directions_run

อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายประพาส แก้วจำรัส

ชื่อโครงการ อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-01856 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คณะทำงานมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์คลอง (2) คลองนาโอได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีชีวิต

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวทีทำความเข้าใจโครงการ (2) ศึกษาดูงานการจัดการและอนุรักษ์คลอง (3) จัดทำข้อมูลคลอง (4) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 1 (5) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่2 (6) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 3 (7) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 5 (8) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 4 (9) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 6 (10) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 7 (11) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 8 (12) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 9 (13) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 10 (14) เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 1 (15) เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 2 (16) เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 3 (17) ทำฝายมีชีวิต และท่าน้ำ (18) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 1 (19) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 3 (20) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 2 (21) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 4 (22) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 5 (23) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 6 (24) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 7 (25) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 8 (26) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 9 (27) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 10 (28) ปล่อยพันธ์ุปลา  ครั้งที่1 (29) ปล่อยพันธุ์ปลา ครั้งที่ 2 (30) ปล่อยพันธุ์ปลา ครั้งที่ 3 (31) เวทีคืนข้อมูลคลองนาโอ่ (32) เวทีกำหนดกติการชุมชนในการอนุรักษ์คลอง (33) เวทีประกาศข้อตกลง"ปฏิญญาร่มเมือง" (34) จัดทำกองทุนอนุรักษ์คลอง (35) เวทีสรุปบทเรียนการจัดการและอนุรักษ์คลองนาโอ่ (36) เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1 (37) เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2 (38) เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

เล่าขานสืบต่อกันมาว่า คำว่า “ ร่มเมือง ” ซึ่งเป็นชื่อของตำบลนั้น มาจากสมญานาม ของทุเรียนต้นใหญ่ และให้ผลดกที่สุดในตำบล โดยสืบเนื่องจากเมื่อประมาณกว่าร้อยปีมาแล้ว ณ พื้นที่กลาง  กลุ่มบ้าน ซึ่งอยู่ในหมู่ที่ 5 ปัจจุบัน เป็นแหล่งที่หลากหลายด้วยไม้ผลนานาชนิด ได้แก่ ต้นทุเรียน ลางสาด เงาะ ฯลฯ และที่โดดเด่นที่สุด คือ มีทุเรียนพันธุ์พื้นเมืองต้นหนึ่ง ที่มีลำต้นโตประมาณ 2 - 3 คนโอบ สูงประมาณ 20 - 25 เมตร แผ่กิ่งก้านสาขาออกไปโดยรอบ ข้างละประมาณ 10 - 15 เมตรปกแผ่ให้ความร่มเย็นเป็นบริเวณกว้างเสมือนร่มใหญ่ และที่พิเศษยิ่งไปกว่านั้น แต่ละปีทุเรียนต้นนี้จะมีผลดกจึงทำหน้าที่เสมือนแม่พันธุ์ที่ดีของทุเรียนในย่านนี้ ประชาชนจึงพากันเรียกขานทุเรียนต้นนี้ว่า “ ไม้ร่มเมือง ” หรือ “ แม่ร่มเมือง ” ต่อมาเมื่อมีการประกาศจัดตั้งเป็นตำบล จึงนำคำว่า “ ร่มเมือง ” มาเป็นชื่อและใช้ชื่ออันเป็นมงคลนี้มา เป็นชื่อตำบลจนถึงปัจจุบันตำบลร่มเมืองอำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอเมืองพัทลุง    ซึ่งกระทรวงมหาดไทย มีนโยบายที่จะพัฒนาและส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยมีนโยบายที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การกระจายอำนาจการปกครองสู่ท้องถิ่นในระดับพื้นฐาน คือ  “ ตำบล ” ซึ่งรูปธรรมที่ชัดเจนในนโยบายดังกล่าว คือ การประกาศใช้พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ซึ่งมีผลทำให้สภาตำบลมีฐานะเป็นนิติบุคคล และยกฐานะ  สภาตำบลที่มีรายได้เข้าหลักเกณฑ์ที่จัดตั้งเป็นหน่วยบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเรียกว่า “ องค์การบริหารส่วนตำบล ” และตำบลร่มเมือง ก็ได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2540 มีหมู่บ้านในเขตพื้นที่รับผิดชอบ รวม 9 หมู่บ้าน และได้ยกฐานะเป็นเทศบาลตำบลร่มเมือง เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552 มีจำนวนประชากร 5,202 คน จำนวนครัวเรือน 1,637 ครัวเรือน การประกอบอาชีพของคนในชุมชนส่วนใหญ่ อาชีพหลักคือ เกษตรกร (สวนยางพารา สวนผลไม้ ทำนา ปลูกพืชไร่ )และมีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลนาท่อม อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสมหวัง อำเภอกงหรา จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลท่าแค อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลอ่างทอง กิ่งอำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง หมู่ที่ ชื่อบ้าน จำนวนครัวเรือน จำนวนประชากร รวม ชาย หญิง
1 บ้านโหล๊ะพันหงษ์ 218 357 381 738 2 บ้านบ่อโพธิ์ 149 213 233 446 3 บ้านหูแร่ 78 121 122 243 4 บ้านนาโอ่ 285 455 467 922 5 บ้านร่มเมือง 207 325 327 652 6 บ้านยางยายขลุย 152 225 227 452 7 บ้านลำ 212 301 336 637 8 บ้านป่าตอ 174 271 302 573 9 บ้านนาภู่ 162 257 282 539 รวม 1,637 2,525 2,677 5,202

