directions_run

โครงการพัฒนาข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย

assignment
บันทึกกิจกรรม
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปภาพรวมชุดความรู้และนวัตกรรมโครงการ พัฒนาข้อเสนอแนะและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ ภายในงานสร้างสุขภาคใต้29 มีนาคม 2561
29
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสรุปภาพรวมชุดความรู้และนวัตกรรมโครงการ พัฒนาข้อเสนอแนะและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะ ภายในงานสร้างสุขภาคใต้ ภายในงานสร้างสุขภาคใต้ “สร้างคน สร้างงาน สร้างสุข สานพลังที่ก้าวข้ามขีดจำกัดสู่สุขภาวะที่ยั่งยืน ในวัน 28-29 มีนาคม 2561 ณ ห้อง confernce hall ศูนย์ประชุมนานาชาติฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ถ.ปุณกัณฑ์ ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

 

ประชุมติดตามกองทุนตำบลฯ ภาคอีสาน 23 มีนาคม 2561
23
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การปฐมนิเทศการบริหารจัดการโครงการ และการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ วันศุกร์ 23 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมโฆษะ อ.เมือง จ.ขอนแก่น

  • 08.30 น. –09.00 น. ลงทะเบียน
  • 09.00 น. – 9.30 น. - ทบทวนหลักการพัฒนาข้อเสนอโครงการกิจกรรมทางกาย
    โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รองผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 9.30 น. –10.15 น. -แนะนำหลักการการบริหารจัดการโครงการ ทบทวน/วิเคราะห์โครงการ ตัวชี้วัดโครงการ และกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการรายงานผลติดตามโดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 10.15 น. – 10.30 น. - ทบทวนระบบปฏิบัติการระบบการติดตามโครงการ Online ผ่านทาง Website โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และคุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 10.30 น. – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 10.45 น. – 12.00 น.- แบ่งกลุ่มกองทุนตามการดูแลของพี่เลี้ยง - พี่เลี้ยงและกองทุนปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ โดย ทีมพี่เลี้ยง
  • 12.00 น. – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 น. – 14.00 น.- พี่เลี้ยงและกองทุนปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์(ต่อ)โดย ทีมพี่เลี้ยง
  • 14.00 น. –15.30 น. - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ และดำเนินการแก้ไข โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และทีมพี่เลี้ยง
  • 15.30 น. – 15.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 15.45 น. – 16.30น. - พี่เลี้ยงและกองทุนตำบลปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ (ต่อ) โดย ทีมพี่เลี้ยง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ และดำเนินการแก้ไข
  • คณะทำงานพี่เลี้ยงได้ปรับปรุงโครงการให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น

  • แผนกิจกรรมทางกายเขต 7 ขอนแก่น กองทุนฯ มีจำนวน 20 กองทุน มีโครงการกิจกรรมทางกายที่กำลังพัฒนา จำนวน 32  โครงการ และมีจำนวนติดตามโครงการ 17 โครงการ งบประมาณทั้งหมด 572,370.00 บาท

  • แผนกิจกรรมทางกายเขต 8 อุดรธานี กองทุนฯ มีจำนวน 16 กองทุน มีโครงการกิจกรรมทางกายที่กำลังพัฒนา จำนวน 27  โครงการ และมีจำนวนติดตามโครงการ 7 โครงการ งบประมาณทั้งหมด 218,955.00 บาท
  • แผนกิจกรรมทางกายเขต 9 นครราชสีมา กองทุนฯ มีจำนวน 21 กองทุน มีโครงการกิจกรรมทางกายที่กำลังพัฒนา จำนวน
    37 โครงการ และมีจำนวนติดตามโครงการ 44 โครงการ งบประมาณทั้งหมด 1,248,043.00 บาท
  • แผนกิจกรรมทางกายเขต 10 อุบลราชธานี กองทุนฯ มีจำนวน 33 กองทุน มีโครงการกิจกรรมทางกายที่กำลังพัฒนา จำนวน 55 โครงการ และมีจำนวนติดตามโครงการ 16 โครงการ งบประมาณทั้งหมด 386,750.00 บาท
ประชุม Workshop PA สสส. 22 มีนาคม 2561
22
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ระบบการติดตามประเมินผลโครงการ (ระบบออนไลน์)
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๑ เวลา ๙.๓o– ๑๖.oo น
ห้องประชุม จามจุรี ๒ โรงแรมปทุมวัน ปริ้นเซสถนนพญาไท เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนนรู้การดำเนินโครงการ เดิน-วิ่ง ภายใต้แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ(Health Promotion) โดย อ.ณรงค์ เทียมเมฆ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  • ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินโครงการกิจกรรมทางกาย (เปิดรับทั่วไป) โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ ทวีพรปฐมกุลผู้ทรงคุณวุฒิด้านแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบการติดตามประเมินผลโครงการ (ระบบออนไลน์)
    โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รอง ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ คุณภานุมาศ นนทพันธ์นักวิชาการอิสระ (พัฒนาระบบเว็บไซต์)
  • ได้ฝึกปฏิบัติการติดตามประเมินผลโครงการ ผ่านเว็บไซต์ https://www.pathailand.com/ โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รอง ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ คุณภานุมาศ นนทพันธ์นักวิชาการอิสระ (พัฒนาระบบเว็บไซต์)
ประชุมติดตามกองทุนตำบลฯ ภาคกลาง 21 มีนาคม 2561
21
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติปฐมนิเทศการบริหารจัดการโครงการ และการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ(เขตภาคกลาง) วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08.30 – 16.30 น.สถานที่ ณ ห้องประชุมวายุภักษ์ 7 (ชั้น 5) โรงแรมเซ็นทารา ศูนย์ราชการ แจ้งวัฒนะ

  • 08.30 น. –09.00 น. ลงทะเบียน
  • 09.00 น. – 9.30 น. - ทบทวนหลักการพัฒนาข้อเสนอโครงการกิจกรรมทางกาย
    โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รองผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 9.30 น. –10.15 น. -แนะนำหลักการการบริหารจัดการโครงการ ทบทวน/วิเคราะห์โครงการ ตัวชี้วัดโครงการ และกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการรายงานผลติดตามโดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 10.15 น. – 10.30 น. - ทบทวนระบบปฏิบัติการระบบการติดตามโครงการ Online ผ่านทาง Website โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และคุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 10.30 น. – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 10.45 น. – 12.00 น.- แบ่งกลุ่มกองทุนตามการดูแลของพี่เลี้ยง - พี่เลี้ยงและกองทุนปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ โดย ทีมพี่เลี้ยง
  • 12.00 น. – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 น. – 14.00 น.- พี่เลี้ยงและกองทุนปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์(ต่อ)โดย ทีมพี่เลี้ยง
  • 14.00 น. –15.30 น. - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ และดำเนินการแก้ไข โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และทีมพี่เลี้ยง
  • 15.30 น. – 15.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 15.45 น. – 16.30น. - พี่เลี้ยงและกองทุนตำบลปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ (ต่อ) โดย ทีมพี่เลี้ยง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ คณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน)
  • คณะทำงานพี่เลี้ยงได้ปรับปรุงโครงการให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
  • เขต 3 นครสวรรค์ กองทุนฯมีแผนงานกิจกรรมทางกาย 37 แผนงาน มีโครงการพัฒนา 64 โครงการ มีจำนวนติดตามโครงการ 28 โครงการ มีสนับสนุนจากกองทุนงบประมาณ 1,126,185.00 บาท
  • เขต 4 สระบุรี กองทุนฯ มีแผนงานกิจกรรมทางกาย 25 แผนงาน มีโครงการพัฒนา 50 โครงการ มีจำนวนติดตามโครงการ 26 โครงการ มีสนับสนุนจากกองทุนงบประมาณ 570,960.00 บาท
  • เขต 5 ราชบุรี กองทุนฯ มีแผนงานกิจกรรมทางกาย 20 แผนงาน มีโครงการพัฒนา 28 โครงการ มีจำนวนติดตามโครงการ 56 โครงการ มีสนับสนุนจากกองทุนงบประมาณ 1,559,309.00 บาท
  • เขต 6 ระยอง กองทุนฯ มีแผนงานกิจกรรมทางกาย 18 แผนงาน มีโครงการพัฒนา 33 โครงการ มีจำนวนติดตามโครงการ 21 โครงการ มีสนับสนุนจากกองทุนงบประมาณ 1,493,350.00 บาท
ประชุมติดตามกองทุนตำบลฯ ภาคใต้19 มีนาคม 2561
19
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติ การปฐมนิเทศการบริหารจัดการโครงการ และการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ
วันจันทร์ที่19มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08.30 – 16.30 น. สถานที่ ณห้องประชุม 1402 (ชั้น 14) สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา

  • 08.30 น. –09.00 น. ลงทะเบียน
  • 09.00 น. – 9.30 น. - ทบทวนหลักการพัฒนาข้อเสนอโครงการกิจกรรมทางกาย
    โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รองผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 9.30 น. –10.15 น. -แนะนำหลักการการบริหารจัดการโครงการ ทบทวน/วิเคราะห์โครงการ ตัวชี้วัดโครงการ และกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการรายงานผลติดตามโดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 10.15 น. – 10.30 น. - ทบทวนระบบปฏิบัติการระบบการติดตามโครงการ Online ผ่านทาง Website โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และคุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 10.30 น. – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 10.45 น. – 12.00 น.- แบ่งกลุ่มกองทุนตามการดูแลของพี่เลี้ยง - พี่เลี้ยงและกองทุนปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ โดย ทีมพี่เลี้ยง
  • 12.00 น. – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 น. – 14.00 น.- พี่เลี้ยงและกองทุนปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์(ต่อ)โดย ทีมพี่เลี้ยง
  • 14.00 น. –15.30 น. - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ และดำเนินการแก้ไข โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และทีมพี่เลี้ยง
  • 15.30 น. – 15.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 15.45 น. – 16.30น. - พี่เลี้ยงและกองทุนตำบลปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ (ต่อ) โดย ทีมพี่เลี้ยง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ คณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) จาก สงขลา สตูล ยะลา ปัตตานี
  • คณะทำวานพี่เลี้ยงได้ปรับปรุงโครงการให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
  • แผนกิจกรรมทางกายเขต 12 ภาคใต้ กองทุนฯ มีจำนวน 272 กองทุน มีโครงการกิจกรรมทางกายที่กำลังพัฒนา จำนวน 145 โครงการ และมีจำนวนติดตามโครงการ 934 โครงการ งบประมาณทั้งหมด 31,049,077.63 บาท
ประชุมติดตามกองทุนตำบลฯ ประชุมติดตามกองทุนตำบลฯ ภาคเหนือ เชียงใหม่ 14 มีนาคม 2561
14
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการปฐมนิเทศการบริหารจัดการโครงการ และการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ
วันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 08.30 – 16.30 น. สถานที่ ณห้องเชียงดาว (ชั้น 3) โรงแรมดวงตะวัน เชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่

  • 08.30 น. –09.00 น. ลงทะเบียน
  • 09.00 น. – 9.30 น. - ทบทวนหลักการพัฒนาข้อเสนอโครงการกิจกรรมทางกาย
    โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รองผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 9.30 น. –10.15 น. -แนะนำหลักการการบริหารจัดการโครงการ ทบทวน/วิเคราะห์โครงการ ตัวชี้วัดโครงการ และกระบวนการติดตามสนับสนุนโครงการรายงานผลติดตาม
    โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 10.15 น. – 10.30 น. - ทบทวนระบบปฏิบัติการระบบการติดตามโครงการ Online ผ่านทาง Website โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และคุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 10.30 น. – 10.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 10.45 น. – 12.00 น.- แบ่งกลุ่มกองทุนตามการดูแลของพี่เลี้ยง
  • พี่เลี้ยงและกองทุนปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์
    โดย ทีมพี่เลี้ยง
  • 12.00 น. – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 น. – 14.00 น.- พี่เลี้ยงและกองทุนปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์(ต่อ) โดย ทีมพี่เลี้ยง
  • 14.00 น. –15.30 น. - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ และดำเข นินการแก้ไข โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และทีมพี่เลี้ยง
  • 15.30 น. – 15.45 น. รับประทานอาหารว่าง
  • 15.45 น. – 16.30น. - พี่เลี้ยงและกองทุนตำบลปฏิบัติการปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ (ต่อ) โดย ทีมพี่เลี้ยง
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. สรุป แผนทางการทำโครงการ PA / สรุปจากแผนภาพได้เลย
  2. แลกเปลี่ยนเรื่องโครงการ / การเขียนโครงการ ตัวอย่าง เกษตรแก้ปัญหายาเสพติดได้ / โดยที่แก้ปัญหาได้หมด

- โครงการตอบโจทย์พื้นที่ ที่เราจะทำ ในสถานการณ์ของชุมชน - โครงการที่ดี ต้องแสดงให้เห็นกระบวนการ ตัวอย่าง **ปั่นรักปั่นใจ :อสม. ปั๋นจักรยานไปดูแลผู้ป่วย
**การทำอย่างไรให้มี PA เพิ่มขึ้น มีกิจกรรม Active play / Lending

ปรับโครงการ
1) ชื่อโครงการ ให้รายละเอียด 2) สถานการณ์
3) วัตถุประสงค์
4) กลุ่มเป้าหมาย
5) สำคัญ วิธีการ ดำเนินการ ใช้รายละเอียด
6) สุดท้ายให้ผลที่คาดหมาย

การพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้นแบบด้านการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของเทศบาลตำบลชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา9 มีนาคม 2561
9
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงวางแผนกรอบแนวคิดการสร้างต้นแบบกิจกรรมทางกายในศูนย์เด็กเล็ก (ต.ชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา)ในวันศุกร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ห้องประชุมเทศบาลตำบลชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา
- ชี้แจงแนวทางการกรอบแนวคิดการสร้างต้นแบบกิจกรรมทางกายในศูนย์เด็กเล็ก โดย ดร.กุลทัตหงส์ชยางกูร รองผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
- ผู้เข้าร่วมทุกท่านแลกเปลี่ยนและวางแผนการสร้างต้นแบบกิจกรรมทางกายในศูนย์เด็กเล็ก - สรุปการประชุม และกำหนดวันแนวทางการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ 1. ผอ.ศูนย์เด็กเล็ก อบต. และศูนย์เด็กเล็กเอกชน 2. คุณครูศูนย์เด็กเล็ก 3. ตัวแทนผู้ปกครอง 4. ผอ.ฝ่ายการศึกษาเทศบาลชะแล้5. ผู้อำนวยการ รพ.สต. และเจ้าหน้าที่ รพ.สต. 6.ชมรม/เครือข่ายกิจกรรมทางกายในพื้นที่7. ชมรมผู้สูงอายุ 8.สาธารณสุขอำเภอสิงหนคร
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องกระบวนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายได้แก่
  1. วางแผนและออกแบบกิจกรรมทางกาย (PA) ที่เหมาะสมกับบริบทชุมชนและวิถีชีวิตประจำวันของคนในชุมชน
  2. การปฏิบัติการ
    คน :
    2.1 สร้างความรู้ ความเข้าใจ ปัญญาและทักษะปฏิบัติ PA 2.2 สร้างหลักสูตรการเรียนที่สามารถสอดแทรกการมีกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน เช่น การเกษตร การเดินสำรวจสมุนไพร กีฬาการละเล่นไทย
  • สภาพแวดล้อม
    2.3 สร้างเสริมสภาพแวดล้อมและการดูแลความปลอดภัยที่เอื้อให้มีกิจกรรมทางกายที่บ้านและศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

    กลไก
    2.4 การสร้างคณะทำงานขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย

  1. การติดตามประเมินผล
  2. การสรุปชุดความรู้ ต้นแบบกิจกรรมทางกายเพื่อนำไปขยายผลต่อ

ผลผลิต-ผลลัพธ์

  1. เกิดหลักสูตรการมีกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน
  2. ชุมชนมีความรู้เข้าใจและทักษะกิจกรรมทางกายในกลุ่มเด็กและเยาวชน
  3. เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายสำหรับเด็กและเยาวชน
  4. เด็กและเยาวชนมีทักษะ พัฒนาการ มีความกระตือรือร้นด้านการเรียนและเล่นอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  5. เกิดกลไกกองทุนตำบลสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกายกับชุมชน

ทั้งนี้ การพัฒนาแนวทางการขับเคลื่อนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต้นแบบด้านการส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของเทศบาลตำบลชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา ได้ดำเนินการ 2 โครงการ ดังไฟล์แนบ

ประชุมสรุป AAR PA ที่ สช.กรุงเทพ8 มีนาคม 2561
8
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ “สรุปบทเรียนการจัดทำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” วันพฤหัสบดีที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๒.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสานใจ ๒ ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ ภายในกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี

  • ๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.ลงทะเบียนรับเอกสาร
  • ๐๙.๓๐ – ๐๙.๔๐ น.ต้อนรับ ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุมฯโดย ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรีรองเลขาธิการสช.
  • ๐๙.๔๐ – ๑๑.๐๐ น.แลกเปลี่ยน/สรุปผลการดำเนินงานและทบทวนบทเรียนการจัดทำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๖๐ ว่าด้วย “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” ดำเนินรายการ โดย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ รองประธานคณะทำงานฯ
  • ๑๑.๐๐–๑๒.๓๐ น. ระดมสมองแลกเปลี่ยนความคิดเห็น “มองไปข้างหน้า แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” ดำเนินรายการ โดย นางภารณี สวัสดิรักษ์ ประธานอนุดำเนินการประชุมฯ

โดยมีโจทย์หลัก ดังนี้ (๑) การสนับสนุนให้เกิดกลไกคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น (๒) กรอบเวลาและแนวทางการขับเคลื่อนฯ (๓) การวิเคราะห์ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องและการสื่อสารสาธารณะ

  • ๑๒.๓๐ น. ปิดการประชุม / รับประทานอาหารกลางวัน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • วัตถุประสงค์ :
    ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเรียนรู้ร่วมกันในประเด็น -ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดทำมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ.๒๕๖๐ ว่าด้วย “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” -ข้อเสนอแนะและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะว่าด้วย “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น”

การขับเคลื่อนฯ ครั้งที่ 1
ประธาน ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการสช. - สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดบึงกาฬมีการทำงานใน 4 กลุ่มวัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย วัยรุ่น (ท้องไม่พร้อม) ผู้สูงวัย คนพิการ ประเด็นการทำงาน 10 ประเด็น ได้แก่ อาหารปลอดภัย ผู้สูงวัย ปฐมวัย อุบัติเหตุ ขยะ ผู้พิการ การเกษตร ทรัพยากร/สิ่งแวดล้อม ชุมชน และวัยรุ่น (ท้องไม่พร้อม) O จะสอดแทรกเรื่อง PA เข้าไปในประเด็นที่มีอยู่แล้ว O เน้นเรื่องการสื่อสารทำความเข้าใจนิยาม PA ให้ชัดเจน O สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันเรื่อง PA
O ทำให้เครือข่ายภาคประชาสังคมผลักดันเรื่อง PA ตามรัฐธรรมนูญสุขภาพ

  • กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนให้เกิดการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรมและการสื่อสาร เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤตกรรมการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม พัฒนาฐานข้อมูลและจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อการติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่าย ชุมชน เพื่อให้มีความรอบรู้ในการดำเนินงาน เพิ่มกิจกรรมทางกายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลฝากถึงกรมอนามัย ขอให้ขับเคลื่อนแผนผ่าน (พชอ.) – (พชจ.) – (พชข.) ผ่านประเด็น NCDS

O การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ ให้มีความรู้เรื่อง PA และสามารถถ่ายทอดความรู้ ให้กับผู้ใช้บริการได้ เช่น เจ้าหน้าที่รพ.สต. ต้องแนะนำให้กับผู้ใช้บริการเรื่อง PA ไม่ใช่แค่การออกกำลังกายเพียงอย่างเดียว

  • กระทรวงมหาดไทย เว็บไซด์ http://localfund.happynetwork.org/project/planning มีแผนกิจกรรมทางกาย จำนวนกองทุน 429 จำนวนพัฒนาโครงการ 368 จำนวนติดตามโครงการ 464 โครงการ

  • การแลกเปลี่ยน มติข้อ ๑. ขอให้สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด และภาคีเครือข่ายพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมี ส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญา ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดำเนินการดังนี้

  1. การขับเคลื่อนโดยเครือข่ายสุขภาพ (สปสช. – ห้าพลัง – 4PW)

