แบบบันทึกการติดตามสนับสนุนโครงการ ครั้งที่ 1

รหัสโครงการ 58-03969
สัญญาเลขที่ 58-00-2181

ชื่อโครงการ หมู่ที่ 7 บ้านบูเกตยามูชีวิตดี วิถีพอเพียง
รหัสโครงการ 58-03969 สัญญาเลขที่ 58-00-2181
ระยะเวลาตามสัญญา 15 กันยายน 2558 - 15 ตุลาคม 2559

ส่วนที่ 1 : ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม

1.1 ข้อมูลเบื้องต้นการติดตาม
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 1 นางธิดา เหมือนพะวงศ์
ชื่อสกุลผู้ติดตาม 2 -
วันที่ลงพื้นที่ติดตาม 7 กุมภาพันธ์ 2559
วันที่ส่งรายงานถึง สสส. 12 กุมภาพันธ์ 2559
1.2 ผู้ให้ข้อมูล
ลำดับชื่อ-สกุลผู้ให้ข้อมูลที่อยู่หมายเลขโทรศัพท์
1 นายอาหมาดสอและหมันเล๊ะ 144 ม 7 0848578671
2 นายนทีหลังเกต 43ม 7 0810981056
3 นางสาวฝาตีม๊ะ ปะดุกา 3 ม 7 0831940671
4 นางสาวเจนวลีปะดุกา 63ม 7 0935751415
5 นายอานันต์ดาหมาด 141 ม 7 0817386189
6 นางคอเดียะ อะสมาน 138 ม 7 0897377986

ส่วนที่ 2 : ข้อมูลโครงการและความก้าวหน้าการดำเนินงาน

2.1 วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จโครงการ
ลำดับวัตถุประสงค์ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.

เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการ ใช้ชีวิตตามแนวทางแบบพอเพียง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พึ่งพาตนเองได้

  1. ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน
  2. มีทีมวิทยากรชุมชน "เยาวชนนักคิด นักพัฒนาเพื่อชุมชน"จำนวน 1 ชุด
  3. ร้อยละ 80 ประชาชนในชุมชน มีความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน
  4. ร้อยละ 80 ครัวเรือนสามารถลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้จากการเข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือน

2.

เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถบริหารจัดการสู่หมู่บ้านต้นแบบ ตามแนวทาง วิถีพอเพียง

มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน บูเกตยามู โมเดล

3.

ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนสู่วิสาหกิจชุมชน

  1. ครัวเรือนต้นแบบแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 50 ครัวเรือน
  2. มีวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 วิสาหกิจ

4.

  เพื่อมีสภาผู้นำเข้มแข็ง 

  1. สภาผู้นำชุมชนมีการประชุมทุกเดือน
  2. การประชุมมีผู้เข้าร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
  3. การประชุมทุกครั้งมีการหารือปรึกษาโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน

5.

เพื่อให้คนชุมชนลดปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ตามแนวทางวิถีพอเพียง

  1. มีการกำหนดโรดแมพเส้นทางสุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชนจำนวน 1 แผน
  2. ร้อยละ 10 ของครัวเรือนเข้าร่วมโครงการ มีหนี้สินลดลง

6.

เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

  1. มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด
  2. มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม
  3. มีการถ่ายภาพการดำเนินงานทุกกิจกรรม
  4. มีการจัดทำรายงานส่ง สสส. ตามระยะเวลาที่กำหนด
2.2 ความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมายงบประมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงปริมาณผลการจัดกิจกรรมเชิงคุณภาพ/สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ
ที่ตั้งไว้(บาท)เกิดขึ้นจริง(บาท)จำนวนที่ตั้งไว้(คน)จำนวนเกิดขึ้นจริง(คน)

กิจกรรมหลัก : สร้างทีมงานสภาชุมชนi

9,800.00 30 ผลผลิต

1 .มีสภาผู้นำชุมชน1 ชุด 2.การประชุมมีผู้เข้าร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90

3.การประชุมทุกครั้งมีการหารือปรึกษาโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ทีมคณะกรรมการหมู่บ้านและคัดเลือกแบบไม่เป็นทางการที่มีความหลากหลายของกลุ่ม มีทีมโครงการ กลุ่มเยาวชนอสม. และผู้มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน จำนวน 30 คนและมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 5 ครั้ง

นางธิดา  เหมือนพะวงศ์

0.00 0.00 1 1 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ดังนี้ -ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม o บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม o กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง) o กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง o ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม o ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน o ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน 2. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้ 3. รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์ - ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org 1. สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ 2. การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ - การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

ประธานโครงการ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกอบต. บัณฑิตอาสา กลุ่มเยาวชน ที่ปรึกษาโครงการ

9,800.00 9,800.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมคณะกรรมการหมู่บ้านและคัดเลือกแบบไม่เป็นทางการที่มีความหลากหลายของกลุ่ม มีทีมโครงการ กลุ่มเยาวชนอสม. และผู้มีจิตอาสาทำงานเพื่อชุมชน จำนวน 30 คน และประสานตัวบุคคลด้วยวาจา เข้าร่วมเป็นทีมก่อนเบื้องต้น และทำคำสั่งแต่งตั้งโดยท่านผู้ใหญ่บ้านและการมอบหมายความรับผิดชอบอย่างชัดเจน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 วัน เรื่องการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสภาผู้นำชุมชน หลักการเศรษฐกิจพอเพียงกำหนดบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนและความรับผิดชอบในแต่ละด้านเพื่อการขับเคลื่อนงานในชุมชนพร้อมทั้งทบทวนทรัพยากรเพื่อการระดมทุนและการเชือมโยงการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย ร่วมศึกษาดูงาน พื้นที่ภายในอำเภอ คือ หมู่ที่ 4บ้านกลาง ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน เพื่อเสริมพลัง ไอเดีย และเรียนรู้รูปแบบการทำงาน

ผู้รับผิดชอบโครงการ  เลขานุการทีมคณะกรรมการและผู้ร่วมดำเนินงาน

0.00 0.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการติดตามการดำเนินงานใน ระยะที่ 1 ขอชื่นชมทีมงานที่มีความตั้งใจและมีความรับผิดชอบสูงในการทำงานและความมุ่งมั่นให้มีผลสัมฤทธิ์ของงานเกิดประโยชน์ต่อชุมชน โดยวัตถุประสงค์ เพื่อ1. เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการ ใช้ชีวิตตามแนวทางแบบพอเพียง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พึ่งพาตนเองได้ 2. เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถบริหารจัดการสู่หมู่บ้านต้นแบบ ตามแนวทาง วิถีพอเพียง 3. ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนสู่วิสาหกิจชุมชน 4.เพื่อมีสภาผู้นำเข้มแข็ง5. เพื่อให้คนชุมชนลดปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ตามแนวทางวิถีพอเพียง6. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

โดยในระยะที่ 1มีกลวิธี การสำคัญ:กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับคน กลุ่มคน1. พัฒนา ฟื้นฟู การเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง 2. ส่งเสริมการเรียนรู้ การใช้ชีวิตแบบวิถีพอเพียง กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการปรับสภาพแวดล้อม-กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและปรับปรุงกลไก1.. เปิดเวทีสาธารณะ ในการประชาสัมพันธ์2. พัฒนาศักยภาพทีมสภาชุมชนในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินกืจกรรม ในระยะเวลา วันที่ 15 กันยายน2558 - 15 กุมภาพันธ์ 2559

ดังนี้
1. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ 2. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สสส. 3. สร้างทีมงานสภาชุมชน 4. เปิดตัวโครงการและประชาสัมพันธ์สสส. 5. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ออกแบบเครื่องมือ ุ6. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล 7. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ 8. จัดทำเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 9. จัดทำแผนในการแก้ไขปัญหา

โดยจากการดำเนินงาน เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ ดังนี้ 1. มีสภาผู้นำผู้นำชุมชนจำนวน1 ชุดและมีการกำหนดบทบาทหน้าทีในการดำเนินงาน การประชุมมีผู้เข้าร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และมีการหารือปรึกษาโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
2. มีการจัดเปิดตัวโครงการ จำนวน 1 ครั้งมีข้อเสนอแนะโครงการจากการจัดกิจกรรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจ ร้อยละ 80 3. เกิดการจัดการข้อมูลชุมชน ฐานข้อมูลรายรับ รายจ่าย หนี้สินของชุมชน เกิดแผนที่คุณค่าทรัพยากรและได้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลชุมชน ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชนจำนวน1 ชุด

ผลกระทบดังนี้เกิดการเปลี่ยนของคนและกลุ่มคนในชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพในชุมชนเพิ่มมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อชุมชนน่าอยู่มีการเปลี่ยนแปลงของกลไกในชุมชนมีคณะทำงานและกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ

นวัตกรรม :อยู่ในระหว่างการประเมินและวิเคราะห์นวัตกรรม

การลงรายงาน ง 1 ส1 ถูกต้อง

ผู้รับผิดชอบโครงการเลขานุการทีมคณะกรรมการและผู้ร่วมดำเนินงาน

0.00 0.00 20 28 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการติดตามการดำเนินงานในขอชื่นชมทีมงานที่มีความตั้งใจและมีความรับผิดชอบสูงในการทำงานและความมุ่งมั่นให้มีผลสัมฤทธิ์ของงานเกิดประโยชน์ต่อชุมชนและมีการให้ความสำคัญของผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งการดำเนินกิจกรรมในโครงการ จะเป็นวาระการประชุมของหมู่บ้านร่วมด้วย เพื่อร่วมปรึกษาหารือและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ และการทำกิจกรรมทีมงานจะมีความพร้อมเข้าร่วมและช่วยเหลือกันเป็นอย่างดีซึ่งการดำเนินงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อ1. เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการ ใช้ชีวิตตามแนวทางแบบพอเพียง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พึ่งพาตนเองได้ 2. เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถบริหารจัดการสู่หมู่บ้านต้นแบบ ตามแนวทาง วิถีพอเพียง 3. ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนสู่วิสาหกิจชุมชน 4.เพื่อมีสภาผู้นำเข้มแข็ง5. เพื่อให้คนชุมชนลดปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ตามแนวทางวิถีพอเพียง6. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ โดยในระยะที่ 1มีกลวิธี การสำคัญ:กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับคน กลุ่มคน1. พัฒนา ฟื้นฟู การเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง 2. ส่งเสริมการเรียนรู้ การใช้ชีวิตแบบวิถีพอเพียง กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการปรับสภาพแวดล้อม-กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและปรับปรุงกลไก1.. เปิดเวทีสาธารณะ ในการประชาสัมพันธ์2. พัฒนาศักยภาพทีมสภาชุมชนในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ 3.พัฒนาศูนย์เรียนรู้ชุมชนโดยมีการดำเนินกิจกอรรม ต่อจากงวด ที่ 1 ดังนี้ 1. ประชุมเพื่อคลี่ผลลัพธ์โครงการ2. สร้างวิทยากรชุมชน 3. จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชนารทำบัญชีครัวเรือน4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชนแนวทางพอเพียง. 5. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้บูเกตยามูโมเดล ุ6. กิจกรรมถอดบทเรียน โดยจากการดำเนินงาน เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ ดังนี้ 1.ชมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน 2.มีทีมวิทยากรชุมชน "เยาวชนนักคิด นักพัฒนาเพื่อชุมชน"จำนวน 1 ชุด 3.ร้อยละ 80 ประชาชนในชุมชน มีความรู้ในการจัดทำบัญชีครัวเรือน 4.ร้อยละ 80 ครัวเรือนสามารถลดรายจ่าย และเพิ่มรายได้จากการเข้าร่วมทำบัญชีครัวเรือน 5.ครัวเรือนต้นแบบแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 50 ครัวเรือน 6. มีวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 วิสาหกิจ และ 7.มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน บูเกตยามู โมเดล