ที่มา :จำนวนประชากรได้ยึดข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์อำเภอเมืองพัทลุง
ประวัติหมู่บ้าน หมู่ที่ 1 บ้านโหล๊ะพันหงส์
ประวัติของหมู่บ้านโหล๊ะพันหงส์ ตามที่ผู้เฒ่าเล่าต่อๆ กันมา แต่ก่อนบ้านนี้เป็นป่าใหญ่ดึก  ดำบรรพ์
มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย และมีฝูงช้างมาอาศัยอยู่ในที่แห่งนี้ มีแม่ช้างเชือกหนึ่งที่เป็นใหญ่ในฝูงช้างนั้น และแม่ช้างเชือกนั้นสวยงามมาก คนที่อยู่อาศัยในบริเวณแห่งนี้ได้เรียกช้างเชือกนั้นว่า  “ อีพังหงส์ ” ต่อมาช้างพังเชือกนั้นได้ล้ม(ตาย) ลงที่ในโหล๊ะริมคลองใหญ่ ต่อมาชาวบ้านเขาตั้งชื่อบ้านแห่งนี้ว่า “ บ้านโหล๊ะพังหงส์ ”โหล๊ะ หมายถึง แหล่งที่ตายของช้างในที่ลุ่มริมคลอง พัง หมายถึง ช้างตัวเมีย หงส์ หมายถึง ความงามของช้าง จึงรวมเรียกว่า บ้านโหล๊ะพังหงส์ ต่อมาคนรุ่นหลัง เขาเรียกเพี้ยนไปจาก “ พังหงส์ ” เป็น “ พันหงส์ ” และเมื่อปี พ.ศ. 2531 ก็มีกรรมการหมู่บ้านได้ปรึกษา ตกลงใจกัน ได้จัดทำรูปเหมือนช้างพังขึ้นไว้ที่ศาลาอ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้านโหล๊ะพันหงส์ เพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้านนี้ต่อไปในวันข้างหน้า ให้เด็กรุ่นหลังได้รู้เรื่องของช้างที่ทำไว้กับปูนว่าเป็นช้างเจ้าของชื่อหมู่บ้านแห่งนี้หมู่บ้านแห่งนี้ตั้งมานานประมาณ 200 ปี และรูปปั้นช้างที่ทำไว้ได้บรรจุกระดูก ของช้างเชือกนั้นไว้ด้วย หมู่ที่ 2 บ้านบ่อโพธิ์
เมื่อประมาณ 2 ศตวรรษ (200 ปี) ที่ผ่านมาชาวบ้านสมัยนั้น เรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “ เกาะทวดไชยสุริ ยวงศ์ ” ตามความเชื่อเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนกราบไหว้บูชาบนบานสานกล่าว จุดบริเวณ  ที่เป็นเกาะไชยสุริยวงศ์เป็นเนินสูง มีป่าทึบขึ้นเป็นหย่อมๆ รอบๆ เป็นที่นา ผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้น คือ  นายช่อ อินสุวรรณ ประมาณปี พ.ศ. 2455 หลังจากนั้นประมาณ 70 ปี จนถึงปี พ.ศ. 2525 มีการเปลี่ยนผู้นำตามยุคสมัย จนมาถึงสมัยของผู้ใหญ่บ้าน นายสิน ช่วยเนียม เป็นผู้นำคนรุ่นใหม่เป็นนักพัฒนา มีวิสัยทัศน์กว้างไกล ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ บ้านบ่อโพธิ์ ” ตามกรมการปกครองเดิมที่ชาวบ้านเรียก “ นาราโพ ” และเพี้ยนมาเป็นบ่อโพธิ์จนถึงปัจจุบัน หมู่ที่ 3 บ้านหูแร่ บ้านหูแร่ หมูที่ 3 ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง มีประวัติว่า ณ คุ้งน้ำจุดหนึ่ง ที่ชายฝั่ง
มีดินเป็นลูกรังที่แข็งแกร่ง ลูกรังนี้อยู่ตรงมุมของหมู่บ้านและมุมนั้นชาวบ้านสมัยก่อนเรียกว่า  “ หู ” จึงเสมือนว่าหมู่บ้านนี้มีมุมหรือหูของหมู่บ้านเรียกว่า “ หน้าท่าหรัง ” ตามความเข้าใจของชาวบ้านถือว่า “ ลูกรัง ” หรือ “ หรัง ” เป็นแร่ชนิดหนึ่ง และเหตุที่จุดบริเวณนี้เป็นหูที่มีแร่ ผู้ที่สัญจรไปมา  จึงเรียกว่า “ บ้านหูแร่ ” และเพี้ยนมาเป็นหูแร่จนถึงทุกวันนี้ หมู่ที่ 4 บ้านนาโอ่ เมื่อประมาณ 100 ปี ที่ผ่านมาได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง ได้เข้ามาบุกเบิก หักร้างถางพงเพื่อปรับสภาพพื้นที่ เพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ โดยมีครอบครัว “ นางทองโอ่ ” เป็นครอบครัวแรกที่บุกเบิกเพื่อใช้เป็นที่นา ต่อมาได้มีคนอพยพเข้ามาอาศัยอยู่เพิ่มมากขึ้น โดยประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก ประชาชนจึงเรียกพื้นที่บริเวณนี้ว่า “ ที่นาแม่ทองโอ่ ” ต่อมาชื่อ “ ที่นาแม่ทองโอ่ ” ก็ได้เรียกชื่อเพี้ยนไป และได้เรียกสั้นๆ จนติดปากว่า “ นาโอ่ ” จนมาถึงในปัจจุบัน หมู่ที่ 5 บ้านร่มเมือง เหตุผลที่เรียกว่า “ บ้านร่มเมือง ” เมื่อประมาณ 300 ปี ที่ผ่านมา ได้มีต้นไม้ชนิดหนึ่ง คือต้น
“ทุเรียน” ซึ่งเป็นต้นทุเรียนพื้นเมือง มีกิ่งก้านสาขา ต้นใหญ่โตมีใบปกคลุมเป็นจำนวนมาก สามารถออกดอกออกผล ทำให้คนในหมู่บ้านละแวกนั้น ใช้เป็นที่พักผ่อนและใช้เก็บไม้นั้นเกือบทั้งหมู่บ้าน ซึ่งสมัยนั้นตรงกับ “ ท่านขุนร่มเมืองมัยกิจ ” เป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 5 ตำบลร่มเมืองเป็นคนแรก และต่อมาได้รับเกียรติให้เป็นกำนันตำบลร่มเมืองในเวลาถัดมา และได้ตั้งชื่อหมู่ที่ 5 ว่า “ บ้านร่มเมือง” จำนวนพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลร่มเมือง มีพื้นที่จำนวนมากและต่อมาได้แบ่งแยกออกไปเป็นตำบลอ่างทอง ยังคงเหลือพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลร่มเมือง ซึ่งมีพื้นที่ในปัจจุบันทั้งหมด ประมาณ 1,032 ไร่ ซึ่งพื้นที่ทั้งหมดใช้เป็นพื้นที่เลี้ยงสัตว์และเพาะปลูก มีภูมิประเทศติดกับสายน้ำกั้นกลางระหว่างหมู่บ้าน ซึ่งเรียกว่า “คลองลำ” เป็นสายน้ำที่พี่น้องประชาชนได้อาศัยในชีวิตประจำวันตลอดมา หมู่ที่ 6 บ้านยางยายขลุย คำว่า มาบยาง ซึ่งเป็นชื่อของหมู่บ้านนั้น เนื่องจากมีพื้นที่ในหมู่บ้านนั้นมีลำธารไหลผ่านและบริเวณที่ใกล้ ลำธาร จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้นานาชนิด มีต้นไม้ชนิดที่โดดเด่นและเห็นอย่างชัดเจน คือ ต้นยาง จึงเป็นที่มาของหมู่บ้านมาบยาง และบางครั้งจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บ้านยางยายขลุย เขียนโดย อาจารย์สุชิต ศรีราชยา พิมพ์แจกแก่บุคคลที่มางานพิธีแลองค์ของรูปปั้น “ ยายขลุย ” เมื่อ วันที่ 28 กรกฎาคม 2533 ณ โรงเรียนบ้านยางยายขลุย ซึ่งเขียนเป็นบทกลอน ดังนี้ ศรีศรีขอเขียนสาสน์ ตามตำราสาสน์เล่ามา เลื่องฤอหลายเพลา รุ่นปู่ย่าเคยได้ยิน ตำนานยางยายขลุย ค้นขุดคุ้ยไม่สูญสิ้น ก่อนการมานานนิล อนุชนควรสนใจ ยังมียายกับตา ครองรักมาผุดผ่องใส ถิ่นฐานของท่านไซร้ บ้าน “ ตาลก ”ใช่หกเลย ตาลกแอบมีชู้ ยายขลุ่ยรู้เรื่องเปิดเผย อย่าอยู่ต่อไปเลย โอ้อกเอ๋ยจำจากไกล เสียทองสักเท่าหัว ไม่เท่าผัวมีเมียใหม่ ดับห่อช่อพานไว มุ่งดงยางเดินทางมา ปลูกขนำทำนากิน มีอาสินธ์แน่นหนักหนา กลางดงมีธารา กุ้งปูปลามากมายกิน “ มาบยาง ” น้ำสดใส ชื่อปรากฏ จนบัดนี้ ยายอยู่สบายดี สุขสดชื่นทุกคืนวัน ตาลกตกพุ่มหม้าย คิดถึงยายรีบผายผัน งอนง้อขอดีพลัน กลับเคหาเถิดยาใจ เมียจ่าอย่าเพิงโกรธ พี่ขอโทษโปรดอภัย ที่แล้วให้แล้วไป คิดว่าฝันอันตธาน พี่ยังรักน้องอยู่ ไม่เจ้าชู้ขอสาบาน ฝ่ายยายตลีตลาน เฒ่าตาลกตลบแตลง ไม่อยากจะคืนดี ดังวจีถ้อยแถลง โลเลรักเสแสร้ง สิ้นสุดกันวันนี้หนา ตาลกสุดจะคิด หักห้ามจิตดับโทสา โมโหและโกรธา กระโจนคว้าฉุดครายาย ยายขลุยตกใจตื่น ฉันไม่ไปร้องวี๊ดว้าย ตาลกไม่ไม่วางยาย ฉุดกระชากลากเดินทาง ดั้นด้นลากแนวไพร ถึงป่าใหญ่ใกล้วัดกลาง เห็นยายไม่ขัดขวาง “ เกาะตาวาง ” จึงวางมือ ยายขลุยไม่รีรอ รีบวิ่งปร๋อรวดเร็วปรี๋อ ตาลกครวญครางหือ กล้วยหลุดมือเข้าปากลิง ชาตินี้หมดแล้วหนอ จะร่วมหอกับยอดหญิง อนิจจังสังเวชจริง ช้ำใจนักรักเป็นหมัน ฝ่ายยายวิ่งยกย่าง มาถึงทางสองแพรกพลัน เหลียวหลังหลัวตาทัน “ เกาะยายหัน” ชื่อบ้านมี ตะวันก็โพล้เพล้ ยาชวนเซตั้งหน้าหนี ไม่คิดถึงชีวี จนเป็นลมล้มลงไป “ ยายล้ม”นามหมู่บ้าน กล่าวเรียกขานชื่อบ้านใหม่ ครั้นฟื้นขึ้นมาไว จึงเดินทางกลับยางเดิม อาศัยป่ายางนี้ ชุ่มชีวีช่วยส่งเสริม คนแรกผู้ริเริ่ม “ ยางยายขลุย ” ตามเล่ามา ลูกหลานคิดคำนึง ระลึกถึงทุกเวลา จึงปั้นรูปบูชา ดวงวิญญายายขลุยเอย ปัจจุบัน จึงมีคนเรียกหมู่ที่ 6 ตำบลร่มเมือง ว่าบ้านมาบยางและบ้านยางยายขลุย ใครจะเรียกใดก็ไม่ผิด เพราะทั้งสองชื่อเรียกหมู่ที่ 6 ตำบลร่มเมือง อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง หมู่ที่ 7 บ้านลำ “ ลำ ” หมายถึง หน่วยนับของเรือ “ มาบ” หมายถึง ทางน้ำไหลเชื่อมระหว่างแหล่งน้ำขนาดใหญ่เข้าด้วยกันมีน้ำไหลผ่านเฉพาะหน้าฝนที่มี น้ำหลาก “ หาน ” หมายถึง แหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีน้ำตลอดปี “ ท่า ” หมายถึง ท่าน้ำ มีสำหรับให้ยานพาหนะทางน้ำ จอดรับส่งบุคคลหรือสิ่งของ “ ท่า ” เป็นภาษาท้องถิ่นชาวใต้ หมายถึง พบหรือเจอ บุคคล สัตว์ หรือสิ่งของ บ้านลำ ในอดีตมีอาณาเขตกว้างขวาง ปัจจุบันพื้นที่บางส่วนถูกแยกไปขึ้นกับเขตการปกครองตำบลอ่างทอง อำเภอศรีนครินทร์บางส่วน และเขตการปกครองของหมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมืองบางส่วน บ้านลำ มีลำคลองไหลผ่าน มีน้ำตลอดปี ในอดีตการคมนาคมไม่สะดวก ประชาชนสัญจรโดยใช้เรือในลำคลอง เพื่อไปมาหาสู่ซึ่งกันและกันในสมัยก่อนมีเรื่องเล่ากันว่า ในหานเคียน มีเรือโบราณลำหนึ่งจมอยู่ และภายในเรือมีอ่างบรรจุทองคำ เล่ากันว่า มีผู้ชำนาญด้านไสยเวทย์ สามารถใช้เวทมนต์เรียกเรือลำดังกล่าว ให้ขึ้นมาปรากฏเหนือน้ำ และใช้ด้ายสายสิญจน์ผูกลำเรือ แล้วให้ผู้คนช่วยกันลากจนใกล้จะพ้นขอบเรือจนเห็นเรือทั้งลำ ขณะที่ลากจูงอยู่นั้น มายังท่าที่เด็กเล่นน้ำอยู่ เด็กๆ เห็นเรือแปลก ที่มีคนลากจูงเรือลำนั้นด้วยเส้นด้าย เส้นเล็ก ๆ จึงร้องทักขึ้น จึงทำให้เรือขาดจากด้าย (ขาดจากการควบคุมด้วยเวทย์มนต์) เรือลำดังกล่าวถอยหลังกลับไปจมอยู่ในหานเคียนตราบเท่าทุกวันนี้ คำว่า “ ลำ ” สันนิษฐานมาจากคำว่า “ ท่าเรือหนึ่งลำ ” ที่เด็กๆ เห็น แล้วร้องทัก ต่อมาเรียกสั้นๆว่า  “ ท่าลำ ” และเหลือเพียงคำว่า “ ลำ ” ในที่สุดบ้านลำ ประกอบด้วยกลุ่มบ้านย่อยๆ 4 กลุ่มบ้าน ประกอบด้วย - กลุ่มบ้านโพธิ์ - กลุ่มบ้านกลาง - กลุ่มบ้านโคกดันหมี - กลุ่มบ้านมาบยาง หมู่ที่ 8 บ้านป่าตอ บ้านป่าตอ เป็นหมู่บ้านเก่าแก่หมู่บ้านหนึ่ง มีอายุนานถึง 200 ปี เหตุที่ชื่อบ้านป่าตอเนื่องจาก พื้นที่แห่งนี้ สมัยก่อนมีต้นตอมากมายขึ้นอยู่ทั่วไป (ต้นสะตอ ชาวปักษ์ใต้เรียกสั้นๆว่า ต้นตอ ) เมื่อมีต้นตอมาก ๆ เรียกว่าป่าตอ เลยนำมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้านว่า “ บ้านป่าตอ ” จนถึงปัจจุบัน
หมู่ที่ 9 บ้านนาภู่ บ้านนาภู่ หมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมือง เป็นหมู่บ้านที่แยกมาจากหมู่ที่ 7 บ้านลำ ตำบลร่มเมือง  เมื่อ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2538 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรก ชื่อ นายปรีชา เพชรสง ชาวบ้านเรียกติดปากว่า บ้านนาภู่ จากตำนานที่เล่าต่อกันมาว่า มีน้ำพุไหลพุ่งออกมาที่กลางทุ่งนา จากเหตุการณ์ดังกล่าว จึงทำให้ชาวบ้านเรียกทุ่งนาบริเวณนี้ว่า “ ทุ่งนาพุ ” ต่อมาเรียกเพี้ยนว่า “ ทุ่งนาภู่ ” แต่ชื่อหมู่บ้านตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 ยังใช้ชื่อเรียกว่า บ้านลำบ้านนาภู่ หมู่ที่ 9 ตำบลร่มเมือง เป็นพื้นที่เหมาะกับการทำการเกษตร มีทั้งที่นา ที่สวน ที่เลี้ยงสัตว์ และยังมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำนานาชนิด ชาวบ้านอาศัยอยู่ดีมีสุขตลอดมา แม้ในสมัยก่อน บ้านลำการเดินทางโดยทางเรือการเดินทางลำบากมาก แต่ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีมีการพึ่งพาอาศัยกันอย่างเป็นญาติพี่น้อง อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข หลังจากนั้น ในปี พ.ศ.2528 รัฐบาลเล็งเห็นความสำคัญของเส้นทางถนนหัวถนนท่านช่วย - ทุ่งนาชี จึงจัดสรรงบประมาณสร้างสะพานข้ามคลองลำขึ้น ทำให้ประชาชนในหมู่ที่ 9 มีสะพาน ไฟฟ้าใช้ การเดินทางสะดวกขึ้น ในอดีตชุมชนร่มเมืองมีคลองโอที่เป็นสายคลองหลักการดำรงชีวิตที่อยู่อย่างสอดคล้องกับ ธรรมชาติในท้องถิ่นน้ำดื่มน้ำใช้ก็ใช้น้ำในลำคลอง แต่ละย่านบ้านก็จะมีท่าน้ำไม่น้อยกว่า 12ท่า ได้แก่ ท่าตรอ เป็นท่าที่เป็นแหล่งน้ำดื่มของคนในชุมชน ท่าทอนมุด ท่าหลุมพอ ท่าหรั่งอยู่บริเวณวัดนาโอ่ และสายคลองแห่งนี้ยังเป็นสายคลองการเดินทางค้าขายสำคัญของคนต่างชุมชน อย่างคนชะรัดล่องเรือจะมาพักและขึ้นท่าที่ตลาดนาท่อม เรือที่ใช้สมัยก่อน เป็นเรือพายหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าเรือเถาะ ซึ่งเรือที่ใช้กันจะมาจากภายนอกชุมชน ด้วยพื้นที่นาท่อมที่มีความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรและสายน้ำการอยู่การกินของชุมชนจึงจะพึ่งพาธรรมชาติปลาก็หาในลำคลอง ปลาที่มีในอดีตมีหลายหลายชนิดและปริมาณที่มาก ได้แก่ ปลาแก้มชำ ปลาตะเพียน ปลาช่อน ปลาฉลาด ปลาโสด และปลาทิง เป็นต้น พืชผักริมคลองมีหลากหลาย ได้แก่ ผักหนาม ผักกูด ย่านนาง ต้นคล้าย ไม้ไผ่หลากหลายพันธุ์ที่ดินสองฝั่งคลองได้แก่ ไผ่กำหยาน ไผ่สีสุก ไผ่ตง ไผ่รวก ซึ่งชาวบ้านจะนำหน่อไม้ไผ่มาทำอาหาร ไม้ไผ่ทำเครื่องมือเครื่องไม้ใช้สอย และไผ่บาง เป็นไผ่ที่เกี่ยวกับความเชื่อที่หมอตำแยจะนำไปใช้ตอนทำคลอดในสมัยก่อนการประกอบอาชีพมีการทำนาปลูกข้าวไว้กินเอง และพืชท้องถิ่นอีกชนิดหนึ่งที่ขึ้นชื่อและโดดเด่นมาถึงปัจจุบัน คือ พลู ในอดีตเป็นการปลูกพลูพันธุ์เบา เก็บขายเป็นกำ 5 กำ ราคา 1 สตางค์
การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในอดีต.ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาโดยการดูดทรายในลำคลอง เพื่อนำไปก่อสร้างถนนสายควนขนุน (ตาพันธุ์) เริ่มมีถนนหนทางและไฟฟ้าเข้ามามีสินค้าอุปโภคบริโภคที่เน้นความสะดวกสบายเข้ามาจำหน่ายในหมู่บ้าน ได้แก่ ผงซักผ้า ยี่ห้อแฟ้บ สบู่ยี่ห้อนกแก้ว น้ำประปาเข้ามาแทนการอาศัยน้ำในลำคลอง และมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้การเร่งปริมาณการผลิต เช่นการใช้ปุ๋ยเคมีในการทำนา ทำสวนยางพารา มีการซื้อขายกันมากขึ้นส่งผลให้มีการเร่งผลิตและหาทรัพยากรในท้องถิ่นเพิ่มขึ้น มีการใช้เครื่องมือผิดกฎหมายในการหาปลา ได้แก่ การวางยาเบื่อ ช็อตปลา เป็นต้นต่างก็ส่งผลให้ทรัพยากรลดจำนวนและปริมาณอย่างรวดเร็ว น้ำในลำคลองจากแต่ก่อนใสก็คลายเป็นน้ำเสียไม่สามารถดื่มกินได้หรือบางปีหากลงไปก็จะมีอาการคัน เนื่องจากมีการทิ้งทั้งของเสีย ปฏิกูลลงสู่ลำคลอง จากคลองที่กว้างสมบูรณ์ร่มรื่นด้วยพันธุ์ไม้ กลายเป็นสายคลองที่ถูกทิ้ง มีต้นไม้กิ่งไม้กีดขวางลำคลอง พันธุ์ไม้พื้นถิ่นที่คอยป้องกันการพังทลายของหน้าดินก็โดนทำลาย จากผลกระทบการดูดทราย ท้องคลองลึกและบางจุดก็มีการทับถมของตะกอนให้ตื้นเขิน  ได้มีการจัดการน้ำโดยการสร้างนบไพ เพื่อให้คนในพื้นที่ได้นำน้ำมาใช้และสร้างความชุ่มชื่นแก่พื้นที่แต่ผลที่เกิดขึ้นกลับเป็นปัญหาอีกปัญหาที่สำคัญหากการปิดนบไพจะทำให้น้ำไม่ได้ไหลผ่านส่งผลให้น้ำนิ่งหรือเรียกว่าน้ำตาย ทำให้น้ำเสีย แต่เมื่อมีการเปิดนบไพคนในชุมชนเองไม่มีโอกาสได้ใช้น้ำทางชุมชนร่มเมืองร่วมด้วยแกนนำชุมชนทั้งท้องที่และท้องถิ่นพร้อมด้วยชาวบ้านต่างตระหนักถึงความสำคัญ สาเหตุและผลกระทบของลำคลอง จึงมีการระดมความคิดเห็นที่ต้องการจะฟื้นฟูรักษาคลองนาโอให้มีชีวิตและยั่งยืน จึงเกิดปฏิญญาของคนร่มเมืองขึ้นว่า การดำเนินงานในพื้นที่จะต้องได้รับความเห็นชอบและดำเนินการเองของคนร่มเมือง

