้ทั้งหมด 4 คน
  3. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ด้วยการหาผู้ที่จัดอุปกรณ์ถวายกระจาด ตกแต่ง ในพื้นที่ใกล้เคียงได้ทำงานร่วมกัน ทุกคนเต็มใจ และนำมาซึ่งความภาคภูมิใจ และเป็นประวัติศาสตร์ของชุมชน หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 18 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการสภาผู้นำ คณะกรรมการโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

เรียนรู้ประวัติบ้านทุ่งกระจูด และประเพณีบุญสารทเดือนสิบ"กระจาด"แต่โบราณ ครั้งที่ 123 กรกฎาคม 2559
23
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้รู้จักความเป็นมา รากเหง้าของหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 ตำบลคลองเส อำเภอถำ้พรรณรา จังหวัดนครศรีธรรมราช

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ผู้ใหญ่สมศักดิ์ หยูทองอินทร์ และนายสงวน ศรีวิสุทธิ์ ได้ให้โอกาสทุกคนได้เล่าถึงประวัติหมู่บ้าน ตามความสมัครใจ แล้วทั้งสองท่านได้สรุป ประวัติหมู่บ้าน (ประวัติศาสตร์ชุมชน) จากคำบอกเล่าของปราชญ์ชาวบ้าน ซึ่งเป็นคนถือกำเนิดในบ้านทุ่งจูดท่านผู้นั้นก็คือนายสงวน ศรีวิสุทธิ์ และกำนันวินิจ แสงมณี บ้านทุ่งจูดมีเนื้อที่ทั้งหมด 1,761 ไร่ ทิศเหนือ ติดต่อกับหมู่ที่ 2,3 ต.คลองเส ทิศใต้ติดต่อกับหมู่ที่ 5 ต.นากะชะ ทิศตะวันออกติดต่อกับหมู่ที่ 8 ต.คลองเส หมู่ที่ 6 ต.นากะชะ อ.ฉวาง ทิศตะวันตกติดต่อกับหมู่ที่ 5 ต.ถ้ำพรรณรา บ้านทุ่งจูดเดิมเป็นพื้นที่หมู่ที่ 6 ตำบลนากะชะ และครึ่งหนึ่งของหมู่ที่ 7 ต.นากะชะมีผู้ใหญ่จวง เพ็ชรณรงค์ พื้นที่นี้จึงอยู่ติดกับหมู่ที่ 7 ของผู้ใหญ่เล็ก ศรีวิสุทธ์ ต่อมาจึงขอแยกเป็นหมู่ที่ 2 มีผู้ใหญ่เริ่ม ชูช่วย สุวรรณ ปกครอง เรียกว่า “บ้านทุ่งหลุมเล็ก” การติดต่อประสานงานไม่สะดวก การคมนาคมไม่ดี จึงประสานงานกับกำนันขจร เลิศตระกูล กำนันตำบลนากะชะ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีคณะของนายวงศ์ สมเคราะห์ นายแพร้ว ศรีแก้ว นายสงวน ศรีวิสุทธิ์ นายเอ็น พัฒจันทร์ ทำโครงการขอแยกหมู่บ้าน แยกเป็นหมู่ที่ 11 ตำบลนากะชะ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อว่า “บ้านคลองพา”  เมื่อมีประกาศรับรองหมู่บ้านเสร็จก็ประกาศให้มีการรับสมัครคัดเลือกผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 มีผู้สมัคร 2 ท่าน คือ นายวงศ์ สมเคราะห์ และนายจรัญ สุวรรณมณี ผลปรากฏว่านายวงศ์ สมเคราะห์ ได้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 บ้านคลองพา ตำบลนากะชะ อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช ต่อมาจึงมีการพัฒนาเรื่องการคมนาคม ทำถนนจากบ้านนาแยะไปควนสอม (เส้นทางเข้ามาบ้านนายสงวน ศรีวิสุทธิ์) เพราะเป็นเส้นทางคน และควายใช้สัญจรอยู่แล้ว ระดมทุนกันจากการบริจาคของชาวบ้าน ได้เงินมาจำนวนหนึ่ง จึงติดต่อกำนันขจร เลิศตระกูล หารถมาบุกเบิก ค่าจ้างชั่วโมงละ 400 บาท ถนนดินก็เสร็จ และนายรุ่น ชัยเพชรบอกว่าการทำถนนสมัยก่อนขุดเองถึงทุ่งพลี เมื่อ พ.ศ. 2509- 2510 สมัยนายอำเภอแดง อิทธิชัย (นายอำเภอฉวาง) ถึงทานพอ ไม้เรียง ทานพอไปฉวาง วัดใหม่ไปฉวาง และมีการสร้างโรงเรียนวัดโคกเมรุ และโรงเรียนประสาธน์ราษฎร์บำรุง ลากไม้ซุงด้วยช้างมาแปรรูปด้วยเลื่อยมือเพื่อก่อสร้างโรงเรียน โรงเรียนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2518 เปิดเรียน เป็นอาคารเรียนชั่วคราว ปัจจุบันมีอาคารใหม่ ส่วนอาคารเก่าถูกรื้อออกไป จากการบริจาคเงินซื้อที่ดินในการก่อสร้างของนายเกตุ นางชุม นายซิ่น  เนื้อที่ 33 ไร่ และนายสงวน ศรีวิสุทธิ์ ร่วมบริจาคที่ดิน 2 ไร่ รวม 35 ไร่ มีผู้ริเริ่มโครงการคือ นายชอบ นายสงวน นายม่วง นายซิ่น นายส้วน นายจิตร และพระครูประสาธน์สิกขกิจ (ขาว จินดา) พระครูขาวบ้านเดิมอยู่หมู่ที่ 7 ต .นากะชะ อ.ฉวาง เกิด 13 พฤษภาคม 2463จบชั้น ป.4 โรงเรียนวัดโคกเมรุ อายุ 17 ปีบิดานำมาฝากเป็นศิษวัดโคกเมรุบรรพชาเมื่อวันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2480 วัดโคกเมรุ อุปสมบทเมื่ออายุ 20 วันที่ 13 กรกฎาคม 2483 ที่วัดไม้เรียง พ.ศ. 2489 เป็นเจ้าอาวาสวัดโคกเมรุ งานสาธารณูประการ เช่นประสานงานกับไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้คนตำบลคลองเสมีไฟฟ้าใช้ ถมที่บริเวณวัดหมดดิน 8,000 ลูกบาศก์เมตร จนได้รับการยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของอำเภอฉวาง ขอพระราชทานเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระราชธิดา ทั้ง 2 พระองค์ เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อพระประธานวัดโคกเมรุ 23 พฤษภาคม 2517  ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหล่อพระบรมรูป ร. 9 ขนาดเท่าองค์จริงในพระอิริยาบทพระราชทานธงประจำรุ่น ลส.ชบ. ด้วยทองเหลือง สร้างพระแท่น ประดิษฐานเป็นพระบรมราชานุสรณ์ ที่วัดโคกเมรุ ขอพระราชทานให้ถนนสายทานพอ – ถ้ำพรรณรา ระยะทาง 19 กิโลเมตร อยู่ในโครงการพระราชดำริ ทรงรับและลงมือทำ พ.ศ. 2531  สร้างโรงเรียนประชาบาล โรงเรียนวัดโคกเมรุ โรงเรียนบ้านหนองท่อม โรงเรียนบ้านปลายเส โรงเรียนแพรกกลาง โรงเรียนบ้านคลองไชย โรงเรียนมัธยม โรงเรียนประสาธน์ราษฎร์บำรุง ผู้ใหญ่วงศ์ สมเคราะห์ ถูกลอบยิงเสียชีวิต นายสงวน ศรีวิสุทธิ์ขณะนั้นเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ก็รักษาการแทน ต่อมาชาวบ้านจึงเสนอให้เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 11 มีกำนันชื่อนายชอบ ดิษฐาน ในสมัยนี้ของบประมาณทำโครงการสร้างศาลาหมู่บ้าน 1 หลัง เป็นเงิน 80,000 บาท เมื่อปีพ.ศ. 2527-2528 หลังจากที่นายวงศ์ สมเคราะห์เสียชีวิต  โครงการที่ท่านทำไว้ ร่วมกับกำนันวินิจ แสงมณี ซึ่งเป็นกำนันคนแรกของตำบลคลองเส คือโครงการแยกหมู่บ้านได้รับการอนุมัติ มาเป็นบ้านทุ่งจูด หมู่ที่ 1 ตำบลคลองเส อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราชจึงเปลี่ยนจากบ้านคลองพาเป็น “บ้านทุ่งจูด”เพราะพื้นที่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่มีต้นกระจูดขึ้นเยอะมากจึงเป็นชื่อเรียกติดปากของชาวบ้านมากกว่า จึงใช้ชื่อนี้มาถึงปัจจุบัน เมื่อมีการประชุมสภาตำบล มีผู้ว่าราชการจังหวัด และคุณหญิงสุพัตรา  คุณสุรเชษฐ์ เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วยจึงถามถึงโครงการที่เคยเสนอไว้เกือบ 30  ปีแล้ว คือขอแยกกิ่งอำเภอถ้ำพรรณรา ผลปรากฏว่าเรื่องค้างอยู่ที่จังหวัด จากนี้ไม่นานก็ให้มีการประชุมสภาตำบลร่วมคลองเส ถ้ำพรรณรา เสนอสถานที่ก่อสร้าง 3  ที่คือ เกาะขวัญ เนื้อที่ 35ไร่ ควนทรายอ่อน 120 ไร่ และบ้านปรายรา มติที่ประชุมผลการเลือกสถานที่ปรากฎว่า ควนทรายอ่อน เป็นที่ตั้งอำเภอถ้ำพรรณรา บ้านทุ่งจูด หมู่ที่ 1 จึงแยกมาอยู่อำเภอถ้ำพรรณนา จังหวัดนครศรีธรรมราช จนปัจจุบัน มีการแบ่งเขตการดูแลภายในชุมชนบ้านทุ่งจูดเป็น 5 เขต 1. เขตหนองมวง ผู้รับผิดชอบ นายจรูญ ไทยกูล 2. เขตหนองหวายแดง ผู้รับผิดชอบ นายทวีศิลป์ รัษาศิริ 3. เขตบ้านทุ่งจูด ผู้รับผิดชอบ นายสมศักดิ์ หยูทองอินทร์(ผู้ใหญ่บ้าน) 4. เขตควนสอม ผู้รับผิดชอบ นายรุ่น ชัยเพชร 5. เขตหลุมเหล็ก ผู้รับผิดชอบ นายสงวน ศรีวิสุทธิ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ทราบถึงความเป็นมาของหมู่บ้าน
  2. ได้ทราบถึง เนื้อที่ของหมู่บ้าน อาณาเขต
  3. ได้ทราบถึงการคมนาคม
  4. การบุกเบิกโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาที่ใช้แรงงานคน อาศํยความร่วมแรง ร่วมใจ
  5. ความร่วมมือ ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับบ้าน
  6. ความผูกพันธ์ระหว่างคนกับคน คนกับหน่วยงาน
  7. การแบ่งเขตการดูแลรับผิดชอบภายในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 76 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