ผลกระทบ ดังนี้เกิดการเปลี่ยนของคนและกลุ่มคนในชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพในชุมชนเพิ่มมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อชุมชนน่าอยู่จากพื้นทีว่างเปล่ามีการจัดทำให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของชุมชนโดยเป็นศูนย์เรียนเศรษฐกิจพอเพียง ที่มีการนำพืชผัก ผลไม้ ของชุมชน มารวมกัน แลกเปลี่ยนกัน และการต่อยอด ขยายพันธ์ ต้นกล้าสุขภาพ เพื่อแบ่งปันเกิดการปลูกผักเพิ่มขึ้นในระดับครัวเรือนละมีการเปลี่ยนแปลงของกลไกในชุมชนมีคณะทำงานและกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ
นวัตกรรม :Bilk for diet เกิดการรวมกลุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง ที่จากเดิม ขาดการออกกำลังกาย ลุกขึ้นมาในการดูแลตนเองและชวนกันมา ทำประโยชน์โดยกลุ่มนี้ จะนัดกันช่วงห้าโมงเย็น ของวัน อังคาร พุธ ศูกร์ เสาร์ มาปั่นจักรยานรอบเส้นทางในหมู่บ้าน และในสนามโรงเรียน หลังจากเสร็จ ก็จะมารดน้ำต้นไม้ ปลูกผักเพิ่ม และการเก็บผักเพื่อการบริโภค จนถึงเวลา หกโมงครึ่งและศูนย์เรียนรู้บูเกตยามูโมเดล

จากความตั้งใจของคณะทำงานและงานที่ออกมามีคุณภาพและประสิทธิภาพ เป็นไปตามแผนจึงดำเนินการต่อให้เสร็จสิ้นโครงการและให้ติดตามต่อเนื่องเพื่อการขยาผลต่อไป

ผู้รับผิดชอบ คณะทำงานและประชาชนทั่วไป

0.00 0.00 20 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กิจกรรมการดำเนินงาน :มีการจัดกิจกรรมและการใช้จ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ในโครงการ ตั้งแต่ระยะที่ 1 2 และ 3 โดยในแต่ละระยะมีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีทีมงานที่มีกลุ่มหลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนที่ให้ความสนในในการเข้าร่วมกิ จกรรม เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมและเครือข่ายและมีนวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ ที่วางไว้ และตัวชี้วัดที่กำหนดทางทีมงานมีความเข้มแข็ง และจากการพูดคุย มีความต้องการ การดำเนินงานต่อ เพื่อเสริมสร้างสุขภาวะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน โดยนำทุนทางสังคมของชุมชนที่เกิดจากผลผลิตของโครงการมาต่อยอด โดยเฉพาะศูนย์เรียนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงสู่ความมั่นคงทางด้านอาหาร เพื่อเพิ่มรายได้ และสร้างความมั่นคงด้านวิสาหกิจชุมชนให้เกิดโรงเรียนชีวิต ด้านการบริหารจัดการตรวจสอบเอกสารรายงานการเงิน มีความเรียบร้อยและเบิกจ่ายตามกิจกรรมในแผน มีงบประมาณคงเหลือส่งคืน สสส.ในหมวดเงินค่าเดินทางและค่าที่พัก กรณีเข้าร่วมประชุมกับ สสส . มีการจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และปิดโครงการ

กิจกรรมหลัก : เปิดตัวโครงการและประชาสัมพันธ์สสส.i

17,025.00 141 ผลผลิต

มีการเปิดตัวโครงการจำนวน1ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจโครงการมีเครือข่ายสุขภาพร่วมด้วยหลากหลาย อสม. ตัวแทนครัวเรือน ภาคีที่เกี่ยวข้อง อาทิ อบต.ควนโดน รพ.สต.ควนโดน กศน. พัฒนาชุมชน เกษตรตำบล และบัณฑิตอาสา

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

ทีมประสานงานอสม. ตัวแทนครัวเรือน 141 ครัวเรือน รพ.สต.ควนโดน อบต. กศน. พัฒนาชุมชน 

13,500.00 13,500.00 141 141 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ชุมชนเกิดความรู้ความเข้าใจโครงการและซักถามที่มาของโครงการจากพี่เลี้ยง แสดงให้เห็นถึงความสนใจและเห็นความสำคัญของโครงการนี้ได้เป็นอย่างดีและเห็นความสำคัญของการรักษาสุขภาพตัวเองพร้อมทั้งเรียนรู้หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเพื่อนำมาปรับใช้กับชุมชนต่อไป พร้อมกันนั้นยังช่วยให้มีพื้นที่ปลอดบุหรี่เพิ่มขึ้น เพื่อลดปัญหาการสูบบุหรี่ในชุมชน

อสม. ตัวแทนครัวเรือน ภาคีที่เกี่ยวข้อง อาทิ อบต.ควนโดน รพ.สต.ควนโดน กศน. พัฒนาชุมชน เกษตรตำบล บัณฑิตอาสา

0.00 0.00 141 141 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การเตรียมการ: มีการประชุมทีมคณะกรรมการก่อนเพื่อมอบหมายการดำเนินงาน และมีการจัดทำหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีประชาคมเพื่อเปิดตัวโครงการ (โดยมีเลขานุการโครงการผู้จัดทำหนังสือและลงนามโดยผู้รับผิดดชอบโครงการ) ทีมงานมีการส่งหนังสือถึงครัวเรือนและมอบหมายการชี้แจง ดังนี้โดยเปิดเวที และพูดคุยโครงการ การจัดสรรงบประมาณโดยภาพรวม (หัวหน้าโครงการ)ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม งบประมาณในแต่ละกิจกรรม (หัวหน้าโครงการและเลขา) และสรุปผล แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ การอุดหนุนจาก สสส การติดตามและประเมินผล (พี่เลี่ยง)
  2. การดำเนินการ : จัดเวทีประชาคม ณ อาคารเอนกประสงค์.ลงทะเบียน โดย คณะกรรมการสภาชุมชน(กลุ่มเป้ามายในชุมชนเริ่มทยอยเข้าร่วมเวทีประชาคม) มีความหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กเยาวชน ผู้นำ แกนนำ ประชาชน และผู้สูงอายุพิธีกร/ผู้ดำเนินรายการเริ่มเวทีประชาคม โดยหัวหน้าโครงการ พูดกล่าวทักทาย และเปิดตัวโครงการ วัตถุประสงค์ การได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สสสโดยภาพรวม บรรยากาศ สมาชิกชุมชนมีความตั้งใจฟัง เงียบ ยังมีคนเข้ามาร่วมเพิ่มขึ้นทางผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดต่อ ในรายละเอียด แนะนำคณะกรรมการทีมทำงานแนะนำพี่เลี่ยง ในพื้นที่ เลขานุการ มีการชี้แจงรายละเอียด ปฏิทินการดำเนินงานต่อ ใน กิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อย รวมถึงชี้แจงงบประมาณ ที่ได้รับการจัดสรรให้ชุมชนได้รับทราบในแต่ละงวดและ พี่เลี้ยง ก็ สรุป พูด ถึง นโยบาย แนวทางการดำเนินงานของ สสส และประชาสัมพันธ์ การดำเนินงาน วัตถุประสงค์ การสนับสนุนในโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ฯ เพื่อให้ ชุมชนได้ทราบขั้นตอน การขอรับการสนับสนุน และสรุปกิจกรรมโดยภาพรวมของโครงการ ขอความร่วมมือชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ทางทีมทำงานโครงการจะได้ดำเนินการนับจากนี้ต่อไปพร้อมทั้งเสริมสร้างกำลังใจให้กับทีมงาน ที่มีจิตอาสาในการทำงานพัฒนาชุมชนและทางผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าโครงการ ได้เปิดโอกาส ข้อซักถาม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากชุมชน และพูดคุย เรื่องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรับทราบและสร้างการรียนรู้ร่วมกัน
  3. การประเมินผล: ด้านสถานที่สะอาด ปลอดภัย ศูนย์รวมชุมชน มีการติดป้ายชื่อโครงการและป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ด้านคนมีครบองค์ประกอบที่วางไว้มีการเสนอ ซักถาม ประเด็นข้อสงสัยและมีภาคีเครือข่ายร่วมด้านการบริหารจัดการ : ตามวัน เวลา ที่กำหนดมีการชี้แจงแผนกิจกรรมและงบประมาณชัดเจน ทีมงานสภาชุมชนครบและใส่เสื้อทีมเชิงสัญลักษณ์เพื่อการประชาสัมพันธ์สสส.