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้คณะทำงานมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์คลอง
  2. คลองนาโอได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีชีวิต

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 1
  2. เวทีทำความเข้าใจโครงการ
  3. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่2
  4. ปล่อยพันธ์ุปลา ครั้งที่1
  5. เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1
  6. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 3
  7. ศึกษาดูงานการจัดการและอนุรักษ์คลอง
  8. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 1
  9. จัดทำข้อมูลคลอง
  10. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 5
  11. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 4
  12. เวทีคืนข้อมูลคลองนาโอ่
  13. เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 1
  14. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 2
  15. ทำฝายมีชีวิต และท่าน้ำ
  16. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 3
  17. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 4
  18. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 5
  19. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 6
  20. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 6
  21. เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2
  22. ปล่อยพันธุ์ปลา ครั้งที่ 2
  23. เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 2
  24. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 7
  25. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 7
  26. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 8
  27. เวทีกำหนดกติการชุมชนในการอนุรักษ์คลอง
  28. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 8
  29. จัดทำกองทุนอนุรักษ์คลอง
  30. เวทีสรุปบทเรียนการจัดการและอนุรักษ์คลอง ครั้งที่ 1
  31. เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 3
  32. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 9
  33. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 9
  34. เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3
  35. ปล่อยพันธุ์ปลา ครั้งที่ 3
  36. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 10
  37. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 10
  38. เวทีสรุปบทเรียนการจัดการและอนุรักษ์คลองนาโอ่
  39. เวทีประกาศข้อตกลง"ปฏิญญาร่มเมือง"

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ครัวเรือนในพื้นที่ตำบลร่มเม 300
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ครัวเรือนที่มีพื้นที่หัวสว 200

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 1

วันที่ 9 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. หัวหน้าโครงการ กำนัน รายงานผลการอนุมัติโครงการ และแจ้งการร่วมลงนามในสัญญาโครงการ
  2. รองประธาน นายประพิศ ศรีนอง และนายสมบูรณ์ บุญวิสูตร ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ และร่วมแลกเปลี่ยนหาแนวทางในการดำเนินงานระหว่างคณะทำงานและภาคีความร่วมมือที่เข้าร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน คือ โรงเรียนวัดนาโอ๋ เทศบาลตำบลร่มเมือง รพ.สต.บ้านหูแร ส่วนของฝายท้องที่
  3. พี่เลี้ยงแนะนำหน่วยจัดการ โครงการ และ แนะนำสสส. และแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการ
  4. สรุปแนวทางและกำหนดแผนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองด้วยชุมชน ทุกภาคีความร่วมมือพร้อมเข้าร่วมและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสำเร็จ
  2. เกิดกลไกคณะทำงานที่มีความร่วมมือระหว่างชุมชน ฝ่ายท้องที่ ทต.ร่มเมือง โดยมีส่วนหน่วยงานในพื้นที่ เช่น รพ.สต. โรงเรียนวัดนาโอ๋ วัดนาโอ และทางอำเภอเป็นพี่เลี้ยงและร่วมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงาน มีคณะทำงานจำนวน 17 คน
  3. ได้มีการวางแผนการดำเนินงานและลงปฏิทินการดำเนินงานของโครงการ และได้มีการกำหนดเวทีเปิดโครงการ มีการแบ่งบทบาทในการประสานงาน การเตรียมงาน และเชื่อมโยงเรื่องวิถีวัฒนธรรมในการบวชป่าเข้าร่วมในกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกคนรักษ์แม่น้ำลำคลอง
  4. ได้เกิดความรักความสามัคคีและพร้อมร่วมคิดร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนการทำงานสำเร็จาตามเป้าหมาย ผลลัพธ์ได้กำหนดไว้

 

30 0

2. เวทีทำความเข้าใจโครงการ

วันที่ 23 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์พัฒนาคลองวัดโอ่ เพื่อสร้างความเข้าใจ แนวทางการทำงานโครงการและการขับเคลื่อนกิจกรรมร่วมกันทุกภาคส่วน
  2. ประชุมสร้างความเข้าใจกลุ่มผู้นำชุมชน องค์กร กลุ่ม ชมรม ในตำบลร่มเมือง
  3. ประชุมชาวบ้านสร้างความเข้าใจในการขับเคลื่อนกิจกรรม ทั้ง 9 หมู่บ้านเพื่อให้มีการกำหนดภาพอนาคตเป้าหมายเป็นภาพเดียวกัน คือ คลองนาโอ่กลับมามีชีวิตอย่างยั่งยืน
  4. กำหนดบทบาทความรับผิดชอบในการจัดเวที 5.เตรียมสถานที่ ประสานผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เวที่“ร่วมอนุรักษ์คลองนาโอ  ดูแลสายน้ำ  รักษาป่าไม้  ฟื้นฟูระบบนิเวศ คืนสู่ธรรมชาติ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง” ณ สวนป่านาโอ่ มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 142 คน จากภาคส่วนดังนี้ 1.ฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง 2.เทศบาลตำบลร่มเมือง 3.โรงเรียนวัดนาโอ่ ปิปผลิกประชาสรรค์  4.ชมรมผู้สูงอายุบ้านโหล๊ะพันหงส์  5.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโอ่ 6.โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ 7.วัดนาโอ่ 8.ประชาชนตำบลร่มเมือง และมีภาคีภายนอกตำบล คือ 1.นายสมคิด ทองสง 2.เจ้าหน้าที่ป่าไม้จังหวัดพัทลุง โดยมีจัดกิจกรรมเปิดเวที่เสวนาเรื่อง "สายน้ำมีชีวิต" ที่นำบุคคลสำคัญที่จะร่วมสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนและขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการครั้งนี้โดยมี นายประพิศ ศรีนอง รองนายกเทศมนตรีตำบลร่มเมือง เป็นผู้นำเสวนา ร่วมด้วย นายสมคิด ทองสง ภาคีขับเคลื่อนลุ่มน้ำจังหวัดพัทลุง , นายประพาส แก้วจำรัส กำนันตำบลร่มเมือง , นายสมพงษ์  ดอนเพ็งจันทร์ นายกเทศมนตรีตำบลร่มเมือง , นายสมบูรณ์ บุญวิสูตร ตัวแทนคณะกรรมลุ่มน้ำคลองนาท่อม ,และตัวแทนเจ้าหน้าที่ป่าไม้จังหวัดพัทลุง คือ นางสาวนลิน บุญชูศรี และมีการเสริมกิจกรรมที่เป็นศิริมงคลของโครงการ คือ การจัดบวชป่าให้กับต้นไม้ในสวนป่านาโอ่ ซึ่งเป็นพื้นที่สวนป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์ไม้และพืชสมุนไพร และเป็นส่วนหนึ่งของอาณาเขตคลองนาโอ่ ทำให้ประชาชนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้มีเรียนรู้ เห็นความสำคัญของสายน้ำ ป่าไม้ วิถีชีวิต ที่เชื่อมร้อยกันมายาวนานจากอดีต ถึงปัจจุบัน และได้เห็นถึงความสามัคคีของเหล่าผู้นำที่มีแนวคิดการพัฒนาร่วมกันในการดูแลรักษาให้สายน้ำ ต้นไม้ และวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชนในตำบลร่มเมืองมีความสุขตามแบบความพอเพียงของพื้นที่ ประเด็นสำคัญ คือ การเห็นร่วมจากชุมชน ประชาชนในการดูแลสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศน์คลองนาโอ่ที่เป็นสายเลือดที่หล่อเลี้ยงประชาชน คนตำบลร่มเมือง

 