- workshop – Roadshow PA – ขับเคลื่อน - ผู้รับผิดชอบ: ศูนย์ราชการ / สำนักขาเคลื่อนยุทธศาสตร์เขต / จังหวัด - ทีมวิชาการ : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ / มหาวิทยาลัยมหิดล
2. การขับเคลื่อนระดับอำเภอ (พชอ.)
- พชจ. – เขตผู้ตรวจ - ผลักดันใช้เป็นยุทธศาสตร์ในการจัดการ 3. การขับเคลื่อนงาน PA กับ กขป. 13 เขต จะขับเคลื่อน 2 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1คือ ส่วนที่เคยทำที่เป็นเรื่องของจังหวัดพ่วงไปด้วย ในส่วนของเขต ตอนนี้ทั้ง 13 เขต ได้มีการทำในส่วนของการขับเคลื่อนการเรียนรู้ทั้ง 13 เขต ซึ่งใน 13 เขต จะมีกลุ่มวัยอยู่ 10 กลุ่ม ก็จะมีในส่วนผู้สูงอายุ เด็กปฐมวัย ผู้พิการ แล้วก็วัยรุ่น อันนี้คือตอบในเรื่องกลุ่มวัย ส่วนประเด็นมีทั้งหมดอยู่ 10 ประเด็น ถ้าเราดูว่ากิจกรรมทางกาย จะไปเข้าสู้งานตามประเด็นที่ทางเขต 13 เขตได้ทำกัน น่าจะเข้าตรงส่วนไหนได้บ้าง
ซึ่งตอนนี้มติของสมัชชา กิจกรรมทางกายมันออกหลังตอนที่เรามีการทำเรื่องประเด็นการขับเคลื่อนของแต่ละเขตไปแล้ว ซึ่งอาจต้องมีการเติมเข้าไป
- กิจกรรมทางกายเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในเรื่องกลุ่มผู้สูงอายุ เรื่องของกลุ่มเด็ก เรื่องของวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งในกิจกรรมทางกายคงจะไม่เป็นกิจกรรมเฉพาะ ในเรื่องนี้เข้าไปในเขต จะเข้าไปบูรณาการก็ต้องเอากิจกรรมทางกายไปเข้าสู่ประเด็นแต่ละประเด็นที่เขตเป็นตัวตั้งอยู่
ส่วนที่ 2 คือ งานเรื่องสมัชชาในระดับพื้นที่ ในเขต 8 จังหวัดในภาคเหนือตอนบนที่ดูแลอยู่ ก็ยังไม่มีการปรากฏเรื่องกิจกรรมทางกาย แต่ก็จะมีประเด็นเรื่องที่จะเข้าไปใช้เรื่องกิจกรรมทางกายเป็นกิจกรรมหนึ่งในการเคลื่อนในเรื่องของประเด็นรวมกับเรื่องธรรมนูญสุขภาพ ซึ่งตัวธรรมนูญสุขภาพมันจะมีเรื่องของการออกกำลังกาย ซึ่งยังมีการให้นิยามของกิจกรรมทางกายก็ไปอยู่ในการออกกำลังกายอยู่ ในตรงนี้ธรรมนูญสุขภาพของระดับตำบล อำเภอที่เคลื่อนกันอยู่ใน 60 กว่าแห่งในแต่ละจังหวัดภาคเหนือตอนบน
- คำว่ากิจกรรมทางกาย จะเข้าว่าเป็น เรื่องการออกกำลังกายเป็นส่วนใหญ่แต่ถ้าจะเป็นเรื่องชื่อเฉพาะของกิจกรรมทางกาย ต้องไปให้ข้อมูลเพิ่มเติมให้กิจกรรมมีความหลากหลายนอกจากเรื่องเล่นกีฬา หรือแอโรบิก หรืออะไรต่างๆ ที่เราคุ้นชินกันมา ตอนซึ่งนี้ในพื้นที่เองก็ยังติดในเรื่องนี้อยู่ 4. เรื่องที่ กขป. เสนอมาตรงนั้นมีการผลักดันเสนอเข้าสู่แผนของจังหวัด โดยทางกระบวนการสมัชชา ที่นี่บทบาทหน้าที่ของทีม 5 พลัง ก็คือ ในเรื่องของการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับพื้นที่ ให้เขาได้เห็นมุมมองปัญหาตรงนั้น ซึ่งยังคงต้องใช้เวลาใช้กระบวนการในการสร้างเรียนรู้ต่อ พยายามจะพัฒนาเรื่องตำบลต้นแบบโดยใช้เรื่องของธรรมนูญเข้ามาจับ
5. การส่งเสริมให้ท้องถิ่นสามารถที่จะมีข้อกำหนดที่จะส่งเสริมเรื่องของการเคลื่อนไหวที่มากกว่าการออกกำลังกาย เพราะจากการที่ทำรับฟังร่างสมัชชาชาติ เรื่องของการออกกำลังกาย ท้องถิ่นสนับสนุน แต่ในเรื่องของโครงสร้างก็ยังมีปัญหาอยู่เรื่องของการออกกำลังกายเขาจะเน้นในเรื่องของจักรยาน เรื่องของการวิ่ง แต่ว่ารูปแบบของการออกกำลังกายอื่นๆ ก็ยังน้อย ถ้าจะทำกันเฉพาะตรงนั้นเราต้องมองกันไปถึงกระบวนการสร้างการเรียนรู้
6. การขยับทำให้เครือข่ายภาคประชาสังคม หรือเครือข่ายสุขภาพ ไปส่งเสริมให้ประชาชนเข้าใจว่า กิจกรรมทางกายมันมากกว่าการออกกำลังกาย โดยการใช้กระบวนการสมัชชาลงพื้นที่
เพื่อนำไปสู่เรื่องยุทธศาสตร์แผนโครงการ และการพัฒนาศักยภาพให้ภาคีเครือข่าย ตัวอย่างเช่น workshop เรื่องของการขับเคลื่อน PA ในกลุ่มของเครือข่ายสมัชชา เครือข่ายสมัชชาตรงนี้รวมเครือข่าย 5 พลัง 7. เครือข่ายสมัชชา เครือข่าย 4PWเครือข่าย 5 พลัง เครือข่ายส่วนภาคเข้าใจเรื่องกิจกรรมทางกายก่อน แต่ละคนก็ลองทำแผนด้วยกัน ขับเคลื่อนเครือข่ายสมัชชา เครือข่าย 4PWผมก็จะพยายามขับเคลื่อนเอาเรื่องนี้ไปเป็นวาระของจังหวัด และเข้าสู่นโยบายของ อสม. - วางแผน workshop หรือว่า road show ซึ่งอาจจะเน้นเรื่องการขับเคลื่อนสู่ยุทธศาสตร์ของเขตหรือจังหวัด 8 . การชงเรื่องเข้า พชอ. ก็คงจะต้องให้จากทุกภาคส่วนได้ระบุปัญหา ความต้องการที่แท้จริงของพื้นที่เขาตรงนั้นเลย เครือข่าย 5 พลัง เครือข่าย 4PW เครือข่ายสมัชชาแห่งชาติ เราอาจจะพัฒนาร่วมกันเนอะ เพื่ออันที่ 1 ไปทำความเข้าใจก่อน ให้เครือข่ายเข้าใจเรื่อง PA ก่อน โดยอาจจะมี workshop เพื่อสร้างยุทธศาสตร์ หาวิธีการขับเคลื่อนเพื่อไปสู่กระบวนการที่ 5 พลัง หรือสมัชชา หรือ กขป. ทำอยู่ในส่วนของ เรื่องของ พชอ.หรือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จะทำอย่างไร ทำให้ พชอ. เข้าใจเรื่อง PA มากขึ้น ดันเรื่อง PA คือดันเรื่อง NCD
9. การขับเคลื่อน PA ต้องไปอยู่ในยุทธศาสตร์เขต ยุทธศาสตร์จังหวัด กขป.. สมัชชา และระดับอำเภอไปอยู่ที่ พชอ.ถ้าเริ่มต้นจากระดับเขตหรือจังหวัดที่เรามองกลไก กขป. หรือเรามองสมัชชาสู่ภาพจังหวัด สู่ภาพของ แล้วก็ขับเคลื่อน กขป. เราอาจจะมี workshop เพื่อทำความเข้าใจ แล้วนำไปสู่การวางยุทธศาสตร์ระดับเขตหรือจังหวัด โดยมีทีมวิชาการ และจากศูนย์วิจัยฯ มหิดล และ สจรส. ม.อ. อยู่ ซึ่งจะเข้ามาช่วย ขณะเดียวกัน สสส.เขาจะสามารถสนับสนุนในการทำเรื่องนี้ในส่วนการขับเคลื่อนระดับอำเภอในกลไกของ ปจอ. ซึ่งในขณะนี้กลไกของ ปจอ.ได้วางเป็นลำดับ คือ ปจอ. แล้วไป พชจ.ในจังหวัด แล้วก็เป็นกลไกเขตของหุ้นส่วน ถ้าเราสามารถเดินตามยุทธศาสตร์นี้ ให้ PA มันเป็น 1 ในยุทธศาสตร์จัดการ NCD เบื้องต้น และให้ทำความเข้าใจว่า NCD คือบริโภคต่างจาก PA 10. ควรมีการจัด workshop คือเหมือนกับการดูเช็คทุน และหาแนวทางในการทำงานในอนาคต ซึ่งจริงๆ แล้วเช็คทุน เข้าใจว่าที่เราทำ PA และมี event ซึ่งทางกรมอนามัยมีข้อมูลและมีองค์ความความรู้ที่สามารถเผยแพร่ได้

  • การแลกเปลี่ยน มติข้อ ๒. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม สุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสถิติแห่งชาติ สถาบันวิชาการ กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรด้านสื่อดำเนินการ
  1. การจัดการความรู้ความเข้าใจต่างๆ การรวบรวมข้อมูล แล้วก็พัฒนาความเข้าใจของคน ข้อนี้จริงๆ กรมอนามัยทำอยู่แล้ว สสส.เขาทำอยู่ เพียงแต่ว่าการไปเชื่อมกับหน่วยงานอื่นอาจจะยังน้อยอยู่ ในมติข้อนี้เหมือนกับบอกว่าให้ กรมอนามัยและสสส. ไปจัดการร่วมกับกรมอื่นๆ ของกระทรวงสาธารณสุข ของกระทรวงศึกษาฯ สำนักงานสถิติแห่งชาติ แล้วก็สถาบันวิชาการต่างๆ
  2. เพิ่มเติมข้อ 2.1 , 2.3 งานหลักที่ศูนย์วิจัยฯ คือการพัฒนาทุนที่เป็นนักวิจัย เพื่อที่จะให้มีศักยภาพในการทำงานวิจัยเรื่องกิจกรรมทางกาย โดยจุดเน้นของปีนี้ จะเน้นที่การพุ่งเป้าใน 3 กลุ่ม คือ เด็ก วัยทำงาน และผู้สูงอายุ
  3. ในกลุ่มเด็กเน้นให้การวิจัยต่างๆ หากระบวนการ หรือองค์ความรู้ออกมาว่าทำยังไงเราถึงจะสร้างกิจกรรมให้เด็กได้ต้องคุ้มทุนที่สุด ถ้าเราสร้างตัวนี้ สร้างจิตสำนึก สร้างสุขภาพให้เด็กได้ เราเชื่อว่าพอโตขึ้นตรงนี้จะกลายเป็นเกราะป้องกันได้อย่างแข็งแรงที่สุด
  4. ในขณะที่กลุ่มวัยทำงานตอนต้นมีเน้นเรื่องการออกกำลังกาย เน้นกีฬา และการมีกิจกรรมทางกายในระหว่างวัน เพื่อป้องกัน NCD คำว่าวัยตอนต้น จากการวิจัยเราพบว่าอยู่ที่อายุ 40-45 ปี หลังจากนั้นป้องกัน NCD ได้น้อยมากแล้ว ไม่คุ้มทุนที่จะลง เกิดไม่เกิดมันเหมือนจะมาก่อน 40-45 ปี หลังจากนั้นการดูแลตัวเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีแม้มี NCD ก็ต้องอยู่ให้มีความสุขและดีให้ได้
  5. สิ่งที่สำคัญพอๆ กับการไม่รับรู้กิจกรรมทางกาย คือการไม่รับรู้โทษของกิจกรรม ซึ่งมันไม่ตรงข้ามกันเสียเดียว อย่างเช่น พวกเรานั่งนานๆ เราไม่รู้ว่ามันส่งผลเสียต่อเรายังไงบ้างแล้ว บางคนเข้าใจว่าทุกเย็นที่เราออกกำลังกายสามารถทดแทนกับการที่เราอยู่กับที่ 12 ช.ม./วันได้
  • การแลกเปลี่ยน มติข้อ ๓. ขอให้กระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และ กระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ข้อ 3.1 เพราะถ้า พูดกันถึงเรื่องข้อวิจัย ก็อยากให้สนับสนุนเรื่องนี้ให้มันชัดเจน แล้วมันจะได้เป็นเหมือนกับคู่มือสำหรับสถาปนิกนักออกแบบต่อไป จะทำงานด้านนี้ ก็จะต้องพิจารณา ในเรื่องใดบ้าง เหมือนกับที่ทำในเรื่องผู้สูงอายุหรือว่าผู้พิการต่าง ๆ ส่วนในข้อ 3.2 ในเรื่องของการจัดให้มี หรือการจัดการพื้นที่ ถ้าจะทำให้เป็นไปได้ต้องมีลักษณะเหมือนกับการสร้างตัวอย่างขึ้นมา มาเป็นพื้นที่นำร่องพื้นที่ตัวอย่างมีหน่วยงานราชการ ตั้งแต่ส่วนกลางจนถึงระดับท้องถิ่น หาพื้นที่ที่ทำเป็นรูปแบบตัวอย่างขึ้นมาให้ ให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่ไม่เคยทำหรือไม่มีประสบการณ์ ได้รู้ว่าเวลาการทำขึ้นมาจริงแล้วการใช้พื้นที่แบบนี้มันเปิดโอกาสให้คนเข้ามาใช้ มันต้องทำยังไง ข้อไหนบ้างที่ต้องยกเว้น ข้อไหนบ้างที่ต้องเอื้อให้เกิดประโยชน์สาระกับในงาน ฉะนั้นในข้อ 3.2 สนับสนุนว่าควรจะประสานงานทำเป็นเครือข่ายเป็นหน่วยงานส่วนกลางหรือหน่วยงานท้องถิ่นที่พร้อม ที่จะทำเป็นกรณีตัวอย่างขึ้นมาเพื่อเป็นบทเรียนให้กับหน่วยงานอื่น ๆ ได้เรียนรู้ต่อไปแล้วก็ทางฝ่ายประชาสัมพันธ์ได้ทำเรื่องเหล่านี้ไปประชาสัมพันธ์ต่อเนื่องไปว่าทำได้จริง แล้วก็ทำในรูปแบบแบบนี้
    , การขับเคลื่อนข้อ 3.1, 3.2 ให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง จัดเวทีคุยกันว่า 3.1 3.2 จะมีแนวทางวางแผนอย่างไรต่อ
    ในการทำตรงนี้ ถ้าตกลงกันว่ารับเป็นเจ้าภาพหรือองค์กรวิชาชีพสถาปนิกจะเข้ามามีส่วนเป็นภาคีหลักในการทำงานร่วมกันเพื่อผลักดันมติ 3.1 กับ 3.2
    , สถาปนิกไปทำงานวิจัย 1-2 ชิ้น เรื่องการจัดการพื้นที่ ที่มีการออกแบบอะไรต่างๆ เข้าใจว่าก็มีอยู่พอสมควรที่จะรวบรวมมา ที่จะมาเขียน แล้วลองทำคล้าย ๆ เป็นร่างไกด์ไลน์ แล้วขณะเดียวกันไปหาพื้นที่นำร่องสักแห่งหรือ 2 แห่ง อย่าง อบจ.ไหนที่เขาคิดว่าอยากทำเรื่องนี้ จังหวัดก็ลองไป ลองไปคุยแล้ว ลองไปช่วย implement ไปช่วยเป็นพี่เลี้ยง ทำไปสักปีสองปี แล้วก็ขยับเรื่องนี้ไปสู่นโยบาย

  • ถ้าได้พื้นที่จากการทำ workshop ก็เอาพื้นที่นำร่อง มาทำเป็นพื้นที่ศึกษา และคู่ขนานกันไปเลยคือได้ทั้งการทดลองในพื้นที่จริงและก็ได้พื้นที่ที่เป็นตัวอย่างเอามาเป็นตัวอย่างให้กับหน่วยงานอื่นๆ ผู้แทนกรม กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยว กระทรวงกลาโหม แล้วก็เครือข่ายเรื่องผังเมืองจัดเวทีคุยกัน แล้วก็ดูความเป็นไปได้ว่าถ้าจะมีอย่าง ข้อ3.1 และ 3.2 จะมีวิธีการอะไรอย่างไรบ้าง

  • ข้อ 4 เรื่องของ พม. กรมกิจการเด็กและเยาวชน และก็กรมการปกครองส่วนท้องถิ่นนะครับ เรื่องไปส่งเสริมให้ผลักดันครอบครัวให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ประชุมหารือกำหนดแผนงานอีกครั้ง

  • มติข้อ ๕. ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นที่มีการจัด การศึกษา มีนโยบายและสนับสนุนงบประมาณให้สถานศึกษาทุกระดับ ทั้งที่เป็นสถานศึกษาของรัฐและ เอกชน จัดให้มีหลักสูตร กิจกรรมและสร้างเสริมสภาพแวดล้อมและการดูแลความปลอดภัยที่เอื้อให้เกิดการมี กิจกรรมทางกายของบุคลากร นักเรียน นักศึกษาและชุมชน และ มติข้อ ๖. ขอให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และภาค ธุรกิจเอกชน กำหนดให้มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการ จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่ เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกาย นำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง พร้อมทั้งส่งเสริมบุคลากรในองค์กร ให้มี กิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ >>>ประชุมหารือกำหนดแผนงานอีกครั้ง

  • ข้อ 7 เรื่องของให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบต่าง ๆ สนับสนุนงบประมาณและให้องค์กรในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่มีแผนงานที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายของคนแต่ละกลุ่มวัย มีปัญหาอยู่นิดเดียว คือเรื่อง one planเนื่องจากกรมส่งเสริมอยากให้แผนของกองทุนไปอยู่ในแผนของท้องถิ่น แล้วแผนของท้องถิ่นไปอยู่ในแผนของจังหวัด แผนจังหวัดก็ไปอยู่ในแผนชาติ ซึ่งตอนนี้มันยังทำไม่ได้อยู่เนื่องจากว่าแผนกองทุน มันยังไม่ได้อยู่ในแผนของท้องถิ่นโดยตรง

  • มติข้อ ๘. ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่นๆ ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ที่ เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น เพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการ โดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด >>> สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ดำเนินการตามมติ

  • มติข้อ ๙. ขอให้สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) องค์กรสื่อสารมวลชน และเครือข่ายสื่อชุมชนเป็นแกน หลักร่วมกับเครือข่ายสื่ออื่นๆ ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรม เนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย >>> การเรียนรู้การจัดทำสื่อที่เป็นภาพใหญ่ของระดับประเทศเลยที่ลงมา อย่างน้อยเป็นการกระตุก กระตุกสังคมมาให้เริ่มมองเห็นว่าในเรื่องของกิจกรรมทางกาย สื่ออันแรกก็คือว่าจะทำยังไงที่ทำให้สื่อที่สามารถที่จะเป็นสื่อสาธารณที่สร้างแล้วก็กระตุกสังคมให้มองเห็นสภาวะมันมีหลายมุมมองในเรื่องของการที่จะส่งเสริมในเรื่องของกิจกรรมทางกาย

สรุป - มติข้อแรกขอให้สมาชิกสมัชชาเครือข่ายสุขภาพต่าง ๆในพื้นที่ ร่วมกันขับเคลื่อนต่อเนื่องกับสิ่งที่เราคิดว่าน่าจะทำก็คือว่าต้องมีการทำ workshop เรื่อง PA ให้กับทางเครือข่ายทั่วประเทศได้เข้าใจเรื่องนี้ เมื่อเข้าใจแล้วก็คิดวิธีหรือกระบวนการที่จะผลักดันให้ PA ไปอยู่ในยุทธศาสตร์ของ PA ทุกจังหวัด ผ่านกลไก กขป. ผ่านกลไกลงทุนพัฒนา 15 จังหวัด ทั้ง workshop ใน สช. อาจจะต้องเป็นคนจัดรับผิดชอบ ก็จะมีสำนักขาเคลื่อน ศูนย์ภาคฯ สช. ทีมที่ดูแลเรื่อง กขป. และทีมวิชาการของมหาวิทยาลัยจะช่วยหนุนเสริม เช่น ม.สงขลานครินทร์ ม.มหิดล เป็นต้น - ข้อ 3 คือเรื่องที่ให้การส่งเสริมองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับองค์กรวิชาชีพ กับผังเมืองทำ 3.1 3.2คุยกันว่าต้องมีการประชุมกับผู้แทน อยากจะเสนอว่าให้ทำการบ้านมาก่อน ต้องมีการไปคุยกันก่อนที่จะมีการประชุมร่วม ไปคุยกับแต่ละกระทรวงที่รับผิดชอบเรื่องนี้ ลองคิดไอเดียอะไรมาก่อน และก็พอมาคุยร่วมกันก็จะได้ไปได้เร็ว
- ส่วนข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 9 คงต้องไปเจรจาพูดคุยอีกครั้ง ข้อ 4 ก็ต้องคุยกับกรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมพินิจฯ สถาบันครอบครัวคุยกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นว่าถ้าจะเอาเรื่อง PA ไปใส่ในสถาบันครอบครัวจะมีแนวทางทำอะไรอย่างไรได้บ้าง เรื่องของกระทรวงศึกษา แม้ว่า สอส.ทำเรื่องนี้อยู่นะครับในนาม สมศ. แต่ว่าในมติเขียนกว้างเกิน สถานการณ์ศึกษาของรัฐและเอกชน คงต้องมีวงพูดคุยกัน ข้อ 6 และส่วนข้อ 7 นั้น สอส.กับกรมปกครองส่วนท้องถิ่น และสสจ.ทำเรื่องนี้อยู่แล้ว ก็ให้เขาทำต่อ ขยายผลจาก 270 เป็นทั่วประเทศ ข้อ 8 จาก สวส.กับ สอส.คุยกันเรื่องนี้อยู่แล้ว ข้อ 9 ก็อาจจะต้องรวมคุยกัน

ประชุมระบบรายงานพี่เลี้ยง และการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ จ.ขอนแก่น 5 มีนาคม 2561
5
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงทั้งการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผลด้วยระบบออนไลน์ และการปรับปรุงข้อเสนอโครงการในวันที่ 5 มีนาคม 2561 ณ โรงแรมราชาวดีขอนแก่น อ.เมือง จ.ขอนแก่น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วม ได้แก่ คณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) ภาคตะวันออก จำนวนคน จากจังหวัด และคณะทำงาน สจรส.ม.อ. จำนวน 4 คน
ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้ มีความรู้ ความเข้าใจ ดังนี้
- การฝึกปฏิบัติการระบบรายงานการจัดทำกิจกรรมของพี่เลี้ยง
- การฝึกปฏิบัติการระบบการติดตามโครงการ Online ผ่านทาง Website
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์

ประชุมระบบติดตามพี่เลี้ยงและปรับปรุงโครงการ ภาคกลาง4 มีนาคม 2561
4
มีนาคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมการสร้างทีมพี่เลี้ยงเพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการทั้งในขั้นตอนการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผล เขตภาคกลาง (กรุงเทพฯ) ในวันที่ 4 มีนาคม 2561 เวลา 10.00-16.00 น. ณ โรงแรม vic3 Bangkok สนามเป้า กรุงเทพมหานคร