อสม. ตัวแทนครัวเรือน ภาคีที่เกี่ยวข้อง อาทิ อบต.ควนโดน รพ.สต.ควนโดน กศน. พัฒนาชุมชน เกษตรตำบล บัณฑิตอาสา

3,525.00 3,525.00 141 141 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. การเตรียมการ: มีการประชุมทีมคณะกรรมการก่อนเพื่อมอบหมายการดำเนินงาน และมีการจัดทำหนังสือเชิญเข้าร่วมเวทีประชาคมเพื่อเปิดตัวโครงการ (โดยมีเลขานุการโครงการผู้จัดทำหนังสือและลงนามโดยผู้รับผิดดชอบโครงการ) ทีมงานมีการส่งหนังสือถึงครัวเรือนและมอบหมายการชี้แจง ดังนี้โดยเปิดเวที และพูดคุยโครงการ การจัดสรรงบประมาณโดยภาพรวม (หัวหน้าโครงการ)ชี้แจงรายละเอียดกิจกรรม งบประมาณในแต่ละกิจกรรม (หัวหน้าโครงการและเลขา) และสรุปผล แนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณ การอุดหนุนจาก สสส การติดตามและประเมินผล (พี่เลี่ยง)
  2. การดำเนินการ : จัดเวทีประชาคม ณ อาคารเนกประสงค์เริ่มเวลา 13.00 น.ลงทะเบียน โดย คณะกรรมการสภาชุมชน(กลุ่มเป้ามายในชุมชนเริ่มทยอยเข้าร่วมเวทีประชาคม) มีความหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย ทั้งเด็กเยาวชน ผู้นำ แกนนำ ประชาชน และผู้สูงอายุพิธีกร/ผู้ดำเนินรายการ เริ่มพูดคุย เวลา 14.00 น. เริ่มเวทีประชาคม โดยหัวหน้าโครงการ พูดกล่าวทักทาย และเปิดตัวโครงการ วัตถุประสงค์ การได้รับการจัดสรรงบประมาณจาก สสสโดยภาพรวม บรรยากาศ สมาชิกชุมชนมีความตั้งใจฟัง เงียบ ยังมีคนเข้ามาร่วมเพิ่มขึ้นทางผู้รับผิดชอบโครงการได้พูดต่อ ในรายละเอียด แนะนำคณะกรรมการทีมทำงานแนะนำพี่เลี่ยง ในพื้นที่เลขานุการ มีการชี้แจงรายละเอียด ปฏิทินการดำเนินงานต่อ ใน กิจกรรมหลัก และกิจกรรมย่อย รวมถึงชี้แจงงบประมาณ ที่ได้รับการจัดสรรให้ชุมชนได้รับทราบในแต่ละงวดและ พี่เลี้ยง ก็ สรุป พูด ถึง นโยบาย แนวทางการดำเนินงานของ สสส และประชาสัมพันธ์ การดำเนินงาน วัตถุประสงค์ การสนับสนุนในโครงการร่วมสร้างชุมชนน่าอยู่ฯ เพื่อให้ ชุมชนได้ทราบขั้นตอน การขอรับการสนับสนุน และสรุปกิจกรรมโดยภาพรวมของโครงการ ขอความร่วมมือชุมชนในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ทางทีมทำงานโครงการจะได้ดำเนินการนับจากนี้ต่อไปพร้อมทั้งเสริมสร้างกำลังใจให้กับทีมงาน ที่มีจิตอาสาในการทำงานพัฒนาชุมชนและทางผู้ใหญ่บ้าน และหัวหน้าโครงการ ได้เปิดโอกาส ข้อซักถาม ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากชุมชน และ พูดคุย เรื่องแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อรับทราบและสร้างการรียนรู้ร่วมกัน
  3. การประเมินผล: ด้านสถานที่สะอาด ปลอดภัย ศูนย์รวมชุมชน มีการติดป้ายชื่อโครงการและป้ายสถานที่ปลอดบุหรี่ด้านคนมีครบองค์ประกอบที่วางไว้มีการเสนอ ซักถาม ประเด็นข้อสงสัยและมีภาคีเครือข่ายร่วมด้านการบริหารจัดการ : ตามวัน เวลา ที่กำหนดมีการชี้แจงแผนกิจกรรมและงบประมาณชัดเจน ทีมงานสภาชุมชนครบและใส่เสื้อทีมเชิงสัญลักษณ์เพื่อการประชาสัมพันธ์สสส.

กิจกรรมหลัก : ศึกษาข้อมูลพื้นฐานหมู่บ้าน ออกแบบเครื่องมือi

20,150.00 15 ผลผลิต

ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน จำนวน1 ชุด


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากร .เกิดอาสาสมัครที่เป็นเยา่วชนในหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและจัดเก็บข้อมูล จำนวน 15 คน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เยาวชน 15คน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (สอบต.) ตัวแทนทำกิจกรรมเศรษกิจพอเพียง อสม. บัณฑิตอาสา

20,150.00 20,150.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากร
  2. เกิดอาสาสมัครที่เป็นเยา่วชนในหมู่บ้าน เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาและจัดเก็บข้อมูล จำนวน 15 คน
  3. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจโครงการสสส.และกระบวนการทำงานในรูปแบบเดียวกัน

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมจัดเก็บข้อมูลในชุมชนi

13,500.00 15 ผลผลิต

ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน จำนวน1 ชุด


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนมีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือน การออม หนี้สินครัวเรือน หนี้สินชุมชน เกิดแผนที่ทำมือด้วยตนเองของกลุ่มเยาวชนเพื่อบ่งชี้ถึงสถานที่สำคัญ ทรัพยากรในหมู่บ้านและวิเคราะห์โอกาสพัฒนาด้านต่างๆต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เยาวชนที่สนใจและอสม. บัณฑิตอาสาและประธานโครงการมาติดตามงาน

13,500.00 13,500.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ข้อมูลจากการทำแบบสอบถาม ทำให้ชุมชนมีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือน การออม หนี้สินครัวเรือน หนี้สินชุมชน
  2. เกิดแผนที่ทำมือด้วยตนเองของกลุ่มเยาวชนเพื่อบ่งชี้ถึงสถานที่สำคัญ ทรัพยากรในหมู่บ้านและวิเคราะห์โอกาสพัฒนาด้านต่างๆในอนาคตได้
  3. ได้รับข้อมูลด้านสุขภาพจากการบริโภคในแต่ละมื้อ แต่ละวัน พร้อมนำข้อมูลมาวิเคราะห์ความเสี่ยงด้านสุขภาพต่อไป

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลi

8,500.00 45 ผลผลิต

ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน จำนวน1 ชุด


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนมีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือน การออม หนี้สินครัวเรือน หนี้สินชุมชน เกิดแผนที่ทำมือด้วยตนเองของกลุ่มเยาวชนเพื่อบ่งชี้ถึงสถานที่สำคัญ ทรัพยากรในหมู่บ้านและวิเคราะห์โอกาสพัฒนาด้านต่างๆต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สภาผู้นำ ทีมเยาวชน อสม. บัณฑิตอาสา

8,500.00 8,500.00 45 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป

1.1 ของครัวเรือนที่ทำแบบสอบถาม 141 ครัวเรือน

1.2 สมาชิกในครัวเรือน 635 คน ชาย 343 หญิง 292 คน

1.3 อาชีพหลักของครัวเรือน -รับจ้าง 36 ครัวเรือน
-ค้าขาย 11 ครัวเรือน
-ข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ 6 ครัวเรือน
-เกษตรกร 77 ครัวเรือน
-พนักงงาน/ลูกจ้าง 11 ครัวเรือน

1.4อาชีพรองของครัวเรือน -ค้าขาย 20 ครัวเรือน
-ค้าขาย 11 ครัวเรือน
-ข้าราชการ 2 ครัวเรือน
-เกษตรกร 95 ครัวเรือน
-พนักงาน/ลูกจ้าง 3 ครัวเรือน
-อื่นๆ 3 ครัวเรือน

1.5 ลักษณะบ้าน -ที่อยู่อาศัย 137 ครัวเรือน
-ร้านค้าเชิงพาณิชย์ 4 ครัวเรือน

1.6 รายได้ของครอบครัวต่อเดือน
- ต่ำกว่า 5000ไม่มี -5001-10,000 = 66 ครัวเรือน
-10,001-15,000 = 29 ครัวเรือน
-15,001-20,000 = 3 ครัวเรือน
-20,000 บาทขึ้นไป = 10 ครัวเรือน


ตอนที่ 2ข้อมูลพื้นฐานด้านเศรษฐกิจพอเพียง

2.1 หลักการใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง -ใช้จ่ายเฉพาะสิ่งที่จำเป็น -อยู่อย่างพอประมาณ -พึ่งพาตนเอง -ปลูกผักกินเอง -เก็บเงินใช้ยามจำเป็น

2.2 การปลูกผักปลอกสารพิษ ปลูก 118 ครัวเรือนไม่ปลูก 23 ครัวเรือน

2.3 การปลูกสมุนไพร ปลูก 128 ครัวเรือนไม่ปลูก 13 ครัวเรือน

2.4 การกำจัดศัตรูพืช -น้ำหมักสมุนไพร 52 ครัวเรือน
-ฉีดพ่นสารเคมี 45 ครัวเรือน
-อื่นๆ 32 ครัวเรือน

2.5 วิธีการกำจัดวัชพืช -ตัด/ถาง 118 ครัวเรือน
-ยาฆ่าหญ้า 19 ครัวเรือน
-ไถ-กลบ 3 ครัวเรือน

2.6 ผลิตของใช้ที่จำเป็น -ทำเอง 25 ครัวเรือน
-ไม่ได้ทำ 116 ครัวเรือน

2.7 การจัดทำบัญชีครัวเรือน
-ทำ 17 ครัวเรือน
-ทำแต่ไม่ต่อเนื่อง 23 ครัวเรือน
ไม่ทำ 101 ครัวเรือน

2.8 รายรับรายจ่ายมีความสมดุลหรือเพียงพอหรือไม่ -เพียงพอไม่มีหนี้สิน 67 ครัวเรือน
-ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน 74 ครัวเรือน
-ในระบบ54 ครัวเรือน
-นอกระบบ 17 ครัวเรือน

2.9หนี้สินในระบบ
-ธกส. 16 ครัวเรือน
-ธนาคารพาณิชย์/ธนาคารออมสิน 4 ครัวเรือน
-สหกรณ์ 7 ครัวเรือน
-กองทุนในหมู่บ้าน 23 ครัวเรือน
-อื่นๆ 7 ครัวเรือน

2.10 หนี้สินนอกระบบ
-นายทุนเงินกู้ 1 ครัวเรือน
-ญาติ เพื่อนบ้าน 16 ครัวเรือน

2.11 สาเหตุการมีภาระหนี้สิน -ค่าเล่าเรียนบุตร 30 ครัวเรือน
-ค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน 20 ครัวเรือน
-ผลผลิตได้รับความเสียหาย 4 ครัวเรือน
-ขายผลผลิตไม่ได้ /ได้น้อน/ราคาต่ำ 16 ครัวเรือน
-มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มึ้นและรายได้ไม่เพียงพอ 19 ครัวเรือน
-ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าอาหาร ค่าโทรศัพท์ 7 ครัวเรือน
-ค่าปุ๋ยและวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร 18 ครัวเรือน
-ไม่ได้ใช้เงินกู้ตามวัตถุประสงค์ 2 ครัวเรือน
-อื่นๆ 8 ครัวเรือน

