directions_run

มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย

assignment
บันทึกกิจกรรม
หนุนเสริมพื้นที่ในการตรวจสอบเอกสารการเงินก่อนปิดโครงการ15 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรมปิดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คณะทำงานโครงการตรวจสอบเอกสารก่อนจะให้พี่เลี้ยงและทีม สจรส.ตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ
  • พี่เลี้ยงและทีม สจรส.ตรวจสอบรายงานกิจกรรมเติมเต็มเพื่อความสมบูรณ์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานพื้นที่สามารถปรับเอกสารการเงินให้ถูกต้องตามที่ผู้ตรวจเอกสารแนะนำสามารถปิดโครงการได้
  • ได้มีการเติมเต็มข้อมูลกิจกรรมในเวบไซค์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • ทีม สจรส.
  • คณะทำงานพื้นที่
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เอกสารในแต่ละโครงการมีหลายกิจกรรมทำให้ตรวจสอบล่าช้าบางพื้นที่ไม่สามารถตรวจได้ในวันเดียว

แนวทางแก้ไข

  • ให้พื้นที่ที่ยังไม่ได้ตรวจเอกสารการเงินไปตรวจที่ สจรส.มอ.ภาคใต้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ให้พื้นที่ปรับเอกสารและรายงานกิจกรรมตามคำแนะนำของพี่เลี้ยงและทีมสจรส.
ถ่ายภาพกิจกรรม 15 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
วัตถุประสงค์
  • จัดทำรายงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • รวบรมภาพถ่ายกิจกรรม และปริ้นรูปภาพกิจกรรมเพื่อนำไปประกอบในรายงาน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รายงานฉบับสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 140 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์15 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย ฮามีด๊ะ หวันนุรัตน์
circle
วัตถุประสงค์

จัดทำรายงาน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 15 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 น. ตัวแทนคณะทำงานโครงการได้ร่วมกัน จัดทำรายงานเข้าเล่มฉบับสมบูรณ์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รายงานฉบับสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์และสังเคราะห์โครงการ15 ตุลาคม 2559
15
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำรายงาน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • สรุปจัดทำรายงานร่วมกับพี่เลี้ยง
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รายงานฉบับสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 5 คน จากที่ตั้งไว้ 5 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ 5 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงเพื่อดำเนินการจัดทำรายงาน และจัดทำเอกสารการเงิน12 ตุลาคม 2559
12
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อดำเนินการทำรายงาน และตรวจสอบเอกสารทางการเงินของโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 12 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 น. ณ เครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภค พบพี่เลี้ยง
  • เพื่อดำเนินการรตรวจสอบความถูกต้องเอกสารการเงิน
  • ตรวจสอบรายงาน และได้รับคำชี้แนะจากพี่เลี้ยงโครงการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ตรวจสอบเอกสารการเงิน และตรวจสอบรายงาน
  • ได้รับคำชี้แนะจากพี่เลี้ยง เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขรายงานให้เกิดความถูกต้องสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงเพื่อตรวจเอกสารทางการเงิน10 ตุลาคม 2559
10
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารโครงการทางการเงิน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 10 ตุลาคม 2559 ตัวแทนคณะทำงานโครงการได้ดำเนินการเข้าพบพี่เลียง
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารโครงการทางการเงินและการเขียนรายงาน พร้อมทั้งได้รับคำชี้แนะและเพิ่มเติมในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์
  • จากนั้นได้ปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมให้รายงานเกิดความสมบูรณ์เป็นไปตามวัตถุประสงค์
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เอกสารการเงินที่ถูกต้อง
  • ได้ตรวจสอบความถูกต้องเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
  • ได้รับคำชี้แนะจากพี่เลี้ยงโครงการ
  • เพิ่มเติมเนื้อหาในรายงานโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงเพื่อจัดทำเอกสารการเงิน9 ตุลาคม 2559
9
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อจัดทำเอกสารการเงินโครงการ ก่อนปิดงวดที่ 2 โครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 9 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00 น. ณ สำนักงานเครือยข่ายผู้บริโภคได้พบพี่เลียงโครงการ
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารโครงการตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงาน เพื่อความถูกต้อง
  • ปรึกษาหารือพี่เลี้ยงโครงการเกี่ยวกับเอกสารการเงินและสมุดบัญชีธนาคาร
  • เพิ่มเติมเนื้อหาในรายงานโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดเรียงเอกสารการเงินแต่ละกิจกรรมได้อย่างถูกต้อง
  • ได้รับคำชี้แนะจากพี่เลี้ยงโครงการ
  • ได้รายละเอียดรายงานโครงการเพิ่มเติม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นางาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
หนุนเสริมพื้นที่ในการถอดบทเรียนการทำงานโครงการ7 ตุลาคม 2559
7
ตุลาคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อถอดบทเรียนการทำงานโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมโดยประธานสภาผู้นำหมู่บ้านชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานในครั้งนี้เพื่อถอดบทเรียนการทำงานโครงการของพื้นที่ว่าที่ผ่านมาการเป็นอย่างไรมีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้างและความภาคภูมิใจของคณะทำงานที่ผ่านมามีอะไรบ้างร่วมกันออกแบบแนวทางในการขับเคลื่อนงานต่อไป
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านได้ร่วมกันแลกเปลี่ยนตามโจทย์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 31 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้าน
  • พี่เลี้ยงโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
เวทีถอดบทเรียนการทำงานโครงการ7 ตุลาคม 2559
7
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสรุปผลการทำงานโครงการที่ผ่านมา
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 7 สิงหาคม 2559 เวลา 09.00 - 15.00 น. ณ สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค อำเภอละงู จังหวัดสตูล จัดกิจกรรม เวทีถอดบทเรียนการทำงานโครงการ นายสถิตย์ นุ้ยโส็ะ ตัวแทนคณะทำงานโครงการ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุมนครั้งนี้ให้ที่ประชุมรับทราบ พร้อมกล่าวต้อนรับวิทยากรมาร่วมกิจกรรมถอดบทเรียนการทำงานของโครงการ โดยวิทยากรได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุมอีกครั้ง และแนะนำในเรื่องของการต่อยอดโครงการให้เน้นในเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แล้วให้แบ่งกลุ่ม ออกเป็น 5 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะมีโจทย์ที่ต้องช่วยกันระดมความคิด ดังนี้

  • เมื่อแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดเสร็จแล้ว ให้นำกระดาษของแต่ละกลุ่มไปติดไว้ข้างฝา แล้วใช้ระบบ เวิลค์คาเฟ่ เดินแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแต่ละกลุ่มจากนั้นวิทยากร ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอ โดย

  • ความคาดหวังของการเข้าร่วมโครงการ
    • ต้องการมีงบประมาณเพื่อเข้ามาพัฒนาหมู่บ้าน
    • ต้องการให้คนในชุมชนมีส่วนร่วม
    • ต้องการให้มีความสามัคคีเกิดนั้นขึ้นในหมู่บ้าน
    • ต้องการให้คนในชุมชนมีความเข้มแข็ง
    • ต้องการให้คนในชุมชนมีความรู้มากขึ้น เช่น โรคความดัน เบาหวาน
    • คนในชุมชน มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในด้านสุขภาพ
    • คาดว่าเสร็จโครงการนี้แล้ว จะมีโครงการต่อเนื่อง
  • สิ่งที่เกินความคาดหวัง
    • จากการขัดแย้งในหมู่บ้าน พอมีโครงการเกิดขึ้น ทำให้เิกิดความสามัคคีในหมู่บ้าน
    • ความขัดแย้งน้อยลง
    • ทำให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • สิ่งที่เกิดขึ้นจริง
    • สิ่งที่ปรับปรุงตามโครงการ มี สมบูรณ์ เรียบร้อย
    • การให้ความร่วมมือของประชาชน ยังน้อย
    • ประชาชน ( บางส่วน )ยังไม่เห็นความสำคัญของการรวมกลุ่ม ประชุม
    • ถ้ามีการเรียกประชุม ต้องมีของแจก
    • ผู้นำชุมชน ขาดประสิทธิภาพ ในการนำชุมชน
  • ปัญหา อุปสรรค
    • ไม่ให้ความร่วมมือ
    • ไม่โปร่งใสในการทำงาน
    • ยึดประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก
    • การประชาสัมพันธ์ ไม่ถั่วถึง ( การแจ้งเตือน )
    • ขาดความสามัคคี
    • ผู้นำหมู่บ้านขาดประสิทธิภาพ ในการนำชุมชน
    • รู้เรื่องแล้วทำเฉย
  • ข้อเสนอแนะ
    • อยากให้มีความโปร่งใสในหมู่บ้าน
    • อยากให้ประชาชนในหมู่บ้านมีความสามัคคีกันมากขึ้น
    • ให้ผู้นำหมู่บ้านเข้มงวดในเรื่องเศรษฐกิจ
    • เพิ่มพัฒนาศักยภาพของผู้นำ
    • เมื่อทุกกลุ่มนำเสนอ วิทยากรได้สรุปผลจากการดำเนินการอีกครั้ง
  • เวลา 16.00 ปิดการประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการได้ร้วมกันสรุปผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา
  • คณะทำงานโครงการได้ร่วมกันวางแผนการทำงานในระยะต่อไป
  • ได้ข้อคิดและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปสู่การจัดการระยะถัดไป
  • ทำให้เห็นว่าทุกคนให้ความสำคัญของการดำเนินกิจกรรมในแต่ละครั้ง
  • คณะทำงานได้ร่วมกันถอดบทเรียน จำนวน 30 คน เป็นเวลา 1 วัน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 106 ตุลาคม 2559
6
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานและร่วมกันขับเคลื่อนงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 6 ตุลาคม 2557 เวลา 13.30 น.อาคารเอนกประสงค์บ้านวังช่อนชัย ม.17 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล จัดประชุมสภาหมู่บ้าน ครั้งที่ 10 นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน เป็นผู้เปิดประชุม ได้ชี้แจงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้กับทีมสภาผู้นำทราบคือ
  1. เรื่องการขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่ปลูกข้าวในปีนี้ ทางสำนักงานเกษตรได้ฝากประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่ปลูกข้าวได้ทำการลงทะเบียนผู้ปลูกข้าว เพื่อเข้าโครงการช่วยเหลือชาวนาไร่ละ 1,000 บาท และสามารถติดต่อสอบถามได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอละงูในวันและเวลาราชการ
  2. การคัดเลือกอาสาสมัครผู้ประสานงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีระดับหมู่/ชุมชน โดยมีกำหนดให้หมู่บ้าน/ชุมชนละ 1 คน ช่วยประชาสัมพันธ์ให้ผู้ที่เป็นสมาชิกกลุ่มสตรี ให้เข้าร่วมประชุมเพื่อทำการประชาคมด้วย
  3. แจ้ง อสม. ทุกท่านให้เข้าร่วมประชุมพร้อมเพรียงกันในวันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม 2559 นี้ด้วย ณ รพ.สต บ้านในเมือง
  4. ผู้ที่มีรายชื่อการขึ้นทะเบียนการทำนาแล้ว ให้มาลงชื่อรับรองยืนยันว่าได้มีการทำนาอยู่ ที่บ้านผู้ใหญ่
  5. การดำเนินกิจกรรมโครงการ "มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรยนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย" และตอนนี้ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมมาโดยตลอดทำให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในชุมชนมากขึ้น เกิดการพบปะกันของคนในชุมชน เป็นสิ่งที่ดี ที่คนในชุมชนหันมาให้ความสำคัญกับกิจกรรมต่างๆ และหวังว่าชุมชนของเราจะได้รับความร่วมมือแบบนี้ตลอดไป

- เวลา 16.00 น. นางสาวพัชริดา โสธามาด ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวสรุปการประชุมในครั้งนี้ และกล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ปิดการประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานได้แสดงความคิดเห็น
  • มีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน รับผิดชอบงานของแต่ละฝ่าย
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านและแกนนำร่วมภาคีได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของชุมชน และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารรวมทั้งสถานณ์การต่างๆในชุมช
  • มีการประชุมชี้แจงตามระเบียบวาระให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยฯ
  • ส.อบต
  • อสม
  • ตัวแทนกลุ่มองค์กร
  • คณะกรรมการมัสยิด
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้3 ตุลาคม 2559
3
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ความสำคัญของการจัดการระบบสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะด้านสุขภาพ ระดับพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 3-5 ตุลาคม 2559 ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติ 60 ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา ร่วมงานสร้างสุขภาคใต้
  • วันที่ 3 ตุลาคม เวลา 12.00-13.00 น.มีการแสดงโขน และพิธีเปิด โดยร่วมกันร้องเพลงชาติไทย กล่าวต้อนรับ นายทรงพล สวาสดิ์ธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา และกล่าวพิธีเปิด โดยนายแพทย์วีระพันธ์ สุพรรณไชยมาตร์ รองประธานคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เวลา 13.30-15.00 มีการปาฐกถา เรื่องบทบาทของประเทศไทยในการเป็นผู้นำการพัฒนานวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพในภูมิภาคอาเซียนโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี จากนั้นมีการเสวนาเรื่องมุมมองใหม่ในการพััฒนาระบบสุขภาพในอนาคตการพัฒนาที่มุ่งเน้นการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญโดยเฉพาะการพัฒนาในด้านอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในช่วง4ทศวรรษที่ผ่านมาเป็นการพัฒนาที่ก่อให้เกิดผลกระทบและความเสียหายต่อทรัพยากรโลกเป็นอย่างมากเมื่อปี2543ดังนั้นเพื่อให้เกิดความต่อเนื่ององค์การสหประชาชาติจึงได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาขึ้นใหม่โดยอาศัยกรอบความคิดที่มองการพัฒนาเป็นมิติของเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีความเชื่อมโยงเรียกว่าเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะใช้เป็นทิศทางการพัฒนาตั้งแต่เดือนกันยายนปี2558ถึงเดือนสิงหาคม2573 ครอบคลุมระยะเวลา15ปีโดยประกอบไปด้วย17เป้าหมายคือองค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน17เป้าหมายหลักเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมิติสุขภาวะของโลกและประเทศไทย
  • วันที่ 4 ตุลาคม 2559 เวลา 09.00-17.00 น.ประชุมห้องย่อย สานพลังขับเคลื่อนชุมชนน่าอยู่ สู่นโยบายสาธารณะ ชมวิดีทัศน์การขับเคลื่อนงานชุมชนน่าอยู่ หลังจากนั้นมีการเสวนา เรื่อง สานพลังชุมชนน่าอยู่สู่สาธารณะโครงการสร้างคนรักษ์สิ่งแวดล้อมที่บ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชันสน จังหวัดพัทลุง โดยผู้ใหญ่บ้านทุ่งยาว นายกเทศมนตรีตำบลโคกม่วง สำนักงานปฏิรูปที่ดินจังหวัดพัทลุง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง เลขานายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดพัทลุง จากนั้นมีการแสดงโขนคน ตอน เชิดพระอิศวร และต่อมาได้มีการนำเสนอกรณีศึกษา ในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นการจัดการจัดการขยะ ประเด็นเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็นเด็กและเยาวชน ประเด็น การจัดการทรัพยากรและการท่องเทียว และประเด็นการจัดการสุขภาพและอาหารปลอดภัย
  • วันที่5ตุลาคม2559เวลา10.30-11.45น.หัวข้อเสวนาการขับเคลื่อนระบบสุขภาพของประเทศไทยสู่การเป็นผู้นำภูมิภาคอาเซียนภาคใต้มีกระบวนการขับเคลื่อนงานสุขภาพของประชาชนในพื้นที่โดยในทุกๆปีจะมีการจัดงานสร้างสุขภาคใต้ปีละครั้งมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2549กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อที่หลากหลายโดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในระดับภูมิภาคอาเซียนและระดับประเทศมาเป็นวิทยากรนอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดนิทรรศการการประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยของบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐอาจารย์นักวิจัยนักศึกษาระดับบัณฑิตอาสาและบุคคลผู้สนใจทั่วไปการประชุมห้องย่อยตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ซึ่งประเด็นสำคัญที่เป็นวิกฤตสุขภาพได้แก่
  • ความมั่นคงทางมนุษย์
  • ความมั่นคงทางอาหาร
  • ความมั่นคงทางทรัพยากร
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดงาน ของสสส.
  • ได้เรียนรู้ตัวอย่างดีของโครงการชุมชนน่าอยู่ ของจังหวัดต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

-ไม่มี

พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามและดำเนินการจัดทำรายงาน เอกสารการเงิน1 ตุลาคม 2559
1
ตุลาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานก่อนปิดงวดโครงการ งวดที่ 2
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ดำเนินการตรวจสอบรายงานกิจกรรมโครงการและ ตรวจสอบเอกสารเงินก่อนปิดงวด 2
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดเรียงเอกสารการเงินแต่ละกิจกรรมครบถ้วน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
จัดสภาอาซูรอฮ.ครั้งที่ 312 กันยายน 2559
12
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 12 กันยายน 2559 เวลา 09.00 น. ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย คณะทำงานโครงการ คณะกรรมการมีสยิด ครูโรงเรียนตาดีกา และคนในชุมชนได้ร่วมกันจัดกิจกรรมสภาอาซูรอฮ์ ครั้งที่ 3 ซึ่งมีตระกูล สองเมือง ตระกูลโสธามาด และตระกูลกูลดีน ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการจัดสภาอาซูรอฮ์ ครั้งนี้
  • โดยมี นายอำสอด โสธามาด โต๊ะอีหม่าม และนายดี บุตรา คอเต็บ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย เป็นวิทยากร บรรยายเรื่อง "วันฮารีรายออีดิลอัฎฮา" และบรรยายเรื่อง "กรุบาน"
  • วิทยากรเริ่มบรรยาย "อีดิ้ลอัฎฮา" ภารกิจการทำฮัจญ์ ศูนย์รวมแห่งศรัทธามุสลิมทั่วโลกซุลหิญญะฮฺ เป็นเดือนสุดท้ายของปีฮิญเราะฮฺศักราชหรือปฏิทินอิสลาม (ปีนี้ตรงกับ1 -30 มกราคม 2549) หมายถึง เดือนแห่งการทำฮัจญ์ ซึ่งบรรดามุสลิมทั่วโลกที่มีความสามารถไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักกะฮฺประเทศซาอุดิอารเบียและมุสลิมทุกคนรอคอยการมาเยือนของวัน อีดิ้ลอัฎฮา(ฮารีรายอหะยี) ดังนั้นเดือนนี้จึงเป็นเดือนที่ยิ่งใหญ่และ ประเสริฐอีกเดือนหนึ่ง เดือนนี้มุสลิมผู้เคร่งศาสนาโดยเฉพาะผู้สูงอายุชาวใต้ที่ไม่มีโอกาสไปทำฮัจญฺ์