  • 09.30 น. –10.00 น. ลงทะเบียน
  • 10.00 น. – 12.00 น. - การฝึกปฏิบัติการระบบรายงานการจัดทำกิจกรรมของพี่เลี้ยง และระบบการติดตามโครงการ Online ผ่านทาง Website โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และคุณสุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • 12.00 น. – 13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
  • 13.00 น. –14.30 น. - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และทีมพี่เลี้ยง
  • 14.30 น. – 16.00น. - การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ปรับปรุงข้อเสนอโครงการให้สมบูรณ์ (ต่อ) โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ และทีมพี่เลี้ยง
  • 16.00 น. เป็นต้นไป เดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วม ได้แก่ คณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) ภาคกลาง จำนวน 24 คน จากจังหวัด สระบุรี ลพบุรี เพชรบุรี กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา และสระแก้วและคณะทำงาน สจรส.ม.อ. จำนวน 4 คน
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องระบบออนไลน์ สถานการณ์ การเก็บข้อมูล เช่น เก็บข้อมูลใสโรเรียน หน่วยงานที่ทำงาน ผู้สูงอายุ ศึกษากลุ่มแม่บ้าน ดูว่ากลุ่มนี้มีกิจกรรมทางกายอย่างไร หรือกลุ่มอาชีพ จากข้อมูลประชากรศาสตร์ และโรงพยาบาล อาจเก็บข้อมูลออกกำลังกาย**
  • จากกรอบ 3 เรื่องใหญ่ ได้แ่ก่ 1 กิจวัตรประจำวัน 2. การเดินทาง 3.ออกกำลังกาย เปลี่ยนแนวคิดการออกกำลังกายมาเป็น กิจกรรมทางกายตลอดเวลาเช่น PA ในเด็ก ถ้าเราจับตัวกิจรวัตรประจำวัน / หยิบกล่องใดกล่องหนึ่งออกมา
  • ถ้าจะทำให้เด็กมี PA ทำเรื่อง 1.คน 2. สภาพแวดล้อม 3.กลไกถ้าท้องถิ่นทำ ควรทำให้ศูนย์เด็กเล็ก ทำเรื่อง Active play / มีหลักสูตรการพัฒนากิจกรรมเสริมหลักสูตรและที่บ้านควรทำอะไรบ้าง หรือเล่นกับโรงเรียนการทำเรื่องเกษตรในโรงเรียน มีการปลูก ผักผลไม้ เลี้ยงไก่ และมีอาหารมีสนับสนุนในโรงเรียน
ประชุมเรื่องการติดตามโครงการด้วยระบบออนไลน์ สสส.21 กุมภาพันธ์ 2561
21
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการสรุปภาพรวมชุดความรู้และนวัตกรรม (การประชุมสรุปรายงานความก้าวหน้าและการติดตามผลโครงการด้วยระบบออนไลน์) ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมเอทัส ลุมพีนี กรุงเทพมหานคร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่คณะทำงาน สสส. จำนวน 4 คน เครือข่ายเดินวิ่ง จำนวน 2 คน เครือข่ายเปิดรับทั่วไปกิจกรรมทางกาย จำนวน 1 คน และ สจรส.มอ. จำนวน 3 คน
  • ทางผู้ทรงคุณวุฒิได้แนะนำการปรับโครงการให้สมบูรณ์ขึ้น และทาง สจรส.มอ.ได้ แนะนำเว็บกองทุนสุขภาพตำบล
ระบบรายงานติดตามพี่เลี้ยง จ.ปัตตานี 14 กุมภาพันธ์ 2561
14
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การสร้างทีมพี่เลี้ยง เพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการทั้งในขั้นตอนการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผล ณ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ คณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) จ.ปัตตานี จำนวน 10 คน และคณะทำงาน สจรส.มอ.จำนวน 2 คน
  • คณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) ได้เรียนรู้ปฏิบัติ การกรอกข้อมูลออนไลน์ ในเรื่องการพัฒนาโครงการกองทุนสุขภาพตำบล และการติดตามโครงการ
ประชุมระบบรายงานพี่เลี้ยง และการปรับปรุงข้อเสนอโครงการ จ.พิษณุโลก13 กุมภาพันธ์ 2561
13
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมการสร้างทีมพี่เลี้ยงเพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการทั้งในขั้นตอนการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผล (เขตภาคกลางและเหนือ จ.พิษณุโลก) ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 08.30 – 16.00 น. ณ โรงแรมท็อปแลนด์ แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ คณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) จำนวน 27 คน สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 2 พิษณุโลก และคณะทำงาน สจรส.ม.อ.จำนวน 4 คน
  • คณะทำงาน (พี่เลี้ยงกองทุน) จากจังหวัดนครสวรรค์ แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร ...............(มีต่อ)..................................
การปรับปรุงข้อเสนอโครงการ เขตภาคเหนือ จ.เชียงใหม่7 กุมภาพันธ์ 2561
7
กุมภาพันธ์ 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมการสร้างทีมพี่เลี้ยงเพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการทั้งในขั้นตอนการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผล และปรับปรุงข้อเสนอโครงการ (เขตภาคเหนือ จ.เชียงใหม่) ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 ณ โรงแรมเดอะปาร์ค อ.เมือง จ.เชียงใหม่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จังหวัดที่ได้เข้าร่วม ได้แก่ จ.ลำพูน จ.แพร่ จ.เชียงใหม่
  • คณะทำงานพี่เลี้ยงสามารถใช้ระบบติดตามออนไลน์ได้ สามารถบันทึกกิจกรรมได้ สามารถลงงบประมาณค่าใช้จ่ายได้ สามารถบันทึกรูปภาพกิจกรรมได้ ซึ่งทุกกิจกรรมที่ทำต้องบันทึกเข้าไป โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีค่าใช้จ่าย
  • จากนั้นจะเข้าสู่ระบบรายงาน ได้แก่ รายงานฉบับสมบูรณ รายงานการเงิน
  • พี่เลี้ยงสามารถใช้ระบบพัฒนาโครงการ และติดตามประเมินผล
  • โครงการกิจกรรมทางกาย เกิดการปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้น

แลกเปลี่ยน

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 17 คน จากที่ตั้งไว้ 17 คน
ประกอบด้วย
  • คณะทำงาน (พี่เลี้ยง) จำนวน 14 คน
  • ทีม สจรส.มอ. 3 คน
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างทีมพี่เลี้ยงเพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการ ทั้งในขั้นตอนการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผล อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี17 มกราคม 2561
17
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างทีมพี่เลี้ยงเพื่อการหนุนเสริมผู้เสนอโครงการ ทั้งในขั้นตอนการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผล (นำร่อง อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี และ อ.สวี จ.ชุมพร) วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาสาร อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561 ณ สำนักงานเทศบาลเมืองนาสาร อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี ................ วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.00-13.00 น. ลงทะเบียน/เตรียมความพร้อมณ.ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาสาร เวลา 13.30-14.00 น. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ / ชี้แจงวัตถุประสงค์
เวลา 14.00-16.00 น. บทเรียนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่เทศบาลเมืองนาสาร เวลา 16.00-17.00 น. บทเรียนการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอนาสาร เวลา 17.00-19.30 น. เข้าที่พัก/รับประทานอาหาร และแลกเปลี่ยนทัศนะคนทำงานสร้างสุข

วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2561 เวลา 08.30-09.00 น. ลงทะเบียน/เตรียมความพร้อม ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี เวลา 09.00-10.00 น. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ / ชี้แจงวัตถุประสงค์และสรุปบทเรียนสำคัญ รู้จักทักทาย ทีมติดตามสนับสนุนแต่ละพื้นที่ อ.นาสาร / อ.สวี เวลา 10.00-12.00 น. การติดตามสนับสนุนพื้นที่กองทุนสุขภาพฯ สู่แผนงานโครงการเชิงรุก โดย ทีม สจรส.มอ. เวลา 12.00-13.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง เวลา 13.00-14.30 น. การประเมินแบบเสริมพลัง และระบบรายงานผลโครงการ โดย ทีม สจรส.มอ. เวลา 14.30-15.30 น. ระบบสนับสนุนการดำเนินงานระดับจังหวัด/ระดับเขต 11 โดย ทีมคณะทำงานพัฒนากองทุนหลักประกันสุขภาพ เขต 11 เวลา 15.30-16.00 น. สรุปผลเวทีเรียนรู้ และนัดหมายภารกิจครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ทีมพี่เลี้ยงประกอบด้วย ทีมคณะทำงานระดับอำเภอ (พชอ.) และทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ มีความเข้าใจร่วมกันในการติดตามสนับสนุนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น พร้อมเกิดแผนปฏิบัติการร่วมกัน
  • ทีมพี่เลี้ยงฝึกปฏิบัติการระบบการพัฒนาโครงการ Online ผ่านทาง Website
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 60 คน จากที่ตั้งไว้ 60 คน
ประกอบด้วย

ทีมคณะทำงานระดับอำเภอ (พชอ.) และทีมพี่เลี้ยงกองทุนฯ

การพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงทั้งการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผล12 มกราคม 2561
12
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงทั้งการพัฒนาโครงการและการติดตามประเมินผล 5 จังหวัดใต้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมพี่เลี้ยงกองทุนฯ 5 จังหวัดใต้ล่าง เรื่องการเงินและการกรอกข้อมูลออนไลน์ โครงการกิจกรรมทางกาย (PA) ทำให้คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการโครงการและเอกสารการเงิน

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ภาคอีสาน จ.อุบลราชธานี 8 มกราคม 2561
8
มกราคม 2561รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ วันที่ ๘ มกราคม ๒๕๖๑ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๖.๐๐ น. ณ โรงแรม บ้านสวนคุณตา กอล์ฟ แอนด์ รีสอร์ท อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • บรรยายความสำคัญของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น โดยนายแพทย์เรืองศิล์ป เถื่อนนาดี ผู้อำนวยการ สปสช. เขต ๑๐ อุบลราชธานี
  • สถานการณ์ ระบบสุขภาพของชุมชน/ แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ การพัฒนาข้อเสนอโครงการ ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ภาคใต้ จ.สุราษฏร์ธานี 28 ธันวาคม 2560
28
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ภาคใต้ จ.สุราษฏร์ธานี วันที่ 28-29 ธันวาคม 2560 ณ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาสาร อ.นาสาร จ.สุราษฎร์ธานี
- แลกเปลี่ยนเรียนเรื่อง เรื่อง สถานการณ์ระบบสุขภาพของชุมชน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ
- ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย - ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย - ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ (ต่อ) โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน อ.นาสาร จ.สุราษฏร์ธานีจำนวน 11 กองทุน ดังนี้

  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ลำพูน
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลคลองปราบ
  3. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เพิ่มพูนทรัพย์
  4. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลพรุพี
  5. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลท่าชี
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองนาสาร
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ทุ่งเตาใหม่
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.น้ำพุ
  9. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลควนศรี
  10. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ควนสุบรรณ
  11. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ทุ่งเตา
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ ภาคใต้ จ.ชุมพร 26 ธันวาคม 2560
26
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ (โซนจังหวัดชุมพร)
วันที่ 26-27 ธันวาคม 2560 ณ ปากตะโกโฮมสเตย์ อำเภอทุ่งตะโก จ.ชุมพร - แลกเปลี่ยนเรียนเรื่อง เรื่อง สถานการณ์ระบบสุขภาพของชุมชน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ
- ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย - ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย - ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ (ต่อ) โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน อ.สวี จ.ชุมพร จำนวน 11 กองทุน ดังนี้

  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลนาโพธิ์พัฒนา
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เขาค่าย
  3. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.วิสัยใต้
  4. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.สวี
  5. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลนาโพธิ์
  6. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ท่าหิน ึ7. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ทุ่งระยะ
  7. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ด่านสวี
  8. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.นาสัก
  9. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ครน
  10. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เขาทะลุ
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 10 20 ธันวาคม 2560
20
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันที่ 20 ธันวาคม 2560
- พิธีเปิด/ปาฐกถาพิเศษ/พิธีเปิดธรรมนูญพระสงฆ์แห่งชาติ - รับรองระเบียบวาระการประชุม/รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานตามมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ
- การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุม
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

วันที่ 21 ธันวาคม 2560
- ปาฐกถาพิเศษ - การประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุม
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ

วันที่ 22 ธันวาคม 2560
- เสวนา 10 ปี สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ : บทเรียน ความสำเร็จ และความท้าทาย - แถลงข่าว มติสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 10
- เวที “สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ สู่ทศวรรษที่ 2 : มองให้ไกล ไปให้ถึง” - การประกาศชื่นชมรูปธรรมการขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ - รับรองร่างมติ/ปาฐกถาพิเศษ/พิธีปิด/พิธีส่งมอบตำแหน่งประธาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้มติกิจกรรมทางกาย ดังนี้

รายงานฉบับที่ หนึ่งของคณะอนุกรรมการดำเนินการประชุม คณะที่ ๒ คณะอนุกรรมการดำเนินการประชุม คณะที่ ๒ ได้ประชุมครั้งที่หนึ่ง และครั้งที่สามเมื่อวันที่ ๒๐ และ ๒๑ ธันวาคม ๒๕๖๐ โดยมีนางภารนี สวัสดิรักษ์เป็นประธานในที่สุดที่ประชุมมีมติเห็นควรเสนอต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่สิบให้รับรองมติประกอบระเบียบวาระเพื่อพิจารณาต่างๆ ดังต่อไปนี้ ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องเพื่อพิจารณา ๒.๑การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

มี มติ ๑ฉบับ ตามที่ปรับแก้

ระเบียบวาระที่๒.๑

การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่สิบ ได้พิจารณารายงานเรื่อง การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
รับทราบว่า การมีกิจกรรมทางกายที่ไม่เพียงพอและการมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจมีโอกาสเจ็บป่วยด้วยโรคทางกายและโรคทางจิตโดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ(NCDs) ทั้งโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจและหลอดเลือดรวมถึงการเจ็บป่วยอื่นๆ ทุกระบบของร่างกายทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อความพิการ ทุพพลภาพ การเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้น ตระหนักว่า การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอช่วยให้สุขภาพดี มีกล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ประสาทสัมผัสและการทรงตัวดี ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาดีขึ้น มีสมาธิในการเรียน เกิดความสัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัวและสังคมจากการมีกิจกรรมร่วมกัน กิจกรรมทางกายบางประเภท เช่น การใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ยังส่งผลต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ช่วยลดมลภาวะต่างๆได้อีกด้วย ชื่นชมว่าสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทยกระทรวงศึกษาธิการ กรุงเทพมหานครเครือข่ายภาคประชาสังคมและภาคเอกชนได้สนับสนุนและมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายของประเทศไทยให้เพิ่มขึ้น กังวลว่า ปัจจุบันสังคมไทยยังขาดการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องและเพียงพอด้านกิจกรรมทางกาย รวมถึงขาดพื้นที่ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายและยังขาดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในกระบวนการจัดการเพื่อสนับสนุนการมีกิจกรรมทางกาย เห็นว่าแนวทางสำคัญในการส่งเสริมให้คนไทยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นได้แก่การสร้างความรู้ ความเข้าใจ การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรมและการสื่อสารการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายการสร้างพื้นที่ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายการขับเคลื่อนกระบวนการนโยบายสาธารณะทั้งในระดับชาติและพื้นที่ โดยสนับสนุนให้มีกลไกความร่วมมือขององค์กร หน่วยงาน เครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและกลไกระดับพื้นที่โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งซึ่งต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการเข้ามาร่วมคิด ร่วมทำ ในทุกขั้นตอน โดยการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ลดพฤติกรรมเนือยนิ่งจะทำให้คนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาพแข็งแรง ส่งผลให้สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความกระฉับกระเฉง นำประเทศไปสู่การพัฒนาในมิติต่างๆที่ยั่งยืนต่อไป

จึงมีมติดังต่อไปนี้ ๑.ขอให้สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด และภาคีเครือข่ายพัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานทางปัญญาร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วน ดำเนินการดังนี้

๑.๑ รณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อให้ประชาชนเกิดการรับรู้ เข้าใจ ตระหนักและมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการกิจกรรมและการจัดพื้นที่เพื่อนำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น

๑.๒ ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะ ยุทธศาสตร์ แผนและโครงการขององค์กรทุกระดับ ในการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น

๑.๓ เสนอนโยบายการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นต่อคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.) คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.)และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) เพื่อสนับสนุนให้มีการขับเคลื่อนสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง

๒. ขอให้กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมอื่นๆที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานสถิติแห่งชาติสถาบันวิชาการ กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรด้านสื่อดำเนินการ

๒.๑สนับสนุนให้เกิดการสร้างความรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก การจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรมและการสื่อสารเพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของประชาชนที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม ๒.๒การพัฒนาฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อการติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย ๒.๓ สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคนองค์กรเครือข่ายชุมชนเพื่อให้มีความรอบรู้ในการดำเนินงานเพิ่มกิจกรรมทางกายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

๓. ขอให้กระทรวงมหาดไทยโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กระทรวงคมนาคม กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาสังคม ดังต่อไปนี้

๓.๑ วางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงระเบียบในการออกแบบและการใช้พื้นที่ เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายและให้มีมาตรการหรือข้อตกลงในการใช้พื้นที่สาธารณะเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัย

๓.๒ จัดให้มีและจัดการพื้นที่ในการครอบครองของแต่ละองค์กรให้มีพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่เอื้อและกระตุ้นต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน

๔.ขอให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน กรมกิจการสตรีและครอบครัว ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง มีนโยบาย แผนงานและโครงการ เพื่อส่งเสริมให้สถาบันครอบครัวมีกิจกรรมทางกายร่วมกันเพิ่มมากขึ้น

๕.ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กรุงเทพมหานครและหน่วยงานอื่นที่มีการจัดการศึกษา มีนโยบายและสนับสนุนงบประมาณให้สถานศึกษาทุกระดับ ทั้งที่เป็นสถานศึกษาของรัฐและเอกชน จัดให้มีหลักสูตร กิจกรรมและสร้างเสริมสภาพแวดล้อมและการดูแลความปลอดภัยที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายของบุคลากร นักเรียน นักศึกษาและชุมชน

๖.ขอให้กระทรวงแรงงาน โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และภาคธุรกิจเอกชน กำหนดให้มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนให้สถานประกอบการจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกาย นำไปสู่การปฏิบัติอย่างแท้จริง พร้อมทั้งส่งเสริมบุคลากรในองค์กร ให้มีกิจกรรมทางกายอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

๗.ขอให้กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษสนับสนุนงบประมาณและให้กองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับพื้นที่หรือท้องถิ่น มีแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน โดยสอดคล้องกับแนวคิดนโยบายเรื่องแผนเดียว (One Plan) ของกระทรวงมหาดไทย

๘.ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่นๆ ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นเพื่อเสนอต่อกระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาดำเนินการโดยมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด

๙.ขอให้สำนักนายกรัฐมนตรีโดยกรมประชาสัมพันธ์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.)องค์กรสื่อสารมวลชนต่างๆ และเครือข่ายสื่อชุมชนเป็นแกนหลักร่วมกับเครือข่ายสื่ออื่นๆ ในการสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกายและลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย

๑๐.ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติรายงานความก้าวหน้า ต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่๑๒

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 2,000 คน จากที่ตั้งไว้ 2,000 คน
ประกอบด้วย

ภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ โซนภาคกลาง จ.อยุธยา 16 ธันวาคม 2560
16
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ เขตภาคกลาง จ.พระนครศรีอยุธยา วันที่ 16-17 ธันวาคม 2560 ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

  • แลกเปลี่ยนเรียนเรื่อง เรื่อง สถานการณ์ระบบสุขภาพของชุมชน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

  • ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย

  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รอง ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ (ต่อ)
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.เพชรบุรี จำนวนกองทุน ดังนี้
  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บ้านในดง
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เขากระปุก
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.มาบปลาเค้า
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองจอก
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.กลัดหลวง
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ยางหย่อง
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ปึกเตียน
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลท่าไม้รวก
  9. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.วังไคร้
  10. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ท่าคอย
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.กาญจนบุรี จำนวนกองทุน ดังนี้
  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลท่าล้อ
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บ้านใหม่
  3. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลหนองตากยา
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ทุ่งสมอ
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองโรง
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.ฉะเชิงเทรา จำนวนกองทุน ดังนี้
  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะขนุน
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เขาหินซ้อน
  3. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองแหน
  4. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลท่าถ่าน
  5. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลบ้านซ่อง
  6. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลพนมสารคาม
  7. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เมืองเก่า
  8. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองยาว
  9. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลเกาะขนุน
  10. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.พนมสารคาม


- เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.นครสวรรค์ จำนวนกองทุน ดังนี้

  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หูกวาง
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลนครนครสวรรค์
  3. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บ้านมะเกลือ
  4. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.อ่างทอง
  5. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองกรด
  6. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ตาสัง
  7. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บางม่วง
  8. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.พิกุล
  9. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.นครสวรรค์ออก
  10. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ท่าไม้
  11. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองกระโดน
  12. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.มหาโพธิ
  13. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองเต่า
  14. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ท่างิ้ว
  15. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ทับกฤช
  16. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บางตาหงาย
  17. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.กลางแดด
  18. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองปลิง
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.พิจิตร จำนวนกองทุน ดังนี้
  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บึงนาราง
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เนินสว่าง
  3. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ดงเสือเหลือง
  4. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โพธิ์ประทับช้าง
  5. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลไผ่รอบ
  6. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลโพธิ์ประทับช้าง
  7. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ไผ่ท่าโพ
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.แหลมรัง
  9. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โพธิ์ไทรงาม
  10. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ห้วยแก้ว
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.ลพบุรี จำนวนกองทุน ดังนี้
  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โคกลำพาน
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ท่าแค
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บางขันหมาก
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โก่งธนู
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลกกโก
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โพธิ์เก้าต้น
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลถนนใหญ่
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บ้านข่อย
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.สระแก้ว จำนวนกองทุน ดังนี้
  1. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ทับพริก
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลบ้านด่าน
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หันทราย
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลบ้านใหม่หนองไทร
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ท่าข้าม
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เมืองไผ่
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.คลองทับจันทร์
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.คลองน้ำใส
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.สระบุรี จำนวนกองทุน ดังนี้
  1. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ท่ามะปราง
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองแก่งคอย
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ท่าคล้อ
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ชะอม
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ โซนภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ 14 ธันวาคม 2560
14
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ โซนภาคเหนือ จ.เชียงใหม่

  • แลกเปลี่ยนเรียนเรื่อง เรื่อง สถานการณ์ระบบสุขภาพของชุมชน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

  • ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย

  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รอง ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ (ต่อ)
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.แพร่ จำนวน 5 กองทุน ดังนี้
  1. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.พระหลวง
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.สบสาย
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.สูงเม่น
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลสูงเม่น
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เวียงทอง
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บ้านกวาง
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.น้ำชำ
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.ลำพูน จำนวน 4 กองทุน ดังนี้
  1. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลศรีบัวบาน
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองลำพูน
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลต้นธง
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลเหมืองง่า
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.พิษณุโลก จำนวน 8 กองทุน ดังนี้
  1. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.พรหมพิราม
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หอกลอง
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ดงประคำ
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ตลุกเทียม
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.วังวน
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองแขม
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.วงฆ้อง
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ศรีภิรมย์
  • เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.สุโขทัย จำนวน 9 กองทุน ดังนี้
  1. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โตนด
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.นาเชิงคีรี
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บ้านน้ำพุ
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ศรีคีรีมาศ
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองกระดิ่ง
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.สามพวง
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลบ้านโตนด
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลทุ่งหลวง
  9. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ทุ่งยางเมือง
จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ เขตภาคใต้ จ.ปัตตานี 12 ธันวาคม 2560
12
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเชิงเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ

  • แลกเปลี่ยนเรียนเรื่อง เรื่อง สถานการณ์ระบบสุขภาพของชุมชน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ
  • ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ (ต่อ) โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.ปัตตานี จำนวนกองทุน ดังนี้

  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอน
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลุโบะยิไร
  3. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลปะนาเระ
  4. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะจัน
  5. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะกำ
  6. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตันหยงลุโละ
  7. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางเขา
  8. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากล่อ
  9. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะมิยอ
  10. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลยะหริ่ง
  11. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งพลา
  12. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กะรุบี
  13. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ควนโนรี
  14. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาประดู่
  15. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปิตูมุดี
  16. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านน้ำบ่อ
  17. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลหนองจิก
  18. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดอนรัก
  19. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยาบี
  20. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บางตาวา
  21. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ดาโต๊ะ
  22. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่ากำชำ
  23. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลิปะสะโง
  24. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะเปาะ
  25. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลบ่อทอง
  26. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย
  27. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตุยง
  28. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ราตาปันยัง
  29. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลตอหลัง
  30. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.พิเทน
  31. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วัด
  32. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตันหยง
  33. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คลองมานิง
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ เขตภาคใต้ จ.สตูล 8 ธันวาคม 2560
8
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ เขตภาคใต้ จ.สตูล ณ อบต. ละงู อ.ละงู จ.สตูล

  • แลกเปลี่ยนเรียนเรื่อง เรื่อง สถานการณ์ระบบสุขภาพของชุมชน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ
  • ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ (ต่อ) โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.สตูล จำนวน 15 กองทุน ดังนี้

  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ย่านซื่อ
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกตรี
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลกำแพง
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แหลมสน
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปาล์มพัฒนา
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด
  9. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สาคร
  10. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นิคมพัฒนา
  11. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อุใดเจริญ
  12. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แป-ระ
  13. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เกาะสาหร่าย
  14. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ
  15. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กำแพง
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ เขตภาคใต้ จ.ยะลา 7 ธันวาคม 2560
7
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเชิงเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมพัฒนาข้อเสนอโครงการ จ.ยะลา ณ ห้องพิมพ์มาดา โรงแรมปาร์ควิว จ. ยะลา