100 0

3. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่2

วันที่ 23 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. หัวหน้าโครงการและตัวแทนรับผิดชอบรายงานกิจกรรมความก้าวหน้าของการดำเนินงานในเวทีสร้างตวามเข้าใจ ประสานงานเตรียมกิจกรรม
  2. แลกเปลี่ยนสถานการณ์และแนวทางการดำเนินงานในการสร้างรู้และความตระหนักในการอนุรักษ์คลองนาโอ
  3. ร่วมกันทบทวนและกำหนดแผนการทำงานครั้งถัดไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานโดยหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการชื่นชมความร่วมมือของทีมทำงานฝ่ายปกครอง เทศบาล และการเข้าร่วมของชุมชนที่เห็นชัดที่นำเอาอาหารปิ่นโตมาร่วมกิจกรรมเสริมจากอาหารที่จัดเลี้ยง
    2.คณะทำงานโดยหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงและคณะทีมทำงานเห็นถึงอุปสรรคในการแบ่งงานที่ยังต้องเสริมกำลังคนเข้ามาช่วยขับเคลื่อนกิจกรรม
  2. เห็นถึงกลไกคณะทำงานแต่ละหมู่บ้านได้สร้างความเข้าใจและชวนชาวบ้านเข้าร่วมโครงการ
    4.มีการรายงานการเบิกจ่ายเงินตามแผนการดำเนินกิจกรรมที่ 1 เวทีสร้างความเข้าใจฯ ตามมติของคณะทำงาน
  3. ดำเนินการแบ่งปันความรับผิดชอบของกิจกรรมปล่อยปลาครั้งที่ 1 ในวันพรุ่งนี้ โดยประเมินสถานการณ์  ได้รับความตอบรับและมีการยืนยันชาวบ้านและภาคีเข้าร่วมในกิจกรรมในเวทีสร้างความเข้าใจ  และได้ทบทวนหน้าที่และสิ่งที่เตรียมของแต่ละทีมงาน ทุกส่วนได้มีการดำเนินการและให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี พร้อมที่จะทำกิจกรรมปล่อยปลาครั้งที่ 1 เพื่อเกิดความสมบูรณ์ของสายน้ำ และเป็นตัวชี้วัดคุณภาพน้ำ

 

30 0

4. ปล่อยพันธ์ุปลา ครั้งที่1

วันที่ 24 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดหาแหล่งพันธุ์ปลาพร้อมขอความอนุเคราะห์พันธุ์ปลา
  2. กำหนดจุดปล่อยพันธุ์ปลาให้มีความสมดุล
  3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนชาวบ้านและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมปล่อยปลา
  4. ดำเนินการปล่อยพันธ์ปลาลงสู่คลอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กิจกรรมในวันนี้ มีจำนวนประชาชนจากหลายภาคส่วนเข้าร่วม โดยมีจำนวน 175 คน จากกลุ่มองค์กรในชุมชน ได้แก่ ชมรม อสม.บ้านหูแร่ , ชมรม อสม.บ้านลำ ,ครูนักเรียนโรงเรียนวัดนาโอ่(ปิปผลิกประชาสรรค์) ,คณะผู้บริหารและพนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลร่มเมือง ,คณะกรรมการกองทุนสวัสดิการตำบลร่มเมือง ,ชมรมผู้สูงอายุ ม.1 บ้านโหลีะพันหงส์  ส่วนที่ 2 กลุ่มบุคคลสำคัญในชุมชน ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลำ  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหูแร่ ท่านอดีตนายกเทศมนตรีตำบลร่มเมืองคือนายสมบูรณ์  บุญวิสูตร  ท่านอาจารย์ห่วง  ฤทธิช่วย ซึ่งเป็นอตีตผู้อำนวยการโรงเรียน โดยเป็นบุคคลที่เคารพของชุมชน และอีกท่านคือ ท่านอาจารย์แปลก พัชรดำรงกุล ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญยิ่่งที่ได้ริเริ่มในการดูแลสวนป่านาโอ่ให้ดำรงความอุดมสมบูรณ์ไว้มาจนถึงทุกวันนี้ และถือเป็นปราชญ์คนสำคัญของตำบลร่มเมือง ซึ่งการปล่อยพันธุ์ปลาครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานประมงจังหวัดพัทลุง จำนวน 20,000 ตัว ได้แก่ พันธุ์ปลาตะเพียนขาว จำนวน 5,000 ตัว  พันธุ์ปลาตะเพียนทอง จำนวน 5,000 ตัว  พันธุ์ปลานวลจันทร์เทศ จำนวน 5,000 ตัว  พันธุ์ปลาหมอ จำนวน 5,000 ตัว ลงในคลองนาโอ่ จำนวน 3 จุด ได้แก่ 1.บริเวณสวนป่านาโอ่  2.บริเวณสะพานวัดกลาง  3.บริเวณสะพานคตคอนกรีต โดยมีการกระจายพันธุ์ปลาออกไปตามพิกัดดังกล่าวของทีมฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง โดยก่อนให้ประชาชนปล่อยพันธุ์ปลา ได้มีการให้ความรู้ความสำคัญของสัตว์น้ำที่อาศัยในคลอง เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการดูแลคุณภาพน้ำที่อยู่ในลำคลองนาโอ่ให้มีความสะอาด ไม่มีขยะ ไม่ปล่อยสารเคมี หรือใช้สารเคมีบริเวณที่ดินหัวสวนเพื่อป้องกันการซึมผ่านชั้นดินสู่คลอง

 

150 0

5. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 3

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. หัวหน้าโครงการ กำนัน รายงานผลการอนุมัติโครงการ และแจ้งการร่วมลงนามในสัญญาโครงการ
  2. รองประธาน นายประพิศ ศรีนอง และนายสมบูรณ์ บุญวิสูตร ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ และร่วมแลกเปลี่ยนหาแนวทางในการดำเนินงานระหว่างคณะทำงานและภาคีความร่วมมือที่เข้าร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน คือ โรงเรียนวัดนาโอ๋ เทศบาลตำบลร่มเมือง รพ.สต.บ้านหูแร ส่วนของฝายท้องที่
  3. พี่เลี้ยงแนะนำหน่วยจัดการ โครงการ และ แนะนำสสส. และแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการ
  4. สรุปแนวทางและกำหนดแผนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองด้วยชุมชน ทุกภาคีความร่วมมือพร้อมเข้าร่วมและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสำเร็จ
  2. เกิดกลไกคณะทำงานที่มีความร่วมมือระหว่างชุมชน ฝ่ายท้องที่ ทต.ร่มเมือง โดยมีส่วนหน่วยงานในพื้นที่ เช่น รพ.สต. โรงเรียนวัดนาโอ๋ วัดนาโอ และทางอำเภอเป็นพี่เลี้ยงและร่วมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงาน มีคณะทำงานจำนวน 17 คน
  3. ได้มีการวางแผนการดำเนินงานและลงปฏิทินการดำเนินงานของโครงการ และได้มีการกำหนดเวทีเปิดโครงการ มีการแบ่งบทบาทในการประสานงาน การเตรียมงาน และเชื่อมโยงเรื่องวิถีวัฒนธรรมในการบวชป่าเข้าร่วมในกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกคนรักษ์แม่น้ำลำคลอง
  4. ได้เกิดความรักความสามัคคีและพร้อมร่วมคิดร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนการทำงานสำเร็จาตามเป้าหมาย ผลลัพธ์ได้กำหนดไว้

 

30 0

6. ศึกษาดูงานการจัดการและอนุรักษ์คลอง

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. คณะทำงานโครงการประชุมกำหนดสถานที่ วันเวลา และกลุ่มเป้าหมายในการศึกษาดูงาน
  2. ประสานสถานที่แหล่งเรียนรู้การจัดการและอนุรักษ์คลอง ณ ฝายมีชีวิตเหมืองตะกั่ว ตำบลหนองธง อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง
  3. จัดทำเอกสารแจ้งกำหนดการในการเดินทางไปศึกษาเรียนรู้การจัดการและอนุรักษ์คลองให้กับกลุ่มเป้าหมาย
  4. เดินทางไปศึกษาเรียนรู้การจัดการและอนุรักษ์คลอง 5.ประชุมสรุปถอดบทเรียนการไปเรียนรู้การศึกษาการจัดการและอนุรักษ์คลอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้จัดการเรียนรู้การจัดการน้ำพื้นที่จัดการฝาย ณ เหมืองตะกั่ว อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง โดยมีจำนวนผู้เข่าร่วมเรียนรู้การจัดการน้ำโดยใช้ฝายมีชีวิต 62 คน เกินเป้าหมายที่กำหนดเอาไว้ ซึ่งผู้ร่วมเรียนรู้ในครั้งนี้ ได้แก่ 1.ฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง นำทีมโดยกำนันตำบลร่มเมือง นายประพาส แก้วจำรัส พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านอีก 8 หมู่บ้าน 2.เทศบาลตำบลร่มเมือง โดยท่านรองนายกเทศมนตรีตำบลร่มเมือง นายประพิศ ศรีนอง ซึ่งดูแลงานสิ่งแวดล้อมของเทศบาลตำบลร่มเมืองพร้อมด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่ 3.โรงเรียนวัดนาโอ่(ปิปผลิกประชาสรรค์) นายจินดา แสงขาว ผู้อำนวยการโรงเรียน พร้อมด้วยนักเรียน 4.ปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน นายล่อง ส่งเพชร โดยได้เรียนรู้ปัญหาเริ่มต้นของระบบน้ำในคลองเหมืองตะกั่ว จนก่อเกิดการรวมกลุ่มของชาวบ้าน คุณครูในพื้นที่ นำแนวทางการให้ในคลองเหมืองตะกั่วได้มีน้ำไหลผ่านตลอดปี จนนำเอาแนวทางการสร้างฝายชะลอน้ำเล็กๆบนภูเขามาประยุกต์และจากการเห็นพื้นที่ในจังหวัดอื่นๆ ได้แก่ ยะลา จนสามารถร่วมกันสร้างฝายได้เป็นรูปร่างจนเป็นรูปธรรมในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่เหมืองตะกั่วกล่าวไว้คือ การสร้างฝายมีชีวิตมากกว่าตัวฝายคือการเห็นถึงการรวมตัวของชาวบ้านในการร่วมแรง ร่วมใจคนละม้ายคนละมือจนทำให้กลุ่มผู้นำในชุมชนต้องเห็นความสำคัญ ตลอดจนการเข้ามาให้การสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐภายนอก ทำให้ทีมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในโครงการครั้งนี้ได้เข้าใจถึงรายละเอียดด้านโครงสร้างฝาย และสำคัญคือกระบวนการสร้างคนในระหว่างการจะดำเนินการสร้างฝายให้สำเร็จ

 

50 0

7. เวทีคืนข้อมูลคลองนาโอ่

วันที่ 8 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวทีคืนข้อมูลคลองนาโอ่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เวทีคืนข้อมูลคลองนาโอ่

 

100 0

8. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 4

วันที่ 8 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. หัวหน้าโครงการ กำนัน รายงานผลการอนุมัติโครงการ และแจ้งการร่วมลงนามในสัญญาโครงการ
  2. รองประธาน นายประพิศ ศรีนอง และนายสมบูรณ์ บุญวิสูตร ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ และร่วมแลกเปลี่ยนหาแนวทางในการดำเนินงานระหว่างคณะทำงานและภาคีความร่วมมือที่เข้าร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน คือ โรงเรียนวัดนาโอ๋ เทศบาลตำบลร่มเมือง รพ.สต.บ้านหูแร ส่วนของฝายท้องที่
  3. พี่เลี้ยงแนะนำหน่วยจัดการ โครงการ และ แนะนำสสส. และแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการ
  4. สรุปแนวทางและกำหนดแผนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองด้วยชุมชน ทุกภาคีความร่วมมือพร้อมเข้าร่วมและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสำเร็จ
  2. เกิดกลไกคณะทำงานที่มีความร่วมมือระหว่างชุมชน ฝ่ายท้องที่ ทต.ร่มเมือง โดยมีส่วนหน่วยงานในพื้นที่ เช่น รพ.สต. โรงเรียนวัดนาโอ๋ วัดนาโอ และทางอำเภอเป็นพี่เลี้ยงและร่วมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงาน มีคณะทำงานจำนวน 17 คน
  3. ได้มีการวางแผนการดำเนินงานและลงปฏิทินการดำเนินงานของโครงการ และได้มีการกำหนดเวทีเปิดโครงการ มีการแบ่งบทบาทในการประสานงาน การเตรียมงาน และเชื่อมโยงเรื่องวิถีวัฒนธรรมในการบวชป่าเข้าร่วมในกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกคนรักษ์แม่น้ำลำคลอง
  4. ได้เกิดความรักความสามัคคีและพร้อมร่วมคิดร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนการทำงานสำเร็จาตามเป้าหมาย ผลลัพธ์ได้กำหนดไว้

 