  • วันอีดิ้ลอัฎฮาตรงกับวันที่10เดือนซุลฮิญญะห์ วันตรุษอีดิ๊ลอัฎฮาเป็นคำภาษาอาหรับมาจากคำว่า อีดแปลว่า รื่นเริงเฉลิมฉลอง และอัฎฮา แปลว่า เชือดสัตว์พลีทาน
    ดังนั้นวันตรุษอีดิ๊ลอัฎฮาจึงหมายถึงวันเฉลิมฉลองการเชือดสัตว์เพื่อพลีทาน ภารกิจและข้อควรปฏิบัติในวันตรุษาอีดิลอัฎฮา (ซึ่งคล้ายกับวันอีดิ้ลฟิตรี)
  • ภารกิจก่อนละหมาด
    • การตักบีร(สรรเสริญความยิ่งใหญ่ต่ออัลลอฮ์ตลอดเวลา)ดังที่อัลลอฮ์ได้ดำรัสในอัลกุรอ่านความว่า“และท่านทั้งหลายจงกล่าวตักบีรอย่างกึกก้องต่อพระองค์”
    • อาบน้ำและทำความสะอาดร่างกายก่อนสวมใส่เสื้อผ้าไปยังสถานที่ละหมาดพร้อมทั้งขจัดขนของอวัยวะเพศขนรักแร้ตัดเล็บและขจัดกลิ่นกาย
    • แต่งกายด้วยอาภรณ์ที่สวยงามพร้อมทั้งใช้น้ำหอมยกเว้นสตรี
    • รับประทานอาหารเบาก่อนที่จะไปละหมาด 1.ไปยังสถานที่ละหมาดตั้งแต่เช้าโดยเฉพาะมะมูม(ผู้ตามละหมาด)ด้วยวิธีดังต่อไปนี้(สมควรแต่ไม่ใช่เป็นการบังคับ)
    • ออกไปและกลับด้วยการเดินเท้า
    • การเดินไปและกลับจากการละหมาดควรใช้เส้นทางต่างกัน 2.กล่าวสรรเสริญความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ตลอดเวลาขณะเดินทาง
      ทิศทางการละหมาดมุสลิมทั่วโลกจะหันหน้าไปทาง นครมักกะฮฺโดยมีศูนย์กลาง ณ ที่ตั้งหินกาบะ ซึ่งมุสลิมจากทั่วโลกเดินทางไปร่วมพิธีฮัจ
  • ภารกิจหลังละหมาดอีด ทุกคนต้องฟังคุตบะห์จากนั้นทุกคนต่างก็แสดงความยินดีปรีดาต่อกันขออภัยต่อกันในสิ่งที่ได้ล่วงละเมิดทั้งโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม จากนั้นควรบริจาคทานกับเด็กคนชราหรือใครๆ ก็ได้ที่ตัวเองประสงค์จะทำทานออกไปเยี่ยมเยียนซึ่งกันและกันอาจจะจัดกิจกรรมบนเวทีให้กับเด็กๆเพื่อมอบความสุขให้กับเขาเหล่านั้นและที่สำคัญทีสุดคือเชือดสัตว์พลีทาน(กุรบ่าน) ผู้ที่อยู่ในฐานะที่จะทำได้ไม่ควรละเลยข้อปฏิบัตินี้อย่างน้อยก็สักครั้งหนึ่งในชีวิตจากท่านอิบนี่อับบาสเล่าว่าท่านรอซู้ลลุลเลาะฮ์หรือศาสดาทรงกล่าวว่าในวันอีดิ้ลอัฎฮาไม่มีการภักดีใดๆของมนุษย์จะเป็นที่โปรดปรานรักใคร่ของอัล ลอฮ์ดียิ่งไปกว่าการทำกุรบ่านการทำกรุบาน วันฮารีรายออีดิลอัฎฮา
  • กุรบาน หมายถึง การเชือดสัตว์พลีเพื่ออัลลอฮฺในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองวันเทศกาลอีดุลอีฎฮา อันเป็นวันที่มุสลิมทั่วโลกเฉลิมฉลองแสดงความยินดีแก่มุสลิมจากส่วนต่าง ๆ ของโลกได้มีโอกาส ไปประกอบพิธีฮัจญ์ ณ นครมักก๊ะฮฺ ประเทศซาอุดิอารเบีย วันทำกุรบานจึงตรงกับวันที่ 10 เดือนซุลฮิจญะฮฺ
    หลังจากสมัยนบีอิบรอฮีม การกุรบานได้ผิดไปจากเจตนารมณ์และการปฏิบัติดั้งเดิม กล่าวคือพวกชาวอาหรับ ก่อนหน้าสมัยท่านนบีมุฮัมมัด บางพวกได้เชือดสัตว์พลีของจริงอยู่ แต่เจตนาในการเชือดนั้นเพื่อเป็นการ เซ่นสรวงเทวรูปที่พวกตนเคารพสักการะและเอาเลือดของสัตว์ที่ตนเชือดนั้นสาดไปที่กำแพงก๊ะอฺบ๊ะฮฺ ส่วนเนื้อก็แจกให้คนจนเอาไปกิน มาถึงสมัยของท่านนบีมุฮัมมัด หลังจากที่ได้ยึดนครมักก๊ะฮฺ และทำลายเทวรูปบูชารอบก๊ะอฺบ๊ะฮฺลงจนหมดสิ้น แล้วท่านก็ได้ปฏิรูปการทำฮัจญ์ให้กลับสู่แนวทาง ที่ถูกต้อง การทำกุรบานซึ่งเป็นหนึ่งในข้อปฏิบัติของการทำฮัจญ์ก็ได้ถูกปฏิรูปให้กลับเข้าสู่เจตนาเดิมและวิธีการ ปฏิบัติที่แท้จริงของมัน นั่นคือ การอุทิศให้แก่อัลลอฮฺ
  • เงื่อนไขของการทำกรุบาน
    • สัตว์พลีที่จะนำมาเชือดนั้นต้องเป็นสัตว์ที่สมบูรณ์และมีลักษณะที่ดี ห้ามมิให้นำสัตว์เจ็บป่วย เป็นโรคหรือสัตว์ที่มีลักษณะพิกลพิการมาทำกุรบาน
    • ก่อนลงมือเชือดสัตว์ ผู้เชือดจะต้องกล่าวนามของอัลลอฮฺว่า "บิสมิลลาฮิ อัลลอฮุอักบัร" (แปลว่า "ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงยิ่งใหญ่") ซึ่งเป็นคำที่จะต้องกล่าวก่อนการเชือดสัตว์ทุกครั้ง
    • จะต้องไม่เชือดสัตว์ก่อนการนมาซอีดุลอัฎฮา การเชือดสัตว์ก่อนการนมาซอีดุลอัฎฮา จึงไม่ถือว่าเป็นการทำกุรบานและมีข้อแนะนำว่า การทำกุรบานควรจะทำทันที่หลังจากที่นมาซอีดุลอัฎฮา เสร็จทั้งนี้เพื่อที่จะได้นำเนื้อสัตว์มาทำอาหารเช้า
    • สัตว์ที่จะนำมาทำกุรบานอาจเป็นแพะ แกะ วัว หรืออูฐตัวผู้หรือตัวเมียก็ได้ แต่ห้ามนำสัตว์ตัวเมียที่ทั้งท้อง หรือเพิ่งคลอดลูกมาทำกุรบาน อายุของสัตว์ที่มาทำกุรบาน ถ้าเป็นแกะต้องอายุเกิน 6 เดือน แพะต้องมีอายุ 1 ปี วัวต้องมีอายุ 2 ปี ขึ้นไปและอูฐต้องมีอายุ 5 ปีขึ้นไป
    • มุสลิมสามารถเข้าหุ้นกัน 7 คนในการทำกุรบานวัวหรืออูฐหนึ่งตัว ส่วนแพะหรือแกะนั้นทำกุรบานได้ 1 ตัวต่อ 1 คน
    • เนื้อของสัตว์กุรบานจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนหนึ่งให้นำไปแจกจ่ายแก่คนยากจน ส่วนที่สองให้นำไปแจกจ่ายแกฐาติพี่น้องและเพื่อน ๆ และส่วนที่สามจะเก็บเอาไว้กินในครอบครัวของตัวเอง ก็ได้ ห้ามนำเนื้อ หนัง กระดูกและเขาของสัตว์ไปขาย แต่ให้นำไปบริจาคเป็นทานให้หมด
    • มีข้อแนะนำหรือแบบอย่างจากท่านนบีมุฮัมมัดว่าคนที่จะเชือดสัตว์กุรบานด้วยตัวเองนั้น ไม่ควรโกนหนวดเคราหรือตัดผมหรือตัดเล็บก่อนลงมือเชือดสัตว์ในวันอีดุลอัฎฮา การเชือดสัตว์กุรบานสามารถกระทำต่อจากวันอีดุลอัฎฮาได้ถึงสามวัน คือวันที่ 11, 12, 13 ของเดือนซุลฮิจญะฮฺ ซึ่งวันทั้งสามนี้เรียกว่าวัน "ตัชรีก" คำว่า "กุรบาน" นี้มีปรากฎอยู่แม้แต่ในคัมภีร์ไบเบิลพันธสัญญาใหม่ในคำว่า "โกระบาน" ซึ่งแปลว่า "ของถวายแด่พระเจ้า" มีการปฏิบัติอย่างไร เช่น การอาบน้ำเนื่องในวันฮารีรายอ การละหมาด การไปเยี่ยมกุโบร์ คือ การไปเยี่ยมญาติพี่น้องที่ได้เสียชีวิตไปแล้ว เมื่อไปแล้วก็อ่านยาซีนให้แก่ผู้ที่เสียชีวิต เพื่อให้ได้รับผลบุญที่ดีจากอัลลอฮ์ (ซ.บ) และการให้สลาม คือ การขออภัยซึ่งกันและกัน เช่น ลูกสลามกับพ่อแม่ในสิ่งที่เคยทำผิดพลาดมาทั้งหมด ไปเยี่ยมบ้านญาติพี่น้องขอสลามต่อกันและกัน และ วันฮารีรอยอถือเป็นวันรวมญาติกัน เพราะญาติๆต่างมาพบกันพร้อมหน้าพร้อมตา เลี้ยงอาหารกัน ซึ่งวันฮารีรายอถือเป็นวันที่มีความสุขที่สุดของชาวมุสลิม
  • เวลา 10.00 น. กิจกรรมการขับร้องอัลนาเชด และ การอาซานของนักเรียนศูนย์ตาดีกา
  • เวลา 11.30 น. ผู้ใหญ่บ้านมอบรางวัลให้แก่นักเรียนศูนย์เพื่อเป็นของขวัญและกำลังใจแก่นักเรียน และให้สลามแก่กันและกัน เพื่อขออภัยและให้อภัยในสิ่งที่เคยทำผิดพลาดกันมา
  • เวลา 12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยงพร้อมกัน และละหมาดร่วมกัน
  • เวลา 15.30 น. ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวขอบคุณทุกคนในชุมชนที่ให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรม ปิดกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม โดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง
  • คนในชุมชนเกิดสัมพันธ์ที่ดีกันมากขึ้น
  • มีความรัก ความสามัคคีกันทั้งเด็ก และผู้ใหญ่
  • คนในชุมชนได้ให้สลามกัน ให้อภัยซึ่งกันและกันในสิ่งที่เคยผิดพลาดกันมา
  • คนในชุมชนได้เห็นถึงความสามารถของลูกหลาน ในหมู่บ้าน
  • ลดความแตกแยกของคนในชุมชน
  • คนใชุมชนเกิดความสนุกสนานกันในกิจกรรม
  • ลูกหลานในชุมชนได้รู้จักกันมากขึ้นเพื่อลดปัญหาความแตกแยก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 85 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยฯ
  • ส.อบต
  • ผู้นำศาสนา
  • คณะกรรมการมัสยิด
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • องค์กรในหมู่บ้าน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 97 กันยายน 2559
7
กันยายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเป็นกลไลการขับเคลื่อนงานของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 7 กันยายน 2559 เวลา 14.00 น.ณ มัสยิดนุรุมาลสะอะดะห์ ม.17 บ้านวังช่อนชัย จัดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 9 โดยมี นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการ เป็นผู้เปิดประชุม กล่าวต้อนรับ คณะทำงานทุกท่าน และนายสถิตย์ นุ้ยโส๊ะ ได้ชี้แจงวาระระการประชุมดังนี้

    เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบขึ้น

  • โครงการช่วยเหลือชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 10 ไร่ ให้เกษตรกรแจ้งได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอละงู

  • แจ้งสถานการณ์ไข้เลือดออกซึ่งทางหมู่บ้านขณะนี้ไม่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว แต่ประชาชนก็ต้องช่วยกันดูแลกำจัดแหล่งลูกน้ำยุงลาย เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดอีกครั้ง
  • กองทุนหมู่บ้าน ให้ผู้กู้รายเก่ามาชำระเงินของทุกวันที่ 1 ของเดือน ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านวังช่อนชัย ต.ละงู

เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน

  • การจัดกิจกรรมวันฮารีรายอ โดยจะมีกิจกรรมคือ การอ่านอัลนาเชดของนักเรียนศูนย์ตาดีกาบ้านวังช่อนชัย การประกวดอาซานของนักเรียนศูนย์ตาดี การบรรยายเรื่องวันฮารีรายออีดิลอัฎฮา โดยให้ครูผู้สอนนักเรียนตาดีกาเป็นผู้รับผิดชอบนักเรียนในการทำกิจกรรม เรื่องการทำกรุ-บาน ที่มัสยิด
  • ทางคณะกรรมการมัสยิดจะทำกรุ-บานในวันที่ ๒ ของวันฮารีรายา เนื่องจาก วันแรกของวันฮารีรายอมีกิจกรรมเยอะจึงทำให้เวลาไม่ทัน
  • การขึ้นทะเบียนสวนยางพาราที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ สำหรับเกษตรกรที่มีสานยางพาราที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ สารารถมารับเอกสารได้ ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน และจะมีเจ้าหน้าที่การยางแห่งประเทศไทยอำเภอละงู จะลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อรับแจ้งข้อมูล
  • ผู้ประสานงานโครงการชี้แจง การจัดกิจกรรม สภาอาซูรอฮ์ครั้งที่ 3 ของโครงการมัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ซึ่งครั้งนี้จะจัดร่วมกับงานวันฮารีรายอ มีการประกอบอาหาร รับประทานอาหารร่วมกัน การฟังการบรรยาย โดย เชิญ นายอำสอด โสธามาด โต๊ะอีหม่ามประจำมัสยิดบ้านวังช่อนชัย เป็นวิทยากรในการบรรยายเกี่ยวกับวันอารียออิดิลอัฎฮา พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ ความรับผิดชอบการดำเนินงานให้แต่ละฝ่าย เพื่อนำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
    • เวลา 15.30 น. นายสถิตย์ นุ้ยโส๊ะ ตัวแทนคณะกรรมการหมู่บ้านได้สรุปกิจกรรมที่ผ่านมา และได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ปิดการประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 35 คน
  • ผู้เข้าร่วมประชุมเกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
  • มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้งที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
  • มีการพัฒนาสภาให้มีความรับผิดชอบ มีความเข้มแข็ง มีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยฯ
  • คณะกรรมการมัสยิด
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • คณะทำงานโครงการ
  • ส.อบต
  • อสม
  • ครูสอนตาดีกา
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พัฒนาศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน โดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง31 สิงหาคม 2559
31
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้คนในชุมชุนได้ทำกิจกรรมพบปะแลกเปลี่ยน พูดคุยกัน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 31 สิงหาคม - 3 กันยายน 2559ได้จัดกิจกรรม พัฒนาศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน โดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลางเพื่อให้มีพื้นที่กลางในการพบปะพูดคุย แลกเปลี่ยน และการขับเคลื่อนงานของชุมชน โดยมี ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วย ส.อบต อสม. คณะกรรมหมู่บ้าน คณะกรรมการมัสยิด คณะทำงานโครงการ และคนในชุมชน ได้ร่วมกัน พัฒนา บริเวณ สระน้ำประจำหมู่บ้าน อาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน และมัสยิด เพื่อให้เป็นศูนย์เรียนรู้ของหมู่บ้าน ให้คนในชุมชนได้มีสถานที่ ผักผ่อน พบปะพูดคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ของคนในชุมชน ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่ง มีการตัดหญ้าบริเวณรอบๆสระน้ำ ปลูกต้นไม้รอบๆสระน้ำ เช่น ต้นมะละกอ ต้นมะพร้าว ต้นขนุน ตะไคร้ ข่า เป็นต้น พัฒนาอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ก่อสร้างเพิ่มเติมบริเวณที่ยังทำไม่เสด กวาดขยะทั้งข้างในและข้างนอกอาคาร ปรับพื้นที่รอบๆอาคารให้ดูสวยงาม และช่วยกันทาสีภายนอกตัวอาคารเอนกประสงค์และพัฒนามัสยิดบ้านวังช่อนชัย มีการตัดแต่งกิ่งต้นไม้รอบๆมัสยิด ตัดหญ้าข้างๆมัสยิด กวาดขยะทั้งในและนอกมัสยิด ล้างห้องน้ำ ล้างพื้นมัสยิดด้านนอก และทำความสะอาดสถานที่อาบน้ำละหมาด ตลอดกิจกรรมผู้หญิงส่วนหนึ่งก็ได้ร่วมกันประกอบอาหาร รับประทานอาหารร่วมกัน เมื่อเสร็จกิจกรรมในทุกวัน คนในชุมชนก็ได้มานั่งพูดคุยกัย มีการผลัดเปลี่ยนกัน มาดูแลต้นไม้ที่ปลูกไว้
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ชุมชนมีพื้นที่กลางในการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนกัน
  • มรการขับเคลท่อนงานของชุมชนโดยใช้มัสยิดเป็นศูนย์กลาง
  • มีสระน้ำประจำหมู่บ้านที่ร่มรื่นย์ไว้สำหรับผักผ่อน หย่อนใจ และเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชน
  • มีผักปลอดสารพิษ ผักสวนครัวสามารถนำไปบริโภคได้ทุกครัวเรือน
  • มีสถานที่ที่จัดกิจกรรมหรือจัดประชุมประจำหมู่บ้านที่สะอาด
  • มีสถานที่ที่ปฏิบติศาสนกิจขอคนในชุมชนที่สะอาด
  • ทุกคนให้ความร่วมมือในการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนตระกูลนำร่อง
  • คนในชุมชน
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • ส.อบต
  • อสม
  • คณะกรรมมัสยิด
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ในแต่ละวันที่ทำกิจกรรม แต่ละวันมีจำนวนคนมามากมาน้อยแล้วแต่ความสะดวกของคนในชุมชน
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
เวทีทบทวนกติการ่วมของชุมชน ม.17 บ้านวังช่อนชัย27 สิงหาคม 2559
27
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 27 สิงหาคม เวลา 10.00 น. ณ อาคารเอนกประสงค์ ประจำหมู่บ้าน บ้านวังช่อนชัย หมู่ที่ 17 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล ได้จัดกิจกรรมทบทวนกติกาหมู่บ้าน ให้ทันสมัยมากขึ้น โดยมี นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน และกล่าวต้อนรับ นางสมปอง บุญฤทธิ์ พัฒนากรปรตำะจำบลละงู อำเภอละงู จังหวดสตูล ได้ร่วมกันทบทวนกติกาของหมู่บ้าน โดยมีคณะกรรมการหมู่บ้าน คณะกรรมการมัสยิด อสม. ได้ร่วมกันกำหนดกติกาหมู่บ้าน โดยที่กติกาหมู่บ้านและกติกาของมสยิดจะใช้ร่วมกัน
  • จากนั้นวิทยากรได้สรุปกฎกติกาหมู่บ้านที่ได้จากการทำประชาคมประกาศให้คนในชุมชนรับทราบ และกำหนดวันเริ่มบังคับใช้ ซึ่งกฎกติกาหมู่บ้านที่บังคับใช้นั้นได้รับการลงนามรับรองจากผู้ใหญ่บ้านซึ่งถือว่าเป็นกฎระเบียบ และเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อให้คนในชุมชนยึดถือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบของคนในชุมชน ป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงของคนในชุมชน

  • เวลา 15.30 น. ประธานโครงการได้กล่าวขอบคุณวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ปิดประชุมพร้อมรับประทานอาหารว่าง