กลุ่มอสม. กลุ่มสตรี กศน. แม่บ้าน คณะกรรมการโครงการ คณะกรรมการสภาผู้นำ นักเรียน  บุคคลทั่วไป

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ต่างคนต่างเล่า ทำให้บางครั้งข้อมูลไม่ตรงกัน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ต้องให้มีคนรวบรวมการจดบันทึกจากคำบอกเล่า แล้วให้ปราชญ์และผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 106 กรกฎาคม 2559
6
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อติดตามงานที่มอบหมาย 2. เพื่อประสานงานกับหน่วยงาน บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประธานได้ย้ำเตือนกรรมการช่วยประชาสัมพันธ์โครงการให้ถี่ขึ้น
2.ขอให้ผู้รับผิดชอบได้ชี้แจงงานที่รับมอบหมาย สรุปได้ว่า ได้มีการไปติดต่อประสานงานกับที่ปรึกษาของแต่ละกิจกรรมไว้เรียบร้อยแล้ว
3.การประสานงานผู้ที่เกี่ยวข้องภายนอก หน่วยงานราชการ โดยประธานโครงการรับผิดชอบ ก็ได้ติดต่ออย่างไม่เป็นทางการไว้แล้ว และจะมีการเชิญอย่างเป็นทางการอีกครั้ง   การประสานงานกับหน่วยงานอบต. และโรงเรียน   การจัดเตรียมงานหาทีมเพื่อจัดสถานที่   จัดหาอุปกรณ์เพื่อเตรียมทำขนม   จัดหาวิทยากรในการเตีรยมเคี่ยวมัน ทำขนม   ติดต่อกับวัฒนธรรมจังหวัดเรื่องการทำหนังสือแจ้งการทำกิจกรรมถวายกระจาด และติดต่อ   ติดต่อกับรพสต.ในพื้นที่

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ประชาสัมพันธ์โครงการ
  2. ได้รับการชี้แจให้ทราบถึงความก้าวหน้าของงานที่มอบหมาย
  3. ได้ประสานงานกับคน หน่วยงาน ให้นายโสธร รักษาศรี ประสานงานกับอบต.เชิญนายกอบต.พร้อมเจ้าหน้าที่ และติดต่อโรงเรียนในละแวกพื้นที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันถวายกระจาด แก่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ในวันจัดกิจกรรมที่สำนักสงฆ์นาเส ให้นายอุส่าห์ สุพรรณ หาทีมงานในการจัดเตรียมสถนที่ ให้นายสันติ อัคคี จัดหากระทะเพื่อเคี่ยวน้ำมันมะพร้าวสวดเพื่อนึ่งข้าวเหนียวเพื่อทำขนมพอง นายออมสิน ศรีแก้ว ติดต่อวัฒนธรรมจังหวัด ได้รับคำแนะนำว่าหากไม่ขอรางวัล ให้ทำหนังสือแจ้งเพื่อทราบเพียงเท่านั้น ให้ทำหนังสือผ่านหน่วยงานในพื้นที่ตามลำดับติดต่อกับ ผอ.รพ.สต.ในพื้นที่ในเรื่องจัดเตรียมชุดปฐมพยาบาล ในวันจัดกิจกรรมถวายกระจาด
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ 12 คน ที่ปรึกษา 2 คน คณะกรรมการสภาผู้นำ 3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 518 มิถุนายน 2559
18
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อร่วมกับคณะกรรมการโครงการช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมให้เป็นไปตามแผนงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานสภาผู้นำ ติดตามการดำเนินกิจกรรมของคณะกรรมการดำเนินโครงการ ได้เปิดเวทีให้กับคณะกรรมการโครงการได้ชี้แจง กิจกรรมที่ผ่านสามารถขับเคลื่อนได้ และยังมีกิจกรรมหลายกิจกรรม ที่ทำกับคนหลายคน สรุปได้ดังนี้ 1. ทำขนมคู่กระจาด 2.ทำกระจาดจะต้องมีการวางแผนการทำกิจกรรม รวมทั้งแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ที่ปรึกษาทำขนมคู่กระจาด ทำลา นางเมี้ยน ศรีวิสุทธิ์ ทำขนมบ้า นางอนงค์ รักษาศิริ ทำขนมพอง นางเพ็ญศรี หยูทองอินทร์ ทำกระจาด นายวีระ รักษ์วงศ์ นายออมสิน ศรีแก้ว นายโสธร นายวิเวก เคี่ยวมัน ทำน้ำมันมะพร้าว  นายวิฑุรย์
จัดหามะพร้าว นายสันติ อัคคี  นายอุสาห์ สุพรรณ หากระต่ายขูดมะพร้าว สมเกียรติ ดิษฐาน หาเตา ไม้ฟืน นายโสธร รักษาศรี การส่งเสริมสุขภาพ จากวัสดุเหลือใช้ กะลามะพร้าว นายสุชาติ พรหมราช ผู้อำนวยการ และสันทนาการ นายสมศักดิ หยูทองอินทร์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีสภาผู้นำติดตามการทำกิจกรรมของโครงการ 2.มีเวทีได้ชี้แจงการทำงาน
3.เปิดโอกาสกรรมการกล้าคิด กล้าทำ กล้าชี้แจง
4.ได้แบ่งงานกันอย่างชัดเจน
5.ได้ปราชญ์ชุมชนเข้ามาเป็นที่ปรึกษา

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการสภาผู้นำ 6 คน คณะกรรมการโครงการ 9 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 96 มิถุนายน 2559
6
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้กรรมการมีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ  2. เพื่อให้มีความตระหนักต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานขอย้ำให้ทุกท่านช่วยประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ภายนอกต่อชุมชน เพื่อให้กรรมการมีความรู้ ความสามารถในการบริหารจัดการ เมื่อมีกลุ่ม คณะต้องมีกฎในการอยู่ร่วมกัน มีคน มีแผนงานและกิจกรรม  ด้วยการลงมือทำจริง เพื่อให้มีความตระหนักต่อการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับชุมชน  เน้นกระบวนการเรียนรู้ การเคารพในประชาคม การเสริมพลัง มีปากเสียงแทนชุมชนและหนุนเสริมการเรียนรู้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ช่วยประชาสัมพันธ์ ปากต่อปาก เสียงตามสาย เวทีการประชุมหมู่บ้าน สภากาแฟ การพบกลุ่ม
  2. ได้ความรู้จากการปฏิบัติจริง
  3. กล้าที่จะเป็นตัวแทนชุมชน ในการนำเสนอ แสดงความคิดเห็น เสนอแนะ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ 10 คน ตัวแทนกลุ่มสตรี 3 คน นักเรียน กศน. 3 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 414 พฤษภาคม 2559
14
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อกำหนดกติกาแนวทางปฏิบัติ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

กำหนดกติกา ประธานโครงการได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบ หากจะให้ได้มีการประชุมร่วมกันมากๆ มีความพร้อมจะต้องกำหนดแนวปฏิบัติ จึงเปิดโอกาสให้ทุกคนได้เสนอข้อตกลงกันว่าจะทำอย่างไร ให้เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย ผลสรุปได้กติกาข้อตกลงว่า

  1. พบกันทุกวันที่ 15 ของทุกเดือน ยกเว้นมีกิจกรรมเฉพาะบางกรณี เช่นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากสสส.ในครั้งนี้ ต้องพบกันตามแผนงาน และหากมีความจำเป็นอาจพบกันนอกเหนือจากแผน
  2. มีเรื่องมานำเสนอในที่ประชุม(ถ้ามี) ความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรค เรื่องจำเป็นของส่วนรวมที่อยากให้เพื่อนได้รู้
  3. เน้นไม่ขาดการประชุม จะช่วยให้งานที่รับมอบหมายไปไม่ชะงัก
  4. ทำกิจกรรมร่วมทุกคน และต้องให้ความร่วมมือ และการมีส่วนร่วมบางกรณี เช่นลงแขกทำไร่ ทำนา
  5. ให้มีเวทีแลกเปลี่ยน ถ่ายทอดประสบการณ์
  6. มีเรื่องมาเล่าของกลุ่ม หรือข่าวสารไข้เลือดออกของอสม. ให้ที่ประชุมได้รับทราบ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ทุกวันที่ 15 ของเดือนจะต้องพบกันเพื่อได้รับรู้ข่าวสาร แม้ว่าโครงการบางโครงการจะจบลงแต่เรามีสภาที่ขับเคลื่อนชุมชนต้องอยู่ต่อ
  2. ทุกคนเมื่อมีเรื่องอะไรก็ยินดีที่จะนำมาแบ่งปัน เล่าสู่กันฟัง
  3. ทำให้เข้าร่วมประชุมกันสม่ำเสมอ
  4. ได้รับความร่วมมือในทุกๆ กิจกรรม
  5. เกิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดองค์ความรู้
  6. ได้ช่วยกันวิเคราห์ในสิ่งที่มากระทบต่อชุมชน ถึงข้อเท็จจริง ก่อนที่จะเชื่อ 100%
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ 15 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 8 6 พฤษภาคม 2559
6
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้กรรมการได้ขับเคลื่อนการดำเนินโครงการได้  2. เพื่อให้กรรมการมีความรู้และเข้าในกระบวนการทำงานที่เป็นระบบ 3.เพื่อรู้เท่าทันสถานะการณ์ 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานโครงการแจ้งเพื่อทราบว่าสถานการณ์การขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ของครัวเรือนในชุมชนยังคงต้องเผชิญกันอีกระยะหนึ่ง  และเน้นย้ำช่วยกันประชาสัมพันธ์โครงการทำจาดรวมใจ กระบวนการมีส่วนร่วม นอกจากนั้นหากใครมีความสนใจในเรื่องเพิ่มความรู้เกี่ยวกับอาชีพเสริมก็มาแจ้งความจำนงค์ได้ที่ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย อย่างน้อยให้ได้กลุ่มเป้าหมายไม่น้อยกว่า 25 คน ทางสภาผู้นำ หรือกรรมการจะได้ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องได้ช่วยเหลือ ประธานก็ชี้แจงเรื่องการทำกิจกรรมของโครงการว่าจะต้องไปตามแผนเช่น จะต้องมีการประชุม มีการบันทึก ภาพประกอบ รายงานพี่เลี้ยง หากมีปัญหาอุปสรรคให้ติดต่อพี่เลี้ยง และมีการติดตามจากพี่เลี้ยงเป็นระยะ ที่ผ่านมาเราทำงานกันตลอดแต่สิ่งที่บกพร่องก็ในเรื่องของผู้รวบรวมข้อมูล เพื่อให้ผู้รายงานได้รายงานให้สสส.ทราบ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. คณะกรรมการรู้เท่าทันสถานะการณ์
  2. คณะกรรมการได้ช่วยประชาสัมพันธ์โครงการ
  3. คณะกรรมการได้มีส่วนร่วมในการติดตามความคืบหน้าของการทำกิจกรรม
  4. ได้มีการลงชื่อเพื่อฝึกอาชีพเสริม และได้ประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  5. คณะกรรมการได้เข้าใจกระบวนการทำงานที่เป็นระบบมากขึ้น รวมทั้งเข้าใจในระบบการเบิกจ่ายเงินจะต้องมีหลักฐาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการโครงการ 8 คน คณะกรรมการสภา 5 คน กลุ่มแม่บ้าน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทะิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 39 เมษายน 2559
9
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