2.12 ลักษณะของการเปลี่ยนแปลงของภาระหนี้สิน -ลดลงเรื่อยๆ 35 ครัวเรือน
-ไม่เปลี่ยนแปลง 14 ครัวเรือน
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 50ครัวเรือน

2.13 เริ่มลดค่าใช้จ่ายประเภทใดเป็นอันดับแรก -อาหารจุกจิก -เครื่องใช้ที่ไม่จำเป็น

2.14 วิธีการแก้ไขปัญหารายได้ไม่เพียงพอ -หารายได้เสริม -ปลูกผักสวนครัว -กินใช้อย่างประหยัด -ต้องขยัน

2.15 กรณีที่ไม่มีหนี้ -รู้จักออม -ใช้จ่ายอย่างเพียงพอ อยู่กินอย่างประหยัด


ตอนที่ 3 ข้อมูลด้านพฤติกรรมสุขภาพ

3.1กินอาหารบรรจุสำเร็จมี อย. -ทุกครั้ง 88ครัวเรือน
-บางคร้ง 53ครัวเรือน

3.2กินอาหารสุกๆ ดิบๆ
-ทุกครั้ง 4ครัวเรือน
-บางครั้ง 26 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 111 ครัวเรือน

3.3 ผักต้องเป็นผักปลอดสารพิษ
-ทุกครั้ง 102 ครัวเรือน
-บางครั้ง 36 ครัวเรือน

3.4 ล้างมือก่อนรับประทานอาหาร
-ทุกครั้ง 118 ครัวเรือน
-บางครั้ง 23 ครัวเรือน

3.5 ใช้ช้อนกลาง
-ทุกครั้ง 132 ครัวเรือน
-บางครั้ง 9ครัวเรือน

3.6 รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ใน 1 วัน -ทุกครั้ง 57ครัวเรือน
-บางครั้ง 84ครัวเรือน

3.7กินอาหารรสจัด -ทุกครั้ง 18 ครัวเรือน
-บางครั้ง 69 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 54 ครัวเรือน

3.8 รับประทานผัก ผลไม้ 1 จาน/วัน -ทุกครั้ง 69 ครัวเรือน
-บางครั้ง 7 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 2 ครัวเรือน

3.9 ใช้สารปรุงแต่งอาหาร
-ทุกครั้ง 34 ครัวเรือน
-บางครั้ง 78 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 29 ครัวเรือน

3.10 ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว -ทุกครั้ง 98 ครัวเรือน
-บางครั้ง 36 ครัวเรือน . -ไม่เคยปฏิบัติ 7 ครัวเรือน

3.11 ดื่มน้ำอัดลม/น้ำหวานเป็นประจำ -ทุกครั้ง 20 ครัวเรือน
-บางครั้ง 75 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 46 ครัวเรือน

3.12 เมื่อมีอาการเจ็บป่วย ซื่อยาชุดมารับประทานเอง -ทุกครั้ง 20 ครัวเรือน
-บางครั้ง 48 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 73 ครัวเรือน

3.13 ใช้ยาสามัญ
-ทุกครั้ง 37 ครัวเรือน
บางครั้ง 102 ครัวเรือน
ไม่เคยปฏิบัติ 2 ครัวเรือน

3.14 ใช้สมุนไพร -ทุกครั้ง 56 ครัวเรือน
-บางครั้ง 66 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 19 ครัวเรือน

3.15ปล่อยให้หายเอง
-ทุกครั้ง 8ครัวเรือน
-บางครั้ง 43 ครัวเรือน
-ไม่เคยปฏิบัติ 90 ครัวเรือน

3.16 มีการออกกำลังกาย -ได้ออกกำลังกาย 138 ครัวเรือน
-ไม่ได้ออก 3 ครัวเรือน

3.17 ภาวะน้ำหนักเกิน -มี 50 ครัวเรือน
-ไม่มี 91 ครัวเรือน

3.18 ภาวะการณ์เจ็บป่วยด้วยโรคประจำตัว -มี 51 ครัวเรือน
-ไม่มี 90 ครัวเรือน

3.19 ตรวจสุขภาพประจำปี -มี 87 ครัวเรือน
-ไม่มี 54 ครัวเรือน

3.20 การสูบบุหรี่ -มี 70 ครัวเรือน
-ไม่มี 71 ครัวเรือน


ด้านที่ 4 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการจัดทำโครงการ

1.ความต้องการของคนในชุมชนในการแก้ปัญหา 1.1 ข้อเสนอแนะระดับครัวเรือน -ปรับปรุงความเป็นอยู่ -ปรึกษาการือกัน -ลดค่าใช้จ่าย -ทำบัญชีครัวเรือน -ส่งเสริมอาชีพ

1.2 ระดับครัวเรือน -อยากให้มีไฟฟ้าทางเข้าหมู่บ้าน -ทำถนนใหม่เพื่อการสัญจร -ลดช่องว่างระหว่างเด็กและผู้ใหญ่

2.ข้อเสนอแนะในการทำโครงการ -ทำต่อเนื่อง -ทำแล้วให้เกิดผล

3.หิอจกรรมครัวเรือนต้นแบบตามแนวเศรฐกิจพอเพียง -สนใจเข้าร่วมโครงการ 133ครัวเรือน
-ไม่สนใจเข้าร่วมโครงการ 8ครัวเรือน

กิจกรรมหลัก : จัดทำเวทีชุมชน/คืนข้อมูลi

18,025.00 141 ผลผลิต

จัดเวทีคืข้อมูลจำนวน 1ครั้ง


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

ชุมชนมีฐานข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย ในครัวเรือน การออม หนี้สินครัวเรือน หนี้สินชุมชน เกิดแผนที่ทำมือด้วยตนเองของกลุ่มเยาวชนเพื่อบ่งชี้ถึงสถานที่สำคัญ ทรัพยากรในหมู่บ้านและวิเคราะห์โอกาสพัฒนาด้านต่างๆต่อไป

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

สภาผู้นำ อสม. อบต.ประชาชนในหมู่บ้าน

4,025.00 4,025.00 141 141 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นายอาหมาดซอและ หมันเล๊ะ ผู้ใหญ่บ้านและตัวแทนอสม. ประกาศหลังละหมาดวันศุกร์ให้ทุกครัวเรือนเข้าร่วมเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน และให้ตัวแทนอสม.เดินบอกตามบ้านอีกครั้งก่อนวันทำเวทีคืนข้อมูลเพื่อป้องกันความผิดพลาดในการประสานงาน รวมทั้งบอกสำหรับครัวเรือนที่มีหญิงม่ายและคนชราด้วย พร้อมกันนั้นได้เชิญตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆเข้าร่วมรับฟังด้วย โดยประธานโครงการกล่าวต้อนรับและชี้แจงกิจกรรมวันนี้ และวัตถุประสงค์ หลังจากนั้น นางสาวเจนวลี ปะดุกา ผู้บันทึกข้อมูลและเลขาฯทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลที่ได้รับจากชุมชน ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้วนำเสนอเพื่อคืนข้อมูลสู่ชุมชน หลังจากนั้นพี่เลี้ยงโครงการ คุณธิดา เหมือนพะวงค์ ได้พบปะพูดคุยกับพี่น้อง และกิจกรรมรำไม้กระบองเพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการออกกำลังกายในชุมชนโดยสามารถทำได้ทุกเพศทุกวัยรวมถึงผู้สูงอายุที่สนใจด้วย ช่วยคลายกล้ามเนื้อได้เป็นอย่างดี และให้ทุกคนมีส่วนร่วมเสนอแนะและแจ้งข่าวสารอื่นๆต่อไป

ตัวแทนครัวเรือน ภาคีเครือข่าย นายกอบต.

  • ชื่อกิจกรรมเขียนผิด
14,000.00 14,000.00 141 141 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นำวีดีทัสน์และสื่อเพลงพื้นบ้านประกอบ เพื่อเป็นการสร้างความตระถหนักให้ชุมชน เกิดการเรียนรู้แลกเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่การวางแผนปฏิบัติงาน

ผลสรุปที่สำคัญ

  1. ชุมชนมีการรับรู้ข้อมูลชุมชน ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชน แผนที่ทรัพยากร
  2. มีสื่อเพลงพื้นบ้าน ที่เป็นของชุมชนเองจำนวน 1 ชุด
  3. มีมาตราการทางสังคมของชุมชน

กิจกรรมหลัก : จัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้าน โรดแมพเส้นทางสุขภาวะดี แนวทางวิถีพอเพียงi

22,700.00 45 ผลผลิต

มีการกำหนดโรดแมพเส้นทางสุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชนจำนวน 1 แผน


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีการกำหนดโรดแมพเส้นทางสุขภาวะดี วิสาหกิจชุมชนยั่งยืน ในการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยชุมชน

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สภาผู้นำชุมชน ภาคีเครือข่ายจากอบต.ควนโดน กองทุนสุขภาพตำบล กศน. พัฒนาชุมชนและประชาชนในหมู่บ้าน

22,700.00 22,700.00 45 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตัวแทนอสม.เดินประกาศให้ทีมสภาผู้นำเข้าร่วมจัดทำแผนหลังจากที่ได้ข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์และคืนข้อมูลมาแล้ว นำมาจัดทำแผนทีละข้อดังนี้

  1. ด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์

- โครงการปรับปรุงภูมิทัศน์ถนนทั้งสองข้างทาง - โครงการตลาดน้ำคลองดุสน


2. ด้านการเกษตร - โครงการช่วยเหลือเกษตรกรช่วงฤดูแล้ง - โครงการทัศนศึกษาด้านอาชีพให้แก่กลุ่มเกษตรกรในหมู่บ้าน - โครงการกองทุนสวัสดิการชุมชนประจำหมู่บ้าน (กองทุนสัจจะ)


