directions_run

ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและบริโภคผักปลอดภัยในครัวเรือนบ้านใสประดู่ ตำบลเขาปู่ อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง

แบบการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของโครงการ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคน กลุ่มคน เครือข่าย (เช่น มีความรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีศักยภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

การเปลี่ยนแปลงที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า 1.คนในชุมชนได้ปลูกผักผลไม้ปลอดสารเคมีเพิ่มมากขึ้น 2.คนในชุมชนได้บริโภคผักผลไม้ปลอดสารเคมีทุกครัวเรือน 3.คนรับรู้สถานการณ์และเกิดความกลัวถึงอันตรายของสารเคมีตกค้าง การเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดไว้ล่วงหน้า 1.คนมีความคิดที่จะปลูกผักปริมาณเพิ่มมากขึ้นเพื่อทำเป็นอาชีพเสริมหรือยึดเป็นอาชีพหลักได้สำหรับบางครัวเรือน 2.มีการทำตามกันหลังจากที่เห็นคนอื่นทำแล้วเกิดผลสำเร็จ

การเปลี่ยนแปลงที่คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า 1.จากการให้ความรู้กับคนในชุมชน ปรากฎว่าคนในชุมชนมีการปลูกผักและผลไม้ปลอดสารเคมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในแต่ละครัวเรือนมีการปลูกไม่น้อยกว่า5ชนิด 2.ทุกครัวเรือนได้บริโภคผักและผลไม้ปลอดสารเคมีทุกครัวเรือนถึงแม้บางครัวเรือนไม่ได้ปลูกแต่ก็ได้บริโภคผักจากครัวเรือนอื่นในชุมชน ซึ่งมีการวางขายในตลาดชชุมชน(ตลาดผักผลไม้ปลอดสารเคมี บ้านใสประดู่) 3.คนมีความตระหนักในการเลือกซื้อผักในชุมชนที่ปลอดจากสารเคมีบริโภคและลดการใช้สารเคมีในสวนผลไม้และสวนยางพารา   การเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดไว้ล่วงหน้า 1.มีการปลูกผักเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อขยายสินค้าปลอดสารเคมีออกสู่ตลาดชุมชนนอกพื้นที่ เช่นตลาดผักสวนไผ่ขวัญใจ ตลาดผักโรงพยาบาลควนขนุน 2.เมื่อเห็นคนอื่นทำแล้วประสบผลสำเร็จก็เกิดความคิดที่จะทำด้วย จึงทำให้มีครัวเรือนปลูกผักเพิ่มอย่างต่อเนื่องแต่บางครัวเรือนยังไม่ได้ทำตามกฎกติกากลุ่มเพราะไม่ได้อยู่ในครัวเรือนเป้าหมายจึงยังไม่ได้ทำตามกฎกติกาของกลุ่ม

1.มีแปลงผักอยู่รอบๆบ้านในแต่ละครัวเรือน 2.มีการแลกเปลี่ยนซื้อขายผักและผลไม้ปลอดสารเคมีจากในชุมชนโดยมีตลาดนัดในชุมชนสัปดาห์ละ2ครั้ง คือตลาดเช้าวันจันทร์ และตลาดเช้าวันศุกร์ 3.ปริมาณการใช้สารเคมีในสวนผลไม้และสวนยางพาราลดลง 4.ความถี่ของรถเร่ขายผักและสินค้าสดเริ่มลดน้อยลงหรือแทบจะไม่มีรถเร่เข้ามาในชุมชนแล้วในทุกวันนี้

1.ส่งเสริมให้มีการปลูกและบริโภคผักผลไม้ปลอดสารเคมีเพิ่มมากขึ้น 2.ส่งเสริมให้มีการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า และแก้ปัญหาราคาสินค้าตกต่ำ 3.ส่งเสริมให้มีการขยายพันธ์/เก็บเมล็ดพันธ์ไว้ปลูกเอง

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (เช่น เกิดนโยบาย เกิดข้อตกลงชุมชน เกิดมาตรการทางสังคม)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

การเปลี่ยนกลไก และกระบวนการในชุมชนที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (เช่น เกิดกลุ่ม ชมรม เครือข่าย เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

1.มีการประชุมคณะทำงานทุกๆเดือนอย่างน้อยเดือนละ1ครั้ง 2.มีการทำงานในรูปแบบกลุ่มโดยมีโครงสร้างกลุ่มอย่างเห็นได้ชัด 3.มีกติกาข้อตกลงร่วมกัน 4.มีการติดต่อประสานงานเชื่อมโยงกันระหว่างกลุ่ม 5.มีการติดตามประเมินผลและวิเคราะห์ปัญหา

มีกาารประชุมเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นรวมทั้งการหาแนวทางแก้ไขปัญหาต่างๆของแต่ละกลุ่ม โดยยึดถือเอากติกากลุ่มเป็นหลักและวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ถูกจุดต่อไป

มีการบันทึกวาระการประชุม/มีการบริหารจัดการกลุ่มและมีโครงสร้างกลุ่มที่ชัดเจน/มีกติกากลุ่มร่วมกันเพื่อยึดถือปฎิบัติ/มีเวทีแลกเปลี่ยนเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา

1.เพิ่มศักยภาพสภาผู้นำ/แกนนำกลุ่ม 2.สร้างกฎกติกาในเรื่องการเลิกการใช้สารเคมีในสวนผลไม้และสวนยางพารา 3.เชื่อมโยงกับเครือข่ายภายนอกเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนเก๖รกรสู่การทำเกษตรสีเขียวอย่างยั่งยืน