รองประธานสภา ทำหน้าที่แทนประธาน ได้ชี้แจงถึงบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำ

  1. เสริมสร้างเกิดความสามัคคี
  2. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  3. แก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหาภายในและจากภายนอกชุมชน
  4. ช่วยเป็นรั้วช่วยกันดูแลลูกหลาน
  5. ทำกิจกรรมร่วม
  6. เป็นต้นแบบแก่ชุมชนอื่น และเป็นเครือข่ายกับกลุ่มองค์กร ส่วนราชการ
  7. ส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรม อนุรักษ์ประเพณ๊วัฒนธรรม
  8. ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
  9. ใช้ทุนของชุมชน ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และดูแล อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ
  10. สภาต้องส่งเสริม ช่วยเหลือกรรมการการดำเนินงานกิจกรรมของทุกโครงการ นอกจากนี้ที่ประชุมได้นำเรื่องของการจัดงานวันสงกรานต์ของหมู่บ้าน โดยแบ่งงานดังนี้ จัดสถานที่ นิมนต์พระ และจัดพานดอกไม่ให้ผู้สูงอายุหนึ่งคนต่อหนึ่งพานอาหารเลี้ยงพระและผู้เข้าร่วมงาน ติดต่อพิธีกรทางศาสนา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ทำให้คณะกรรมการของสภาผู้นำเข้าใจภาระหน้าที่ที่จะต้องช่วยหนุนเสริมโครงการและการจัดกิจกรรมทุกอย่างของชุมชน
  2. คณะกรรมการมีความพร้อมในการมีส่วนร่วม
  3. คณะกรรมการมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมของโครงการกระจาดรวมใจซึ่งสื่อถึงความจงรักภักดี และการกตัญญูต่อบรรพบุรุษ
  4. เกิดการได้พูดคุย พบปะ แสดงความคิดเห็น
  5. ในเรื่องของงานของหมู่บ้านที่ต้องช่วยกันในงานวันสงกรานต์ ฝ่ายปกครองรับผิดชอบในเรื่องสถานที่ อบต.รับผิดชอบในเรื่องนิมนต์พระ และจัดพานดอกไม้ ในการรดน้ำผู้สูงอายุ กลุ่มแม่บ้านรับจัดหาอาหารมาเลี้ยวพระและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ด้วยการขอข้าวหรือแกงผู้ที่มีจิตศรัทธา และกลุ่มอสม. แม่บ้านเกษตร มาทีมและอย่างมารวมกันที่ศาลาหมู่บ้านในวันงาน ผู้ใหญ่สมศักดิ์ หยูทองอิน รับเป็นพิธีกรทางศาสนา และมีนายวินัย และนายสุชาติ เป็นพิธีกรร่วม ทำหน้าที่แทนกันได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 14 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการของสภาผู้นำชุมชน 14 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 76 เมษายน 2559
6
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการให้ความสำคัญของการทำกิจกรรม เพื่อให้คณะกรรมการได้มีความรู้เท่าทันสถานะการณ์

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานแจ้งหัวข้อในเรื่อง การจัดงานประเพณีวันสงกรานต์ ชุมชนเรียกว่าวันกตัญญู เพื่อให้คณะกรรมมีความตระหนัก และร่วมพัฒนาภูมิท้ศน์ต่อครัวเรือนและแหล่งสาธารณะ และเนื่องจากปีนี้ภัยแล้งนาน ทำให้ทุกครัวเรือนมีปัญหาการขาดแคลนน้ำดื่ม น้ำใช้ ขอให้ประหยัด และหากเดือดร้อน ให้นำสำเนาบัตรประชาชนเขียนคำร้องที่อบต. ขอน้ำดื่ม น้ำใช้ หากเป็นนำคลองฟรีไม่เสียเงิน ถ้าน้ำประปาเสียค่าใช้จ่าย ภัยอีกอย่างที่ต้องระวังคืออัคคีภัย
ประธานขอให้กรรมการไปดูแลและจัดคนไปช่วยในเรื่องการจัดเตรียมกระจาดเพราะวัสดุบางอย่างต้องตัดไว้ล่วงหน้าตากแดดให้แห้งจึงนำมาประกอบโครงสร้างกระจาดได้ และให้ชักจูงเยาวชน ไปร่วมกิจกรรมด้วยเพื่อได้มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อมีผู้สืบทอดประเพณีวัฒนธรรม มีกรรมการเสนอตัวเพื่อชักจูงวัยแรงงาน และวัยเด็กไปร่วม และจะต้องร่วมทำงานและขอสนับสนุนความรู้จากสภาผู้นำชุมชน ซึ่งมีสภาผู้นำชุมชนอาสาร่วมกันในการทำกิจกรรม และแจ้งเรื่อง การโอนงบประมาณที่ล่าช้า ก้ให้พูดคุยวางแผนการดำเนินงานไปพลางหรือ ทยอยพุดคุยทำความเข้าใจกับชาวบ้าน ว่ายังมีการจัดกิจกรรมเหมือนเดิม แต่กิจกรรมใหญ่คือการเตรียมงานประเพณี และการจำลองแห่จาดต้องรอไว้ก่อนเพื่อรองบประมาณ วางแผนเริ่มดำเนินการประมาณเดือน สิงหาคม 2559

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้คณะกรรมการโครงการ เข้าร่วมจัดงานวันกตัญญูของชุมชน ทั้งหมด
ได้คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน บางส่วนเข้าร่วม เช่น ปราชญ์ ที่ปรึกษา ได้กลุ่มเยาวชนเข้าร่วม 3-5 คนร่วมทำกิจกรรม การจัดหาวัสดุร่วมกับคณะกรรมการโครงการและสภาผู้นำชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 18 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ 7 คน ผู้สูงอายุ 4 คน  อสม. 3 คน  ตัวแทนกลุ่มองค์กร 4 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-อาจารญสิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ถอดบทเรียนโครงการที่ทำมาในรอบ 6 เดือน26 มีนาคม 2559
26
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสรุปการดำเนินกิจกรรมที่ผ่านมา  ความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรค และการรายงาน ส.3

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. รับฟังแนวทางการปฏิบัติการสรุปกิจกรรมความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค จากอาจารย์กำไล สมรักษ์
  2. ร่วมปฏิบัติการด้วยการวิเคราะห์โครงการตนเอง สรุป 1 หน้ากระดาษ แล้ว นำส่งพี่เลี้ยง อาจารย์ สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
  3. คณะพี่เลี้ยงนำไปสรุปรวมเป็นมายแม็ป เป็นประเด็น
  4. นำเสนอเป็นตัวอย่างจากโครงงานเด่น ด้วยแกนนำเจ้าของโครงการ พร้อมทั้งอาจารย์กำไล ได้ชี้แนะเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไข
  5. อาจารย์กำไลได้วิเคราะห์ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ เช่น คน กลไก สิ่งแวดล้อม เพื่อให้ทุกโครงการร่วมปฏิบัติไปพร้อมๆ กัน
  6. อาจารย์พี่เลี้ยงได้คืนการสรุปรวมโครงแต่ละโครงการจาก 1 แผ่นกระดาษ ให้ทบทวน และปรับปรุงตามแนวทางกระบวนการวิเคราะห์ตามที่อาจารย์กำไล ชี้แนะ
  7. การปฏิบัติงานของทุกๆ โครงการในการรายงาน ส.3 ให้แล้วเสร็จ
  8. ให้พี่เลี้ยงตรวจความถูกต้อง หรือปรับปรุงแก้ไข จนแล้วเสร็จ
  9. ส่งให้เจ้าหน้าที่ สจรส. มอ.ตรวจและลงลายมือชื่อ จึงเสร็จสิ้นภาระกิจ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทุกโครงการมีแนวทางการสรุปกิจกรรม สามารสรุปได้ 2.วิเคราะห์โครงการตนเองได้ ผลที่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคน กลไก และสิ่งแวดล้อม จริงในชุมชน
3.รายงาน ส.3 เสร็จภายในวันเวลาที่กำหนด 4.ได้รับการตรวจสอบการบันทึกจากพี่เลี้ยง และเจ้าหน้าที่ สจรส.มอ.

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการดำเนินโครงการ 2 คน คนในชุมชนที่มีความสนใจในกระบวนการดำเนินโครงการ 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ยังวิเคราะห์ได้ไม่ชัดเจน แนวทางแก้ไข ให้พี่เลี้ยงได้ร่วมวิเคราะห์กับโครงการตัวต่อตัว

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ให้มีแผนที่พอสังเขปของสถานที่การประชุมร่วมพี่เลี้ยง สจรส.มอ.

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ให้พี่เลี้ยงได้ใส่ใจในการดูแลโครงการที่ตนเองรับผิดชอบมากกว่านี้ และทั่วถึง

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 66 มีนาคม 2559
6
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

ประชาสัมพันธ์โครงการ สร้างกระบวนการมีส่วนร่วม ของคณะกรรมการให้เข้มแข็ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ขอเจ้งเพื่อทราบอีกครั้งในเรื่องโครงสร้างของคณะกรรมการการดำเนินโครงการประกอบด้วย ที่ปรึกษา นายสงวน ศรีวิสุทธิ ผู้ทรงคุณวุฒิและปราชญ์เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน ที่ปรึกษานายเกษม ดิษฐาน ผอ.รพสต.คลองเส
ประธาน ผญ.สมศักดิ์ หยูทองอินทร์ ผู้ใหญ่บ้าน รองประธาน นายออมสิน ศรีแก้ว ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม. เลขานุการ นางเพ็ญศรี หยูทองอินทร์ ประธานกลุ่มสตรี เหรัญญิก นายสุมิตร ศรีวิสุทธิ์ ประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชน ประชาสัมพันธ์ นายโสธร รักษาศรี สอ.บต. คลองเส ปฏิคม นายสันติ อัคคี ผช.ผญ.
คณะกรรมจะต้องมีความรู้ความเข้าใจการดำเนินโครงการมากกว่าคนอื่นๆช่วยประชาสัมพันธ์โครงการทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ และขอชื่นชมทุกท่านที่มีส่วนร่วมตั้งแต่ร่วมคิดในการเตรียมงานเรื่องงานการประชุมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ การประชุมการพัฒนาศักยภาพแกนนำให้เกิดสภาผู้นำ การพูดคุยถึงการเตรียมงานประเพณีบุญสารทเดือนสิบ ร่วมกันวางแผนขั้นตอนการทำงานตั้งแต่กิจกรรม การค้นหาปัญหาความต้องการ พร้อมทั้งลำดับความรุนแรงความจำเป็นที่ต้องได้รับการแก้ปัญหาเป็นอันดับแรกค้นหาทุนขผวองชุมชนนำมาใช้มาแก้ปัญหา โดยเสนอให้นำประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนมาเป็นจุดรวมใจในการพัฒนา การจัดทำโครงการ การคัดเลือกคณะกรรมการดำเนินโครงการ โดยนำตัวแทนของกลุ่มบ้านเข้ามาร่วมในคณะ การเปิดใจหันมาร่วมมือกันทำงานให้สำเร็จให้ได้ เพราะเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ทำเพื่อสมเด็จพระเทพฯ ร่วมเปิดโครงการ ร่วมการจัดทำปฏิทิน การเสนอประเด็นในการทำแบบสำรวจครัวเรือน นำเสนอข้อมูลสู่สาธารณะ ให้ได้รับรู้ร่วมกันร่วมกันทำมาระยะหนึ่ง และกรรมการทุกคนมีส่วนช่วยรับผิดชอบให้โครงการประสบความสำเร็จ และแผนที่จะทำต่อในเดือนเมษายน คือการประชุมพัฒนาศํกยภาพคณะกรรมการ สภาผู้นำ การจัดงานประเพณีวันสงกรานต์(วันกตัญญู) และการเรียนรู้ประวัติศาสตร์หมู่บ้าน ชุมชนบ้านทุ่งจูด และจาดเดือนสิบ ที่ว่าด้วยการเตรียมการเรื่องกระจาด เรื่องขนม เรื่องสมโภชน์และแห่กระจาดไปวัดครบสามวัด การติดตามการดำเนินโครงการจนกระทั่งเสร็จสิ้นการทำโครงการ แต่ความสัมพันธ์จะต้องอยู่กับครัวเรือนในชุมชนตลอดไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีโครงสร้างคณะกรรมการ
  2. มีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบชัดเจน
  3. มีกระบวนการมีส่วนร่วม
  4. มีการเตรียมการจัดกิจกรรมอื่นของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 14 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คนวัยทำงาน ฝ่ายท้องที่ 3 คน ท้องถิ่น 2 คน อสม.2 คน สตรี 3 คน ปราชญ์ 2 คน ตัวแทนกลุ่มองค์กร 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 25 มีนาคม 2559
5
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