3. ด้านเศรษฐกิจ การลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ - โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับกลุ่มสตรี เช่นนวดแผนไทย เสริมสวย ทำขนมพื้นเมือง - โครงการฝึกอบรมและให้ความรู้ด้านอาชีพแก่กลุ่มสตรีและศึกษาดูงาน - โครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลา - โครงการส่งเสริมอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง - โครงการฝึกอบรมกลุ่มอาชีพทำแชมพูสมุนไพร เช่น ทำสบู่ ผงซักฟอก ฯลฯ - โครงการหนึ่งผลิตภัณฑ์ หนึ่งหมู่บ้าน


4. ด้านโครงสร้างพื้นฐาน - โครงการต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน - โครงการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในหมู่บ้าน ซอยทอนเรือ ซอยต้นท้อน ป่าโต๊ะโร๊ะ - โครงการปรับปรุงซ่อมแซมถนนทุกสายในหมู่บ้าน - โครงการบุกเบิกถนนนาโต๊ะโผ 4x300 เมตร - โครงการบุกเบิกถนนสายกุโบร์-ป่าโต๊ะเหรียม 3x400 เมตร - โครงการบุกเบิกถนนสายกุโบร์-ต้นท้อน 3x200 เมตร - โครงการก่อสร้างประปา(ที่มัสยิด) ประจำหมู่บ้าน/ถังน้ำ - โครงการติดตั้งและก่อสร้างเครื่องทำน้ำดื่มสะอาด


5. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - โครงการคลองสวยน้ำใส - โครงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติป่าต้นน้ำ


6. ด้านการศึกษา ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม - โครงการเข้าค่ายฤดูร้อนแก่เด็กและเยาวชนในหมู่บ้าน - โครงการสนับสนุนครูสอนอันกุรอ่าน


7. ด้านการจัดระเบียบชุมชน - โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด


8. ด้านสังคมและคุณภาพชีวิต - โครงการส่งเสริมการออกกำลังกาย - โครงการสนับสนุนเครื่องออกกำลังกายกลางแจ้ง - โครงการส่งเสริมอาชีพให้กับผู้สูงอายุ ผู้พิการ - โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก - โครงการฝึกอบรมอสม.ชุมชน - โครงการตรวจ คัดกรอง เบาหวาน ความดัน - โครงการเฝ้าดูแลหญิงตั้งครรภ์ก่อนคลอดและหลังคลอด - โครงการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านเพศศึกษาแก่เด็กและเยาวชนไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร


9. ด้านบริหารจัดการที่ดี - โครงการติดตั้งเครื่องกระจายเสียงประจำอาคารเอนกประสงค์ จัดกิจกรรมกลุมย่อยโดยแบ่งโซนโดยคละกันทั้งเยาวชนและผู้ใหญ่ พร้อมนำเสนอข้อมูลแต่ละโซน ประกาศใช้โรดแมพและนำเสนอต่อการจัดทำแผนประชาคมของอบต.ควนโดนต่อไป

สรุปการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนหมู่ที่ 7 ตำบลควนโดน ดังนี้ 1. โครงการต่อเติมอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน 2. โครงการบุกเบิกถนนสายกุโบร์-ป่าโต๊ะเหรียม 3x400 เมตร 3. โครงการขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะในหมู่บ้าน ซอยทอนเรือ ซอยต้นท้อน

กิจกรรมหลัก : สภาผู้นำชุมชน ประชุมเพื่อคลี่ผลลัพธ์โครงการi

0.00 30 ผลผลิต

-


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

-

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

คณะกรรมการหมู่บ้าน คณะทำงาน

0.00 0.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. นัดคณะทำงานทุกคนเข้าร่วมประชุมหารือการทำงานโดยการเดินแจ้งให้ทราบทั้ง 30 คน
  2. เลขาสรุปกิจกรรมที่ดำเนินการที่ผ่านมา พร้อมทั้งชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณ
  3. คณะทำงานร่วมคิด วิเคราะหื ประเมินสถานการณืการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาในทุกๆด้าน
  4. เปิดโอกาสให้ทุกคนได้พูดคุย ซักถามปัญหาการทำงานหรือกระแสตอบรับจากชุมชน
  5. พี่เลี้ยงใช้กระบวนการคลี่ผลลัพธ์โครงการ เพื่อปรับปรุงรูปแบบให้กิจกรรมเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้
  6. ร่วมวางแผนกิจกรรมดำเนินงานและนำแผนชุมชนสู่การปฏิบัติต่อไป

ผลสรุปที่สำคัญ มีบันทึกวาระการประชุม คณะทำงานเข้าร่วม ทุกคน

กิจกรรมหลัก : สร้างวิทยากรชุมชน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้านการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และการออมi

25,000.00 15 ผลผลิต

-


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

-

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

เยาวชนที่มีภาวะผู้นำและกล้าแสดงออก พร้อมสมัครใจเข้าร่วมกิจกรรม

25,000.00 25,000.00 15 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดกระบวนการเรียนรู้จากชุมชนโดยใช้กระบวนการฐานการเรียนรู้จากชุมชน พร้อมเชิญวิทยาที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆ หลักสูตร 5 วัน ดังนี้

  • วันที่ 1 สอนการจัดทำบัญชีครัวเรือน พร้อมแจกเอกสารบัญชีครัวเรือน ให้เยาวชนไปลองทำเป็นเวลา 1 เดือนเพื่อประมาณการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเหมาะสมกับการดำเนินชีวิตและการออมหรือไม่
  • วันที่ 2 การจัดทำวัสดุ อุปกรณ์การใช้ในครัวเรือน เช่น สบู่และแชมพู ซึ่งมีกลุ่มวิสาหกิจในชุมชนอยู่แล้ว เกิดการเรียนรู้และความเข้าใจในตัวผลิตภัณฑืในชุมชนมากขึ้นและหันมาใช้ผลผลิตจากชุมชนเพื่อลดรายจ่ายจากภายนอกได้ด้วย
  • วันที่ 3 การปลูกผักปลอดสารพิษ เกษตรอินทรีย์ ลงพื้นที่แปลงผักในหมู่บ้าน เรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการไถดิน ทำแปลง ปลูก และการกำจัดวัชพืชและแมลงศุตรูพืชโดยเกษตรอินทรีย์ 100 % ทำให้ทุกคนในหมู่บ้านบริโภคผักปลอดสารพิษ
  • วันที่ 4 การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ซึ่งเป็นการทำปุูยหมักเพื่อใช้ในแปลงผักในชุมชน
  • วันที่ 5 การเพาะเห็ดและทำหัวเชื้อ ให้เยาวชนลงมือทำด้วยตนเองทุกกระบงนการและให้นำก้อนเชื้อกลับบ้าน คนละ 3 ก้อน

ผลสรุปที่สำคัญ

  1. มีทีมวิทยากรชุมชน จำนวน 1 ชุด
  2. วิทยากรชุมชนสร้างเครือข่ายการเรียนรู้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน เพิ่ม ร้อยละ 80
  3. มีหลักสูตรท้องถิ่นในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง

กิจกรรมหลัก : จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชนการทำบัญชีครัวเรือนi

13,000.00 70 ผลผลิต

-


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

-

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

ประชาชนในชุมชนที่สนใจการทำบัญชีครัวเรือน

0.00 0.00 70 80 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.มีการจับคู่บัดดี้เรียนรู้แลกเปลี่ยนการจัดทำบัญชี 2.มีการนำมาเปรียบเทียบกันทุกๆ 3 เดือน 3.มีการประเมินบัญชีครัวเรือน ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้คนในชุมชนและมีเงินออม 4.มอบเกียรติบัตร ของที่ระลึกเพื่อเสริมพลังในเวทีชุมชน ผลสรุปที่สำคัญ ร้อยละ 80 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนถูกต้อง ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน อสม. บัณฑิตอาสา และตัวแทนครัวเรือนที่สนใจการทำบัญชีครัวเรือน

13,000.00 13,000.00 70 75 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จับคู่บัดดี้ครัวเรือนเพื่อติดตามกสรจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่องและมีการสรุปให้แต่ละบ้านนำมาเปรียบเทียบกันทุกๆ 3 เดือน
ผลสรุปที่สำคัญ ร้อยละ 80 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนถูกต้อง ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมหลัก : จัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่ชุมชนแนวทางวิถีพอเพียง การจัดทำวัสดุ ใช้เพื่อการอุปโภค บริโภค ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้i

32,550.00 70 ผลผลิต

-


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

-

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

คณะทำงาน ครัวเรือนต้นแบบ ผู้นำเยาวชน แลผู้ที่สนใจเข้าร่วม

32,550.00 32,550.00 70 70 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดกระบวนการเรียนรู้ ในชุมชนเพื่อสานต่อเรื่อง -น้ำยาล้างจานน้ำยาเอนกประสงค์ - การปลูกผักเกษตรอินทรีย์ - การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ - การเพาะเห็ดและการทำหัวเชื้อ
- การแปรรูปผลไม้นานาชนิด เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน หรือ(ที่มีในชุมชน) นำความรู้เหล่านี้มาปรับใช้กับครัวเรือน เพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือน พร้อมกันนั้นควบคู่กับการทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้เห็นความแตกต่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นถึงการเปลี่ยนแปลง ก่อน - หลัง ทำกิจกรรม ผลสรุปที่สำคัญ ร้อยละ 80 มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนถูกต้อง ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ มีการจัดทำบัญชีครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง

ครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการคัดเลือกแล้ว

0.00 0.00 30 30 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมาปรึกษาและคัดเลือกครัวเรือนต้นแบบที่ผ่านการคัดเลือกมี ดังนี้
1. ครอบครัวปลอดยาเสพติด 2. มีรายได้น้อย 3. มีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชุมชน และการจับคู่ให้อยู่บริเวณใกล้เคียงกันเพื่อปรึกษาหารือร่ววมกันในการทำบัญชีครัวเรือนด้วยและสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

ผลสรุปที่สำคัญ 1. ครัวเรือนต้นแบบแนวทางเศรษฐกิพอเพียง จำนวน 70 ครัวเรือน 2. ครัวเรือนมีการนำไปใช้ ทำให้ลดรายจ่ายในครัวเรือน ลดลงร้อยละ 10 3. ร้อยละ 50 ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมมีการประกอบอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่มขึ้น

กิจกรรมหลัก : จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ เศรษฐกิจพอเพียง " บูเกตยามูโมเดล"i

4,500.00 442 ผลผลิต

-


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

-

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 2 ครั้ง

คณะทำงาน เยาวชน

0.00 0.00 20 20 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทุกคนต่างช่วยกันเตรียมสถานที่เพื่อให้เกิดศูนย์เรียนรู้บูเกตยามู โมเดล เป็นศูนย์เรียนรู้ตามแนวพระราชดำริ วิถีชีวิตของคนในชุมชน ผลสรุปที่สำคัญ 1.มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน บูเกตยามู โมเดล