30 0

9. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 2

วันที่ 15 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือน 2.รายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง 3.กำหนดทีมออกปฏิบัติการ 4.กำหนดจุดพิกัดในการออกตรวจ 5.ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโอ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่มเมือง  ลักษณะ กายภาพสภาพอากาศมือครึ้ม  กระแสน้ำนิ่ง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้  น้ำไม่มีสีและใส ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๕ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์พอใช้ ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๙ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๑.๑ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๑.๐ เมตร
    ค่าความโปร่งแสง =  (๑) + (๒)         ๒ =  ๑.๑ + ๑.๐ =  ๑.๐๕ เมตร ๒
  2. บริเวณลำคลองบ้านลำ ณ สวนป่าโหล๊ะเคียน หมู่ที่ ๗ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศมืดครึ้ม กระแสน้ำนิ่ง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และโรงเรียน  น้ำไม่มีสีและใส ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗.๑ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดีมาก ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๘ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๕ ค่าความโปร่งแสง ๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๑.๔ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๑.๐ เมตร
    ค่าความโปร่งแสง =  (๑) + (๒)         ๒ =  ๑.๔ + ๑.๐ =  ๑.๒ เมตร ๒
  3. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ คตตรีด หมู่ที่ ๒ ตำบลร่มเมือง
    ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลเอื่อย มีขยะในน้ำเล็กน้อย บริเวณโดยรอบเป็นบ้านเรือนหรือชุมชน  น้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๕.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์พอใช้ ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๗ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐


    ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๑.๐ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๘ เมตร
    ค่าความโปร่งแสง =  (๑) + (๒)         ๒ =  ๑.๐ + ๐.๘ =  ๐.๙ เมตร ๒

 

15 0

10. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 3

วันที่ 20 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือน 2.รายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง 3.กำหนดทีมออกปฏิบัติการ 4.กำหนดจุดพิกัดในการออกตรวจ 5.ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ น้ำตกหลุมพอ หมู่ที่ ๓ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลแรง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้  น้ำไม่มี สีและใส ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๓ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์แย่ ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๙ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  - เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น - เมตร
หมายเหตุ  ลำคลองน้ำตื้นเขิน

๒. บริเวณลำคลองบ้านลำ ณ สวนป่าโหล๊ะเคียน หมู่ที่ ๗ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลแรง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และโรงเรียน  น้ำไม่มีสีและใส ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๒ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์แย่ ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๘ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๕ ค่าความโปร่งแสง ๑) ระยะที่มองไม่เห็น  - เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น - เมตร
หมายเหตุ  ลำคลองน้ำตื้นเขิน
๓. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ คตตรีด หมู่ที่ ๒ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำนิ่ง มีขยะในน้ำเล็กน้อย บริเวณโดยรอบเป็นบ้านเรือนหรือชุมชน  น้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๓.๒ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์พอใช้ ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๓๐ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐


ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  - เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น - เมตร
หมายเหตุ  ลำคลองน้ำตื้นเขิน

 

15 0

11. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 4

วันที่ 30 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือน 2.รายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง 3.กำหนดทีมออกปฏิบัติการ 4.กำหนดจุดพิกัดในการออกตรวจ 5.ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโอ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศมืดครึ้ม กระแสน้ำไหลเอื่อย ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้ น้ำมี สีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๖.๑ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๓๐ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๙ เมตร     (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๘ เมตร
      ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)                                         ๒             = ๐.๙ + ๐.๘ = ๐.๘๕ เมตร                         ๒ ๒. บริเวณลำคลองบ้านลำ ณ สวนป่าโหล๊ะเคียน หมู่ที่ ๗ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลแรง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และโรงเรียน น้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดีมาก ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๘ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๗๕ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๖๐ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)                                 ๒ = ๐.๗๕ + ๐.๖๐ = ๐.๖๗๕ เมตร                 ๒ ๓. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ คตตรีด หมู่ที่ ๒ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำนิ่ง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นบ้านเรือนหรือชุมชนน้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๘ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๗ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)                                 ๒ = ๐.๘ + ๐.๗ = ๐.๗๕ เมตร             ๒

 

15 0

12. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 5

วันที่ 8 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. หัวหน้าโครงการ กำนัน รายงานผลการอนุมัติโครงการ และแจ้งการร่วมลงนามในสัญญาโครงการ
  2. รองประธาน นายประพิศ ศรีนอง และนายสมบูรณ์ บุญวิสูตร ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ และร่วมแลกเปลี่ยนหาแนวทางในการดำเนินงานระหว่างคณะทำงานและภาคีความร่วมมือที่เข้าร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน คือ โรงเรียนวัดนาโอ๋ เทศบาลตำบลร่มเมือง รพ.สต.บ้านหูแร ส่วนของฝายท้องที่
  3. พี่เลี้ยงแนะนำหน่วยจัดการ โครงการ และ แนะนำสสส. และแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการ
  4. สรุปแนวทางและกำหนดแผนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองด้วยชุมชน ทุกภาคีความร่วมมือพร้อมเข้าร่วมและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสำเร็จ
  2. เกิดกลไกคณะทำงานที่มีความร่วมมือระหว่างชุมชน ฝ่ายท้องที่ ทต.ร่มเมือง โดยมีส่วนหน่วยงานในพื้นที่ เช่น รพ.สต. โรงเรียนวัดนาโอ๋ วัดนาโอ และทางอำเภอเป็นพี่เลี้ยงและร่วมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงาน มีคณะทำงานจำนวน 17 คน
  3. ได้มีการวางแผนการดำเนินงานและลงปฏิทินการดำเนินงานของโครงการ และได้มีการกำหนดเวทีเปิดโครงการ มีการแบ่งบทบาทในการประสานงาน การเตรียมงาน และเชื่อมโยงเรื่องวิถีวัฒนธรรมในการบวชป่าเข้าร่วมในกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกคนรักษ์แม่น้ำลำคลอง
  4. ได้เกิดความรักความสามัคคีและพร้อมร่วมคิดร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนการทำงานสำเร็จาตามเป้าหมาย ผลลัพธ์ได้กำหนดไว้

 

30 0

13. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 1

วันที่ 12 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือน
  2. รายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง
  3. กำหนดทีมออกปฏิบัติการ
  4. กำหนดจุดพิกัดในการออกตรวจ
  5. ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโอ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศมืดครึ้ม กระแสน้ำไหลเอื่อย ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้  น้ำมี สีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๖.๑ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๕ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๙ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๘ เมตร
ค่าความโปร่งแสง =  (๑) + (๒)         ๒ =  ๐.๙ + ๐.๘ =  ๐.๘๕ เมตร ๒ ๒. บริเวณลำคลองบ้านลำ ณ สวนป่าโหล๊ะเคียน หมู่ที่ ๗ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลแรง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และโรงเรียน  น้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดีมาก ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๗๕ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๖๐ เมตร
ค่าความโปร่งแสง =  (๑) + (๒)         ๒ =  ๐.๗๕ + ๐.๖๐ =  ๐.๖๗๕ เมตร ๒ ๓. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ คตตรีด หมู่ที่ ๒ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำนิ่ง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นบ้านเรือนหรือชุมชนน้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐


ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๘ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๗ เมตร
ค่าความโปร่งแสง =  (๑) + (๒)         ๒ =  ๐.๘ + ๐.๗ =  ๐.๗๕ เมตร ๒

 

15 0

14. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 5

วันที่ 15 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือน 2.รายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง 3.กำหนดทีมออกปฏิบัติการ 4.กำหนดจุดพิกัดในการออกตรวจ 5.ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโอ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศมืดครึ้ม กระแสน้ำไหลเอื่อย ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้ น้ำมี สีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๖.๑ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๘ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๕ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๙ เมตร     (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๘ เมตร
      ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)                   ๒             = ๐.๙ + ๐.๘ = ๐.๘๕ เมตร               ๒ ๒. บริเวณลำคลองบ้านลำ ณ สวนป่าโหล๊ะเคียน หมู่ที่ ๗ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลแรง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และโรงเรียน น้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดีมาก ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๗๕ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๖๐ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๗๕ + ๐.๖๐ = ๐.๖๗๕ เมตร ๒ ๓. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ คตตรีด หมู่ที่ ๒ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำนิ่ง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นบ้านเรือนหรือชุมชนน้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐


ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๘ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๗ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๘ + ๐.๗ = ๐.๗๕ เมตร ๒

 

15 0

15. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 6

วันที่ 30 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือน 2.รายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง 3.กำหนดทีมออกปฏิบัติการ 4.กำหนดจุดพิกัดในการออกตรวจ 5.ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโอ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศมืดครึ้ม กระแสน้ำไหลเอื่อย ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้  น้ำมี สีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๖.๑ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๕ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๙ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๘ เมตร
ค่าความโปร่งแสง =  (๑) + (๒)         ๒ =  ๐.๙ + ๐.๘ =  ๐.๘๕ เมตร ๒ ๒. บริเวณลำคลองบ้านลำ ณ สวนป่าโหล๊ะเคียน หมู่ที่ ๗ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลแรง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และโรงเรียน  น้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดีมาก ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๗๕ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๖๐ เมตร
ค่าความโปร่งแสง =  (๑) + (๒)         ๒ =  ๐.๗๕ + ๐.๖๐ =  ๐.๖๗๕ เมตร ๒ ๓. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ คตตรีด หมู่ที่ ๒ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำนิ่ง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นบ้านเรือนหรือชุมชนน้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี

 

15 0

16. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 6

วันที่ 8 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. หัวหน้าโครงการ กำนัน รายงานผลการอนุมัติโครงการ และแจ้งการร่วมลงนามในสัญญาโครงการ
  2. รองประธาน นายประพิศ ศรีนอง และนายสมบูรณ์ บุญวิสูตร ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ และร่วมแลกเปลี่ยนหาแนวทางในการดำเนินงานระหว่างคณะทำงานและภาคีความร่วมมือที่เข้าร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน คือ โรงเรียนวัดนาโอ๋ เทศบาลตำบลร่มเมือง รพ.สต.บ้านหูแร ส่วนของฝายท้องที่
  3. พี่เลี้ยงแนะนำหน่วยจัดการ โครงการ และ แนะนำสสส. และแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการ
  4. สรุปแนวทางและกำหนดแผนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองด้วยชุมชน ทุกภาคีความร่วมมือพร้อมเข้าร่วมและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสำเร็จ
  2. เกิดกลไกคณะทำงานที่มีความร่วมมือระหว่างชุมชน ฝ่ายท้องที่ ทต.ร่มเมือง โดยมีส่วนหน่วยงานในพื้นที่ เช่น รพ.สต. โรงเรียนวัดนาโอ๋ วัดนาโอ และทางอำเภอเป็นพี่เลี้ยงและร่วมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงาน มีคณะทำงานจำนวน 17 คน
  3. ได้มีการวางแผนการดำเนินงานและลงปฏิทินการดำเนินงานของโครงการ และได้มีการกำหนดเวทีเปิดโครงการ มีการแบ่งบทบาทในการประสานงาน การเตรียมงาน และเชื่อมโยงเรื่องวิถีวัฒนธรรมในการบวชป่าเข้าร่วมในกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกคนรักษ์แม่น้ำลำคลอง
  4. ได้เกิดความรักความสามัคคีและพร้อมร่วมคิดร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนการทำงานสำเร็จาตามเป้าหมาย ผลลัพธ์ได้กำหนดไว้

 