จัดตั้งโครงสร้างคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชน 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานโครงการชี้แจงเรื่องการจัดตั้งสภาผู้นำ ด้วยการคัดกรองมาจากทุกภาคส่วนผู้ที่มีทักษะในการทำงาน จากผู้ที่มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ใช้พลังกาย พลังความคิดในแต่ละด้าน เช่น ข้าราชการเกษียณอายุ ข้าราชการพนักงานภายในองค์กร ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น แกนนำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนจากทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มสตรี อสม. กลุ่มเยาวชน กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มผู้สูงอายุ เข้าร่วม
วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาผู้นำ 1.เพื่อให้เกิดความอยากแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยใช้กลไกของสภาผู้นำชุมชนในการขับเคลื่อนการทำงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับชุมชน การกระจายรายได้สู่ชนบท เพื่อขจัดปัญหาความเดือดร้อน อันเนื่องจากความยากจนของเกษตรกรในชนบท
2.เพื่อมีมาตรการชุมชนในการกำกับติดตามเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานกิจกรรมร่วมกันในชุมชน” 3.เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้มีศักยภาพ คือมีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม
จุดมุ่งหมายเพื่อให้สภาผู้นำศูนย์รวมน้ำใจบ้านทุ่งจูด เป็นองค์กรวางแผนงานของศูนย์รวมน้ำใจ อย่างเป็นระบบ มีแผนงาน มีผู้รับผิดชอบ โดยร่วมกันสำรวจ ความต้องการของชุมชนให้ครอบคลุมเต็มที่ วางแนวทางสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำสู่ความเข้มแข็ง ให้ที่ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ อย่างแท้จริงโดย
บทบาทหน้าที่ บทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานแต่ละฝ่ายโดยการทำงานแบบมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาชุมชนตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการที่ดี นัดหมายให้คณะกรรมการโครงการได้ช่วยประสานทุกกลุ่มทุกภาคส่วนเข้าร่วมประชุมในเวทีที่ 2 ผญสมศักดิ์ หยูทองอินทร์ มีเรื่องที่แจ้งที่ประชุมทราบ ในเรื่องของภัยแล้ง ครัวเรือนที่ขาดแคลนน้ำให้นำสำเนาบัตรประชาชนไปยื่นคำขอที่อบต. เรื่องที่ 2 การเตรียมการจัดงานวันกตัญญู เดือนเมษายน  เรื่องที่ 3 การทำงานแบบบูรณาการ โดยทุกหน่วยงานต้องมีส่วนร่วม และมีหน่วยงานราชการเป็นพี่เลี้ยง  เรื่องที่ 4นัดหมายให้คณะกรรมการโครงการได้ช่วยประสานทุกกลุ่มทุกภาคส่วนเข้าร่วมประชุมใน เวทีที่ 2 คือวันนี้เพื่อให้เกิดโครงสร้างคณะกรรมการ จุดมุ่งหมายเพื่อให้สภาผู้นำศูนย์รวมน้ำใจบ้านทุ่งจูด เป็นองค์กรวางแผนงานของศูนย์รวมน้ำใจ อย่างเป็นระบบ มีแผนงาน มีผู้รับผิดชอบ โดยร่วมกันสำรวจ ความต้องการของชุมชนให้ครอบคลุมเต็มที่ วางแนวทางสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำสู่ความเข้มแข็ง ให้ที่ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ อย่างแท้จริงโดย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้โครงสร้างคณะกรรมการ ที่ปรึกษา จำนวน 4 คน คือ นายเกษม ดิษฐาน นายสุชาติ พรหมราช นายวิฑูรย์ เพียรสวัสดิ์ นายวิเวก จันทเดช
    ประธาน นายสงวน ศรีวิสุทธิ ผู้ทรงคุณวุฒิและปราชญ์เรื่องประวัติศาสตร์ชุมชน รองประธาน ผญ.สมศักดิ์ หยูทองอินทร์ ผู้ใหญ่บ้าน รองประธาน นายออมสิน ศรีแก้ว ผู้รับผิดชอบโครงการ อสม. เลขานุการ นางเพ็ญศรี หยูทองอินทร์ ประธานกลุ่มสตรี เหรัญญิก นายสุมิตร ศรีวิสุทธิ์ ประธานศูนย์เรียนรู้ชุมชน ประชาสัมพันธ์ นายโสธร รักษาศรี สอ.บต. คลองเส ปฏิคม นายสันติ อัคคี ผช.ผญ. ปราชญ์ชาวบ้าน นายวีระ รักษ์วงศ์ นางเมี้ยนศรีวิสุทธ์นางอนงค์ รักษาศิริ นายวินัย ขวัญเกลื่อน กรรมการ นายสมเกียรติ ดิษฐาน นายอุสาห์ สุพรรณ นางจุฑาทิพย์ สุพรรณ น.ส.โสวดี หนูสงแก้ว น.ส.ทิพวัลย์ วูวงศ์ นางสุรางรัตน์ บุญสนอง นางผ่องศรี พริ้มเพรา
  2. ได้พูดคุยเรื่องราวของแผนงานหมู่บ้าน เรื่องการเตรียมงานวันกตัญญูหรือวันสงกรานต์ เรื่องแจ้งครัวเรือนขาดแคลนน้ำไปยื่นคำขอที่อบต. การทำงานแบบบบูรณาการ มีพิธีทางศาสนา และเมื่อเสร็จพิธีผู้เข้ามาร่วมกิจกรรมรับประทานอาหารร่วมกัน ภาคบ่ายมีกิจกรรมรดน้ำผู้สูงอายุ จัดพานดอกไม้หนึ่งพานต่อผู้สุงอายุ 1 คน
  3. งานที่ฝ่ายปกครองทำร่วมกับหน่วยงานเกษตรในเรื่อง การขึ้นทะเบียนเกษตรกร และกลางปีจะมีการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องขึ้นทะเบียนยางพารา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ขาดผู้จดบันทึก รวบรวม ข้อมูล เพื่อส่งให้ผู้ป้อนข้อมูลส่งรายงาน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ผู้ที่สามารถเขียนได้ เมื่อร่วมเข้าประชุมช่วยกันเขียน และมีผู้รวบรวม วิเคราะห์ข้อมูล และสังเคราะห์ข้อมูล

พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เกิดสภาผู้นำ ครั้งที่ 121 กุมภาพันธ์ 2559
21
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อคัดสรรคน ทีมงาน เพื่อจัดตั้งสภาผู้นำมาขับเคลื่อนงานในหมู่บ้านทั้งหมด

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานโครงการชี้แจงเรื่องการจัดตั้งสภาผู้นำ ด้วยการคัดกรองมาจากทุกภาคส่วนผู้ที่มีทักษะในการทำงาน จากผู้ที่มีจิตอาสา มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ใช้พลังกาย พลังความคิดในแต่ละด้าน เช่น ข้าราชการเกษียณอายุ ข้าราชการพนักงานภายในองค์กร ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น แกนนำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ตัวแทนจากทุกกลุ่ม เช่น กลุ่มสตรี อสม. กลุ่มเยาวชน กองทุนหมู่บ้าน กลุ่มเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มผู้สูงอายุ เข้าร่วม

วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาผู้นำ

  1. เพื่อให้เกิดความอยากแก้ไขปัญหาร่วมกัน โดยใช้กลไกของสภาผู้นำชุมชนในการขับเคลื่อนการทำงาน และส่งเสริมการมีส่วนร่วมระดับชุมชน การกระจายรายได้สู่ชนบท เพื่อขจัดปัญหาความเดือดร้อน อันเนื่องจากความยากจนของเกษตรกรในชนบท
  2. เพื่อมีมาตรการชุมชนในการกำกับติดตามเพื่อให้เกิดการปฏิบัติงานกิจกรรมร่วมกันในชุมชน”
  3. เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้มีศักยภาพ คือมีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม
    จุดมุ่งหมายเพื่อให้สภาผู้นำศูนย์รวมน้ำใจบ้านทุ่งจูด เป็นองค์กรวางแผนงานของศูนย์รวมน้ำใจ อย่างเป็นระบบ มีแผนงาน มีผู้รับผิดชอบ โดยร่วมกันสำรวจ ความต้องการของชุมชนให้ครอบคลุมเต็มที่ วางแนวทางสร้างและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เพื่อนำสู่ความเข้มแข็ง ให้ที่ชุมชนสามารถพึ่งตนเองได้ อย่างแท้จริงโดยบทบาทหน้าที่

บทบาทหน้าที่ในการขับเคลื่อนงานแต่ละฝ่ายโดยการทำงานแบบมีส่วนร่วมจากคนในชุมชนทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาชุมชนตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการที่ดี นัดหมายให้คณะกรรมการโครงการได้ช่วยประสานทุกกลุ่มทุกภาคส่วนเข้าร่วมประชุมในเวทีที่ 2