ตัวแทนครัวเรือนในชุมชน

4,500.00 4,500.00 442 141 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.สภาผู้นำชุมชน ทีมเยาวชน มาสรุป ข้อค้นพบ ของชุมชน สิ่งดีดี รูปแบบกระบวนการต่างๆของชุมชน 2. ร่วมหารือ กับผู้ทรงคุณวุฒิ ปราชญ์ชาวบ้าน ในการคัดเลือก เตรียมสถานที่ ที่จะจัดตั้งเป็นศูนยืเรียนรู้ชุมชน เศรษฐกิจพอเพียง 3. นำเข้าสู่เวทีประชาคม เพื่อรว่มกระบวนการ ร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำ แบบมีส่วนร่วมขอวชุมชน 4. ชุมชนร่วมจัดสถานที่ ศูนย์เรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ตั้งแต่กลุ่มเด้กนักเรียนศูนย์เด็กเล็กโรงเรียนประถม และคนในชุมชน เพื่อการเรียนรู้
5. เปิดตัว และประชาสัมพันธ์ ศูนย์เรียนรู้เศรฐกิจพอเพียง ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน ตั้งแต่กลุ่มเด้กนักเรียนศูนย์เด็กเล็กโรงเรียนประถม และคนในชุมชน เพื่อการเรียนรู้
6. ทบทวน ปรับและขับเคลื่อนต่อยอดต่อไป ผลสรุปที่สำคัญ มีศูนย์เรียนรู้ชุมชน บูเกตยามู โมเดล

กิจกรรมหลัก : กิจกรรมถอดบทเรียน/ประเมินผลการทำงานi

15,150.00 45 ผลผลิต

-


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

-

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 1 ครั้ง

สภาผู้นำ ทีมเยาวชน

15,150.00 15,150.00 45 45 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สภาผู้นำชุมชนเตรียมข้อมูลบทบาทหน้าที่การทำงานที่ผ่านมาในโครงการ
  2. จัดทำแบบประเมินความพึงพอใจของประชาชนในชุมชน 3.นำแบบประเมินมาสรุปก่อนล่วงหน้า เพื่อเป็นข้อมูลการถอดบทเรียนร่วมด้วย
  3. สภาผู้นำชุมชน และทีมเยาวชน ร่วมกระบวนการถอดบทเรียน จำนวน 2วัน
  4. ผู้รับผิดชอบโครงการ สรุปแผนการดำเนินงาน งบประมาณทั้งหมดในการจัดกิจกรรมที่ผ่านมา
  5. สรุปสิ่งที่ได้จากถอดบทเรียน
  6. ร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ ร่วมวางแผน เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง ด้านคนในชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม และโครงสร้างการทำงาน ว่ามีปัญหาอุปสรรคอะไร ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร มีอะไรที่ควรทำต่อ และทำต่ออย่างไรเพื่อจะขยายผลต่อยอดในปีต่อไปในการต่อยอดการขยายผล ต่อในระยะ ปีที่ 2
  7. สรุปผลการดำเนินงานโดยภาพรวมภาวะหนี้สินเปรีบเทียบก่อน-หลังการดำเนินโครงการ ของคนในชุมชน
  8. จัดเตรียมเอกสารการใช้จายงบประมาณทั้งหมด ตรวจสอบความถูกต้อง
  9. นำเสนอกิจกรรมการประเมินผลแก่พี่เลี้ยงโครงการ
  10. สรุปรายงาน ส่ง สสส ผลสรุปที่สำคัญ 1.มีชุดข้อมูลจากการถอดบทเรียนจำนวน1ชุด 2. มีแผนการดำเนินงานต่อยอดโครงการในปีต่อไป

กิจกรรมหลัก : การประชุมร่วมกับ สสส. สจรส.ม.อ. และพี่เลี้ยงผู้ติดตามi

10,000.00 2 ผลผลิต

มีการเข้าร่วมการประชุมกับ สสส. สจรส.ม.อ. ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนครั้งที่จัด


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)
  • มีคความเข้าใจการบิรหารจัดการโครงการ เอกสารทางการเงิน มีพี่เลี้ยงและ สจรส.ม.อ.หนุนเสริมการทำโครงการได้ประสบความสำเร็จ

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 12 ครั้ง

  1. นางสาวเจนวลี ปะดุกา
  2. นางสาวฝาตีม๊ะ ปะดุกา
1,920.00 1,232.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ทราบแนวทางในการจัดทำรายงานผล และรายงานการเงิน โดยการทำรายงานการเงินแยกรายกิจกรรม/ครั้ง ดังนี้ -ใบลงทะเบียนต้องมีรายชื่อผู้ร่วมกิจกรรม

    • บันทึกการประชุม วาระการประชุม เอกสารประกอบการประชุมพร้อมภาพถ่ายกิจกรรม
    • กรณีมีค่าอาหาร ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงินหรือใบบิลเงินสด (ถ้าเกิน 5000 บาท ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนทุกครั้ง)
    • กรณีจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ (ค่าวัสดุ คือ ค่าใช้จ่ายเพื่อวัสดุสิ้นเปลืองในการทำกิจกรรม ได้แก่ วัสดุเครื่องเขียน วัสดุสำนักงาน วัสดุโฆษณาและเผยแพร่) ต้องมีหลักฐานทางการเงิน ได้แก่ใบสำคัญรับเงิน/บิลเงินสด โดยออกจากร้านมีชื่อที่อยู่ของร้านชัดเจน มีเลขกำกับภาษี/เลขบัตรประชาชน ของเจ้าของร้าน บิลออกในนามโครงการของพื้นที่ตนเอง
    • ค่าใช้สอย ได้แก่ ค่าพาหนะ ค่าที่พัก ค่าถ่ายเอกสาร ค่าอาหารและเครื่องดื่ม
    • ค่าตอบแทน ได้แก่ ค่าตอบแทนวิทยากร กรณีเป็นรายชั่วโมง ต้องมีความรู้ความชำนาญ กรณีเป็นปราญชชาวบ้าน หรือ เจ้าหน้าที่ รพ.สต. คิดเป็นรายชั่วโมง 600 บาท,กรณีเป็นคนต่างพื้นที่ สามารถเบิกได้ 1000 บาท/วัน
    • ใบสำคัญรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ รอยขูดหรือรอยขีดเขียน **ห้ามใช้ใบส่งของแทนบิลเงินสดหรือใบสำคัญรับเงิน
  2. รายชื่อผู้เข้าร่วมกิจกรรม จะต้องมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมอย่างน้อย มากกว่า หรือเท่ากับ 5-10 % ของเป้าหมายที่วางไว้

  3. รับรู้การบริหารจัดการโครงการ (ทีมงาน/ชุมชน) และวิธีการจัดการปัญหา การทำรายงานโครงการ และ รายงานการเงิน การป้อนข้อมูลรายละเอียดโครงการในเว็บไซต์

- ทุกกิจกรรมจะต้องมีการบันทึกรายละเอียดกิจกรรมและรายละเอียดทางการเงิน ในเว็ปไซต์ www.happynetwork.org

  1. สามารถรับรู้ถึงกระบวนการและระบบการติดตามประเมินผล เพื่อการหนุนเสริมโครงการร่วมสร้างชุมชนและท้องถิ่นให้น่าอยู่พื้นที่ภาคใต้ ทบทวนและออกแบบเชิงระบบของโครงการ

  2. การวางแผนการดำเนินงาน และการป้อนแผนการดำเนินงานในปฏิทินโครงการ

- การรายงานผลการจัดกิจกรรม และรายจ่ายในกิจกรรมและการจัดทำรายงาน

นายนที หลังเกต ประธานโครงการ นางสาวเจนวลี ปะดุกา บันทึกข้อมูล นางสาวฝาตีม๊ะ ปะดุกา การเงิน

500.00 300.00 2 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมกิจกรรมวันนี้ จำนวน 3 คน ทั้งประธานโครงการ การเงินและบันทึกข้อมูลเพื่อมารับรู้การทำงานร่วมกันและเข้าใจการทำงานในระบบผ่านเว็ปและติดตามการดำเนินโครงการให้เสร็จสมบูรณ์พร้อมทั้งเป็นไปในรูปแบบเดียวกัน

พี่เลี้ยงโครงการ

0.00 0.00 1 0 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
  2. ฟังการบรรยายของวิทยากร ตามโครงการพัฒนาศักยภาพ  ติดตามประเมินผลและสังเคราะห์ความรู้โครงการร่วมสร้างชุมชนให้น่าอยู่ ภาตใต้ ปั 2558-2559 โดยมีการชี้แจง กิจกรรมก่อนดำเนินโครงการ
  3. ผ่านการพัฒนาโครงการ
  4. ผ่านการพิจารณาโครงการ
  5. ปฐมนิเทศโครงการ ดำเนินโครงการ
  6. เครื่องมือสำหรับกิจกรรม หลังการจัดกิจกรรม
  7. การเขียนผลผลิต ผลลัพธ์
  8. การวิเคราะห์ 3.ขั้นตอนการบันทึกใน Web มีการชี้แจงแนวทางการเขียนรายงาน การเงิน การบันทึกกิจกรรมและตัวอย่างการเขียนผลสรุปกิจกรรมพร้อมรายงานการใช้เงิน และหลักฐานประกอบในแต่ละกิจกรรม  ตัวอย่างใบเสร็จที่ถูกต้องและประเภทงบประมาณ และมีการชี้แจงหลักฐานประกอบ ค่าใช้จ่าย ในแต่ละหมวด 1.ค่าตอบแทน วิทยากร เจ้าหน้าที่ช่วยจัดการประชุม  การประสานงาน ค่าถ่ายเอกสาร ค่าเดินทาง ค่าเช่ารถค่าน้ำมันรถ 2. ค่าจ้าง 3. ค่าวัสดุ 4.ค่าใช้สอย ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าห้องประชุม ค่าส่งไปรษณีย์ ค่าโทรศัพท์ 5. ค่าสาธารณูปโภค ค่าส่งไปรษณ๊ย์ ค่าโทรศัพท์ การหักภาษี ณ ที่จ่าย  ชี้แจงการหักภาษี ณ  ที่จ่าย  ตั้งแต่  1000  บาทขึ้นไป หมวด 1. ค่าจ้าง 2.ค่าตอบแทน 3ค่าเช่า ผู้ถูกหัก  บุคคลธรรมดา และร้านค้า มี vat  7 % มีการแนะนำ ใบ ภ.ง.ด. 3 สรุปขั้นตอนการปฏิบัติ  เกี่ยวกับภาษี 1. หัก ณ ที่จ่ายไว้ 1%
  9. ออกหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย (ตามมาตรา 50 ทวิ) 3. ออกรายงานยื่นแบบแสดงรายการภาษีหัก ณ ที่จ่าย 4. นำส่ง ภ ง ด 3 ภายในวันที่ 1-7 ของเดือนถัดไปจากเดือนที่จ่ายเงินได้ (ยื่นภาษีช้า มีค่าปรับ)

ผู้รับผิดชอบโครงการ เลขานุการ

0.00 200.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ตรวจเอกสารการเงินโครงการงวดที่ 1 และจัดทำรายงานความก้าวหน้า

ผู้รับทุนเจ้าหน้าที่การเงินและผู้บันทึกข้อมูล

2,180.00 1,816.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เข้าร่วมประชุมปิดโครงการและสรุปผลการดำเนินงาน งวดที่1 ซึ่งกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่

  1. ประชุมปฐมนิเทศโครงการปี 2558
  2. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
  3. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สสส.
  4. สร้างทีมงานสภาชุมชน
  5. เปิดตัวโครงการและประชาสัมพันธ์สสส.
  6. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ออกแบบเครื่องมือ
  7. เรียนรู้การทำรายงานและการเงิน
  8. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล
  9. นำข้อมูลมาวิเคราะห์
  10. จัดทำเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน
  11. พบพี่เลี้ยงทำรายงานการเงินโครงการ
  12. จัดทำแผนในการแก้ไขปัญหา
  13. จัดทำรายงานปิดงวด1

ผู้บันทึกข้อมูลและฝ่ายการเงิน

300.00 300.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

นำเอกสารงานต่างๆที่ดำเนินการไปแล้วมาเรียบเรียงและจัดทำรายงานการเงินเพื่อให้การดำเนินการผ่านไปได้ด้วยดี ผลสรุปที่สำคัญ นำเอกสารงานต่างๆที่ดำเนินการไปแล้วมาเรียบเรียงและจัดทำรายงานการเงิน

ผู้บันทึกข้อมูลและฝ่ายการเงิน

300.00 300.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการ สสส. จากการทำงานร่วมกัน ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน การทำงานร่วมกันของทีมงาน ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนซึ่งถือว่าการให้ความร่วมมือของชาวบ้านอยู่ในระดับดีมาก เพราะทุกครั้งที่มีกิจกรรมจะได้รับความสนใจในการเข้าร่วม และจากการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ได้เปิดโอกาสในการซักถามถึงความต้องการต่อโครงการในปีต่อไป ได้รับการตอบรับที่ดี 

ประธานโครงการและผู้บันทึกข้อมูลหรือเลขาหรือฝ่ายการเงิน

500.00 500.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.เกิดโครงการฯนี้จากความต้องการของชุมชน 2.รวบรวมอาชีพเสริมของคนในชุมชนไว้ในที่เดียวกัน 3.เกิดศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชน 4.เป็นการติดตามการดำเนินงานของชุมชน ทำให้การบอกเล่าสิ่งที่ชุมชนทำนั้นมีความหมายและสำคัญกับพื้นที่มากมาย ทำให้เกิดเรื่องเล่าจากชุมชนสู่คนภายนอกได้อย่างดี

ผู้บันทึกข้อมูลและฝ่ายการเงิน

300.00 300.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานโครงการ สสส. จากการทำงานร่วมกัน ปัญหา อุปสรรคในการทำงาน การทำงานร่วมกันของทีมงาน ความร่วมมือของชาวบ้านในชุมชนซึ่งถือว่าการให้ความร่วมมือของชาวบ้านอยู่ในระดับดีมาก เพราะทุกครั้งที่มีกิจกรรมจะได้รับความสนใจในการเข้าร่วม และจากการทำกิจกรรมครั้งที่ผ่านมา ได้เปิดโอกาสในการซักถามถึงความต้องการต่อโครงการในปีต่อไป ได้รับการตอบรับที่ดี

ประธานโครงการผู้บันทึกข้อมูลกับฝ่ายการเงิน

2,280.00 2,268.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แต่ละพื้นที่ได้ไปจัดนิทรรศการ ความสำเร็จของโครงการร่วมกัน โดยนำผลงานจากกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชุมชน ความเข้มแข็งของชุมชน ในด้านเศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรอินทรีย์ มีการนำผลไม้ และผักพื้นบ้านไปจำหน่าย และร่วมตกแต่งบูธให้ดูเป็นธรรมชาติเสมือนภาพจำลอง มีการนำผลผลิตของชุมชน เช่น ก้อนเชื้อเห็ด ผลไม้ จำพวกลองกอง จำปะดะ ไปจัดกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

ผู้บันทึกข้อมูลและฝ่ายการเงิน

300.00 300.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รายละเอียดขั้นตอน กระบวนการ กิจกรรมปฎิบัติจริง ตรวจสอบความถูกต้อง ทั้งในตัวเอกสาร และในเว็ป

ผู้รับผิดชอบโครงการ เจ้าหน้าที่การเงิน และเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

1,420.00 1,568.00 3 3 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารการเงินและหน้าเว็บไซต์โดยเจ้าหน้าที่ สจสร. • ทำ ง1. ง2. ส3. ส4. บนหน้าเว็บไซต์ Happynetwork.org • ส่งเอกสารทำการปิดงวด 2 ส่งให้เจ้าหน้าที่ สจรส. • เจ้าหน้าที่สจรส. ตรวจสอบความเรียบร้อยของเอกสารการเงินและเอกสารอื่นๆ • เจ้าหน้าที่สจรส. ตรวจสอบการรายงานหน้าเวปไซต์ • เจ้าหน้าที่สจรส. ให้คำแนะนำเพิ่มเติม ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม มีการสรุปปิดโครงการและรายงานฉบับสมบูรณ์จำนวน1 เล่ม

กิจกรรมหลัก : ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ ถ่ายภาพกิจกรรม และจัดทำรายงานi

3,000.00 2 ผลผลิต

มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม


ผลลัพธ์ (สรุปผลงานที่ได้จากการดำเนินงานเชิงคุณภาพ)

มีการจัดทำป้าย "สถานที่นี้ปลอดบุหรี่" ติดตั้งในสถานที่จัดกิจกรรม

keyboard_arrow_downกิจกรรมย่อย 3 ครั้ง

นายนที หลังเกต ประธานโครงการ

นางสาวฝาตีม๊ะ ปะดุกา เหรัญญิก

1,000.00 1,000.00 5 5 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดทำป้ายสัญลักษณ์ปลอดบุหรี่และเตรียมจัดทำรายงาน

เลขาฯโครงการฯ ผู้บันทึกข้อมูล

1,000.00 1,000.00 2 15 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้รูปถ่ายตรงตามความต้องการ จำนวน 1 ชุด

ผู้บันทึกข้อมูลและฝ่ายการเงิน

1,000.00 1,000.00 2 2 ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

• ตรวจสอบเอกสารของแต่ละกิจกรรรมให้ครบถ้วน • ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ • เมื่อเอกสารเรียบร้อยก็จัดทำเป็นรูปเล่ม ผลสรุปที่สำคัญ เตรียมเอกสารตั้งแต่ดำเนินการหลังจากปิดงวด 1 เพื่อเตรียมเอกสารปิดงวด 2 ให้มีความเรียบร้อยและง่ายต่อการตรวจสอบก่อนปิดโครงการโดยพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด รวบรวมเอกสารทั้งหมดของโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการ

2.3.1 นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

(นวัตกรรมคือ การจัดการความคิด กระบวนการ ผลผลิต และ/หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาใช้งานให้เกิดประสิทธิผล และ/หรือประสิทธิภาพมากกว่าเดิมอย่างชัดเจน)

ชื่อนวัตกรรมคุณลักษณะ/วิธีการทำให้เกิดนวัตกรรมผลของนวัตกรรม/การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.2 โครงการเด่น (Best Practice)

(โครงการเดิ่น คือ โครงการสร้างเสริมสุขภาพให้สัมฤทธิ์ผลที่เป็นรูปธรรมแล้วขยายผลอย่างยั่งยืน โดยแนวคิดกระบวนการ และผลงาน สามารถเป็นตัวอย่างที่จะนำไปขยายผลในชุมชน (Setting) อื่น ๆ ได้ การดำเนินงานมีส่วนร่วมของภาคีที่หลากหลาย มีการบริหารจัดการที่ดี โปร่งใสและตรวจสอบได้)

ชื่อ Best Practiceวิธีการทำให้เกิด Best Practiceผลของ Best Practice / การนำไปใช้ประโยชน์
2.3.3 เกิดแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างเสริมสุขภาพในประเด็นต่าง ๆ
ชื่อ-สกุลที่อยู่ติดต่อได้สะดวกคุณสมบัติแกนนำ/ผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.3.4 มีสภาพแวดล้อมและปัจจัยทางสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพ

เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพและสังคมที่เอื้อต่อสุขภาพในชุมชนพื้นที่โครงการดังนี้

สถานที่/พื้นที่ ที่เปลี่ยนแปลงรายละเอียดการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ส่วนที่ 3 : ปัญหาและอุปสรรคสำคัญที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงาน

3.1 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเด็นปัญหา/อุปสรรคการแก้ไขของผู้รับทุนข้อเสนอแนะ/การแก้ไขปัญหาและการเสริมพลังของผู้ติดตาม
3.2 การดำเนินงานกจิกรรม/กลุ่มเป้าหมาย/ระยะเวลาดำเนินงาน/การดำเนินงาน/งบประมาณ
ประเภทความเสี่ยง / ปัจจัยเสี่ยงระดับความเสี่ยง
(จากมากไปหาน้อย)
ข้อมูล ข้อสังเกตุ และข้อคิดเห็นของผู้ติดตาม
3210
1. ความเสี่ยงด้านการดำเนินงาน (Operational Risks)
1.1 โครงสร้างการดำเนินงาน

มีการคัดเลือกทีมทำงาน ที่มีความหลากหลายกลุ่ม โดยดึงกลุ่มคนที่เป็นทุนทางสังคมในชุมชนและคณะกรรมการชุมชนมาร่วมด้วย โดยแบ่งเป็น กลุ่มคนที่เป็นตัวหลัก คอยอำนวยความสะดวกและร่วมเป็นตัวขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ จึงทำให้งานขับเคลื่อนไปตามแผน และพบกลุ่มคนที่มีจิตอาสาร่วมดำเนินงานและเกิดโครงสร้างใหม่ในชุมชนโดยมีทีมเยาวชนที่ร่วมกันทำงานอย่างตั้งใจ