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้กติการ่วมของชุมชนที่มีความครอบคลุมมากขึ้น
  • คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกาของชุมชน
  • ชุมชน ม.17 บ้าวังช่อนชัยได้มีกติการ่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนงานเพื่อนำไปสู่ชุมชนน่าอยู่
  • ที่ประชุมได้ร่วมกันเสนอดกติกาหมู่บ้านดังนี้
    • ห้ามการพนันทุกชนิดมาเล่นในหมู่บ้าน
    • ไม่ให้ร้านค้า ขายสุรา บุหรี่ ให้แก่เด็กและเยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี หากฝ่าฝืนจะถูกปรับโดยกรรมการหมู่บ้านคนละ 300 บาท
    • ประชาชนทุกครัวเรือนต้องร่วมกิจกรรมของหมู่บ้าน
    • ห้ามนำยาเสพติดมาจำหน่าย หรือเสพยาเสพติดในหมู่บ้าน
    • ห้ามปล่อยสัตว์เลี้ยง เช่น วัวหรือแพะไปกินยางพารา หรือ กินพืชต่างๆของผู้อื่น
    • การกู้ยืมเงินของกองทุนหมู่บ้านจะต้องชำระตามเวลาที่กำหนด
    • จะต้องช่วยเหลือกันเมื่อเกิดภัยภิบัติในหมู่บ้าน
    • ช่วยกันสอกส่องดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้าน
    • การรักษาความสงบ ให้ชุด ชรบ.หมู่บ้านมีการจัดเวรยามหรือลาดตระเวนในหมู่บ้าน อย่างน้อย สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
    • ฎระเบียบดังกล่าวข้างต้น สามารถเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงได้ในวันประชุมประจำเดือน หรือตามที่คณะกรรมการหมู่บ้าน เห็นสมควรเป็นเรื่องไป
    • ให้คณะกรรมการหมู่บ้าน เป็นผู้ดูแลและบังคับใช้ ในการถือปฏิบัติตามกฎระเบียบ ของหมู่บ้าน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ส.อบต
  • ผู้นำศาสนา
  • กรรมการมัสยิด
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • คนในชุมชน
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
อบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางพันธุกรรมในการหาวิธีการป้องกัน24 สิงหาคม 2559
24
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้7ตระกูลนำร่องได้เข้าใจถึงโรคติดต่อทางพันธุกรรม การปฏิบัติตัวและการหาวิธีป้องกัน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่24 สิงหาคม 2559 เวลา 09.00 น.จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เรื่องโรคติดต่อทางพันธุกรรม เกี่ยวกับโรคความดันเบาหวาน โดยมีนางสาวอรทัย อุสมา เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านในเมือง ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นวิทยากรให้ความรู้
  • เวลา 09.30 น.นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร จากนั้นวิทยากรได้เริ่มการอบรม ในหัวข้อ ให้ความรู้ 3อ 2ส ร่วมกับปิงปอง 7 สี โดยได้อธิบายสถานการณ์ของโรคความหมายของโรคความดัน โรคเบาหวาน ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้เข้าใจ ว่ามีลักษณะ อาการอย่างไร ที่แสดงให้เห็นว่า เป็นโรคความดัน เบาหวาน จากนั้น วิทยากรให้ผู้เข้าร่วมอบรม ทำกิจกรรมผ่อนคลายกัน โดยให้ยืนแล้วให้เหยียดแขนเหยียดขา พักรับประทานของว่าง
  • เวลา 10.45 น.วิทยากรอธิบายปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดัน เบาหวานประวัติครอบครัว ถ้าปู่ บิดา มารดาเป็นความดันโลหิตสูง โอกาสที่บุตรจะมีความดันโลหิตสูงมีมาก ดังนั้นคุณผู้อ่านที่มีคุณพ่อ แม่เป็นความดันโลหิตสูง ควรมั่นตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ อายุ และเพศ วัยก่อนหมดประจำเดือนผู้ชายจะเป็นความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้หญิง เมื่อวัยหมดประจำเดือนผู้หญิงจะเป็นความดันโลหิตมากกว่าผู้ชาย ส่านในคนแก่พบความดันโลหิตสูงพอๆกัน โดยมากมักพบความดันในช่วงอายุ 35-50 ปีน้ำหนัก คนอ้วนพบความดันโลหิตสูงมากกว่าคนผอม และการบริโภคอาหารเป็นต้น
  • เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน ปฏิบัติศาสนกิจ
  • เวลา 13.15 น. วิทยกรให้ความรู้ 3อ 2ส และปิงปองจราจร 7สี โดยใช้ป้ายไวนิลเป็นสื่อในการอธิบายเพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมไดด้เข้าใจมากขึ้น 3อ คือ อ.ที่ 1 คืออาหารรับประทานอาหารครบ 3 มื้อครบทั้ง 5 หมู่ ลดความหวาน มัน เค็ม เพิ่มผักและผลไม้หลีกเลี่ยงอาหารที่ใช้น้ำมันซ้ำหลายๆครั้งกินอาหารหลากหลายไม่ซ้ำจำเจ อ.ที่ 2 คือ ออกกำลังกาย การออกกำลังกายทำให้แข็งแรงอายุยืน ลดการเกิดโรคเรื้อรัง มี 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 อุ่นเครื่อง ประมาณ 5-10 นาที ขั้นที่ 2 ออกกำลังกายอย่างจริงจัง อย่างน้อย 30 นาที ไม่เกิน 1 ชั่วโมง ขั้นที่ 3 เบาเครื่องเป็นระยะผ่อนคลายประมาณ 5-10 นาที ข้อควรระวังใจสั่นแน่นหน้าอกและปวดร้าวไปที่แขนไหล่และคอซีกซ้าย หายใจลำบากรู้สึกเหมือนจะเป็นลม หากมีอาการดังต่อไปนี้ให้หยุดการออกกำลังกายและไปพบแพทย์ อ.ที่ 3 คือ อารมณ์ คนเรามีวิธีคลายเครียดต่างกัน ส่วนใหญ่จะเลือกวิธีที่ถนัด สนใจ ทำแล้ว เพลิดเพลิน มีความสุข เช่นฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์นอนหลับพักผ่อนออกกำลังกาย เต้นแอโรบิกปลูกต้นไม้ เล่นกับสัตว์เลี้ยง พูดคุยพบปะกับเพื่อนฝูง สิ่งสำคัญ คือ เมื่อเครียดไม่ควร สูบบุหรี่ ใช้สารเสพติด เที่ยวกลางคืน เพราะจะทำให้เสียสุขภาพและเสียทรัพย์ได้ 3ส คือ ส.ที่ 1 คือไม่สูบบุหรี่ซึ่งผลเสียของการสูบบุหรี่ก็คือ1.หัวใจขาดเลือดหลอดเลือดหัวใจตีบ 2.เพิ่มโอกาสเป็น มะเร็งปอดมะเร็งกล่องเสียง ปอดอุด ตันเรื้อรัง 3.เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ส.ที่ 2 คือลดการดื่มสุรา เพราะการดื่มสุราทำให้เกิดผลเสียคือ 1.ทำให้ความดันโลหิตสูงเกิดโรคหัวใจ 2.เพิ่มโอกาสเสี่ยง ตับอักเสบตับแข็ง 3.ทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลง 4.เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เพราะฉะนั้นถ้าท่านปฏิบัติตามหลัก 3 อ.2ส.ได้ จะมีร่างกายที่สมส่วน และจะห่างไกลจากโรคเรื้อรังอย่างแน่นอน แล้วให้ผู้ร่วมอบรมได้ถามข้อสงสัย แล้วต่อด้วยการอธิบาย ปิงปอง 7สี คือ กลุ่มปกติ สีขาว มีความดันน้ำตาล ≤ 100 mg/dl ความดัน BP ≤ 120/80 mmHgกลุ่มเสี่ยง สีเขียว FBS = 100-125 mg/dl BP = 120/80 – 139/89 mmHg กลุ่มผู้ป่วยจะมีด้วยกัน 4 สี คือ สีดำ FBS ≤ 125 mg/dl BP ≤ 139 / 89 mmHg สีส้ม FBS = 126-154 mg/dlBP = 140/90 –159/99 mmHg HbA1C 8 % และกลุ่มป่วยมีโรคแทรกซ้อน สีดำ โรคหัวใจ/หลอดเลือดสมอง /ไต /ตา/ เท้า แล้ววิทยากรได้สรุปถึงวิธีการปฏิบัติตัวเพื่อให้ห่างไกลจากโรคความดัน เบาหวาน และให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ซักถาม
  • เวลา 16.00 น. นางาสาวพัชริดา โสธามาด ได้กล่าวสรุปผลการทำกิจกรรม พร้อมกล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมอบรมและวิทยากร ปิดการอบรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ตัวแทนตระกูลทั้ง 7 ตระกูลเข้าใจเกี่ยวกับโรคติดต่อทางพันธุกรรม ( โรคความดัน เบาหวาน )
  • ไ้ดทราบถึงการปฏิตับัติตัวทั้งผู้ที่ป่วยและยังไม่ป่วยของโรคติดต่อทางพันธุกรรม
  • ตัวแทนทั้ง 7 ตระกูลให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 37 คน จากที่ตั้งไว้ 37 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนตระกูล7ตระกูลๆละ 5คน
  • คณะทำงาน
  • อสม
  • วิทยากร
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
จัดสภาอาซูรอฮ.ครั้งที่ 217 สิงหาคม 2559
17
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้คนในชุมชุนได้ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยน พูดคุยกัน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 17 สิงหาคม 2559 เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการ และคณะทำงานโครงการ ได้จัดกิจกรรม สภาอาซูรอฮ์ครั้งที่ 2 ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัยโดย ครั้งนี้ตระกูลขุนนาและตระกูลนาคสง่า เป็นเจ้าภาพ

  • โดยมีวิทยากร นายอำสอด โสธามาด โตะอีหม่าม และ นายดี บุตรา คอเต็บประมัสยิดบ้านวังช่อยชัย ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูลบรรยายเรื่อง "การปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข" เพื่อให้ประชาชนได้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
  • นายสมนึก เส็นนิ่ง ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวต้อนรับวิทยากรและคนในชุมชน
  • จากนั้น วิทยากรได้นำกล่าวดุอาแก่ผู้รับฟัง และเริ่มการบรรยายในหัวข้อ "การปฏิบัติตามหลักธรรมเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข"
  • ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาเอกเทวนิยมและศาสนาอับราฮัม บัญญัติไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน คัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามซึ่งสาวกถือว่าเป็นพระวจนะคำต่อคำของพระเป็นเจ้า (อัลลอฮฺ) และสำหรับสาวกส่วนใหญ่ เป็นคำสอนและตัวอย่างเชิงบรรทัดฐาน (เรียกว่า สุนัต และประกอบด้วยหะดีษ) ของมุฮัมมัด (ประมาณ 570–8 มิถุนายน 632) ซึ่งสาวกมองว่าเป็นศาสดา (นบี) องค์สุดท้ายของพระเป็นเจ้า สาวกของศาสนาอิสลาม เรียกว่า มุสลิม

มุสลิมเชื่อว่า พระเจ้าเป็นหนึ่งและหาที่เปรียบไม่ได้ และจุดประสงค์ของการดำรงอยู่ คือ เพื่อรักและรับใช้พระเป็นเจ้า มุสลิมยังเชื่อว่า ศาสนาอิสลามเป็นบรรพศรัทธาฉบับสมบูรณ์และเป็นสากลที่สุดซึ่งได้ประจักษ์มาหลายครั้งก่อนหน้านั้น ผ่านศาสดาซึ่งรวมอาดัม โนอาห์ อับราฮัม โมเสส และพระเยซูพวกเขายึดมั่นว่า สารและวิวรณ์ถูกแปลผิดหรือเปลี่ยนแปลงบางส่วนตามกาล[4] แต่มองว่าอัลกุรอานภาษาอาหรับเป็นทั้งวิวรณ์สุดท้ายและไม่เปลี่ยนแปลงของพระเป็นเจ้า มโนทัศน์และหลักศาสนามีเสาหลักทั้งห้าของอิสลาม ซึ่งเป็นมโนทัศน์พื้นฐานและการปฏิบัติตนนมัสการที่ต้องปฏิบัติตาม และกฎหมายอิสลามที่ตามมา ซึ่งครอบคลุมแทบทุกมุมของชีวิตและสังคม โดยกำหนดแนวทางในหัวเรื่องหลายหลาก ตั้งแต่การธนาคารไปจนถึงสวัสดิการ ชีวิตครอบครัวและสิ่งแวดล้อม

มุสลิมส่วนใหญ่เป็นนิกายซุนนีย์ คิดเป็น 75-90% ของมุสลิมทั้งหมด นิกายใหญ่ที่สุดอันดับสอง คือ ชีอะฮ์ คิดเป็น 10-20% ประเทศมุสลิมใหญ่ที่สุด คือ ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งมีชาวมุสลิม 12.7% ของโลก ตามมาด้วยปากีสถาน (11.0%) อินเดีย (10.9%) และบังกลาเทศ (9.2%) นอกจากนี้ ยังพบชุมชนขนาดใหญ่ในจีน รัสเซียและยุโรปบางส่วน ด้วยสาวกกว่า 1,500 ล้านคน หรือ 22% ของประชากรโลก อิสลามจึงเป็นศาสนาใหญ่ที่สุดอันดับสองและศาสนาหลักที่เติบโตเร็วที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง

ในศาสนาอิสลามมีหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันที่สำคัญ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 ประเภทดังนี้


1. วาญิบหมายถึงสิ่งจำเป็นต้องปฏิบัติ หากละเว้นถือว่ามีความผิด ต้องถูกลงโทษตามศาสนบัญญัติ เช่น นะมาซ การถือศีลอดและอื่น ๆ เป็นต้น 2. ฮะรอม หมายถึงสิ่งจำเป็นต้องละเว้น ถ้าหากฝ่าฝืนถือว่ามีความผิด ต้องถูกลงโทษ เช่น การพูดโกหก การลักขโมย, การนินทาว่าร้าย และอื่น ๆ 3. มุซตะฮับ หมายถึงสิ่งที่สมควรปฏิบัติ หรือสนับสนุนให้ปฏิบัติ ซึ่งมีกุศลบุญมากมาย แต่ถ้าไม่ปฏิบัติจะไม่ถูกลงโทษ เช่น การบริจาคทาน 4. มักรูฮฺ หมายถึงสิ่งที่ไม่สมควรปฏิบัติและไม่สนับสนุนให้ปฏิบัติ แต่ถ้าหากปฏิบัติจะไม่ถูกลงโทษเช่น การหัวเราะเสียงดัง
5. มุบาฮฺ หมายถึงการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติมีผลเท่าเทียมกัน เช่น การเดิน การนั่งยามปกติทั่ว ๆ ไป
บุคคลที่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ บุคคลที่บรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติ ต้องมีสัญลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง จาก 3 ประการดังต่อไปนี้ 1. อสุจิได้เคลื่อนออกมาไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดก็ตาม 2. มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศ
3. มีอายุอยู่ในเกณฑ์บังคับทางศาสนบัญญัติ ถ้าเป็นผู้ชายต้องมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์ส่วนผู้หญิงต้องมีอายุครบ 9 ปีบริบูรณ์ การบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติไม่จำเป็นต้องมีสัญลักษณ์ครบทั้ง 3 ประการ แค่มีสัญลักษณ์อย่างหนึ่งอย่างใดก็เพียงพอ อย่างเช่น ถ้ามีน้ำอสุจิเคลื่อนออกมาตอนอายุ 13 ปี ให้เริ่มนับว่าเด็กคนนั้นบรรลุนิติภาวะตามศาสนบัญญัติแล้วไม่จำเป็นต้องรอ จนอายุครบ 15 ปี บุคคลผู้ที่จำเป็น (วาญิบ) ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สอดคล้องตามศาสนบัญญัติย่างครบสมบูรณ์ โดยมิให้ขาดตกบกพร่อง ซึ่งต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการดังต่อไปนี้
1. ต้องมีอายุครบตามศาสนบัญญัติตามที่กล่าวมาข้างต้น
2. ต้องมีสติสัมปชัญญะ มิใช่คนวิกลจริต 3. ต้องมีความสามารถที่จะปฏิบัติในภารกิจนั้น ๆ ดังนั้น บุคคลที่มีเงื่อนไขทั้ง 3 ประการดังกล่าวมา จำเป็น (วาญิบ)ต้องปฏิบัติภารกิจของตนให้สอดคล้องตามศาสนบัญญัติอย่างเข้มงวด แต่ถ้าไม่ปฏิบัติถือว่าเป็นผู้ฝ่าฝืนคำสั่งของพระผู้เป็นเจ้า จะต้องถูกลงโทษไปตามบทบัญญัติ

  • หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาอิสลาม ที่สำคัญได้แก่ 1 หลักศรัธา 6 ประการ
  • ศรัทธาในอัลลอฮ์เพียงองค์เดียวชาวมุสลิมต้องศรัทธาต่อพระอัลลอฮ์แต่เพียงพระองค์เดียว
  • ศรัทธาในบรรดามาลาอีกะห์ ว่ามีจริง คำว่า “มลาอีกะฮฺ” หมายถึง ทูตสวรรค์หรือเทวทูตของพระเจ้า เป็นคนกลางระหว่างพระเจ้ากับศาสดา เป็นวิญญาณที่มองไม่เห็น สัมผัสไม่ได้
  • ศรัทธาในคัมภีร์
  • ศรัธาในบรรดารอซูล ในคัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงศาสนทูตว่ามีทั้งหมด 25 ท่าน ท่านแรก คือ นบีอาดัม และท่านสุดท้ายคือ นบีมุฮัมมัด
  • ศรัทธาในวันอาคีเราะห์ มุสลิมต้องเชื่อว่าโลกนี้ไม่จีรัง ต้องมีวันแตกสลายหรือมีวันสิ้นโลก
  • ศรัทธาในกำหนดสภาวการณ์ ชาวมุสลิมเชื่อว่าพระเจ้าได้ทรงกำหนดกฎอันแน่นอนไว้ 2 ประเภท คือ กฎที่ตายตัว เปลี่ยนแปลงไม่ได้ ทุกสิ่งเป็นไปตามพระประสงค์ของพระเจ้า เช่น การถือกำเนิดชาติพันธุ์ รูปร่างหน้าตา ฯลฯ และกฎที่ไม่ตายตัว เป็นกฎที่ดำเนินไปตามเหตุผล เช่นทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ซึ่งพระเจ้าได้ประทานแนวทางชีวิตที่ดีงามพร้อมกับสติปัญญาของมนุษย์ ดังนั้นมุสลิมทุกคนต้องพยายามทำให้ดีที่สุด

2 หลักปฏิบติ 5 ประการ หลักปฏิบัติ คือ พิธีกรรมเพื่อให้เข้าสู่ความเป็นมุสลิมโดยสมบูรณ์ ซึ่งชาวมุสลิมต้องปฏิบัติศาสนกิจพร้อมทั้ง 3 ทาง คือ กาย วาจา และใจอันถือเป็นความภักดีตลอดชีวิต หลักปฏิบัติ 5 ประการ มีดังนี้ - การปฏิญานตน ชาวมุสลิมทุกคนต้องปฏิญาณตนยอมรับความเป็นพระเจ้าองค์เดียวของ พระอัลลอฮ์และยอมรับในความเป็นศาสนทูตของท่านนบีมุฮัมมัด - การละหมาดวันละ 5 เวลา การทำละหมาด หมายถึงการนมัสการพระเจ้าทั้งร่างกายและจิตใจ วันละ 5 ครั้ง ได้แก่ เวลาก่อนพระอาทิตย์ขึ้น เวลากลางวัน เวลาบ่าย เวลาพลบค่ำ และเวลากลางคืน การทำละหมาดเริ่มเมื่ออายุได้ 10 ขวบ จนถึงขั้นสิ้นชีวิต ยกเว้นหญิงขณะมีรอบเดือน - การถือศีลอด คือการละเว้น ยับยั้งและควบคุมตน โดยงดการบริโภคอาหาร น้ำดื่ม และร่วมประเวณี ตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตกดินเป็นเวลา 1 เดือน ในเดือนรอมฎอน (เดือน 9 ทางจันทรคติของอิสลาม) การถือศีลอดเป็นหน้าที่ของชาวมุสลิมทุกคนที่อายุครบ 15 ปี เป็นต้นไป แต่ผ่อนผันในกรณีหญิงขณะมีรอบเดือนและหลังคลอด บุคคลในระหว่างเดินทาง หญิงมีครรภ์ แม่ลูกอ่อน บุคคลที่มีสุขภาพไม่ปกติ มีโรคภัย คนชรา และบุคคลที่ทำงานหนัก - การบริจาคซากาต หมายถึง การบริจาคทรัพย์เพื่อขัดเกลาจิตใจของผู้บริจาคให้สะอาดบริสุทธิ์ลดความตระหนี่ ความเห็นแก่ตัว ให้มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ - การประกอบพีธีฮัจย์ หมายถึง การเดินทางไปประกอบศาสนกิจหรือจาริกแสวงบุญ ณ วิหารอัลกะฮ์ และสถานที่ต่างๆ ในนครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในช่วงเวลาที่กำหนด โดยให้ปฏิบัติเฉพาะบุคคลที่มีความสามารถเท่านั้น

  • เวลา 15.30 น. ปิดการประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มจัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนพูดคุยโดยใช้มัสยิดบ้านวังช่อนชัยเป็นศูนย์กลาง
  • คนในชุมชนได้เข้าใจถึงหลักธรรมของอิสลามมากขึ้นเพื่อลดความขัดแย้งของคนในชุมชน
  • คนในชุมชนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
  • คนในชุมชนมีความรัก ความสามัคคีกันมากขึ้น
  • คนในชุมชนเกิดสัมพันธ์ที่ดีกันมากขึ้น
  • มีความรัก ความสามัคคีกันทั้งเด็ก และผู้ใหญ่
  • คนในชุมชนได้ให้สลามกัน ให้อภัยซึ่งกันและกันในสิ่งที่เคยผิดพลาดกันมา
  • คนใชุมชนเกิดความสนุกสนานกันในกิจกรรม
  • ลูกหลานในชุมชนได้รู้จักกันมากขึ้นเพื่อลดปัญหาความแตกแยก
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 70 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • อบต
  • ผู้นำศาสนา
  • คณะกรรมการมัสยิด
  • สภาอาซูรอฮ
  • สภาชุมชน
  • คนในชุมชน
  • กลุ่มองค์กรต่างๆในหมู่บ้า
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 814 สิงหาคม 2559
14
สิงหาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

-วันที่ 14 สิงหาคม 2559 เวลา 14.00 น. ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย นายสมนึกเส็นนิ่ง ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ได้เปิดการประชุม โดยมีวาระดังนี้

เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

  • โครงการลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสวัสดิการของรัฐหรือที่เรียกว่า ลงทะเบียนคนจน จะหมดเขตในวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๙ นี้ผู้ใดที่ประสงค์จะลงทะเบียน สามารถไปลงทะเบียนได้ที่ ธกส. กรุงไทย. และออมสิน
  • องค์การบริหารส่วนตำบลละงู ได้จัดโครงการพัฒนาศักยภาพสตรีตำบลละงู ในวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๙ ภายในงานจะมีกิจกรรมต่างๆมากมาย อยากให้ชาวบ้านไปร่วมงานกัน

เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน

  • เรื่อง การจัดกิจกรรมวันฮารีรายอ ให้มีการจัดกิจกรรมวันฮารีรายอเหมือนเดิม และกิจกรรมก็ยังคงเดิมเหมือนปีที่ผ่านมา คือ การบรรยายศาสนา การอ่านนาเชดของนักเรียนศูนย์ตาดีดามัสยิดบ้านวังช่อนชัย การตอบปัญหา และการให้สลามแก่กันและกัน และจะมีการเลี้ยงอาหารแก่ผู้เข้าร่วมงาน
  • เรื่องการทำกรุ-บาน ที่มัสยิด ทางคณะกรรมการมัสยิดจะทำกรุ-บานในวันที่ ๒ ของวันฮารีรายา เนื่องจาก วันแรกของวันฮารีรายอมีกิจกรรมเยอะจึงทำให้เวลาไม่ทัน
  • การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลที่ประสบภัยแล้ง ปี 2559/60 การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกไม้ผลที่ประสบภัยแล้ง ปี 2559/60 แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เสียหายสิ้นเชิง(ตาย) รัฐให้การสนับสนุนสินเชื้อ(ธกส) ในวงเงินไร่ละ100000 บาท รายละไม่เกิน 300000 บาท เพื่อปลูกใหม่ กลุ่มที่มีผลจากภัยแล้ง รัฐให้การสนับสนุนสินเชื่อ วงเงินรายละไม่เกิน 130000 บาท
  • การเฝ้าระวังไข้เลือดออก ขอความร่วมมือจากทุกคน ช่วยกันดูแลบริเวณบ้านให้สะอาดเรียบร้อย โดยกำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย ภาชนะที่มีน้ำขังให้ช่วยกันคว่ำและเทน้ำทิ้ง เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออก
  • สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอละงูขอเชิญประชุมเพื่อดำเนินการจัดตั้งชมรมผู้นำอาสาพัฒนาชุมชนระดับอำเภอ ในวันที่ 24 สิงหาคม 2559 ณ ศูนย์สารภี หมู่ที่12
  • การดำเนินโครงการ มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย ได้สรุปผลการจัดกิจกรรมสภาอาซูรอฮ์ครั้งที่ 1 มาแล้้ว คนในชุมชนให้ความร่วมมือดีมาก และได้วางแผน แบ่งหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายในการดำเนินกิจกรรมต่อไป คือ การจัดสภาอาซูรอฮ์ครั้งที่ 2 เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงานของชุมชนที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รับทราบและเกิดการวางแผนในการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป
  • การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพมากขี้น
  • รับทราบพร้อมทั้งสรุปปัญหาที่เกิดขี้นในการดำเนินกิจกรรมในแต่ครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่นงานของชุมชน
  • มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง จำนวน10ครั้งต่อปี
  • มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้งที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
  • สรุปผลรายงานกิจกรรมแต่ละครั้ง
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
จัดสภาอาซูรอฮ.ครั้งที่ 127 กรกฎาคม 2559
27
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้คนในชุมชนได้ทำกิจกรรมแลกเปลี่ยน พูดคุยกัน เพื่อให้เกิดสัมพันที่ดีขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 27 กรกฎาคม 2559 เวลา 09.00 น. ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการ และคณะทำงานโครงการได้ จัดกิจกรรมสภาอาซูรอฮครั้งที่ 1 ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย ซึ่งตระกูล นาคสง่าและตระกูลติงหวัง เป็นเจ้าภาพในการจัดกิจกรรม - โดยมี นายอำสอด โสธามาด โต๊ะอีหม่าม และนายดี บุตรา คอเต็บ ประจำมัสยิดนุรุลสะอะดะห์บ้านวังช่อนชัย ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูลเป็นผู้บรรยายเรื่อง " นรกและสวรรค์ " - "นรก" เป็นสถานที่สำหรับการลงโทษ ที่อัลลอฮฺทรงเตรียมไว้แก่ผู้ปฏิเสธและผู้ทำความผิด ผู้ที่เข้านรกจะถูกครอบงำด้วยความอับอาย และขายหน้าเป็นอย่างยิ่ง และพวกเขาจะไม่พบผู้ช่วยเหลือแต่ประการใดเลย อัลลอฮฺทรงตรัสว่า “พวกเขามิได้รู้ดอกหรือว่า แท้จริงผู้ใดที่ฝ่าฝืนอัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์ แน่นอนสำหรับเขานั้นคือไฟนรกญะฮันนัมโดยที่เขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาลนั่นแหละคือความอัปยศอันใหญ่หลวง”ชื่อต่างๆของนรก

นรกมีเพียงแห่งเดียว แต่มีลักษณะที่หลากหลาย ซึ่งชื่อของมันที่เป็นที่รู้จักกันดีก็มีดังนี้

  1. อันนารฺ “และผู้ใดฝ่าฝืนอัลลอฮฺและรสูลของพระองค์ และละเมิดขอบเขตของพระองค์แล้ว พระองค์ก็จะให้เขาเข้านรกโดยที่เขาจะอยู่ในนั้นตลอดกาล และเขาจะได้รับการลงโทษที่ยังความอัปยศให้แก่เขา”
  2. ญะฮันนัม “และแน่นอนอัลลอฮฺได้ทรงประทานคัมภีร์ลงมาแก่เจ้าเมื่อพวกเจ้าได้ยินบรรดาโองการของอัลลอฮฺ โองการเหล่านั้นก็ถูกปฏิเสธและถูกเย้ยหยัน ดังนั้นพวกสูเจ้าอย่าได้นั่งร่วมกับพวกเขาจนกว่าพวกเขาจะพูดคุยในเรื่องอื่นจากนั้น แท้จริงพวกเจ้าถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วก็เหมือนพวกเขา แท้จริงอัลลอฮฺจะทรงรวบรวมบรรดามุนาฟิกและบรรดาผู้ปฏิเสธทั้งหมดไว้ในนรกญะฮันนัม”
  3. อัลญะฮีม “และบรรดาผู้ที่ปฏิเสธศรัทธาและปฏิเสธบรรดาโองการของเรานั้น พวกเขาเหล่านั้นคือชาวนรก”
  4. อัสสะอีรฺ“แท้จริงอัลลอฮฺทรงสาปแช่งบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา และทรงจัดเตรียมไฟที่ลุกโชติช่วงไว้สำหรับพวกเขา”
  5. สะก็อรฺ “วันที่พวกเขาจะถูกลากบนใบหน้าของพวกเขาลงสู่ไฟนรก (จะมีเสียงกล่าวขึ้นว่า) พวกเจ้าจงลิ้มรสการลงโทษที่มีการเผาไหม้”
  6. อัลหุเฏาะมะฮฺ “มิใช่เช่นนั้นแน่นอนเขาจะถูกโยนลงไปในไฟนรก (อัลหุเฏาะมะฮฺ) และอะไรเล่าที่ทำให้เจ้าได้รู้ว่าไฟนรก นั้นคืออะไร คือไฟของอัลลอฮฺที่จุดให้ลุกโชน”
  7. ละซอ “ไม่เลยทีเดียว แท้จริงมันเป็นไฟที่ลุกโชน หนังศรีษะถูกลอกออก (เพราะความร้อนของไฟนรก) มันจะเรียกผู้ที่ผินหลังและหันห่างจากความจริง”(อัลมะอาริจญ์
  8. ดารุลบะวาร “เจ้าไม่เห็นดอกหรือว่าบรรดาผู้เปลี่ยนความโปรดปรานของอัลลอฮฺเป็นการปฏิเสธศรัทธา และได้นำกลุ่มชนของพวกเขาลงสู่ที่พำนักอันหายนะ นรกญะฮันนัมที่มีเปลวไฟร้อนจัดของมันและมันเป็นที่พำนักอันชั่วช้า” ที่ตั้งของนรก “มิใช่เช่นนั้น แท้จริงบันทึกของบรรดาคนชั่วนั้นอยู่ในสิจญีน”จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฏิยัลลอฮฺอันฮุ กล่าวว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “...ส่วนผู้ปฏิเสธศรัทธาเมื่อวิญญาณของเขาถูกปลิดลง และถูกนำไปยังประตูของผืนดิน ผู้เฝ้าประตูกล่าวว่า เราไม่เคยพบกลิ่นใดเหม็นเหมือนกับกลิ่นนี้ ดังนั้นมันกระจายไปยังผืนดินชั้นล่างสุด”

- ลักษณะใบหน้าของชาวนรก อัลลอฮ์ ตรัสความว่า “และวันกิยามะฮฺเจ้าจะเห็นบรรดาผู้ที่กล่าวเท็จต่ออัลลอฮฺ ใบหน้าของพวกเขาดำคล้ำ ดังนั้นที่พำนักสำหรับผู้ที่หยิ่งยโสโอหังนั้นไม่ใช่นรกดอกหรือ?” “และบรรดาใบหน้าในวันนั้นมีฝุ่นจับ ความหม่นหมองจะปกคลุมบนใบหน้าเหล่านั้น ชนเหล่านั้นคือพวกปฏิเสธศรัทธาพวกประพฤติความชั่ว” “และในวันนั้นบรรดาใบหน้าจะเศร้าสลด มันคิดว่าความหายนะอันใหญ่หลวงจะเกิดขึ้นกับมัน”“ในวันนั้นมีบรรดาใบหน้าที่ต่ำต้อยใบหน้าที่ทำงานหนักระกำใจเข้าไปเผาไหม้ในไฟอันร้อนแรง”“ไฟนรกจะเผาไหม้ใบหน้าของพวกเขา และพวกเขาจะมีใบหน้าที่บูดเบี้ยวอยู่ในนรกนั้น”
จำนวนประตูนรก “และแท้จริงนรกญะฮันนัม แน่นอนคือสัญญาของพวกเขาทั้งหมด มันมีเจ็ดประตู สำหรับทุกประตูมีส่วนที่ถูกจัดไว้แล้ว”
- ประตูนรกจะถูกปิดล้อมอย่างมิดชิด “แท้จริงมันจะลุกไหม้คลุมบนพวกเขาอย่างมิดชิด อยู่ในสภาพของเสาสูงชะลูด”ความลึกของนรก จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า เราอยู่พร้อมกับท่านท่าน รสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ทันใดนั้นได้ยินมีเสียงที่น่าสะพรึงกลัว ดังนั้นท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า "พวกท่านรู้ไหมว่านี่มันเป็นเสียงอะไร? เขาเล่าว่า พวกเราตอบว่า อัลลอฮฺและรสูลของพระองค์รู้ดียิ่ง ท่านกล่าวว่า นั่นเป็นเสียงของหินที่มันถูกโยนลงไปในนรกตั้งแต่ 70 ปีที่แล้วและในขณะนี้มันยังคงตกไหลลงจนกระทั่งถึงก้นหลุม”
จากสะมุเราะฮฺ บิน ญุนดุบ เราะฏิยัลลอฮุอันฮฺเขาได้ยินท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “แท้จริงมีส่วนหนึ่งของชาวนรกบรรดาผู้ที่ไฟนรกลุกลามถึงข้อเท้าของเขาและบางคนไฟจะลุกลามถึงเอวของเขาและบางคนจะลุกลามถึงต้นคอของเขา” ความร้อนระอุของไฟนรก 1. “และผู้ใดที่อัลลอฮฺได้นำทางเขาก็จะเป็นผู้ที่อยู่ในแนวทางที่ถูกต้องและผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงให้เขาหลงผิดแล้ว ดังนั้นสูเจ้าจะไม่พบบรรดาผู้คุ้มครองอื่นอีกเลยนอกจากพระองค์ และเราจะชุมนุมพวกเขาในวันกิยามะฮฺ ถูกลากคว่ำหน้าโดยมีสภาพเป็นคนตาบอด เป็นใบ้และหูหนวก ที่พำนักของพวกเขาคือนรกญะฮันนัม ทุกครั้งที่มันมอดเราได้เพิ่มการเผาไหม้ให้ลุกโชนแก่เขา นั่นคือการตอบแทนของเขาอย่างแน่นอน พวกเขาปฏิเสธศรัทธาต่อโองการทั้งหลายของเราและพวกเขากล่าวว่าเมื่อเราเป็นกระดูกและร่วนยุ่ยแล้ว แท้จริงเราจะถูกให้ฟื้นคืนชีพขึ้นเพื่อกำเนิดใหม่ได้อย่างไร” 2. จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮฺ แท้จริงท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ไฟที่มนุษย์ใช้จุดอยู่นี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งจาก 70 ส่วนความร้อนของไฟนรกญะฮันนัม” พวกเขากล่าวว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺ เท่าที่เป็นอยู่ก็ถือว่าเพียงพอแล้วท่านรสูลุลลอฮฺ ท่านกล่าวว่า แท้จริงความร้อนของมันจะถูกเพิ่มทวีขึ้น 69 เท่า ทุกเท่าของมันจะร้อนเหมือนกันหมด” จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺ เราะฏิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า ท่านรสูล ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม กล่าวว่า “ไฟ (นรก) ได้ร้องทุกข์กับพระเจ้าของมันว่า โอ้พระเจ้าของฉัน ส่วนหนึ่งของฉันต่างกินอีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นพระองค์ได้อนุมัติให้นรกได้ผ่อนหายใจได้สองครั้ง ครั้งหนึ่งในฤดูหนาวและอีกครั้งในฤดูร้อน และเพราะเหตุนี้จึงทำให้เกิดความร้อนระอุและความหนาวเหน็บอย่างหนักที่พวกท่านได้ประสบ (ตามสภาพดินฟ้าอากาศ)” - ประเภทของการถูกลงโทษ โทษแต่ละประเภทได้เตรียมไว้เรียบร้อยแล้วแล้วตามบาปของแต่ละคนที่ได้ทำเอาไว้ ผู้ทำบาปมากกว่าจะถูกให้ลงไปในนรกชั้นต่ำกว่า ท่านรอซุล กล่าวว่า จะในบรรดาพวกเขา(ชาวนรก) บรรดาผู้ที่ไฟนรกลุกลามถึงข้อเท้าของพวกเขา และบางคนของพวกเขาจะลุกลามถึงหัวเข่าของพวกเขา และบางคนจะลุกลามถึงเอวของพวกเขา และบางพวกไฟจะลุกลามถึงกระดูกต้นคอของพวกเขา (มุสลิม) อัลลอฮฺผู้ทรงอำนาจเด็ดขาดตรัสว่า “และส่วนผู้ที่ตราชูของเขาเบา ที่พำนักของเขาก็คือเหวลึก (ฮาวิยะฮ์) และอะไรเล่าที่ทำให้เจ้ารู้ได้ว่าเหวลึกคืออะไร? คือไฟอันร้อนแรง”
ชาวนรกมีความแตกต่างกัน และบาปของพวกเขาก็ไม่เท่ากัน เช่นเดียวกัน นรกไม่ได้มีระดับเดียว แต่มีความแตกต่างลดหลั่นกันลงไป การลงโทษมีหลายอย่าง และความร้อนก็แตกต่างกันด้วย อัลลอฮฺทรงตรัสว่า “และสำหรับแต่ละคนนั้นมีหลายระดังชั้น เนื่องจากสิ่งที่พวกเขาได้ประกอบไว้และพระเจ้าของเจ้านั้นมิใช่เผลอไผลในสื่งที่พวกเขากระทำกัน”
ขั้นลึกที่สุดของนรกมีไว้สำหรับพวกหน้าไหว้หลังหลอก(มุนาฟิก) “แท้จริงบรรดามุนาฟิกนั้นอยู่ในชั้นต่ำสุดจากนรก และเจ้าจะไม่พบผู้ช่วยเหลือใด ๆ สำหรับพวกเขาเป็นอันขาด”
- การเดินผ่านนรกและบุคคลแรกที่จะเดินข้ามสะพานศิรอฏ “และไม่มีผู้ใดในหมู่พวกเจ้านอกจากจะเป็นผู้ผ่านเข้าไปในมัน มันเป็นสิ่งที่กำหนดไว้แน่นอนแล้วสำหรับพระผู้อภิบาลของเจ้า แล้วเราจะให้บรรดาผู้ยำเกรงรอดพ้นแล้วเราจะปล่อยให้บรรดาผู้อธรรมคุกเข่าอยู่ในนั้น”
จากท่านอบูฮุร็อยเราะฮฺเราะฏิยัลลอฮุอันฮฺ กล่าวว่า มีคนกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า โอ้ท่านรสูลุลลอฮฺ ในวันกิยามะฮฺเราจะได้เห็นพระผู้อภิบาลของเราหรือไม่?

“ศิรอฏจะถูกพาดระหว่างสองฝั่งของนรกญะฮันนัม ดังนั้นฉันและประชาชาติของฉันจะเป็นกลุ่มแรกที่เดินข้ามผ่าน”

  • " สรวงสวรรค์ " คือ ดินแดนแห่งสันติสุขที่อัลลอฮฺได้จัดเตรียมไว้แก่บรรดาศรัทธาชนชายหญิงในโลกอาคีเราะฮฺ ชื่อของสรวงสวรรค์

สรวงสวรรค์นั้นมีเพียงแห่งเดียว แต่มีลักษณะหลากหลาย โดยมีชื่อต่าง ๆ ตามลักษณะที่หลากหลาย ดังต่อไปนี้

  1. อัล-ญันนะฮฺ (สวน) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า : ความว่า :สิ่งดังกล่าวนั้น คือ กฏบัญญัติของอัลลอฮฺ โดยผู้ใดที่ภักดีต่ออัลลอฮฺและเราะสูลของพระองค์นั้น พระองค์จะให้เขาได้เข้าในญันนาตที่มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านอยู่เบื้องล่างของมัน โดยพวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นไปตลอดกาล และนั้นคือชัยชนะอันใหญ่หลวง (อัล-นิสาอ์ : 13)
  2. ญันนะฮฺ อัล-ฟิรเดาสฺ (สวนฟิรเดาสฺ) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า : ความว่า : แท้จริง สำหรับบรรดาผู้ศรัทธาและปฏิบัติความดีนั้น พวกเขาจะได้รับญันนาตอัล-ฟิรเดาสฺ (สวนสวรรค์ชั้นอัลฟิรเดาสฺ) เป็นที่พำนัก
  3. ญันนะตุ อัดนฺ (สวนสถาพร) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า :
    ความว่า : นี่คือข้อตักเตือน และแท้จริงสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงนั้น แน่นอนพวกเขาจะได้รับที่หวนกลับอันดียิ่งคือญันนาตุอัดนฺ ที่ประตูต่าง ๆ ของมันได้ถูกเปิดไว้แล้วสำหรับพวกเขา
  4. ญันนะฮฺ อัลคุลดฺ (สวนนิรันดร) อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า : ความว่า : จงกล่าวเถิด (มุหัมมัด) ว่าสิ่งนั้น (บรรดากุฟฟาร เจว็ด และสิ่งต่าง ๆ ที่ถูกบูชานอกเหนื่อจากอัลลอฮฺ เช่น ภูตผี มะลาอิกะฮฺ อีซา และอุไซร์ เป็นต้น) ดีกว่า หรือว่าญันนะตุลคุลดฺ (สวรรค์นิรันดร์) ที่ถูกสัญญาไว้ให้แก่บรรดาผู้ยำเกรง ซึ่งมันเป็นสิ่งตอบแทนและที่หวนกลับสำหรับพวกเขา
  5. ญันนะฮฺ อัล-นะอีม (สวนแห่งความสุข) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า : ความว่า : แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีทั้งหลาย พวกเขาจะได้รับญันนาตุนนะอีม (สวนสวรรค์แห่งความสุข)
  6. ญันนะฮฺ อัล-มะวา (สวนที่พำนัก) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า : ความว่า : ส่วนสำหรับบรรดาผู้ศรัทธาและกระทำความดีนั้น พวกเขาจะได้รับญันนาตุลมะวา (สวนสวรรค์ถิ่นพำนัก) เป็นที่พำนักอันเนื่องมาจากสิ่งที่พวกเขาได้ปฏิบัติมา
  7. ดารุสสลาม (ดินแดนศานติสุข) : อัลลอฮฺตะอาลาได้มีดำรัสว่า : ความว่า : พวกเขาได้รับดารุสสลาม (ดินแดนศานติสุข) ณ ที่พระผู้เป็นเจ้าของพวกเขา ซึ่งพระองค์คือผู้คุ้มครองพวกเขาอันเนื่องมาจากสิ่งที่พวกเขาได้กระทำมา

- เวลา 12.15 น. พักรับประทานอาหารร่วมกัน และปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน
- เวลา 15.30 น. ประธานกล่าวขอบคุณวิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ปิดกิจกรรม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มจัดทำกิจกรรมแลกเปลี่ยนพูดคุยโดยใช้มัสยิดบ้านวังช่อนชัยเป็นศูนย์กลาง
  • คนในชุมชุนมีความรัก ความสามัคคีกันมากขึ้น
  • มีสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมากขึ้น
  • การจัดกิจกรรมครั้งนี้สามารถลดความแตกแยกของคนในชุมชนได้
  • คนในชุมชนมีความสัมพันธืที่ดีกันมากขึ้น
  • ได้เห็ยรอยยิ้ม และเสียงหัวเราะที่มีความสุขของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 82 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • คณะกรรมการมัสยิด
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มองค์กรต่างๆในหมู่บ้าน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
จัดทำโฟกัสกรุ๊ฟ 7 ตระกูลนำร่อง ตระกูลละ 10 คน24 กรกฎาคม 2559
24
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อพูดคุยเพื่อให้เกิดความรักสามัคคี ลดความแตกแยกของคนในชุมชน และนำไปสู่การจัดทำศูนย์กลางในการพบปะของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 24 กรกฎาคม 2559 เวลา 10.00 น. ได้จัดกิจกรรมโฟกัสกรุ๊ฟ 7 ตระกูลนำร่องจำนวน 1 วัน โดยแบ่งออกเป็น 7 กลุ่ม นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการและคณะทำงานโครงการได้ร่วมกันจัดกิจกรรมเพื่อพูดคุยเพื่อให้เกิดความรักสามัคคี ลดความแตกแยกของคนในชุมชน และนำไปสู่การจัดทำศูนย์กลางในการพบปะของคนในชุมชน โดยมี นางสมปอง บุญฤทธิ์ พัฒนากรประจำตำบลละงู เป็นวิทยากรในการทำโฟกัสกรุ๊ฟเปิดเวทีโดย นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการ ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน และกล่าวต้อนรับวิทยากร ได้ชี้แจงวัตถุประวงค์ของกิจกรรม ซึ่งจะมีด้วยกัน 7 ตระกูล คือ ตระกูลนาคสง่า ตระกูลติงหวัง ตระกูลอุสมา ตระกูลแดงนุ้ย ตระกูลสองเมือง ตระกูลโสธามาด และตระกูลกูลดีนเพื่อให้แต่ละตระกูลนั้นได้มานั่งพูดคุยกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันของแต่ละตระกูลในเรื่องของความขัดแย้งในชุมชน จากนั้นประธานโครงการ ได้เชิญวิทยากร นางสมปอง บุญฤทธิ์มาพูดในเรื่องความขัดแย้งในชุมชน ความขัดแย้งหมายถึง ความขัดแย้ง หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ที่มีลักษณะของความไม่เป็นมิตรหรือตรงกันข้ามหรือไม่ลงรอยกันหรือความไม่สอดคล้องกัน ลักษณะของความไม่ลงรอยกันหรือไม่สอดคล้องกันนี้จะเกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆ หลายประเด็น เช่น เป้าหมาย ความคิด ทัศนคติ ความรู้สึก ค่านิยม ความสนใจ ความสัมพันธ์ลักษณะของความขัดแย้ง
    ลักษณะของความขัดแย้ง อาจจะแสดงออกมาหรือมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
  1. จะมีบุคคลหรือฝ่ายอย่างน้อยที่สุด 2 ฝ่าย หรือบุคคล 2 บุคคลที่เข้ามาเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันและมีปฏิสัมพันธ์บางอย่างต่อกัน
  2. แต่ละบุคคลหรือแต่ละฝ่าย จะมีความเชื่อและค่านิยมเฉพาะ ซึ่งแต่ละบุคคลหรือสมาชิกในแต่ละฝ่ายตระหนักและมองเห็นในความเชื่อและค่านิยมนั้น
  3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างแต่ละฝ่าย ซึ่งจะแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่แสดงถึงการข่มขู่ การลดพลัง การกดดันฝ่ายตรงข้าม เพื่อให้ได้มาซึ่งชัยชนะ
  4. แต่ละบุคคลหรือแต่ละฝ่าย เผชิญหน้ากันหรือแสดงปฏิกิริยาในลักษณะตรงข้ามกันหรือเป็นปฏิปักษ์ต่อกัน
  5. แต่ละบุคคลหรือแต่ละฝ่ายจะแสดงปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดความเหนือกว่าทางด้านอำนาจต่ออีกฝ่ายหนึ่ง