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จำนวนคนเข้าร่วมเพื่อจัดตั้งสภาผู้นำ 20 คน เกิดกลไกที่มีคนมีแนวคิดในการที่จะแก้ปัญหาร่วมกันของหมู่บ้าน เช่นข้าราชการเกษียณ สภาผู้นำสัญญาว่าจะนำปัญหาเรื่องอื่นๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการมาพูดคุยเพื่อการพัฒนาในหมู่บ้าน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนครัวเรือนที่มาจากกลุ่มบ้าน  5 คน ฝ่ายปกครองท้องที่ 3 คน ฝ่ายปกครองท้องถิ่น 2 คน  กลุ่มอสม 5 คน กลุ่มสตรี 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมทีมพร้อมพี่เลี้ยง15 กุมภาพันธ์ 2559
15
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ติดตามผลการดำเนินกิจกรรมจากพี่เลี้ยงโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการและพี่เลี้ยง นัดประชุมคณะกรรมการเพื่อให้ดำเนินงานต่อเนื่องในงวดสอง มีการกำหนดปฏิทินงานเพิ่มเติมเพื่อให้คณะกรรมการทำงานได้เป็นอย่างดี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 12 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ พี่เลี้ยง ผู้ใหญ่ ชาวบ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมร่วมกับพี่เลี้ยงและการชี้แจงการดำเนินงานโครงการ เพื่อปิดงวดโครงการ14 กุมภาพันธ์ 2559
14
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อส่งรายงวดแรก

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

นำเอกสารมาให้ สจรส.มอ.ตรวจ และบันทึกเพิ่มเติม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รับการตรวจเอกสารการเงิน และได้รับคำแนะนำจาก สจรส.มอ. เพื่อปรับการทำรายงานและการจัดการเอกสารการเงินให้ถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 313 กุมภาพันธ์ 2559
13
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.ประชุมร่วมกับสสสเรื่องการจัดทำรายงาน เอกสาร สรุปการเงิน 2.เพื่อพบพี่เลี้ยงตรวจสอบการลงข้อมูลผ่านเว็ปไซด์ให้ครบทุกกิจกรรม 2.เพื่อตรวจสอบเอกสารงววดที่ 1 3.เพื่อจัดทำงายงานการเงินส่ง

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. รับฟังคำชี้แจง 2.จัดทำเอกสารรายงานส1 3.พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสาร 4. ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจสอบรายงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ความถูกต้องของรายงาน ง.1
  2. ได้ตรวจเอกสารการเงินเพื่อดำเนินการปิดงวดที่ 1 กับพี่เลี้ยง
  3. พี่เลี้ยงแนะนำให้ปรับการเขียนรายงานผลการดำเนินงานให้มีรายละเอียดมากขึ้นในบางกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

กรรมการ 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ปัญการเข้าอินเตอเนตไม่ได้ อยากให้สถานที่จัดประชุมมีWIFI

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 512 กุมภาพันธ์ 2559
12
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อแบ่งงานในการจัดหาและสรุปข้อมูล ด้านประวัติศาสตร์บ้านทุ่งจูดและกระจาดเดือนสิบโบราณ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ผู้ใหญ่กล่าวทักทายผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2. แบ่งทีมทำงาน (1.จัดหาข้อมูลพร้อมสรุปด้านประวัติศาสตร์ 2. จัดหาข้อมูลพร้อมสรุปด้านกระจาดโบราณ 3. ผู้บันทึกและจัดทำเอกสาร 4.ประสานงานบุคคลมาร่วมเวทีแลกเปลี่ยนการนำเสนอเพื่อให้ได้รับทราบในเวทีสาธารณะ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ทำให้รู้จักปราชญ์ชุมชน อย่างน้อย 2 คน
  2. มีบุคคลถ่ายทอดความรู้สู่รุ่นต่อไป คนแรกก็จะเป็นตัวกรรมการที่จัดหาข้อมูล คนต่อไปผู้ที่สนใจที่ได้ร่วมรับฟังการแลกเปลี่ยนผ่านเวที
  3. มีการอนุรักษ์ภูมิปัญญา
  4. เยาวชนที่ร่วมกิจกรรมได้รู้จักรากเหง้าตนเองจากประวัติศาสตร์ และการปฏิบัติตนตามวิถีประเพณีชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ 10 คน แกนนำเขตบ้าน 5 คน ฝ่ายปกครอง 2 คน ภูมิปัญญา 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมกรรมการพร้อมพี่เลี้ยง11 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำกิจกรรมของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทบทวนผนงาน กิจกรรมที่ผ่านมา
- วางแผนการดำเนินกิจกรรม มาทบทวนเอกสารที่จะปิดงวดที่ ที่ 1ส 1, ง1
- ตรวจสอบบัญชีการเงิน - ตรวจสอบเอกสารภาษี

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รวบรวมเอกสารเป็นชุดของแต่ละกิจกรรม ได้รายละเอียดการเงินจากบัญชีธนาคารของโครงการ ได้เอกสารภาษีและใบเสร็จการหักภาษี

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ 5 คน ผู้นำท้องที่ ท้องถิ่น 6 คน ชาวบ้าน 4 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมกรรมการพร้อมพี่เลี้ยง11 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
วัตถุประสงค์

ติดตามการจัดกิจกรรม  และการทำงานของคณะกรรมการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ผู้รับผิดชอบโครงการ ผู้ใหญ่บ้าน ประธาน อสม. เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจาก รพสต.บ้านปลายเส และคณะกรรมโครงการเข้าร่วม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการเข้าร่วม 16 คน พูดคุยค้นหาสิ่งดีๆ พบว่า หมู่บ้านบูรณาการ งานลานบุญ ลานธรรมเข้ากับเวทีนำเสนอ ข้อมูล มีคนเข้าร่วมจำนวน 92 คน มีพิธีพระ มีการตักบาตรทำบุญ มีเวทีนำเสนอข้อมูลจาการสำรวจความสุข มีการพูดคุย แลกเปลี่ยน กันในเรื่องต่างๆของหมู่บ้าน และพบ ว่า ผู้ใหญ่บ้านเป็นวิทยากรกระบวนการ สามารถจัดกิจกรรมเพื่อให้เกิดความสนุกสนาน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 16 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คุยทบทวนการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา ค้นหาสิ่งดีๆในการจัดกิจกรรม

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การทำเอกสารรายงาน การเงิน ยังดำเนินการอยู่ที่บุคคลคนเดียว การลงรายงานไม่เป็นปัจจุบัน การสำรวจข้อมูลหมู่บ้าน ได้เพียง ร้อยละ 54 การประสานงานคนเข้าร่วมกิจกรรมค่อนข้างน้อย ปรับเปลี่ยนคณะกรรมการใหม่

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ชักชวนคณะกรรมการพูดคุย ทบทวน แบ่งหน้าที่การทำงาน เลื่อนกิจกรรมทุกกิจกรรมให้เร็วขึ้น จัดหาผู้ที่รวบรวมเอกสาร รายงาน ที่อยู่ในพื้นที่ ม. 1 บ้านทุ่งจูด เพื่อลงรายงานเป็นปัจจุบัน

ร่วมเวทีชี้แจงโครงการ7 กุมภาพันธ์ 2559
7
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการชี้แจงโครงการ ประเมินความพร้อมของสภาผู้นำ และการมีส่วนร่วมในการเข้าร่วกิจกรรมของครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. พี่เลี้ยงและ คณะกรรมการโครงการ พูดคุย ทำความเข้าใจ เพื่อประสานความร่วมมือช่วยเหลือกันในการจัดกิจกรรมโครงการ
    2.ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับ เกริ่นนำ ที่มา และนำเสนอ วัตถุประสงค์ รายละเอียด และร่วมบอกปฏิทินโครงการ แก่ที่ประชุม
  2. ผอ.รพสต. กล่าว และเล่าที่มา ที่เริ่มต้นของโครงการ และการมีส่วนร่วมในการคิด และช่วยเหลือ ให้เขียนโครงการ และพูดคุยกับครัวเรือนถึง โครงการช่วยเรื่องสุขภาพด้านจิตใจ และจิตวิญญาณของครัวเรือนให้กลับมาร่วมมือช่วยกันทำกิจกรรม
  3. พี่เลี้ยงโครงการแนะนำตัว พูดคุย ให้ทราบ บทบาทในการมาเยี่ยม และช่วยเหลือ สนับสนุนให้โครงการสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับงบประมาณ จนสำเร็จ
  4. มีผู้ซักถาม และพูดคุย เสวนาถึงการรวมกลุ่มของชาวบ้านในหมู้ที่ 1 บ้านทุ่งจูดให้มาร่วมทำกระจาดเดือนสิบเป็นหนึ่งเดียว จากเดิมที่ทำกัน 3 กระจาด
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มี รพสต.บ้านปลายเส สัญญาจะมาเข้ามาร่วมกิจกรรม และช่วยสนับสนุนวิชาการ 2. ผู้รับผิดชอบโครงการ มอบให้ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำเสนอ พูดคุย ชี้แจง และสรุปในการประชุม 3.เห็นการระดมทุนเพิ่มขึ้น จาก การนำเสนอ พูดคุยซักถาม ได้แก่ งบประมาณของหมู่บ้านเอง งบประมาณของกรมทรัพยากร ที่มาพัฒนา แอ่งนำ้ทุ่งจูด ฯลฯ 4.พบปราชญ์ชาวบ้านด้านแกะลาย และผู้นำขอ ตำบลมาให้ความร่วมมือ และสนับสนุน สามารถมองเห็นความสำเร็จได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย, ผอ.รพสต. ,ประธานสภาตำบลคลองเส, ปราชญ์ด้านแกะลายของกระจาดเดือนสิบ, ประธานอสม., สอบต.หมู่ที่ 1ต.คลองเส

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

นำเสนอข้อมูลจากการสำรวจครัวเรือน25 มกราคม 2559
25
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้ที่ประชุมได้รับทราบข้อมูลจากการสำรวจครัวเรือนและนำแนวคิดจากผู้ร่วมกิจกรรมเป็นแนวทางแก้ปัญหา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

8.30น.ลงทะเบียน 9.00น.ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและนำเสนอข้อมูลจากการสำรวจครัวเรือน 9.30น.นิมนต์พระมาเพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางด้านจิตใจ เพื่อจะได้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมมากๆ ด้วยการร่วมทำกิจกรรมด้านศาสนาฟังเทศน์ฟังธรรม และร่วมตักบาตรอาหารแห้ง และนำปิ่นโตมาถวายพระ
10.30น.พิธีเปิดพิพิทภันฑ์ของบ้านทุ่งจูด 11.00น.ถวายอาหารแก่พระคุณเจ้า และเชิญทุกท่านร่วมรับประทานอาหารหลังจากเสร็จพิธีพระ 12.00น.พิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน 13.00น. - 16.00น ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอแนวคิดเพื่อร่วมแก้ปัญหา พร้อมทั้งร่วมกันซัก ถาม ตอบปัญหา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ข้อมูลทั่วไป เป็นผู้หญิง วัยทำงาน สถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถม
  2. การปฏิบัติเรื่องวิถีชีวิตประจำวัน มีการลดรายจ่ายคิดก่อนซื้อมากขึ้น ประหยัดทำกินทำใช้บ้าง พร้อมที่จะรับการอบรมในเรื่องกิจกรรมเพิ่มรายได้โดยอยากให้ใช้ทุนในชุมชน จิตใจเอื้ออารีย์ แต่ไม่มีการออมเพราะนำเงินออมไปเป็นรายจ่าย
  3. ระดับความสุขของบุคคล มีความพึงพอใจ และมีความสุข มีปัญหาก็ช่วยเหลือตนเองได้บุคคลอื่นก็พร้อมช่วยเหลือ
  4. ความรู้สึกต่อส่วนรวม ยังคงรวมพลังได้ด้วยชาติ ศาสนา มีความภาคภูมิใจในประเพณีและวัฒนธรรม และอยากมีอยากร่วมอยากอนุรักษ์ ความรู้สึกเห็นอกเห็นใจต่อบุคคลอื่นมีความสุขที่ได้ดูแลช่วยเหลือกัน
  5. สรุปโดยรวมว่าใน 1 ปีครัวเรือนมีความสุขปานกลางไม่ลดน้อยลงแต่ก็ไม่เพิิ่มขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 55 คน จากที่ตั้งไว้ 100 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนครัวเรือน เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ถ้ำพรรณรา 1 คน ประธานอสม.ตำบลคลองเส 1 คน ผอ.รพสต.คลองเส 1 คน ฝ่ายปกครอง 3 คน ปลัดอำเภอถ้ำพรรณรา 1 คนและคณะกรรมการโครงการ 5 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมยังน้อยเนื่องจากวิถีการประกอบอาชีพของคนในชุมชน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