30 0

17. ทำฝายมีชีวิต และท่าน้ำ

วันที่ 14 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กำหนดวันเวลา และจุดจัดทำฝายมีชีวิต และท่าน้ำ
  2. จัดเตรียมพื้นที่ที่กำหนดจัดทำฝายมีชีวิตและท่าน้ำ
  3. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ในการทำฝายมีชีวิตและท่าน้ำ
  4. ประชาสัมพันธ์กำหนดการเพื่อรวมพลังชาวบ้านชาวร่มเมืองทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างฝายมีชีวิตและท่าน้ำ
  5. ดำเนินการสร้างฝายมีฃีวิตและท่าน้ำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การดำเนินการเริ่มต้นในพื้นที่ ม.1 บ้านโหล๊ะพันหงส์ เมื่อวันที่ 13 พฤาภาคม 2562 โดยมีการจำลองรูปแบบฝายเพื่อสร้างความเข้าใจส่วนประกอบของการทำฝายและกำหนดกลุ่มทีมนำในการสร้างโครงสร้างฝายเพื่อให้เกิดทักษะทีดีในการทำงาน โดยได้มีคุณลุงที่เป็นปราชญ์ในชุมชนเป็นผู้สอนให้เรียนรู้ผ่านรูปแบบโมเดล
วันที่ 14 พฤษภาคม 2562 เป็นวันที่กำหนดลงปฏิบัติสร้างโครงสร้างโดยมีการทีมโครงสร้างที่เรียนรู้และมีทีมเสริมจากเทศบาลบาลตำบลร่มเมืองโดยเน้นผู้ชายเป็นกำลังงาน และมีภาคีจากภายนอกเข้ามาร่วมให้กำลังใจจากนายอำเภอเมืองพัทลุง
วันที่ 21 พฤษภาคม 2562เป็นต้นมา จึงมีการร่วมมือของประชาชนในตำบล ชมรมผู้สูงอายุ ม.1 บ้านโหล๊ะพันหงส์ อสม.ทั้งส่วนของ รพ.สต.บ้านลำ รพ.สต.บ้านหูแร่ โรงเรียนวัดนาโอ่ ปิปผลิกประชาสรรค์ โรงเรียนวัดกลาง จิตอาสาตำบลร่มเมือง ชุมชนเครือข่ายลุ่มน้ำนาท่อม โรงเรียนประภัสสร หน่วยทหารค่ายอภัยบริรักษ์ โรงเรียนพลเมือง วิทยาลัยภูมิปัญญา ได้เข้ามาช่วยในการใส่ทรายในกระสอบ นำกระสอบทรายลงสู่ตัวฝาย ขนาดความกว้างของฝาย 10 เมตร ยาว 16 เมตร
วันที่ 3 มิถุนายน 2562 ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง ท่านวันชัย สุขเกษม ได้เข้ามาเยี่ยมเยือนให้กำลังใจในการทำงานพร้อมรับฟังเรื่องราวการขับเคลื่อนและการคิดริเริ่มในการจัดทำโครงการ และมีการหนุนเสริมการทำงานจากภาคเอกชน ได้แก่ ร้านประดับยนต์ฮกเซ้ง หน่วยงาน ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรจังหวัดพัทลุง กลุ่มสหกร์เครดิตยูเนี่ยนบ้านทุ่งเลียบ บริษัทหาดทิพย์ จำกัด ในการสนับสนุนน้ำดื่ม จากประชาชนในตำบล ได้แก่ ป้าหนอม ยายเยื้อน พี่คลาย ป้าเอียด ป้าฉี ในการนำอาหารว่าง ผลไม้ และการรับบริจาคกระสอบสำหรับใส่ทรายจากชาวบ้านในตำบล กลุ่มผู้เลี้ยงสุกร ไก่ ในชุมชน คือ พี่เจี๊ยบ ม.6 พี่ไพรัช ม.2 และจากกลุ่มเลี้ยงหมูภายนอกพื้นที่ โดยขณะนี้ก็ได้ดำเนินการสร้างฝายมาเป็นเวลา 5 วัน
วันที่ 7 มิถุนายน 2562 ทีมคณะทำงานร่วมด้วยฝ่ายปกครอง ผู้นำท้องถิ่นนำโดยรองนายกเทศมนตรีตำบลร่มเมือง พนักงานเทศบาล ประชาชน ผู้สูงอายุ อสม.และนักเรียนจากโรงเรียพัทลุงพิทยาคมพร้อมคณะครู โดยมีการสนับสนุนอาหารจากชาวบ้านในการนำมาประอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ฯลฯ และการสนับสนุนภายนอก เช่น บริษัทเบทาโกร สนับสนุนเนื้อไก่มาใช้ประกอบอาหาร ผู้ประกอบการเลี้ยงหมู ฟาร์มจรรยาได้จัดแบ่งเนื้อหมูมาใช้ในการจัดทำอาหาร ซึ่งความร่วมมือในการประอบอาหารก็จะได้รับการร่วมมือจากประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะกลุ่มสูงอายุที่่บอกว่าตนเองคงช่วยแรงงานได้น้อยจึงช่วยปรุงอาหารอร่อยๆ ส่วนของการสร้างฝายก็จะเป็นขบวนการเติมกระสอบทรายในส่วนกลางของฝาย โดยประเมินความก้าวหน้าอยู่ในระดับร้อยละ 70 ของความสำเร็จตัวฝาย แต่หากประเมินความสุขในการทำฝายทุกคนที่เข้าร่วมกิจกรรมจะบอกว่าเราเหนื่อยกายมากแต่เรามีความสุขใจที่เห็นความร่วมมือของทุกๆส่วนที่ไม่เคยคิดว่าจะมาร่วมกิจกรรม
วันที่ 11 มิถุนายน 2562 นำทีมคณะทำงานร่วมด้วยฝ่ายปกครอง ผู้นำท้องถิ่นนำโดยรองนายกเทศมนตรีตำบลร่มเมือง พนักงานเทศบาล ประชาชน ผู้สูงอายุ อสม.และครูฝายมีชีวิตจากตำบลวังอ่าง จังหวัดนครศรีธรรมราช ในการมาช่วยประเมินความสมบูรณ์ของตัวฝาย เพราะทีมทำงานของตำบลร่มเมืองจะต้องเรียนรู้ปัญหาของการทำให้ฝายมีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้กลุ่มครูฝายในครั้งนี้เป็นการประสานผ่านปราชญ์ในชุมชนที่เป็นคุณครูในการวางรูปแบบการสร้างฝายในครั้งแรก ซึ่งจะเห็นว่า ทีมทำงานของตำบลร่มเมืองเกิดการเรียนรู้ ทักษะ ความแก้ไขปัญหา และการสร้างทีมให้เข้มแข็ง

 

100 0

18. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 7

วันที่ 24 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือน 2.รายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง 3.กำหนดทีมออกปฏิบัติการ 4.กำหนดจุดพิกัดในการออกตรวจ 5.ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโอ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศมืดครึ้ม กระแสน้ำไหลเอื่อย ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้  น้ำมี สีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๖.๑ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๕ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๙ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๘ เมตร
ค่าความโปร่งแสง =  (๑) + (๒)         ๒ =  ๐.๙ + ๐.๘ =  ๐.๘๕ เมตร ๒ ๒. บริเวณลำคลองบ้านลำ ณ สวนป่าโหล๊ะเคียน หมู่ที่ ๗ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลแรง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และโรงเรียน  น้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดีมาก ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๗๕ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๖๐ เมตร
ค่าความโปร่งแสง =  (๑) + (๒)         ๒ =  ๐.๗๕ + ๐.๖๐ =  ๐.๖๗๕ เมตร ๒ ๓. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ คตตรีด หมู่ที่ ๒ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำนิ่ง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นบ้านเรือนหรือชุมชนน้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗ มิลลิกรัมต่อลิตร  แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี

 

15 0

19. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 7

วันที่ 4 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. หัวหน้าโครงการ กำนัน รายงานผลการอนุมัติโครงการ และแจ้งการร่วมลงนามในสัญญาโครงการ
  2. รองประธาน นายประพิศ ศรีนอง และนายสมบูรณ์ บุญวิสูตร ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ และร่วมแลกเปลี่ยนหาแนวทางในการดำเนินงานระหว่างคณะทำงานและภาคีความร่วมมือที่เข้าร่วมในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน คือ โรงเรียนวัดนาโอ๋ เทศบาลตำบลร่มเมือง รพ.สต.บ้านหูแร ส่วนของฝายท้องที่
  3. พี่เลี้ยงแนะนำหน่วยจัดการ โครงการ และ แนะนำสสส. และแนวทางความร่วมมือในการขับเคลื่อนโครงการ
  4. สรุปแนวทางและกำหนดแผนการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงานได้ตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์และฟื้นฟูคลองด้วยชุมชน ทุกภาคีความร่วมมือพร้อมเข้าร่วมและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานสำเร็จ
  2. เกิดกลไกคณะทำงานที่มีความร่วมมือระหว่างชุมชน ฝ่ายท้องที่ ทต.ร่มเมือง โดยมีส่วนหน่วยงานในพื้นที่ เช่น รพ.สต. โรงเรียนวัดนาโอ๋ วัดนาโอ และทางอำเภอเป็นพี่เลี้ยงและร่วมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนงาน มีคณะทำงานจำนวน 17 คน
  3. ได้มีการวางแผนการดำเนินงานและลงปฏิทินการดำเนินงานของโครงการ และได้มีการกำหนดเวทีเปิดโครงการ มีการแบ่งบทบาทในการประสานงาน การเตรียมงาน และเชื่อมโยงเรื่องวิถีวัฒนธรรมในการบวชป่าเข้าร่วมในกิจกรรม เพื่อสร้างความตระหนักและจิตสำนึกคนรักษ์แม่น้ำลำคลอง
  4. ได้เกิดความรักความสามัคคีและพร้อมร่วมคิดร่วมมือร่วมใจในการขับเคลื่อนการทำงานสำเร็จาตามเป้าหมาย ผลลัพธ์ได้กำหนดไว้

 

30 0

20. เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1

วันที่ 20 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ติดตามกิจกรรมครั้งที่ 1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ติดตามกิจกรรมครั้งที่ 1

 

40 0

21. จัดทำข้อมูลคลอง

วันที่ 20 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  • เตรียมทีมประสานคณะอาจารย์และนักศึกษา วิทยาลัยภูมิปัญญา มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตจังหวัดพัทลุง
  • เตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ในการลงพื้นที่
  • เตรียมความพร้อมการประชาสัมพันธ์ชุมชนในการให้ความร่วมมือ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ข้อมูลภาคพื้นที่ตลอดแนวคลองนาโอ่ แบ่งเป็นกังนี้ 1.ข้อมูลพันธ์ไม้
2.ข้อมูลสัตว์น้ำ 3.ข้อมูลการใช้น้ำเพื่อการเกษตร 4.ข้อมูลสภาพปัญหาจุดเสี่ยงของสายคลอง 5.ข้อมูลการใช้ชีวิตวิถีชาวบ้านเพื่อการอุปโภค

 

15 0

22. รณรงค์ฟื้นฟู อนุรักษ์ เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 8

วันที่ 20 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือน
  2. รายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง
  3. กำหนดทีมออกปฏิบัติการ
  4. กำหนดจุดพิกัดในการออกตรวจ
  5. ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโอ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศมืดครึ้ม กระแสน้ำไหลเอื่อย ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้ น้ำมี สีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๖.๑ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๗ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๙ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๘ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๙ + ๐.๘ = ๐.๘๕ เมตร ๒ ๒. บริเวณลำคลองบ้านลำ ณ สวนป่าโหล๊ะเคียน หมู่ที่ ๗ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลแรง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และโรงเรียน น้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดีมาก ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๗๕ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๖๐ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๗๕ + ๐.๖๐ = ๐.๖๗๕ เมตร ๒ ๓. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ คตตรีด หมู่ที่ ๒ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำนิ่ง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นบ้านเรือนหรือชุมชนน้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐


ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๘ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๗ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๘ + ๐.๗ = ๐.๗๕ เมตร ๒

 

15 0

23. เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 1

วันที่ 26 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กำหนดพันธุ์ไม้ในแต่ละชนิด แต่ละกลุ่มประเภท ความต้องการปลูกของชาวบ้านริมคลองหัวสวน
  2. ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับเพาะพันธุ์กล้าไม้เพื่อใช้ในการปลูกบริเวณริมคลอง
  3. จัดทำโรงเรือนเพาะพันธุ์ อนุบาลกล้าไม้ สำหรับเป็นแหล่งพันธุ์ไม้ให้กับชาวบ้านที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมายหลัก 2 ข้างฝั่งริมคลอง และชาวบ้านทั่วไปในตำบลร่มเมือง
  4. ดำเนินการจัดซื้อจัดหากล้าไม้ที่หายาก เพื่อการขยายพันธุ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-เกิดรายการพันธุ์ไม้ที่ต้องหามาเพิ่มเติม -เกิดจิตอาสามาขับเคลื่อนกิจกรรมเพาะพันธุ์ไม้ -มีศุูนย์กระจายพันธ์ุไม้เกิดขึ้น ณ ที่ทำการตำบลรมเมือง

 

100 0

24. เวทีกำหนดกติการชุมชนในการอนุรักษ์คลอง

วันที่ 28 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์พัฒนาคลองวัดโอ่ เพื่อวางแนวทางการดูแล เฝ้าระวัง รักษาไว้ซึ่งความเป็นคลองนาโอ่ในเขตพื้นที่สายน้ำคลองลำ
  2. นำแนวทางที่ได้จากการประชุมตามข้อ 1 มากำหนดรูปแบบกติกาที่เป็นรูปธรรม
    1. นำกติกาที่ได้กำหนดจัดทำประชาคมผ่านการประชุมหมู่บ้านทั้ง ๙ หมู่บ้าน และนำไปปฏิบัติใช้อย่างไม่เป็นทางการ   4. ประกาศการใช้กติกาอย่างเป็นทางการแก่ชาวบ้าน ผู้นำทุกกลุ่ม ทุกภาคส่วนในตำบลร่มเมือง
    2. ติดตามรายงานผลการกำหนดใช้กติกาผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง
  3. ทบทวน ปรับปรุง กติกาให้มีความสอดคล้อง เหมาะสม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เกิดรายละเอียดของการกำหนดปริญญาร่มเมืองในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ 2.เกิดการมีส่วนร่วมจากประชาชนที่แท้จริง 3.ชุมชนทุกภาคส่วนร่วมยอมรับกติกาและพร้อมนำมาปฏิบัติ

