directions_run

สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน (แผนงานกลาง สร้างสุข#10)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน (แผนงานกลาง สร้างสุข#10)
ภายใต้โครงการ โครงการหลักของ สจรส.ม.อ.
ภายใต้องค์กร เครือข่ายฅนสร้างสุข
รหัสโครงการ 60-02146
วันที่อนุมัติ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2560 - 31 พฤษภาคม 2561
งบประมาณ 4,870,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด 7.0017201008328,100.50477235985place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2560 31 ธ.ค. 2560 1,820,000.00
2 1 ม.ค. 2561 30 เม.ย. 2561 3,000,000.00
3 1 พ.ค. 2561 31 พ.ค. 2561 50,000.00
รวมงบประมาณ 4,870,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

  • สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(สจรส.ม.อ.) เป็นหน่วยงานหลักในการประสานงานความร่วมมือกับองค์กร ภาคี เครือข่าย ต่าง ๆ เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานสุขภาพแห่งชาติ (สช.)กระทรวงสาธารณสุข และเครือข่ายภาคประชาสังคม เครือข่ายสื่อสารมวลชน และภาคประชาชน ในการจัดงาน “สร้างสุขคนใต้” ตลอด 12 ปีที่ผ่านมา ได้จัดไปแล้ว 9 ครั้ง เป็นการจัดงานที่ใช้ชื่องานสร้างสุข สลับกับ งานสมัชชาสุขภาพภาคใต้ ดังนี้
  1. งานสร้างสุข จัดที่จังหวัดสงขลา
  2. งานสร้างสุข จัดที่จังหวัดภูเก็ต
  3. งานสร้างสุข จัดที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  4. งานสมัชชาสุขภาพภาคใต้ จัดที่จังหวัดสงขลา
  5. งานสมัชชาสุขภาพภาคใต้ จัดที่จังหวัดตรัง
  6. งานสมัชชาสุขภาพภาคใต้ จัดที่จังหวัดชุมพร
  7. งานสมัชชาสุขภาพภาคใต้ จัดที่จังหวัดสงขลา
  8. งานสร้างสุขชุมชนน่าอยู่ จัดที่จังหวัดสงขลา
  9. งานสร้างสุข จัดที่จังหวัดสงขลา
  • โดย 2 ครั้งล่าสุดจัดงานสร้างสุขคนใต้ ไปเมื่อวันที่4-6 กันยายน 2558 ภายใต้ชื่องาน เวที สานงาน เสริมพลัง ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ ความมั่นคงทางสุขภาวะ วาระสร้างสุขของฅนใต้ มีกลุ่มเป้าหมายจากภาคส่วนต่าง ๆ เข้าร่วมงานประมาณ 1,000 คน
  • และในปี พ.ศ.2559 สสส. สจรส.ม.อ. สช. และ สปสช. ประสงค์ที่จะขยายเครือข่ายการทำงาน และเพิ่มความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ ในการผลักดัน ยกระดับผลการดำเนินงานปฏิบัติการด้านสุขภาวะในพื้นที่ไปสู่การพัฒนานโยบายสาธารณะมากขึ้น โดยใช้กลไกและเครื่องมือทางวิชาการเป็นฐานในการทำงานร่วมกัน จึงได้บูรณาการการจัดงานสร้างสุขคนใต้ ร่วมกับการประชุมวิชาการระดับชาติ ภายใต้หัวข้อเรื่อง “นวัตกรรมในการสร้างเสริมสุขภาพ” (Innovation of Health Promotion)กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายหัวข้อที่หลากหลาย โดยการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในระดับประเทศมาเป็นวิทยากรนอกจากนี้ภายในงาน ยังมีการจัดนิทรรศการ การประชุมห้องย่อยตามประเด็นปัญหาของพื้นที่ มีการประชุมวิชาการ นำเสนอผลงานวิจัยของบุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐ อาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และบุคคลสนใจทั่วไปโดยมีผู้เข้าร่วม 1,800 คนจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายความร่วมมือ เผยแพร่ผลงานวิจัย หรือผลการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพและการพัฒนานโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่ และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนากลไกการขับเคลื่อนงานด้านสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่