 

เยี่ยม ติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการโครงการ16 มกราคม 2559
16
มกราคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
วัตถุประสงค์

ติดตามการจัดกิจกรรม  และการทำงานของคณะกรรมการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

พูดคุยซักถามปัญหา ร่วมกัน ภ ดครงการของ ตำบล ถ้ำพรรณรา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีคณะกรรมการร่วมพูดคุย 2 คน พร้อมโครงการอื่นๆ ในตำบลถ้ำพรรณรา  กิจกรรม ได้ดำเนินการเรื่องการประชุมคณะกรรมการ ไปตามระยะเวลา และไม่ได้ตรวจสอบเอกสารการเงิน เนื่องจาก ยังรวบรวมไม่เรียบร้อย และการบันทึกกิจกรรมไม่เป็นปัจจุบัน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

พูดคุย แลกเปลียนปัญหา ร่วมกันหาแนวทางให้สามรถจัดกิจกรรมได้ ต่อเนื่อง

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

การกำหนดวันดำเนินการในปฏิทินโครงการ ล่าช้าไปอยู่ในเดือน ส.ค. ,ก.ย., ต.ค,ของปี 2559 จึงชี้แนะ เพื่อปรับเปลี่ยนเวลาดังนี้
ภายในเดือน ม.ค. 59 ให้นำเสนอข้อมูลจาการสำรวจ ให้แล้วเสร็จ โดยบูรณาการเข้ากับงานของหมู่บ้าน คืองานลานบุญ ลานธรรม ในวันที่ 25 ม.ค. 59 ภายในเดือน ก.พ. จัดกิจกรรม เรียนรู้ประวัติทุ่งจูด 2 ครั้ง ภายในเดือนมี.ค. จัดกิจกรรมเรียนรู้ประวัติทุ่งจูดอีก 2 ครั้ง ภายในเดือนเม.ย. เตรียมจัดประเพรณีแห่กระจาด ภายในเดือน พ.ค. กิจกรรมจำลองเหตุกรณ์แห่กระจาด 3 ครั้ง ภายในเดือนมิ.ย. กิจกรรมถอดบทเรียน

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  1. ปรับเลื่อนทุกกิจกรรมให้เร็วขึ้นให้ทันปิดสรุปโครงการภายในเดือน ก.ย. 59
  2. การบันทึกรายงานในโปรแกรม  บันทึกรายงานการเงิน บันทึกวาระการประชุม สมุดบัญชีธนาคาร ให้เป็นปัจจุบัน
เยี่ยม ติดตามการดำเนินงานของคณะกรรมการโครงการ16 มกราคม 2559
16
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อติดตามการทำงานของคณะกรรมการโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ตรวจสอบเอกสาร รายงานการเงิน และการเสียภาษีกับสรรพากร หลักฐาน การจัดกิจกรรมตามแผน และปัญหาอุปสรรค ในการจัดโครงการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เรื่องที่ 1 การลงบันทึกรายงานกิจกรรม และรายงานการเงิน ยังลงบันทึกไม่ครบถ้วนจากปัญหา ผู้ช่วยบันทึกอยู่อีกตำบลหนึ่ง เสนอแนะให้ฝึกผู้ที่อยู่ในหมู่บ้านในการลงราบงาน
  • เรื่องที่ 2 ให้เลื่อนวันการจัดกิจกรรมทุกกิจกรรมให้เร็วขึ้นโดย ภายในเดือนมกราคม 2559 ควรนำเสนอข้อมูลจากกาารสำรวจความสุขของหมู่บ้านให้เสร็จสิ้น และภายในเดือน กุมภาพันธ์ 2559 ควรจัดกิจกรรม เรียนรู้ประวัติบ้านทุ่งกระจูด และประเพณีบุญสารทเดือนสิบ"กระจาด"แต่โบราณ 4 ครั้งให้เสร็จสิ้น เพื่อให้ทันรอบการใช้งบโอนงวดที่ที่ 1 มากกว่า 60%
  • เรื่องที่ 3 ย้ำเรื่องการแบ่งบทบาทหน้าที่คณะกรรมการให้ชัดเจน เพื่อลดภาระการจัดกิจกรรมในโครงการ และเกิดผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรมได้สำเร็จง่ายขึ้น
  • เรื่องที่ 4 พัฒนาการถ่ายรูปการจัดกิจกรรมให้สื่อถึงการทำกิจกรรมนั้นๆ เพื่อลงบันทึก แล้วเห็นคุณค่าของการจัดกิจกรรมนั้น
  • เรื่องที่ 5 ย้ำเรื่องเทคนิคการจัดกระบวนการเปิดเวทีอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้ผู้เข้าร่วมเวทีเสนอแนะ และมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม มากขึ้น เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์โครงการ
  • เรื่องที่ 6 ความโปร่งใส เรื่องการเงินการทำงานของคณะกรรมการเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนคณะกรรมการโครงการ 1 ท่าน และผู้ใหญ่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ฝึกนักเรียนหรือเยาวชนในหมู่บ้านให้สามารถลงบันทึกข้อมูล กิจกรรมในโปรแกรม เพื่อลดปัญหา การบันทึกล่าช้า

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

.

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

 

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 46 มกราคม 2559
6
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.เพื่อประเมินผลจากการจัดกิจกรรมนำเสนอข้อมูล 2.เพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคของการจัดกิจกรรมครั้งที่แล้ว 3. เพื่อป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นกับกิจกรรมครั้งต่อไป

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ลงชื่อเข้าร่วมกิจกรรม 2. เปิดประชุมโดยผู้ใหญ่บ้าน และชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรมที่ผ่านมา และขอเชิญผู้เข้าร่วมได้แสดงความคิดเห็น 3.ตัวแทนจากหน่วยงานร่วมแสดงความคิดเห็น

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. หน่วยงานพัฒนาชุมชนขอต่อยอดข้อมูลจาการสำรวจ ซึ่งได้รับทราบจากการนำเสนอแล้ว โดยขอแบบสอบถาม 1 ชุด ขอทำชุมชนนี้ให้ได้มีกิจกรรมด้านเศรษฐกิจพอเพียงผ่านโครงการที่จะให้ชุมชนคิดเองทำเอง
  2. คณะกรรมการและแกนนำเขตบ้านได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในที่ประชุมที่มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน
  3. กศน.เสนอตัวเพื่อเข้ามาร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

สรุปผลว่ามีความร่วมมือกันในระดับครัวเรือน แกนนำ หน่วยงานมากขึ้น เห็นความเข้มแข็งของสังคมค่อยเป็นค่อยไป

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 15 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ 9 คน ตัวแทนหน่วยงานอำเภอ 1 คน ฝ่ายปกครอง 3 คน อสม.2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 38 ธันวาคม 2558
8
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อกระตุ้นเตรียมความพร้อมของคณะกรรมการในการทำกิจกรรมของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ลงทะเบียน 2.เปิดประชุม 3.ซักถามความพร้อมของคณะทำงาน และซักถามเรื่องใครมีความอึดอัดใจบ้างในการทำกิจกรรม หรือใครมีปัญหาหรือเปล่า 4.มีการซักถามถึงการเบิกจ่ายงบประมาณที่ทำโครงการในขณะนี้ ผู้รับผิดชอบได้ตอบข้อซักถามจนเกิดความเข้าใจมีความพร้อม ความเข้าใจที่จะทำงานกันต่อไป 5.ที่ประชุมได้แสดงความกังวลใจถึงการทำกิจกรรมแล้วมีการรายงานผลทางเว็บไซด์ล้าช้าว่าเกิดจากอะไร ผู้รับผิดชอบได้สรุปว่าเกิดจากความไม่มีความชำนาญเรื่องการเรียบเรียงข้อความในการรายงาน 6.กรรมการขาดความรู้เรื่องการสร้างแบบสอบถามเพื่อสำรวจความสุขของครัวเรือน ทำให้กรรมการต้องหาต้นแบบแล้วนำมาปรับลดเพิ่มเติมแล้วนำมาเข้าร่วมที่ประชุมครั้งต่อไป

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีคณะกรรมการเข้าร่วมครบ มีวัยทำงานที่สนใจในทิศทาง อยากทราบแนวทางการทำโครงงานของกรรมการ และอสม.อยากทราบถึงการนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาใช้ประโยชน์อย่างไร ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมเกิดความสบายใจที่ทราบถึงแนวทางการทำกิจกรรมเพื่อการมีส่วนร่วม เกิดสังคมผู้มีจิตสาธารณะ เกิดความโปร่งใสของงบประมาณ สรุปว่ายังคงได้รับความร่วมมือที่ดีในการทำโครงการ และสามารถชี้แจงตรวจสอบได้ มีเครื่องมือในการทำงาน และสามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ แต่ต้องชี้แจงข้อมูลให้สาธารณะชนได้ทราบว่าได้นำกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 19 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ 15 คน วัยทำงาน 3 คน อสม. 1 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 26 ธันวาคม 2558
6
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อพัฒนาศักยภาพ และรับฟังชี้แจงเรื่องการทำรายงานผลการดำเนินงานและการทำรายงานการเงินและการหักภาษี ณ ที่จ่าย

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สจรส แนะนำการทำกิจกรรม และการถอดบทเรียนก่อนปฏิบัติ รายงานความก้าวหน้าโครงการ การเขียนผลผลิตและผลลัพธ์ การเขียนผลลัพธ์ ผลสรุป การวิเคราะห์เชื่อมโยงสุขภาวะ แนะนำเอกสารที่เกี่ยวข้องใน 1 กิจกรรม ประกอบด้วย เอกสาร ภาพถ่าย รายงานบันทึกการทำกิจกรรม ประเภทของงบประมาณ การเขียนหนังสือรับรอง ณ ที่จ่าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการการรายงานผลการดำเนินกิจกรรมตามแผน จัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องของแต่ละกิจกรรม ได้เรียนรู้เรื่องการเขียนรายงานผลการดำเนินงานและการจัดการเอกสารการเงินที่ถูกต้อง

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

หัวหน้าผู้รับผิชอบโครงกาาพร้อมเลขา จำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.สิทธิพรรณ
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ประชุมชี้แจงโครงการ จัดทำปฏิทินโครงการและจัดทำทะเบียนผู้เข้าร่วมโครงการ7 พฤศจิกายน 2558
7
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

