ชื่อโครงการ/กิจกรรม | รายงานกิจกรรม สำหรับพี่เลี้ยงโครงการปัจจัยเสี่ยง จังหวัดสงขลา |
ภายใต้โครงการ | ปัจจัยเสี่ยงเหล้า/บุหรี่/ยาเสพติด |
เลขที่ข้อตกลง | - |
รหัสโครงการ | - |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอะหมัด หลีขาหรี |
คณะทำงาน ? | นางดวงใจ อ่อนแก้ว , นางสาวดวงดาว อุปสิทธิ์ , นายอุสมาน หวังสนิ , นายประสิทธิ์ เร๊ะดุมหลี , นางเฝาสี่ย๊ะ หลีขาหรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวสิริมนต์ ชีวะอิสระกุล |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 15 พฤศจิกายน 2560 - 15 ธันวาคม 2561 |
งบประมาณ | 47,640.00 บาท |
จำนวนกลุ่มเป้าหมาย | 66 คน |
รายละเอียดกลุ่มเป้าหมาย |
|
พื้นที่ดำเนินการ | จังหวัดสงขลา |
จังหวัด | สงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.9148815257439,100.73939323425place |
หลักการและเหตุผล
ในการดำเนินงานที่ผ่านมา มีกลไกในการจัดการปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากการดำเนินการของภาครัฐ ภาคเอกชน และ เครือข่ายที่ได้รับการสนับสนุนจาก สสส. อาทิเช่น เกิดกลุ่ม เกิดเครือข่ายจัดการปัจจัยเสี่ยง รวมถึงกลไกทางวิชาการ กลไกสื่อ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ากลไกที่เกิดขึ้นยังต้องการการหนุนเสริมในการพัฒนาขีดความสามารถ และ การสนับสนุนในหลายด้านโดยเฉพาะงบประมาณเพื่อการดำเนินงาน ทำให้ไม่สามารถขยายขอบเขตทั้งเชิงประเด็นและเชิงพื้นที่ได้มากเท่าที่คาดหวังไว้ สำหรับแนวทางการจัดการที่มีความเป็นไปได้มากที่สุด คือ การพยายามใช้กลไกในเชิงระบบและโครงสร้างที่มีอยู่ในกลไกปกติให้สามารถดำเนินงานให้มากที่สุด โดยการไปหนุนเสริมให้กลไกดังกล่าวมีขีดความสามารถมากขึ้นและเพิ่มภารกิจในการจัดการปัจจัยเสี่ยงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นโครงการนี้ จึงพยายามจะใช้กลไกในเชิงระบบและโครงสร้างที่มีอยู่ในปัจจุบันจำนวน 2 กลไก กลไกแรกคือ กลไกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ที่มีทั้งภารกิจและงบประมาณกระจายอยู่ครอบคลุมทั้งประเทศ และ กลไกที่สองคือ กลไกอาสาสมัครของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งครอบคลุมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อันเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาในการควบคุมยาสูบและยาเสพติดมากที่สุด สำหรับกลไกที่ 1 กลไกกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (local health insurance funds) เป็นกลไกที่เกิดจากการที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 มาตรา 47 ทั้งนี้กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ที่ สปสช. แต่งตั้งทำหน้าที่ในการบริหารจัดการกองทุนฯ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ทำให้เกิดการกระจายอำนาจ (decentralize) ลดบทบาทของรัฐส่วนกลางในการดำเนินการเอง โดยเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนเป็นเจ้าของ (ownership) และมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาสุขภาพระดับพื้นที่หรือสุขภาพชุมชนบนพื้นฐานของความร่วมมือและการร่วมบริหารจัดการระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล ประชาชน และหน่วยงานสาธารณสุขมากขึ้น ส่วนกลไกที่ 2 คือ กลไกอาสาสมัครของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งครอบคลุมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้อันเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาบุหรี่และยาเสพติดมากที่สุด ปัจจุบันศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) มีกลไกอาสาสมัครทำงานในพื้นที่หลายรูปแบบ โดยรูปแบบหนึ่งเรียกว่า บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิ ที่มีจำนวนบัณฑิตอาสาฯ 2,237 คน จากจำนวนหมู่บ้าน 2,249 หมู่บ้าน โดยศอบต. มีเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและการว่างงานในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการพัฒนาศักยภาพบัณฑิตให้เป็นผู้นำรุ่นใหม่ และนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ให้ประชาชนในหมู่บ้าน ทำหน้าที่เป็นผู้แทน ศอ.บต. ประจำหมู่บ้านในการดูแลและประสานการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ใน 3 ภารกิจหลักคือ (1) ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์งานพัฒนาของ ศอ.บต. (2) ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลของหมู่บ้าน/ตำบล เพื่อใช้ในการบริหารงานของ ศอ.บต. และ (3) ปฏิบัติงานสนับสนุนภารกิจของ ศอ.บต. และปฏิบัติภารกิจงานที่จังหวัดและอำเภอมอบหมาย ซึ่งเป็นการสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้านและทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก
กรอบแนวคิดในการดำเนินงานเป็นการพัฒนาขีดความสามารถของกลไกระดับท้องถิ่น 2 กลไก คือ (1) กองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (2) บัณฑิตอาสาพัฒนามาตุภูมิของศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) เพื่อก่อให้เกิดความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายสุขภาพในระดับจังหวัดและระดับตำบล และเพิ่มจำนวนนักขับเคลื่อนจิตอาสาที่สามารถพัฒนาแผนงาน หรือ โครงการสำหรับการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากปัญหาสุรา ยาสูบและยาเสพติด โดยมีผลลัพธ์ที่สำคัญคือ ได้รูปแบบการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพจากสุรา ยาสูบ และสารเสพติด การผลิตองค์ความรู้ การเกิดนวัตกรรม การมีมาตรการควบคุม/ขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง และการสร้างนโยบายสาธารณะต่อไปได้
การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
18 ก.พ. 61 | ประชุมพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยง (อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา) | 6 | 9,500.00 | ✔ | 9,500.00 | |
5 ต.ค. 61 | การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพกองทุน และพัฒนาข้อเสนอโครงการการจัดการปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ | 96 | 30,050.00 | ✔ | 30,050.00 | |
4 พ.ย. 61 | ประชุมเพื่อพัฒนาและปรับข้อมูลแผนและโครงการของกองทุนฯ อำเภอจะนะ | 6 | 8,090.00 | ✔ | 8,090.00 | |
รวม | 108 | 47,640.00 | 3 | 47,640.00 |
โครงการเข้าสู่ระบบโดย สุทธิพงษ์ อุสาหะพงษ์สิน เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2561 16:13 น.