1.2 ศักยภาพและทักษะการดำเนินงาน

มีการมอบหมายงานที่เหมาะกับตัวบุคคลทั้งด้านทักษะและศักยภาพของการทำงาน ผู้นำชุมชน ผู้คอยอำนวยความสะดวก อสม.ขับเคลื่อนกิจกรรมอบต. นักสื่อสารประชาสัมพันธ์กลุ่มเยาวชน เครือข่ายขับเคลื่อนงาน

1.3 ผลลัพธ์และผลสำเร็จของการดำเนินงาน

ในการดำเนินโครงการมีการปฏิบัติตามแผนงาน และเกินเป้าหมายที่วางไว้ โดยมีการวางแผนในการทำกิจกรรมล่วงหน้า เพื่อให้สะดวกกับทีมงาน และเหมาะสมกับห้วงเวลาชุมชน จึงมีการปรับแผนเชิงรุก ประชาสัมพันธ์ถึงชุมชน และนำทุนทางสังคมด้านคน กลุ่ม องค์กรในชุมชนมาร่วมในโครงการ

2. ความเสี่ยงทางการเงิน (Financial Risks)
2.1 ระบบและกลไกการบริหารจัดการ

มีแนวทางจัดหาทรัพยากรทางด้านการเงิน ตามแผนการใช้จ่ายแต่อาจจะไม่ตรงกับหมวดแต่ก็มีการปรับแก้ไขอย่างถูกต้อง มีการวางแผนการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้และมีการจัดทำรายงานทางการเงินอย่างเป็นระบบ มีการทดรองจ่ายในบางกิจกรรมเพื่อให้งานมีความต่อเนืองและมีการรายงานต่อคณะกรรมการโครงการ

2.2 การใช้จ่ายเงิน

การดำเนินการใช้จ่ายงบประมาณ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมีการกำหนดเป้าหมายแผนการทำงาน ระยะเวลาแล้วเสร็จของงานและงบประมาณที่ต้องใช้เบิกจ่ายงบประมาณตามห้วงเวลาของกิจกรรม มีการทดรองจ่ายเพื่อให้งานมีความต่อเนื่อง บรรลุเกินเป้าหมาย ภายในระยะเวลาที่กำหนด ใช้งบประมาณตามแผนแต่อาจมีการปรับบ้างเพื่อประโยชน์ของกลุ่มเป้าหมาย การดำเนินนั้นเปิดเผยและเที่ยงธรรม สะดวกรวดเร็ว มีความรับผิดชอบ เกิดประโยชน์ต่อประชาชนและบรรลุภารกิจตามแผนที่กำหนดไว้

2.3 หลักฐานการเงิน

หลักฐานถูกต้องแต่ควรมีการทำปะหน้า แยกหมวดการใช้จ่ายงบประมาณ แนบกำหนดการและเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และควรมีการเก็บเอกสารการเงินแต่ละกิจกรรมเพื่อง่าย สะดวกต่อการจัดเก็บและตรวจสอบ

ผลรวม 0 0 0 0
ผลรวมทั้งหมด 0 ระดับความเสี่ยง : ???
เกณฑ์วัดระดับความเสี่ยง ???
สรุปการแก้ไขความเสี่ยง แก้ไขแล้ว ยังไม่ได้แก้ไข

ส่วนที่ 4 : สรุปความเห็นของผู้ติดตาม

ส่วนที่ 4สรุปความเห็นของผู้ติดตาม
4.1 กรณีเบิกเงินงวด/ติดตามเยี่ยมชม มีแนวโน้มสำเร็จตามเป้าหมายโครงการและติดตามปกติ
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

การดำเนินงานเกิดความมีคุณค่า ที่มีการทำงานเป็นทีม และดึงศักยภาพ บทบาท ของแต่ละคนแต่ละกลุ่ม ที่มีจิตอาสาในการทำงานมาร่วมกันขับเคลื่อนเป็นโครงสร้างการทำงานที่ชัด และเห็นถึงศักยภาพของผู้รับทุนที่เป็นคนรุ่นใหม่นักพัฒนา ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน และคณะกรรมการ ที่มีวฺิธีการเรียนรู้ ในการปรับรูปแบการทำงานที่ดีขึ้น ตามศักยภาพและเสริมหนุนการทำงานแก่ทีมงานได้เป็นอย่างดี และการขอสนับสนุนหน่วงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสริมหนุนกิจกรรม เกิดความยั่งยืน และมีการนำทุนทางสังคม โดยเฉพาะด้านบุคคลมาร่วมในการทำงานและเป็นที่ปรึกษามีการใช้สถานที่ของชุมชนร่วมกันซึ่งกิจกรรมการดำเนินงานมีความตั้งใจมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงานและการเกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม ที่สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนร่วมกันคิด ร่วมกันวางแผน ร่วมกันทำ และร่วมกันชื่นชม ร่วมกันโดยมีการทำงานเป็นทีม เป็นกลุ่ม แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบตามความถนัดและเหมาะสมกับงานและบุบุคคล มีการวางแผนการทำงาน มีแผนงานกิจกรรมซึ่งจากการติดตามและพิจารณาเห็นว่ามีแนวโน้มการทำงานสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

มีแนวโน้มเสี่ยง ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจาก-
การวิเคราะห์ผลการดำเนินงานโครงการและสรุปข้อคิดเห็น

-

มีความเสี่ยง ต้องยุติโครงการ เนื่องจาก
-
4.2 กรณีสรุปปิดโครงการ ดำเนินงานได้ตามแผนปฏิบัติการและสามารถปิดโครงการได้
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ไม่เป็นไปตามแผนปฏิบัติการ ให้ดำเนินการจัดระบบการเงิน ระบบรายงานให้ถูกต้องก่อนปิดโครงการ
สรุปผลภาพรวมการดำเนินงาน-การเงินโครงการและข้อคิดเห็น

 

ส่วนที่ 5 : สรุปภาพรวมของการติดตามประจำงวด (ข้อสังเกต/สิ่งดีๆ ที่ค้นพบ/ข้อพึงระวัง/บทเรียนที่ได้)

จากการติดตามการดำเนินงานใน ระยะที่ 1 ขอชื่นชมทีมงานที่มีความตั้งใจและมีความรับผิดชอบสูงในการทำงานและความมุ่งมั่นให้มีผลสัมฤทธิ์ของงานเกิดประโยชน์ต่อชุมชนและมีการให้ความสำคัญของผู้นำชุมชนและคณะกรรมการหมู่บ้าน ซึ่งการดำเนินกิจกรรมในโครงการ จะเป็นวาระการประชุมของหมู่บ้านร่วมด้วย เพื่อร่วมปรึกษาหารือและติดตามความก้าวหน้าของโครงการ และการทำกิจกรรมทีมงานจะมีความพร้อมเข้าร่วมและช่วยเหลือกันเป็นอย่างดีซึ่งการดำเนินงานมีวัตถุประสงค์ เพื่อ1. เพื่อให้คนในชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญต่อการ ใช้ชีวิตตามแนวทางแบบพอเพียง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ พึ่งพาตนเองได้ 2. เพื่อพัฒนาชุมชนสามารถบริหารจัดการสู่หมู่บ้านต้นแบบ ตามแนวทาง วิถีพอเพียง 3. ส่งเสริมการประกอบอาชีพเสริม จากภูมิปัญญาที่มีอยู่ในชุมชนสู่วิสาหกิจชุมชน 4.เพื่อมีสภาผู้นำเข้มแข็ง5. เพื่อให้คนชุมชนลดปัญหาหนี้สิน ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ตามแนวทางวิถีพอเพียง6. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับผิดชอบโครงการ และสนับสนุนการทำงานของโครงการ

โดยในระยะที่ 1มีกลวิธี การสำคัญ:กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับคน กลุ่มคน1. พัฒนา ฟื้นฟู การเรียนรู้หลักเศรษฐกิจพอเพียง 2. ส่งเสริมการเรียนรู้ การใช้ชีวิตแบบวิถีพอเพียง กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการปรับสภาพแวดล้อม-กลวิธีที่เกี่ยวข้องกับการสร้างและปรับปรุงกลไก1.. เปิดเวทีสาธารณะ ในการประชาสัมพันธ์2. พัฒนาศักยภาพทีมสภาชุมชนในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีการดำเนินกืจกรรม ในระยะเวลา วันที่ 15 กันยายน2558 - 15 กุมภาพันธ์ 2559

ดังนี้
1. ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ 2. จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์สสส. 3. สร้างทีมงานสภาชุมชน 4. เปิดตัวโครงการและประชาสัมพันธ์สสส. 5. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ออกแบบเครื่องมือ ุ6. ลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูล 7. นำข้อมูลมาวิเคราะห์ 8. จัดทำเวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 9. จัดทำแผนในการแก้ไขปัญหา

โดยจากการดำเนินงาน เกิดผลผลิต ผลลัพธ์ ดังนี้ 1. มีสภาผู้นำผู้นำชุมชนจำนวน1 ชุดและมีการกำหนดบทบาทหน้าทีในการดำเนินงาน การประชุมมีผู้เข้าร่วม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 และมีการหารือปรึกษาโครงการและเรื่องอื่นๆของชุมชน
2. มีการจัดเปิดตัวโครงการ จำนวน 1 ครั้งมีข้อเสนอแนะโครงการจากการจัดกิจกรรมและผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจ ร้อยละ 80 3. เกิดการจัดการข้อมูลชุมชน ฐานข้อมูลรายรับ รายจ่าย หนี้สินของชุมชน เกิดแผนที่คุณค่าทรัพยากรและได้เครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลชุมชน ชุมชนมีฐานข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้านรายรับ รายจ่าย หนี้สินชุมชนจำนวน1 ชุด

ผลกระทบดังนี้เกิดการเปลี่ยนของคนและกลุ่มคนในชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดการระบบสุขภาพในชุมชนเพิ่มมากขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อชุมชนน่าอยู่มีการเปลี่ยนแปลงของกลไกในชุมชนมีคณะทำงานและกระบวนการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ

นวัตกรรม :อยู่ในระหว่างการประเมินและวิเคราะห์นวัตกรรม

สร้างรายงานโดย ธิดา เหมือนพะวงศ์