1.ประชุมเพื่อให้ทราบว่าโครงการได้ผ่านการอนุมัติ 2. ได้รู้จักคณะดำเนินงานโครงการ 3. ได้รู้จักพี่เลี้ยงที่จะติดตามและให้คำปรึกษาในกระบวนการทำกิจกรรมต่างๆในโครงการให้ถูกต้องตามระเบียบ 4.เพื่อขอความร่วมมือจากชุมชนได้รับทราบปฏิทินการทำงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

9.00. พี่เลี้ยงโครงการและคณะกรรมการพูดคุยทำความรู้จัก และช่วยซักถามข้อสงสัยเพื่อให้โครงการดำเนินการได้ต่อไป 10.00น. กลุ่มเป้าหมายลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ หลังจากนั้นผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวต้อบรับและชี้แจงเรื่องโครงการและขอความร่วมมือให้ประชาชนในหมู่บ้านเข้าร่วมโครงการช่วยให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ และแนะนำให้รู้จักพี่เลี้ยงคือนางสิทธิพรรณ เรือนจันทร์ และหลังจากนั้นพี่เลี้ยงได้พูดคุยกับที่ประชุมให้เกิดความมั่นใจในการรับงบประมาณมาดำเนินการ พร้อมทั้งเรื่องความโปร่งใสในการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับงบประมาณ หลังจากนั้นผอ.รพสตบ้านปลายเส ได้แสดงความคิดเห็นว่าโครงการนี้ส่งเสริมทำให้สุขภาพของประชาชน เกี่ยวกับด้านจิตใจให้เกิดความรักความสามัคคีมาร่วมกันทำกิจกรรมในหมู่บ้าน หลังจากนั้นมีผู้ซักถาม ถึงเรื่องความเป็นไปได้ในการทำกืจกรรม และยินดีที่จะเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อให้หมู่บ้านเกิดความรักความสามัคคี เอื้อเฟื้อช่วยเหลือเผื่อแผ่กันทำให้ความเป็นพี่น้องกลับคืนมา

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 89 คน น้อยกว่าแผนที่ตั้งไว้ แต่มีหน่วยงานด้านสาธารณสุข และตัวแทนจากองค์การบริการส่วนตำบล เข้าร่วม พร้อมทั้งปราญช์ชาวบ้าน ด้านแกะลายกระดาษทำกระจาดเดือนสิบ
  2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมแสดงความกระตือรือร้นที่จะทำกิจกรรมฟื้นฟูการทำขนมเดือนสิบโบราณ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 89 คน จากที่ตั้งไว้ 120 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ ผู้สูงอายุ ผ.อ.รพสตพร้อมเจ้าหน้าที่ รพสต.บ้านปลายเส ประธานสภา ประธานอสม. สอบต.

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  1. กลุ่มเป้าหมายมาน้อยเนื่องจากเป็นวันเสาร์ เด็กในโรงเรียนไม่มาเข้าร่วม แนวทางแก้ไข การทำกิจกรรมที่มีเด็กเข้าร่วมต้องทำกิจกรรมในวันจันทร์ถึงวันศุกร์
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
อ.สิทธิพรรณ เรือนจันทร์
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่ม่

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 26 พฤศจิกายน 2558
6
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานให้สอดคล้องกับปัญหาความเดือดร้อนของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.การลงทะเบียนของคณะกรรมการ และผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2.ผู้ใหญ่เปิดประเด็นในการที่ต้องร่วมกันทำงาน 3.การเตรียมพร้อมที่จะต้องวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจ 4.การทำความเข้าใจต่อสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม 5.การสร้างสรรค์กิจกรรมการพัฒนาและการเรียนรู้ 6.ประชุมเพื่อวางแผนจัดกิจกรรมแบบมีส่วนร่วม 7.เชิญวิทยากรผู้มีความชำนาญในการทำแผนแม่บทชุมชนมาร่วมให้ความรู้เพิ่มเติมแก่คณะกรรมการเน้นให้รู้ว่าข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้องมีความสำคัญ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการเข้าร่วมประชุมครบได้แนวร่วมที่เป็นกลุ่มเยาวชนและกลุ่มแม่บ้าน ได้ร่วมวางแผนกำหนดกิจกรรมที่สร้างสรรค์โคยคำนึงถึงธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการจัดกิจกรรม ทุกคนได้ร่วมคิดร่วมแสดงความคิดเห็น ทำให้คณะทำงานมีความสบายใจในการทำงานร่วมกันเป็นสังคมที่อยู่ร่วมกัน ร่วมกันคิดหาทางแก้ไข สรุปว่าการทำงานต้องประชุมชี้แจง เพื่อความเข้าใจที่ตรงกันจะได้ทำงานไปในทิศทางเดียวกัน โอกาสที่ทำงานได้สำเร็จด้วยความราบรื่นตลอดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 19 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ 15 คน กลุ่มเยาวชน 2 คน กลุ่มแม่บ้าน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจความสุขและความขัดแย้งของครัวเรือนตามประเพณีวัฒนธรรมทุ่งจูด31 ตุลาคม 2558
31
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อสำรวจข้อมูลนำมาวิเคราะห์สรุปแล้วเสนอในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ผู้ใหญ่บ้านกล่าวต้อนรับ 2.ผู้รับผิดชอบชี้แจงวัตถุประสงค์การสำรวจข้อมูลเพื่อกิจกรรมนี้ 3. คณะกรรมการนำข้อมูลมาสรุุป 4.นำเสนอข้อมูลในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4.รับฟังข้อเสนอแนะ ตอบข้อซักถาม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อมูลด้านความสุขโดยสรุปเป็นมายแม็ป ทำให้นำเสนอง่ายและเข้าใจง่าย โดยมีข้อมูลดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยเพศ อายุ สถานภาพ การศึกษา 2.การนำแนวประเพณีวัฒนธรรมมาปรับใช้ ประกอบด้วยการลดรายจ่าย การประหยัด การเพิ่มรายได้ การเรียนรู้ การเอื้ออารีย์ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 3.ระดับความสุข แยกเป็น 3.1 ความรู้สึกต่อตนเอง ประกอบด้วย ความพึงพอใจ เปรียบเทียบความสุขในอดีตกับปัจจุบัน ฐานะทางสังคม ปัญหาอุปสรรค อารมณ์ ญาติช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุ ได้รับความช่วยเหลือจากคนอื่น ครอบครัวช่วยเหลือหาทางออก สมาชิกในครอบครัวมีความผูกพันธ์ 3.2 ความรู้สึกต่อบุคคลอื่น ประกอบด้วยการผูกมิตร การช่วยเหลือ การเสียสละ การแก้ปัญหา ความคิดริเริ่ม เป็นสุขในการช่วยเหลือผู้อื่น มีควมยินดีเห็นอกเห็นใจ 3.3ความรู้สึกต่อส่วนรวม ประกอบด้วย ยึดถือศรัทธาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ งานประเพณีประกอบด้วย การอนุรักษ์สืบทอด ความภาคภูมิใจ การมีส่วนร่วม กิจกรรม สรุปในหนึ่งปีที่ผ่านมามีระดับความสุขส่วนใหญ่คำตอบที่ได้เป็นระดับปานกลาง รองลงมาคำตอบคือระดับความสุขน้อย

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนครัวเรือน คณะกรรมการ ปราชญ์ชุมชน นักศึกษากศน.  52 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

 

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่ม่

สำรวจ ความสุข และความขัดแย้งของครัวเรือนตามประเพณี วัฒนธรรมทุ่งจูด ครั้งที่ 225 ตุลาคม 2558
25
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

ลงสำรวจครัวเรือนตามแบบสอบถาม 

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. แบ่งทีมสำรวจ ลงสำรวจแต่ละคุ้มบ้าน ทีมงานทั้ง 3 ทีมลงครัวเรือนเพื่อสำรวจข้อมูลในบ้านทุ่งจูด มี 2 ทีมลงสำรวจหลังเลิกเรียน อีก 1 ทีมลงสำรวจครัวเรือนหลังจากว่างจากทำงานประจำ ไม่สามารถระบุเวลาได้
  2. ครัวเรือนที่สำรวจ 60 ครัวเรือนจากครัวเรือนทั้งหมด 74 ครัวเรือน เข้าสอบถามตัวต่อตัวของครัวเรือน ตอนเย็นเพราะส่วนใหญ่สมาชิกในครัวเรือนอยู่บ้าน และลงสำรวจหลังจากว่างงาน
  3. กำหนดให้ในครั้งนี้จะต้องได้ข้อมูลมา 30 ชุด หรือมากกว่าก็มาสรุปของในครั้งที่ 2 แล้วค่อยสรุปรวมจากการสรุปทั้ง 3 วัน 3 ทีมงาน
  4. แบบสอบถามที่เหลือนำไปสอบถามในครั้งที่ 3 ให้ครบตามเป้าหมาย แล้วสรุปรวม วิเคราะห์ข้อมูลในครั้งที่ 3 พร้อมนำเสนอข้อมูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ข้อมูลจากการสอบถามรวมทุกๆ เรื่องในรอบปีที่ผ่านมาว่าครัวเรือนรู้สึกมีความสุขกับชีวิตของเพียงไร ของการสำรวจแต่ละวัน ได้ระดับการวัดความสุขในชีวิต ของแต่ละวัน ผลสรุปของกิจกรรม คือมีแบบสอบถามเพื่อเป็นเครื่องมือในการสำรวจข้อมูล 1 ชุด ได้ทีมงานลงสำรวจครัวเรือนครั้งที่ 2 ทั้ง 3 ทีม มีข้อมูลที่ได้สำรวจแล้ว 30 ชุด ทำให้ทีมทำงานได้มีโอกาสรับทราบข้อมูล ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิด ได้รับรู้ทุกข์สุข และปัญหาความต้องการ และข้อเสนอแนะในการทำกิจกรรม ได้นำข้อมูลทั้ง 2 ครั้งมารวบรวมเพื่อวิเคราะห์แล้วนำมารวมกันในครั้งที่ 3 รอการนำเสนอข้อมูลต่อสาธารณะ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