 

60 0

25. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 8

วันที่ 8 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. แจ้งรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการพร้อมทั้งรายงานการเงินของโครงการ   2. ค้นหาความสำเร็จ ความล้มเหลว ในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.คณะทำงานเข้าร่วมประชุม 30 คนครบร้อยละ100 2.คณะทำงานรับทราบกระบวนการจัดกิจกรรมและการดำเนินกิจกรรมในโครงการ 3.คณะทำงานรับทราบสถานทางการเงินของโครงการ

 

30 0

26. จัดทำกองทุนอนุรักษ์คลอง

วันที่ 8 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมคณะผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์พัฒนาคลองวัดโอ่ เพื่อเตรียมความพร้อมในการก่อตั้ง “กองทุนอนุรักษ์คลอง” 2. ดำเนินการจัดตั้ง“กองทุนอนุรักษ์คลอง” 3. ระดมทุนจากองค์กรภายในตำบลเพื่อสนับสนุนการทำงานของ “กองทุนอนุรักษ์คลอง”

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-เกิดคณะทำงานกองทุนอนุรักษ์คลองนาโอ่ จำนวน 13 คน -เกิดการสนับสนุนเงินทุนเข้าสู่กองทุนจากาคี หน่วยงานในชุมชน
-เกิดการยอมรับจากชุมชนของที่มาคณะทำงานให้มาเป็นคณะกรรมการของกองทุน

 

50 0

27. เวทีสรุปบทเรียนการจัดการและอนุรักษ์คลอง ครั้งที่ 1

วันที่ 9 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กำหนดให้คณะทำงานทำงานประเมินผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ ของกิจกรรมโครงการ
  2. กำหนดให้มีการรายงานผลกิจกรรมต่อคณะทำงานคลองในเวทีประชุมคณะทำงาน 3.เตรียมคนและวัสดุ อุปกรณ์ในการติดตาม1

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เพิ่มพื้นที่ป่าหัวสวนริมคลอง ร้อยละ 50(56 ครัวเรือน) 2.มีพันธุ์ปลาท้องถิ่นเพิ่มขึ้น 5 ชนิด
3.มีพันธุ์ไม้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 ชนิด 4.เกิดฝายมีชีวิตอย่างน้อย 3 ฝาย ( 1 )และมีฟื้นท่าน้ำริมคลอง 5 ท่า (3) 5.จุดเสี่ยงการพังทลายของดินได้รับการจัดการอย่างน้อย 1 จุด
6.ดำเนินการครบทั้ง 9 หมู่บ้าน เป็นเวลา 5 วัน

 

50 0

28. ปล่อยพันธุ์ปลา ครั้งที่ 2

วันที่ 10 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดหาแหล่งพันธุ์ปลาพร้อมขอความอนุเคราะห์พันธุ์ปลา
  2. กำหนดจุดปล่อยพันธุ์ปลาให้มีความสมดุล
  3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนชาวบ้านและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมปล่อยปลา
  4. ดำเนินการปล่อยพันธ์ปลาลงสู่คลอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จำนสนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 164 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน นักเรียน อสม. ภาคีเครือข่ายจากภายนอก เช่น หัวหน้าส่วนราชการต่างๆในจังหวัดพัทลุง
  • มีการปล่อยพันธุ์ปลา 5 ชนิด จำนวน 8,000 ตัว
  • มีการปล่อยกุ้ง จำนวน 2,000 ตัว

 

150 0

29. เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 2

วันที่ 15 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนชาวบ้านทั่วไปเข้าร่วมปลูกต้นไม้บริเวณริมฝั่งคลองทั้ง 2 ข้าง
  2. เจ้าของดินหัวสวนมารับพันธุ์ไม้ตามความต้องการที่แจ้งไว้ไปปลูกในพื้นที่ของตนเอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีการปลูกต้นไม้บริเวณริมคลองตลอดสายคลองนาโอ่ ระยะทาง 4 กิโลเมตร
  • มีการนำต้นระฆังทองปลูกบริเวณริมคลองเพิ่มเติม จำนวน 100 ต้น
  • มีการนำต้นไม้ เช่น ต้นเทียม ต้นมะฮอกกานี ต้นมะม่วงหิมมะพานต์ ต้นมะขาม  จำนวน 1500 ต้นปลูกบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงดินหัวสวน

 

100 0

30. เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 3

วันที่ 16 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กำหนดพันธุ์ไม้ในแต่ละชนิด แต่ละกลุ่มประเภท ความต้องการปลูกของชาวบ้านริมคลองหัวสวน
    1. ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์สำหรับเพาะพันธุ์กล้าไม้เพื่อใช้ในการปลูกบริเวณริมคลอง
    2. ดำเนินการจัดซื้อจัดหากล้าไม้ที่หายาก เพื่อการขยายพันธุ์
  2. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนชาวบ้านทั่วไปเข้าร่วมปลูกต้นไม้บริเวณริมฝั่งคลองทั้ง                      2 ข้าง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีพันธุ์ไม้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน -ประชาชนรับทราบการแจกจ่ายพันธุ์ไม้เพื่อนำไปปลูกบริเวรริมคลอง และพื้นที่ทั่วไป

 

100 0

31. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 9

วันที่ 20 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือน
  2. รายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง
  3. กำหนดทีมออกปฏิบัติการ
  4. กำหนดจุดพิกัดในการออกตรวจ
  5. ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโอ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศมืดครึ้ม กระแสน้ำไหลเอื่อย ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้ น้ำมี สีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๖.๑ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๕ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๙ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๘ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๙ + ๐.๘ = ๐.๘๕ เมตร ๒ ๒. บริเวณลำคลองบ้านลำ ณ สวนป่าโหล๊ะเคียน หมู่ที่ ๗ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลแรง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และโรงเรียน น้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดีมาก ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๗๕ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๖๐ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๗๕ + ๐.๖๐ = ๐.๖๗๕ เมตร ๒ ๓. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ คตตรีด หมู่ที่ ๒ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำนิ่ง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นบ้านเรือนหรือชุมชนน้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐


ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๘ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๗ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๘ + ๐.๗ = ๐.๗๕ เมตร ๒

 

15 0

32. เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2

วันที่ 21 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กำหนดให้คณะทำงานทำงานประเมินผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์ ของกิจกรรมโครงการ
  2. กำหนดให้มีการรายงานผลกิจกรรมต่อคณะทำงานคลองในเวทีประชุมคณะทำงาน 3.เตรียมคนและวัสดุ อุปกรณ์ในการติดตาม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • คณะทำงานพร้อมด้วยภาคประชาชนทำการติดตามคุณภาพของการดูแลคลองนาโอ่ จำนวน 35 คน
  • มีสิ่งกีดขวางทางน้ำได้แก่ ต้นไผ่ จำนวน 2 จุด
  • บริเวณเหนือฝายมีระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  • บริเวณด้านล่างฝายจุดเชื่อมต่อตำบลท่าแคบริเวณประตูกั้นน้ำระบบน้ำนิ่ง มีสิ่งกีดขวางทางน้ำสิ่งไม้จำนวนมาก
  • ผลลัพธ์ตามบันไดผลลัพธ์อยู่ในระดับเลยขั้นที่ 1 สู่ขั้นที่ 2

 

40 0

33. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 9

วันที่ 8 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กำหนดวาระการประชุมคณะทำงานคลอง
    1. แจ้งรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการพร้อมทั้งรายงานการเงินของโครงการ
    2. ค้นหาความสำเร็จ ความล้มเหลว ในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คณะทำงานคลองเข้าร่วมการประชุม จำนวน 30 คน -คณะทำงานคลองได้ร่วมกะนวางแผนกำหนดการขับเคลื่อนกิจกรรมในส่วนของการติดตาม -คณะทำงานรับทราบสถานะทางการเงินของโครงการ -คณะทำงานสะท้อนผลการทำงานต่อที่ประชุม

 

30 0

34. ปล่อยพันธุ์ปลา ครั้งที่ 3

วันที่ 12 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดหาแหล่งพันธุ์ปลาพร้อมขอความอนุเคราะห์พันธุ์ปลา
  2. กำหนดจุดปล่อยพันธุ์ปลาให้มีความสมดุล
  3. ประชาสัมพันธ์เชิญชวนชาวบ้านและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมกิจกรรมปล่อยปลา
  4. ดำเนินการปล่อยพันธ์ปลาลงสู่คลอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • จำนสนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 126 คน ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ชาวบ้าน นักเรียน อสม. ภาคีเครือข่ายจากภายนอก เช่น หัวหน้าส่วนราชการต่างๆในจังหวัดพัทลุง
  • มีการปล่อยพันธุ์ปลา 3 ชนิด จำนวน 5,000 ตัว
  • มีการปล่อยกุ้ง จำนวน 2,000 ตัว

 

150 0

35. รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 10

วันที่ 20 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. การตรวจวัดคุณภาพน้ำโดยทางกายภาพ การค้นหาค่าOD ทุกเดือน
  2. รายงานผลผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง
  3. กำหนดทีมออกปฏิบัติการ
  4. กำหนดจุดพิกัดในการออกตรวจ
  5. ดำเนินการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

๑. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาโอ่ หมู่ที่ ๔ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศมืดครึ้ม กระแสน้ำไหลเอื่อย ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้ น้ำมี สีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๖.๑ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๕ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๙ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๘ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๙ + ๐.๘ = ๐.๘๕ เมตร ๒ ๒. บริเวณลำคลองบ้านลำ ณ สวนป่าโหล๊ะเคียน หมู่ที่ ๗ ตำบลร่มเมือง ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำไหลแรง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นป่าไม้และโรงเรียน น้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗.๕ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดีมาก ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐ ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๗๕ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๖๐ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๗๕ + ๐.๖๐ = ๐.๖๗๕ เมตร ๒ ๓. บริเวณลำคลองบ้านนาโอ่ ณ คตตรีด หมู่ที่ ๒ ตำบลร่มเมือง
ลักษณะกายภาพ  สภาพอากาศท้องฟ้าแจ่มใส กระแสน้ำนิ่ง ไม่มีขยะในน้ำ บริเวณโดยรอบเป็นบ้านเรือนหรือชุมชนน้ำมีสีและขุ่นเล็กน้อย ไม่มีกลิ่น ผลการตรวจวัดค่าออกซิเจนละลายน้ำ  = ๗ มิลลิกรัมต่อลิตร แสดงว่า คุณภาพน้ำอยู่ในเกณท์ดี ผลตรวจวัดอุณหภูมิ = ๒๖ องศาเซลเซียส ผลการตรวจวัดค่าความเป็นกรดด่าง = ๗.๐


ค่าความโปร่งแสง (๑) ระยะที่มองไม่เห็น  ๐.๘ เมตร (๒) ระยะที่มองเห็น ๐.๗ เมตร
ค่าความโปร่งแสง = (๑) + (๒)     ๒ = ๐.๘ + ๐.๗ = ๐.๗๕ เมตร ๒

 

15 0

36. ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 10

วันที่ 8 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กำหนดวาระการประชุมคณะทำงานคลอง
  2. แจ้งรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการพร้อมทั้งรายงานการเงินของโครงการ
  3. ค้นหาความสำเร็จ ความล้มเหลว ในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ดำเนินการไปแล้ว

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-คณะทำงานเข้าร่วมการประชุม จำนวน 30 คน -ผู้รับผิดชอบชี้แจงสถานะทางการเงินของโครงการ -รายงานผลการลงติดตามคลองโดยการล่องเรือสำรวจความสะอาดเรียบร้อยของสายคลอง -คณะทำงานปรึกษาในการเตรียมประกาศเวทีปริญญาร่มเมือง

 