  • ในปี 2561 เครือข่ายสุขภาพภาคใต้ จะจัดให้มีงานสร้างสุข ครั้งที่ 10 ภายใต้ชื่องาน “สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข 61 สานพลังที่ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน” โดยจะเป็นการจัดงานที่เป็นความร่วมมือของเครือข่ายสุขภาพของ สสส. สจรส.ม.อ. สช. สปสช. กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) และ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.)
stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก
  • สุขภาพ-สุขภาวะ เป็นเรื่องใหญ่และสำคัญยิ่งของชีวิตของผู้คนในสังคม ชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติแต่จากพัฒนาการนานมาจนผู้คนเหมือนลืมตื่นตัวก็ต่อเมื่อพบว่ามีปัญหา แล้วยังยกภาระให้เป็นธุระของคนอื่นรักษาคุ้มครองป้องกันฟื้นฟูเป็นเรื่อง ๆ เป็นคราว ๆ อย่างแยกส่วนและไม่บูรณาการครบครอบคลุมเป็นองค์รวมจนหลากหลายเรื่องเรื้อรังหมักหมมเหมือนหมดรู้ลู่ทางพ้นทุกข์มีแต่ดิ้นรนทนทุกข์ทับถมหรือที่พอแก้ไขก็ไม่ทันจนแทบไม่กล้าแม้จะหาสุขหรือสร้างสุข หรือไม่ก็หลงว่าทุกข์นั้นคือสุขจึงจมจ่อมเวียนว่ายอยู่ในวังวนแห่งทุกขภาพ-ทุกขภาวะอย่างเห็นทางสุขแต่เพียงน้อย ๆ
  • การทำให้ผู้คน สังคม ชุมชนท้องถิ่นและประเทศชาติตื่นรู้เรื่องสุข-ทุกข์นี้ว่าสำคัญจึงเป็นสิ่งสำคัญ พอ ๆ กับการได้รู้สุข-ทุกข์ตามสภาพความจริง รู้หาเหตุรู้ว่าสุขมีได้ เสริมสร้างได้ด้วยหนทางวิธีการแก้ไขรักษาคุ้มครองป้องกันฟื้นฟูพัฒนาเสริมสร้างต่าง ๆ ร่วมกันเป็นสำคัญ
  • ในภาคใต้แม้จะไม่ต่างจากภาคพื้นอื่น แต่พบว่ามีความคิดค้นริเริ่มเพื่อการนี้ไม่น้อยมาเนิ่นนาน มีนวัตกรรมการคิดค้นแก้ทุกข์-สร้างสุขในภาพกว้างอย่างหลากหลายไม่ว่าจะเป็นกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่ขยับขยายกลายมาเป็นกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองหรือธนาคารหมู่บ้าน, สภาผู้นำและแผนแม่บทวิสาหกิจชุมชน จนกระทั่งที่สำคัญที่ลงลึกถึงจิตวิญญาณคืองานด้านวิทยปัญญา-ศาสนธรรม ทั้งพุทธที่มีท่านพุทธทาสภิกขุเป็นธงนำ และอิสลามที่พี่น้องมุสลิมยังสืบสานกันอย่างหนักแน่น
  • โดยในระยะหลายปีที่ผ่านมา หลังกระแสการสร้างเสริมสุขภาพและสุขภาพองค์รวม ทั้งของรัฐ ของผู้คนชุมชนท้องถิ่นอันเนื่องมาจาก “ทุกข์ท่วมแทบเกินทน” นั้นในภาคใต้ได้มีการลุกตื่นขึ้นมาตามสมควรเกิดเป็นนานากลุ่ม กิจกรรม โครงการและหน่วยงานจำนวนหนึ่งโดยส่วนใหญ่เห็นความสำคัญของการปฏิบัติจริงในมิติที่บูรณาการเป็นองค์รวมแล้วแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำมาเชื่อมประสานนำเสนอสู่แนวนโยบายทั้งของรัฐและท้องถิ่นทั้งที่ทำตามศักยภาพโดยลำพังหรือประสานสัมพันธ์ผลักดันกันตามวาระโอกาสต่าง ๆ ทั้งโดยธรรมชาติ, ในเวทีวิชาการ, การสัมมนาปฏิบัติการต่าง ๆ และสมัชชาสุขภาพโดยส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับชาติซึ่งให้ได้ในภาพรวม แต่ขาดความจำเพาะเพียงพอต่อภูมิภาคเพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนในพื้นที่
  • การมีวาระว่าด้วยเรื่องสุขภาพในระดับภาคพื้นที่จึงมีความสำคัญและน่าจะถึงเวลาแล้วโดยถือเอาวาระสร้างสุข เป็นจังหวะยกระดับโดยมุ่งเน้นเพื่อประเมินสถานการณ์สุขภาพภาคใต้เพื่อขยายสู่การขับเคลื่อนการสร้างเสริมสุขภาพเชิงรุกควบคู่กับการเรียนรู้และเชื่อมโยงประสานบูรณาการขยายเครือข่ายภาคีพันธมิตรสร้างสุขในภูมิภาค
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อสานพลังภาคีเครือข่ายพันธมิตรที่เกี่ยวข้อง ยกระดับการขับเคลื่อนประเด็นวิกฤตสุขภาวะภาคใต้ทั้งในเชิงพื้นที่และเชิงนโยบาย
  1. ประสานความร่วมมือทั้ง 4 ส.
  2. เชื่อมเครือข่ายสุขภาพในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้
2 2. เชื่อมร้อย สร้างและยกระดับกลไกเครือข่ายสุขภาวะ ทั้งรัฐ-ท้องถิ่น-เอกชน-ประชาชน

 

3 3. ยกระดับการจัดการความรู้ นวัตกรรมในงานสร้างเสริมสุขภาพ-สุขภาวะ นำไปสู่การพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

 

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ต.ค. 2560 19:33 น.