- สาเหตุหรือที่มาของความขัดแย้ง
ความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหรือแหล่งต่างๆ ดังนี้
1.ความไม่เข้าใจกัน 2.ความสัมพันธ์ที่เพิกเฉยและไม่เกื้อกูลกัน 3.ความล้มเหลวของการสื่อความหมายอย่างเปิดเผยและซื่อตรง 4.บรรยากาศของการไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน ความกดดัน และการแข่งขัน 5.การับรู้ของบุคคลที่อยู่ในสภาวการณ์ของความขัดแย้งที่มีผลต่อบุคคลอื่น ในสภาวการณ์นั้น ซึ่งเป็นไปในทางส่งเสริมให้เกิดความขัดแย้ง 6.การแข่งขันเพื่อให้ได้มาซึ่งรางวัลที่มีอยู่จำกัด ไม่ว่าจะเป็นสิ่งตอบแทนอื่นๆ สถานภาพ ความรับผิดชอบ และอำนาจ 7.องค์ประกอบส่วนบุคคล ความขัดแย้งอาจเกิดจากบุคลิกภาพส่วนบุคคล เช่น การมีสัณชาตญาณของความรุนแรง ก้าวร้าว ต้องการการกแข่งขัน ฯลฯ ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีมากน้อยแตกต่างกัน - จากนั้นวิทยากรได้ให้แบ่งกลุ่ม 7 กลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะต้องมีตัวแทนของแต่ละตระกูลรวมอยู่ด้วย แล้วให้แต่ละกลุ่มได้พูดคุยกันสาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางแก้ไข ของความขัดแย้งกันใชุมชน
- เวลา 12.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน และปฏิบัติศาสนกิจร่วมกัน และคณะทำงานโครงการได้รวบรวมของแต่ละกลุ่มเพื่อนำมาสรุป - เวลา 13.15 น. วิทยากรได้สรุป สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขที่ทางกลุ่มได้ร่วมกันคิด ดังนี้ - สาเหตุของความขัดแย้ง - ความแตกแยกทางความคิด ความรู้สึก - การเมือง แบ่งแยกแบ่งฝ่าย ระหว่างผู้ใหญ่บ้านคนเก่า และผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ - สังคมแบบต่างคนต่างอยู่ - การสื่อสารที่ไม่ชัดเจน - ความคิดเห็นไม่ตรงกัน - ผลกระทบของความขัดแย้ง - อยู่กันแบบแบ่งแยกเป็นกลุ่ม - เมื่อมีการประชุมหรือทำกิจกรรมใดๆคนที่มาก็จะมาแต่คนที่ไม่มาก็จะไม่มาเลย - ทำให้การพัฒนาหมู่บ้านเป็นไปอย่างล่าช้า - ไม่มีความรัก ความสามัคคีกันในหมู่บ้าน - แนวทางแก้ไข - มีกิจกรรมที่ร่วมกันทำบ่อยขึ้น เพื่อลดความขัดแย้งในชุมชน - ร่วมพูดคุย ปรึกษาหารือกันในสภากาแฟ เมื่อครบเวลา วิทยากรได้ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่ม มาสรุปของกลุ่มตัวเอง ว่ามีปัญหาอย่างไร มีวิธีแก้ไขอย่างไร เพื่อให้เกิดการลดความแตกแยกของคนในชุมชน เวลา 14.30 น. วิทยากรได้สรุปถึงปัญหา สาเหตุ และวิธีการลดความแตกแยกของคนในชุมชนให้ทุกคนฟัง และ เวลา 15.00 น. นางสาวพัชริดา โสธามาด ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวขอบคุณวิทยากรและผู้เข้าร่วมเวทีทุกท่านที่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ปิดเวทีโฟกัสกรุ๊

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ตระกูลนำร่องจำนวน 7 ตระกูลได้มานั่งพูดคุยและถกแถลงในการแก้ไขปัญหาความแตกแยกในชุมชน
  • ทีมคณะทำงานได้ทำโฟกัสกรุ๊บ แล้วเก็บข้อมูลจากการพูดคุยกัน
  • เกิดความรักสามัคคี ลดความแตกแยกของคนในชุมชน และนำไปสู่การจัดทำศูนย์กลางในการพบปะของคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 86 คน จากที่ตั้งไว้ 70 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทน ตระกูลนำร่องทั้ง 7 ตระกูล
  • คณะทำงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 717 กรกฎาคม 2559
17
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 17 กรกรฎาคม 2559 เวลา 14.00 น. จัดประชุมสภาผู้นำครั้งที่ 7 ณ อาคารเอนกประสงค์ บ้านวังช่อนชัย ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมี นายสมนึกเส็นนิ่ง ประธานสภาผู้นำหมู่บ้าน ได้เปิดการประชุม โดยมีวาระดังนี้

เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

  • ผู้ใหญ่บ้านรายงานความคืบหน้าโครงการยกระดับศักยภาพของหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ งบประมาณ ๒๐๐๐๐๐ บาท โดยทำโครงการ ปรับปรุงอาคารเอนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ
  • เรื่องการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 7 สิงหาคม 2559 โดยผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ ต้องมีสัญชาติไทย อายุ 18 ปีบริบูรณ์นับถึงวันออกเสียง(เกิดก่อน 9 สิงหาคม 2559) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตออกเสียง ไม่น้อยกว่า 90 วัน ดังนั้นจึงขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนออกมาใช้สิทธิการออกเสียงประชมาติกัน และสามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่หน่วยเลือกตั้ง ซึ่งตอนนี้ได้ปิดประกาศบัญชีรายชื่อผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติแล้ว ณ หน่วยเลือกตั้งอาคารเอนกประสงค์บ้านวังช่อนชัย
  • รัฐบาลเชิญชวนบุคคลที่มีรายได้น้อย มีอายุ 18 ปีขึ้นไป ที่มีรายได้ไม่เกิน 100,000บาท/ปี ลงทะเบียนเพื่อรับสวัสดิการจากรัฐที่ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสินและ ธกส. ในระหว่างวันที่ 15 ก.ค. - 15 ส.ค. 59
  • การขึ้นทะเบียนสวนยางของผู้ที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ สามารถไปขึ้นทะเบียนได้ที่ สำนักงาน กยจอำเภอละงู หรือมารับเอกสารได้ที่ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านการติดตามสถานการณ์ไข้เลือดออก ซึ่งตอนนี้พื้นที่หมู่ที่ 17 บ้านวังช่อนชัย จะเห็นได้ว่ามีจำนวนผู้ ป่วยเพิ่มขึ้น จึงอยากให้ทุกคนเฝ้าระวังเรื่องไข้เลือดออก หากครอบครัวใดพบว่ามีบุตรหลานหรือคนในครอบ ครัว ป่วยมีไข้สูงติดต่อกันหลายวันให้นำตัวส่งโรงพยาบาล และหากพบภาชนะที่มีน้ำขังควรที่จะคว่ำน้ำเพื่อ ลดการแพร่กระจายลูกน้ำยุงลาย และเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 59 ที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านใน เมืองร่วมกับทีม อสม.ได้ทำการพ่นควันกำจัดยุงลายในพื้นที่หมู่บ้านที่มีผู้ป่วยไข้เลือดออกและบริเวณใกล้ เคียง ดังนั้นหน้าที่ของพี่น้องคือ ช่วยกันจัดบริเวณบ้านให้สะอาดไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย มติที่ประชุม รับทราบ
    เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน

  • เรื่องการพัฒนามัสยิด คณะกรรมการมัสยิดได้มีมติให้มีการจัดกิจกรรมพัฒนามัสยิดบ้านวังช่อนชัย ในวันที่ 22 เมษายน ๒๕๕๙ เวลา ๐๙.๐๐ น. เป็นต้นไป อยากให้ชาวบ้านทุกท่านมาช่วยกันพัฒนามัสยิด และช่วยกันประกอบอาหาร รับประทานอาหารร่วมกัน

  • การแต่งตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการออกเสียงประจำหน่วยเลือกตั้ง ในวันที่ ๗ สิงหาคม ๒๕๕๙ ซึ่งมีทั้งหมดสองหน่วยเลือกตั้งและได้ทำการคัดเลือกผู้อำนวยการออกเสียง และคณะกรรมการประจำหน่วยออกเสียง ได้แก่ (1) ประธานกรรมการประจำหน่วยออกเสียง (2) กรรมการประจำหน่วยออกเสียง (3) เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
  • เรื่อง ชำระหนี้กองทุนหมู่บ้าน สมาชิกท่านใดที่ต้องการใช้หนี้หรือจะสมัครเป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ก็ให้มาในวันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เวลา ๑๖.๐๐ น.
  • เรื่อง การดำเนินการโครงการ มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย ภายใต้โครงการของ สสส.
    นางสาวพัชริดา โสธามาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้ชี้แจงการดำเนินกิจกรรมครั้งต่อไป พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายรับผิดชอบและดำเนินการเพื่อการขับเคลื่อนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขี้น พร้อมทั้งสรุปปัญหาที่เกิดขี้นในการดำเนินกิจกรรมในแต่ครั้งและให้คณะทำงานได้เสนอความคิดเห็น ความต้องการต่างๆ มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้ง ที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
  • เวลา 16.00 น. ประธานกล่าวปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้รับทราบข้อมูลข่าวสารของคนในชุมชนและได้ประชาสัมพันธ์ข่าวสารให้คนในชุมชนทราบ
  • ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทำให้การดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • ได้รับทราบข้อเสนอแนะ ปัญหา ความต้องการของคนชุมชน และนำไปแก้ไข
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • กรรมการหมู่บ้าน
  • คณะกรรมการมัสยิด
  • คณะทำงานโครงการ
  • อสม.
  • ผู้นำศาสนา
  • อบต.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงเพื่อติดตามและปรับปฏิทินกิจกรรมโครงการ14 กรกฎาคม 2559
14
กรกฎาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปรับปฏิทินกิจกรรมโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • พบพี่เลี้ยงในการดำเนินการปรับปฏิทินโครงการสำหรับกิจกรรมที่ยังไม่ดำเนินการ ให้เป็นปัจจุบัน และเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรมให้ละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แผนการจัดกิจกรรมที่เป็นปัจจุบันและสามารถดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่องตามปฏิทินโครงการ
  • ได้แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดการบันทึกรายงานกิจกรรม โดยเพิ่มเติมเนื้อหาข้อความ ให้มีความละเอียด ครบถ้วนและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 617 เมษายน 2559
17
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 17 เมษายน 2559 ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 ประจำเดือนเมษายน ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านวังช่อนชัย ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมี นายสมนึก เส็นนิ่ง ผู้ใหญ่บ้าน เป็นประธานในการประชุม เริ่มประชุมเวลา 14.00 น.
  • ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบตามวาระ ดังนี้

    • 1.1 การคัดเลือกคณะกรรมการกลางหมู่บ้านอ.พ.ป.และคณะกรรมการฝ่ายต่างๆ
    • 1.2 โครงการยกระดับศักยภาพหมู่บ้านเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากตามแนวทางประชารัฐ

  • เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน
    • 2.1 นายดนหาหมีด ขุนนา ( ส.อบต )แจ้ง การจัดกิจกรรมลากูเกมส์ ประจำปี 2559 ที่กำลังมีกำหนดขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ซึ่งปีนี้ทางหมู่บ้านจะให้มีการส่งนักกีฬาประเภทต่างๆร่วมแข่งขันด้วย เช่น วอลเลย์บอล ฟุตบอล ฟุตซอล และแชร์บอล เป็นต้น เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน
    • 2.2 นางอำสะอุสมา ( ผู้ช่วยฯ ) แจ้ง ภัยแล้ง ช่วงนี้เป็นช่วงหน้าแล้ง จึงทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำ หรือบางครัวเรือนน้ำมีลักษณะเป็นสีแดง ถ้าครัวเรือนไหนขาดแคลนน้ำ หรือต้องการใช้น้ำ ไปแจ้งกับ อบต.หรือผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านได้ เพื่อที่จะแจ้งต่อไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลละงู ให้นำน้ำมาแจกจ่ายแก่ครัวเรือนที่ต้องการและครัวเรือนไหนที่ต้นไม้ พืชผักต่างๆ ที่ปลูกไว้ ตาย ให้มาแจ้งได้ที่ผู้ใหญ่บ้าน
    • 2.3 นางสะอีดะห์ จอมบำรุง ( คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ) ประธานกองทุนหมู่บ้านเน้นย้ำให้คนที่กู้ยืมเงินจากกองทุน ให้มาชำระหนี้ตามหนังสือที่ทางกองทุนหมู่บ้านได้แจ้งไว้แล้ว
    • 2.4 นายสิริพงษ์ กูลดีน ( ผรส )แจ้ง การเฝ้าระวังยาเสพย์ติด ขณะนี้มักจะมีข่าวของเรื่องยาเสพย์ติดเยอะมาก ซึ่งมันจะผลิตออกมาในรูปแบบหลากหลายชนิด จึงอยากให้ ชาวบ้านทุกคนช่วยกันสอดส่อง เป็นหูเป็นตาบุตรหลาน คอยชี้แนะ ให้คำปรึกษา และตักเตือน อย่าให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพย์ติด เพราะมันจะส่งผลเสียต่อตัวท่านบุคคลที่เสพย์และคนรอบข้าง และหากพบว่าวัยรุ่นคนใดที่ท่านเห็นว่ามีพฤติกรรมที่น่าสงสัยอาจจะเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติดก็ให้มาแจ้งกับทางผู้ใหญ่บ้านได้
    • 2.5 นางสาวพัชรธิดา โสธามาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้สรุปการทำกิจกรรมที่ผ่านมาถึ และชี้แจงถึงกิจกรรมในครั้งต่อไปพร้อมแบ่งหน้าที่กันทำงาน รับผิดชอบงาน ของแต่ละฝ่ายมีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้ง ที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาสภาให้มีความรับผิดชอบ มีความเข้มแข็ง มีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชน
  • เวลา 16.00 น. ประธานกล่าวปิดโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีสภาหมู่บ้าน จำนวน 1 สภาประกอบด้วย คณะกรรมการหมู่บ้าน และตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชน
  • ทีมสภาได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบการเตรียมจัดกิจกรรมครั้งต่อไป
  • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านมาเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 6 ณ มัสยิดบ้านวังช่อนชัย ซึ่งได้รับความร่วมมือจากคณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นอย่างดี
  • มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้งที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน
  • อสม.
  • ผู้นำศาสนา
  • กลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน
  • คณะทำงานโครงการ
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พัฒนาศักยภาพทีมจัดทำโฟกัสกรุ๊ฟ 7 ตระกูล9 เมษายน 2559
9
เมษายน 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างความเข้าใจ และเพิ่มศักยภาพทีมจัดทำโฟกัสกรุ๊ปเกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม วิธีการตั้งคำถาม เก็บรวบรวมข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 9 เมษายน 2559 เวลา 10.00 น.จัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมโฟกัสกรุ๊ป 7 ตระกูลนำร่อง ณ มัสยิดบ้านวังช่อนชัย ม.17 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมี นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการเป็นผู้เปิดประชุม และมี นางสาวอรทัย อุสมา เจ้าหน้าที่ รพ.สต บ้านในเมือง เป็นวิทยากร ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม จะเป็นตัวแทนของแต่ละตระกูล ประกอบด้วย ตระกูลนาคสง่า ตระกูลติงหวัง ตระกูลอุสมา ตระกูลแดงนุ้ย ตระกูลสองเมือง ตระกูลโสธามาด และตระกูลกูลดีน โดยวิทยากรได้อธิบาย ความหมายของโฟกัสกรุ๊ป
  • โฟกัสกรุ๊ป หมายถึง การสนทนากลุ่มการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสนทนาของผู้ให้ข้อมูล ซึ่งเป็นบุคคลที่สามารถให้คำตอบในประเด็นที่ต้องการศึกษาได้ โดยจัดให้มีกลุ่มสนทนาประมาณ 6-12 คน ซึ่งกลุ่มที่จะมีลักษณะโต้ตอบโต้แย้งกันดีที่สุดคือ 7-8 คน และจะต้องมีผู้ดำเนินการสนทนา (Moderator) เป็นผู้คอยจุดประเด็นในการสนทนา เพื่อชักจูงให้กลุ่มเกิดแนวคิดและแสดงความคิดเห็นต่อประเด็นหรือแนวทางการสนทนาอย่างกว้างขวางละเอียดลึกซึ้ง
  • องค์ประกิบการสนทนากลุ่ม
    1 ประเด็นที่ต้องการสนทนา ซึ่งจะทำให้รับทราบความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ 2 แนวคำภถามที่จะต้องกำนดไว้ก่อนล่วงหน้า 3 การคัดเลือกผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม 4 บุคลากรที่จะเข้าร่วมสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย พิธีกร ผู้จดบันทึก ผู้ช่วยดำเนินรายการเข้าร่วม
  • จากนั้นวิทยากรได้ให้ผู้ประชุมคิดประเด็นปัญหา คำถาม ประเด็นปัญหาที่ได้ คือ ความขัดแย้งในชุมชน เพราะเป็นปัญกาที่ทำให้เกิดโครงการนี้ขึ้นมา ส่วนคำถามที่ใช้ คือ สาเหตุของความขัดแย้ง ผลกระทบ และวิธีการแก้ไข
  • วิทยากรได้สรุปอีกครั้ง และะนำประเด็นปัญหา และคำถามที่ได้นี้ ไปใช้ในการจัดทำโฟกัสกรุ๊ป 7 ตระกูลนำร่อง
  • เวลา 15.00 น. นายสถิตย์นุ้ยโส๊ะ ตัวแทนคณะทำงานโครงการกล่าวขอบคุณวิทยากร และผู้เข้าร่วมประชุมทุกท่าน ปิดประชุม-
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ทราบและเข้าใจวิธีการตั้งคำถามและเก็บรวบรวมข้อมูล
  • ได้ประเด็นปัญหา และคำถามที่จะนำไปใช้ในการจัดทำโฟกัสกรุ๊ป 7 ตระกูลนำร่อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 14 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน
  • ตัวแทนกลุ่มเครือญาติตระกูลละ 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมบางท่านยังไม่ค่อยเข้าใจกระบวนการ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชน 26 มีนาคม 2559
26
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้คนในชุมชุนได้ทราบถึงสาเหตุของโรคติดต่อทางพันธุกรรมโดยใช้ผังเครือญาติ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ประสานคนในชุมชน 140 คน
  • ประสานวิทยากร
  • เตรียมข้อมูลที่จะใช้ในการแจ้งให้กับคนในชุมชนรับทราบ
  • จัดเตรียมอาหารและสถานที่
  • วันที่ 26 มีนาคม 2559 เวลา 10.00 น. ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการ และคณะทำงานโครงการ จัดกิจกรรม เวทีคืนข้อมูลสู่ชุมชนโดย นายสมนึก เส็นนิ่ง ผู้ใหญ่บ้านได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมและวิทยากร คือ นางสาวอรทัย อุสมา และนางธิดา สองเมือง เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านในเมือง เป็นวิทยากร โดยนำข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์ มาชีแจงให้คนในชุมชนรับทราบ พร้อมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดัน เบาหวาน
  • จากที่คณะทีมจัดทำผังเครือญาติ มีทั้งหมด 7 ตระกูล สามารถสรุปได้ดังนี้
  1. ตระกูลนาคสง่ามีต้นกำเนิดมาจาก นายสัน แต่งงานกับนางมิสะ นาคสง่า มีลูกด้วยกันทั้งหมด 7 คน ซึ่งตระกูลนี้ มีโรคความดัน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
  2. ตระกูลโสธามาด มีต้นกำเนิดมาจาก นายราเด็น โสธามาด แต่งงานกับนางมิน๊ะมีลูกด้วยกัน ทั้งหมด ถ 5 คน ซึ่งตระกูลนี้ มีโรคความดัน โรคเบาหวาน โรคปอด โรคไต และโรคหอบหืด
  3. ตระกูลขุนนา มีต้นกำเนิดมาจาก นายหมิ ขุนนา แต่งงานกับนางสาเลียะ ขุนนา มีลูกด้วยกัน 8 คน ซึ่งตระกูลนี้ มีโรคความดัน เบาหวาน
  4. ตระกูล แดงนุ้ย มีต้นกำเนิดมาจาก นายหนอก แดงนุ้ย แต่งงานกับนางอุด๊ะ อุศมา มีลูกด้วยกัน 2 คน ตระกูลนี้มีโรค ความดัน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
  5. ตระกูลอุสมา มีต้นกำเนิดจาก นายลิเฝน อุสมา แต่งงานกับนางตีสา นาคสง่า มีลูกด้วยกัน 3 คน ซึ่งตระกูลนี้มีโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
  6. ตระกูลกูลดีน มีต้นกำเนิดมาจาก นายย่าหยา กูลดีน แต่งงานกับนางสะยะ กูลดีน มีลูกด้วยกัน 3 คน ซึ่งตระกูลนี้มีโรค ความดัน วัณโรค และมะเร็งหลอดเลือด
  7. ตระกูลติงหวัง มีต้นกำเนิดจาก นายเหรบ ติงหวัง แต่งงานกับนางโปด ติงหวัง มีลูกด้วยกัน 5 คน ซึ่งตระกูลนี้มีโรคเบาหวาน โรคไต โรคมะเร็ง โรคหัวใจตีบ และโรคปอด
  • จาการสรุปและวิเคราะห์ผังเครือญาติแสดงให้เห็นว่าทั้ง 7 ตระกูลมีโรคที่สำคัญคือโรคความดัน โรคเบาหวาน จึงอยากให้ทุกคนในแต่ละตระกูลช่วยกันดูแลสุขภาพการเลือกรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรค จึงอยากให้ลดอาหารเหล่านั้น แล้วหันมาทานผัก ผลไม้และออกกำลังกายกันเยอะๆ
  • จากนั้น วิทยากรได้อธิบาย โรคความดัน โรคเบาหวาน และการปฏิบัติตน ให้คนในชุมชนได้รับทราบ
  • นางสาวพัชริดา โสธามาด ผู้รับผิดชอบโครงการกล่าวขอบคุณวิทยากรและผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน และกล่าวปิดประชุม เวลา 15.30 น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนได้เห็นตระกูลที่อาศัยอยู่ในชุมชนผ่านผังเครือญาติสามารถเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงโรคติดต่อทางพันธุกรรม
  • คนในชุมชน ได้รับความรู้จากวิทยากร และได้รับข้อมูลจากการสำรวจของทีมคณะทำงาน
  • ได้รับความร่วมมือจากคนในชุมชนเป็นอย่างดี
  • ได้ทราบข้อมูลถึงโรคต่างๆของทั้ง 7 ตระกูล
  • ผังเครือญาติทั้ง 7 ตระกูลนี้ล้วนแต่เป็นคนในชุมชนเดียวกัน หรืออาจจะไปอยู่อีกหมู่บ้านที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งสามารถลดปัญหาการแตกแยกกันได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 140 คน จากที่ตั้งไว้ 140 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • อบต
  • ผู้นำศาสนา
  • อสม
  • กลุ่มต่างๆในหมู่บ้าน
  • คนในชุมชน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เนื่องจากฝนตกหนัก ทำให้คนในชุมชนไม่สามารถมาเข้าร่วมประชุมได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 517 มีนาคม 2559
17
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 17 มีนาคม 2559 ประชุมทีมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 5 ณ อาคารเอนกประสงค์ บ้านวังช่อนชัย หมู่ที17 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อให้เป็นไปตามกลไกการขับเคลื่อนงานของชุมชน เปิดประชุม เวลา 14.00 น. โดยมีนายสามนึก เส็นนิ่ง เป็นประธาน
  • ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
    • ขอเชิญ ขอเชิญเข้าร่วมโครงการจัดทำเวทีประชาคมแผนชุมชนประจำปี พ.ศ. ๒๕๕๙เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนชุมชนและประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น กำหนดทิศทางในการพัฒนาให้เป็นไปตามความต้องการของประชาชน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลละงูในวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๕๙ เวลา ๐๘.๓๐ น. เป็นต้นไป ณ อาคารเอนกประสงค์บ้านวังช่อนชัย
    • จากที่หมู่บ้านได้รับงบประมาณของโครงการตำบล ๕ ล้าน เพื่อมาซ่อมแซมหลังคามัสยิด ซึงได้ดำเนินการแล้วเสร็จ และเมี่อวันที่ ๑๑ มีนาคม ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ทางคณะกรรมการผู้ตรวจโครงการ ประกอบด้วย ปลัดอำเภอ และหัวหน้าช่างของ อบต.ละงู พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน และบัณฑิตอาสาได้ตรวจสอบผลการซ่อมแซมหลังคามัสยิด จากการตรวจสอบไม่มีน้ำรั่วซึมแล้ว
    • กำหนดการประชุมหมู่บ้านครั้งที่ ๓ /๒๕๕๙ ประจำเดือน เมษายน ๒๕๕๙ วันอาทิตย์ ที่๑๗ เมษายน๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณมัสยิดนุรุลสะอะดะห์บ้านวังช่อนชัย
  • เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน
    • นางสาวพัชริดา โสธามาด (ผู้รับผิดชอบโครงการ) ได้ชี้แจงและสรุปผลจากการทำแผนผังเครือญาติให้แก่คณะทำงานโครงการและที่ประชุมได้ทราบ และเตรียมแผนงานในกิจกรรม เวทีคืนข้อมูลซึ่งกิจกรรมนี้เป้าหมาย คือ 140 คน จึงอยากให้ที่ประชุมช่วยกันประชาสัมพันธ์ให้คนในชุมใชนได้รับทราบกันถ้วนหน้า และมอบหมายหน้าที่ให้แก่คณะทำงานแต่ละฝ่ายดำเนินการตามแผน และให้คณะทำงานได้แสดงความคิดเห็น และความต้องการต่างๆนำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
    • นางสะอีด๊ะ จอมบำรุง ( กรรมการ กทบ. )ประธานกองทุนหมู่บ้านเน้นย้ำให้คนที่กู้ยืมเงินจากกองทุน ให้มาชำระหนี้ตามหนังสือที่ทางกองทุนหมู่บ้านได้แจ้งไว้แล้ว ในวันที่ 1 ของทุกเดือน
    • องค์กรในชุมชนต่างๆ แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
    • การดูแลสุขภาพ (อสม)ช่วงนี้อากาศร้อนทำให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ไม่สบายบ่อยมาก เช่น ป่วยเป็นไข้หวัด ท้องร่วง เป็นต้น จึงอยากให้ทุกท่านช่วยกันดูแลสุขภาพของตนเองและคนในครอบครัว กินอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ปรุงสุกใหม่ๆล้างมือให้สะอาด เพื่อป้องกันโรคท้องร่วง
    • การรักษาความปลอดภัยในหมู่บ้านการดูแลความปลอดภัยของหมู่บ้าน (ชรบ) อยากให้ทั้งชุดรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านและชาวบ้านช่วยกันดูแลหมู่บ้านของเรา ช่วยเป็นหูเป็นตา ไม่ว่าเรื่องของยาเสพย์ติด การรวมกลุ่มกันของวัยรุ่น เป็นต้น
  • เรื่องอื่นๆ
    • ไม่มี
  • เวลา 16.00 น. ประธานกล่าวปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านเข้าร่วมการประชุมและมีการชี้แจงสถานการณ์ด้านต่างๆในชุมชน
  • ได้ข้อเสนอแนะของแต่คนในการร่วมมือกันขับเคลื่อนงานในชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • องค์กรในชุมชนต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม.ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
  • มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้งที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 32 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • อสม.
  • ประธานกองทุนหมู่บ้าน
  • ส.อบต.
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • คณะกรรมการมัสยิด
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
สรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ผังเครือญาติ12 มีนาคม 2559
12
มีนาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ได้จากการทำผังเครือญาติมาสังเคราะห์เพื่อนำไปสู่การคืนข้อมูลต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 12 มีนาคม 2559 เวลา10.00 น.ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัยหมู่ที่ 17 ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูลได้จัดกิจกรรม สรุป วิเคราะห์ สังเคราะห์ผังเครือญาติโดยมี นางสาวอรทัย อุสมา และนางธิดา สองเมือง เจ้าหน้าที่รพ.สต. บ้านในเมือง ตำบลละงูเป็นวิทยากรในการสังเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ จากที่ทีมคณะทำงานได้ลงสำรวจข้อมูลและนำมาจัดทำผังเครือญาตินั้น ซึ่งได้ทำการสำรวจทั้งหมด 7 ตระกูล ซึ่งสรุปผลการสังเคราะห์ดดังนี้

    1.ตระกูล นาคสง่า คือ นายสาเย็น นาคสง่า แต่งงานกับนางมิสะ นาคสง่า ทั้งสองได้เสียชีวิตแล้ว และมีลูกด้วยกัน 4 คน คือ

1). นายสาเย็น นาสง่า แต่งงานกับนางม๊ะ สันโด นายสาเย็น ได้เสียชี่วิตแล้วด้วยโรค หัวใจ และความดัน ส่วนางม๊ะ ยังมีชีวิตอยู่ แต่มีโรคประจำตัวคือ โรคความดัน ทั้งสองคนมีลูกทั้งหมด 7 คน เป็นโรคความดัน 1 คน 2). นางสาลีม๊ะ นาคสง่า แต่งงากับนายโสด คงอินตัน มีลูกด้วยกัน 3 คน นายโสดมีโรคประจำตัวคือ ความดัน ส่วนลูกยังไม่พบว่ามีโรค ความดัน เบาหวาน 3). นางยำอ๊ะ นาคสง่า แต่งงานกับนาย ปิสน หลีหลัง นางยำอ๊ะ มีโรคประจำตัวคือ โรคความดัน เบาหวาน และโรคหัวใจ ปัจจุบันยังไม่มีลูก 4). นางหมีน๊ะ หลังชาย แต่งงานกับ นายรอกาด หลังชาย มีลูกด้วยกัน 5 คน ทั้งสองคนไม่มีโรคประจำตัว

2.ตระกูล โสธามาด คือ นายราเด็น โสธามาด แต่งงานกับนางมิน๊ะ ทั้งสองเสียชีวิตแล้วด้วยโรคชรา มีลูกด้วยกันทั้งหมด 5 คน

1). นายยาหอด โสธามาด แต่งงานกับนางปอหรา ทุ่ยอ้น นายยาหอดได้เสียชีวิตแล้วด้วยโรคชรา ส่วนนางปอหรายังมีชีวิตอยู่แต่ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ มีลูกด้วยกัน 5 คน ไม่มีใครมีโรคประจำตัว 2). นายอำสอด โสธามาด แต่งงานกับ นางฉ๊ะ ขุนนา ( เสียชีวิตแล้วด้วยโรคความดัน) นายอำสอดมีโรคประจำตัว คือ โรคความดัน มีลูกด้วยกัน 9 คน เป็นโรคความดัน 2 คน และเป็นโรค ความดัน เบาหวาน 1 คน 3). นายเหลบ โสธามาด แต่งงานกับ นางป๊ะ มองดี ทั้งสองไม่มีโรคประจำตัว มีลูกด้วยกัน 8 คน เสียชีวิตด้วยโรค 2 คน 4). นายสาโหด โสธามาด แต่งงานกับ นางบาก คงทอง นายสาโหด เสียชีวิตด้วยโรคไต ส่วนนางบากเป็นโรคหอบหืด มีลูกด้วยกันทั้งหมด 6 คน ไม่มีใครเป็นโรคประจำตัว 5). นายตารอด โสธามาด แต่งงานกับนางเตียะ ทั้งสองไม่มีโรคประจำตัว มีลูกด้วยกัน 3 คน ทุกคนไม่มีโรคประจำตัว

  1. ตระกูลขุนนา มี นายหมิ ขุนนา แต่งงานกับนางสาเลียะ ขุนนา นายหมิเสียชีวิตด้วยโรค วัณโรค นางสาเลียะยังมีชีวิตอยู่ มีโรคประจำตัว คือ โรคควมดัน มีลูฏด้วยกัน 8 คน คือ

1). นางฉ๊ะ ขุนนา แต่งงานกับนายอำสอด โสธามาด นางฉ๊ะ เสียชีวืตแล้วด้วยโรคความดัน ส่วนนายอำสอดยังมีชีวิตอยู่มีโรคประจำตัว คือ โรคความดัน มีลูกด้วยกัน 9 คน เป็นโรคความดัน เบาหวาน 1 คน และโรคความดัน 1 คน 2). นางบิด๊ะ ขุนนา แต่งงานกับ นายสาโสด ตาเอ็น นางบิิด๊ะ มีโรคประจำตัวคือ โรคความดัน มีลูกด้วยกัน 6 คน เป็นโรคความดัน 1 คน 3). นางฟาติม๊ะ ขุนนา แต่งงานกับนายแหน ขวัญทอง นางฟาติม๊ะ มีโรคประตัว คือ โรคความดัน เบาหวาน นายแหน มีโรคประตัวคือ โรคความดัน มีลูกด้วย 5 คน 4). นายสอด ขุนนา แต่งงานกับนางซาเราะ ทั้งสองมีโรคประตัวคือ โรคความดัน เบาหวาน มีลูกด้วย 4 คน เสียชีวิต 1 คน ด้วยอุบัติเหตุ 5). นายผัน ขุนนา แต่งงานกับนางหยาด หมาดสา มีลูก 1 คน ไม่มีโรคประจำตัว 6). นายบูรณ์ ขุนนา แต่งงานกับนางย๊ะ มัจฉา มีลูกด้วยกัน 4 คน ไม่มีโรคประจำตัว 7). นายน้อย ขุนนา แต่งงานกับนางวรรณี หลงหา ทั้งสองคนมีโรคประจำตัวคือ โรคความดัน เบาหวาน มีลูกด้วยกัน 4 คน 8). นายขวัญดี ขุนนา แต่งงานกับนางร็อม ไม่มีโรคประจำตัว มีลูกด้วยกัน 4 คน

  1. ตระกูล แดงนุ้ย มี นายหนอก แดงนุ้ย แต่งงานกับนางอุด๊ะ อุศมา ทั้งสองเสียชีวิตแล้วด้วยโรคชรา มีลูกด้วยกัน 2 คน คือ

1). นายเสริฐจิต แดงนุ้ย แต่งงานกับนางเจ๊ะโตม อุศมา ทั้งสองมีโรคประจำตัวคือ โรคความดัน เบาหวาน มีลูกด้วยกัน 3 คน เป็นโรคความดัน เบาหวาน 1 คน และเป็นโรคความดัน 1 คน 2). นายพิพัฒน์ แดงนุ้ย แต่งงานกับนางอัศมะ สองเมือง นายพิพัฒน์มีโรคประตัว คือ โรคหัวใจ นางอัศมะ มีโรคประจำตัว คือ โรคเบาหวาน มีลูกด้วยกัน 5 คน ไม่มีโรคประจำตัว

5 ตระกูล อุสมา นายลิเฟน อุสมาแต่งงานกับนางตีสา นาคสง่า นายลิเฝนเสียชีวิตแล้วด้วยโรค ชรา ส่วนนางตีสายังมีชีวิตอยู่ ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ มีลูกด้วยกัน 3 คน คือ 1). นายยอหาด อุสมา แต่งงานกับนางอาบี อุสมา ทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ นางอาบีมีโรคประจำตัวคือ โรคเบาหวาน มีลูกด้วยกัน 5 คน ไม่มีโรคประจำตัว 2). นายหมาดเหยด อุสมา แต่งงานกับนางอา อุสมา ทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ มีลูกด้วยกัน 5 คน 3). นายฮะเฉ็ม อุสมา แต่งงานกับนางร่มส๊ะ ผอมเขียว ทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีโรคประจำตัว มีลูกด้วยกัน 3 คน เป็นโรคหัวใจ 1 คน

  1. ตระกูล กูลดีน มี นายย่าหยา กูลดีน แต่งงานกับนางสะยะ กูลดีน นายย่าหยาเสียชีวิตด้วยโรค วัณโรค นางสะยะ เสียชีวิตด้วยโรคความดันและมะเร็งหลอดเลือด มีลูกด้วยกัน 4 คน 1). นางอ๊ะ กูลดีน แต่งงานกับนายโสด ไม่มีโรคประตัวมีลูกด้วยกัน 6 คน
    2). นางหนุน กูลดีน แต่งงานกับนายเสด ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ มีลูกด้วยกัน 4 คน 3). นายบูบากาก กูลดีน แต่งงานกับนางไบด๊ะ กูลดีน ทั้งสองคนยังมีชีวิตอยู่ นางใบด๊ะมีโรคประจำตัวคือ โรคความดัน มีลูกด้วยกัน 5 คน 4). นางรอน๊ะ กูลดีน แต่งงานกับนายหมาดฮาเหยด หน่อนะ ทั้งสองยังมีชีวิตอยู่ ไม่มีโรคประจำตัวใดๆ มีลูกด้วยกัน 4 คน