  • แลกเปลี่ยนเรียนเรื่อง เรื่อง สถานการณ์ระบบสุขภาพของชุมชน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ
  • ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ (ต่อ) โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จ.ยะลา จำนวน 24 กองทุน ดังนี้

  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลลำใหม่
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กาลอ
  3. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลยุโป
  4. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบันนังสตา
  5. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กรงปินัง
  6. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.คีรีเขต
  7. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาละ
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโรง
  9. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บาเจาะ
  10. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เปาะเส้ง
  11. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ยะต๊ะ
  12. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บันนังสาเรง
  13. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง
  14. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เนินงาม
  15. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ถ้ำทะลุ
  16. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองสะเตงนอก
  17. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.อาซ่อง
  18. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แม่หวาด
  19. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตาชี
  20. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำพะยา
  21. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.วังพญา
  22. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ลำใหม่
  23. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลธารน้ำทิพย์
  24. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลบาลอ
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ จ.ขอนแก่น 5 ธันวาคม 2560
5
ธันวาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ เขตภาคอีสาน ณ โรงแรมอวานี อ.เมือง จ.ขอนแก่น

  • แลกเปลี่ยนเรียนเรื่อง เรื่อง สถานการณ์ระบบสุขภาพของชุมชน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

  • ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย

  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย โดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รอง ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ (ต่อ)
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • คณะทำงาน เจ้าหน้าที่กองทุนตำบลมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติในการวางแผนกองทุน และพัฒนาโครงการกิจกรรมทางกาย

  • กองทุนตำบลมีแผนงานกิจกรรมทางกาย ในจังหวัด ดังนี้ กาฬสินธุ์ ขอนแก่นชัยภูมิ นครราชสีมา อุดรธานี หนองคาย

  • จ.กาฬสินธุ์ เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จำนวน 9 กองทุน ดังนี้

  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.เนินยาง
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลโพน
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลนาทัน
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งคลอง
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ดินจี่
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองกาฬสินธุ์
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.นาบอน
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลห้วยโพธิ์
  9. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบล อบต.โพน
  • จ.ขอนแก่น เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จำนวน 10 กองทุน ดังนี้
  1. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลแก่นฝาง
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลคำม่วง
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลพระยืนมิ่งมงคล
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ขามป้อม
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลพระยืน
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลป่ามะนาว
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลป่ามะนาว
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองแวง
  9. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลบ้านฝาง
  10. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลโคกงาม
  • จ.ชัยภูมิเกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จำนวน 7 กองทุน ดังนี้
  1. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลคอนสวรรค์
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โคกมั่งงอย
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ช่องสามหมอ
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ห้วยไร่
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บ้านโสก
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โนนสะอาด
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.คอนสวรรค์
  • จ.นครราชสีมา เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จำนวน 11 กองทุน ดังนี้
  1. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บัวใหญ่
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลเมืองบัวใหญ่
  3. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ห้วยยาง
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ขุนทอง
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลหนองบัวสะอาด
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.กุดจอก
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โนนทองหลาง
  8. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ด่านช้าง
  9. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองแจ้งใหญ่
  10. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ดอนตะหนิน
  11. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เสมาใหญ่
  • จ.หนองคาย เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จำนวน 2 กองทุน ดังนี้
  1. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.โพนสว่าง
  2. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลหนองสองห้อง
  • จ. อุดรธานี เกิดแผนกิจกรรมทางกายในกองทุน จำนวนกองทุน ดังนี้
  1. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หายโศก
  2. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.ข้าวสาร
  3. แผนงานกิจกรรมทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.หนองแวง
  4. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลเทศบาลตำบลกลางใหญ่
  5. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.จำปาโมง
  6. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.เมืองพาน
  7. แผนงานการเคลื่อนไหวทางกาย ปี 2561 กองทุนสุขภาพตำบลอบต.บ้านค้อ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 110 คน จากที่ตั้งไว้ 110 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานภาคอีสาน เจ้าหน้าที่กองทุนตำบลฯ  สจรส.มอ. นักวิชาการ

การประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ (เขตภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสาน)17 พฤศจิกายน 2560
17
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ (เขตภาคเหนือและอีสาน) 17 พฤศจิกายน 2560 ณ โรงแรม Vic3 Bangkok สนามเป้า กรุงเทพมหานคร

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการพัฒนาข้อเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
- ความสำคัญของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
1.เป็นกลไกที่ช่วยทำให้เกิดการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการให้มีระบบสุขภาพชุมชนที่ดีทั้งทางกาย ทางจิต ทางสังคม และทางปัญญา 2.เน้นการสร้างเสริมสุขภาพ (เน้นสร้างสุขภาพแทนซ่อมสุขภาพ) ซึ่งเป็นฐานของการทำให้ปัญหาสุขภาพลดลง 3.เน้นการจัดการปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ(ปัจจัยกำหนดสุขภาพ ได้แก่ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับคน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสังคมและสภาพแวดล้อม รวมถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบ กลไกต่างๆในชุมชน)

ตัวชี้วัดการดำเนินงานของกองทุนฯที่เข้มแข็ง 1.มีแผนการจัดการระบบสุขภาพและปัญหาสุขภาพที่สำคัญของชุมชน 2.มีโครงการที่มีคุณภาพดี และการดำเนินโครงการสามารถลดปัญหาสุขภาพได้ชัดเจน 3.มีระบบติดตามประเมินผล สปสช. สสส. และ สจรส.มอ. จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อหนุนเสริมความเข้มแข็งของกองทุนฯ

การบ้านให้กับคณะทำงานพี่เลี้ยงเพื่อนำมาประชุมครั้งต่อไป ได้แก่
1.แจ้งรายชื่อ
- ผู้ประสานงานภาค/เขต - รายชื่อพี่เลี้ยงที่จะดูแลกองทุน (ในความรับผิดชอบ) - รายชื่อกองทุน : รายชื่อผู้ประสานงานกองทุน
- ส่วนผู้รับผิดชอบโครงการให้แจ้งภายหลัง

2.เตรียม/กำหนดวางแผนการทำงาน (20 กองทุนใน 2 จังหวัดต่อเขต) - เลือกกองทุน - เตรียมทีมพี่เลี้ยง : หลักคิด แนวทางการทำงาน พัฒนาโครงการ
- ประชุมร่วมกับกองทุน
- การทำ workshop ทำแผนและพัฒนาโครงการ

3.ผลผลิต
- แต่ละกองทุนมีแผน
- แต่ละแผนของแต่ละกองทุนมีโครงการย่อยอย่างน้อย 1 โครงการต่อแผน

  • วางแผนกำหนด Work shop
  1. ภาคอีสาน จ.ขอนแก่น วันที่ 5-6 ธันวาคม 2560
  2. ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ วันที่ 14-15 ธันวาคม 2560
  3. ภาคกลาง จ.อยุธยา วันที่ 16-17 ธันวาคม 2560
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ (โซนจังหวัดสุราษฎร์ธานี)14 พฤศจิกายน 2560
14
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเชิงเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ ณ ห้องประชุมเงาะโรงเรียน ตึกอุบัติเหตุชั้น 2 โรงพยาบาลบ้านนาสาร อ.บ้านนาสาร จ.สุราษฎร์ธานี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แลกเปลี่ยนเรียนเรื่อง เรื่อง สถานการณ์ระบบสุขภาพของชุมชน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ
  • ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ (ต่อ) โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาข้อเสนอโครงการ (โซนจังหวัดชุมพร)13 พฤศจิกายน 2560
13
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเชิงเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการ
ณ โรงพยาบาลสวี ห้องประชุมอาคารส่งเสริมสุขภาพ ชั้น 2

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • แลกเปลี่ยนเรียนเรื่อง เรื่อง สถานการณ์ระบบสุขภาพของชุมชน แนวทางการจัดทำแผนงาน/โครงการ และการพัฒนาข้อเสนอโครงการ
  • ความสำคัญของการการจัดการกิจกรรมทางกาย
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย
  • ฝึกปฏิบัติการลงข้อมูลจัดทำแผนสุขภาพชุมชนและโครงการฯ (ต่อ) โดย ผศ.ดร.พงค์เทพสุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์
เวทีเตรียมความพร้อมกลุ่มเครือข่าย สำหรับการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๖๐1 พฤศจิกายน 2560
1
พฤศจิกายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๙.๐๐ เวลา ๑๖.๐๐ – ๑๖.๑๐ น. - กล่าวต้อนรับ และชี้แจงวัตถุประสงค์ของการประชุม โดย นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร ประธานอนุกรรมการวิชาการ เวลา ๑๖.๑๐ – ๑๖.๓๐ น. - แนะนำกระบวนการและทำความเข้าใจสำหรับเวทีเตรียมความพร้อมกลุ่มเครือข่ายฯ โดย ฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการวิชาการ เวลา ๑๖.๓๐ – ๑๘.๓๐ น. - เตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละประเด็น(ช่วงเช้า) โดย คณะอนุกรรมการวิชาการ คณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น - เตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมกลุ่มย่อยในแต่ละกลุ่มเครือข่าย (ช่วงบ่าย)
โดย คณะอนุกรรมการพัฒนาการสร้างเสริมศักยภาพและจัดกลุ่มเครือข่าย เวลา ๑๘.๓๐ – ๑๙.๐๐ น. - สรุปและปิดการประชุม

วันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ เวลา ๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น. ลงทะเบียน / รับเอกสาร เวลา ๐๙.๐๐–๐๙.๐๕ น. กล่าวทักทายต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม โดย นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ประธาน คจ.สช. เวลา ๐๙.๐๕ – ๐๙.๑๕ น. กระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติและการขับเคลื่อน   โดย นพ.พลเดช ปิ่นประทีป เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เวลา ๐๙.๑๕ – ๐๙.๓๐ น. ชี้แจงวัตถุประสงค์ และกระบวนการประชุม
โดย นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร ประธานอนุกรรมการวิชาการ เวลา ๐๙.๓๐ – ๐๙.๔๐ น. พักรับประทานอาหารว่าง เวลา ๐๙.๔๐– ๑๒.๐๐ น. แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนและสร้างความเข้าใจต่อระเบียบวาระสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้ ห้องประชุมวายุภักษ์ ๕ - การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น ห้องประชุมวายุภักษ์ ๖ - ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ห้องประชุมวายุภักษ์ ๗ - การพัฒนาพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและวัยประถมศึกษา ห้องประชุม...................... - การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน โดย คณะอนุกรรมการวิชาการ และคณะทำงานวิชาการเฉพาะประเด็น เวลา ๑๒.๐๐–๑๓.๐๐ น. พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา ๑๓.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อแลกเปลี่ยนเพื่อหาท่าทีของกลุ่มเครือข่าย และเตรียมแผนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อร่างเอกสารประกอบระเบียบวาระการประชุมสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ ๑๐ พ.ศ. ๒๕๖๐ ดังนี้ ห้องประชุมวายุภักษ์ ๕ - กลุ่มเครือข่ายภาคประชาสังคม ชุมชนและเอกชน (MS) ห้องประชุมวายุภักษ์ ๖ - กลุ่มเครือข่ายภาควิชาการ วิชาชีพ (MK) และ - กลุ่มเครือข่ายเฉพาะประเด็น (MI) ห้องประชุมวายุภักษ์ ๗ - กลุ่มเครือข่ายภาคราชการ การเมือง (MP) โดย คณะอนุกรรมการพัฒนาการสร้างเสริมศักยภาพและจัดกลุ่มเครือข่าย ห้องประชุม...................... การเตรียมแผนการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นต่อเอกสารร่างระเบียบวาระการประชุมฯ (ร่างที่ ๒)และการแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ ของกลุ่มเครือข่ายพื้นที่ โดย คณะอนุกรรมการพัฒนาการสร้างเสริมศักยภาพและจัดกลุ่มเครือข่าย และทีมงานขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บันทึกสาระสำคัญการประชุมเตรียมความพร้อมเวทีสมัชชา
ประเด็นการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 2 พ.ย. 2560
ณ ห้องประชุมวายุภักดิ์ 5 ศูนย์ราชการ จังหวัดนนทบุรี

เริ่มประชุมเวลา 10.30 น
อ.พงค์เทพ: แนะนำ และชี้แจงคณะทำงาน พัฒนาประเด็นกิจกรรมทางกาย
อ.เกษม นครเขตต์ : กิจกรรมทางกาย ไม่ใช่การออกกำลังกาย ๆ เป็นส่วนหกนึ่งของกิจกรรมมทางกาย วัตถุประสงค์ PA เป็น สาเหตุ 1 /4 ของสาเหตุ ของ NCDs อ้วน  การเกิดภาวะเนือยนิ่ง ควรมีกิจกรรมทางกายทุกวั น ผส.ทุกวัน ๆ

องค์ประกอบ PA 1 กิจกรรมทางกาย เกิดจากการทำงาน อาชีพในชิวิตประจำวัน 2 PA จากการเดินทาง >เดินเท้า ปั่นจักรยาน
3 PA จากการออกกำลังกาย เกิดจากกิจกรรมนันทนาการในชีวิตประจำวัน

อ.กุลทัต : แต่ละปี มีคนทั่วโลก 36 ล้านคน ตายจาก โรคเบาหวาน ความดัน หัวใจและหลอดเลือด และมะเร็ง
การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอเป็นสาเหตุการตาย สูงกว่า การสูบบุหรี่ อัตราการมีกิจกรรมทางกาของแต่ละช่วงวัย
1.Q/A เอกสารหลัก PA จากเวที Pre assembly Q : K ไชยสิทธิ์ ตัวเลขสถิติ ของคนที่ไม่มี PA ประมาณ 20 ล้าน คน ต้องใช้เวลาเท่าไหร่จึงจะบรรลุเป้าหมาย 80 %
A: อ.พงค์เทพเป้าหมาย ปี 2563 ในการบรรลุเป้าหมายการมี PA ให้ครบ 80% อ.พงค์เทพ อาจมีการเพิ่มประเด็นเป้าหมายในการร่างข้อเสนอ

Q 2 :คุณกาญจนา สถานการณ์ PA จากการนำเสนอ ลดลงในปี 2559 ในเอกสารอยู่ส่วนไหน A: อยู่ในเอกสาร หน้าที่ 1 อ.เกษม ชี้แจงที่มาได้สำรวจตามนิยาม ของการทำกิจกรรมทางกาย ตั้งแต่ปี 2555 ปี 58 มี bike for mom เพิ่มขึ้น ปี59 ลดลง

Q 3:อนุพันธ์ เพิ่มนิยามการเพิ่มกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ ตามกลุ่มเด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ผส.และแบ่งตามระดับ เพื่ออธิบายว่าแต่ละกลุ่ม A :นิยาม เป็น general ในเนื้อหามีอยู่แล้ว ถ้าจะเข้าสมัชชา ให้เสนอว่า ให้แก้ นิยาม แต่วันนี้ให้มาทำความเข้าใจเอกสาร ไม่มีการแก้อีกแล้ว

Q4: ศรันยา เอกสารบรรทัด30-34 มีกิจกรรมปานกลางถึงมาก 60 นาทีต่อวัน เป็นต่อเนื่อง หรือเอาเวลารวม อาจวงเล็บไม่ต้องต่อเนื่อง A :ไม่ต่อเนื่อง ๆ คือ 10 นาที (ครั้งละ 10 นาที 6 ครั้ง หรือ 20 นาที 3 ครั้ง)

Q5 :ประดิษฐ์ ความหนัก ความเบาคำนวณจากไหน
A เกษม :เพื่อให้เกณฑ์ง่าย ๆ เอาจากการพูดคุย ได้ขณะ ทำกิจกรรม PA

Q6 :สปสช กิจกรรมทางกายที่ ใช้อัตราการเต้นของหัวใจ ควรใช้ remark ไว้ด้วยในแต่ละช่วงวัย ควรเพิ่ม เช่น อย่านั่งเดิน สักเท่าไหร่ ? ย่อหน้า 2-3 ควรเขียนให้เข้าใจ  เช่น เพิ่มเติมข้อเสนอแนะแต่ละวัยให้ชัด
Q7 นศ.เพศ อัตราพฤติกรรมทางกาย ในวัยรุ่นต่ำ ให้ใส่ definition ภาวะเนือยนิ่ง ให้ใส่รายละเอียดในวัยรุ่น

2.Q/A เอกสารหลัก PA รูปธรรมการดำเนินงาน PA

3.Q/A เอกสารร่างมิติPA รูปธรรมการดำเนินงาน PA Q1 :ข้อเสนอเขียนให้ กระทรวง ทบวง ต่าง ๆ ทำ แต่ ไม่ได้เขียนในเชิงกระตุ้น
Q2: อ.ธงชัย สอบถามเรื่องเอกสาร สีชมพู A :เอกสารสำหรับใช้ดำเนินงานในพื้นที่

Q2 เข้าใจในเนื้อหา slideสามารถนำไปใช้ต่อได้หรือไม่ A ให้ upload ในweb

Q3 ในร่างมติหน้า 2 ข้อ 1.2 ……เนื่องจากมีเครืองมืออื่น ๆ ด้วยเช่นธรรมนูญ CHIA เพิ่มและเครื่องมืออื่น ๆ
Q: บรรทัดที่ 22 อธิบาย ข้อ3.2 การจัดสรรและจัดการพื้นที่ครอบครอง….ของเพิ่มเติมให้ชัด

A: การให้คนที่มีพื้นที่เปิดโอกาสให้คนไปใช้เพื่อ PA มากขึ้น เช่นที่ของการรถไฟ อบต. บริษัท
Q/A road map ปกติจะไม่ใช้พิจารณาในสมัชชาชาติ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 1,000 คน จากที่ตั้งไว้ 1,000 คน
ประกอบด้วย

เครือข่ายสมัชชาจังหวัด นักวิชาการ ภาคีเครือข่ายกิจกรรมทางกาย

ประชุมหารือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) 16 ตุลาคม 2560
16
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ ประชุมหารือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) วางแผนการขับเคลื่อนแผนงานกิจกรรมทางกาย (PA) โดยผ่านเครื่องมือกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ได้มีการนำร่างมติ PA ไปปรึกษาร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยกับร่างมติ และได้ประเด็นความร่วมมือดังนี้ครับ 1. เห็นว่าเรื่อง PA คนส่วนใหญ่นึกถึงเรื่องออกกำลังกาย ท้องถิ่นก็เลยทำแต่เรื่องออกกำลังกาย จึงควรทำความเข้าใจเรื่องนี้กับท้องถิ่น 2. กลไกสำคัญที่จะช่วยเคลื่อนเรื่อง PA มีสองระดับ คือระดับองค์กรท้องถิ่น (เช่นการทำแผนสุขภาพของท้องถิ่น) และกลไกระดับกองทุนสุขภาพตำบลซึ่งที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าควรเริ่มที่ระดับกองทุนก่อน 3. ท้องถิ่นแต่ละจังหวัดมีทีมพี่เลี้ยง 4-5 คน ซึ่งสามารถเป็น ครู ก.กับท้องถิ่นอื่นๆในจังหวัด ส่วน สปสช. มี coaching team ทุกจังหวัดเช่นกัน จึงควรมีการพัฒนาศักยภาพทีมทั้งสองส่วนในเรื่อง แนวทางเพิ่ม PA การทำแผน และการทำโครงการเพิ่ม PA 3. ทีมพี่เลี้ยงจะไปช่วยพัฒนาศักยภาพกองทุนให้มีแผนและโครงการเพิ่มPA 4.นอกจากเรื่อง PA จะทำเรื่องอาหารและปัจจัยเสี่ยงควบคู่กัน 5.สปสช. และกรมส่งเสริมจะไปทบทวนแผนงานและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการขับเคลื่อน ส่วน สสส. ไปช่วยวางระบบทำแผนและพัฒนาตัวแบบโครงการ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)

การประชุมการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตร เครื่องมือ ตัวอย่างโครงการ และกระบวนการเรียนรู้ โครงการกิจกรรมทางกาย13 ตุลาคม 2560
13
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมปฏิบัติการพัฒนาเนื้อหาหลักสูตร เครื่องมือ ตัวอย่างโครงการ และกระบวนการเรียนรู้ โครงการกิจกรรมทางกาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การพัฒนาเนื้อหาหลักสูตร เครื่องมือ ตัวอย่างโครงการ และกระบวนการฝึกอบรม

โครงการที่ดี 1. จัดการทำให้ คน เก่งขึ้น 2. ชุมชนเข้มแข็งขึ้น 3. สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแก้ปัญหามากขึ้น 4. เกิดกลไก ระบบ กระบวนการที่จะเกาะติด 5. เกิดนโยบายสาธารณะ เช่น แผนท้องถิ่น

ตัวอย่าง โครงการจัดการภาวะโรคเรื้อรังในชุมชน 1. ความเป็นมา : สถานการณ์ :ชุมชนมีกลุ่มเสี่ยง .................... คน คิดเป็น .................... % ของคนในชุมชน ชุมชนมีผู้ป่วย ....................คน คิดเป็น .................... % ของคนในชุมชน เด็ก/เยาวชนในโรงเรียนที่อ้วน ....................คน คิดเป็น .................... % ของนักเรียน สาเหตุสำคัญ 1) พฤติกรรมการบริโภค (อธิบาย....................) 2) พฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกาย (อธิบาย....................) แนวทางสำคัญ1) เพิ่มการบริโภคผัก – ผลไม้ 2) เพิ่มการมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน/การทำงาน/การออกกำลังกาย

  1. วัตถุประสงค์เป้าหมายตัวชี้วัด วัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด 1) สร้างแกนนำเพื่อ 1) แกนนำโรงเรียน ......... คน 1) เกิดกลุ่มแกนนำในโรงเรียน
    การจัดการภาวะโรคเรื้อรัง 2) แกนนำหน่วยงาน ......... คน 2) เกิดกลุ่มแกนนำในหน่วยงาน 3) แกนนำชุมชน ......... คน 3) เกิดกลุ่มแกนนำในชุมชน 4) แกนนำผู้สูงอายุ ......... คน 4) เกิดกลุ่มแกนนำผู้สูงอายุ

    2) การปรับเปลี่ยน 1) กลุ่มเสี่ยง ......... คน 1) การบริโภคผัก - ผลไม้ 400 g ต่อวัน พฤติกรรมบริโภค 2) กลุ่มผู้ป่วย ......... คน 2) โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก มีการใช้เมนู 3) กลุ่มผู้สูงอายุ ......... คน อาหารเช้า - อาหารกลางวัน 4) กลุ่มเด็กนักเรียน ......... คน 3) มีตำรับอาหาร – ผักสุขภาพ ในชุมชน ขยายผลไปสู่หน่วยงาน

    3) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 1) กลุ่มเสี่ยง ......... คน 1) โรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็ก มีชมรม การมีกิจกรรมทางกาย 2) กลุ่มผู้ป่วย ......... คน หลักสูตรกิจกรรมทางกาย 3) กลุ่มผู้สูงอายุ ......... คน 2) หน่วยงาน มีแผน โครงการ
    4) กลุ่มเด็กนักเรียน ......... คน เพิ่มกิจกรรมทางกาย 3) ชุมชนท้องถิ่น มีแผน โครงการ
    เพิ่มกิจกรรมทางกาย 4) ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกาย ควบคู่กับการบริโภค

  2. วิธีการ :จำแนกตามกลุ่มเป้าหมาย 3.1) เด็ก/เยาวชน/โรงเรียน

    • สร้างแกนนำครู – โรงเรียนให้เข้าใจเรื่องการบริโภค – การมีกิจกรรมทางกาย
    • การนำโปรแกรม ตำรับอาหารสุขภาพทั้งอาหารเช้า – อาหารกลางวันมาใช้ในโรงเรียน
    • การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมเสริมหลักสูตรเช่นเกษตรในโรงเรียนการเรียนนอกห้องเรียน การละเล่นไทย/กีฬาไทยเพื่อเพิ่มกิจกรรมทางกายในศูนย์เด็กเล็ก/โรงเรียน

    3.2) วัยทำงาน/หน่วยงาน

    • การสร้างแกนนำคนทำงานโดยมีแกนนำจากหน่วยงานต่าง ๆ
    • การจัดอาหารในงานประชุมที่เอื้อต่อสุขภาพเพิ่ม ผัก–ผลไม้เปลี่ยนอาหารว่างเป็นผลไม้/น้ำสมุนไพร
    • การรณรงค์ให้มีการเพิ่มการเคลื่อนไหวทางกายในระหว่างการทำงาน/การประกวดหน่วยงานต้นแบบ

    3.3) ผู้สูงอายุ/ชุมชน -การสร้างแกนนำในชุมชน – อาสาสมัคร – อสม.