ครัวเรือนเป้าหมาย

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

สำรวจ ความสุข และความขัดแย้งของครัวเรือนตามประเพณี วัฒนธรรมทุ่งจูด ครั้งที่ 124 ตุลาคม 2558
24
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อจัดทำแบบสำรวจครัวเรือน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. จัดทำแบบสอบถามปัจจัยที่มีผลต่อความสุขของเกษตรกรในบ้านทุ่งจูด โดยนำตัวอย่างแบบแบบสำรวจครัวเรือนเกษตรกร ที่ดัดแปลงจากแบบสอบถามความสุขของครัวเรือนเกษตรกรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกตษรศาสตร์และแบบสอบถามความขัดแย้งของชุมชนแบ่งทีมสำรวจมาพุดคุยคัดเลือก หัวข้อแบบสำรวจ ที่เกี่ยวข้องกับหมู่บ้านเรา
  2. แบ่งทีมสำรวจ ลงสำรวจแต่ละคุ้มบ้าน เข้าสอบถามตัวต่อตัวของครัวเรือน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการเข้าร่วมทำแบบสอบถาม 15 คน นักเรียน กศน. 6 คน ได้แบบสำรวจจากการสอบถามจากคณะกรรมการ และตัวอย่างจากการนำแบบสำรวจความสุข ของมหาวิทยาลัยเกตษรศาสตร์ที่เข้าร่วมจัดทำแบบสอบถาม การคัดเลือกประเด็นในแบบสอบถามดังต่อไปนี้ 1.ตอนที่1ระดับการปฏิบัติของประชาชนในการนำแนวประเพณีวัฒนธรรมมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิต 1.1การลดรายจ่าย 1.2การเพิ่มรายได้ 1.3การประหยัด 1.4การเรียนรู้ 1.5การอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 1.6การเอื้ออารีต่อกัน 2.ตอนที่2 สอบถามเรื่องระดับความสุขของบุคคล 2.1ความสุขและความพึงพอใจต่อตนเอง 2.2การช่วยเหลือ การเสียสละต่อบุคคลอื่น 2.3การมีส่วนร่วมต่อส่วนรวม 2.4การดูแล อนุรักษ์ และสืบทอดประเพณีวัฒนธรรม การสำรวจข้อมูลเรื่องความสุข จากคำถามรวมทุกๆ เรื่องในรอบปีที่ผ่านมา คุณรู้สึกมีความสุขกับชีวิตมากน้อยเพียงไร 3.ตอนที่3ข้อมูลทั่วไป 3.1เพศ 3.2อายุ 3.3สถานภาพ 3.4ระดับการศึกษา 3.5จำนวนสมาชิกในครัวเรือนอายุน้อยกว่า 15ปี 3.6จำนวนสมาชิกในครัวเรือนอายุ 16-59 ปี 3.7จำนวนสมาชิกในครัวเรือนอายุ มากกว่า 60 ปี

มีการกำหนดแบ่งทีสำรวจ ลงสำรวจคุ้มบ้าน ร่วมกับเด็กนักเรียน เยาวชน โดยมีคณะกรรมการเป็นหัวหนัาทีมเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติเบื้องต้น

และได้พูดคุยปัญหาของหมู่บ้าน เรื่องการขุดลอกแหล่งน้ำทุ่งจูดซึ่งจะกระทบถึงการใช้น้ำประปาหมู่บ้าน ซึ่งคณะกรรมการจะนำเรื่องไปพูดคุยกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองเส

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 68 คน จากที่ตั้งไว้ 82 คน
ประกอบด้วย

ครัวเรือนเกษตรกร

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนาศักยภาพคณะกรรมการ ครั้งที่ 117 ตุลาคม 2558
17
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมติดตามและทำความเข้าใจกับการดำเนินโครงการ รายละเอียดงบประมาณ และกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เริ่มประชุม เวลา 13.00 น เปิดการประชุมโดยผู้ใหญ่บ้านนายสมศักดิ์ หยูทองอินทร์ และผู้ใหญ่ได้พูดคุยเรื่องที่มาของโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์ แผนการดำเนินงาน งบประมาณ และซักถามว่าสามารถนำงบประมาณไปใช้ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับโครงการได้หรือไม่ และผู้รับผิดชอบชี้แจงได้แบ่งบทบาทหน้าที่ โดยนางผ่องศรี สวนทองวรกุล เป็นเหรัญญิก นายสาธิต ชัยเพชรเป็นเลขานุการ

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะกรรมการเข้าร่วมประชุมครบ 15 คนและมีอสม เข้าร่วมอีก 4 คน ผู้ใหญ่สมศักดิ์ หยูทองอินทร์เป็นประธานและวิทยากรกระบวนการในที่ประชุมได้เปิดประชุมเมื่อเวลา 13.00 น.เรื่องที่ต้องทำความเข้าใจและต้องร่วมกันดำเนินงานของโครงการที่ได้รับการอนุมัติจากสสส.
เรื่องที่ 1 แจ้งให้ที่ประชุมทราบ มีดังนี้ ที่มาของโครงการ วัตถุประสงค์ แผนการดำเนินงาน งบประมาณ เรื่องที่ 2 ขอมติในการแบ่งหน้าที่เพื่อความสะดวกต่อการดำเนินงานโครงการ เรื่องที่ 3 เรื่องอื่นๆ

ผู้ใหญ่สมศักดิ์ได้ชี้แจงให้ที่ประชุมทราบถึงที่มาของโครงการพอสังเขปว่า ก่อนที่จะได้มาก็เกิดมาจากการสำรวจปัญหาและความต้องการของชุมชน ซึ่งอันดับที่ 1 เรื่องความขัดแย้งของคนในชุมชน เมื่อทราบแลัวก็มีคำถามต่อไปว่าจะทำอย่างไร จะทำเมื่อไรแล้วจะทำกันที่ไหน ก็เป็นที่มาของการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วความร่วมมือด้วยกิจกรรมประเพณีวัฒนธรรมของชุมชนได้รับความร่วมมืออันดับหนึ่งจึงใช้ประเพณีสาร์ทเดือนสิบด้วยกระจาดเดือนสิบรวมใจเฉลิมพระชนม์พรรษา สมเด็จพระเทพฯ วัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจลดความขัดแย้งในชุมชนได้ โดยมีผู้รับผิดชอบเข้าร่วมพัฒนาโครงการตั้งแต่เริ่มเสนอโครงการ พัฒนาโครงการร่วมกับสสส.เป็นระยะ และคณะกรรมการทุกท่านต้องร่วมกันทำแผนการทำงานโดยใช้วันเวลาเป็นตัวกำหนด เรียกง่ายๆว่าทำปฏิทิน ซึ่งจะไปสอดคล้องกับงบประมาณที่ทาง สสส.ให้มาทำกิจกรรมเป็นงวดตามแผนงานที่กำหนดไว้และจะต้องทำงานจนปิดงวดแต่ละงวดให้แล้วเสร็จจึงจะได้รับงบประมาณในงวดต่อไป โครงการนี้ปฏิบัติจริงในชุมชนบ้านทุ่งจูดของเรา

ผลจากการเสนอชื่อและมีมติรับรองตำแหน่งต่างๆ ดังนี้ 1.นายสมศักดิ์ หยูทองอินทร์ เป็นประธาน และวิทยากรกระบวนการ 2.นายออมสิน ศรีแก้ว เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ ร่วมประชุมกับพี่เลี้ยง สจรส มอ. และเป็นผู้ประสานงาน 3.นายสัมพันธ์ ทองศักดิ์ เป็นผู้รับผิดชอบการจัดสถานที่ในการประชุม การทำกิจกรรม 4.นางผ่องศรี สวนทองวรกุล เป็นเหรัญญิก รับผิดชอบการเงินและจัดเก็บเอกสาร 5.นายสาธิต ชัยเพชรเป็นผู้รับผิดชอบการลงทะเบียนของผู้ร่วมประชุมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม และทำหนังสือต่างๆ
6.นางเกษมสุข อักษรทองอยู่ฝ่ายสนับสนุนและต้อนรับ 7.นางสร้อยวัลย์ พัฒจันทร์ ประชาสัมพันธ์ และร่วมประชุมกับพี่เลี้ยง สจรส มอ. 8.กรรมการทุกท่านเป็นฝ่ายสนับสนุน

เรื่องอื่นๆ ที่มีการถามตอบในที่ประชุมคื่อเรื่องการใช้งบประมาณไปทำกิจกรรมพัฒนาชุมชนด้านอื่นๆได้หรือไม่ ประธานที่ประชุมตอบว่างบประมาณที่ได้รับอนุมัติมามีกรอบในการใช้จ่ายมีแผนงานปฏิทินกำหนดไว้ชัดเจน มีหลักฐานการใช้จ่ายถูกต้อง จึงตอบว่าไม่ได้ สำหรับวันนี้หากไม่มีใครซักถาม วันหน้าวันหลังมีข้อสงสัยซักถามก็จะมีโอกาสประชุมร่วมพัฒนาศักยภาพคณะกรรมการไว้ถามตอบกันอีกหวังว่าคงจะได้รับความร่วมมือด้วยดี ขอบพระคุณทุกๆท่านครับ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 19 คน จากที่ตั้งไว้ 15 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการ 15 คน อสม.4คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตาม ครั้งที่ 13 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการดำเนินงาน และทำปฏิทินโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

รับฟังการขี้แจงการบันทึกกิจกรรมหน้าเว็บไซด์ ในเรื่องการทำปฏิทินการบันทึกที่เน้นการถ่ายภาพให้มีความเคลื่อนไหว และให้ถ่ายเก็บไว้เยอะๆ และการบันทึกในเรื่องของผลผลิตและผลลัพธิ์ให้อธิบายให้เป็นรูปธรรม และเรียนรู้เรื่องการจัดการเอกสารการเงิน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวแทนหมู่บ้าน 2 คนเข้าร่วมรับฟัง การชี้แจงการทำงานจาก สจรส.มอ. เพื่อสามารถดำเนินการโครงการได้ เรื่องที่ชี้แจงได้แก่ ปรับความคิดในการดึงคนในหมู่บ้านเข้ามามีส่วนร่วมในแต่ละกิจกรรม เรื่องการจัดทำรายงานการเงิน หลักฐานทางการเงิน การเก็บภาพถ่ายที่สื่อถึงกิจกรรมที่ทำแต่ละครั้งอย่างน้อย 8-10 ภาพ ควรเป็นภาพที่แสดงถึงการทำกิจกรรมนั้นๆไม่เอาภาพถ่ายหมู่เพราะไม่สะท้อนกิจกรรมที่ทำ และเมื่อมีปัญหาในการทำกิจกรรมให้ประสานกับพี่เลี้ยง ท้ายที่สุด สอนให้รู้จักกับโปรแกรมการรายงานทั้งรายงานกิจกรรม รายงานการเงินผ่านเวบไวด์คนใต้สร้างสุข

ตัวแทนจากหมู่บ้านรู้จักเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข เข้าค้นหาโครงการตนเองและเข้าไปแก้ไขรายละเอียดกิจกรรม บันทึกกิจกรรมเพิ่มเติมได้ด้วยชื่อและรหัสผ่านผู้รับผิดชอบโครงการ สามารถลงโปรแกรมรายงานกิจกรรมผ่านเว็บไซด์ได้ เก็บภาพและคัดเลือกภาพที่สื่อการทำกิจกรรมได้ และในระหว่างที่รับฟังการการชี้แจงมีปัญหาและตามไม่ทันก็จะปรึกษาพี่เลี้ยงตลอด เช่นการทำปฏิทินกิจกรรมเข้าใจและทำปฏิทินได้

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

คณะกรรมการทำงานดำเนินงานโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงาน2 ตุลาคม 2558
2
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย ออมสิน ศรีแก้ว
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชาสัมพันธ์การลด ละ เลิกบุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่จำนวน 2 ป้าย

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้ป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ จำนวน 2 ป้าย ทำให้ผู้เข้าร่วมทราบว่าโครงการที่รับงบประมาณจากสสส. ขณะทำโครงการกิจกรรมต่างๆจะไม่เกี่ยวข้องกับเหล้า บุหรี่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ป้ายสัญลักษณ์ 2 ป้าย

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

ไม่มี

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี