assignment
บันทึกกิจกรรม
จัดทำรายงานปิดโครงการ15 พฤศจิกายน 2559
15
พฤศจิกายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ - เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการงวดที่ 3
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • บันทึกรายงานผลการจัดกิจกรรมในเว็บไซด์คนใต้สร้างสุข
  • พี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน ตรวจสอบรายงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • สามารถบันทึกรายงานกิจกรรมลงเว็บไซด์คนใต้สร้างสุขให้เป็นปัจจุบัน
  • พี่เลี้ยงโครงการตรวจสอบเนื้อหารายงาน พร้อมปรับแก้ให้ ตรวจสอบเอกสารการเงิน พบจุดผิดพลาด แนะนำให้ไปปรับแก้ไขให้ถูกต้อง
  • คณะทำงานโครงการ ไม่สามารถดำเนินงานโครงการได้ทัน ถึงแม้จะได้มีการขยายเวลาในการดำเนินงานไปแล้ว 1 เดือนก็ตาม จึงขอจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเฉพาะที่จัดไปแล้ว และขอยุติการดำเนินงานโครงการตามระยะเวลาสัญญา แล้วคืนเงินกิจกรรมในส่วนที่เหลือให้กับ สสส. ต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • การเงินโครงการ
  • ฝ่ายบันทึกข้อมูลโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ภาระกิจในชุมชนที่มีเป็นจำนวนมาก ร่วมสร้างภาระงานของภาคีเครือข่าย กลุ่มเป้าหมายที่จะร่วมกิจกรรมด้วย  ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานโครงการได้ตามแผน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

สำรวจข้อมูลสมุนไพร และผักพื้นบ้านในชุมชนบ้านปากหาน8 ตุลาคม 2559
8
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเรียนรู้เรื่องสมุนไพร
  • เพื่อส่งเสริมการบริโภค การใช้ประโยชน์ และดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยภูมิปัญญาด้านสมุนไพรและผักพื้นบ้านที่มีในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ให้นักเรียนรับแบบสำรวจสมุนไพรจากคณะทำงานโครงการ
  • นักเรียนออกไปตามบ้านเรือนสำรวจสมุนไพร โดยมีการแบ่งกันไปสำรวจ คนละ 2 หลังคาเรือน
  • นำรายงานของแต่ละคนมาส่ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • นักเรียนออกไปตามบ้านเรือนสำรวจสมุนไพร โดยมีการแบ่งกันไปสำรวจ คนละ 2 ครัวเรือน รวมจำนวน 30 ครัวเรือน

    • ด.ญ.ธารารัตน์ สุขแก้วสำรวจบ้าน นายสมพร สุขแก้วเลขที่ 28/7 ม.4 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี / สำรวจบ้าน นายชนะ สุขคงเลขที่ 36/4 ม.4 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ช.ศิวะดล พรมแก้ว สำรวจบ้าน นางสิราณี พรมแก้ว เลขที่ 18 ม.7 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี / สำรวจบ้าน นาง เอี้ยน เทพนิมิตรเลขที่ 37 ม.7 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ญ.ฐิติยา เชื้อพุทธสำรวจบ้าน นาง เสาวนิตย์ สิขิวัฒน์ เลขที่ 16 ม.11 ต.ดุสิต อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช / สำรวจบ้าน นาง พิศมัย สิขิวัฒน์ เลขที่ 6 ม.11 ต.ดุสิต อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช
    • ด.ช. นพวงศ์ คมสำรวจบ้าน นาย วีระชน คม เลขที่ 80/11 ม.6 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี / สำรวจบ้าน นาง อรพิน คม เลขที่ 80/9 ม.6 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ญ. นิรมล สิขิวัฒน์ สำรวจบ้าน นาย มณีโชติ สิขิวัฒน์ เลขที่ 65 ม.11 ต.ดุสิต อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช / สำรวจบ้าน นาง พิศมัย สิขิวัฒน์ เลขที่ 6 ม.11 ต.ดุสิต อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช
    • ด.ญ. สุนันทา พิทักษ์ สำรวจบ้าน น.ส. สุนันตรี ชูลี เลขที่ 2/9 ม.9 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี/ สำรวจบ้าน นาย สนิท ชูลี เลขที่2/3 ม.9 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ช. โตมร ทิพย์ดีสำรวจบ้าน นาย มิตร ทิพย์ดี เลขที่ 53 ม.9 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี/ สำรวจบ้าน นาง สงวนศรี ยอดโพธิ์ เลขที่ 50/3 ม.9 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ญ. วิริยา สุขฉนวนสำรวจบ้าน นาย สหัสสุขฉนวน เลขที่ 99/4 ม.7 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี/ สำรวจบ้าน นาง บุญเรื่อง สุขฉนวน เลขที่ 99 ม.7 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ญ. อภิสรา สุขคง สำรวจบ้าน นาย ชะนะ สุขคง เลขที่ 36/4 ม.4 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี / สำรวจบ้าน นาย สมพร สุขแก้วเลขที่ 28/7 ม.4 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ญ. วันวิสา รักษ์ปานสำรวจบ้าน ด.ญ. วันวิสา รักษ์ปาน เลขที่ 81/1 ม.3 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี / สำรวจบ้าน นาง ประพิศ รักษ์ปาน เลขที่ 81/2 ม.3 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ญ. นัฐสุดา ศรีเทพสำรวจบ้าน ด.ญ. นัฐสุดา ศรีเทพ เลขที่ 57/5 ม.5 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี / สำรวจบ้าน นายประยูร ละออ เลขที่ 1/17 ม.6 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ช. ธนาวุฒิ เพชรบริสุทธิ์ สำรวจบ้าน นาย ธวัชชัย เพชรบริสุทธิ์ เลขที่ 132 ม.10ต.ดุสิต อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช / สำรวจบ้าน นาย ยงยุทธ เพชรบริสุทธิ์ เลขที่ 130 ม.10ต.ดุสิต อ.ถ้ำพรรณรา จ.นครศรีธรรมราช
    • ด.ญ. อุไรวรรณ ธานะวัตรสำรวจบ้าน ด.ญ. อุไรวรรณ ธานะวัตร เลขที่ 23 ม.1 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี / สำรวจบ้าน นายไพริน จันทร์ทอง เลขที่27/1 ม.1 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ญ. ขนิษฐา คำโต สำรวจบ้าน นาง วงจันทร์ แถลงคำ เลขที่65/2 ม.1 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี / สำรวจบ้าน นาย สมพร สุขแก้ว เลขที่28/7 ม.4 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
    • ด.ญ. เพชรไพลิน ทิพย์สุวรรณสำรวจบ้าน นาย จำนงค์ ทิพย์สุวรรณ เลขที่ 1/12 ม.6 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี / สำรวจบ้าน นายประยูร ละออ เลขที่1/17 ม.6 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
  • นักเรียนได้รู้จักพืชสมุนไพรตามบ้านเรือนและได้สอบถามเจ้าของบ้านเรื่องสมุนไพรและสรรพคุณ

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 52 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านปากหาน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

งานสร้างสุขภาคใต้ 25593 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • พิธีเปิด การแสดงโขนโดยศูนย์ส่งเสริมศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์ กล่าวต้อนรับโดยนายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา
  • กล่าวเปิดโดย นายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
  • ปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ
  • รายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้
  • เสวนา มุมมองใหม่ในการพัฒนาระบบสุขภาพในอนาคต โดย ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟิ จะปะกียา นายพงษ์ศักดิ์ ยิ่งชนม์เจริญ นายทวีวัตร เครือสาย นายแพทย์ยอร์น จิระนคร ดำเนินรายการเสวนาโดย นายแพทย์ บัญชา พงษ์พานิช
  • ลานปัญญาสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม โดย นายอานนท์ มีศรี และนายฮารีส มาศชาย

วันที่ 4 ตุลาคม 2559

  • ลานสร้างสุขแลกเปลี่ยนความรู้ นวัตกรรม
  • ประชุมห้องย่อย เข้าห้องประเด็นชุมชนน่าอยู่ เสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุงโดย คุณมนูญ สุขรัตน์ ผู้ใหญ่บ้านทุ่งยาว คูณวิศิษฐ ชูสง นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง คุณจำเรียง นิธิกรกุล นักวิชาการปฏิรูปที่ดินชำนาญการ สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง ดำเนินการเสวนาโดย คุณทวีชัย อ่อนนวน
  • ชมการแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวร
  • นำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ โดยคุณสมยศ บรรดา และทีมงานโครงการ - นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช โดย คุณวณิชญา ฉันสำราญ และทีมงานโครงการ - นำเสนอกรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร
  • นำเสนอกรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต โดยคุณสมพร แทนสกุล และทีมงาน
  • นำเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัยโครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง โดยนายอนุชา เฉลาชัย และทีมงาน
  • ผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายโดย คุณสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก คุณสัมฤทธิ์ เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นายแพทย์ไพศาล เกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณกำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ลานปัญญาเสวนา ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง

วันที่ 5 ตุลาคม 2559

  • ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรม
  • กิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่าย
  • เสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน โดย นายแพทย์ภักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา รักษาการเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ดร. สุปรีดา อดุยยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ นายพลากร วงศ์กองแก้ว ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน นายแพทย์พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุภาพแห่งชาติ รศ.ดร.วิลาสินี พิพิธกุล รองผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ ไทย พี บี เอส ดำเนินการอภิปราย คุณณาตยา แวววีรคุปต์
  • พิธีปิด โดยผู้ร่วมเสวนาทุกท่านและผู้เข้าร่วมทุกคน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้ ร่วมรับฟังปาฐกถา เรื่อง บทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียน โดย นายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ รับฟังรายงานสุขภาวะคนใต้และสรุปภาพรวมการดำเนินงานสร้างสุขภาคใต้ปีที่ผ่านมาบทบาทศูนย์วิชาการสร้างเสริมสุขภาพ ในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาคคนใต้ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ภาคใต้ ฟังการเสวนาเรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่นโยบายสาธารณะ โครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ฟังเสนอกรณีศึกษา ประเด็นการจัดการขยะโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่บ้านห้วยลึกจัดการขยะชุมชน ตำบลทรายขาว อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่กรณีศึกษา ประเด็นเด็กและเยาวชน โครงการปันตงสร้างสุขบ้านสี่แยกวัดโหนด ตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช กรณีศึกษาประเด็น เศรษฐกิจพอเพียง โครงการแหลมยางนาพึ่งพาเศรษฐกิจ ตำบลตะโก อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร กรณีศึกษาประเด็นการจัดการทรัพยากรและการท่องเที่ยวโครงการจัดการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านท่าฉัตรไชย ตำบลไม้ขาว อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต กรณีศึกษา ประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย โครงการชุมชนหูยานบ้านน่าอยู่สู่การจัดการตนเอง ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ผู้ทรงคูณวุฒิให้คำแนะนำการขับเคลื่อนชุมชน สู่ข้อเสนอเชิงนโยบายโดย คุณสุริยา ยีขุน นายกเทศมนตรีตำบลปริก คุณสัมฤทธิ์เลียงประสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล นายแพทย์ไพศาล เกื้ออรุณ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดกระบี่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่สู่การยกระดับเชิงนโยบาย โดยคุณ กำไลสมรักษ์ สำนักวิชาการพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ลานปัญญาเสวนา ลานสื่อ นำเสนอผลงานวิชาการของชุมชน เรื่องเล่า เร้าพลัง ลานสร้างสุข แลกเปลี่ยนความรู้นวัตกรรมกิจกรรมกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสานพลังเครือข่ายเสวนาเรื่อง การขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซี่ยน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 3 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการ
  • อบต.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำรายงานงวดที่ 217 กันยายน 2559
17
กันยายน 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำรายงานปิดโครงการ
  • เพื่อขอรับงบประมาณสนับสนุนโครงการงวดที่ 3
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ลงรายงานกิจกรรม
  • ปรับแก้รายงานโครงการ รายงานการเงิน เอกสารการเงิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมงานโครงการสามารถลงรายงานผลการดำเนินงานโครงการให้เป็นปัจจุบัน มีเนื้อหาสาระครบ
  • ได้รับการตรวจสอบเอกสารการเงิน และปรับแก้เอกสารให้ถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • มีกิจกรรมในชุมชนมาก มีงบประมาณหนุนเสริมมาก ทำให้ไม่สามารถดำเนินงานกิจกรรมได้ครบทุกกิจกรรม
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ปิดโครงการตามจำนวนกิจกรรมที่สามารถจัดกิจกรรมได้
จัดทำรายงานงวดที่ 2 (ติดตาม ครั้งที่ 4)17 กันยายน 2559
17
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ชี้แจงการเข้าร่วมงานสรา้งสุขภาคใต้
  • ตรวจเอกสารและการเงิน
  • ตรวจสอบรายงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง แจ้งกำหนดการงานสร้างสุขภาคใต้ วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ที่หอประชุมนานาชาติ มอ.หาดใหญ่ ตามกำหนดการที่แจกให้ โดยชุมชนต้องจองที่พัก และจัดการเดินทางเอง ด้วยงบ สสส. ที่ให้
  • มีชุมชน 2 คือ เขาปูน และถ้ำผุด ไปจัดนิทรรศการ แสดงสมุนไพร ให้ปากหานร่วมกับเขาปูน นำสมุนไพรในชุมชนที่มีไปแสดงด้วย
  • ตรวจสอบเอกสารรายงาน และการเงินโครงการ การเงินยังไม่เรียบร้อย ไม่ได้เอาเอกสารการซื้ออุปกรณ์ในการทำกิจกรรมมา ทำให้ลงรายงานการเงินได้ไม่สมบูรณ์อีก 1 กิจกรรม
  • เนื่องจากเงินเข้าช้า และทำกิจกรรมไม่ทัน พี่เลี้ยงเสนอให้ขอขยายเวลาไปอีก 1 เดือน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นายสนิท มณีอ่อนผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นายไวเจริญ ชูไกรไทย ฝ่ายข้อมูลโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 129 กันยายน 2559
9
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน)
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

  • วาระที่ 1 เรื่องผู้ไม่มีเอกสารสิทธิ์ที่ดินได้ดำเนินการขึ้นทะเบียน
  • วาระที่ 2 เรื่องการขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้น้อย
  • วาระที่ 3 การลงทะเบียนใหม่ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์
  • วาระที่ 4 เรื่องในที่ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านอนุมัติสร้างวัด
  • วาระที่ 5 เรื่องโครงการงบประมาณตำบลละ 5 ล้านบาท
  • วาระที่ 6 เรื่องหมู่บ้านได้รับเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินเมื่อวันที่ 2สิงหาคม 2559
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานในที่ประชุม แจ้งที่ประชุมรับทราบตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้

  • วาระที่ 1 ตามนโยบายรัฐบาล การยางแห่งประเทศไทย(กยท.)ได้ให้ผู้ไม่มีเอกสารสิทธิ์เรื่องที่ดินได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนให้เป็นที่เรียบร้อยภายในวันที่ 30 กันยายน 2559
  • วาระที่ 2 เรื่องการขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้น้อย
  • วาระที่ 3 การลงทะเบียนใหม่ผู้สูงอายุ ผู้ที่เกิด พ.ศ. 2500 ก่อน 31 ต.ค. ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเอดส์
  • วาระที่ 4 เรื่องในที่ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านอนุมัติให้ นายอภัย สิขิวัฒน์ได้ขออนุมัติสร้างวัด
  • วาระที่ 5 เรื่องโครงการงบประมาณตำบลละ5ล้านบาท ทางหมู่บ้านได้รับเงินงบประมาณมา 2แสนบาท เพื่อปรับปรุงต่อเติมศาลาหมู่บ้านและซ่อมแซมประปาหมู่บ้าน ได้ดำเนินการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  • วาระที่ 6 เรื่องหมู่บ้านได้รับเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2559
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 1110 สิงหาคม 2559
10
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน)
  • เพื่อรายงานความก้าวหน้าโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

  • วาระที่ 1 เรื่องการรับเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินในปี พ.ศ.2559
  • วาระที่ 2ทางหมู่บ้านจัดให้มีการพัฒนา
  • วาระที่ 3 หน่วยงานราชการทำพิธีลงนามถวายพระพร และมีการแข่งขันชกมวยสากล
  • วาระที่ 4 การลงประชามติในวันที่ 7 ส.ค 59
  • วาระที่ 5 เรื่องมติคณะกรรมการหมู่บ้าน ครัวเรือนใดไม่มีสมาชิกในครัวเรือนมาลงประชามติในวันที่ 7 ส.ค 59 ทางหมู่บ้านจะไม่รับรองสิทธิ์ให้ท่านทุกๆ กรณี
  • วาระที่ 6 เรื่องคณะกรรมการมีมติเห็นชอบขออนุญาติสร้างวัดปากหาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานในที่ประชุม แจ้งที่ประชุมรับทราบตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้

  • วาระที่ 1 เรื่องการรับเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินในปี พ.ศ.2559 ทางหมู่ที่ 6 ต.คลองฉนวนได้รับเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินในวันที่ 2 ส.ค 59 หมู่ที่ 6 พร้อมด้วยกองทุนแม่ของแผ่นดินทุกอำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี 19 อำเภอ และในวันที่ 11 ส.ค 59 ไปรับเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี และทำพิธีรับเงินกองทุนแม่ของแผ่นดินพร้อมกับตัวแทนกองทุนแม่ของแผ่นดินทุกอำเภอของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
  • วาระที่ 2 ในวันที่ 11 ส.ค เวลา 10.00น. ทางหมู่บ้านจัดให้มีการพัฒนาแผ้ว ถาง สองไหล่ทางถนนสายหลักของหมู่บ้านตั้งแต่เขตหมู่ที่3ถึงสะพานข้ามแม่น้ำตาปี รวมระยะทาง 5 กิโลเมตร เพื่อเทิดพระเกียรติวันแม่ของแผ่นดิน
  • วาระที่ 3 วันที่ 12 ส.ค 59 เวลา 08.00 น. หน่วยงานราชการทำพิธีลงนามถวายพระพร และเวลา15.00น.มีการแข่งขันชกมวยสากลระดับโลกที่บ้านนายสงวน รัฐนิยม จัดโดย พล.ตอ.กรีรินทร์ อินทร์แก้ว และมีการวางพานพุ่มเวลา 18.00น.เพื่อจุดเทียนชัยถวายพระพร
  • วาระที่ 4 การลงประชามติในวันที่ 7 ส.ค 59 ประชามติคิดเป็น 69% ของประชากรทั้งหมดของหมู่ที่ 6
  • วาระที่ 5 เรื่องมติคณะกรรมการหมู่บ้าน ครัวเรือนใดไม่มีสมาชิกในครัวเรือนมาลงประชามติในวันที่ 7 ส.ค 59 ทางหมู่บ้านจะไม่รับรองสิทธิ์ให้ท่านทุกๆกรณี
  • วาระที่ 6 เรื่องคณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้นายอภัย สิขิวัฒน์ บ้านเลขที่110/11เลขบัตรประจำตัวประชาชน 384100201186 เป็นผู้ดำเนินการขออนุญาติสร้างวัดปากหานหมู่ที่6 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ ในนามชาวบ้านและคณะกรรมการหมู่ที่ 6 ไม่ยอมรับหากบุคคลอื่นเข้ามาดำเนินการแทนนายอภัย สิขิวัฒน์ ในการดำเนินการเรื่องนี้ไม่ว่ากรณีใดๆทั้งสิ้น
  • ปิดประชุมเวลา 16.00 น.
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ถ่ายทอดความรู้ด้านสมุนไพรแก่เยาวชนในโรงเรียนบ้านปากหาน (ครั้งที่ 1)20 กรกฎาคม 2559
20
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเรียนรู้เรื่องสมุนไพร- เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านสมุนไพรจากหลักสูตรการเรียนรู้สู่กลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่ม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • นำนักเรียนมาเรียนรู้ที่บ้านนาย ประยูร ละออ โดยมีวิทยากรบรรยายหลักสูตรของเยาวชน
  • นายประยูร นำเด็กนักเรียนเดินดูสมุนไพรรอบๆบ้าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิทยากรบรรยายหลักสูตรการเรียนรู้เรื่องสมุนไพร ที่ทำการจัดทำหลักสูตร มาถ่ายทอดความรู้ให้เยาวชน ดังนี้

1.ฟ้าทะลายโจร

  • เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นตั้งตรง ปลายกิ่งเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียว ความสูงประมาณ 2 ฟุต ใบของฟ้าทลายโจร เป็นใบเดี่ยว ใบแคบ ตรงปลายและโคนใบจะแหลม ผิวมัน สีเขียว ดอกของฟ้าทลายโจร เป็นช่อตามง่ามใบ และส่วน ยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นหลอด ส่วนปลายของดอก จะแยกออกเป็น 5 กลีบ มีสีขาวอมม่วง ดอกฟ้าทะลายโจรจะแบ่งออกเป็น 2 ปาก โดยปากบนจะแยกออกเป็น 3 กลีบ และปากล่างจะแยกออก 2 กลีบ และมีเลี้ยง 5 กลีบผลของฟ้าทะลายโจร มีขนาดเล็ก และเมื่อผลแก่เต็มที่จะแตกออกเป็นสองซีก ภายมีสีน้ำตาล การขยายพันธุ์ของฟ้าทะลายโจรสามารถขยายพันธ์ดดยใช้เมล็ด
  • สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร มีอะไรบ้าง ฟ้าทะลายโจรสามารถใช้ประโยชน์ทั้งต้น ทั้งสดและอบแห้ง เลย รายละเอียดของสรรพคุณ มีดังนี้

    • ใบของฟ้าทะลายโจร สามารถใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้ นำมาบดผสมกับน้ำมันพืช แล้วพอกบริเวณแผล
    • ต้นของฟ้าทะลายโจร นำมาใช้แก้บิด ชนิดติดเชื้อ แก้โรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ ลดไข้ แก้ทอนซิลอักเสบ โดยนำต้นฟ้าทะลายโจร มาต้มน้ำและนำไปดื่ม

2.ว่านหางจระเข้

  • เป็นสมุนไพร ที่มีสรรพคุณ ในการรักษาแผล บำรุงผิว รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และ บำรุงเส้นผม ว่านหางจระเข้ นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ สำหรับผิว สำหรับผม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านหางจระเข้ คือ Aloe barbadenisi Mill. ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Aloe ชื่ออื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ว่านหางจระเข้ เป็นไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นข้อและปล้องสั้น ใบของว่านหางจระเข้ เป็น ใบเดี่ยว ยาว อวบน้ำ มีสีเขียวอ่อน ภายในใบมีวุ้นใส ดอกว่านหางจระเข้ จะเป็นช่อออกตรงกลางต้น ดอกย่อยของว่านหางจระเข้ เป็นหลอดห้อยลง จะมีสีส้ม
  • สรรพคุณ

    • จะใช้น้ำยางที่ใบของว่านหางจระเข้มาใช้ ซึ่งการใช้ว่านหางจระเข้ทางสมุนไพร มีดังนี้ นำว่านหางจระเข้มารักษาแผลไฟไหม และน้ำร้อนลวก โดย ใช้น้ำยางมาทาผิวของแผล ช่วยรักษาแผล และสมานแผลได้
    • การรักษาสิว โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ทาหน้า รักษาสิวให้แห้งและหลุดง่าย
    • บำรุงผมและหนังศีรษะ โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ มาเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ ลดอาการคันหนังศรีษะ ไม่มีรังแค
    • นำว่านหางจระเข้มารับประทาน ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

3.ขี้เหล็กเทศ

  • ขี้เหล็กเทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Coffea senna ชื่อวิทยาศาสตร์ของขี้เหล็กเทศ คือ Senna occidentalis (L.) Link เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่ออื่น ๆของขี้เหล็กเทศ คือ ขี้เหล็กเผือก ผักเห็ด ลับมืนน้อย หมากกระลิงเทศ ขี้เหล็กผี ชุมเห็ดเล็ก พรมดาน ชุมเห็ดเทศ ผักจี๊ด กิมเต่าจี้ ม่อกังน้ำ ว่างเจียงหนาน คางเค็ด ผักเค็ด ผักเคล็ด เลนเค็ด
  • หากจะกล่าวถึงขี้เหล็กเทศ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อนชื้น โดยจะขึ้นพื้นที่โล่ง รกร้าง ตามไหล่เขา ริมคลอง ยอดอ่อนและใบถูกนำมาเป็น ส่วนผสมสำหรับทำ แกงเลียง แกงเผ็ด ต่างก็ใช้ขี้เหล้กเทศ มีความอร่อยของอาหาร มีการนำเมล็ดของขี้เหล็กเทศมาบดดื่มแทนชาและกาแฟ แต่การรับประทานขี้เหล็กเทศต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสำ หากรับประทานมากเกินไปจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศอยู่ที่เมล็ด แต่ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ คือ ใช้บำรุงร่างกายรักษาแผลในหู เป็นยาเย็น แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอ หอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี แก้ปวดกระเพาะอาหาร ใช้รักษาโรคเบาหวาน แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน ยาลดไข้ เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ต้นแลใบของขี้เหล็กเทศเป็นอาหารสัตว์ชั้นยอด เหมาะแก่การให้ โคและกระบือรับประทานเป็นอาหารเสริม เนื่องจากขี้เหล็กเทศ มีทั้ง โปรตีน ใยอาหาร ไขมัน คาร์โบไฮเดรต หรือนำมาทำปุ๋ยก็เป็นแหล่งโพแทสเซียมชั้นดี
  • จากข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ได้ศีกษาขี้เหล็กเทศ พบว่าในขี้เหล็กเทศมีสาร เช่น Aloe-emodin, Cassiollin, Chrysophanol, Dianthronie heteroside, Emodin, Homodianthrone, Islandicin, N-methylmorpholine alkaloid, Physcion, Physcion-l-glycoside, Physcion homodianthrone, Toxalbulmin, Rhein, กรดอะมิโน, น้ำมันหอมระเหย แต่มีงานวิจัย พบสารที่สกัดจากใบและเปลือกของขี้เหล็กเทศ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นหัวใจ และฆ่าได้ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ กระตุ้นลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ ต้นขี้เหล็กเทศเป็นพืชล้มลุก อายุยืน ความสูงไม่เกิน 2 เมตร ลำต้นสีเขียว เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดใบของต้นขี้เหล็กเทศเป็นใบประกอบ แบบขนนกปลายคู่ ดอกต้นขี้เหล็กเทศ ออกเป็นช่อจะออกตามปลายกิ่ง ผลของต้นขี้เหล็กเทศ มีลักษณะเป็นฝัก ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนฝักแก่เป็นน้ำตาล
  • สรรพคุณของขี้เหล็กเทศ การนำเอาขี้เหล็กเทศมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ต้องระมัดระวังการใช้งาน เนื่องจากตัวขี้เหล็กเทศ มีพิษ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ โดยประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง เมล็ด เปลือก รากและใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

    • รากของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงร่างกายรักษาแผลในหู เป็นยาเย็นดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน เมล็ดของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงธาตุ รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี
    • เปลือกของขี้เหล็กเทศ ใช้รักษาโรคเบาหวาน รักษาไข้มาลาเรีย รักษาโรคหนองใน
    • ใบของขี้เหล็กเทศ ใช้ แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ ยาลดไข้ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคหนองใน เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษ ใช้รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย

4.ดีปลี

  • ดีปลี เป็นสมุนไพรที่มีฤทิธ์เผ็ดร้อน เป็นพืชตระกูลเดียวกับพริกไทย สรรพคุณของดีปลี เช่น เป็นยาบำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร แก้เวียนหัว แก้หวัด แก้หอบหืด ช่วยขับเสมหะ แก้ท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก ช่วยแก้ตับพิการ ช่วยแก้อัมพาต ยาบำรุงธาตุ ช่วยให้นอนหลับแก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ ใช้รักษาโรคลมบ้าหมู ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม เป็นยาขับพยาธิ ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาขับระดูของสตรี ช่วยบีบมดลูก ช่วยขับน้ำดี ช่วยแก้ตับพิการ แก้ปวดท้อง ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม ช่วยแก้พิษงู มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ลดอาการปวดเส้น
  • ดีปลี สมุนไพร ภาษาอังกฤษ เรียก Long Pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของดีปลี คือ Piper retrofractum Vahl เป็นพืชสมุนไพร ตระกูลเดียวกันกับพริกไทย มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ดีปลีเชือก ปานนุ ประดงข้อ พิษพญาไฟ ปีกผัวะ เป็นต้น ต้นดีปลีพบได้มากที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทย สามารถพบได้ที่ภาคเหนือและภาคใต้
  • ลักษณะของต้นดีปลี เป็นไม้เถา ตระกลูพริกไทย ลักษณะของลำต้นเป็นเถาค่อนข้างเหนียว สามารถเจริญเติบดตได้ดีในดินที่ค่อนข้างชุ่ม มีแสงแดดรำไร ใบของดีปลี เป็นลักษณะ ใบเดี่ยว รูปไข่ สีเขียวเข้ม ใบเป็นมันปลายแหลม ผลของดีปลี จะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อผลสุก ออกเป็นช่อ รูปทรงกระบอกยาวประมาณ 7 เซ็นติเมตร ผิวของผลค่อนข้างหยาบ
  • การนำดีปลีมาใช้ประโยชน์ สามารถนำมาใช้ในส่วนของ ดอก ใบ ผลแก่ เถา และราก รายละเอียดของสรรพคุณของดีปลี มีดังนี้

    • ดอกของดีปลี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เป็นยาบำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร แก้เวียนหัว แก้หวัด แก้หอบหืด ช่วยขับเสมหะ แก้ท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก ช่วยแก้ตับพิการ ช่วยแก้อัมพาตผลของดีปลีสามารถนำมาใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยบำรุงธาตุไฟ ช่วยให้นอนหลับแก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ ใช้รักษาโรคลมบ้าหมู ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม เป็นยาขับพยาธิ ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาขับระดูของสตรี ช่วยบีบมดลูก ช่วยขับน้ำดี ช่วยแก้ตับพิการ
    • รากของดีปลีสามารถนำมาเป็นยาบำรุงธาตุ แก้เวียนหัว ช่วยเป็นยาเย็น แก้หอบหืด ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง
    • เถาของดีปลี มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้อง ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก ช่วยแก้พิษงู มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ช่วยเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ช่วยต่อต้านออกซิเดชั่น ต้านพิษต่อตับ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด
    • ใบของดีปลีใช้ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ลดอาการปวดเส้น

5.กระชาย

  • กระชาย เป็นสมุนไพร ตระกูลโสม หลายคนเรียกว่า โสมไทย เป็นสมุนไพรสำหรับท่านชาย สรรพคุณของกระชาย เช่น ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย แก้กระดูกเสื่อม กระชายยอดสมุนไพรบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร
  • กระชาย หรือ ขิงจีน ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Boesecnergia pandurata (Roxb.)Schltr. ชื่ออื่น ของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น นักโภชนาการ พบว่า ในกระชายประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี3 วิตามินซี และไนอาซิน เหง้าของกระชายจะมีน้ำมันหอมละเหย ซึ่งมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียในลำไส้และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง นอกจากนั้น น้ำมันหอมระเหย ยังสามารถช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยเจริญอาหารได้ดี
  • กระชาย เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม ดอกของกระชายจะมีสีม่วง ดอกจะออกเป็นช่อ การขยายพันธุ์กระชาย โดยส่วนเหง้า กระชายชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว
  • สรรพคุณทางยาของกระชาย กระชายสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้ง ใบ หัว ราก รายละเอียด ดังนี้

    • เหง้าและรากของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก
    • ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้ มะกรูดสมุนไพรคู่ครัวคนไทย สามารถนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ดับคาวอาหารได้ดี สรรพคุณของมะกรูด เช่น ใช้รักษาฝี แก้เสมหะเป็นพิษ แก้กระหายน้ำ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สร้างภูมต้านทานร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยผ่อนคลาย ป้องกันมะเร็ง แก้ปวดเมื้อย ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ใช้ดับกลิ่นคาวอาหาร ลดความดันโลหิต รักษาโรคเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง บำรุงเส้นผม ช่วยผ่อนคลาย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด ขับลม ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ล้างสิ่งอุดตันบนใบหน้า เป็นยาขับลม บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืด

6.มะกรูด

  • มะกรูด ภาษาอังกฤษ เรียก Kaffir lime มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus hystrix DC เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับส้ม มะกรูดเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหาร ให้กลื่นหอม ชื่ออื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู , มะขุน มะขูด , ส้มกรูด ส้มมั่วผีเป็นต้น มะกรูดถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำเครื่องแกง นอกจากจะเป็นสมุนไพรใช้ในครัวแล้ว ยังเป็นไม้มงคลเชื่อกันว่า มะกรูดจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข
  • มะกรูด เป็นไม้ยืน ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง ตามลำต้นและกิ่งของมะกรูดจะมีหนามแหลม ใบของมะกรูด เป็นใบประกอบชนิดลดรูป เรียงสลับกันตามกิ่ง รูปทรงไข่ ใบมีสีเขียวแก่ และผิวใบเรียบ มัน หนา มีกลิ่นหอมมาก ดอกของมะกรูดออกเป็นกระจุก มี 3 – 5 ดอกต่อกระจุก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลของมะกรูดมีสีเขียว ลักษณะเหมือมมะนาวแต่ผิวขรุขระ ผลสุกจะเป็นสีเหลือง การขยายพันธุ์มะกรูดสามารถทำได้โดยการตอนกิ่ง การทาบกิ่ง หรือการเพาะเมล็ด เป็นต้น
  • สรรพคุณของมะกรูด สามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ราก ใบ ผล โดยรายละเอียด ดังนี้

    • รากของมะกรูด สามารถใช้ รักษาฝี แก้เสมหะเป็นพิษ แก้กระหายน้ำใบของมะกรูด สามารถสกัดน้ำมันหอมระเหย มีสารต้านอนุมูลอิสระ สร้างภูมต้านทานร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยผ่อนคลาย ป้องกันมะเร็ง น้ำมันหอมระเหยใช้แก้ปวดเมื้อย ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ใช้ดับกลิ่นคาวอาหาร ลดความดันโลหิตผลของมะกรูด สามารถนำมาแต่งกลิ่น รักษาโรคเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทำความสะอาด บำรุงเส้นผม ช่วยผ่อนคลาย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด ขับลม ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ บำรุงเลือดน้ำมะกรูด สามารถใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้บำรุงเส้นผม ล้างสิ่งอุดตันบนใบหน้า
    • ผิวของผลมะกรูด สามารถนำมาทำเป็นยาขับลม บำรุงหัวใจ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องอืด มะกรูดเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดำ เงางาม นิยมนำมาทำเป็นยาสระผม เราขอแนะนำสมุนไพรอื่นๆที่ ช่วยบำรุงเส้นผมได้ด้วย มีดังนี้มะเขือพวง สมุนไพร คู่ครัวไทย เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวนนิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

7.ขมิ้น

  • เป็นสมุนไพร ที่มีสรรพคุณ ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ลดไขมันในเลือด เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา รักษาฝี รักษาแผลไฟไหม้ บำรุงตับ ช่วยย่อยอาหาร ลดไขมันในตับ ขมิ้นเป็นพืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือขิง ขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆ ของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้นขมิ้น เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นที่หอม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงออกมาจากเหง้า ดอกของขมิ้นออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า กลีบดอกของขมิ้นมีสีเหลืองอ่อน คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น ขมิ้นมีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งตับได้ ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร สรรพคุณทางสมุนไพรของขมิ้น เรานิยมใช้เหง้าของขมิ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเหง้าของขมิ้นมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง รักษาอาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  • รายละเอียดการนำเอาขมิ้นมาใช้เป็นยาต่างๆ ดังนี้

    • ยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด โดยใช้เหง้าขมิ้นแก่ มาขูดเปลือกออกล้างให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด และคั้นเอาแต่น้ำ รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
    • ยาทาผิว ใช้แก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น โดยใช้เหง้าแก่ มาบดเป็นผง ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคันยารักษาโรคกระเพาะ โดยใช้รับประทานเหง้าขมิ้น

8.หอมแดง

  • หอมแดง (Shallot) เป็นพืช ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ให้รสหวาน แต่ประโยชน์ของหอมหัวแดง มีมากมายเหลือเกิน ที่สำคัญคือช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด วันนี้ เราจึงแนะนำ สมุนไพรไทยในครัวเรือน ที่มีชื่อว่า หอมแดง หอมแดงเป็นอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง การใช้ประโยชน์ด้านยาของหอมแดง มีอะไรบ้าง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง เป็นอย่างไร บทความนี้จะให้ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับหอมแดง
  • หอมแดง เป็นพืชเศรษฐกิจ เนื่องจากนิยมนำมาทำอาหาร และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดของประเทศไทย นิยมปลูกมากในภาคอีสาน จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งในหอมหัวแดงนั้น มีสารตัวหนึ่ง ชื่อ Allicin และ n-propyl disulphide ที่มีประโยชน์และมีกลิ่นฉุน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกัน
  • หอมแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Shallot อ่านว่า ชาลอต หอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum L. หอมแดงเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลับพลึง สำหรับหอมแดง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น
  • ในหอมหัวแดงนั้นมีกลิ่นฉุ่น จากน้ำมันหอมระเหยจากตัวหอมหัวแดง ซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในหอมหัวแดง ประกอบด้วยEthanol, Acetonc, methyl Ethyl, Methyl Disulfide, Methyl, Methyl Trisulfide, Methyl I-propyl Trisulfide, I-propyl Trisulfide, Ketone, I-propanol, 2 – propanol, Methanol, I-butanol, Hydrogen Sulfidc, I-propanethiol, I-propyl Disulfide, Thioalkanal-S-oxide, di-n- propyl Disulfide, n- propyl-allyl Disulfide, Diallyl Disulfide, Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidcน้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง จะมีรสขม เผ็ดร้อน มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และเป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน แต่สารน้ำมันหอมระเหยนี้ ช่วยลดไขมัน และน้ำตาลกในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง
  • สำหรับการศึกษาคุณค่าทางอาหาร ของหอมแดง นั้น พบว่าในหอมแดงขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหาร ต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม กากใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.09 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม
  • ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร สำหรับต้อนหอมแดง เป็นพืชล้มลุก หัวอยู่ในดิน ซึ่งหัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ การขยายพันธ์ุของหอมแดงใช้การแตกหน่อ จากหัวของหอมแดง ใบของหอมแดง เป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบในตั้งตรงขึ้นฟ้า ความยาว 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ถึง 8 ใบต่อต้น รากของหอมแดง เป็นรากฝอยขึ้นบิเวณก้นของหัวหอม สำหรับหมอแดงมีหลายสายพันธ์ แต่สำหรับหัวหอมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

    • หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
    • หอมแดง พันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
    • หอมแดง พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
    • หอมแดง พันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน
  • สรรพคุณของหอมแดง

    • สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง นั้นจะใช้ประโยชน์จากหัวและใบของหอมแดง ซึ่งประโยชน์ของส่วนต่างๆของหอมแดง มีดังนี้ คือ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

9.ยี่หร่า

  • ยี่หร่า เป็นอีกหนึ่งสมุนไพร ที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน สรรพคุณเด่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะมีฤทธิ์เผ็ดร้อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับยี่หร่า กัน
  • ยี่หร่า เป็นพืชที่มีความผูกพันกับสังคมไทยมาช้านาน ในกาบเห่เรือ ยังมีบทหนึ่ง “มัสมั่น หอมยี่หร่า รสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา” ยี่หร่าเป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นแรง รสเผ็ดร้อน ซึ่งในใบของยี่หร่า จะมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง เรียกว่า น้ำมันยี่หร่า นำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม น้ำหอม ทำเครื่องดื่ม
  • ยี่หร่า เป็นสมุนไพร ท้องถิ่น มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ ว่า Tree Basil ยี่หร่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ocimum gratissimum L. ยี่หร่าเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระเพราและผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของยี่หร่า อาทิเช่น กะเพราญวณ, จันทร์หอม เนียม, จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น, สะหลีดี, หอมป้อม, โหระพาช้าง, กะเพราควาย, หร่า,เทียนขาว เป็นต้น
  • ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า นั้นอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และจีน การนำเอายี่หร่ามาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ช่วยดับคาว จากนั้นสัตว์ ช่วยในการถนอมอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเน่า และน้ำมันหอมระเหยของยี่หร่า ใช้แต่งกลิ่นอาหาร และใช้แต่งกลิ่นน้ำหอมต่างๆ ได้อีกด้วย
  • ต้นยี่หร่า เป็นไม้ประเภทล้มล้ก เป็นไม้พุ่ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง อาการถ่ายเทได้สะดวก ชอบอยู่กลางแจ้ง ลำต้นของยี่หร่า มีความสูงไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นยี่หร่า มีสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขา กิ่งก้านไม่ใหญ่ ใบยี่หร่า มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยัก สีเขียวสด ผิวใบสากๆ มีกลิ่นหอม ดอกของยี่หร่า จะออกบริเวณปลายยอด มีลักษณะเป็นช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ผลของยี่หร่าหรือเมล็ดของยี่หร่า คือตัวเดียวกัน ผลของยี่หร่า มีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเล็ก ผลอ่อนจะมีสีเขียว และผลแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีสีดำหรือสีน้ำตาล
  • คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหาร ของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่า ในใบยี่หร่า 100 กรัม นั้น มี กากใยอาหาร 26.8 กรัม มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม วิตามินซี 0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม
  • สรรพคุณของยี่หร่า ในการใช้ยี่หร่าในทางสมุนไพรและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ได้ทุกส่วน ของยี่หร่า ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก ผล ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณของยี่หร่า มีดังนี้

    • รากยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
    • ต้นยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
    • ผลของยี่หร่า สามารถช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
    • ใบยี่หร่า สามารถช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขัยของเสียออกจากร่างกาย แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด ขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน

10.ตำลึง

  • ตำลึง เป็นสมุนไพร ที่นิยมปลูกริมรั้วบ้าน จะพบได้มากในครอบครัวไทย สรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาหลอดลมอักเสบ รักษาเบาหวาน แก้แมงสัตว์กัดต่อย ช่วยบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ใช้ลดไข้ รักษาแผล รักษาหิด
  • ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง 100 กรัม จะมี วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม โปรตีน 3.3 กรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 699.88 ไมโครกรัมไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัมและใยอาหาร 2.2 กรัม
  • ตำลึงเป็นไม้เลื้อย ลำต้นจะเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ เถาของตำลึงจะมีสีเขียว ใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา โคนของใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ดอกของตำลึง จะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว ผลของตำลึง เหมือนแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดง
  • สรรพคุณของตำลึง เราสามารถนำตำลึงมาใช้ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก เมล็ด ราก เถา รายละเอียดการใช้ประโยชน์ของตำลึงมีดังนี้

    • ใบของตำลึง เป็นยาลดวามร้อนในร่างกาย นำมาบดเป็นยาพอกผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย ต้นตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแยนำมารับประทาน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียดดอกของตำลึง นำมาใช้รักษาอาการคันผิวหนัง
    • เมล็ดของตำลึง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทาแก้หิด
    • รากของตำลึง นำมาใช้ ลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
    • เถาของตำลึง นำมาชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะนำมาบดใช้พอกผิวหนังแก้โรคผิวหนัง เถาของตำลึงมีสรรพคุณ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
    • นำตำลึงทั้งต้น มาใช้ทั้ง ราก ใบและเถา นิยมนำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว
  • นายประยูรนำนักเรียนเดินดูรอบๆบ้านให้เรียนได้รู้จักสมุนไพร นายประยูรจะบอกชื่อ สรรพคุณวิธีใช้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 40 คน จากที่ตั้งไว้ 40 คน
ประกอบด้วย
  • นักเรียนคลองฉนวนวิทยาคม
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้พืชสมุนไพรในชุมชน (ทดลองใช้หลักสูตร)18 กรกฎาคม 2559
18
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเรียนรู้เรื่องสมุนไพร- เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้พืชสมุนไพรในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • นำหลักสูตรที่เขียนมาสำหรับหลักสูตรของเยาวชนและหลักสูตรของผู้สืบทอดภูมิปัญญามาทดลองให้ที่ประชุมมาศึกษาว่าที่เขียนเนื้อหาเป็นอย่างไรมากน้อยแค่ใหนจะลดหรือเพิ่มเติมอะไร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วิทยากรถ่ายทอดหลักสูตรการเรียนรู้สมุนไพรสู่เยาวชนในโรงเรียนคลองฉนวนวิทยา จำนวน 40 คน เป็นนักเรียนตั้งแต่ชั้น ม.1 - ม.6 โดยได้นำเสนอให้รู้จักชนิดของและสรรพคุณของสมุนไพร ดังนี้

  1. ฟ้าทะลายโจร
  2. ว่านหางจระเข้
  3. ขี้เหล็กเทศ
  4. ดีปลี
  5. กระชาย
  6. มะกรูด
  7. ขมิ้น
  8. หอมแดง
  9. ยี่หร่า
  10. ตำลึง

ส่วนของผู้สืบทอดภูมิปัญญา

  1. สอนการทำลูกประคบ ตัวยา วิธีการทำ สรรพคุณ ข้อควรระวังในการใช้
  2. ยาอบสมุนไพร ตัวยา วิธีการทำ สรรพคุณ ข้อควรระวังในการใช้
  3. ยาต้มตัวยา วิธีการทำ สรรพคุณ ข้อควรระวังในการใช้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้พืชสมุนไพรในชุมชน (จัดทำหลักสูตร)17 กรกฎาคม 2559
17
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเรียนรู้เรื่องสมุนไพร
  • เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้พืชสมุนไพรในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ออกแบบหลักสูตรของเยาวชน
  • ออกแบบหลักสูตรสำหรับผู้สืบทอดภูมิปัญญา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หลักสูตรการเรียนรู้สมุนไพรสำหรับเยาวชน มีเนื้อหาสาระสำคัญ คือ

1.ฟ้าทะลายโจร

  • เป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นตั้งตรง ปลายกิ่งเป็นสี่เหลี่ยมสีเขียว ความสูงประมาณ 2 ฟุต ใบของฟ้าทลายโจร เป็นใบเดี่ยว ใบแคบ ตรงปลายและโคนใบจะแหลม ผิวมัน สีเขียว ดอกของฟ้าทลายโจร เป็นช่อตามง่ามใบ และส่วน ยอดของต้น ลักษณะของดอกเป็นหลอด ส่วนปลายของดอก จะแยกออกเป็น 5 กลีบ มีสีขาวอมม่วง ดอกฟ้าทะลายโจรจะแบ่งออกเป็น 2 ปาก โดยปากบนจะแยกออกเป็น 3 กลีบ และปากล่างจะแยกออก 2 กลีบ และมีเลี้ยง 5 กลีบผลของฟ้าทะลายโจร มีขนาดเล็ก และเมื่อผลแก่เต็มที่จะแตกออกเป็นสองซีก ภายมีสีน้ำตาล การขยายพันธุ์ของฟ้าทะลายโจรสามารถขยายพันธ์ุโดยใช้เมล็ด
  • สรรพคุณของฟ้าทะลายโจร มีอะไรบ้าง ฟ้าทะลายโจรสามารใช้ประโยชน์ทั้งต้น ทั้งสดและอบแห้ง เลย รายละเอียดของสรรพคุณ มีดังนี้

    • ใบของฟ้าทะลายโจร สามารถใช้รักษาแผลน้ำร้อนลวก แผลไฟไหม้ นำมาบดผสมกับน้ำมันพืช แล้วพอกบริเวณแผล
    • ต้นของฟ้าทะลายโจร นำมาใช้แก้บิด ชนิดติดเชื้อ แก้โรคระบบทางเดินอาหารอักเสบ ลดไข้ แก้ทอนซิลอักเสบ โดยนำต้นฟ้าทะลายโจร มาต้มน้ำและนำไปดื่ม

2.ว่านหางจระเข้

  • เป็นสมุนไพร ที่มีสรรพคุณ ในการรักษาแผล บำรุงผิว รักษาแผลในกระเพาะอาหาร และ บำรุงเส้นผม ว่านหางจระเข้ นิยมนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องสำอางค์ สำหรับผิว สำหรับผม ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของว่านหางจระเข้ คือ Aloe barbadenisi Mill. ภาษาอังกฤษ เรียกว่า Aloe ชื่ออื่นๆของว่านหางจระเข้ เช่น ว่านไฟไหม้ หางตะเข้ว่านหางจระเข้ เป็นไม้ล้มลุก ความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร ลักษณะเป็นข้อและปล้องสั้น ใบของว่านหางจระเข้ เป็น ใบเดี่ยว ยาว อวบน้ำ มีสีเขียวอ่อน ภายในใบมีวุ้นใส ดอกว่านหางจระเข้ จะเป็นช่อออกตรงกลางต้น ดอกย่อยของว่านหางจระเข้ เป็นหลอดห้อยลง จะมีสีส้ม
  • สรรพคุณ จะใช้น้ำยางที่ใบของว่านหางจระเข้มาใช้ ซึ่งการใช้ว่านหางจระเข้ทางสมุนไพร มีดังนี้

    • นำว่านหางจระเข้มารักษาแผลไฟไหม และน้ำร้อนลวก โดย ใช้น้ำยางมาทาผิวของแผล ช่วยรักษาแผล และสมานแผลได้
    • การรักษาสิว โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ทาหน้า รักษาสิวให้แห้งและหลุดง่าย บำรุงผมและหนังศีรษะ โดยใช้ยางว่านหางจระเข้ มาเป็นส่วนผสมของยาสระผม ทำให้ ลดอาการคันหนังศรีษะ ไม่มีรังแค
    • นำว่านหางจระเข้มารับประทาน ใช้รักษาแผลในกระเพาะอาหาร

3.ขี้เหล็กเทศ

  • ขี้เหล็กเทศ ภาษาอังกฤษ เรียก Coffea senna ชื่อวิทยาศาสตร์ของขี้เหล็กเทศ คือ Senna occidentalis (L.) Link เป็นพืชตระกูลถั่ว ชื่ออื่น ๆของขี้เหล็กเทศ คือ ขี้เหล็กเผือก ผักเห็ด ลับมืนน้อย หมากกระลิงเทศ ขี้เหล็กผี ชุมเห็ดเล็ก พรมดาน ชุมเห็ดเทศ ผักจี๊ด กิมเต่าจี้ ม่อกังน้ำ ว่างเจียงหนาน คางเค็ด ผักเค็ด ผักเคล็ด เลนเค็ด
  • หากจะกล่าวถึงขี้เหล็กเทศ เป็นพืชมีถิ่นกำเนิดในอเมริกาใต้ สามารถปลูกได้ในประเทศเขตร้อนชื้น โดยจะขึ้นพื้นที่โล่ง รกร้าง ตามไหล่เขา ริมคลอง ยอดอ่อนและใบถูกนำมาเป็น ส่วนผสมสำหรับทำ แกงเลียง แกงเผ็ด ต่างก็ใช้ขี้เหล้กเทศ มีความอร่อยของอาหาร มีการนำเมล็ดของขี้เหล็กเทศมาบดดื่มแทนชาและกาแฟ แต่การรับประทานขี้เหล็กเทศต้องบริโภคในปริมาณที่เหมาะสำ หากรับประทานมากเกินไปจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศอยู่ที่เมล็ด แต่ประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ คือ ใช้บำรุงร่างกายรักษาแผลในหู เป็นยาเย็น แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอ หอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี แก้ปวดกระเพาะอาหาร ใช้รักษาโรคเบาหวาน แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน ยาลดไข้ เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ต้นและใบของขี้เหล็กเทศเป็นอาหารสัตว์ชั้นยอด เหมาะแก่การให้ โคและกระบือรับประทานเป็นอาหารเสริม เนื่องจากขี้เหล็กเทศ มีทั้ง โปรตีน ใยอาหาร ไขมัน คาร์โบไฮเดรต หรือนำมาทำปุ๋ยก็เป็นแหล่งโพแทสเซียมชั้นดี
  • จากข้อมูลทางเภสัชศาสตร์ได้ศีกษาขี้เหล็กเทศ พบว่าในขี้เหล็กเทศมีสาร เช่น Aloe-emodin, Cassiollin, Chrysophanol, Dianthronie heteroside, Emodin, Homodianthrone, Islandicin, N-methylmorpholine alkaloid, Physcion, Physcion-l-glycoside, Physcion homodianthrone, Toxalbulmin, Rhein, กรดอะมิโน, น้ำมันหอมระเหย แต่มีงานวิจัย พบสารที่สกัดจากใบและเปลือกของขี้เหล็กเทศ ช่วยลดความดันโลหิต ช่วยกระตุ้นหัวใจ และฆ่าได้ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ กระตุ้นลำไส้ ช่วยในการขับถ่าย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ลักษณะของต้นขี้เหล็กเทศ ต้นขี้เหล็กเทศเป็นพืชล้มลุก อายุยืน ความสูงไม่เกิน 2 เมตร ลำต้นสีเขียว เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เจริญเติบโตได้ดีในดินทุกชนิดใบของต้นขี้เหล็กเทศเป็นใบประกอบ แบบขนนกปลายคู่ ดอกต้นขี้เหล็กเทศ ออกเป็นช่อจะออกตามปลายกิ่ง ผลของต้นขี้เหล็กเทศ มีลักษณะเป็นฝัก ฝักอ่อนเป็นสีเขียว ส่วนฝักแก่เป็นน้ำตาล
  • สรรพคุณของขี้เหล็กเทศ การนำเอาขี้เหล็กเทศมาใช้ประโยชน์ทางสมุนไพร ต้องระมัดระวังการใช้งาน เนื่องจากตัวขี้เหล็กเทศ มีพิษ ซึ่งพิษของขี้เหล็กเทศจะเป็นพิษต่อกระเพาะอาหาร ต่อตับ ระบบเลือด หัวใจ ปอดและลำไส้ได้ โดยประโยชน์ของขี้เหล็กเทศ สามารถนำมาใช้ได้ทั้ง เมล็ด เปลือก รากและใบ โดยรายละเอียด ดังนี้

    • รากของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงร่างกายรักษาแผลในหู เป็นยาเย็นดับพิษร้อนในร่างกาย แก้ไข้มาลาเรีย เป็นยาขับปัสสาวะ ฆ่าเชื้อโรค รักษาโรคทางเดินปัสสาวะและนิ่ว รักษาโรคหนองใน เมล็ดของขี้เหล็กเทศ ใช้บำรุงธาตุ รักษาโรคหัวใจ ใช้ลดความดันโลหิต เป็นยาแก้วิงเวียน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี
    • เปลือกของขี้เหล็กเทศ ใช้รักษาโรคเบาหวาน รักษาไข้มาลาเรีย รักษาโรคหนองใน ใบของขี้เหล็กเทศ ใช้ แก้ปวดหัว แก้ปวดฟัน รักษาอาการตาบวมแดง เป็นยาแก้ตาแดงตาอักเสบ ยาลดไข้ แก้ไอหอบหืด แก้ร้อนในปาก ยาบำรุงกระเพาะอาหาร แก้ปวดกระเพาะอาหาร ช่วยรักษาระบบการย่อยอาหารไม่ดี เป็นยาถ่าย ยาระบาย เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคหนองใน เป็นยารักษาโรคผิวหนัง ใช้ทารักษากลากเกลื้อน ผิวหนังพุพอง โรคผิวหนังอักเสบ โรคผิวหนังต่าง ๆ ใช้เป็นยาถอนพิษ ใช้รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย


      4.ดีปลี
  • ดีปลี สมุนไพร ภาษาอังกฤษ เรียก Long Pepper ชื่อวิทยาศาสตร์ของดีปลี คือ Piper retrofractum Vahl เป็นพืชสมุนไพร ตระกูลเดียวกันกับพริกไทย มีชื่อเรียกอื่นๆ ว่า ดีปลีเชือก ปานนุ ประดงข้อ พิษพญาไฟ ปีกผัวะ เป็นต้น ต้นดีปลีพบได้มากที่ประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย สำหรับในประเทศไทย สามารถพบได้ที่ภาคเหนือและภาคใต้

  • ดีปลี เป็นสมุนไพรที่มีฤทิธ์เผ็ดร้อน เป็นพืชตระกูลเดียวกับพริกไทย สรรพคุณของดีปลี เช่น เป็นยาบำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร แก้เวียนหัว แก้หวัด แก้หอบหืด ช่วยขับเสมหะ แก้ท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก ช่วยแก้ตับพิการ ช่วยแก้อัมพาต ยาบำรุงธาตุ ช่วยให้นอนหลับแก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ ใช้รักษาโรคลมบ้าหมู ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม เป็นยาขับพยาธิ ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาขับระดูของสตรี ช่วยบีบมดลูก ช่วยขับน้ำดี ช่วยแก้ตับพิการ แก้ปวดท้อง ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม ช่วยแก้พิษงู มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ลดอาการปวดเส้น
  • ลักษณะของต้นดีปลี เป็นไม้เถา ตระกลูพริกไทย ลักษณะของลำต้นเป็นเถาค่อนข้างเหนียว สามารถเจริญเติบดตได้ดีในดินที่ค่อนข้างชุ่ม มีแสงแดดรำไร ใบของดีปลี เป็นลักษณะ ใบเดี่ยว รูปไข่ สีเขียวเข้ม ใบเป็นมันปลายแหลม ผลของดีปลี จะมีสีเขียว และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงเมื่อผลสุก ออกเป็นช่อ รูปทรงกระบอกยาวประมาณ 7 เซ็นติเมตร ผิวของผลค่อนข้างหยาบ
  • การนำดีปลีมาใช้ประโยชน์ สามารถนำมาใช้ในส่วนของ ดอก ใบ ผลแก่ เถา และราก รายละเอียดของสรรพคุณของดีปลี มีดังนี้

    • ดอกของดีปลี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ เป็นยาบำรุงกำลัง ยาอายุวัฒนะ ช่วยเจริญอาหาร แก้เวียนหัว แก้หวัด แก้หอบหืด ช่วยขับเสมหะ แก้ท้องเสีย ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก ช่วยแก้ตับพิการ ช่วยแก้อัมพาตผลของดีปลีสามารถนำมาใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยบำรุงธาตุไฟ ช่วยให้นอนหลับแก้ไอ แก้หลอดลมอักเสบ ใช้รักษาโรคลมบ้าหมู ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม เป็นยาขับพยาธิ ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก เป็นยาขับระดูของสตรี ช่วยบีบมดลูก ช่วยขับน้ำดี ช่วยแก้ตับพิการ
    • รากของดีปลีสามารถนำมาเป็นยาบำรุงธาตุ แก้เวียนหัว ช่วยเป็นยาเย็น แก้หอบหืด ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดท้อง
  • เถาของดีปลี มีรสเผ็ดร้อน ช่วยขับเสมหะ แก้ปวดฟัน แก้ปวดท้อง ช่วยแก้อาการท้องร่วง ช่วยขับลม ช่วยแก้ริดสีดวงทวารหนัก ช่วยแก้พิษงู มีฤทธิ์ต้านเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยต้านการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร มีฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง ช่วยเสริมฤทธิ์ยานอนหลับ ช่วยต่อต้านออกซิเดชั่น ต้านพิษต่อตับ ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ใบของดีปลีใช้ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ลดอาการปวดเส้น

5.กระชาย

  • กระชาย เป็นสมุนไพร ตระกูลโสม หลายคนเรียกว่า โสมไทย เป็นสมุนไพรสำหรับท่านชาย สรรพคุณของกระชาย เช่น ช่วยดูแลช่องปาก ดูแลเหงือกและฟัน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงหัวใจ เพิ่มสมรถภาพทางเพศ ปรับสมดุลย์ฮอร์โมนร่างกาย แก้กระดูกเสื่อม กระชายยอดสมุนไพรบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง ช่วยให้เจริญอาหาร
  • กระชาย หรือ ขิงจีน ภาษาอังกฤษ เรียก Fingerroot มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Boesecnergia pandurata (Roxb.)Schltr. ชื่ออื่น ของกระชาย เช่น ว่านพระอาทิตย์ กระแอน ระแอน ขิงทราย จี๊ปู ซีฟู เป๊าะสี่ เป๊าซอเร้าะ เป็นต้น
  • นักโภชนาการ พบว่า ในกระชายประกอบไปด้วย คาร์โบไฮเดรต โปรตีน แคลเซียม ธาตุฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก วิตามินบี1 วิตามินบี3 วิตามินซี และไนอาซิน เหง้าของกระชายจะมีน้ำมันหอมละเหย ซึ่งมีประสิทธิภาพยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย แบคทีเรียในลำไส้และแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง นอกจากนั้น น้ำมันหอมระเหย ยังสามารถช่วยขับลมในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยเจริญอาหารได้ดี
  • กระชาย เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 1 เมตร ใบมีกลิ่นหอม ดอกของกระชายจะมีสีม่วง ดอกจะออกเป็นช่อ การขยายพันธุ์กระชาย โดยส่วนเหง้า กระชายชอบดินที่ร่วนซุย การระบายน้ำได้ดี ดินเหนียว
  • สรรพคุณทางยาของกระชาย กระชายสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ทั้ง ใบ หัว ราก รายละเอียด ดังนี้

    • เหง้าและรากของกระชาย มีรสเผ็ด ร้อน ขม แก้ปวดท้อง แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียด แก้บิด แก้โรคกระเพาะ ช่วยขับปัสสาวะ ใช้รักษาริดสีดวงทวาร รักษาแผลในปาก แก้ตกขาว กลาก เกลื้อน ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงกำลัง มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด ช่วยเจริญอาหาร ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยเจริญอาหารและแก้โรคในช่องปาก ใบของกระชาย ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคในปาก คอ แก้โลหิตเป็นพิษ ถอนพิษต่างๆได้

6.มะกรูด

  • มะกรูดสมุนไพรคู่ครัวคนไทย สามารถนำมาทำอาหารให้กลิ่นหอม ดับคาวอาหารได้ดี สรรพคุณของมะกรูด เช่น ใช้รักษาฝี แก้เสมหะเป็นพิษ แก้กระหายน้ำ มีสารต้านอนุมูลอิสระ สร้างภูมต้านทานร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยผ่อนคลาย ป้องกันมะเร็ง แก้ปวดเมื้อย ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ใช้ดับกลิ่นคาวอาหาร ลดความดันโลหิต รักษาโรคเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง บำรุงเส้นผม ช่วยผ่อนคลาย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด ขับลม ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ล้างสิ่งอุดตันบนใบหน้า เป็นยาขับลม บำรุงหัวใจ แก้ท้องอืด
  • มะกรูด ภาษาอังกฤษ เรียก Kaffir lime มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Citrus hystrix DC เป็นพืชตระกูลเดียวกันกับส้ม มะกรูดเป็นพืชสมุนไพรพื้นบ้าน นิยมนำมาทำอาหาร ให้กลื่นหอม ชื่ออื่นๆของมะกรูด เช่น มะขู , มะขุน มะขูด , ส้มกรูด ส้มมั่วผีเป็นต้น มะกรูดถือเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำเครื่องแกง นอกจากจะเป็นสมุนไพรใช้ในครัวแล้ว ยังเป็นไม้มงคลเชื่อกันว่า มะกรูดจะทำให้ผู้อยู่อาศัยมีความสุข
  • มะกรูด เป็นไม้ยืน ขนาดเล็ก ซึ่งเป็นไม้เนื้อแข็ง ตามลำต้นและกิ่งของมะกรูดจะมีหนามแหลม ใบของมะกรูด เป็นใบประกอบชนิดลดรูป เรียงสลับกันตามกิ่ง รูปทรงไข่ ใบมีสีเขียวแก่ และผิวใบเรียบ มัน หนา มีกลิ่นหอมมาก ดอกของมะกรูดออกเป็นกระจุก มี 3 – 5 ดอกต่อกระจุก กลีบดอกสีขาว เกสรสีเหลือง มีกลิ่นหอม ผลของมะกรูดมีสีเขียว ลักษณะเหมือมมะนาวแต่ผิวขรุขระ ผลสุกจะเป็นสีเหลือง การขยายพันธุ์มะกรูดสามารถทำได้โดยการตอนกิ่ง การทาบกิ่ง หรือการเพาะเมล็ด เป็นต้น
  • สรรพคุณของมะกรูด สามารถนำมาใช้ได้ทุกส่วน ตั้งแต่ ราก ใบ ผล โดยรายละเอียด ดังนี้

    • รากของมะกรูด สามารถใช้ รักษาฝี แก้เสมหะเป็นพิษ แก้กระหายน้ำใบของมะกรูด สามารถสกัดน้ำมันหอมระเหย มีสารต้านอนุมูลอิสระ สร้างภูมต้านทานร่างกาย ช่วยเจริญอาหาร ช่วยผ่อนคลาย ป้องกันมะเร็ง น้ำมันหอมระเหยใช้แก้ปวดเมื้อย ช่วยลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ใช้ดับกลิ่นคาวอาหาร ลดความดันโลหิตผลของมะกรูด สามารถนำมาแต่งกลิ่น รักษาโรคเส้นผม รักษาโรคผิวหนัง ใช้ทำความสะอาด บำรุงเส้นผม ช่วยผ่อนคลาย ช่วยแก้ไอ ขับเสมหะ บำรุงเลือด ขับลม ยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ บำรุงเลือดน้ำมะกรูด สามารถใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน ใช้บำรุงเส้นผม ล้างสิ่งอุดตันบนใบหน้า
    • ผิวของผลมะกรูด สามารถนำมาทำเป็นยาขับลม บำรุงหัวใจ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องอืด มะกรูดเป็นสมุนไพรที่ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดำ เงางาม นิยมนำมาทำเป็นยาสระผม
    • เราขอแนะนำสมุนไพรอื่นๆ ที่ ช่วยบำรุงเส้นผมได้ด้วย มีดังนี้ มะเขือพวง สมุนไพร คู่ครัวไทย เป็นสมุนไพรช่วยบำรุงสุขภาพ มากมาย สรรพคุณมะเขือพวง ช่วยเจริญอาหาร ย่อยอาหาร ช่วยระบบขับถ่าย บำรุงธาตุ ขับเสมหะ แก้ไอ ช่วยบำรุงเลือด ช่วยลดเบาหวาน ช่วยเผาผลาญไขมัน มะเขือพวง เป็นพืชผักสมุนไพร และนิยมปลูกจนกลายเป็นพืชผักสวนนิยมนำผลมาประกอบอาหาร ผักพื้นบ้านของไทย

7.ขมิ้น

  • เป็นสมุนไพร ที่มีสรรพคุณ ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขับลม ป้องกันมะเร็ง รักษาโรคกระเพาะ รักษาลำไส้อักเสบ รักษาโรคผิวหนัง ลดไขมันในเลือด เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาฆ่าเชื้อรา รักษาฝี รักษาแผลไฟไหม้ บำรุงตับ ช่วยย่อยอาหาร ลดไขมันในตับ ขมิ้นเป็นพืชที่ปลูกง่าย ลักษณะเหมือนขิง
  • ขมิ้น มีชื่อในภาษาอังกฤษ ว่า Turmaric ชื่อวิทยาศาสตร์ของขมิ้น คือ Curcuma longa Linn ชื่ออื่นๆ ของขมิ้น เช่น ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว หมิ้น ขมิ้นป่า ขมิ้นทอง ขมิ้นดี ตายอ เป็นต้น
  • ขมิ้น เป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 30 เซ็นติเมตร มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เนื้อในเหง้ามีสีเหลืองเข้ม มีกลิ่นที่หอม ลักษณะใบ เป็นใบเดี่ยว ซึ่งแทงออกมาจากเหง้า ดอกของขมิ้นออกเป็นช่อ มีก้านชช่อแทงออกมาจากเหง้า กลีบดอกของขมิ้นมีสีเหลืองอ่อน
  • คุณค่าทางโภชนาการของขมิ้น ขมิ้นมีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันมะเร็งตับได้ ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลในกระเพราะอาหาร เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ทำความสะอาดลำไส้ ช่วยย่อยอาหาร
  • สรรพคุณทางสมุนไพรของขมิ้น เรานิยมใช้เหง้าของขมิ้นมาใช้ประโยชน์ ซึ่งเหง้าของขมิ้นมีฤทธิ์เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา ลดการอักเสบ ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ขับลม บรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ รักษาฝี แผลพุพอง รักษาอาการอักเสบจากแมลงสัตว์กัดต่อย รายละเอียดการนำเอาขมิ้นมาใช้เป็นยาต่างๆ ดังนี้

    • ยาแก้โรคกระเพาะ แก้ท้องร่วง แก้ท้องอืด โดยใช้เหง้าขมิ้นแก่ มาขูดเปลือกออกล้างให้สะอาด นำมาบดให้ละเอียด และคั้นเอาแต่น้ำ รับประทานวันละ 3-4 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ
    • ยาทาผิว ใช้แก้ผื่นคัน โรคผิวหนัง แผลพุพอง ชันนะตุ และหนังศรีษะที่เป็นผื่น โดยใช้เหง้าแก่ มาบดเป็นผง ใช้ทาตามบริเวณที่เป็นผื่นคันยารักษาโรคกระเพาะ โดยใช้รับประทานเหง้าขมิ้น

8.หอมแดง

  • หอมแดง (Shallot) เป็นพืช ที่คนไทยรู้จักกันดี เป็นพืชที่มีกลิ่นฉุน นิยมนำมาทำเป็นส่วนประกอบของอาหาร ให้รสหวาน แต่ประโยชน์ของหอมหัวแดง มีมากมายเหลือเกิน ที่สำคัญคือช่วยลดไขมันและน้ำตาลในเส้นเลือด วันนี้ เราจึงแนะนำ สมุนไพรไทยในครัวเรือน ที่มีชื่อว่า หอมแดง หอมแดงเป็นอย่างไร มีชื่อเรียกว่าอย่างไร ลักษณะของต้นหอมแดง การปลูกหอมแดง การใช้ประโยชน์ด้านยาของหอมแดง มีอะไรบ้าง คุณค่าทางอาหารของหอมแดง เป็นอย่างไร บทความนี้จะให้ความรู้ รอบด้านเกี่ยวกับหอมแดง
  • หอมแดง เป็นพืชเศรษฐกิจ เนื่องจากนิยมนำมาทำอาหาร และสามารถหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดของประเทศไทย นิยมปลูกมากในภาคอีสาน จังหวัดศรีษะเกษ ซึ่งในหอมหัวแดงนั้น มีสารตัวหนึ่ง ชื่อ Allicin และ n-propyl disulphide ที่มีประโยชน์และมีกลิ่นฉุน วันนี้เราจามาทำความรู้จักกัน
  • หอมแดง ภาษาอังกฤษ เรียก Shallot อ่านว่า ชาลอต หอมแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Allium ascalonicum L. หอมแดงเป็นพืชตระกูลเดียวกับพลับพลึง สำหรับหอมแดง มีชื่อเรียกอื่น ๆ อาทิเช่น ผักบั่ว หอมหัวขาว หอมบัว หอมปั่ว หอมแกง หอมไทย หอมเล็ก หอมหัว เป็นต้น
  • ในหอมหัวแดงนั้นมีกลิ่นฉุ่น จากน้ำมันหอมระเหยจากตัวหอมหัวแดง ซึ่งสารต่างๆที่อยู่ในหอมหัวแดง ประกอบด้วยEthanol, Acetonc, methyl Ethyl, Methyl Disulfide, Methyl, Methyl Trisulfide, Methyl I-propyl Trisulfide, I-propyl Trisulfide, Ketone, I-propanol, 2 – propanol, Methanol, I-butanol, Hydrogen Sulfidc, I-propanethiol, I-propyl Disulfide, Thioalkanal-S-oxide, di-n- propyl Disulfide, n- propyl-allyl Disulfide, Diallyl Disulfide, Dithiocarbonate และ Thiuram Sulfidcน้ำมันหอมระเหยจากหอมหัวแดง จะมีรสขม เผ็ดร้อน มีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองตา แสบจมูก และเป็นพิษต่อผิวหนัง เช่น ทำให้เกิดผื่นคัและแสบร้อน แต่สารน้ำมันหอมระเหยนี้ ช่วยลดไขมัน และน้ำตาลกในเลือดได้เป็นอย่างดี และยังมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ได้ดี
  • คุณค่าทางโภชนาการของหอมหัวแดง สำหรับการศึกษาคุณค่าทางอาหาร ของหอมแดง นั้น พบว่าในหอมแดงขนาด 100 กรัม ให้พลังงาน 63 กิโลแคลอรี่ ให้สารอาหาร ต่างๆ ประกอบด้วย โปรตีน 2.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 12.6 กรัม กากใยอาหาร 0.6 กรัม แคลเซียม 16 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 59 มิลลิกรัม วิตามินเอ 28 ไมโครกรัม ไทอามีน 0.09 มิลลิกรัม ไรโบฟลาวิน 0.03 มิลลิกรัม ไนอาซิน 0.5 มิลลิกรัม และวิตามินซี 5 มิลลิกรัม
  • ต้นหอมแดงเป็นอย่างไร สำหรับต้อนหอมแดง เป็นพืชล้มลุก หัวอยู่ในดิน ซึ่งหัวของหอมแดงเป็นแหล่งสะสมอาหารและน้ำ การขยายพันธ์ุของหอมแดงใช้การแตกหน่อ จากหัวของหอมแดง ใบของหอมแดง เป็นลักษณะยาวกลม ผิวเรียบในตั้งตรงขึ้นฟ้า ความยาว 20 ถึง 30 เซ็นติเมตร แต่ละต้นจะมีใบประมาณ 5 ถึง 8 ใบต่อต้น รากของหอมแดง เป็นรากฝอยขึ้นบิเวณก้นของหัวหอม สำหรับหมอแดงมีหลายสายพันธ์ แต่สำหรับหัวหอมที่นิยมปลูกในประเทศไทย มี 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย

    • หอมแดง พันธุ์ศรีสะเกษ ลักษณะของหอมแดงพันธ์ุนี้ คือ เปลือกของหัวด้านนอกหนา มีสีแดงอมม่วง หัวกลมป้อม มีกลิ่นฉุน รสหวาน ใบเขียวเข้ม
    • หอมแดง พันธุ์บางช้าง สำหรับหอมแดงพันธุ์นี้ มีลักษณะใกล้เคียงกับพันธุ์ศรีสะเกษ แต่เปลือกของหัวหอมจะสีจางกว่า แต่ลักษณะเด่น คือ ให้ผลผลิตต่อไร่สูง
    • หอมแดง พันธุ์เชียงใหม่ สำหรับพันธุ์นี้ ลักษณะ คือ เปลือกของหัวหอมบาง มีสีส้มอ่อน หัวกลมรี กลิ่นไม่ฉุนรสหวาน ใบสีเขียว
    • หอมแดง พันธุ์สีขาว ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้ คือ เปลือกบาง หัวมีสีสีขาวอมเหลือง หัวกลมป้อม กลิ่นไม่ฉุน
  • สรรพคุณของหอมแดง

    • สำหรับการใช้ประโยชน์ของหอมแดง นั้นจะใช้ประโยชน์จากหัวและใบของหอมแดง ซึ่งประโยชน์ของส่วนต่างๆ ของหอมแดง มีดังนี้ คือ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยบำรุงร่างกาย ช่วยบำรุงสมอง บำรุงความจำ ช่วยบำรุงโลหิต ช่วยบำรุงหัวใจ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ปรับสมดุลย์ของความดันเลือด ช่วยลดอาการเวียนหัว ช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือด ช่วยกำจัดไขมันเลวส่วนเกิน ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หวัด แก้คัดจมูกได้ ช่วยขับเสมหะ รักษาโรคในช่องปาก แก้อาการปวดหู ช่วยทำให้อาเจียน แก้อาการท้องเสีย แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ใช้เป็นยาถ่าย ช่วยย่อยอาหาร ช่วยขับลมในลำไส้ ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยขับพยาธิ ช่วยรักษาแผล ช่วยบรรเทาอาการคัน ช่วยแก้พิษแมงมุมกัด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย ช่วยยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย หอมแดงรักษาสิว ฝ้า กระ จุดด่างดำ บำรุงผิวพรรณ แก้ผมร่วง ช่วยบำรุงเส้นผม ช่วยเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

9.ยี่หร่า

  • ยี่หร่า เป็นอีกหนึ่งสมุนไพร ที่นิยมนำมาใช้ทำอาหารรับประทาน สรรพคุณเด่น ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ บำรุงระบบประสาท บำรุงผิวพรรณ ช่วยย่อยอาหาร ขับเสมหะมีฤทธิ์เผ็ดร้อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับยี่หร่า กัน
  • ยี่หร่า เป็นพืชที่มีความผูกพันกับสังคมไทยมาช้านาน ในกาบเห่เรือ ยังมีบทหนึ่ง “มัสมั่น หอมยี่หร่า รสร้อนแรง ชายใดได้กลืนแกง แรงอยากให้ใฝ่ฝันหา” ยี่หร่าเป็นพืชล้มลุก มีกลิ่นแรง รสเผ็ดร้อน ซึ่งในใบของยี่หร่า จะมีน้ำมันหอมระเหยชนิดหนึ่ง เรียกว่า น้ำมันยี่หร่า นำมาเป็นวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมความงาม ทำเครื่องหอม น้ำหอม ทำเครื่องดื่ม
  • ยี่หร่า เป็นสมุนไพร ท้องถิ่น มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษ ว่า Tree Basil ยี่หร่า มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Ocimum gratissimum L. ยี่หร่าเป็นพืชตระกูลเดียวกันกับกระเพราและผักชี สำหรับชื่อเรียกอื่นๆของยี่หร่า อาทิเช่น กะเพราญวณ, จันทร์หอม เนียม, จันทร์ขี้ไก่ เนียมต้น, สะหลีดี, หอมป้อม, โหระพาช้าง, กะเพราควาย, หร่า,เทียนขาว เป็นต้น
  • ถิ่นกำเนิดของยี่หร่า นั้นอยู่ในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย และจีน การนำเอายี่หร่ามาใช้ประโยชน์มากมาย เช่น ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ช่วยดับคาว จากนั้นสัตว์ ช่วยในการถนอมอาหาร ประเภทเนื้อสัตว์ ช่วยป้องกันไม่ให้อาหารเน่า และน้ำมันหอมระเหยของยี่หร่า ใช้แต่งกลิ่นอาหาร และใช้แต่งกลิ่นน้ำหอมต่างๆได้อีกด้วย
  • ต้นยี่หร่า ต้นยี่หร่า เป็นไม้ประเภทล้มล้ก เป็นไม้พุ่ม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด และการปักชำกิ่ง เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยและมีความชื้นปานกลาง อาการถ่ายเทได้สะดวก ชอบอยู่กลางแจ้ง ลำต้นของยี่หร่า มีความสูงไม่เกิน 80 เซนติเมตร ลักษณะของลำต้นยี่หร่า มีสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านสาขา กิ่งก้านไม่ใหญ่ ใบยี่หร่า มีลักษณะเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ตามกิ่งก้าน ใบเป็นรูปกลมรี ปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหยัก สีเขียวสด ผิวใบสากๆ มีกลิ่นหอม ดอกของยี่หร่า จะออกบริเวณปลายยอด มีลักษณะเป็นช่อ โดยแต่ละช่อจะประกอบไปด้วยดอกย่อยขนาดเล็กจำนวนมาก ผลของยี่หร่าหรือเมล็ดของยี่หร่า คือตัวเดียวกัน ผลของยี่หร่า มีลักษณะเป็นทรงกลม ขนาดเล็ก ผลอ่อนจะมีสีเขียว และผลแก่ จะเปลี่ยนเป็นสีสีดำหรือสีน้ำตาล
  • คุณค่าทางโภชนาการของยี่หร่า นักโภชนาการได้ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหาร ของใบยี่หร่า ขนาด 100 กรัม พบว่า ในใบยี่หร่า 100 กรัม นั้น มี กากใยอาหาร 26.8 กรัม มีแร่ธาตุต่างๆ เช่น ไขมัน 0.6 กรัม โปรตีน 14.5 กรัม วิตามินบี1 0.10 มิลลิกรัม วิตามินบี2 0.25 มิลลิกรัม วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม วิตามินซี 0 มิลลิกรัม ธาตุแคลเซียม 2 มิลลิกรัม ธาตุฟอสฟอรัส 215 มิลลิกรัม และธาตุเหล็ก 25.5 มิลลิกรัม
  • สรรพคุณของยี่หร่า ในการใช้ยี่หร่าในทางสมุนไพรและการรักษาโรคนั้น สามารถใช้ได้ทุกส่วน ของยี่หร่า ตั้งแต่ ต้น ใบ ราก ผล ซึ่งรายละเอียดของสรรพคุณของยี่หร่า มีดังนี้

    • รากยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
    • ต้นยี่หร่า สามารถช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหาร ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อาการปวดท้อง ช่วยขับลมในลำไส้
    • ผลของยี่หร่า สามารถช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
    • ใบยี่หร่า สามารถช่วยป้องกันมะเร็ง ช่วยขับเหงื่อ ช่วยขัยของเสียออกจากร่างกาย แก้คลื้นไส้อาเจียน แก้ท้องอืด ขับลม ช่วยเจริญอาหาร ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน

10.ตำลึง

  • ตำลึง เป็นสมุนไพร ที่นิยมปลูกริมรั้วบ้าน จะพบได้มากในครอบครัวไทย สรรพคุณของตำลึง ช่วยแก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม บำรุงสายตา รักษาหลอดลมอักเสบ รักษาเบาหวาน แก้แมงสัตว์กัดต่อย ช่วยบำรุงกระดูก บำรุงฟัน ป้องกันมะเร็ง ลดน้ำตาลในเลือด บำรุงเลือด ใช้ลดไข้ รักษาแผล รักษาหิด
  • ตำลึง ภาษาอังกฤษ เรียก Lvy Gourd, Coccinia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ ว่า Cocconia grandis (L.) Voigt ชื่ออื่น ๆ ของผักตำลึง เช่น ผักแคบ แคเด๊าะ สี่บาท ผักตำนินตำลึงนิยมนำมาทำอาหาร ซึ่งคุณค่าทางโภชนาการของตำลึง 100 กรัม จะมี วิตามินบี1 0.17 มิลลิกรัม โปรตีน 3.3 กรัม แคลเซียม 126 มิลลิกรัม เบต้าแคโรทีน 699.88 ไมโครกรัมไนอาซีน 1.2 มิลลิกรัม ธาตุเหล็ก 4.6 มิลลิกรัม วิตามินซี 13 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 30 มิลลิกรัมและใยอาหาร 2.2 กรัม
  • ตำลึงเป็นไม้เลื้อย ลำต้นจะเกาะตามหลัก เช่น แนวรั้วบ้าน ต้นไม้ เถาของตำลึงจะมีสีเขียว ใบของตำลึงเป็นใบเดี่ยว สลับกันไปมาตามเถา โคนของใบมีลักษณะคล้ายรูปหัวใจ ดอกของตำลึง จะมีลักษณะเป็นดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ มีสีขาว ผลของตำลึง เหมือนแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า ผลสีเขียวมีลายสีขาว พอสุกจะกลายเป็นสีแดง
  • สรรพคุณของตำลึง เราสามารถนำตำลึงมาใช้ได้ทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น ใบ ดอก เมล็ด ราก เถา รายละเอียดการใช้ประโยชน์ของตำลึงมีดังนี้

    • ใบของตำลึง เป็นยาลดวามร้อนในร่างกาย นำมาบดเป็นยาพอกผิวหนัง แก้ผื่นคันจากหมามุ้ย ต้นตำแย แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้แมลงสัตว์กัดต่อย รักษาผื่นคันที่เกิดจาก หมามุ่ย ตำแยนำมารับประทาน แก้ท้องอืด แก้ท้องเฟ้อ แก้จุกเฉียดดอกของตำลึง นำมาใช้รักษาอาการคันผิวหนัง
    • เมล็ดของตำลึง นำมาผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทาแก้หิด
    • รากของตำลึง นำมาใช้ ลดไข้ แก้อาเจียน ลดความอ้วน แก้ฝี แก้ปวดบวม แก้พิษร้อนใน แก้พิษแมลงป่องหรือตะขาบข่อย
    • เถาของตำลึง นำมาชงกับน้ำดื่มแก้อาการวิงเวียนศรีษะนำมาบดใช้พอกผิวหนังแก้โรคผิวหนัง เถาของตำลึงมีสรรพคุณ ลดระดับน้ำตาลในเลือด
    • นำตำลึงทั้งต้น มาใช้ทั้ง ราก ใบและเถา นิยมนำมาเป็นยารักษาแก้โรคผิวหนัง ลดระดับน้ำตาลในเลือด แก้หลอดลมอักเสบ กำจัดกลิ่นตัว


      หลักสูตการเรียนรู้สมุนไพรสำหรับผู้ถ่ายทอดภูมิปัญญา

1.ลูกประคบ

ส่วนผสมที่พอเหมาะ

  • เหง้าไพล (Zingiberaceae) (500 กรัม) บรรเทาปวดเมื่อยลดการอักเสบ
  • ขมิ้นชัน (Turmeric) (100 กรัม) บรรเทาฟกช้ำเม็ดผดผี่นคัน
  • ผิวมะกรูด (Kaffir lime, leech lime) หรือ ผิวส้ม (Orange) (200 กรัม) บรรเทาลมวิงเวียนทำให้เกิดกลิ่นหอมละมุน
  • ตะไคร้บ้าน (Lemon Grass, Lapine) (100 กรัม) บรรเทาปวดเมื่อยลดอาการอักเสบ
  • ใบมะขาม (Tamarind) (100 กรัม) บรรเทาอาการคันตามร่างกายบำรุงผิว ชำระไขมัน หรือ ใบขี้เหล็ก (Cassod Tree, Thai Copper Pod) ช่วยละลายไขมันใต้ผิวหนังทำให้หลับสบาย
  • พิมเสน (Borneo camphor) ) (30 กรัม) แต่งกลิ่น แก้พุพอง แก้หวัด
  • การบูร (Camphor) (2 ช้อนโต๊ะ) แต่งกลิ่น บำรุงหัวใจแก้พุพอง
  • เกลือแกง (salt) (1 ช้อนโต๊ะ) ช่วยดูดความชื้น ช่วยพาตัวยาซึมผ่านผิวหนังได้อย่างสะดวก
  • ข้าวกล้อง (Brown rice) (100 กรัม) คั่วให้หอม ทุบให้แตก น้ำมันจากข้าวกล้องช่วยบำรุงผิวพรรณ เปล่งปลั่ง จากสารต้านอนุมูลอิสระ คือวิตามิน อี (สูตรปรับปรุงจาก กรมการข้าว)

วิธีทำลูกประคบ

  1. ล้างสมุนไพรให้สะอาด หั่นเป็นชิ้นเล็กๆโขลกพอเเหลกใส่เกลือ พิมเสน การบูร คลุกให้เข้ากัน เเบ่งเป็น 2-3 ส่วน
  2. นำส่วนทั้งหมดมาวางตรงกลางของผ้า เริ่มต้นจับมุมผ้าทีละ 2 มุม ขึ้นมาทบกัน จับจนครบทั้ง 4 มุม ให้รวบมุมผ้าที่ละมุม อีกครั้งหนึ่งจนครบอีกทั้ง 4 มุม
  3. แต่งชายผ้าให้เรียบร้อย ซ้อนกันเป็นชายเดียวจากนั้นค่อย ๆจัดแต่งลูกประคบให้เป็นรูปทรงกลมที่สวยงาม มัดด้วยเชือกที่ทำเป็นห่วงคล้อง แล้วมัดปมให้แน่น
  4. การทำด้ามจับ โดยการจับชายผ้าที่เหลือมาซ้อนกันให้เรียบร้อย เสร็จแล้วพับเข้าหากันเพื่อเก็บซ่อนชายผ้าทั้งสองด้าน
  5. จัดแต่งและซ่อนชายผ้าเรียบร้อยแล้ว ให้พับปลายลงมาประมาณ กะประมาณความยาวก้านให้สวยงาม ม้วนทบด้ามให้เรียบร้อย ใช้ปลายเชือกเส้นเดิมผูกแบบเงื่อนตายให้แน่น อีกครั้งหนึ่ง
  6. ซ่อนปลายเชือกไว้ในซอกผ้าตรงรอยพับที่เป็นด้ามจับ และเพื่อให้ลูกประคบมีความแข็งแรงสวยงาม คงทนต่อการใช้งาน การทำเช่นนี้จะทำให้เชือกเรียงกันดูสวยงามและเป็นระเบียบ
  • การประคบสมุนไพร คือการใช้สมุนไพรหลายอย่างมาห่อรวมกัน ส่วนใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีน้ำมัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้พืชสมุนไพรในชุมชน (ประชุมออกแบบหลักสูตร)16 กรกฎาคม 2559
16
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเรียนรู้เรื่องสมุนไพร
  • เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้พืชสมุนไพรในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วิทยากรและผู้ที่เข้าร่วมประชุมวางแผนและนำเสนอในการออกแบบหลักสูตร 2 หลักสูตร คือ

  • หลักสูตรของเยาวชนเรียน
  • หลักสูตรของผู้สืบทอดภูมิปัญญา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วิทยากรและผู้ที่เข้าร่วมประชุมวางแผนและนำเสนอในการออกแบบหลักสูตรโดยวิทยาการได้นำเสนอว่าในการที่จะแนะนำให้เยาวชนเรียนรู้กับผู้สืบทอดภูมิปัญญาควรจะทำออกเป็น 2 หลักสูตร คือ

    • หลักสูตรของเยาวชนเรียนรู้เบื้องต้นแค่ประมาณ ชนิดสมุนไพรรูจักชื่อ สรรพคุณ การนำไปใช้อย่างง่ายและการเก็บรักษา
    • หลักสูตรของผู้สืบทอดภูมิปัญญารู้จักชื่อ สรรพคุณ การนำไปใช้ เช่น การต้ม การทำลูกประคบ การอบไอนำ้ และการเก็บรักษา
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสา่วกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 1010 กรกฎาคม 2559
10
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

  • วาระที่ 1 เรื่องทางรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก
  • วาระที่ 2 เรื่องขอเชิญประชาชนในหมู่บ้านมาร่วมลงประชามติในวันที่ 7 ส.ค 59
  • วาระที่ 3เรื่องขอสร้างวัดปากหานในที่ประชุมกรรมการของหมู่บ้าน
  • วาระที่ 4 เรื่องมอบเงินรางวัลผลประกวด ชาวเวียงสระ
  • วาระที่ 5 เรื่องการฝึกอบรมค้นหาครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานในที่ประชุม แจ้งที่ประชุมรับทราบตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้

  • วาระที่ 1 เนื่องจากในเดือนที่ผ่านมาได้ทำประชาคมหมู่บ้านเรื่องทางรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากโดยในที่ประชุมได้มีมติให้ปรับปรุงประปาหมู่บ้านและตอนนี้ทางหมู่บ้านได้ดำเนินการปรับปรุงต่อเติมประปาหมู่บ้านโดยการทำแพขึ้นมาใหม่เพื่อติดตั้งมอเตอร์ดูดน้ำจำนวน 4 ตัว เพื่อจะให้ประชาชนในหมู่บ้านใช้น้ำได้ตลอดปี
  • วาระที่ 2 เรื่องขอเชิญประชาชนในหมู่บ้านมาร่วมลงประชามติในวันที่ 7 ส.ค 59 การลงประชามติในครั้งนี้ไม่มีการลงมติล่วงหน้าแต่สำหรับผู้ที่อยู่ต่างถิ่นให้ท่านไปติดต่อเขตที่ท่านอาศัยอยู่ภายในวันที่ 7 ก.ค 59 เพื่อจะได้ออกเสียงประมตินอกเขต สำหรับผู้ที่ย้ายเข้ามาอยู่ใหม่ในเขตพื้นที่ ที่จะลงประชามติต้องเข้ามาอยู่ในเขตพื้นที่ไม่น้อยกว่า 90 วัน
  • วาระที่ 3 เรื่องขอมติในที่ประชุม เนื่องจากคณะกรรมการหมู่บ้านได้ประชุมกันในวันที่ 1 ก.ค 59 เรื่องขอสร้างวัดปากหานในที่ประชุมกรรมการของหมู่บ้าน ได้มีมติให้ นายอภัย สิขิวัฒน์ เป็นคนไปดำเนินการต่อที่สำนักพุทธศาสนาต่อไป
  • วาระที่ 4 เรื่องมอบเงินรางวัลผลประกวด ชาวเวียงสระ ร่วมใจรณรงค์โครงการไข้เลือดออกในวันที่ 27 มิ.ย 59 ณ วัดทุ่งหลวง ซึ่งผลประกวดมีดังนี้

    • รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ชมรม อสม.รพ.สต. เขานิพันธ์
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเหนือคลอง
    • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ ชมรม อสม.รพ.สต. เวียงสระ
    • รางวัลชมเชย ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านห้วยกรวด / ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านควนร่อน / ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านพรุกระแชง / ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านทุ่งหลวง / ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านคลองฉนวน / ชมรม อสม.รพ.สต.เวียงสระ / ชมรม อสม.รพ.สต.เทศบาลตำบลเวียงสระ / ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านส้อง
  • วาระที่ 5 เรื่องการฝึกอบรมค้นหาครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียง เป็นแกนนำด้านเศรษฐกิจพอเพียง ทางอำเภอเวียงสระขอเชิญผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่จำนวน 1 คน เข้ารับการฝึกอบรม โครงการค้นหาครัวเรือนเศรษฐกิจพอเพียงในวันที่ 5-6 ณ สาลาประชาคมอำเภอเวียงสระ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 910 มิถุนายน 2559
10
มิถุนายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

  • วาระที่ 1 เรื่องกำหนดการทอดผ้าป่าสมทบทุนกองทุนแม่ของแผ่นดิน
  • วาระที่ 2 เรื่องงบประมาณหมู่บ้านละ 200,000 บาท
  • วาระที่ 3 เรื่องการขอทุนสงเคราะห์สวนยางของสำนักสงค์
  • วาระที่ 4 เรื่องด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวนได้ออกบริการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ
  • วาระที่ 5 เรื่องการมอบหนังสือสำคัญในตำแหน่งต่างๆ และได้มีการมอบประกาศนียบัตร
  • วาระที่ 6 เรื่องโครงการอำเภอยิ้มครั้งที่ 5 ทางอำเภอเวียงสระ
  • วาระที่ 7 เรื่องการประชาสัมพันธ์โครการส่งเสริมการปลูกต้นไม้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานในที่ประชุม แจ้งที่ประชุมรับทราบตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้

  • วาระที่ 1 เรื่องกำหนดการทอดผ้าป่าสมทบทุนกองทุนแม่ของแผ่นดิน ด้วยทางอำเภอเวียงสระร่วมกับเครือข่ายกองทุนแม่ของแผ่นดินอำเภอเวียงสระ กำหนดจัดกิจกรรมทอดผ้าป่าสามัคคีวันยาเสพติดโลกในวันที่ 24 มิถุนายน 2559 ณ ที่ว่าการอำเภอเวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
  • วาระที่ 2 เรื่องงบประมาณหมู่บ้านละ 200,000 บาท เนื่องจากในวันที่ 10 พฤษภาคม 2559 ได้ทำประชาคมของหมู่บ้าน ในที่ประชุมมีมติให้ปรับปรุงประปาของหมู่บ้านซึ่งตอนนี้ทางจังหวัดได้โอนเงินจำนวน 200,000 บาท เข้าบัญชีของหมู่บ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้วและให้กรรมการของหมู่บ้านดำเนินการต่อไป
  • วาระที่ 3 เรื่องการขอทุนสงเคราะห์สวนยางของสำนักสงค์ ตอนนี้ได้โค่นไม้ยางแล้ว ทางคณะกรรมการของหมู่บ้านขายไม้ยางได้จำนวน 150,000 บาท และคณะกรรมการของหมู่บ้านได้มีมติให้ขุดตอไม้ยางออกและได้ไถแปลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการของหมู่บ้านได้มีมติให้ปลูกปาล์มน้ำมันแทนยางพาราที่โค่นไป
  • วาระที่ 4 เรื่องด้วยองค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวนได้ออกบริการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกกับประชาชนในเขตพื้นที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลคลองฉนวน
  • วาระที่ 5 เรื่องการมอบหนังสือสำคัญในตำแหน่งต่างๆ และได้มีการมอบประกาศนียบัตร ให้แก่
  1. นายวีระศักดิ์ ลิกขไชย ตำแหน่งกำนันตำบลคลองฉนวน
  2. นายสนอง ธรรมรัตน์ ตำแหน่งสารวัตรตำบลคลองฉนวน
  3. นายถวัลย์ บำรุงภัคดิ์ ตำแหน่งสารวัตรตำบลคลองฉนวน
  4. นายกิจติกร โก้ดี ตำแหน่งสารวัตรตำบลเขานิพันธ์
  5. นางสาวศรีนวล หวานสนิท ตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายปกครองหมู่ที่ 4 ตำบลเขานิพันธ์
  6. นายสมพร ไกรสิทธิ์ ตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายรักษาความสงบหมู่ที่3ตำบลคลองฉนวน
  • วาระที่ 6 เรื่องโครงการอำเภอยิ้มครั้งที่5ทางอำเภอเวียงสระพร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของตำบลคลองฉนวนได้ร่วมกันออกบบริการประชาชนที่หมู่ 7 บ้านควนปราง ต.คลองฉนวน ในวันที่ 25พค.59 ที่ผ่านมา
  • วาระที่ 7 เรื่องการประชาสัมพันธ์โครการส่งเสริมการปลูกต้นไม้เพิ่มพื้นที่ป่าเสรษฐกิจ เนื่องด้วยทางจ.สุราษฎร์ธานี ได้รับแจ้งว่าสำนักงานจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่11สุราษฎร์ธานี ได้ส่งเสริมให้มีการปลูกต้นไม้จำนวน 1,600 ต้นในปี พ.ศ 2559
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

--

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 810 พฤษภาคม 2559
10
พฤษภาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

  • เรื่องที่ 1 การได้รับงบประมาณ 200,000 บาทจากรัฐบาล
  • เรื่องที่ 2 นำเสนอโครงการ ความต้องการของชาวบ้าน
  • เรื่องที่ 3 พิจรณาโครงการที่ชาวบ้านเห็นว่ามีความสำคัญ
  • เรื่องที่ 4 เรื่องการคัดเลือกคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานในที่ประชุม แจ้งที่ประชุมรับทราบตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
- วาระที่ 1 ประธานแจ้งเพื่อทราบ เรื่องการได้รับงบประมาณ 200,000 บาทจากรัฐบาล - วาระที่ 2 นำเสนอโครงการความต้องการของชาวบ้านที่ร่วมเข้าประชุมทำประชาคม โดยมีการนำเสนอ ดังนี้

  1. นาย อำนาจ ไชยสะอาด ได้เสนอโครงการปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน อุปกรณ์หลายชิ้นที่ชำรุด เนื่องจากการใช้งานมาเป็นเวลานานและส่งนำ้ไม่ค่อยเพียงพอ
  2. นาย ปรีชา ทองสุข เสนอโครงการปลูกป่าชุมชน เนื่องจากมีพื้นที่สาธารณะของหมู่บ้านที่ยังว่างเปล่าจำนวนหลายไร่ เพื่อใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
  3. นาย ธงชัย สิขิวัฒน์ เสนอโครงการเจาะบ่อบาดาล เนื่องจากพื้นที่ม.6มีพื้นที่จำนวนมาก การส่งนำ้ของระบบประปาไม่ค่อยทั่วถึงเท่าที่ควร
  • วาระที่ 3 พิจรณาโครงการที่ชาวบ้านเห็นว่ามีความสำคัญตามลำดับ ผลการที่ได้ คือ
  1. ลำดับที่ 1 โครงการปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้าน
  2. ลำดับที่ 2 โครงการปลูกป่าชุมชน
  3. ลำดับที่ 3 โครงการเจาะบ่อบาดาล
  • วาระที่ 4 เรื่องการคัดเลือกคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ

1.ฝ่ายจัดซื้อจัดจ้าง

  • นาย อำนาจ ไชยสะอาด
  • นาย ธงชัย สิขิวัฒน์
  • นาย ยุทธกิจ บรรณาลังค์

2.ฝ่ายตรวจรับพัสดุ

  • นาย สุวรรณรัตน์ จินา
  • นาย วิชัย ศรีอรุณพรรนรา
  • นาย สุธรรม สิขิวัฒน์

3.ฝายการเงินและบัญชี

  • นาย อุทัย วิเชียร
  • นางสาว นิตษา ไกรสิทธิ์
  • นาย ประสาน ทิพย์สุวรรณ

  • วาระที่5 แจ้งให้คณะกรรมการที่ได้รับเลือกทุกท่านเริ่มมาปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2559

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 710 เมษายน 2559
10
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

  • เรื่องการจัดงานรดนำ้ผู้สูงอายุ
  • เรื่องการจัดชุดรำ
  • เรื่องการจัดซื้อชุดกีฬา
  • เรื่องคำสั่งกระทรวงมหาดไทย
  • เรื่องความเดือดร้อนสถานการณ์ภัยแล้ง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานในที่ประชุม แจ้งที่ประชุมรับทราบตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้

  • วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบการจัดงานรดนำ้ผู้สุงอายุ ม.6 วันที่ 5 พฤษภาคม 2559
  • วาระที่ 2 การกำหนดผู้สูงอายุเข้ารดนำ้ ที่ประชุมมีมติให้ผู้ที่มีอายุตั้งแต่75ปีขึ้นไปเข้ารดนำ้
  • วาระที่ 3 นิมนต์พระคุณเจ้าวัดคลองฉนวน 5 รูป มาทำพิธีทางศาสนาและทำหนังสือเชิญส่วนราชการต่างๆ เข้าร่วมด้วย
  • วาระที่ 4 จัดของขวัญสำหรับผู้สูงอายุที่เข้าร่วมทุกท่าน
  • วาระที่ 5 การจัดชุดรำร่วมวัดคลองฉนวน วัดในปราบ สำนักสงฆ์ยอมงามจ่ายค่าเช่าชุดและค่าแต่งหน้า เป็นเงิน 7500 บาท
  • วาระที่ 6 จัดซื้อชุดกีฬาแข่งขันคลองฉนวนสัมพันธ์ ครั้งที่ 16 วันที่ 5เมษายน 2559 จำนวน 10800 บาท
  • วาระที่ 7 คำสั่งกระทรวงมหาดไทยให้เฝ้าระวังในวันที่ 13 เมษายน 2559 เรื่องการเล่นนำ้สงกรานต์เกินขอบเขต และเฝ้าระวังเรื่องการดื่มสุรา ม.6 ได้ตั้งจุดบริการที่ป้อมบ้านปากหารไม่มีเหตุดังกล่าวเกิดขึ้น
  • วาระที่ 8 ความเดือดร้อนเรื่องสถานการณ์ภัยแล้งเกี่ยวกับระบบประปาเนื่องจากประปา ม.6 ให้บริการชาวบ้านเขต ม.6 และ ม.3 บางส่วนมาเป็นเวลา16ปี อุปกรณ์บางอย่างชำรุดโดยเฉพาะ มอเตอร์สูบนำ้เสื่อมสภาพมากจึงขอความอนุเคราะห์องค์การบริหารส่วนตำบลจัดสรรงบประมาณจัดซื้อมอเตอร์ประมาณ 50,000 บาท เพื่อให้ประปาใช้สูบนำ้และส่งนำ้ได้ปกติเพื่อบรรเทาความ เดื่อดร้อนของชาวบ้านต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรื่อนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

จัดทำรายงานปิดโครงการ งวดที่ 120 มีนาคม 2559
20
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย kannapat janthong
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • เข้าพบพี่เลี้ยงที่ ม.อ. สุราษฎร์ธานี
  • พี่เลี้ยงปรับแก้รายงาน
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • พี่เลี้ยงช่วยตรวจสอบปรับแก้รายงานผลการดำเนินงานโครงการจนมีความสมบูรณ์
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน และปรับแก้ที่ทำผิดให้ถูกต้อง
  • สามารถส่งเอกสารการเงินโครงการ ง.1 งวด 1 และเอกสารรายงานความก้าวหน้าโครงการ ส.1 งวด 1 ให้กับ สจรส. มอ. ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นายสนิท มณีอ่อน ผู้รับผิดชอบโครงการ
  • นายอุทัย วิเชียร
  • นายไวเจริญ ชูไกรไทย
  • นายสุวรรณรัตน์ จินา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 610 มีนาคม 2559
10
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

  • วาระที่ 1 เรื่องกีฬาดีมีทั้งปีที่เวียงสระ เริ่ม 26-28 มีนาคม
  • วาระที่ 2 โครงการวิกฤติภัยแล้ง
  • วาระที่ 3 สรุปยอดรายรับรายจ่ายการจับปลาหานทุ่งคา
  • วาระที่ 4 ตามที่ได้จัดกิจกรรมของ สสส.เรื่อง ฟังคนเฒ่าคนแก่กินผักเป็นยา รู้จัก เรียนรู้ เรื่องสมุนไพร พืชผักพื้นบ้านในชุมชน
  • วาระที่ 5 ขอมติที่ประชุมกรรมการหมู่บ้านเกี่ยวกับการจัดงานผู้สูงอายุ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานในที่ประชุม แจ้งที่ประชุมรับทราบตามระเบียบวาระการประชุม ดังนี้

  • วาระที่ 1 เรื่องกีฬาดีมีทั้งปีที่เวียงสระ เริ่ม 26-28 มีนาคม เพื่อสร้างความสามัคคี ต่อต้านยาเสพติด มีโครงการชักว่าวเข้าถ้ำโดยเทศบาลเขานิพันธ์ โดยนายกเชาว์ จุดประสงค์เพื่อฟื้นฟูประเพณีเยี่ยมชมธรรมชาติ
  • วาระที่ 2 โครรงการวิกฤติภัยแล้ง ทำโครงการขุดลอกแม่น้ำตาปี หนองน้ำ หาน ปรับปรุงประปาหมู่บ้าน
  • วาระที่ 3 สรุปยอดรายรับรายจ่ายการจับปลาหานทุ่งคา เมื่อวันที่ 5-6มีนาคม และทำไร่ข้าวเจ้า รวมสรุปยอดรายรับคงเหลือ 44000 บาท
  • วาระที่ 4 ตามที่ได้จัดกิจกรรมของ สสส. เรื่อง ฟังคนเฒ่าคนแก่กินผักเป็นยา รู้จัก เรียนรู้ เรื่องสมุนไพร พืชผักพื้นบ้านในชุมชน ขอบคุณที่ได้มีชาวบ้านให้ความร่วมมือและหวังว่าจะได้รับความร่วมมืออีก
  • วาระที่ 5 ขอมติที่ประชุมกรรมการหมู่บ้านเกี่ยวกับการจัดงานผู้สูงอายุตกลงจะจัดงานในวันที่ 6 พฤษภาคม 2556
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ฟังคนเฒ่าคนแก่กินผักเป็นยา รู้จัก เรียนรู้ เรื่องสมุนไพร พืชผักพื้นบ้านในชุมชน4 มีนาคม 2559
4
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อส่งเสริมการบริโภค การใช้ประโยชน์ และดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยภูมิปัญญาด้านสมุนไพรและผักพื้นบ้านที่มีในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ผู้ใหญ่บ้านนาย สนิท มณีอ่อน ได้กล่าวเปฺิดงานและแนะนำวิทยากร มีนาย ประยูร ละออ เป็นปราชญ์ชุมชน และนายคารม ศรีสุกใส
  • นำครัวเรือนอาสาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค โดยให้ครูภูมิปัญญา ผู้รู้มาถ่ายทอดการใช้ประโยชน์ ชี้ให้เห็นประโยชน์ ความสำคัญของพืชสมุนไพรที่มีในชุมชน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กินอย่างไรให้ร่างกายแข็งแรง อายุยืน คือ นายประยูร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ครูภูมิปัญญา นายประยูร ละออ มาถ่ายทอดการใช้ประโยชน์ ชี้ให้เห็นประโยชน์ ความสำคัญของพืชสมุนไพรที่มีในชุมชน มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กินอย่างไรให้ร่างกายแข็งแรง อายุยืน ให้กับกรรมการหมู่บ้าน อสม. กลุ่มแม่บ้าน และกลุ่มครัวเรือนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง โดยนายประยูรได้เล่าถึงที่มาของตำราสมุนไพรว่าได้มาจากการตกทอดจากบรรพบุรุษสมัยรัชกาลที่ 4 บอกถึงสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด และวิธีที่จะนำมาปรุงยาว่าจะใช้การบด การต้ม การอบการรมยาสมุนไพร การหาสมุนไพร บางตัวก็หายาก บางตัวก็ราคาแพง บางตัวก็ไม่ใครรู้จัก ก็เลยมีปัญหาที่จะรักษาโรคได้ครบยาสมุนไพรเป็นยาที่รักษาได้หลายโรคในพืชชนิดเดี่ยวมีสรรพคุณรักษาได้หลายอย่าง บางโรคก็ต้องใช้พืชสมุนไพร หลายตัวมารวมกันเพื่อรักษา สมุนไพรที่มีสรรพคุณในการรักษาโรค เช่น
  1. กระถิน มีสรรพคุณช่วยบำรุงสายตา ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยขับพยาธิ ควบคุมความดันให้ปกติ รักษาอาการท้องร่วง และช่วยสมาแผล
  2. กล้วยน้ำว้า มีประโยชน์ช่วยรักษาโรคกระเพาะ แก้ท้องเสีย เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยแก้โรคบิด รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ริดสีดวง และช่วยขับน้ำนม
  3. แคดอกขาว ใช้รับประทานแก้โรคบิดมีตัว รักษาโรคริดสีดวงในจมูก แก้อาการฟกช้ำ และเป็นยาระบายอ่อนๆ
  4. ชะพลู ใช้ประโยชน์ในการรักษาโรคเบาหวาน ละลายเสมหะ แก้ไขอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยรักษาอาการโรคหืดหอบและโรคบิด
  5. โด่ไม่รู้ล้ม ช่วยบำรุงกำลัง มีสรรพคุณรักษาไข้จับสั่นหรือไข้มาเลเรีย แก้ดีซ่าน ช่วยขับปัสสาวะ รักษาอาการเหน็บชา
  6. เตยหอม นิยมใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้กระษัยเส้น ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น รวมถึงใช้แต่งกลิ่นและสีของขนมไทย
  7. ตะไคร้ มีสรรพคุณช่วยขับปัสสาวะและโรคทางเดินปัสสาวะ แก้โรคนิ่ว แก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ ช่วยรักษาอาการหอบหืดและอาการจุกเสียดแน่นท้อง
  8. ตะไคร้หอม มีประโยชน์ช่วยไล่ยุงและแมลง แก้ลมในลำไส้ช่วยไม่ให้แน่นท้องและจุกเสียด และช่วยแก้ริดสีดวงในช่องปาก
  9. เพกา นิยมใช้แก้ท้องร่วง เป็นยาสมานแผล ช่วยให้เจริญอาหาร ขับเสมหะ และแก้อาการจุดเสียดแน่นท้อง
  10. พริกไทย ประโยชน์ของสมุนไพรพริกไทย ช่วยแก้ลมจุกเสียดแน่น ท้องอืดเฟ้อ ขับเหงื่อและปัสสาวะ ช่วยลดอาการอาหารไม่ย่อย
  11. พริกขี้หนู ช่วยขับเสมหะ ทำให้การย่อยอาหารดีขึ้น ช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ และช่วยให้เจริญอาหาร
  12. ว่านหางจระเข้ ช่วยขับน้ำคาวปลา ใช้พอกรักษาฝี โรคหนองใน มีสรรพคุณรักษาโรคริดสีดวงทวาร ช่วยรักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก และไฟไหม้ เป็นยาทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็นได้ดี
  13. หางไหลขาว ใช้เป็นยาขับประจำเดือน ช่วยกำจัดเห็บเหา และช่วยขับลม
  • ส่วนนายคารม ศรีสุกใส ได้กล่าวถึงแพทย์ทางเลือก การรักษาโรคจะใช้สมุนไพรร่วมกับการการนวดบำบัดโดยใช้ลูกประคบบ้าง ใช้การอบในห้องอบสมุนไพร การกินผักที่จะช่วยรักษาอาการบางอาการได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรื่อนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
  • เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนอำเภอเวียงสระ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 510 กุมภาพันธ์ 2559
10
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

  • วาระที่ 1 เรื่องการยางแห่งประเทศไทยได้ชี้แจงในเรื่องที่ทางรัฐบาลได้ช่วยสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางไร่ละ 1,5000
  • วาระที่ 2 การให้ความช่วยเหลือ การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ
  • วาระที่ 3 แจ้งการจ่ายเงินตามโครงการ สสส. ที่ได้ให้งบประมาณโครงการบ้านปากหานสร้างสุขด้วยสมุนไพร และได้แจ้งบัญชีรับและจ่ายตามโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ

  • วาระที่ 1 เรื่องการยางแห่งประเทศไทยได้ชี้แจงในเรื่องที่ทางรัฐบาลได้ช่วยสนับสนุนเกษตรกรชาวสวนยางไร่ละ 1,5000 จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ผู้กรีดเองจะได้รับเงินภานในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2559 สำหรับผู้ที่รับจ้างกรีดจะได้รับเงินภายใน วันที่มีนาคม 2559
  • วาระที่ 2 การให้ความช่วยเหลือ การปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ตามที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีหนังสือมายังอำเภอและสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดสุราษฎร์ธานี เพื่อประสานมายัง อบต. ให้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริง กรณีผู้สูงอายุ ในที่อยู่ครัวเรือน ตกเกณฑ์ตามข้อมูลจำเป็นพื้นฐาน ปี 2557 หรือผู้สูงอายุที่กำลังประสบปัญหาควาามเดือดร้อน จังหวัดสุราษฎร์ธานีจึงขอความร่วมมือท่่านพิจารณาคัดเลือกผู้สูงอายุในพื้นที่ มีความพร้อมในการดำเนินงาน ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ให้แก่ผู้สูงอายุผ่านการทำประชาคม หมู่บ้าน สำหรับอัตราวงเงิน และค่าใช้จ่ายในการปรับสภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัยให้แก่ผู้สูงอายุ ให้เป็นไปในลักษณะเหมาจ่าย รายละ ไม่เกิน 20,000 บาท และขอให้แจ้งรายชื่อพร้อมรายละเอียดผู้ที้่่ได้รับการคัดเลือก มีจำนวน7 ครัวเรือน ดังนี้
  1. นางเขียน ทองรักษ์
  2. นายฉ้อยบุญสนอง
  3. นางมาลี แมนวงศ์
  4. นางเพ็ญศรี โกติ
  5. นางมนัส น้อยสกุล
  6. นางเสี้ยน สุทธิเกตุ
  7. นางอารมย์ ไกรสิทธิ์

ในที่ประชุมมีมติเห็นชอบ ทั้ง7 คน

  • วาระที่ 3 แจ้งการจ่ายเงินตามโครงการ สสส. ที่ได้ให้งบประมาณโครงการบ้านปากหานสร้างสุขด้วยสมุนไพร และได้แจ้งบัญชีรับและจ่ายตามโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรื่อนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พี่เลี้ยง สจรส. และโครงการ ประชุมจัดทำรายงานปิดโครงการ5 กุมภาพันธ์ 2559
5
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย Yuttipong Kaewtong
circle
วัตถุประสงค์

ตรวจเอกสารการเงินและแนะนำการเขียนรายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ตรวจเอกสารการเงินและแนะนำการเขียนรายงาน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตรวจเอกสารเบื้องต้นการใช้จ่ายเงินยังไม่ถึงครึ่ง และกลับไปจัดกิจกรรมต่อ และมาปิดงวดที่ 1 ใหม่

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการ

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ประชุมจัดทำรายงานปิดโครงการ งวดที่ 1 (ติดตาม ครั้งที่ 3)5 กุมภาพันธ์ 2559
5
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ- เพื่อจัดทำเอกสารรายงานการเงิน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ลงทะเบียน
  • พี่เลี้ยงให้แต่ละโครงการเล่าถึงกิจกรรม ปัญหา และอุปสรรคของแต่ละโครงการ
  • ให้ทำรายงาน ง.1และ ส.1 แต่ในการที่จะทำต้องเอาข้อมูลของกิจกรรมทั้งหมดลงให้สมบูรณ์
  • พี่เลี้ยงตรวจเอกสารและใบเสร็จรับเงิน ยังบางส่วนที่ต้องปรับปรุง เช่น ลายเซ็นที่ไม่ครบ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • หลังจากการตรวจโครงการปรากฎว่างบประมาณที่ใช้มาในงวดที่ 1 ยังใช้ไปไม่ถึง 50% จะขอเงินงวดต่อไปไม่ได้ จึงทำการขยายเวลาที่จะส่งเอกสารไปอีก 1 เดือน เพื่อที่จะได้ดำเนินกิจกรรมที่เลยอยู่ก่อนแล้วค่อยส่งเอกสาร ง.1 และ ส.1 เพื่อที่จะของบประประมาณของงวดต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • นาย สนิน มณีอ่อน
  • นาย ไวเจริญ ชูไกรไทย
  • นาย สุวรรณรัตน์ จินา
  • นาย อุทัย วิเชียร
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เนื่องจากการทำกิจกรรมล่าช้าเลยต้องขยายเวลาที่จะส่งเอกสาร ง.1และ ส.1
  • จัดกิจกรรมให้ได้ตามแผนโครงการ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 410 มกราคม 2559
10
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมประจำเดือนมกราคม 2559 โดยมีวาระการประชุม ดังนี้

  • วาระที่ 1ประธานแจ้งให้ที่ประทราบเรื่องนายอำเภอคนใหม่
  • วาระที่ 2 เรื่องให้ราษฎรในหมู่ที่ 6 จำนวน 30 คน ได้ลงชื่อเป็นครัวเรืองต้นแบบ
  • วาระที่ 3 เรื่องป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่
  • วาระที่ 4 เรื่องการตรวจเลือกทหารในวันที่ 7เมษายน 2559
  • วาระที่ 5 เรื่องการขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย
  • วาระที่ 6 เรื่องทางหมู่บ้านได้จัดทำข้าวไร่
  • วาระที่ 7 เรื่องการใช้เงินโครงการ สสส.
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ที่ประชุมมีการพูดคุยตามวาระ ดังนี้

  • วาระที่ 1 ประธานแจ้งให้ที่ประทราบเรื่อง นายนอบ คงพูล นายอำเภอเวียงสระ ได้ย้ายไปเป็นปลัดจังหวัดพัทลุง และนายชุมพล สุขใส ย้ายมาเป็นนายอำเภอเวียงสระ ปลัดนิมิตร ปลัดอำเภอเวียงสระได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภอพูนพิน
  • วาระที่ 2 เรื่องให้ราษฎรในหมู่ที่ 6 จำนวน 30 คน ได้ลงชื่อเป็นครัวเรือนต้นแบบ
  • วาระที่ 3 เรื่องป้องกันอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาในหมู่ที่ 6ได้จัด อปพร.สรบ. ผู้ช่วยผู้ใหญ่ได้ร่วมกันตั้งจุดตรวจจุดป้องกัน ที่ป้อมชุมชนบ้านปากหารในช่วง 7 วัน อันตราย
  • วาระที่ 4 เรื่องการตรวจเลือกทหารในวันที่ 7 เมษายน 2559 ที่โรงเรียนเวียงสระ และเข้าเวรบริการของผู้ใหญ่กำนันประจำทุกเดือน ตำบลคลองฉนวนจะต้องมีผู้ใหญ่กำนันในวันพฤหัสบดี
  • วาระที่ 5 เรื่องการขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย ตอนนี้ผู้ได้มาขึ้นทะเบียนการยางจำนวน 63 ครัวเรือน ผู้ที่ได้ขึ้นทะเบียน ให้มาตรวจสอบรายชื่อได้ที่บ้านผู้ใหญ่บ้าน
  • วาระที่ 6 เรื่องทางหมู่บ้านได้จัดทำข้าวไร่ร่วมกัน ตอนนี้ได้เก็บข้าวไร่เรียบร้อยแล้ว และจะนัดประชุมกรรมการหมู่บ้านได้ตกลงวาระต่อไป
  • วาระที่ 7 เรื่องการใช้เงินโครงการ สสส. เนื่องจากในหมู่ที่ 6 ได้โครงการ สสส. ประธานได้ชี้แจงในการจ่ายงบประมาณ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรื่อนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พี่เลี้ยงอบรมการเขียนรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน12 ธันวาคม 2558
12
ธันวาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย Yuttipong Kaewtong
circle
วัตถุประสงค์

สนับสนุนการเขียนรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • 09.00 น. ลงทะเบียน
  • 10.00 น. นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง (วิทยากร) อธิบายเรื่องการเขียนรายงานการเงิน การลงใบบันทึกการเงิน การแนบหลักฐานการเงินใน 1
  • 12.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 น. วิทยากร อธิบายการหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • 15.00 น. ดูตัวอย่างของโครงการที่ทำไปแล้วทางหน้าเว็บและมีการแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ข้อมูลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานชุมชนมีความรู้ความเข้าใจการเขียนรายงานและเอกสารทางการเงิน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลมากกว่าเป้าหมาย (4)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

อบรมการเขียนรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน (ติดตาม ครั้งที่ 2)12 ธันวาคม 2558
12
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
  • เพื่อเรียนรู้การเขียนรายงานและการเงิน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • 09.00 น. ลงทะเบียน
  • 10.00 น. นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง (วิทยากร) อธิบายเรื่องการเขียนรายงานการเงิน การลงใบบันทึกการเงิน การแนบหลักฐานการเงินใน 1
  • 12.00 น. พักรับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 น. วิทยากร อธิบายการหักภาษี ณ ที่จ่าย
  • 15.00 น. ดูตัวอย่างของโครงการที่ทำไปแล้วทางหน้าเว็บและมีการแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้ข้อมูลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้มีความรูัเกี่ยวกับการเขียนใบเสร็จ เช่น ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าเช่า ถ้าจำนวนเงินเกิน 1,000บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% และอธิบายถึงการกรอกข้อมูลในหนังสือรับรองภาษี การยื่นภาษีต้องยื่นที่สรรพากรอำเภอ ภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป
  • วิทยากรอธิบายเรื่องการเขียนรายงานการเงิน การลงใบบันทึกการเงิน การแนบหลักฐานการเงินใน 1 กิจกรรมต้องแนบเอกสารประกอบด้วย
  1. ใบลงทะเบียน
  2. ใบสำคัญรับเงิน
  3. บิลที่ทางร้านออกให้ ต้องออกในนามชื่อโครงการ
  • วิทยากร อธิบายการหักภาษี ณ ที่จ่ายค่าใช้จ่ายไหนบ้างที่ต้องนำมาหักภาษี เช่น ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าเช่า ถ้าจำนวนเงินเกิน 1,000บาท ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 1% และอธิบายถึงการกรอกข้อมูลในหนังสือรับรองภาษี การยื่นภาษีต้องยื่นที่ไหน เมื่อไหร่
  • มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ถาม - ตอบ ปัญหาที่พบในการจัดกิจกรรมครั้งที่ผ่านมาผู้เข้าร่วมประชุมแต่ละโครงการเข้าใจเรื่องการเขียนรายงานทางการเงินและการหักภาษี ณ ที่จ่ายสามารถนำมาอธิบายให้คณะกรรมการโครงการทราบได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 4 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • สอบต.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 310 ธันวาคม 2558
10
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ โดยมีวาระการประชุม ดังนี้

  • วาระที่ 1เรื่องโครงการ สสส.
  • วาระที่ 2 เรื่องโครงการเศษฐกิจพอเพียง
  • วาระที่ 3 เรื่องจัดงานเฉลิมพระเกียติในวันที่ 5 ธันวาคม 2558
  • วาระที่ 4 กิจการปั่นเพื่อพ่อในวันที่ 11 ธันวาคม 2558
  • วาระที่ 5 พิธีถวายดอกไม้จันทร์พระศพสมเด็จพระสังฆราชที่วัดบ้านส้อง
  • วาระที่ 6 การเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศการปีใหม่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประธานในการประชุม แจ้งที่ประชุมรับทราบเรื่องตามวาระ ดังนี้

  • วาระที่ 1 เรื่องโครงการ สสส. ที่ได้รับเงินจากโครงการตอนนี้ทางคณะกรรมการได้ดำเนินการไปบางส่วนแล้วในวันที่ 12 ธันวาคม2558 ทางเจ้าของโครงการ สสส. ได้นัดประชุมชี้แจงในการจ่ายงบประมาณให้ไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ จึงได้เชิญคณะกรรมการไปร่วมอบรมที่โรงแรงร้อยเกาะ จำนวน 3 คน และได้ชี้แจงการใช่จ่ายในการทำกิจกรรมที่ผ่านมา
  • วาระที่ 2 เรื่องโครงการเศษฐกิจพอเพียงเนื่องจากในปี พ.ศ.2558 ได้รับงบประมาณจำนวน 40 ครัวเรื่อน ทางรัฐบาลได้จัดสรรพันธุ์ปลาดุก และไก่พันธุ์ไข่
  • วาระที่ 3 เรื่องจัดงานเฉลิมพระเกียติในวันที่ 5 ธันวาคม 2558 อำเภอเวียงสระ ได้จัดงานยิ่งใหญ่กว่าทุกปีที่ผ่านมา ตอนเช้าวันที่ 5 ธันวาคม 2558 เวลา 06.00 น.ทำบุญตักบาตร เวลา 09.00 น. ทำพิธีลงนามถวายพระพร เวลา 19.19 น.ได้ทำพิธีจุดเทียนชัยและร่วมกันร้องเพลงสดุดีมหาราชา
  • วาระที่ 4 กิจกรรมปั่นเพื่อพ่อในวันที่ 11 ธันวาคม 2558 ปั่นเฉลิมพระเกียติเนื่ององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบรอบ 89 พรรษาทุกจังหวัด ได้จัดขึ้นในวันที่ 11 ธันวาคม 2558
  • วาระที่ 5 พิธีถวายดอกไม้จันทร์ อำเภอเวียงสระจัดในวันที่ 16 ธันวาคม2558 เวลา 16.00 น. เนื่องในพิธีถวายเพลิงพระศพสมเด็จพระสัวฆราชที่วัดบ้านส้อง
  • วาระที่ 6 การเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในช่วงเทศการปีใหม่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรื่อนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่17 พฤศจิกายน 2558
17
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • สั่งทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่นำไปติดไว้ที่สาลาประจำหมู่บ้าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานได้จัดทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ เพื่อติดไว้ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน และสถานที่ที่มีการจัดกิจกรรม เพื่อรณรงค์ให้สถานที่ดังกล่าว เป็นสถานที่ปลอดบุหรี่ในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 100 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 216 พฤศจิกายน 2558
16
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ผู้ใหญ่ ได้ชี้แจงถึงกิจกรรมที่พึ่งผ่านมาของโครงการบ้านปากหารสร้างสุขด้วยสมุนไพร ได้รับความร่วมมือจากชาวบ้านบ้านปากหารเป็นอย่างดี และได้เข้าใจถึงที่มาและการดำเนินการต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชาวบ้าน และกรรมการที่มาร่วมประชุมได้รับรู้การทำงานของโครงการบ้านปากหารสร้างสุขด้วยสมุนไพร ว่าได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเวทีชี้แจงโครงการบ้านปากหารสร้างสุขด้วยสมุนไพร ไปแล้วเมื่อวันที่ 10 พฤสจิกายน 2558 และมีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการต่อไปตามปฏิทินการทำงาน คือ

  • 9 ธ.ค. 2558 พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 3
  • 12 ธ.ค. 2558 อบรมการเขียนรายงาน และการจัดทำเอกสารการเงิน (ติดตาม ครั้งที่ 2)
  • 10 ม.ค. 2559 พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 4
  • 5 ก.พ. 2559 ประชุมจัดทำรายงานปิดโครงการ งวดที่ 1 (ติดตาม ครั้งที่ 3)
  • 10 ก.พ. 2559 พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 5
  • 4 มี.ค. 2559 ฟังคนเฒ่าคนแก่กินผักเป็นยา รู้จัก เรียนรู้ เรื่องสมุนไพร พืชผักพื้นบ้านในชุมชน
  • 10 มี.ค. 2559 พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 6
  • 30 มี.ค. 2559 ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพิ่มในชุมชน (เยาวชนเพาะพันธุ์กล้าสมุนไพรให้ชุมชน)
  • 10 เม.ย. 2559 พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 7
  • 20 เม.ย. 2559 ประชุมออกแบบหลักสูตร
  • 21 เม.ย. 2559 จัดทำหลักสูตร
  • 22 เม.ย. 2559 ทดลองใช้หลักสูตร
  • 29 เม.ย. 2559 ส่งเสริมการปลูกสมุนไพรเพิ่มในชุมชน (เยาวชนปลูกสมุนไพรให้ชุมชน)
  • 2 พ.ค. 2559 - 3 พ.ค. 2559 สำรวจข้อมูลสมุนไพร และผักพื้นบ้านในชุมชนบ้านปากหาน
  • 4 พ.ค. 2559 ส่งเสริมการแปรรูปสมุนไพรในชุมชนเพื่อใช้ในการดูแลสุขภาพ
  • 10 พ.ค. 2559 พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 8
  • 21 พ.ค. 2559 ถ่ายทอดความรู้ด้านสมุนไพรแก่เยาวชนในโรงเรียนบ้านปากหาน ชั้น ป.4 - ป.6 จำนวน 40 คน
  • 22 พ.ค. 2559 อบรมอาสาสมัครสืบสานภูมิปัญญาด้านสมุนไพร จำนวน 30 คน
  • 10 มิ.ย. 2559 พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 9
  • 10 ก.ค. 2559 พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 10
  • 1 ส.ค. 2559 จัดทำรายงานโครงการ
  • 10 ส.ค. 2559 พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 11
  • 1 ก.ย. 2559 เวทีถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการ
  • 3 ก.ย. 2559 เวทีสรุปการทำงานและรายงานผลการดำเนินงานโครงการ
  • 3 ก.ย. 2559 - 4 ก.ย. 2559 งานสร้างสุขภาคใต้ 2559
  • 10 ก.ย. 2559 พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 12
  • 17 ก.ย. 2559 - 18 ก.ย. 2559 จัดทำรายงานปิดโครงการ (ติดตาม ครั้งที่ 4)
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรื่อนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

เวทีชี้แจงโครงการบ้านปากหารสร้างสุขด้วยสมุนไพร10 พฤศจิกายน 2558
10
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อส่งเสริมการบริโภค การใช้ประโยชน์ และดูแลสุขภาพเบื้องต้นด้วยภูมิปัญญาด้านสมุนไพรและผักพื้นบ้านที่มีในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • จัดประชุมชาวบ้าน แกนนำชุมชน และผู้เกี่ยวข้องเพื่อชี้แจงโครงการบ้านปากหารสร้างสุขด้วยสมุนไพรและผักพื้นบ้าน
  • ที่มาของโครงการ และขอความร่วมมือจากชาวบ้าน
  • แนะนำสภาผู้นำชุมชนให้คนในชุมชนทราบ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชาวบ้านบ้านปากหารได้รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับโครงการและที่มาของโครงการ โดยมีรายละเอียด คือ คนในชุมมีปัญหาเรื่องสุขภาพเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อโรค เช่น เป็นโรคหวัด มีปัญหาเรื่องสุขภาพที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย เช่น การปวดเมื่อยตามร่างกาย พฤติกรรมการบริโภค เช่น โรคความดันโลหิต โรคเบาหวานนอกจากนี้คนในชุมชนยังใช้ยาชุดในการรักษาอาการป่วย เพราะขาดความเข้าใจและไม่เชื่อถือในสรรพคุณของสมุนไพรพื้นบ้านที่มีอยู่ คนในชุมชนมีอาการเจ็บป่วยเพิ่มเนื่องมากจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม การบริโภค การขาดการดูแลตัวเอง เมื่อมีอาการเจ็บป่วยแม้มีอาการเล็กน้อยก็พึ่งพาแต่ยาชุดบ้าง ทั้งๆ ที่ในชุมชนยังมีสมุนไพรอยู่หลายชนิด แต่คนในชุมชนยังความรู้ความเข้าใจในวีธีการใช้ และสรรพคุณของสมุนไพรนั้นๆ คนบางกลุ่มยังขาดมั่นใจที่จะรักษาโรคจากสมุนไพร ซึ่งจริงๆ แล้วการใช้สมุนไพรพื้นบ้านเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษา และทำให้สุขภาพดีขึ้นด้วย อีกทั้งในหมู่บ้านมีผู้ซึ่งเป็นปราชญ์เกี่ยวกับสมุนไพร แต่ยังขาดการเผยแพร่เกี่ยวกับความรู้ที่ท่านมีให้คนทั่วไปได้เรียนรู้ จากเหตุผลข้างต้น จึงทำให้ชุมชนคิดว่าเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ควรแก่การนำมาใช้ และถ่ายทอดให้คนในชุมชนเห็นประโยชน์ จึงคิดว่าการส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชนด้วยการปรับพฤติกรรมการบริโภค ให้ความสำคัญกับการบริโภคผัก พืชสมุนไพรเป็นยา แทนการบริโภคยาเป็นอาหาร จะทำให้คนในชุมชนมีร่างกายที่แข็งแรงขึ้น สุขภาพกายดีขึ้น สุขภาพใจก็จะดีตามมาด้วย ในส่วนของคนที่เป็นโรคที่ต้องรับการรักษาที่จำเป็นต้องใช้ยาก็ต้องได้รับยาตามแพทย์สั่ง โดยมีการส่งไปรักษายัง รพ.สต. ในพื้นที่ หรือโรงพยาบาลชุมชน จึงได้เกิดโครงการนี้
  • ชาวบ้านให้การสนับสนุนและอยากมีส่วนร่วมกับโครงการนี้เพื่อรับรู้จากกิจกรรมที่เกิดขึน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 80 คน จากที่ตั้งไว้ 80 คน
ประกอบด้วย
  • ชาวบ้านบ้านปากหาร หมู่ที่ 6 ต.คลองฉนวน อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

พัฒนากลไกขับเคลื่อนเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ (สภาผู้นำชุมชน) ครั้งที่ 130 ตุลาคม 2558
30
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนากลไกสภาผู้นำ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ผู้ใหญ่บ้าน นายสนิท มณีอ่อน ได้ชี้แจงกับผู้ที่ร่วมมาประชุมถึงที่มาของการได้มาของโครงการบ้านปากหานสร้างสุขด้วยสมุนไพร ของ สสส. และขอความร่วมมือจากคณะกรรมการและผู้ที่มาประชุม เพื่อให้โครงการบรรลุตามเป้าหมาย
  • นาย ประยูร ละออ ซึ่งเป็นผู้รู้เรื่องเกี่ยวกับสมุนไพร ออกมาพูดกับที่ประชุมว่าท่านยินดีที่ทางหมู่บ้านได้รับโครงการนี้มา ท่านยินดีที่จะสนับสนุนทั้งด้านความรู้ และสถานที่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้ที่มาประชุมให้ความสนใจที่จะร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านและอยากเห็นคนในชุมชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น
  • ผู้ที่มาประชุมคิดว่าการที่มีโครงการนี้ทำให้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับสมุนไพร่มีคนที่จะสืบสานต่อไปได้
  • ได้คณะกรรมการโครงการดังนี้
  1. นาย สนิท มณีอ่อน
  2. นาย สุวรรณรัตน์ จินา
  3. นาย จำลอง ละออ
  4. นาย วิรัช พรหมชีหมุน
  5. นาย นุกูล บุญรักษ์
  6. นาย สำราญ ศรีชชาย
  7. นาย อำนาจ ไชยสะอาด
  8. นาย ปรีชา เพชรสวัสดิ์
  9. นาย จำลอง ไกรสิทธิ์
  10. นาง ลำดวน นาคเทพ
  11. นาง ลัดดา บุญเนียม
  12. นาง ธัญญพิทร์ วิเชียร
  13. นาง ประภา ทองสุข
  14. นาย ปรีชา ทองสุข
  15. น.ส.นิตษา ไกรสิทธิ์
  16. นาย วินัย ชูไกรไทย
  17. นาย ไวเจริญ ชูไกรไทย
  18. นาย จำนงค์ ทิพย์สุวรรณ
  19. นาย ถาวร ธรฤทร์
  20. นาย จรุญ เผือกภูมิ
  21. นาย อุทัย บรรณาลังค์
  22. นาย ชาญชัย สุทร์ทอง
  23. นาย ศิรินทร ซังทอง
  24. นาย ประยูร ละออ
  25. นาย อานนท์ วรรณบุรี
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 25 คน จากที่ตั้งไว้ 25 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มแม่บ้าน
  • กลุ่มครัวเรื่อนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • อบต.คลองฉนวน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-

ปฐมนิเทศโครงการ (ติดตาม ครั้งที่ 1)3 ตุลาคม 2558
3
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นายสนิท มณีอ่อน
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันที่ 3 ตุลาคม 2558

  • 12.30 – 13.00 น. โครงการชุมชนน่าอยู่ลงทะเบียน
  • 13.00 – 13.45 น. กระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง) และผู้รับผิดชอบโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 13.45 - 14.15 น.การสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ โดย คุณถนอม ขุนเพ็ชร์
  • 14.15 – 14.30 รับประทานอาหารว่าง
  • 14.30 - 16.30 น. การเข้าใช้งานระบบเวบไซต์คนใต้สร้าง www.happynetwork.org โดย คุณภานุมาศ นนทพันธ์ และคุณสุทธิพงษ์ อุสาหพงษ์สิน
  • 16.30 - 18.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการลงในเว็บไซต์ รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ) แผนภาพเชิงระบบโครงการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี รายงานผู้รับผิดชอบ 18.00 - 19.00 น. รับประทานอาหารเย็น 19.00 – 20.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ ลงในเว็บไซต์ รายละเอียดโครงการ (วัตถุประสงค์ ตัวชี้วัด กิจกรรม และงบประมาณ) แผนภาพเชิงระบบโครงการ กำหนดปฏิทินการดำเนินงานใน 1 ปี รายงานผู้รับผิดชอบ

วันที่ 4 ตุลาคม 2558

  • 08.30 – 10.00 น. การบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) โดย อ.กำไล สมรักษ์ และนางสุดา ไพศาล
  • 10.00 – 12.00 น. ผู้รับผิดชอบโครงการกรอกข้อมูลรายละเอียดโครงการ ลงในเว็บไซต์ (ต่อ) รายงานผู้รับผิดชอบ ทำรายงานบันทึกกิจกรรมประชุมปฐมนิเทศโครงการ
  • 12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
  • 13.00 – 14.00 น. สรุปกิจกรรมและแผนการทำงานร่วมกับ สจรส.ม.อ. และทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง)
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ชี้แจงกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ การทำงานร่วมกันระหว่าง สจรส.ม.อ. ทีมสนับสนุนวิชาการ (พี่เลี้ยง) และผู้รับผิดชอบโครงการ มีสาระสำคัญ คือ ภาระกิจของ สสส คือ ชุมชนมีสุขภาพดี มี การเก็บภาษี จากเหล้าและบุหรี่ 100 ละ 2 เปอร์เซ็น มาเป็นกองทุนเพื่อนำมาพัฒนาชุมชน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของชุมชน ทำให้ชุมชนเข้มแข็ง จัดการตนเองได้และพัฒนาสุขภาวะของชุมชน ทำให้ชุมชนน่าอยู่
  • อ.กำไล สมรักษ์ และนางสุดา ไพศาล สอนการบริหารจัดการโครงการ การรายงานผลผ่านเว็บไซต์ การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน (การเก็บหลักฐาน และเอกสารการเงิน) มีสาระสำคัญ คือการอธิบายการส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์ การเข้าสู่ระบบ ของ สสส ขั้นตอนการบันทึกข้อมูลลงเว็บไวต์ ต่างๆ การปรับตัวชี้วัดให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การบริหารจัดการโครงการให้ประสมความสำเร็จ รายงานการเงิน การจัดทำเอกสารประกอบการเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายในกรณีต่างๆ การเก็บเอกสารใบเสร็จการเงินต่างๆ
  • คุณถนอม ขุนเพ็ชร์ แนะนำการสังเคราะห์ผลของโครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ภาคใต้ มีเนื้อหาสำคัญ คือการบริหารจัดการโครงการสู่ความสำเร็จ

    • ก่อนทำกิจกรรม
    • การเตรียมทีมงาน
    • เตรียมกิจกรรมที่จะทำ
    • การเตรียมภาพถ่ายประกอบ ทุกครั้ง
  • คณะทำงานเข้าใจแนยวทางการดำเนินงานโครงการ

  • คณะทำงานสามารถจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการทางเว็บไซด์ได้
  • สามารถจัดทำเอกสารการเงินได้อย่างถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 3 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  1. นาย สนิท มณีอ่อน ผู้รับผิดชอบโครงการ
  2. นาย ไวเจริญ ชูไกรไทย
  3. นาย อุทัย วิเชียร
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

-

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวกัญนภัส จันทร์ทอง
circle
ข้อเสนอแนะต่อ

-

circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-