    • มีการส่งเสริมการปลูกพืชผัก ผลไม้ รั้วกินได้ / สวนผักคนเมือง
    • รณรงค์การเพิ่มการกินผัก – ผลไม้ประกวดตำรับอาหารสุขภาพ – อาหารจากผักน้ำสมุนไพร
    • รณรงค์ให้มีกิจกรรมทางกายในการทำงานในชีวิตประจำวัน / การเดินในการสัญจรมีกิจกรรมเดิน วิ่งจักรยาน / การออกกำลังกายในรูปแบบต่าง ๆ 3.4) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้3ครั้ง/ปี 3.5) การผลิตสื่อ/คู่มือเพื่อการรณรงค์จูงใจให้กับคนในชุมชนการใช้สื่อวิทยุท้องถิ่น
  • ได้ร่างคู่มือ ดังไฟล์แนบ
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

ภาคีเครือข่ายกิจกรรมทางกาย นักวิชาการ

การประชุมเชิงปฏิบัติการวางแผนการทำงาน (Road Map) กลุ่มงานพื้นที่สุขภาวะ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 5 ตุลาคม 2560
5
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการแผนการทำงาน (Road Map) กลุ่มงานพื้นที่สุขภาวะ แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
9.30 - 9.45 น. นำเสนอยุทธศาสตร์ และเป้าหมาย 3 ปี และ 10 ปี ของแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย โดย ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผอ.สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ (สำนัก 5) 9.45 -10.00 น. แนะนำกระบวนการ โดย ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ
10.00- 12.00 น. เครือข่ายพื้นที่สุขภาวะ นำเสนอ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา เป้าหมายสำคัญ ก้าวต่อไป และทิศทางการทำงานร่วมเป้า 10 ปี สสส. (เครือข่ายละ 10 นาที)

12.00-13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.00 น. ร่วมวางแผนการทำงาน (Road Map) กลุ่มงานพื้นที่สุขภาวะ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เป้าตามประเด็นยุทธศาสตร์
การจัดการความรู้ นวัตกรรม และสื่อ
1) การสร้างหลักสูตรพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อวิถีชีวิตประจำวัน ในระดับ setting บ้าน โรงเรียน ชุมชน และองค์กร ซึ่งหลักสูตรมาจากการมีส่วนร่วมในการออกแบบของชุมชน ภาครัฐ และเอกชน
2) การพัฒนารูปแบบ ความรู้ นวัตกรรมของพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เช่น การพัฒนาสนามเด็กเล่นที่สามารถกระตุ้นส่งเสริมพัฒนาการด้านสมอง เป็นต้น
3) การพัฒนานวัตกรรมใหม่ที่สร้างแรงจูงใจ และกระตุ้นการมีกิจกรรมทางกาย เช่น แอปพลิเคชั่นกิจกรรมทางกาย การเพ้นสีเส้นทางเท้าสัญจรดึงดูดการเดินทางบนเส้นทางเท้า การทำสนามฟุตบอลรูปตัว L เป็นต้น
4) การบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมกิจกรรม เช่น สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะ วิทยาศาสตร์สุขภาพ จิตวิทยา เทคโนโลยี ดิจิตอล เป็นต้น โดยการนำองค์ความรู้ของศาสตร์นั้นๆ มากำหนดรูปแบบการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
5) การถอดบทเรียนพื้นที่สุขภาวะ โดยรวบรวมองค์ความรู้ ฐานข้อมูล ย่านเมืองเก่า วัฒนธรรมและประเพณี
6) การสื่อสารกิจกรรมทางกายพื้นที่สุขภาวะที่เข้าถึงทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม

การพัฒนาความสามารถของเครือข่าย
1) การส่งเสริมการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของเครือข่าย 2) การสร้างพลังเครือข่ายได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และบูรณาการขับเคลื่อนงานพื้นที่สุขภาวะร่วมกัน

การสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ
1) การสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบด้านการส่งเสริมกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับบริบทวัฒนธรรมวิถีชีวิตชุมชน
2) การขยายพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ สู่พื้นที่ใหม่ โดยครอบคลุมทั่วประเทศ
3) การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีพื้นที่ให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมการท่องเที่ยวที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย 4) การบูรณาการพื้นที่สุขภาวะที่เชื่อมต่อกิจกรรมทางกายกับอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น พัฒนาย่านถนนคนเดินกับแผงขายอาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

การผลักดันนโยบาย
1) การสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐ เอกชน ในการเปิดพื้นที่ใช้ประโยชน์ให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
2) การผลักดันมาตรการให้มีพื้นที่สุขภาวะและการมีกิจกรรมทางกาย ในสถานประกอบการ และโรงงานอุตสาหกรรม
4) การสร้างความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการในการออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้การสอนที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายในสถาบันการศึกษา
5) การส่งเสริมนโยบายของการเคหะแห่งชาติทั่วประเทศ ให้มีระบบการจัดการพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย

องค์กรกีฬาเป็นกลไกในการขับเคลื่อน PA และเป็นองค์กรที่มีนโยบายปลอดเหล้าบุหรี่
1) ส่งเสริมพื้นที่สุขภาวะในองค์กรกีฬาขับเคลื่อนกิจกรรมทางกายและเป็นองค์กรที่มีนโยบายปลอดเหล้าบุหรี่

เป้าประสงค์ 1 ปี – 3 ปี
1) พื้นที่สุขภาวะต้นแบบ 4 setting (บ้าน, โรงเรียน, องค์กร, ชุมชน) เพิ่มขึ้นอย่างน้อย xxx พื้นที่
2) เครือข่ายพื้นที่สุขภาวะขับเคลื่อนประเด็นร่วมกันเพิ่มขึ้นจำนวน xxx เครือข่าย
3) พื้นที่สุขภาวะที่มีกิจกรรมทางกายสอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรมเพิ่มขึ้นจำนวน xxx เรื่อง
4) การขยายนโยบายที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สุขภาวะจำนวน xxx นโยบาย

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

สสส. ภาคีเครือข่ายกิจกรรมทางกาย

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ระหว่างประธาน–เลขานุการคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็น และคณะอนุกรรมการวิชาการ เพื่อพิจารณา ร่าง เอกสารประกอบการการประชุมฯ2 ตุลาคม 2560
2
ตุลาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ ๒ ระหว่างประธาน–เลขานุการคณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็น และคณะอนุกรรมการวิชาการ เพื่อพิจารณา ร่าง เอกสารประกอบการการประชุมฯ วันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๖๐ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. ณ ห้องประชุมสานใจ ๑/๒ ชั้น ๖ อาคารสุขภาพแห่งชาติ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ และรายงานข้อมูลความคืบหน้าในการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง และลำดับประเด็นที่จะพิจารณาโดยมีเรื่อง “การพัฒนาพื้นที่เล่นสร้างเสริมสุขภาวะของเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา” อนุกรรมการวิชาการที่รับผิดชอบ ศาสตราจารย์เกียรติคุณสยมพร ศิรินาวิน นายแพทย์กิจจา เรืองไทย ผศ.ดร.อัจฉรา จินวงษ์
  • เรื่อง “การมีส่วนร่วมของชุมชนในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหายาเสพติด” โดยมี อนุกรรมการวิชาการที่รับผิดชอบ ผศ.ดร.จรวยพร ศรีศศลักษณ์
  • เรื่อง “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” โดยมี อนุกรรมการวิชาการที่รับผิดชอบ นางภารนี สวัสดิรักษ์ นางอรพรรณ ศรีสุขวัฒนา
  • เรื่อง “การจัดการขยะมูลฝอยในชุมชนแบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน” อนุกรรมการวิชาการที่รับผิดชอบ รศ.ดร.จิราพร ลิ้มปานานนท์ นางนิสิต ศักยพันธ์ ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง
  • เอกสารเรื่องกิจกรรมทางกายได้ปรับปรุงให้สมบูรณ์มากขึ้น
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานพัฒนาข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็น และคณะอนุกรรมการวิชาการ

การพิจารณาร่างข้อเสนอ (ร่าง 1 ) โดยภาคีที่เกี่ยวข้อง25 กันยายน 2560
25
กันยายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การประชุมเวทีรับฟังความเห็นเฉพาะประเด็นของผู้มีส่วนได้เสียว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น วันที่ 25 กันยายน 2560 เวลา 9.00 – 15.00 น. ณ ห้อง Topaz 12 โรงแรม ริชมอนด์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี

9.00 – 9.15 น. กล่าวเปิด และบรรยายเรื่อง กระบวนการเวทีรับฟังความเห็นเฉพาะประเด็นของผู้มีส่วนได้เสีย ว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นโดย ผศ.ดร.ทพ.วีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

9.15 – 9.45 น. บรรยายเรื่อง ความสำคัญของการเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอต่อคุณภาพชีวิตของคนไทย โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

9.45 – 10.15 น. การนำเสนอ เอกสารการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 1) เอกสารหลัก
2) เอกสารร่างมติ
โดย ผศ.ดร.ภก.พงศ์เทพ สุธีรวุฒิ ผอ.สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ม.สงขลานครินทร์

10.15 – 10.30 น. รับประทานอาหารว่าง

10.30 – 12.00 น. การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อให้ความเห็นต่อเอกสารหลักและร่างมติ   แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 15-20 คน

12.00 – 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 – 15.00 น. การนำเสนอผลการแบ่งกลุ่มย่อย
  การอภิปรายเพื่อให้ความเห็นต่อเอกสารหลักและร่างมติ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เอกสารปรับดังไฟล์แนบ

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง
เอกสารหลัก
๑. นิยามศัพท์ - เปลี่ยนคำว่า เช่น เป็น ได้แก่
- เพิ่มประเด็นเผาพลาญพลังงาน
- บรรทัดที่ 8 ตัดคำว่า รวมถึง
- เพิ่มคำว่า เอนๆ หลังคำว่า นอนๆ

๒. สถานการณ์และการดำเนินการที่เกี่ยวข้อง - แบ่งกลุ่มวัยให้ชัดเจน เพราะมีผลต่อร่างมติ - PA กระทบต่อสุขภาพอย่างไรบ้าง
- เพิ่มการอ้างอิงข้อมูล
- เพิ่มการเสนอข้อมูล PA ที่ส่งผลกระทบ
- ให้เพิ่มรายละเอียดการอธิบาย (Life Course) - ควรทำ footnote นิยาม PA เพียงพอ ว่า คือ ปานกลาง อย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์ หนัก อย่างน้อย 60 นาที/สัปดาห์ ในผู้ใหญ่ และปานกลางหรือหนัก 60 นาที/วัน ในเด็ก และนำ บรรทัดที่ 23-30 ไปไว้ใน footnote ด้วย - ควรยกตัวอย่างเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกาย เช่น การขัดดิน ยกของหนัก การเดินมาทำงาน
- ตะโพก เปลี่ยนเป็น สะโพก

๓. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกาย ปัจจัยด้านระบบและกลไก > เพิ่มเนื้อหาประสิทธิภาพขององค์กร

๔. แนวทางการดำเนินงานหลักการ การจัดการ ในการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย - ปรับชื่อ กองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ - ข้อ ๔.๕ การสร้างกลไกความร่วมมือขององค์กรฯ....เพิ่มข้อความทั้งภาครัฐ (ทุกกระทรวง/ทบวง กรม) เอกชน รัฐวิสาหกิจ เครือข่ายศาสนา และภาคประชาชน
- ควรเพิ่มเนื้อหาเรื่องประสิทธิภาพในการบริการภายในองค์กร เพื่อเอต่อกิจกรรมทางกาย พื้นที่ตัวอย่าง
- เพิ่มตัวอย่างทั้ง 4 ภาค และครอบคลุม - ตัวอย่างใส่ภาค ผนวก
- ยกตัวอย่างให้ครบ ไม่ควรเอาเรื่องกีฬามาเป็นตัวอย่าง - หาพื้นที่ตัวอย่างให้ชัดเจน

๕.การดำเนินการที่ผ่านมาและผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น - การดำเนินการที่ผ่านมาและผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น ตอนนี้ภาพรวมจะเป็น นโยบายและแผนงานที่เกี่ยวข้องกับ PA
ดังนั้นการเขียนควรเขียนให้กล่าวถึงการดำเนินการที่ผ่านมาและมีผลสัมฤทธิ์ที่เกิดขึ้น
- ข้อ 2) ระดับหน่วยงาน เพิ่ม ...กรมอุทยานสัตว์ป่า พันธุ์พืช และ ศาสนสถาน วัด

๖. ระบบและกลไกที่เอื้อต่อการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย - เพิ่มหน่วยงาน....เครือข่ายศาสนา กระทรวง ทบวง กรม

เอกสารร่างมติ
ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง
- เสนอเปลี่ยนชื่อเป็น “การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัย ทุกอาชีพ มีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มขึ้น”

มติที่ 1 : ขอให้เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดเป็นแกนหลัก ประสานการทำงานร่วมกับเครือข่ายอาสาสมัครสาธารณสุข เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพ และเครือข่ายหลักประกันสุขภาพภาคประชาชน ในการทำงานขับเคลื่อนให้เกิดการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในทุกพื้นที่และขอให้กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สนับสนุนและหนุนเสริม การดำเนินงานดังกล่าว

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง
- มติข้อที่ 1 มีสอง “ขอ” ขอ แรก ให้ดำเนินการ, ขอ ที่สอง ให้สนับสนุน โดยเสนอ ให้ตัด ขอ ที่สองไปเลย เพราะ สธ สสส สช สปสช มี actions ที่ต้องทำ ตามมติ ชัดเจนในข้ออื่นๆ อยู่แล้ว - มติข้อที่ 1 เพิ่มหน่วยงาน คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ซึ่งเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี - เพิ่มข้อความหลังสมัชชาจังหวัด....เป็น ร่วมกับ กขป.
- ตัดคำว่า “ขอ”.ในบรรทัดที่ 4 หน้า 2/2
- เพิ่ม เพิ่มเติมภาคธุรกิจ ภาคเอกชน และภาคประชาชนและเครือข่ายอื่น ๆ

มติที่ 2 ขอให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ หน่วยงาน องค์กร ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้ การสร้างนวัตกรรม การสร้างการรับรู้ความเข้าใจด้านกิจกรรมทางกาย ตลอดจนสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายเพื่อให้มีความรอบรู้ด้านกิจกรรมทางกาย ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง
- มติข้อที่ 2 ให้มี องค์กรด้านสื่อ รับผิดชอบชัดเจน แต่ต้องหาข้อมูลเพิ่มว่า สื่อ คือ ใคร เช่น TPBS แล้วประสานให้เขาทราบก่อน เพื่อพร้อมทำงาน
- มติข้อที่ 2 เพิ่ม “จนเกิดเป็นวัฒนธรรมด้านการมีกิจกรรมทางกายของประชาชน”
- เพิ่มข้อความ บรรทัดที่ 7 ขอให้กรมอนามัย กรมอื่นๆ
- เพิ่มข้อความบรรทัดที่ 9 การสร้างนวัตกรรม และการสื่อสารเพื่อเพิ่มการรับรู้
- ข้อ 2 รวมกับข้อ 6 - เพิ่มหน่วยงานสถาบันการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ(เพิ่มเป็นหน่วยงานหลัก) - และ…..ระบุเพิ่มเติมผลกระทบที่จะส่งผลต่อการลด NCDs

มติที่ 3. ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังต่อไปนี้ 3.1. วางหลักเกณฑ์ในการออกแบบการใช้พื้นที่ เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัย 3.2. จัดสรรและจัดการพื้นที่ในการครอบครองของแต่ละองค์กรให้มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง - มติข้อที่ 3 เสนอให้มี กระทรวงคมนาคม และกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา หลังกระทรวงมหาดไทย เพราะดูแลเรื่องทางสัญจร เช่น ทางจักรยาน โดยกรมทางหลวง และกรมพลศึกษา - มติข้อที่ 3 เสนอให้เพิ่ม กระทรวงกลาโหม เพราะทำ shared facilities ในข้อ 3.2 โดยทำ MOU กับกรมพลศึกษา ที่ผ่านมา

มติที่ 4 ขอให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงานพิจารณาออกระเบียบหลักเกณฑ์ที่ส่งเสริมให้สถานประกอบการ ภาคธุรกิจเอกชนจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายของคนทำงาน

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง - มติข้อที่ 4 เพิ่ม “จนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรในการมีกิจกรรมทางกาย” หลังคำว่า คนทำงาน
- มติข้อที่ 4 เพิ่ม “กิจกรรม” เพิ่มจากสภาพแวดล้อม เพื่อเน้นให้มีกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร นอกจากสภาพแวดล้อม ที่อาจเป็นโครงสร้างเพียงอย่างเดียว - เพิ่มมติที่ 4 ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ พิจารณาออกระเบียบหลักเกณฑ์ที่ส่งเสริมให้สถานศึกษา จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายของเด็กนักเรียน จนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมสถานศึกษาในการมีกิจกรรมทางกาย และเปลี่ยนข้อมติ 4 เดิม เป็น 5

มติที่ 5 ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นมีแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน โดยสอดคล้องกับแนวคิดในนโยบายเรื่องแผนเดียว (One Plan) ของกระทรวงมหาดไทย

มติที่ 6 ขอให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลร่วมกับ ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกาย (PARC) สำนักงานสถิติแห่งชาติ สร้างระบบฐานข้อมูลและการจัดการเพื่อการติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัยอย่างเป็นระบบ (Single Database) เพื่อการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ของบุคคลทั่วไป

ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง - ตัดไปรวมกับมติที่ 2

มติที่ 7 ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) และ ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกาย (PARC) เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่น ๆ ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษี หรือมาตรการทางการเงินที่เอื้อประโยชน์ให้เกิดกิจกรรมทางกายที่เพิ่มขึ้น ความคิดเห็นจากเวทีรับฟัง - บรรทัดที่ 32 เปลี่ยนคำว่า “หรือ” เป็น “และ” - บรรทัดที่ 33 เติมข้อความ หลังทางการเงิน....และองค์กรความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

มติที่ 8 ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ ๑๑

มติอื่นๆ
เพิ่มข้อ 9 กรมประชาสัมพันธ์ กับ กสทช. และสื่อ
ขอให้กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ กสทช.เป็นหน่วยหลักในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ ทุกช่องทางเพื่อการเพิ่มกิจกรรมกรรมทางกาย และลดภาวะเนือยนิ่ง

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 50 คน จากที่ตั้งไว้ 50 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานพัฒนาข้อเสนอโครงการ ภาคีเครือข่ายสมัชชาจังหวัด เครือข่ายนักวิชาการ เครือข่าย สสส.

Workshop PA เดิน-วิ่ง PA กีฬาไทยและจักรยาน15 กันยายน 2560
15
กันยายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุุมจัดทำกรอบในการพิจารณาสนับสนุนโครงการของภาคี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุป โครงการเดินวิ่ง
1. การใช้ IT เข้ามาช่วยในการจัดการข้อมูลการเดิน วิ่ง  โดยอาจจะมีระบบลงทะเบียน หรือสร้าง Application ที่สามารถตามข้อมูลพฤติกรรมกิจกรรมทางกายอื่นๆได้
2. การพัฒนาและยกระดับคุณภาพของของคนที่เดินวิ่ง ที่วิ่งได้ถูกต้องเหมาะสมกับแต่ละวัย 3. การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภคของคนที่เดินวิ่ง
4. การส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายอื่นในชีวิตประจำวันของคนที่เดินวิ่ง 5. การจูงใจ กลุ่มเสี่ยง/ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อให้มีการเดินวิ่งเพื่อสุขภาพเดินวิ่งในชีวิตประจำวัน การสัญจร 6. การจัดการความรู้-พัฒนาตัวชี้วัด ประเด็น ผลกระทบจากการมีกิจกรรมทางกายของคนเดินวิ่ง

สรุป กีฬาไทย เปลี่ยนมุมมองเป็น กีฬาไทยเพื่อสุขภาวะ ไม่ใช่เพื่อการแข่งขัน (ที่ผ่านมาเน้นเพื่อการแข่งขันความเป็นเลิศ) และใช้กีฬาไทย การละเล่นไทย เพื่อการการพัฒนาคน จิตใจคน การดำเนินการ ดังนี้ 1) การรวบรวมกีฬาไทย การละเล่นไทย ภูมิปัญญาไทย วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกาย และการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ เพื่อแสดงว่ากีฬาไทย การละเล่นไทย ส่งผลกระทบทางบวกต่อสุขภาพอย่างไร มีผลต่อการเคลื่อนไหวร่างกายอย่างไร เช่น การแสดงโขนมี PA อย่างไร เป็นต้น 2) การจัดกิจกรรมควบคู่กับการมีกิจกรรมทางกายอื่น เช่น การเดินวิ่งเพื่อสุขภาพร่วมกับกิจกรรมกีฬาไทย การใช้การรำมวยไทยในการยืดเหยียดร่างกายก่อนและหลังเดินวิ่ง 3) การจัดกิจกรรมคู่กับงานสาธารณะประโยชน์อื่นๆ 4) การสร้างและพัฒนาศักยภาพบุคลากร คณะทำงานที่ปรึกษา และการพัฒนาครูต้นแบบ 5) การส่งเสริมให้นักวิชาการ อาจารย์ เครือข่าย ผลิตหลักสูตรร่วมกัน และผลักดันหลักสูตรในกสถานบันการศึกษาทุกระดับ โดยเป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับช่วงวัยคือในกลุ่มเด็กเน้นเรื่องพัฒนาการ วัยทำงานเน้นเรื่องป้องกันโรค ผู้สูงอายุเน้นเรื่องป้องกันการเจ็บป่วย
6) ผลักดันให้กีฬาไทย การละเล่นไทย เป็นอัตลักษณ์ของประเทศไทย
7) ผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายการส่งเสริมกีฬาไทยและการละเล่นไทย เช่น กระทรวงมหาดไทย มีนโยบายการออกกำลังกายให้มาออกกำลังโดยใช้กีฬาไทยและการละเล่นไทย

สรุป จักรยาน
- เน้นประเด็นความปลอดภัยทางถนน - เพิ่มเรื่องกิจกรรมทางกายอื่นๆของคนปั่นจักรยาน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค - สร้างต้นแบบ รูปแบบ แกนนำ เรื่องกิจกรรมทางกายอื่นๆของคนปั่นจักรยาน - เน้นประเด็นการจัดการการใช้จักรยานในพื้นที่
- เน้นการสร้างความตระหนักของชุมชน
เพิ่มเรื่องกิจกรรมทางกายอื่นๆของคนปั่นจักรยาน รวมถีงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบริโภค - สร้างต้นแบบ รูปแบบ แกนนำ เรื่องกิจกรรมทางกายอื่นๆของคนปั่นจักรยาน

ประชุมคณะทำงานวิชาการ ครั้งที่ 1 สมัชชา PA (กลุ่มย่อย) พิจารณาปรับปรุงข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น (Physical Activity)5 กันยายน 2560
5
กันยายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมคณะทำงานวิชาการ ครั้งที่ 1 สมัชชา PA (กลุ่มย่อย) พิจารณาปรับปรุงข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น (Physical Activity)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมคณะทำงานวิชาการและคณะทำงาน พิจารณาปรับปรุงข้อเสนอนโยบายเฉพาะประเด็นว่าด้วย การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น (Physical Activity) ปรับร่างมติ ดังนี้
1) ขอให้สมาชิกเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด ร่วมกับภาคีเครือข่ายทุกภาคส่วนดำเนินการดังนี้ 1.1 รณรงค์ ส่งเสริม ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนเกิดการรับรู้เข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดโครงการและกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน
1.2 ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพในพื้นที่ เพื่อให้เกิดนโยบายสาธารณะระดับจังหวัด ในการ“ส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัย มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” 1.3 ผลักดันนโยบาย“การส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัย มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น” เข้าสู่การดำเนินงานของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน และคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2) ขอให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการสำนักงานสถิติแห่งชาติสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดลศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ (PARC) สถาบันวิชาการที่เกี่ยวข้อง และองค์กรด้านสื่อดำเนินการ 2.1 สนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้ สร้างนวัตกรรม การสื่อสารเพื่อการรับรู้และความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการมีกิจกรรมทางกายของประชาชน 2.2 สร้างระบบฐานข้อมูลและการจัดการข้อมูลอย่างเป็นระบบ เพื่อการติดตามการดำเนินงานการส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการลดพฤติกรรมเนือยนิ่งของคนทุกกลุ่มวัย 2.3 สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาความสามารถของคน องค์กร เครือข่ายเพื่อให้มีความรอบรู้ในการดำเนินงานพัฒนากิจกรรมทางกายให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล 3) ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงกลาโหม เป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับ องค์กรวิชาชีพสถาปนิกและผังเมือง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการดังต่อไปนี้ ๓.๑ วางหลักเกณฑ์หรือปรับปรุงระเบียบในการออกแบบการใช้พื้นที่ เส้นทางการสัญจรทั้งในเมืองและชุมชน และพื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัย ๓.๒ จัดสรรและจัดการพื้นที่ในการครอบครองของแต่ละองค์กรให้มีพื้นที่ที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชน 4) ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนให้กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่/ท้องถิ่นมีแผนงานและโครงการที่เกี่ยวข้องกับการมีกิจกรรมทางกายของคนทุกกลุ่มวัยในชุมชนโดยสอดคล้องกับแนวคิดนโยบายเรื่องแผนเดียว (One Plan)ของกระทรวงมหาดไทย 5) ขอให้กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายให้สถานศึกษา จัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกาย จนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมการมีกิจกรรมทางกายในสถานศึกษา 6) ขอให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ร่วมกับภาคธุรกิจเอกชนมีนโยบายให้สถานประกอบการจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้เกิดการมีกิจกรรมทางกายจนก่อให้เกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กร 7) ขอให้สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)และศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพเป็นหน่วยงานหลัก ร่วมกับหน่วยงานวิชาการอื่น ๆ ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้มาตรการทางภาษีและมาตรการทางการเงิน รวมถึงองค์ความรู้อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น 8) ขอให้กรมประชาสัมพันธ์ ร่วมกับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) เป็นหน่วยหลักในการสื่อสารประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ ทุกช่องทางเพื่อการเพิ่มกิจกรรมทางกาย และลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง 9) ขอให้เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ รายงานความก้าวหน้าต่อสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 12

ประชุมวางแผนคณะทำงานที่เป็นพหุภาคี4 กันยายน 2560
4
กันยายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คุยร่างมติ PA หมอรัฐพล สปสช.กับ รอง ธนา (รองอธิบดีกรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น)กับ ผอ.สุวิทย์ ผอ.กองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารท้องถิ่น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การนำร่างมติ PA ไปปรึกษาร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งสองฝ่ายเห็นด้วยกับร่างมติ และได้ประเด็นความร่วมมือ ดังนี้

  1. เห็นว่าเรื่องPA คนส่วนใหญ่นึกถึงเรื่องออกกำลังกาย ท้องถิ่นก็เลยทำแต่เรื่องออกกำลังกาย จึงควรทำความเข้าใจเรื่องนี้กับท้องถิ่น
  2. กลไกสำคัญที่จะช่วยเคลื่อนเรื่องPA มีสองระดับ คือระดับองค์กรท้องถิ่น(เช่นการทำแผนสุขภาพของท้องถิ่น) และกลไกระดับกองทุนสุขภาพตำบล ซึ่งที่ประชุมเห็นร่วมกันว่าควรเริ่มที่ระดับกองทุนก่อน
  3. ท้องถิ่นแต่ละจังหวัดมีทีมพี่เลี้ยง4-5คนซึ่งสามารถเป็นครูก.กับท้องถิ่นอื่นๆในจังหวัด ส่วน สปสช.มีcoaching team ทุกจังหวัดเช่นกัน จึงควรมีการพัฒนาศักยภาพทีมทั้งสองส่วนในเรื่อง แนวทางเพิ่มPA การทำแผน และการทำโครงการเพิ่มPA
  4. ทีมพี่เลี้ยงจะไปช่วยพัฒนาศักยภาพกองทุนให้มีแผนและโครงการเพิ่มPA
  5. นอกจากเรื่องPA จะทำเรื่องอาหารและปัจจัยเสี่ยงควบคู่กัน
  6. สปสช. และกรมส่งเสริมจะไปทบทวนแผนงานและจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการขับเคลื่อน ส่วน สสส. ไปช่วยวางระบบทำแผนและพัฒนาตัวแบบโครงการ
ประชุมวางแผนคณะทำงาน 16 สิงหาคม 2560
16
สิงหาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

-

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

WHA สมัชชาองค์กรอนามัยโลก
วาระ / เข้าพิจารณา
ตัวแทนประเทศ เข้าเป็นสมาชิกสมัชชา
สมาชิกสมัชชา ประกอบด้วย MA (77 จังหวัด), MK นักวิชาการ, MS ประชาสังคม, MI ผู้เสนอประเด็น
แต่ละกลุ่ม

คณะกรรมการจัดงาน จะมีอนุกรรมการ 4 อนุกรรมการ
1. บริหาร 2. วิชาการ
3. สื่อสาร/ประชาสัมพันธ์
4. ติดตามประเมินผล

ขั้นตอนสมัชชา
1. ประกาศรับวาระ
2. คจสช. พิจารณาระเบียบวาระ
3. ตั้งคณะทำงานวิชาการ

  • ร่างมติเพื่อเข้าสู่การพิจารณา (ร่าง 1)
  • Review
  • ประชุมกลุ่ม
  • Pre สมัชชา เพื่อทำให้ร่างมติสมบูรณ์
    1. ส่งรางมติไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความเห็นปรับเป็นร่าง 2
    2. ส่งร่าง 2 ให้เครือข่าย MK, MA, MS, MI (77 จังหวัดพิจารณา) 6.เข้าสู่สมัชชาชาติ เดือนธันวาคม
    3. มติจะถูกเขียนตามมติสมัชชา ส่งเข้า คสช. คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
    4. ส่งเข้า ครม. รับทราบและสั่งการ
    5. คณะกรรมการติดตามมติสมัชชา ซึ่งมีรัฐมนตรีสาธารณสุขเป็นประธาน

ประชุมเครือข่ายสมัชชา PA
1. กรมอนามัย / สพฐ. / พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(หมออุดม / หมอฐิติกร) 2. กรมพลศึกษา (อดีตอธิบดีกรม: กิตติพงษ์) และการท่องเที่ยวและกีฬา (อดีตรองผู้ว่าการกีฬาแห่งประเทศไทย: รองวิวัฒน์) 3. เครือข่ายสถาปนิก (คุณภรณี) / กรมโยธาธิการ /ผังเมือง / คมนาคม / กรมธนารักษ์ / กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
4. สสส. PARC และสถิติ (จักรยาน / เดินวิ่ง / ว่ายน้ำ / กีฬาไทย / พื้นที่สุขภาวะ)
5. ท้องถิ่น (อธิบดี) / กฟภ. / สปสช.(ศักดิ์ชัย กับรัฐพล) / สภาพัฒน์/ ประกันสังคม (สปส.) / ประกันภัย / กระทรวงพาณิชย์
6. สื่อ / ไทยพีบีเอส / กรมประชาสัมพันธ์ / เครือข่ายสื่อ
7. ภาคเอกชน หอการค้า อุตสาหกรรม ผู้ประกอบการกีฬา

Work Shop เดินวิ่งจักรยาน (ณ ปทุมวัน )14 สิงหาคม 2560
14
สิงหาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมจัดทำกรอบการสนับสนุนโครงการเดินวิ่งจักรยาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 1. แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันตามกลุ่มวัย วิ่ง ว่ายน้ำ active play จักรยาน กีฬาไทย 2.แผนส่งเสริมพื้นที่ เช่น ลานกีฬาพัฒนา พื้นที่ภาษีเจริญ ที่พวกเราที่พยายามเอากิจกรรมไปลงเป็นพื้นที่ต้นแบบ ของ กทม. โดย ได้มีบรรจุเข้าไปในแผนของเขต 3.แผนงานอุปถัมภ์การกีฬา

  1. โครงการวิ่งสู่ชีวิตใหม่
    สถานการณ์โครงการดำเนินมา 10 กว่าปีที่ผ่านมา งานหนึ่งที่ทางทีมดำเนินการ คือ การส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายในรูปแบบต่างๆ การเดินวิ่ง เริ่มปี 2546 สนับสนุนไปแล้ว 151 โครงการหลัก รวมโครงการย่อยอีก รวมเป็นประมาณ 200 ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเดิน วิ่ง รองลงมา มีจักรยาน ว่ายน้ำ กีฬาไทย และ ไทเก็ก โยคะ
    วิธีการทำงานผ่านชมรมเดินวิ่งแห่งประเทศไทย โครงการร้อยละ 90 ส่งเสริมเรื่องการเดินการวิ่งเป็นส่วนใหญ่  9 ภูมิภาค ทั่วประเทศ สถิติการวิ่ง จำนวน 12 ล้านคน ของคนไทยออกกำลังกายโดยการวิ่ง เพิ่มจากปี 2557 และมีผู้หญิงมากกว่า

  2. โครงการว่ายน้ำ
    สถานการณ์สถิติการจมน้ำเสียชีวิตของเด็กยังมีจำนวนมาก เราจึงจัดร่วมมือกับสถาบันการพลศึกษา และได้โมลเดลต้นแบบ  ทำให้เด็กไทยประสบอุบัติเหตุทางน้ำลดลง แต่จำนวนตัวเลขไม่ได้ลดลง เพราะประชาการเด็กในแต่ละปีก็มีจำนวยเพิ่มขึ้น “ซึ่งสถิติ เด็กจมน้ำตายชั่วโมงละ 1 คน”
    วัตถุประสงค์ของโครงการ คือ ลดการเสียชีวิตในการจมน้ำ ว่ายน้ำเพื่อการบำบัด  เพิ่ม PA – ออกกำลังกาย กลุ่มเป้าหมาย 1. เยาวชน ผู้ไปกระทำก็คือ ครูประจำการ ครูแม่ไก่ ต้องเป็นวงการศึกษา

  3. ประชาชน ส่วนในชุมชนก็ต้องเป็นผู้นำกิจกรรมในชุมชนทั้งหลาย อบต. อปท. อบจ. เทศบาล ไปจัดกิจกรรมในชุมชน วิธีการ ได้แก่ เรียนเพื่อเป็นกิจกรรมทางกายของตนเอง เรียนเพื่อลดการสูญเสีย คือสามารถช่วยตัวเองได้ก่อนในการจมน้ำเรียน เพื่อให้รู้หลักการ หลักสูตรวิชาการที่ผลิตบุคลกรด้านนี้ / เรียนว่ายน้ำแล้วตะโกน โยน ยื่น ต่อได้ / Live saving อยากให้เด็กรู้จักพื้นฐานในการช่วยเหลือชีวิต คนอื่น การมองบริบทการว่ายน้ำเป็น 2 บริบท ชนบท เกิดมาแล้วเล่นน้ำ คลอง เมือง อยู่ในสระว่ายน้ำ ดังนั้นต้องดูวิธีการซึ่งมันจะแตกต่างกัน สังคมชนบท เราต้องไปเสริม เพราะอยู่กับธรรมชาติ จุดอ่อน : สมาคมว่ายน้ำ (มุ่งสู่กีฬาเป็นเลิศมากกว่า) / หลักสูตรของสถาบันการพละศึกษา ปัจจุบันจะรวบรัดทักษะและการสอน และจะเป็นหลักสูตรที่ advance ซึ่งไม่เหมาะ การร่วมงาน คือ สมาคมครูสอนว่าน้ำ , สมาคม life saving การออกแบบหลักสูตรว่ายน้ำได้ หลักสูตรที่ 1 การว่ายน้ำเพื่อเป็นกิจกรรมในการออกกำลังกายของตัวเอง หลักสูตรที่ 2 หรือจะสอนให้คนช่วยชีวิตคนอื่น / การทำหลักสูตรกับแหล่งน้ำธรรมชาติ เน้นการช่วยตัวเอง พาตัวเองเคลื่อนที่ไปข้างหน้า คือ อาศัยทักษะพื้นฐานคล้ายๆกัน แต่ทำอย่างไรเราถึงจะ save เรื่องความไม่สะอาดของแหล่งน้ำ / การผลิตสื่อในการให้ความช่วยเหลือ  / การอบรมครูกิจกรรมทางกาย  / หลักสูตรการว่ายน้ำในธรรมชาติ / นวัตกรรมแห่งน้ำในการขุดดิน การปล่อยน้ำชลประทาน / หลักสูตรผลิตครูพลศึกษา ประเทศไทยเป็นเมืองแม่น้ำ เด็กส่วนใหญ่กลับว่าน้ำไม่เป็น ทำให้มีอุบัติเหตุทางน้ำสูง จึงจำเป็นต้องการมีการบริหารจัดการ ตัวอย่างการทำวิจัยเรื่องการเรียนรู้การว่ายน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่ จ.เชียงราย เป็นตัวอย่างที่ดี


    PA ว่ายน้ำ
    วัตถุประสงค์  1. เพิ่ม PA  2. เพิ่มการรอดชีวิตจากอบุติเหตุจมน้ำ 3.ว่ายน้ำเพื่อการบำบัด
    เป้าหมาย ? ยุทธศาสตร์หลัก? ยุทธศาสตร์เชิงประเด็น
    การจัดการความรู้ /นวัตกรรม /สื่อ:  หลักสูตรในเมือง /ในชนบท / การช่วยเหลือ / ปฐมพยาบาล
    การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย : สถาบันการพลศึกษา / เครือข่ายอาสาสมัคร
    การมีพื้นที่ต้นแบบ: โรงเรียน
    การขับเคลื่อนนโยบาย : ท้องถิ่น
    องค์กรกีฬา: ว่ายน้ำขับเคลื่อน PA


  4. มวยไทย กีฬาภูมิปัญญาไทย
    มวยไทยที่เป็นภูมิปัญญาไม่ค่อยได้รับความนิยมจากสื่อ รวมทั้งการละเล่น การใช้อุปกรณ์ที่หาได้ง่าย เช่น ผ้าขาวม้ากับอุปกรณ์ เพื่อที่จะทำให้คนไทยหันมาเพิ่มกิจกรรมทางกายได้มากขึ้น หัวใจสำคัญ คือองค์ความรู้ และนำความรู้มาทำต่อ เช่น e book
    สิ่งที่ขาดไป คือ ภูมิปัญญาไทยป้องกันตัว ช่วยเหลือคน คีตะมวยไทย แอร์โรบิคมวยไทย

PA กีฬาภูมิปัญญาไทย
ภูมิปัญญา – การออกกำลังกาย , มวยไทย
กีฬาไทย –  หมากเก็บ , ไกวเชือก, วิ่งกระสอบ, ตะกร้อ
วัตถุประสงค์  1. เพิ่ม PA 2. อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย / วิถีชีวิตไทย 3. เพิ่มความสมัครสมาน สันติสุข สุขภาวะทางปัญญา จิตวิญญาณ สุขภาวะทางสังคม เอื้ออาทร
กลุ่มเป้าหมาย / เป้าหมาย
การจัดการความรู้ :
- ภูมิปัญญาไทย (รวบรวมยกระดับภูมิปัญญาไทย) -  more than sport ทำสื่อสาร รณรงค์
- การจัดทำหลักสูตร เข้าสู่ระบบการศึกษา
การขับเคลื่อนนโยบาย
- ระดับท้องถิ่น
การพัฒนาศักยภาพเครือข่าย
พื้นที่สุขภาวะ : โรงเรียน หน่วยราชการ

ประชุมคณะทำงาน 2 สิงหาคม 2560
2
สิงหาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เพื่อประชุมวางแผนงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ระบบติดตามประเมินผล โจทย์สำคัญของการติดตามประเมินผล การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของโครงการทางเศรษฐศาสตร์ ว่ามีความคุ้มค่าหรือไม่กับโครงการที่จะนำมาสู่การพัฒนาและติดตามประเมินผล
เช่น โครงการ PA จากข้อมูลมีการสูญเสียจากการไม่มีกิจกรรมทางกายมูลค่าบาท เมื่อดำเนินการโครงการ PA สามารถลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพจำนวนเท่าไร เป็นต้น
การมี DATA ระบบข้อมูลที่เป็นฐานใหญ่ จะนำไปสู่การใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืนกับทุกภาคส่วน
แนวคิดระบบติดตามประเมินผล
ระบบสามารถรองรับการวางแผนขององค์กร หน่วยงาน ชุมชน เครือข่ายสุขภาพ และสามารถใช้ระบบการพัฒนาโครงการ รวมถึงการติดตามโครงการให้ประสบความสำเร็จ
การใช้ระบบควรเป็นระบบที่เข้าถึงง่าย เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และมีฐานข้อมูลที่เป็นวิชาการ เชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ และสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อได้

แผนปฏิบัติการ PA 3 ปี26 มิถุนายน 2560
26
มิถุนายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ภาคีเครือข่ายระดมสมองจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
ประชุมเชิงปฏิบัติการระดมความคิดวางแผนปฏิบัติการ PA 3 ปี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ภาคีเครือข่ายระดมสมองจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกาย สรุป ยุทธศาสตร์การส่งเสริมกลุ่มแผนงานส่งเสริมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน
1. เกิดการจัดการความรู้ นวัตกรรม และสื่อรณรงค์ในกลุ่มเป้าหมาย 3 ช่วงวัย และ 4 setting ที่มีการนำไปใช้เพื่อการรับรู้ของสาธารณะและการขับเคลื่อนนโยบาย 2.ร้อยละ ๕๐ของเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเกิดความรอบรู้มีขีดความสามารถด้านสุขภาพประเด็นกิจกรรมทางกาย (Health Literacy - PA)
3.เกิดพื้นที่สุขภาวะต้นแบบที่สามารถนำไปขยายผลในเชิงพื้นที่ และเชิงนโยบาย 4.เกิดนโยบายสาธารณะทั้งระดับชาติ ระดับพื้นที่ ระดับองค์กร
5.องค์กรกีฬาเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย และเป็นองค์กรที่มีนโยบายปลอดเหล้าบุหรี่

แสดงดังไฟล์แนบ

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเตรียมจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและระบบการติดตามประเมินผลออนไลน์เว็บไซต์ 27 พฤษภาคม 2560
27
พฤษภาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การจัดทำแผนส่งเสริมกิจกรรมทางกายและระบบการติดตามประเมินผลออนไลน์เว็บไซต์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมเรื่องหลัก 2 เรื่อง คือ
1. เว็บไซต์ออนไลน์ พัฒนา ติดตาม ประเมินผลกิจกรรมทางกาย
2. สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ปี (2561-2563)

  1. เว็บไซต์ออนไลน์ พัฒนา ติดตาม ประเมินผลกิจกรรมทางกาย
    วัตถุประสงค์ของเว็บไซต์
  2. พัฒนาโครงการบนเว็บ
  3. ติดตามประเมินผลโครงการ
  4. รายงานผลการดำเนินงาน / การเงิน (เอกสารการเงิน / ส.1 / ส.3)
  5. การสื่อสารประชาสัมพันธ์ /แลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  6. เป็นฐานข้อมูล / คลังข้อมูลเพื่อการจัดการ
  7. พัฒนาขีดความสามารถ / พี่เลี้ยง
    การแลกเปลี่ยน การทำงานของ สำนัก 5 เป็นโครงการเชิงรุกมีโจทย์เฉพาะ มีโจทย์กรอบการสนับสนุนตามแผนงาน ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย (PA) ซึ่งไม่มีโครงการที่ประกาศรับแบบทั่วไป ซึ่งการดำเนินงานจะมีผู้รับผิดชอบหลักรับโจทย์จากสำนักไปดำเนินกิจกรรมโครงการย่อยต่อไป เช่น โครงการ Active play ในโรงเรียน จะมีหน่วยงาน สพฐ. รับผิดชอบ , โครงการวิ่ง จะมี่ อ.ณรงค์ รับผิดชอบหลัก, โครงการจักรยาน จะมี อ.ธงชัย รับผิดชอบหลัก เป็นต้น ซึ่งโครงการหลักของสำนักมีประมาณ 70 โครงการ

การเพิ่มเติมรายละเอียดในเว็บไซต์ 1. เพิ่มการกรอกข้อมูลกิจกรรมทางกายจากแบบสอบถามการสำรวจ PA ของอาจารย์บอล
2. ประยุกต์แบบฟอร์ม DOL ของ สสส. มารวมกับ เว็บ PA

การนำเว็บไซต์ไปใช้ต่อ
ประชุมพูดคุยกับผู้รับผิดชอบหลักเรื่องการนำเว็บไปใช้กับโครงการย่อย เช่น
- โครงการ Active play ในโรงเรียน จะมีหน่วยงาน สพฐ.
- โครงการวิ่ง ผู้รับผิดชอบ อ.ณรงค์
- โครงการจักรยาน ผู้รับผิดชอบ อ.ธงชัย
- โครงการศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกาย ผู้รับผิดชอบ อ.เกษม

  1. สรุปการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนยุทธศาสตร์แผนส่งเสริมกิจกรรมทางกาย 3 ปี (2561-2563) สถานการณ์กิจกรรมทางกาย

    • ตอนนี้ต้นทุนสุขภาพ ประมาณ 2,400 ล้านบาท สูญเสียไปจากการไม่มีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ และทั่วโลกต้นทุนสุขภาพที่มีผลจำนวน 67,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี
    • กิจกรมทางกายของประเทศไทยในปี 2559 ร้อยละ 70.9  เป้าหมายระดับโลกร้อยละ 80
    • กลุ่มเด็กเป็นกลุ่มที่น่ากังวลมากที่สุด พฤติกรรมเนื่อยนิ่ง 13.25 ชั่วโมง/วัน การทำงานที่ผ่านมาของแผน สสส.
    • สสส.ทำงานกับเครือข่าย โซเชียล และการศึกษา 3 ปี ที่พัฒนาที่ผ่านมาใช้ยุทธศาสตร์ 2 เพิ่ม (เพิ่มกิจกรรมทางกาย และเพิ่มพื้นที่สุขภาวะ) 1 ลด (ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง)
    • ขับเคลื่อนงาน 3 กลุ่มวัย (วัยเด็กเยาวชน, วัยทำงาน, วัยผู้สูงอายุ) / 4 setting (บ้าน, โรงเรียน, องค์กร, ชุมชน), ผลักดันนโยบายโดยใช้ร่างยุทธศาสตร์ PA, พัฒนาฐานข้อมูล / บูรณาการสุขภาวะ, พัฒนาองค์กรกีฬาปลอดเหล้าบุหรี่ร้อยละ 10 , Across All Partners , โครงการ Active play / หลักสูตรลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ , ลดพุงลดโรค , ความร่วมมือกระทรวงแรงงาน / SME / ชุมชน,ผู้สูงอายุ , “Bast buy” / “good buy” , งาน ISPAH ได้ปฏิญญากรุงเทพ, การวิเคราะห์ใช้ SDG > 8 เป้าหมาย และการขับเคลื่อนงาน 5x5x5 (กลุ่ม x setting x ประเด็น) การแลกเปลี่ยนวางแผนยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย

    องค์กรกีฬา:

    • องค์กรกีฬามีลักษณะแตกต่างจากองค์กรทั่วไป ควรแยกประเด็นออกมา เพราะองค์กรกีฬามี Impact กับสังคมคนละแบบ / องค์กรกีฬาสามารถสกัดธุรกิจแอลกอฮอล์และบุหรี่
    • ย้อนกลับไปดูองค์กรกีฬา > ใช้ประโยชน์จากองค์กรกีฬา (เป็นต้นแบบ / การรับรู้ใหม่ในสังคม)
    • ความเข้าใจกีฬาต้องการแข่งขันชิงชนะ และควรมีความเข้าใจกีฬาเพื่อสุขภาพ

    ความเข้าใจของสังคมกับเรื่องกิจกรรมทางกาย (PA):

    • กิจกรรมทางกาย PA ความเข้าใจของสังคมยังเข้าใจว่าเป็นการออกกำลังกาย
    • กิจกรรมทางกายขาดการมองในวิถีชีวิตประจำวัน แนวทางการจัดทำแผนยุทธศาสตร์
    • การวางแผนยุทธศาสตร์โดยใช้กรอบแนวคิด เรื่อง 3 กลุ่มวัย (วัยเด็กเยาวชน, วัยทำงาน, วัยผู้สูงอายุ) 4 setting (บ้าน, โรงเรียน, องค์กร, ชุมชน) และเครือข่าย (องค์กรกีฬา, จักรยาน, เดิน-วิ่ง, องค์กร, โครงสร้าง/ผังเมือง) และวางแผนให้ตอบตัวชี้วัดเรื่องดังนี้ 1. การจัดการความรู้/นวัตกรรม 2. การสร้างพื้นที่สุขภาวะต้นแบบ 3. การผลักดันขับเคลื่อนนโยบาย 4. การพัฒนาขีดความสามารถของเครือข่าย
    • หลักการจัดทำแผนควรคำนึงถึงหลายประการที่เกิดขึ้น เช่น มิติสร้างสรรค์ มิติการเดินทาง มิติการทำงาน และสอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน เป็นต้น
    • การนำปฏิญญากรุงเทพฯว่าด้วยกิจกรรมทางกาย มากำหนดยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายเป็นส่วนที่ต้องทำด้วย ดำเนินพันธกิจ นโยบาย แผนยุทธศาสตร์ องค์กร / แผนงาน / ยกระดับเรื่องของเชิงคุณภาพ
    • องค์กรกีฬานอกจากเป็นองค์กรการจัดการแข่งชัน ปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์แล้ว เพิ่มบทบาทของกิจกรรมทางกาย (PA) ในวิถีชีวิตประจำวัน ทั้งการจัดการความรู้ / พื้นที่สุขภาวะ / นโยบาย /พัฒนาขีดความสามารถ ความคิดเห็นต่อร่างแผนกิจกรรมทางกาย
    • สถานการณ์แนวโน้ม: เพิ่มปัจจัยภาวะคุกคาม ปัจจัยเอื้อที่มีอยู่ และอุปสรรคมีวิธีการจัดการอย่างไร / การแสดงผลข้อมูลโดยการใช้กราฟแสดงข้อมูล / เพิ่มความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
    • จุดเน้นของแผน: เพิ่มความสอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน /นำแนวทาง BKK มาวางแผน / เน้นองค์กรกีฬา / เน้นงานคุณภาพมากขึ้น
    • นิยามศัพท์/วัตถุประสงค์: เพิ่มการส่งเสริมวิถีชีวิตประชาชน / นวัตกรรมความรู้ / พื้นที่เป้าหมายแวดล้อม / องค์กรกีฬา
    • เป้าหมาย 3 ปี ตัวชี้วัดหลัก/ตัวชี้วัดร่วม: ใช้ข้อมูลสถิติ 11 ปี อ้างอิงจากสำนักงานสถิติ และตัวชี้วัดทางกิจกรรมทางกายจะนำไปประชุมปรึกษาอีกครั้ง เนื่องจากที่ผ่านมาตัวชี้วัด สสส. เป็นการมองแค่การออกกำลังกายเท่านั้น ยังไม่รวมตัวขี้วัดกิจกรรมทางกาย
    • แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย (PA) :  มีพื้นที่นอกเหนือการทำงาน เช่น ภาคประชาชน เครือข่าย เป็นต้น / ผู้สูงอายุ พัฒนาทางกายเชิงระบบ / เน้นกระบวนการชุมชน ภาคประชาชนทำเอง / วัยรุ่น สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม / กลุ่มวัยทำงาน เพิ่มการสัญจร
ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงาน/องค์กร เครือข่ายผู้เสนอประเด็นนโยบาย เข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ17 พฤษภาคม 2560
17
พฤษภาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงาน/องค์กร เครือข่ายผู้เสนอประเด็นนโยบาย เข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ขั้นตอนการพัฒนาสมัชชาสุขภาพ

ประชุมเชิงปฏิบัติการร่วมกับหน่วยงาน/องค์กร เครือข่ายผู้เสนอประเด็นนโยบาย เข้าสู่สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

แผนงาน

1.เตรียมเอกสารเพื่อเสนอเข้าวาระ (เอกสารหลัก เอกสารร่างมติ เอกสารยุทธศาสตร์) และนัดประชุมเครือข่าย เสนอเข้าวาระสมัชชา

2.จัดทีมวิชาการเพื่อพัฒนาร่างมติ ได้ร่าง 1 ข้อมูลสถานการณ์ แนวทาง ยุทธศาสตร์ และข้อเสนอ

3.จัดเวทีพิจารณาร่าง 1 จำนวน 2 ครั้ง - เวทีพิจารณาตามกลุ่มวัย (เด็ก, วัยทำงาน, ผู้สูงอายุ) - เวทีพิจาณาตามกิจกรรม (วิ่ง/เดิน, จักรยาน, พื้นที่ต้นแบบ / ท้องถิ่น)

4.ปรับร่าง 1 เป็นร่าง 2 โดยทีมวิชาการแต่ละกลุ่ม

5.จัดเวทีพิจารณาร่าง 2 (Pre สมัชชา ทุกกลุ่มเข้าร่วมประชุมเฉพาะแกนนำกลุ่ม)

6.ส่งเอกสารให้ สช.เพื่อนำเข้าสมัชชาชาติ
ส่งเอกสาร (เอกสารหลัก, เอกสาร่างมติ, เอกสารผนวก) ให้ สช.เพื่อนำเข้าสมัชชาชาติ

แนวทางการส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับปัจเจกบุคคลและกลุ่มคน การส่งเสริมการเรียนรู้ (ความรู้ ความเข้าใจ ทักษะ ทัศนคติ) ด้านกิจกรรมทางกายของบุคคลในเรื่ององค์ความรู้การมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอ รูปแบบกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน การเดินทาง และช่วงเวลาว่าง (การเล่นกีฬา การแข่งขัน) การส่งเสริมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กให้มีการเล่นสร้างสรรค์และมีพัฒนาการกิจกรรมทางกาย สถานศึกษาสร้างหลักสูตรรูปแบบการสอนวิชาที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางกายที่มีคุณภาพในโรงเรียน และมหาวิทยาลัย และรูปแบบใช้เวลาว่างสำหรับกิจกรรมทางกาย (PA Breaks) และส่งเสริมการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของวัยทำงานและผู้สูงอายุการพัฒนาองค์ความรู้ ทุนภูมิปัญญา นวัตกรรมของกิจกรรมทางกายส่งเสริมสถานศึกษา หน่วยงานวิจัยให้ศึกษาวิจัยกิจกรรมทางกาย และสนับสนุนทุนและส่งเสริมการวิจัยองค์ความรู้ ทุนภูมิปัญญา นวัตกรรมเกี่ยวกับกิจกรรมทางกาย การสร้างแรงจูงใจ ความตระหนัก การรับรู้เรื่องสุขภาพของตนเอง โดยส่งเสริมและสนับสนุนหน่วยงานให้มีการตรวจสุขภาพประจำปีและแนะนำกิจกรรมทางกายแก่ประชาชนทั่วไปทุกช่วงวัยและทางการแพทย์และพยาบาล แนะนำการมีกิจกรรมทางกายแก่ผู้ที่มารักษาและผลักดันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยใช้มาตรการทางภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจต่อการมีกิจกรรมทางกายการพัฒนาศักยภาพบุคคล/ต้นแบบแกนนำกิจกรรมทางกาย โดยการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคคลในชุมชนท้องถิ่น สถานศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้เป็นต้นแบบแกนนำกิจกรรมทางกายรวมทั้งต้องคำนึงด้านสุขภาวะโดยการส่งเสริมและพัฒนารูปแบบกิจกรรมทางกายที่ครอบคลุมเรื่องสุขภาวะ (กาย จิต สังคม ปัญญา)

แนวทางการส่งเสริมสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย การสร้างสภาพแวดล้อมด้านพื้นที่กายภาพให้เอื้อต่อกิจกรรมทางกาย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผังเมืองหรือการสนับสนุนด้านกายภาพ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อในพื้นที่สาธารณะทั้งในพื้นที่ที่มีการเดินทาง และสถานที่สวนสาธารณะ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อกิจกรรมทางกายในสถานที่ทำงาน และการพัฒนาเครื่องมือกระบวนการรูปแบบกิจกรรมทางกาย พัฒนาพื้นที่หรือองค์กรต้นแบบ รวมทั้งการพัฒนานโยบาย มาตรฐาน และตัวชี้วัดกิจกรรมทางกาย

แนวทางการมีระบบและกลไกสนับสนุนการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย การมีส่วนร่วมในการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวขับเคลื่อนกิจกรรมทางกาย ตั้งแต่ภาครัฐ เอกชน รัฐวิสาหกิจ และภาคประชาสังคมรวมทั้งการพัฒนาชมรม เครือข่ายกิจกรรมทางกายการพัฒนาสื่อสารสาธารณะส่งเสริมกิจกรรมทางกายและการพัฒนาองค์กรด้านการวิจัยกิจกรรมทางกาย รวมทั้งการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัย พัฒนาการติดตามเฝ้าระวัง และประเมินผลกิจกรรมทางกายโดยเฉพาะในด้านที่ยังขาดองค์ความรู้ เช่น การวิเคราะห์เชิงเศรษฐศาสตร์ การวิจัยเชิงปฏิบัติการในประชากร การประเมินผลนโยบาย และสร้างความเข้มแข็งด้านการติดตามประเมินผลและการเฝ้าระวัง โดยปัจจุบันประเทศไทยข้อมูลการเฝ้าระวังสถานการณ์กิจกรรมทางกายของ PARC ข้อมูลด้านสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และข้อมูลเด็กไทยแก้มใสของ สสส.

ประเด็นแลกเปลี่ยน 1. นโยบายการส่งเสริมให้คนไทยทุกช่วงวัยมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้น
2. การจัดการสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 24 ชั่วโมง: สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา
3. การพัฒนาพื้นที่สาธารณะเพื่อสุขภาวะและการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน

ประเด็นหารือ การรวมประเด็นทั้ง 3 เป็นประเด็นเดียวกัน: ประเด็นทั้ง 3 มีความเกี่ยวข้องกันในมิติสุขภาพกิจกรรมทางกาย ถ้าร่วมกันได้ จะเป็นการดำเนินงานที่มีลักษณะการบูรณาการที่ดี ช่วยกันออกแบบ ได้ประโยชน์ในภาพรวมและสามารถใช้ให้คนทุกกลุ่มวัยใช้ประโยชน์ร่วมกัน ปลายทางสุดท้ายทุกเส้นทางนโยบายมุ่งสู่สุขภาวะทั้งหมด การขับเคลื่อนข้างหน้า คน สภาพแวดล้อม นโยบาย ที่ผ่านมามีการทำงานระดับโลก ระดับชาติทำเป็นยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย ยุทธศาสตร์มีความเชื่อมโยงกันสามารถร่วมกันได้มีการสานพลังประเด็นยุทธศาสตร์ ทั้ง 3 ประเด็นไปเป็นเรื่องเดียวกัน มีจุดเน้นที่แตกต่างกัน

การทำงานภาคท้องถิ่นมองว่าสามารถร่วมประเด็นกันได้ เนื่องจากท้องถิ่นดำเนินงานในพื้นที่ครอบคลุมทุกเรื่อง สามารถบูรณาการขับเคลื่อนภาพรวมในชุมชนได้ เช่น พื้นที่สร้างสรรค์ สามารถใช้พื้นที่โรงเรียนได้ เป็นต้น และพื้นที่สาธารณะถ้ารวมกันออกแบบ สามารถมองเห็นความสำคัญของคนในครอบครัว สภาพแวดล้อมด้วยกันทั้งสามกลุ่ม ประเด็นหารือการแยกประเด็น: การแยกประเด็นทำให้โฟกัสชัดเจนขึ้น ถ้านำประเด็นมารวมกันจะทำให้นโยบายเจือจางไป และกระบวนการพัฒนาถ้ากระจายมากจะไม่ได้เนื้อหาที่แท้จริง เช่น เน้นโฟกัสสนามเด็กเล่น สถาปนิกได้ออกแบบงานเต็มที่ เป็นต้น

ประเด็นหารือเพิ่มเติม: สนามเด็กเล่น พบว่า มีบาดเจ็บและเสียชีวิตอยู่ ปัจจัยการบาดเจ็บเกิดจากการเรียนรู้ของเด็ก และมีสิ่งแวดล้อมของเครื่องเล่นทีปลอดภัย ทุกวันนี้ช่องว่างการออกแบบไม่เหมาะสม สถานการณ์ตอนนี้ไม่มีกำหนดมาตรฐานความปลอดภัย โจทย์หนึ่งที่สำคัญ ทำอย่างไรที่ทำให้เด็กเรามีสุขภาวะทีดี โดยใช้องค์ความรู้ แต่ละช่วงวัยมีองค์ความรู้อะไรนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

พื้นที่สาธารณะ โดยใช้เมืองเป็นเครื่องมือกลไก ให้มองคนสุขภาวะเป็นตัวตั้ง ทำให้เมือง active ตัวตั้งต้นเกิดจากคน สุขภาวะก่อน และต่อเนื่องไปเรื่องอื่นๆ ต่อไป การวางผังเมืองเป็นเรื่องใหญ่ควรมองครอบคลุมหลากหลายด้าน เช่น ด้านสุขภาพ ควรมองเมืองลดโลกร้อน ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มพลังงานทดแทน ความเกี่ยวข้องกับการออกแบบอาคารสถานที่ทำงาน การออกแบบเส้นทางสัญจร การขนส่งสาธารณะออกแบบสวนสนามกีฬา เป็นส่วนหนึ่งที่เหมือนกัน

การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน20 เมษายน 2560
20
เมษายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมจัดทำแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ณ ภูเขางามพาโนรามา จังหวัดนครนายก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) ได้เข้าร่วมสัมมนาการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน  วันที่ 20 -21 เมษายน 2560 ณ ภูเขางามพาโนรามา จังหวัดนครนายก โดยทางทีมสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ ได้ระดมสมอง การจัดทำแผน การบูรณาการแผน การระดมสมองผู้แทนหน่วยงานเพื่อจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน
ผลสรุปการประชุมได้ประเด็นยุทธศาสตร์นี้เป็นการปรับแนวคิดในภาพรวมและสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างนโยบายและการดำเนินงานในการจัดระบบและโครงสร้างเพื่อส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ให้มีความสอดคล้องกับสภาพที่เป็นจริงของประเทศ ทั้งภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะภาครัฐ และปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อตอบสนองความจำเป็นในด้านสุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และพลังงานไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การดำเนินงานเพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ตามเป้าประสงค์สู่วิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ประกอบด้วย 5 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
1. ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ 2. ด้านการสร้างและจัดการความรู้
3. ด้านการพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐาน 4. ด้านการสื่อสารสาธารณะ
5. ด้านการสร้างเครือข่ายทางสังคม 6. ด้านการพัฒนาขีดความสามารถและเสริมสร้างศักยภาพบุคคล
(ร่างยุทธศาสตร์แนบ ภาคผนวก)

ประชุมคณะทำงาน (ประชุมติดตามความก้าวหน้ากรอบการสนับสนุนโครงการและวางแผนการดำเนินงานโครงการฯ)5 เมษายน 2560
5
เมษายน 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมติดตามความก้าวหน้ากรอบการสนับสนุนโครงการและวางแผนการดำเนินงานโครงการฯ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

สรุปเรื่อง
1. วางแผนกรอบสนับสนุนโครงการ 100 โครงการ
- เตรียมการประชุม
- เตรียมข้อมูล เอกสารนำเข้าการประชุม แต่ละประเด็น
- ทำรายชื่อเครือข่ายประสานการเข้าร่วม
- ออกแบบกำหนดการประชุม
- อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ Review เพิ่มเติม
2. สรุปโมเดลการส่งเสริม PA มีเนื้อหา ได้แก่

2.1สถานการณ์ ปัจจัยที่เป็นสาเหตุ ปัจจัยที่เป็นปัจจัยอุปสรรค ปัจจัยที่เป็นปัจจัยเอื้อต่อการจัดการ

  1. 2 กระบวนการต้องทำอะไรบ้างระบบข้อมูล/คลังข้อมูลกระบวนการเรียนรู้ระบบการสื่อสารพื้นที่นำร่อง

    2.3 จุดหมายเป้าหมายอยากเห็นอะไร OutputOutcomeImpactนวัตกรรมชุดความรู้รูปแบบ

ประชุมคณะทำงาน (ประชุมติดตามความก้าวหน้าและวางแผนการดำเนินงานโครงการฯ)22 มีนาคม 2560
22
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมติดตามความก้าวหน้าและวางแผนการดำเนินงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คุยประเด็นเอกสารข้อเสนอประเด็นสมัชชาสุขภาพ
1. ปรับชื่อเอกสารเป็น “เพิ่มกิจกรรมทางกาย เพิ่มพลังประเทศไทย” 2. ตอนนี้ธรรมนูญสุขภาพ 2559 ปรับเอกสาร PA มีความเชื่อมโยงกับประเด็น 4.2 การสร้างเสริมสุขภาพ และ 4.3 การป้องกัน และปรับว่ามีให้สอดคล้องกับประเด็นอื่นๆ ทั้งหมดตั้งแต่ ข้อ 4.5 ภูมิปัญญา 4.7 วิจัย 4.8 สื่อสาร
3. Mapping เครือข่าย มีองค์กรดังต่อไปนี้
1) กระทรวงสาธารณสุข กรมอนามัย สสจ. / สสอ. / รพศ., รพท, รพช. , รพสต. / อสม./ ศูนย์อนามัย
2) กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น / อบจ. / อบต. / เทศบาล / ศูนย์เด็กเล็ก
3) กระทรวงศึกษา สพฐ.(โรงเรียนประถม/โรงเรียนมัธยม) / สกอ. (มหาวิทยาลัย)/ อาชีวศึกษา
4) สื่อ สมาคมสื่อ
5) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา / องค์กรกีฬา / สมาคมฟุตบอล,วอลเล่บอล.... 6) สถาบันวิชาการ/วิจัย  / PARC
7) สถาบัน / การสนับสนุน
8) เอกชน / หอการค้า / อุตสาหกรรม
9) สำนักงานหลักประกันสุขภาพ 10) สำนักงานประกันสังคม
11) กระทรวงพาณิชย์ / กรมการประกันภัย
4. จับประเด็น คน สภาพแวดล้อม กลไก
5. หลักการเขียน
1) สถานการณ์
2) ผลกระทบ
3) สาเหตุ / ปัจจัย / คน สภาพแวดล้อม กลไก / หลัก SDH
4) คน / เครือข่าย / องค์กรที่เกี่ยวข้อง
5) แนวทางหรือหลักการ จัดการ
6) การดำเนินงานที่ผ่านมา / ผลสำเร็จ / ปัญหาอุปสรรค
7) เพื่อ...........จึงควรให้มีการให้วาระนี้เข้าสู่สมัชชาเพื่อให้มีมติข้อเสนอ
6. “กลุ่มเป้าหมาย” และ “กระบวนการ”

  1. ประเด็นร่วม / ประเด็น PA เป้าหมายหลัก / ประเด็นขับเคลื่อน / กลุ่มชายขอบ,ผู้พิการ
  2. กระบวนการกลุ่มเป้าหมาย
จัดทำแผนยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2569)15 มีนาคม 2560
15
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมเชิงปฏิบัติการ พิจารณารายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ในภาพรวม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการ พิจารณารายละเอียดประเด็นยุทธศาสตร์ในภาพรวม “จัดทำแผนยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2561 - 2569)” วันที่ 15 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมมารวย การ์เด้น เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร กล่าวเปิดการประชุม โดยนายแพทย์อรรถพล แก้วสัมฤทธ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวรายงานการประชุมและสรุปความก้าวหน้าของแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 และการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาแผนยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกายแห่งชาติ โดย นายแพทย์ฐิติกร โตโพธิ์ไทย ผู้ช่วยอำนวยการกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ จากนั้นแลกเปลี่ยนระดมความเห็นร่างแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายแห่งชาติ ฉบับที่ 1 ดังนี้ บทที่ 1 บทนำ / บทที่ 2 การทบทวนการส่งเสริมกิจกรรมทางกายในต่างประเทศและในประเทศไทย / บทที่ 3 การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคาม (SWOT Analysis) / บทที่ 4 (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การส่งเสริมกิจกรรมทางกายระดับชาติ ฉบับที่ 1 (2561 - 2569) / บทที่ 5 การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ และการติดตาม และประเมินผล