  2. ตระกูลติงหวัง มี นายเหรบ ติงหวัง แต่งงานกับนางโปด ติงหวัง ทั้งสองชีวิตแล้วด้วยโรคชรา มีลูกด้วยกัน 5 คน คือ 1). นางสะเดียะ แต่งงานกับนายบาหรี มีลูก 5 คน เสียชีวิตแล้ว 1 คนด้วยอุบัติเหตุ 2). นางฮาเลียะ ติงหวัง แต่งงานกับนายสะอาด ยังมีชีวิตอยู่ มีลูกด้วยกัน 7 คน 3). นางจ๊ะ ติงหวัง แต่งงานกับนายหมาดเสบ ติงหวัง นายหมาดเสบเสียชีวิตแล้วด้วยโรคชรา นางจ๊ะมีชีวิตอยู่ มีโรคประตัวคือโรคเบาหวาน มีลูกด้วยกัน 6 คน พิการทางการได้ยิน 1 คน และโรคไต 1 คน 4). นางรอมีน๊ะ ติงหวัง แต่งงานกับนายวาเยบ เอียดรักษ์ นายวาเยบเสียชีวิตแล้วด้วย มะเร็ง นางรอมีน๊ะยังมีชีวตอยู่มีโรคประจำตัวคือ หัวใจตีบ 5). นายอุเส็น ติงหวัง แต่งงานกับนางหรอมบวน ติงหวัง นางหรอมบวนเสียชีวิตแล้วด้วยโรคปอด ส่วนนายอุเส็น ยังมีชีวิตอยู่ มีลูกด้วยกัน 7 คน พิการ 1 คน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ข้อมูลที่ผ่านการสังเคราะห์ ที่เป็นจริงเพื่อนำไปสู่การจัดทำเวทีคืนข้อมูลในกับคนในชุมชน
  • ได้ชุดข้อมูลผังเครือญาติจำนวน 1 ชุด
  • เกิดกระบวนการในการแสดงความคิดเห็นร่วมกันของคณะทำงานและทีมจัดเก็บข้อมูล
  • มีผังเครือญาติของคนหมู่ 17 บ้านวังช่อนชัย ที่จะนำไปสู่การป้องกันกลุ่มเสี่ยงของโรคติดต่อทางพันธุกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • อสม.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาช้า จึงทำให้การประชุมเป็นไปอย่างล่าช้า
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 417 กุมภาพันธ์ 2559
17
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและเป็นกลไกในการขับเคลื่นงานของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559 เวลา 14.00 น. ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านเข้าร่วมประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน ครั้งที่ 4 ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ โดยมีนายสมนึก เส็นนิ่ง เป็นประธานในการประชุม
  • ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
    • ขอเชิญร่วมงาน “ วันรวมน้ำใจ สู่กาชาดจังหวัดสตูล ” ด้วยจังหวัดสตูลร่วมกับเหล่ากาชาดจังหวัดสตูล ได้กำหนดจัดงานประจำปีและงานกาชาดจังหวัดสตูล ประจำปี ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ – ๘ มีนาคม ๒๕๕๙ บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสตูล ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของจังหวัดสตูล และหารายได้สำหรับช่วยเหลือ บรรเทาทุกข์ผู้ประสบสาธารณภัยต่างๆ รวมทั้งการช่วยเหลือราษฎรยากจนในท้องถิ่นทุรกันดาร
    • โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ พอ.สว. และโครงการอำเภอละงูยิ้ม...เคลื่อนที่ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ด้วยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูลร่วมกับอำเภอละงู กำหนดออกหน่วยให้บริการพื้นที่ พอ.สว.และโครงการอำเภอละงูยิ้มเคลื่อนที่ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ ในวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ณ โรงเรียนบ้านเกาะโหลน หมู่ที่ ๓ ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล
    • กำหนดการประชุมหมู่บ้านครั้งที่ ๓ /๒๕๕๙ ประจำเดือน มีนาคม ๒๕๕๙ วันพฤหัส ที่๑๗ กุมภาพันธ์๒๕๕๘ เวลา ๑๔.๐๐ น. ณมัสยิดนุรุลสะอะดะห์บ้านวังช่อนชัย
  • เรื่องเพื่อทราบ/พิจารณา/ปัญหาและความต้องการของหมู่บ้าน
    • นางสาวอรอุมา ขุนนา ชี้แจงผลการรายงานปิดงวดโครงการครั้งที่ 1 ให้ที่ประชุมทราบเรื่อง รายงานความคืบหน้า โครงการ มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม. ๑๗ บ้านวังช่อนชัย(ภายใต้โครงการสสส. )เมี่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ที่ผ่านมา ตัวแทนคณะทำงานได้มีการปิดบัญชีโครงการ สสส.ครั้งที่ 1 โดยมีเจ้าหน้าที่ สจรส.และพี่เลียงของโครงการได้เข้ารายงานและตรวจสอบผลการปฏิบัติงานของรอบปีที่ผ่านมาและได้ตรวจรายงานของแต่ละโครงการที่ได้ปฏิบัติและตรวจสอบเอกสารทางเงินให้เป็นไปตามกระบวนการเบิกจ่ายเงินของแต่ละโครงการให้เป็นไปตามปฏิทินที่กำหนดในแต่ละรายการ ผลที่ได้มาเจ้าหน้าที่สจรส.ได้ให้คำแนะนำและตรวจเอกสารได้อย่างถูกต้องทำให้งานที่ทำเสร็จไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และเตรียมจัดกิจกรรมต่อไปคือ กิจกรรมสรุปวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลผังเครือญาติ พร้อมทั้งแบ่งหน้าที่รับผิดชอบให้แต่ละฝ่ายดำเนินการตามแผนงาน
    • การป้องกันและเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออก (อสม) ตอนนี้มีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้ชาวบ้านช่วยกันใส่ใจ และดูแล ทำความสะอาดบริเวณที่มีน้ำขัง ก็ให้คว่ำ น้ำในห้องน้ำก็ให้ใส่ทรายอะเบทลงไป เพื่อไม่ให้ยุงไปวางไข่ เน้นเรื่อง กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ
    • การเฝ้าระวังยาเสพย์ติด(ผรส) ขณะนี้มักจะมีข่าวของเรื่องยาเสพย์ติดเยอะมาก ซึ่งมันจะผลิตออกมาในรูปแบบหลากหลายชนิด จึงอยากให้ ชาวบ้านทุกคนช่วยกันสอดส่อง เป็นหูเป็นตาบุตรหลาน คอยชี้แนะ ให้คำปรึกษา และตักเตือน อย่าให้เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพย์ติด เพราะมันจะส่งผลเสียต่อตัวท่านบุคคลที่เสพย์และคนรอบข้าง และหากพบว่าวัยรุ่นคนใดที่ท่านเห็นว่ามีพฤติกรรมที่น่าสงสัยอาจจะเกี่ยวข้องกับยาเสพย์ติดก็ให้มาแจ้งกับทางผู้ใหญ่บ้านได้
    • ภาคีเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ประชาสัมพันธ์ข่าวสารและกิจกรรมหรือขอความร่วมมือกันในชุมชน
    • เวลา 16.00 น. ผู้ใหญ่บ้านกล่าวขอบคุณทุกท่านที่เข้าร่วมประชุม ปิดประชุม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดความร่วมมือและการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการเข้าร่วมประชุม
  • ได้ข้อเสนอแนะของแต่คนในการร่วมมือกันขับเคลื่อนงานในชุมชนให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  • ผู้นำภาคีเครือข่ายต่างๆผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน สมาชิกอบต. อสม. กลุ่มสตรี ผู้นำศาสนาและกองทุนหมู่บ้าน แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารในพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครงการ
  • ผู้ใหญ่บ้าน
  • คณะกรรมการหมู่บ้าน
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
  • ประธานกองทุนหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
รายงานปิดงวด 112 กุมภาพันธ์ 2559
12
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อปิดงวดโครงการ งวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ทำการตรวจสอบเอกสารการเงินโครงการ โดยมีเจ้าหน้าที่ทำการตรวจเอกสารการเงินและรายงานในเวปไซด์ ตามกิจกรรมที่พื้นที่ได้จัดดำเนินการในแต่ละกิจกรรม พร้อมทั้งตรวจรายงานและเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบพร้อมทั้งให้ข้อเสนอแนะและเขียนรายงานเพิ่มเติมในบางกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับกิจกรรมและเพื่อความเสร็จสมบูรณ์ครบถ้วน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผลการตรวจสอบเอกสารการเงินได้เอกสารการเงินสอดคล้องกับกิจกรรมและในเวปไซด์
  • ได้สรุบผล และได้ปิดงวดโครงการ งวดที่ 1 อย่างเสร็จสมบูรณ์
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย

ตัวแทนคณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • บางกิจกรรมต้องแก้ไขและเพิ่มเติมในรายงานให้ถูกต้อง
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ร่วมกับพื้นที่สรุปปิดงวด 1 โครงการ11 กุมภาพันธ์ 2559
11
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อหนุนเสริมพื้นที่ในการปิดงวดโครงการงวดที่ 1

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ช่วยดูแลพื้นที่ในการตรวจสอบเอกสารก่อนพบทีม สจรส.ในการตรวจสอบเอกสารการเงินและรายงานกิจกรรมในเวบไซค์ก่อนปิดงวดโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมคณะทำงานโครงการของพื้นที่มีความเข้าใจสามารถจัดการเอกสารได้ถูกต้อง
  • สามารถปิดโครงการงวดที่ 1 ได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • เรื่องการจัดการเอกสารอย่างถูกต้อง
  • การเขียนรายงานกิจกรรมลงในเวบไซค์
พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงานก่อนปิดงวดโครงการ9 กุมภาพันธ์ 2559
9
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อตรวจสอบเกสารการเงิน และรายงานก่อนปิดโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน
  • บันทึกรายงานเพิ่มเติม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้เอกสารการเงินที่ถูกต้อง
  • บันทึกข้อมูลได้ถูกต้อง
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลผังเครือญาติครั้งที่ 14 กุมภาพันธ์ 2559
4
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสำรวจตระกูลที่มีอยู่ในหมู่บ้านเพื่อนำไปสู่การป้องกันโรคติดต่อทางพันธุกรรม-
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 4 - 13 กุมภาพันธ์เวลา 09.00 น. - 15.00 น. คณะทำงานโครงการ อสม. และตัวแทนเยาวชน จำนวน 20 คน ใช้เวลาในการสำรวจ 10 วัน ได้ทำการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล แผนผังเครือญาติ ซึ่งในหมู่บ้านมีด้วยกัน 7 ตระกูล คือ ตระกูลนาคสง่า ตระกูลกูลดีน ตระกูลขุนนา ตระกูลอุสมา ตระกูลโสธามาด ตระกูลติงหวัง และตระกูลแดงนุ้ยโดยออกแบบให้คณะทำงาน อสม.และตัวแทนเยาวชนในหมู่บ้านไปเก็บข้อมูลในแต่ละครัวเรือนโดยการแบ่งตามเขตความรับผิดชอบของ อสม.ในการลงพื้นที่สำรวจเพื่อให้ง่ายต่อการทำงานของทีมในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและในครั้งนี้ทางทีมก็ได้ลงสำรวจในเรื่องของผู้สูงอายุและคนพิการควบคู่ไปด้วยกัน หลังจากนั้นจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันในแต่ละสายตระกูล
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ข้อมูลผังเครือญาติจำนวน 7 ตระกูลผู้สูงอายุจำนวน 93 คน และผู้พิการจำนวน 15 คน
  • แกนนำจำนวน 20 คน สามารถเรียนรู้วิธีการสำรวจข้อมูลแผนผังเครือญาติและนำมาใช้ได้อย่างถูกต้อง จำนวน 18 คน
  • แกนนำมีแบบแผนและ กระบวนการทำงานมากขึ้น
  • แกนนำมีสัมพันธ์ที่ดีขึ้นในการทำงานเป็นทีม
  • นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกันในแต่ละสายตระกูล และระหว่างสายตระกูล รวมถึงใช้ความสัมพันธ์ที่ได้นี้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนทำให้ทราบว่า คนในตระกูลนั้นมีเชื้อสาย มีต้นกำเนิดมาอย่างไร ใครเป็นใครในชุมชน และคนในชุมชนมีโรคอะไรบ้าง ส่วนใหญ่โรคที่เกิดจากพันธุกรรมของแต่ละตระกูล คือ โรคความดันและโรคเบาหวาน ซึ่งโรคนี้แต่ละตระกูลก็ได้รับการรักษาอยู่ที่ รพ.สต. บ้านในเมือง ในระหว่างที่ผู้สำรวจได้ทำการสำรวจนั้นก็ได้ให้คำแนะนำแก่ชาวบ้านถึงวิธีการปฏิบัติตนทั้งคนที่ยังไม่เป็นโรคและคนที่เป็นโรคแล้ว
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานโครงการ อสม. และตัวแทนเยาวชนจำนวน 20 คน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ในช่วงแรกคนในชุมชนบางท่านยังไม่เข้าใจในสิ่งที่สำรวจ แนวทางแก้ไข แกนนำได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการสำรวจให้คนในชุมชนเข้าใจมากขึ้น ทำให้ช่วงหลังคนในชุมชนเข้าใจและให้ความร่วมมือมากยิ่งขึ้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมทีมคณะทำงานลงสำรวจข้อมูล3 กุมภาพันธ์ 2559
3
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อสร้างความเข้าใจเครื่องมือและแบ่งทีมการลงสำรวจข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 13.30 น. ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย โดยมีนางพัชริดา โสธามาด ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นประธานในการเปิดการประชุมทีมคณะทำงานลงเก็บข้อมูลจำนวน 20 คน โดยมี นางสาวอรทัย อุสมา เจ้าหน้าที่ รพ.สต. บ้านในเมือง ม. 12 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล มาทำความเข้าใจรูปแบบ แบบสำรวจข้อมูลแผนผังเครือญาติและวางแผนการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพิ่มเติม พร้อมทั้ง ชี้แจง แบบสำรวจผู้สูงอายุ และผู้พิการให้ทีมคณะทำงานสำรวจข้อมูลเข้าใจ แล้วแบ่งทีมในการลงพื้นที่สรวจข้อมูลโดยจับคู่แกนนำชุมชนและเยวชนในการลงพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและสร้างความเข้าใจร่วมกัน ทั้งเยาวชนและ อสม.ในพื้นที่เพื่อให้เกิดความเข้าใจและพร้อมลงพื้นที่ไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในการลงพื้นที่เก็บข้อมูลจะมีการแบ่งตามเขตความรับผิดชอบของ อสม.เพื่อให้คณะทำงานลงพื้นที่สำรวจข้อมูลไม่ซ้ำซ้อนโดยให้เยาวชน 2 คน ต่อ อสม. 1 คน ในการลงพื้นที่สำรวจข้อมูล

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แกนนำชุมชนและเยาวชนเข้าใจเครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลมากขึ้น
  • เกิดการทำงานเป็นทีมร่วมกันของ อสม.และเยาวชนในชุมชน
  • ได้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนไม่ซ้ำซ้อน เกิดข้อมูลที่ชัดเจนและครอบคลุมทุกพื้นที่
  • มีทีมในการลงพื้นสำรวจข้อมูล
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

เกือบได้ตามเป้าหมาย (2)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมคณะทำงานที่ลงสำรวจข้อมูลแกนนำชุมชน 10 คน เยาวชน 10 คน-
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี 
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมทีมวิชาการออกแบบสำรวจผังเครือญาติในพื้นที่1 กุมภาพันธ์ 2559
1
กุมภาพันธ์ 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ได้แบบสำรวจและข้อมูลที่ต้องการของพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

วันที่ 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ 2559 เปิดประชุมเวลา 13.30 น. ณ มัสยิดนุุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย ม. 17 โดยมีนายสมนึก เส็นนิ่ง ผู้ใหญ่บ้านเป็นประธานในการเปิดประชุมทีมวิชาการในการออกแบบสำรวจข้อมูลแผนผังเครือญาติของชุมชนบ้านวังช่อนชัย หมู่ที่ 17 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เพื่อทำความเข้าใจเรื่องข้อดีการได้มาซึ่งข้อมูลและร่วมกันออกแบบ แบบสำรวจที่จะต้องลงเก็บข้อมูลขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการทำงาน โดยมีนางสาวอรทัย อุสมา เจ้าหน้าที่ รพ.สต.บ้านในเมือง หมู่ที่ 12 ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล เป็นวิทยากรในการออกแบบสำรวจแผนผังเครือญาติและทางคณะทำงาน ผู้เข้าร่วมประชุมช่วยกันคิดวิเคราะห์ออกแบบสำรวจ และแบ่งเขตความรับผิดชอบให้กับคณะทำงาน และทางวิทยากรได้อธิบายวิธีทำแผนผังเครือญาติให้กับคณะทำงานได้เข้าใจ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลดิบที่สามารถนำมาวิเคราะห์เป็นชุดข้อมูลของหมู่บ้านที่สมบูรณ์

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แบบสำรวจข้อมูลแผนผังเครือญาติจำนวน 1 ชุด
  • เกิดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแบบสำรวจ
  • เกิดกระบวนการคิดร่วมกันและเกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
  • จัดทำแผนผังเครือญาติมีด้วยกัน 7 ตระกูลนำร่อง คือ
  1. ตระกูล นาคสง่า ผู้รับผิดชอบ นางสาวนาลิตาหลังชาย
  2. ตระกูล ติงหวังผู้รับผิดชอบ นางฮาเบียะ ติงหวัง
  3. ตระกูล อุสมาผู้รับผิดชอบนางอำสะ อุสมา
  4. ตระกูล แดงนุ้ย ผู้รับผิดชอบ นางจำเนียร หลังเศษ
  5. ตระกูล ขุนนา ผู้รับผิดชอบนางสาวพัชริดา โสธามาด
  6. ตระกูล โสธามาด ผู้รับผิดชอบ นางสะอีด๊ะ จอมบำรุง
  7. ตระกูล กูลดีน ผู้รับผิดชอบ นางรัชนี หยีมะเหร็บ
  • ร่วมกันวางแผนลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลต่อไป
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 22 คน จากที่ตั้งไว้ 22 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน อสม. และตัวแทนเยาวชน
  • วิทยากร
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารการเงินรายงานก่อนปิดงวดโครงการ ( ต่อ )30 มกราคม 2559
30
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงานก่อนปิดงวดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงาน เพื่อความถูกต้อง
  • ปรึกษาหารือพี่เลี้ยงโครงการเกี่ยวเอกสารการเงินและสมุดบัญชีธนาคาร
  • เพิ่มเติมเนื้อหาในรายงานโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดเรียงเอกสารทางการเงินได้อย่างถูกต้อง
  • ได้รายละเอียดรายงานโครงการเพิ่มเติม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการ 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงโครงการเพื่อตรวจสอบเอกสารเงินรายงานก่อนปิดงวดโครงการ29 มกราคม 2559
29
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงานก่อนปิดงวดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงาน เพื่อความถูกต้อง
  • ปรึกษาหารือพี่เลี้ยงโครงการเกี่ยวเอกสารการเงินและสมุดบัญชีธนาคาร
  • เพิ่มเติมเนื้อหาในรายงานโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดเรียงเอกสารทางการเงินได้อย่างถูกต้อง
  • ได้รายละเอียดรายงานโครงการเพิ่มเติม
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข

ไม่มี

circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
มาพบพี่เลี้ยงตรวจสอบเอกสารการเงิน รายงาน ก่อนปิดโครงการ28 มกราคม 2559
28
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อตรวจสอบเกสารการเงิน และรายงานก่อนปิดโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • นำเอกสารมาให้พี่เลี้ยงตรวจสอบ และตรวจสอบการเขียนรายงานโครงการ
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จัดเรียงเอกสารการเงินแต่ละกิจกรรมครบถ้วน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 317 มกราคม 2559
17
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรม
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 3 ประชุมเพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการดำเนินงาน ในแต่ละกิจกรรม
  • สรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและให้มีการวางแผนกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วันที่ 17 มกราคม 2559 เวลา 14.00 น. ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย ม. 17 ได้จัดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 3 โดยมี นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการเป็นผู้เปิดประชุมเพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการดำเนินงาน ในแต่ละกิจกรรม ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน รับผิดชอบงาน ของแต่ละฝ่าย และให้คณะทำงานได้แสดงความคิดเห็น และความต้องการต่างๆ มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละครั้ง ที่นำไปสู่การทำงานอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาสภาให้มีความรับผิดชอบ มีความเข้มแข็ง มีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชน

  • นางสาวพัชริดา โสธามาด ผู้รับผิดชอบโครงการได้กล่าวสรุปกิจกรรมที่ผ่านมาและให้มีการวางแผนกิจกรรมต่อไปโดยมอบหมายหน้าที่ให้แต่ละฝ่ายดำเนินกิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 29 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย

ทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน

circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร5 มกราคม 2559
5
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อคืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคา

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • คืนเงินสำรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้รับผิดชอบโครงการได้รับเงินสำรองเปิดบัญชีธนาคาร
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้รับผิดชอบโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ลงหนุนเสริมพื้นที่ในการจัดกิจกรรม4 มกราคม 2559
4
มกราคม 2559รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจงการทำงานและดูรายละเอียดการจัดกิจกรรมของพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • จัดกระบวนการให้กับพื้นที่ในการพัฒนาศักยภาพสภาผู้นำหมู่บ้านในการทำงานจิตอาสาเริ่มโดยการสร้างความเข้าใจการทำงาน สสส.ให้กับทีมสภาผู้นำหมู่บ้านเพื่อตอกย้ำการทำงานแล้วต่อด้วยการแบ่งกลุ่มเพื่อให้ทำกิจกรรมที่นำไปสู่การทำงานเป็นทีมและให้แนวคิดการทำงานที่มีจิตอาสายกกรณีตัวอย่างคนทำงานอาสา
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้านได้มีการแลกเปลี่ยนและสะท้อนความรู้สึกเรื่องการทำงานอาสา
  • เข้าใจระบบการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการจำนวน 2 คน
  • คณะทำงานสภาผู้นำหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม.17 บ้านวังช่อนชัย4 มกราคม 2559
4
มกราคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อให้ทีมสภาผู้นำเข้าใจหลักการทำงานอาสาและมีจิตอาสามากยิ่งขึ้น
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 3-4 มกราคม 2559 เวลา 10.00 น. - 15.00 น. ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูลจัดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน โดยนางกัลยทรรศ์ ติ้งหวัง วิทยกรให้ความรู้การพัฒนาทีมสภาให้มีความสำเร็จในการทำงาน และนางสาวอนัญญา แซะหลี พี่เลี้ยงโครงการ ก่อนเริ่มกิจกรรม เชิญนายอำสอด โสธามาด อิหม่ามประจำมัสยิดบ้านวังช่อนชัยได้กล่าวดุอาให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกท่าน นายสถิตย์ นุ้ยโส๊ะ รองประธานโครงการได้กล่าวต้อนรับวิทยากร พี่เลี้ยง ทีมสภาผู้นำ และได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการจัดกิจกรรมในครั้งนี้

  • จากนั้นวิทยากรได้ให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำกิจกรรมกลุ่ม โดยให้กลุ่มทำอย่างไรก็ได้ต่อหนังสือพิมพ์ให้ได้ยาวที่สุด แล้วเมื่อโดนลมแล้วไม่ล้ม ซึ่งแต่ละกลุ่มก็ได้ช่วยกันคิดและกันอย่างเต็มที่เพื่อใม่ให้ของตนเองล้มจากนั้นวิทยากรให้แต่ละกลุ่มมาอธิบายถึงวิธีการทำงานว่าเป็นอย่างไร

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมสภาผู้นำได้เข้าใจถึงการทำงานเป็นทีมมากขึ้น ต้องมีจิตอาสา มีผู้นำเข้มแข็ง ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความร่วมมือดีมาก กล้าคิดกล้าแสดงออกมากขึ้น และสิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ ทุกคนมีศักยภาพ สามารถพูดคุยแลกเปลี่ยนได้ การทำงานเป็นทีมสามารถทำให้เราฝ่าฟันปัญหา อุปสรรคได้
  • เกิดความสามัคคีของทีมงาน จากกิจกรรมที่ร่วมกันทำ
  • บทเรียนที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ คือมีการวางแผน มีคนชวนคุย มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีคนทำเยอะ/ช่วยกันวางแผน ตื่นเต้น ทำแล้วไม่มั่นใจ ทุกคนในกลุ่มมีบทบาท ผู้หญิงเป็นตัวหลัก คนในกลุ่มมีความตั้งใจ เพื่อนในกลุ่มให้ความร่วมมือช่วยกันทำงานเน้นฐานที่แข็งแรง ดูของกลุ่มอื่น แล้วนำมาปรับ ลองผิดลองถูก มีการวางแผน มั่นใจในผู้นำ ซึ่งจะเห็นได้ว่า แต่ละกลุ่มนั้นมีกระบวนการการทำงานที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ คือ ความสามัคคี การมีส่วนร่วม รู้จักการวางแผน ทุกคนมีบมบาทในการทำงาน ผู้นำต้อมีความเข้มแข็ง เป็นต้น

  • วิทยากรได้ให้ความรู้เกี่ยวกับ ปัจจัยความสำเร็จของการทำงานเป็นทีม

  1. ต้องมีผู้นำ ทั้งแต่งตั้งและไม่แต่งตั้ง
  2. มีความรับผิดชอบในหน้าที่
  3. มีความร่วมมือ ความเสียสละ เป็นต้น
  4. การทำงานต้องทำด้วยจิตอาสา ทำด้วยใจ ไม่คิดหวังผลตอบแทน
    ซึ่งวิทยากรก็ได้ให้แนวคิดต่างๆมากมายเพื่อให้การทำงานเป็นทีมสามารถบรรลุเป้าหมายนำไปสู่ความสำเร็จได้
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 26 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมาไม่ครบ
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 217 ธันวาคม 2558
17
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานของชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เปิดประชุมเวลา 13.30 น. โดย ผู้ใหญ่บ้าน นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการ ได้แจ้งเรื่องตามระเบียบวาระการประชุมที่ได้แจกให้กับผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนและแจ้งกำหนดการประชุมในครั้งต่อไป จากนั้น นายสถิตย์ นุ้ยโส๊ะ ได้พูดคุย ติดตามการทำงานของคณะทำงานในครั้งที่ผ่านมาว่าควรมีการปรับปรุงแกไขในเรื่องใดบ้าง แ้วสรุปผลการทำงานในครั้งที่ผ่านมา แล้วได้วางแผนการำงานในครั้งต่อไป หลังจากนั้นนางพัชริดา โสธามาด ผู้รับผิดชอบโครงการชี้แจงเรื่องตามระเบียบวาระในการติดตามและสรุปผลการจัดกิจกรรมที่ผ่านมาหลังจากนั้นให้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งเป็นผู้นำตามภาคีเครือข่ายต่างๆ คือ ปกครอง อบต. อสม. โรงเรียน กองทุนหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มสตรี แจ้งประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร การดำเนินกิจกรรม และความร่วมมือตามแผนการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกๆด้าน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการประชุมชี้แจงตามระเบียบวาระให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ
  • ร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรมในครั้งต่อไป
  • ทีมสภาผู้นำหมู่บ้านและแกนนำร่วมภาคีได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารของชุมชน และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารรวมทั้งสถานณ์การต่างๆในชุมช
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

ได้น้อยกว่าเป้าหมายมาก (1)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานโครการ คณะกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรชุมชนในหมู่บ้าน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
อบรมการเขียนรายงาน4 ธันวาคม 2558
4
ธันวาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเรียนรู้การเขียนรายงานเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้รับทุนในการเขียนรายงานและเอกสารการเงิน
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ลงทะเบียน
  • เข้าร่วมอบรม
  • การเขียนรายงานผลการดำเนินโครงการ
  • การจัดการเอกสารการเงินและการทำรายงานการเงินที่ถูกต้อง
  • การหักภาษี ณ ที่จ่ายของโครงการในชุมชน
  • ซักถาม แลกเปลี่ยน ข้อสงสัย
  • แบ่งกลุ่มปฏิบัติการจัดทำรายงานและเอกสารการเงินที่ถูกต้อ
  • สรุปและถอดบทเรียนร่วมกัน
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานแต่ละพื้นที่เข้าใจหลักการเขียนรายงานและหลักการในการจัดเอกสารการเงินโครงการ และการหักภาษี ณ ที่จ่ายของโครงการในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงานจำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่

ไม่มี

ร่วมกับพื้นที่ในการอบรมเรื่องการเขียนรายงาน4 ธันวาคม 2558
4
ธันวาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อให้คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจในการเขียนรายงานและการจัดการเอกสารต่างๆในการจัดกิจกรรม

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ได้มีการอบรมเรื่องการเขียนรายงานร่วมกับพื้นที่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการแต่ละพื้นที่เข้าใจการเขียนรายงานและหลักการในการจัดการเอกสารการเงินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • พื้นที่ที่รับโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • เน็ตช้าเนื่องจากมีผู้เข้าร่วมประชุมหลายพื้นที่จึงจำเป็นต้องwifi ส่วนตัวเพื่อให้การทำงานมีความรวดเร็วมากขึ้น
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ทำความเข้าใจเพิ่มเติมในส่วนที่พื้นที่ยังไม่เข้าใจ
ประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 117 พฤศจิกายน 2558
17
พฤศจิกายน 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อประชุมวางแผนการดำเนินงานตามกิจกรรมและสรุปรายงานตามกิจกรรมแต่ละครั้ง
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • วันที่ 17 พฤศจิกายน 2558 ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ ม.17 บ้านวังช่อนชัย จัดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้านครั้งที่ 1 โดยมี นายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการ เป็นผู้เปิดประชุม กล่าวต้อนรับ คณะทำงานทุกท่าน และนางสาวพัชริดา โสธามาด ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการการจัดประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน กำหนดขึ้นเพื่อเป็นเวทีที่จะร่วมกันปรึกษาหารือ

  • ชี้แจงวัตถุประสงค์ของงบประมาณที่สนับสนุนเพื่อนำมาพัฒนาหมู่บ้านให้เกิดกิจกรรมการมีส่วนร่วมไปในทิศทางเดียวกัน โดยงบประมาณทางสสส.ได้มีการจัดการในการสนับสนุนงบประมาณมาให้พื้นที่จำนวน 3 งวด มีการดำเนินการงาน 18 กิจกรรมตามแผนและมีพี่เลี้ยงมาหนุนเสริมการทำงานในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนการทำงานและวางแผนการดำเนินงาน ในแต่ละกิจกรรม ซึ่งมีการแบ่งหน้าที่กันทำงาน รับผิดชอบงาน และให้คณะทำงานได้เสนอความคิดเห็น ความต้องการต่างๆ มีแผนปฏิบัติการในการทำงานแต่ละคน และนายสถิตย์ นุ้ยโส๊ะ ผู้ร่วมรับผิดชอบโครงการ ได้สรุปงานครั้งที่ผ่านมา เพื่อให้ที่ประชุมได้รับทราบ และได้สรุปผลการประชุมสภาผู้นำในครั้งนี้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • มีการประชุมสภาผู้นำหมู่บ้าน จำนวน1สภาประกอบด้วยกรรมการหมู่บ้านและกลุ่มองค์กรชุมชนในหมู่บ้าน จำนวน 35 คน
  • วางแผนการดำเนินการงาน 18 กิจกรรมตามแผนการทำงานร่วมกัน เพื่อให้พื้นที่มีสภาผู้นำหมู่บ้านเป็นแกนนำที่มาช่วยกันขับเคลื่อนงานของชุมชน มีการร่วมกันแสดงความคิดเห็นและแก้ไขปัญหาของหมู่บ้าน และให้สภาที่มาจากทุกกลุ่มองค์กรในชุมชน ร่วมกันพัฒนาสภาผู้นำให้มีความรับผิดชอบ มีจิตอาสาในการทำงานช่วยเหลือชุมชนให้มีผู้นำที่เข้มแข็ง และพร้อมที่จะช่วยเหลือแก้ปัญหาให้กับคนในชุมชน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 35 คน จากที่ตั้งไว้ 35 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญบ้าน
  • คณะกรรมการหมู๋บ้าน
  • ตัวแทนกลุ่มต่างๆ
  • อสม.
  • กลุ่มสตรี
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
จัดเวทีชี้แจงทำความเข้าใจโครงการให้กับคนในชุมชนได้รับทราบจำนวน 140 คน25 ตุลาคม 2558
25
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับที่มา และวัตถุประสงค์ให้กับคนในชุมชนได้รับทราบ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เปิดประชุมเวลา 13.30 น. ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ ม.17 บ้านวังช่อนชัย ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยนายสมนึก เส็นนิ่ง ประธานโครงการมัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ม.17 บ้านวังช่อนชัยได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม หลังจากนั้นผู้ประสานงานโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจการทำงานโครงการ ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมได้รับรู้รับทราบข้อมูลการทำงานโครงการให้คนในชุมชนได้รับทราบ

  • เวลา 14.00 น. คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง พี่เลี้ยงโครงการ ได้ชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์ หลักการและเหตุผลของโครงการโดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)ผ่าน สจรส.มอ.ภาคใต้ ซึ่งงบประมาณ สสส.ได้มาจากสำนัก 6 ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

  • ชี้แจงเรื่องการเบิกงบประมาณของโครงการ ซึ่งมีองค์ประกอบจากคณะกรรมการหมู่บ้านและตัวแทนจากกลุ่มองค์กรที่มีอยู่ในชุมชน และมีหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วม พัฒนาโครงการ มีการวิเคราะห์ปัญหาที่มีของชุมชน โดยนำข้อมูลจากเวทีประชาคมหมู่บ้านและจากเหตุการณืี่เกิดขึ้นจริงในชุมชน วิเคราะห์ปัญหา วิเคราะห์ทุนแล้วร่วมกันหาทางแก้ไข คณะทำงานได้ร่วมกันโครงการนี้เราต้องทำภายใต้การขับเคลื่อนงานของชุมชนและมีพี่เลี้ยงคอยให้คำปรึกษาการทำงานของชุมชน

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนรู้ที่มาและวัตถุประสงค์การทำงานโครงการที่นำไปสู่ความร่วมมือในการทำงาน เข้าใจการทำโครงการชุมชนน่าอยู่ มีเจตนาให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและหัวใจหลักของโครงการนี้ต้องการให้เกิดสภาผู้นำหมู่บ้านที่มานั่งชวนคิดชวนคุยในการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกเรื่อง
  • คนในชุมชนเข้าใจหลักการใช้จ่ายเงิน สสส. รับทราบการใช้จ่ายเงินในกิจกรรมต่างๆ ภายใต้แผนงานโครงการได้รับการสนับสนุนจำนวน 199,780 บาท และได้รับสมทบจาก สสส.จำนวน 13,000 บาท ไว้สำหรับคณะทำงานในการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมกับพี่เลี้ยง สจรส.และ สสส.ค่าไวนิล
  • หลักการเบิกจ่ายงบประมาณเราได้ทำสัญญากับ สสส.จำนวน 3 งวด และเบิกจ่ายของพื้นที่ให้เบิกได้ 2 ใน 3 และเบิกเงินมาไว้ในมือได้ไม่เกิน 5,000 บาท แต่ถ้ากิจกรรมเราต่อเนื่องและตรงกับวันหยุดเราสามารถเบิกล่วงหน้าได้ ในการจัดประชุมเราไม่สามารถเบิกค่าเดินทางได้ กิจกรรมภายใต้โครงการชี้แจงกิจกรรมหลักๆมีการประชุมสภาผู้นำชุมชนจำนวน 10 ครั้ง พัฒนาศักยภาพทีมสภาผู้นำหมู่บ้าน สำรวจข้อมูลแผนผังเครือญาติเพื่อหาโรคที่เกิดจากพันธุกรรม เป็นต้น
  • เกิดการมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมซึ่งก่อให้เกิดความสามัคคี
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 93 คน จากที่ตั้งไว้ 140 คน
ประกอบด้วย
  • กลุ่มองค์กรหน่วยงานจากชุมชนและประชาชนในพื้นที่
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ผู้เข้าร่วมประชุมมาช้า จึงทำให้การประชุมเกิดความล่าช้า
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ติดตามและหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่23 ตุลาคม 2558
23
ตุลาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของพื้นที่ก่อนเริ่มทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมโดยผู้ประสานงานโครงการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการเพื่อทำความเข้าใจการทำงานโครงการให้กับผู้ประสานงานได้รับรู้รับทราบข้อมูลการทำงานโครงการ ต่อด้วยการแนะนำตัวของคณะทำงานโครงการพร้อมบทบาทการขับเคลื่อนงานในพื้นที่ หลักคิดการทำงานโครงการเริ่มจากสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชนทำให้แกนนำร่วมกับพี่เลี้ยงได้มีการคิดกิจกรรมให้สอดคล้องกับการทำงานของพื้นที่ คุณกัลยทรรศน์  ติ้งหวัง : พี่เลี้ยงโครงการ เล่าสถานการณ์ของ สสส.ที่ถูกแทรกแซงเพื่อสร้างความเป็นเจ้าของให้กับคนในชุมชน สสส.คือ กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.มี 12 สำนัก และงบประมาณที่ลงมาพื้นที่ในครั้งนี้มาจากสำนัก 6 คือโครงการชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โครงการนี้จะมีพี่เลี้ยงโครงการที่คอยหนุนเสริมการทำงานของพื้นที่ และถ้าพื้นที่มีปัญหาอะไรก็สามารถขอคำปรึกษาได้ทุกเรื่องในส่วนของการขับเคลื่อนงานภายใต้แผนงานที่ร่วมกันกำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งในการทำงานของพื้นที่ถ้าคณะทำงานเห็นว่าไม่โปร่งใสก็สามารถรายงานไปยังพี่เลี้ยง ซึ่งพี่เลี้ยงมีอำนาจในการระงับโครงการได้  สำหรับพื้นที่ตำบลละงู ปีนี้ได้ทั้งหมด 7 หมู่บ้าน หัวใจของโครงการนี้ต้องการให้เกิดสภาผู้นำหมู่บ้านที่มานั่งชวนคิดชวนคุยในการขับเคลื่อนงานของชุมชนในทุกเรื่อง ชี้แจงเรื่องการเบิกงบประมาณของโครงการ และงบประมาณที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็นค่าอาหารและวัสดุอุปกรณ์แต่จะไม่ให้ค่าเดินทาง โครงการชุมชนน่าอยู่เริ่มมาจากฐานข้อมูลของชุมชนมีการเรียงลำดับปัญหาที่ชัดเจนว่าปัญหาที่แท้จริงของชุมชนมีอะไรโดยกิจกรรมในการขับเคลื่อนคือการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหาของชุมชน และในเรื่องของงบประมาณเราจะไม่ให้ค่าเดินทางเนื่องจากมีแนวคิดว่าหมู่บ้านจะเข้มแข็งได้คนในหมู่บ้านต้องมีจิตอาสา ชี้แจงแผนงานกิจกรรมโดยกิจกรรมหลักที่ต้องดำเนินการคือประชุมคณะทำงานสภาผู้นำโครงการ เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ปัญหาหนี้สินของคนในชุมชน พัฒนาทีมสภาผู้นำเพื่อการทำงานจิตอาสา การศึกษาดูงาน มีพื้นที่ปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหา  เสนอเรื่องการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานแต่ละฝ่ายเพื่อช่วยในการทำงานโดยอาจจะชักชวนเยาวชนคนรุ่นใหม่มาช่วยในการขับเคลื่อนงานเพื่อให้มีคนทำงานมากขึ้น
บัณทิตอาสา : แจกแจงเรื่องบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่ายซึ่งในเรื่องนี้ก็ได้คุยมาแล้วเบื้องต้นตอนนี้ก็มีคนทำงานที่ชัดมากขึ้นและคณะทำงานเองก็เห็นมิติใหม่ที่มาช่วยกันทำงานร่วมมือขับเคลื่อนงานภายใต้ชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ให้สามารถเดินต่อได้

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คนในชุมชนรู้ที่มาและเข้าใจการทำงานโครงการ
  • มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • เรื่องการจดบันทึกในการประชุมแต่ละครั้ง
  • เรื่องการจัดการเอกสารการเงิน
ประชุมคณะทำงานโครงการ17 ตุลาคม 2558
17
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อทำความเข้าใจและชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆแก่คณะทำงานและภาคีเครือข่ายต่างๆ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. ประธานกล่าวเปิดประชุม หลังจากนั้นผู้ประสานงานโครงการ ชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานโครงการให้ทีมคณะทำงาน เวลา 10.00 น. คุณกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง พี่เลี้ยงโครงการชี้แจงที่มา วัตถุประสงค์ หลักการและเหตุผลของโครงการเพิ่มเติมให้ทีมคณะทำงานเข้าใจมากขึ้น แล้วคณะทำงานร่วมกันวางแผนในการจัดกิจกรรมชี้แจงให้กับคนในชุมชนได้ทราบแผนการทำงาน เวลา 13.30 น.คณะทำงานร่วมกันกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้ามาจัดตั้งสภาหมู่บ้าน แบ่งบทบาทหน้าที่ในการประสานกลุ่มเป้าหมายที่จะเข้าร่วมเวทีชี้แจงโครงการ เวลา 16.00 น. ประธานโครงการสรุปผลการดำเนินกิจกรรม และกล่าวปิดประชุม

circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานสภาผู้นำ 20 คน ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ชว่ยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา อบตกลุ่มสตรี และ อสม. ทุกคนมีความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินกิจกรรมต่างๆของโครงการและให้ความร่วมมือในการเข้าร่วมประชุมเป็นอย่างดี
  • คณะทำงานทุกคนสามารถแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานในการประสานงานกับกลุ่มเป้าหมายที่จะมาร่วมกิจกรรมเวทีชี้แจงโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ชว่ยผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำศาสนา อบต.กลุ่มสตรี อสม.
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ทำป้ายสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่ 15 ตุลาคม 2558
15
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเป็นเขตปลอดบุหรี่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ออกแบบป้ายและสั่งจัดทำป้าย สัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่และป้ายโครงการ มัสยิดสัมพันธ์ศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ม. 17 บ้านวังช่อนชัย
  • ติดป้ายในสถานที่จัดทำโครงการ ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย ม. 17 ตำบลละงู
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ป้าย ปลอดบุหรี่ 1 ป้าย
  • ติดป้ายปลอดบุหรี่ ณ มัสยิดนุรุลสะอะดะห์ บ้านวังช่อนชัย ม. 17 ตำบลละงู
  • พื้นที่ปลอดบุหรี่ได้สร้างความตระหนัก ลด ละ เลิก สูบบุหรี่ และปฏิบัติตามในพื้นที่ปลอดบุหรี่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ผู้ประสานงานโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
พบพี่เลี้ยงโครงการในการจัดทำเอกสารการเงินและป้ายโครงการ14 ตุลาคม 2558
14
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อปรึกษาการขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • มาปรึกษาพี่เลี้ยงเรื่องการจัดทำเอกสารและร่วมกันกำหนดวันในการจัดกิจกรรมจริงของพื้นที่
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานมีความเข้าใจในการขับเคลื่อนการทำงานของพื้นที่
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แสะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ให้พี่เลี้ยงลงพื้นที่เพื่อร่วมในการจัดกิจกรรมของพื้นที่
ปฐมนิเทศน์7 ตุลาคม 2558
7
ตุลาคม 2558รายงานจากพื้นที่ โดย นางอำสะ อุสมา
circle
วัตถุประสงค์
  • เพื่อเรียนรู้การบริหารจัดการโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • ฟังการชี้แจงจาก สจรส.เรื่องการจัดทำข้อมูลลงเวบไซด์และทำความเข้าใจเรื่องเอกสารโครงการ
  • ลงแผนการดำเนินงานโครงการ
  • ชี้แจงกิจกรรมหลักในการทำงานของพื้นที่ร่วมกับ สจรส. โดยให้พื้นที่ลงปฏิทินการทำงานของโครงการ
  • แลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น
  • บันทึกกิจกรรม
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูล
  • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจหลักการทำงานของ สสส.ในการทำโครงการของพื้นที่
  • คณะทำงานได้มีการลงข้อมูลและจัดทำปฏิทินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2 คน จากที่ตั้งไว้ 2 คน
ประกอบด้วย
  • ตัวแทนคณะทำงานโครงการจำนวน 2 คน
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ไม่มี
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
- นางสาวอนัญญา แซะหลี
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • ไม่มี
ปฐมนิเทศน์โครงการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นให้น่าอยู่7 ตุลาคม 2558
7
ตุลาคม 2558รายงานจากพี่เลี้ยง โดย อนัญญา แสะหลี
circle
วัตถุประสงค์

เพื่อทำความเข้าใจการทำงานของพื้นที่ก่อนเริ่มทำโครงการ

circle
กิจกรรมตามแผน

circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  • เริ่มประชุมเวลา 09.00 น. โดยทีมพี่เลี้ยงโครงการในการชี้แจงวัตถุประสงค์การทำงานกิจกรรมและทำความเข้าใจเวบไซค์ ทำความเข้าใจเอกสารการเงิน ชี้แจงกิจกรรมหลักในการทำงานของพื้นที่ร่วมกับ สจรส. ให้พื้นที่ลงปฏิทินการทำงานของโครงการ แลกเปลี่ยนเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้น
circle
ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงานโครงการมีความเข้าใจหลักการทำงานของ สสส.ในการทำโครงการของพื้นที่
  • คณะทำงานได้มีการลงข้อมูลและจัดทำปฏิทินโครงการ
circle
กิจกรรมตามแผน
circle
ประเมินความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม

บรรลุผลตามเป้าหมาย (3)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1 คน จากที่ตั้งไว้ 1 คน
ประกอบด้วย
  • พี่เลี้ยงโครงการ
  • พื้นที่รับโครงการ
circle
ปัญหา/แนวทางแก้ไข
  • ผู้เข้าร่วมประชุมมาช้า
  • คณะทำงานใช้โน๊ตบุ๊คไม่ชำนาญทำให้คีย์ข้อมูลช้า

แนวทางแก้ไข

  • เริ่มช้าทำให้ต้องเลิกช้าเพื่อให้งานเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้
circle
ชื่อผู้ติดตามในพื้นที่ของ
-
circle
ข้อเสนอแนะต่อ
  • ไม่มี
circle
ข้อเสนอแนะต่อพื้นที่
  • แนะนำเรื่องการคีย์ข้อมูลและก็จัดลำดับในการลงวันที่เพื่อจัดกิจกรรมให้สอดคล้อง