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 30 คน จากที่ตั้งไว้ 30 คน
ประกอบด้วย

ภาคีเครือข่ายกิจกรรมทางกาย

ประชุม การขับเคลื่อนงานสมัชชาสุขภาพกิจกรรมทางกาย14 มีนาคม 2560
14
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

แลกเปลี่ยนร่างสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย และวางแผนการขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพกิจกรรมทางกาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การประชุมหารือการขับเคลื่อนงานสมัชชาสุขภาพส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย วันอังคารที่ 14 มีนาคม 2560 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ชั้น 2 ห้องสุชน 1 อาคารสุขภาพแห่งชาติ ถ.ติวานนท์ อ.เมือง จ.นนทบุรี

โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิคุณวีระศักดิ์ พุทธาศรี รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ผศ.ดร.เกษม นครเขตต์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ (PARC)  นายแพทย์ฐิติกร  โตโพธิ์ไทย ผู้ช่วยผู้อำนวยการกองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย ผศ.ดร.ภก.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ และดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร รองผู้อำนวยการสถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.ม.อ.) และคณะทำงานจากหน่วยงานต่างๆ  ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนร่างสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ประเด็นการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของประเทศไทย และวางแผนการขับเคลื่อนสมัชชาสุขภาพกิจกรรมทางกาย

การวางแผนงานขั้นตอนต่อไป คือ ตั้งคณะอนุกรรมการวิชาการ เสนอเข้าวาระสมัชชา (มีนาคม) ทีมวิชาการเพื่อพัฒนาร่างมติ ได้ร่าง 1 (มิถุนายน) จัดเวทีพิจารณาร่าง 1 (กรกฎาคม)  ปรับร่าง 1 เป็นร่าง 2 (สิงหาคม) จัดเวทีพิจารณาร่าง 2 (กันยายน) ส่งเอกสารให้ สช.เพื่อนำเข้าสมัชชาชาติ (ตุลาคม)

สรุปประเด็นสำคัญ
- กิจกรรมทางกายประเด็นที่สำคัญมีอะไรบ้าง
- ยุทธศาสตร์ชาตินำประเด็นที่สำคัญเข้าร่วมสมัชชาชาติ
- กระบวนการสมัชชาสุขภาพจะเชิญทุกภาคส่วนทุกเครือข่ายเข้าร่วมกระบวนการ - ระบบบริการของแพทย์สาธารณสุข ให้สั่งคนไข้ให้มีการออกกำลังกาย - กระบวนการสมัชชา สช.จะเชิญทุกภาคส่วนให้เข้มามีส่วนร่วม สมัชชาจะมีการขับเคลื่อนช่วงเดือนธันวาคม มีทุกภาคส่วนมาขับเคลื่อน มีมติเพิ่ม PA ทุกกลุ่ม
- ขั้นตอนสมัชชา1. เสนอประเด็นเข้ามา ช่วงเดือนมีนาคม 2. อนุวิชาการพิจารณา เดือนเมษายน 3. ตั้งคณะทำงานประเด็น ทุกฝ่าย 4. จัดทำร่าง ช่วงเดือนเมษายน  5. ประกาศระเบียบวาระ ช่วงเดือนกันยายน
6. ส่งเครือข่ายพิจารณา ช่วงเดือนธันวาคม

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ (PARC) กองกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพ กรมอนามัย สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ และคณะทำงานจากหน่วยงานต่างๆ

ประชุมคณะทำงาน (ประชุมติดตามความก้าวหน้าและวางแผนการดำเนินงานโครงการฯ)7 มีนาคม 2560
7
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมติดตามความก้าวหน้าและวางแผนการดำเนินงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

วางแผนการขับเคลื่อนงาน
1. สถานการณ์ ข้อมูล
สพฐ. / กรมอนามัย
2. สถานการณ์ ข้อมูล
รพ.สต. / โรงพยาบาล / สปสช.
3. สถานการณ์ ข้อมูล
ระบบบริการ สั่งยา / ใบสั่งแพทย์ / กระทรวงสาธารสุข 4. ความสำคัญต่อสุขภาพ (วัยทำงาน > ค่าใช้จ่ายสุขภาพลดลง > มลพิษลดลง) 5. กลุ่มเด็ก : เด็ก ครอบครัว โรงเรียน
6. ข้อเสนอ BKK เป็นหลักกับกรามอนามัย มาเติม
7. ประสานงาน 8. ภาคผนวก: ใช้แผนยุทธศาสตร์กรมอนามัย + แผน สสส. หรือแผนเก่า PA
9. ดูโปรแกรมโรงเรียนทุกช่วงวัยว่าใช้เกณฑ์อะไรที่วัด
10. ระบบบริการ / 43 แฟ้ม / จปฐ.
11. การเคลื่อนประเด็น นัดทีมถนัดแต่ละด้านมาร่วมประชุมพร้อมกัน

ประเด็นแผนงาน
1. การขับเคลื่อนระดับนโยบาย ระดับชาติ  ท้องถิ่น : กองทุน สปสช.
2. การสร้างองค์ความรู้  สถานการณ์แนวโน้ม และปัจจัยที่เอื้อ
3. การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ รัฐ เอกชน สมาคม ชมรม กลุ่ม
4. การพัฒนาระบบ ระบบข้อมูล ระบบการสื่อสาร ระบบการหนุนเสริม  ระบบติดตามประเมินผล
5. ประเด็นที่สนใจ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานกิจกรรมทางกาย

ประชุมคณะทำงาน (ประชุมติดตามความก้าวหน้าและวางแผนการดำเนินงานโครงการฯ) 1 มีนาคม 2560
1
มีนาคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมติดตามความก้าวหน้าและวางแผนการดำเนินงานโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เรื่องทั่วไป

- ตั้งทีมวิชาการ - เสนอวาระ เอกสารเสนอวาระ
- Review สมัชชาสุขภาพ 4 เล่ม

  1. เอกสารหลัก
    1) ชื่อวาระ
    2) นิยามศัพท์
    3) สถานการณ์ – แนวโน้ม – สาเหตุ – เสนอ WHA 2018
    4) ความสำคัญต่อสุขภาพ – NCD
    5) ปัจจัยที่เป็นปัจจัยเอื้อ-ปัจจัยอุปสรรค
    6) แนวทางการจัดการ – หลักการ – ปรากฏการณ์ – นวัตกรรม – พื้นที่ตัวอย่าง 7) ยุทธศาสตร์ – แผน 8) จึงควรจะมีข้อเสนอดังต่อไปนี้

  2. ขั้นตอนสมัชชา   1) เตรียมเอกสารเพื่อเสนอเข้าวาระ
      2) นัดประชุมเครือข่าย
      3) เสนอเข้าวาระสมัชชา
      4) เริ่มจัดทีมวิชาการเพื่อพัฒนาร่างมติ ได้ร่าง 1
      5) จัดเวทีพิจารณาร่าง 1
      6) ปรับร่าง 1 เป็นร่าง 2
      7) จัดเวทีพิจารณาร่าง 2
      8) ส่งเอกสารให้ สช.เพื่อนำเข้าสมัชชาชาติ


  3. เว็บ PA
    หน้าแรก
    1) ความเป็นมาของโครงการ 2) การประชาสัมพันธ์ / ข้อมูลข่าวสาร
    3) คลังข้อมูล 4) การสนับสนุนทุน (การเข้าสู่ช่องทางการสนับสนุน) - กรอบการสนับสนุน - ประเด็นหลัก
    - ประเด็นกลุ่ม กลุ่มวัย ฯ - ลักษณะของการสนับสนุน
    - ตัวอย่างโครงการ

    หน้าพัฒนาโครงการ
    1) สถานการณ์ปัญหา / แนวโน้ม
    2) ปัจจัยที่เป็นสาเหตุ / ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการปัญหา (ปัจจัยเอื้อ , ปัจจัยอุปสรรค)
    3) วัตถุประสงค์ / เป้าหมาย / มีตัวชี้วัด
    4) กิจกรรม – วัตถุประสงค์ของกิจกรรม / กลุ่มเป้าหมาย / รายละเอียด / การเงิน 5) การติดตามประเมินผล อื่นๆ  ในเว็บ

    • ข้อมูลสุขภาพ / BMI (อ้วน, ผอม)
    • กิจกรรม (วิ่ง : ข้อมูลสุขภาพ / จักรยาน : ข้อมูลสุขภาพ)
    • ข้อมูลระดับตัวชี้วัดเก็บข้อมูลอะไรบ้าง
    • โครงการเข้าร่วมเก็บข้อมูล
    • กระบวนการบันทึก
      ข้อมูลที่ สสส.สนับสนุน
    1. สถานการณ์เป็นอย่างไร
    2. หลังโครงการเป็นอย่างไร (จำนวนคนเพิ่มขึ้น / หน่วยการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น)
  4. สิ่งที่ดำเนินการต่อ
    1) Review
    2) กรอบ สสส. หนุนโครงการ
    3) ร่างสมัชชา

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานกิจกรรมทางกาย

ประชุม PA Forum ประเด็น : Physical Activity Research Framework กับ PARC และ สำนัก 527 กุมภาพันธ์ 2560
27
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดทำกรอบในการพิจารณาสนับสนุนโครงการของภาคี เครือข่ายต่างๆ ตามประเภทโครงการดังกล่าวข้างต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ศูนย์วิจัยกิจกรรมทางเพื่อสุขภาพ ได้แลกเปลี่ยนประเด็นการวิจัย ได้ประเด็นวิจัย ดังนี้ 1. ประเด็นวิจัยระดับมหภาค (Macro level Research) - Built Environment : พื้นที่เขตเมือง พื้นที่สาธารณะทั่วไป
- Setting Approach : บ้าน สถานประกอบการ ชุมชน โรงเรียน/สถานศึกษา
- Economic Impact : Economic model for PA : Taxation , PA in Tourism
- National Demographic Survey : PA in addition - Sedentary Reduction : Active living : Active work-life - Life Course PA : แม่และเด็ก , เด็กเยาวชน วัยรุ่น, วัยทำงาน, ผู้สูงอายุ, กลุ่มเฉพาะ/พิการ
- Dissemination : สื่อออนไลน์
- PA Systematic Review : Global movement on PA - Policy Development and Implementation - Physical Education : PA based (not sport skill based) - 4P approach: Policy, Project, Program, Plan - Law and Regulation for PA - Research Methodology

  1. ประเด็นวิจัยระดับจุลภาค (Micro level Research)

- PA in Specific Population Group : PA Intervention - Daily-life PA : Work-life PA, Personal Risk Behavior - PA & Technology - PA & Social Participation - Social Value on PA : Smart PA - PA / Exercise Prescription, Medical Dilemma

ประชุมหารือยุทธศาสตร์กิจกรรมทางกาย กับ PARC และ สำนัก 5 14 กุมภาพันธ์ 2560
14
กุมภาพันธ์ 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดทำกรอบในการพิจารณาสนับสนุนโครงการของภาคี เครือข่ายต่างๆ ตามประเภทโครงการดังกล่าวข้างต้น

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประเด็นโจทย์วิจัยแต่ละช่วงวัย
- ได้ประเด็นโจทย์แต่ละช่วงวัย
1. วัยแรกเกิด 0-5 ปี : PA มีความสัมพันธ์กับพัฒนาการของเด็กอย่างไร (ศูนย์เด็กเล็ก)
2. วัยเรียน : PA เบรก ของการเรียนการสอนตั้งแต่ ปฐมวัย, มัธยม, มหาวิทยาลัย , เด็กเป็นตัวเชื่อมรูปแบบ PA ความสัมพันธ์ โรงเรียน ครอบครัวและชุมชน
3. วัยรุ่น : PA กับพฤติกรรมของวัยรุ่นลดปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่
4. วัยทำงาน : วัยทำงานแบ่งระดับมาก ปานกลาง น้อย - รูปแบบ PA ที่เหมาะสม
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดปัจจัยเสี่ยง - องค์กรต้นแบบด้านต่างๆ เช่น PA กับพลังงานทดแทน เป็นต้น
5. ผู้สูงอายุ : ระบบบริการเหมาะสมผู้สูงอายุ PA ในระบบประกันสุขภาพ
6. จักยาน : ปั่นชีวิตประจำวัน, ปั่นออกกำลังกาย, ปั่นเที่ยว
- การออกแบบเมืองที่เหมาะสม
- การขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ
- จักรยานเพื่อสร้างสรรค์สังคม
7. วิ่ง
- รวมพลังเครือข่ายวิ่งพลังสังคม
- ระบบข้อมูล
- มาตราการส่งเสริมการวิ่ง
อื่นๆ : - การวางระบบเก็บข้อมูลโครงสร้างปกติ / PA กับวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ควบคู่กับการอนุรักษ์ เช่น มโนราห์ มวยจีน เป็นต้น - PA เชื่อมโยงกับปัจจัยเสี่ยงเหล้า บุหรี่ / พลังงาน / ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โจทย์วิจัย 1. โจทย์ใหญ่ 2 โจทย์ คือ การระบุพื้นที่ PA ต่ำ ในระดับภูมิภาค และพัฒนาให้ดีขึ้น
2. การปรับสภาพแวดล้อมให้เอื้อ: การใช้พื้นที่ให้คุ้มค่า
3. การขยายหลักสูตร คู่มือ PA ไปยังโรงเรียนต่างๆ
ติดอาวุธการประเมิน “เครื่องมือการประเมิน” ยุทธศาสตร์การใช้เครื่องมือ

ประเด็นศาสนากับ PA
- PA ในศาสนา เช่น ศาสนาอิสลามการละหมาด 5 ครั้ง เป็นกิจกรรม PA - ศาสนาพุทธการนั่งสมาธิ การเดินจงกลม / พระเดินธุดงค์ / งานวิจัย ม.เชียงใหม่ พระสายป่าเดินธุดงค์ ออกกำลังกาย/ พระเคี้ยวอาหาร 30 ครั้ง /ตอนบ่ายสวดมนต์ /ตอนเย็นพระกวาดวัด/เดินจงกลม

กิจกรรมทางกายของกลุ่มเด็ก
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กให้ความรู้ปรับทัศนคติ วัยเรียนอยู่กลางแจ้ง /เช่น จอมบึง ให้ป่าเป็นแหล่งเรียนรู้ เด็กๆจะเรียนรู้กิจกรรมในป่า / PA ไม่เน้นรายวิชา / ให้ PA ฝังอยู่ในทุกอนุ / ภายใน

“หลักสูตรโปรแกรม PA” และ “Report card”
หลักสูตรและคู่มือ :
1. โปรแกรมทางกายสาระพลศึกษาพื้นฐาน 2. โปรแกรมกิจกรรมทางกายสาระพลศึกษา
3. โปรแกรมกิจกรรมทางกายพัฒนาผู้เรียน
4. โปรแกรมกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวัน การวัด 1. ทักษะการเคลื่อนไหว
2. กาย
3. ความรู้
4. บุคลิกภาพ (สังคม/คุณธรรม)

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 20 คน จากที่ตั้งไว้ 20 คน
ประกอบด้วย

PARC และ สำนัก 5

ประชุมสร้างความร่วมกับองค์กรเอกชน 20 มกราคม 2560
20
มกราคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

การพัฒนานโยบายและรูปแบบกิจกรรมทางกาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การพัฒนานโยบายและรูปแบบกิจกรรมทางกายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) - คณะทำงานออกแบบกิจกรรมทางกาย ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร รูปแบบกิจกรรมทางกายภายในองค์กร เพื่อสร้างสุขภาวะองค์กร พลังงานทดแทน และความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจขององค์กร มีรูปแบบกิจกรรม เช่น
1. ด้านวิถีชีวิตประจำวัน เช่น แรงจูงใจในการเดินขึ้นบันได เป็นต้น
2. ด้านกิจกรรมการมีส่วนร่วมขององค์กร เช่น การประกวดไอเดีย PA แต่ละสาขา เป็นต้น
3. ด้านพลังงานทดแทน เช่น เดิน-เร็ววิ่งสายพานหมุนสร้างพลังงาน เป็นต้น
- รูปแบบกิจกรรมทางกายภายนอกองค์กร เพื่อสร้างสังคมสุขภาวะ พลังงานทดแทน และแสงสว่างเพื่อสังคม มีรูปแบบกิจกรรม เช่น 1. ด้านพลังงานทดแทน เช่น ปั่นจักรยานสร้างพลังงาน เป็นต้น
2. ด้านสภาพแวดล้อมเพื่อสังคม เช่น “แสงสว่างเพื่อสุขภาวะของสังคม”

ผลลัพธ์

  1. องค์กรต้นแบบ ขยายรูปแบบสู่องค์กรอื่นๆ
  2. เกิดกิจกรรมทางกายส่งผลให้มีสุขภาวะที่ดีภายในองค์กรและสังคม
  3. การออกกำลังกายทำให้ร่างกายแข็งแรง สามารถลดค่ารักษาพยาบาลน้อยลงได้
  4. การทำงาน relax และ refresh ทำให้งานมีประสิทธิภาพ
  5. มีพื้นที่แสงสว่างเพื่อสุขภาวะของสังคม
  6. ได้พลังงานทดแทน ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงาน
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 10 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

ภาคีเครือข่ายองค์กร

ประชุมติดตามความก้าวหน้าของการทบทวนเอกสารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย17 มกราคม 2560
17
มกราคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมติดตามความก้าวหน้าของการทบทวนเอกสารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • รายงานความก้าวหน้าของการทบทวนเอกสารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย
  1. ข้อเสนอเพิ่ม PA สมัชชา / ข้อเสนอแต่ละกลุ่ม

- กลุ่มอายุ
- พื้นที่หน่วยงาน
- เช่น วัยทำงาน หน่วยงาน บริษัทควรทำอะไร
- เด็ก บ้าน โรงเรียนควรทำอย่างไร

  1. พัฒนาโครงการที่ สสส. สนับสนุนให้เป็นโครงการที่มีคุณภาพ

- review ว่ามี paper อะไรบ้าง
- PA ที่แก้ปัญหายาเสพติด - PA ที่ส่งเสริมการเกษตร
- PA เศรษฐกิจดีขึ้น หนี้ลดลง
- PA ด้านอื่นๆ

ตัวอย่าง เด็ก > หลังเลิกเรียน PA เด็กมากขึ้น > เด็กทำให้ครอบครัว PA มากขึ้น /ครอบครัว PA มากขึ้น

ประชุมติดตามความก้าวหน้าของการทบทวนเอกสารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย13 มกราคม 2560
13
มกราคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมติดตามความก้าวหน้าของการทบทวนเอกสารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประชุมติดตามความก้าวหน้าของการทบทวนเอกสารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย แนวคิด เพื่อการ Review PA ดังภาพประกอบ

circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงาน PA

ประชุมการวางแผนจัดทำ Mapping ทบทวนเอกสารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย4 มกราคม 2560
4
มกราคม 2560รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วางแผนจัดทำ Mapping ทบทวนเอกสารการส่งเสริมกิจกรรมทางกาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

รูปแบบการ Review PA ปัจจัยที่มีผล 1. คน : ความรู้/พฤติกรรม
2. สภาพแวดล้อม : วัฒนธรรม สังคม เศรษฐกิจ 3. กลไก : กลุ่ม / เครื่องมือ / ตัวชี้วัด

วิธีการ 1. งานวิจัย
2. องค์ความรู้
3. นวัตกรรม
4. เครื่องมือ/วัดผล/ตัวชี้วัด
5. ระบบการสื่อสาร
6. ผลักดันนโยบาย

เป้าหมายของ PA 1. กิจกรรมตลอดช่วงวัย - กลุ่มเด็กปฐมวัย (แรกเกิด - 5 ปี) - วัยเด็ก (6 – 14 ปี)
- วัยรุ่น (15 - 24 ปี)
- วัยทำงาน (25 - 59 ปี)
- วัยสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป)
2. กลุ่มอาชีพ
3. พื้นที่ต้นแบบ: ท้องถิ่น/สำนักงาน 4. จักรยาน 5. วิ่ง
6. พฤติกรรมเนือยนิ่ง

  • Stakeholder Analysis
  • โรงเรียน (สพฐ.) : อนุบาล / ประถม / มัธยม / อุดมศึกษา
  1. หลักสูตร > Active Leaning > สุขภาวะ
  2. กิจกรรมหลักสูตร > ฝึกอาชีพ
  3. ประกวดรูปแบบ/กิจกรรม/นวัตกรรม PA
    ยกระดับ PA เพื่อแก้ปัญหาต่างๆ
  • ท้องถิ่นสามารถแบ่งขนาด ได้แก่ ใหญ่ กลาง เล็ก

 PA / พฤติกรรมสุขภาพ  อนุรักษ์วัฒนธรรม / การรำ / นวดแผนไทย  เกษตร / อาหารปลอดภัย
 สันติภาพ / ลดความขัดแย้ง
 ลดปัญหายาเสพติด
 การสร้างกระแส

ประชุมคณะทำงาน (การวางแผนงานโครงการพัฒนา-ข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะฯ) 2 ธันวาคม 2559
2
ธันวาคม 2559รายงานจากพื้นที่ โดย Yuttipong Kaewtong
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมคณะทำงาน  (การวางแผนงานโครงการพัฒนา-ข้อเสนอและการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายสาธารณะฯ)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประเด็นประชุม ได้แก่ ภาพรวมงาน PA การ Mapping ประเด็น PAรายชื่อผู้มีส่วนได้ส่วยเสียทั้งหมด ทีมวิชาการ ทำกรอบประเด็น ข้อเสนอสมัชชาชาติการพัฒนาขึ้นรูป โครงการย่อย 100 โครงการ ออกแบบการใช้เว็บไซต์ PA ในการพัฒนา ติดตาม ประเมินผล วางแผนงานในขั้นต่อไปและประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การ Mapping ประเด็น PA ประเด็น PA 1. การส่งเสริมกิจกรรมทางกายตลอดช่วงวัย
2. การลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง
3. การผลักดันให้เกิดต้นแบบพื้นที่สุขภาวะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกาย
4. การใช้จักยานเพื่อสุขภาวะ
5. การวิ่งเพื่อสุขภาวะ

  • สถานการณ์กิจกรรมทางกายของแต่ละประเด็น เห็นถึงสถานการณ์ปัญหา ปัจจัยที่มีอิทธิพล สาเหตุ วิเคราะห์เห็นทุนที่สามารถนำมาใช้เป็นปัจจัยนำเข้า
  • หลักการ แนวทางและวิธีการจัดการ ที่ควรจะเป็นโดยหลักวิชาการ
  • สถานการณ์การจัดการปัญหาที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบัน และปัญหาอุปสรรคในการจัดการในพื้นที่
  • หน่วยงาน องค์กร เครือข่าย (stakeholder Analysis)
  • ทิศทางและความต้องการ หรืออาจเรียกว่าจุดหมาย เป้าประสงค์
  • ข้อเสนอเพื่อการแก้ปัญหาหรือการพัฒนา ซึ่งควรจะต้องระบุให้ชัดว่า ใคร หน่วยงานใด ต้องทำอะไร ทำอย่างไร และจะมีวิธีการผลักดัน ติดตาม ประเมินผลอย่างไร
circle
กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วม
จำนวน 8 คน จากที่ตั้งไว้ 10 คน
ประกอบด้วย

คณะทำงานกิจกรรมทางกาย