30 0

37. เวทีสรุปบทเรียนการจัดการและอนุรักษ์คลองนาโอ่

วันที่ 15 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมคณะผู้รับผิดชอบโครงการ คณะทำงาน คณะกรรมการที่ปรึกษาโครงการ และคณะกรรมการกลุ่มอนุรักษ์พัฒนาคลองวัดโอ่ เพื่อวางแนวทางการดูแล เฝ้าระวัง รักษาไว้ซึ่งความเป็นคลองนาโอ่ในเขตพื้นที่สายน้ำคลองลำ
    1. นำแนวทางที่ได้จากการประชุมตามข้อ 1 มากำหนดรูปแบบกติกาที่เป็นรูปธรรม
    2. นำกติกาที่ได้กำหนดจัดทำประชาคมผ่านการประชุมหมู่บ้านทั้ง ๙ หมู่บ้าน และนำไปปฏิบัติใช้อย่างไม่เป็นทางการ
  2. ประกาศการใช้กติกาอย่างเป็นทางการแก่ชาวบ้าน ผู้นำทุกกลุ่ม ทุกภาคส่วนในตำบลร่มเมือง 5. ติดตามรายงานผลการกำหนดใช้กติกาผ่านเวทีการประชุมคณะทำงานคลอง
  3. ทบทวน ปรับปรุง กติกาให้มีความสอดคล้อง เหมาะสม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1.เพิ่มพื้นที่ป่าหัวสวนริมคลอง ร้อยละ 50(56 ครัวเรือน) 2.มีพันธุ์ปลาท้องถิ่นเพิ่มขึ้น 5 ชนิด
3.มีพันธุ์ไม้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 ชนิด 4.เกิดฝายมีชีวิตอย่างน้อย 3 ฝาย ( 2)และมีฟื้นท่าน้ำริมคลอง 5 ท่า (3) 5.จุดเสี่ยงการพังทลายของดินได้รับการจัดการอย่างน้อย 2 จุด
6.ดำเนินการครบทั้ง 9 หมู่บ้าน เป็นเวลา 5 วัน

 

100 0

38. เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3

วันที่ 21 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. กำหนดให้คณะทำงานทำงานประเมินผลการดำเนินงาน ผลลัพธ์
  2. กำหนดให้มีการรายงานผลกิจกรรมต่อคณะทำงานคลอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ทีมติดตามประเมินคลองนาโอ่ จำนวน 50 คน ประกอบด้วย ประชาชน ฝายปกครองตำบลร่มเมือง เจ้าหน้าที่อำเภอเมืองพัทลุง และพนักงานเทศบาลตำบลร่มเมือง
  • มีการใช้น้ำเพื่อการเกษตรมากขึ้นโดยจะเห็นการเพิ่มขึ้นของเครื่องสูบน้ำขนาดเล็ก
  • มีการกำจัดก่อไผ่ที่ล้มกีดขวางทางน้ำ
  • มีการประเมินผลลัพธ์ตามบันไดในระดับขั้นที่ 3 สู่ขั้นที่ 4 ยังขาดกิจกรรมบางส่วนคือ การประกาศปริญญา

 

40 0

39. เวทีประกาศข้อตกลง"ปฏิญญาร่มเมือง"

วันที่ 28 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. นำกติกาที่เป็นที่ยอมรับจากการทำประชาคม และประกาศใช้ในกิจกรรมที่ 10 มารวบรวมจัดทำเป็นข้อตกลงร่วมที่เรียกว่า “ปฏิญญาร่มเมือง”

    1. กำหนดจัดเวทีกลางของตำบลเพื่อใช้เป็นเวทีในการประกาศเป็น “ปริญญาร่มเมือง” เรื่องการจัดการคลอง   3. กำหนดวัน เวลา สถานที่ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ให้มีความพร้อม และประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านในตำบลร่มเมืองได้ทราบ
    2. จัดเวทีกลางประกาศ“ปริญญาร่มเมือง” เรื่องการจัดการคลอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-จัดการประกาศปริญญาร่มเมือง ให้ประชาชนได้รับทราบโดยใช้พื้นที่สาธารณะคือวัด ได้แก่ วัดนาโอ่ และวัดกลาง
-เกิดข้อตกร่วมกันของชุมชนในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ที่เรียกว่าปริญญาร่มเมือง ดังนี่้ 1. การอนุรักษ์พัฒนาคลองนาโอ่ (ร่มเมือง-ลำปำ) ภายใต้การมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน 2.ห้ามมิให้เคลื่อนย้าย หรือขุดเอาต้นไม้ที่ยึดป้องกันตลิ่ง เช่น ต้นระฆังทอง ต้นไทร หรือต้นไม้อื่น ๆ ยกเว้นไม้เศรษฐกิจ ออกไปจากฝั่งคลอง หากฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดี ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 3.การดำเนินการตัดไม้ใช้สอย ริมฝั่งคลองจะต้องมีการปลูกทดแทน อย่างน้อย 2 ต้นต่อการตัด 1 ต้น 4.ห้ามมิให้ทิ้งขยะลงในลำคลองหรือบริเวณริมฝั่งคลอง ตลอดแนวทั้งสองฝั่ง 5.ห้ามขุดหรือดูดทราย ในลำคลอง หรือบริเวณริมฝั่งคลอง หากฝ่าฝืนจะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 6.ห้ามจับสัตว์น้ำในเขตอภัยทาน ตามประกาศแนวเขตที่กำหนด และห้ามจับสัตว์น้ำ โดยวิธีที่ผิดกฎหมายหากฝ่าฝืนจะต้องถูกดำเนินคดี ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 7.การพัฒนาหรืออนุรักษ์คลองโดยหน่วยงานราชการ หรือองค์กรต่าง ๆ ต้องได้รับความเห็นชอบจากชุมชนโดยผ่านเวทีประชาคม 8.ชุมชนต้องหวงแหน และรับผิดชอบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้ถือเป็นหน้าที่ต้องทำเพื่อส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสู่อนุชนรุ่นหลังอย่างสมบูรณ์ 9.ต้องจัดให้มีการพัฒนาลำคลอง อย่างน้อยปีละครั้ง โดยมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน 10.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมริมฝั่งคลอง เป็นสมบัติอันมีค่าของคนในชุมชน จะเปลี่ยนแปลงเป็นของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง มิได้

 

150 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้คณะทำงานมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์คลอง
ตัวชี้วัด : 1.คนในชุมชนเข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้การอนุรักษ์ฟื้นฟูคลองไม่น้อยกว่าร้อยละ50 2.มีข้อมูลสถานการณ์ ปัญหา การใช้ประโยชน์ แนวทางในการจัดการและอนุรักษ์คลอง 3.มีคณะทำงานเกิดตัวแทนหลากหลาย และมีการแบ่งบทบาท 4.มีแผนการขับเคลื่อนการทำงาน 5.คนในชุมชนร้อยละ 20 มีส่วนร่วมในการทำฝายมีชีวิต/ท่าน้ำ 6.ปลูกป่าชายคลองเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 1,000 ต้น 7.มีครอบครัวปลูกไม้เพิ่มในเขตหัวสวน ร้อยละ 60 ของครัวเรือนที่มีพื้นที่เขตหัวสวน 8.เกิดคณะทำงานติดตามเฝ้าระวังฟื้นฟูและอนุรักษ์คลอง 9. กติกา/ข้อตกลง ปฎิญญาร่มเมืองอนุรักษ์คลอง 10.เกิดกองทุนอนุรักษ์คลองนาโอ่
0.00 56.00

ภาคีหน่วยงาน องคืกรในชุมชน ต่างให้ความสนใจและให้ความร่วมมือในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนมากขึ้น เช่น โรงเรียนจะให้นักเรียนเข้ามาเรียนรู้และทำกิจกรรมของโครงการด้วยทุกครั้ง - หน่วยบริการสุขภาพในชุมชนทั้ง 2 แห่ง ต่างช่วยให้ข้อมูลการเชื่อมโยงของการมีสุขภาพที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่ดีที่มาจากธรรมชาติ เช่น อากาศดีทีมีต้นไม้ คุณภาพน้ำที่ดีถ้าทุกคนดูแลความสะอาดบริเวณโดยรอบแหล่งน้ำ แหล่งเพาะพันธุ์โรดไม่มีถ้าทุกคนไม่ทิ้งขยะไม่เป็นที่เป็นทาง โดยใช้ อสม.เข้ามาไปกระบอกเสียง

2 คลองนาโอได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีชีวิต
ตัวชี้วัด : 11.พื้นที่ป่าริมคลองเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 50 12.มีพันธุ์ปลาท้องถิ่นเพิ่มขึ้น 5 ชนิด 13.มีพันธุ์ไม้เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 ชนิด 14.เกิดฝายมีชีวิตอย่างน้อย 3 ฝายและมีฟื้นท่าน้ำริมคลอง 5 ท่า 15.จุดเสี่ยงการพังทลายของดินได้รับการจัดการอย่างน้อย 2 จุด
0.00 2,045.00

บันไดท่าน้ำเล็กๆ คือ บันไดที่ทอดมาจากบริเวณดินหัวสวนที่มีครัวเรือนอาศัย ซึ่งก่อนทำโครงการในการสำรวจข้อมูลทีมเก็บข้อมูลไม่พบบันไดดังกล่าว แต่เมือเก็บข้อมูลหลังเสร็จโครงการทำให้ทีมจัดเก็บข้อมูลแปลกใจที่มีบันไดเล็กๆนี้เพิ่มขึ้นตลอดสายคลอง - การลอยตัวของปลาที่ผิวคลองเมื่อฝนตก ซึ่งเป็นสิ่งที่คนรุ่นเก่าในชุมชนบอกกล่าวว่ามันแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของปลา และการมีน้ำคลองที่ดี ซึ่งอาจจะเป็นตัวบ่งชี้สำคัญของการบ่งบอกระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์ขึ้นของคลองนาโอ่

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 500
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ครัวเรือนในพื้นที่ตำบลร่มเม 300
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ครัวเรือนที่มีพื้นที่หัวสว 200

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้คณะทำงานมีความเข้มแข็งในการขับเคลื่อนงานอนุรักษ์คลอง (2) คลองนาโอได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีชีวิต

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวทีทำความเข้าใจโครงการ (2) ศึกษาดูงานการจัดการและอนุรักษ์คลอง (3) จัดทำข้อมูลคลอง (4) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 1 (5) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่2 (6) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 3 (7) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 5 (8) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 4 (9) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 6 (10) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 7 (11) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 8 (12) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 9 (13) ประชุมคณะทำงานคลอง ครั้งที่ 10 (14) เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 1 (15) เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 2 (16) เพาะพันธ์ุกล้าไม้และปลูกไม้ชายคลองและหัวสวน ครั้งที่ 3 (17) ทำฝายมีชีวิต และท่าน้ำ (18) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 1 (19) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 3 (20) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 2 (21) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 4 (22) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 5 (23) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 6 (24) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 7 (25) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 8 (26) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 9 (27) รณรงค์การฟื้นฟูอนุรักษ์เฝ้าระวังคลองนาโอ่ ครั้งที่ 10 (28) ปล่อยพันธ์ุปลา  ครั้งที่1 (29) ปล่อยพันธุ์ปลา ครั้งที่ 2 (30) ปล่อยพันธุ์ปลา ครั้งที่ 3 (31) เวทีคืนข้อมูลคลองนาโอ่ (32) เวทีกำหนดกติการชุมชนในการอนุรักษ์คลอง (33) เวทีประกาศข้อตกลง"ปฏิญญาร่มเมือง" (34) จัดทำกองทุนอนุรักษ์คลอง (35) เวทีสรุปบทเรียนการจัดการและอนุรักษ์คลองนาโอ่ (36) เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 1 (37) เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 2 (38) เวทีติดตามประเมินผล ครั้งที่ 3

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 61-01856 ระยะเวลาโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่
  • การสร้างองค์ความรู้ที่แท้จริง การสร้างฝายมีชีวิต ณ โหล๊ะพันหงส์ เป็นออกแบบฝายจากการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนในตำบลร่มเมืองที่เป็นปราชญ์ชาวบ้านโดยเวทีประชาร่วมใจของผู้เฒ่าผู้แก่หมู่ที่ 1 ที่ได้ให้ข้อมูลทั้งเรื่องการเลือกทำเลในการสร้าง การเลือกวัสดุที่เหมาะสม และการถ่ายทอดสอนวิธีการ ขั้นตอน รายละเอียดจากประสบการณ์ในสร้างฝายมีชีวิตในวัยหนุ่มของตนเอง โดยใช้ตัวแบบที่เรียกว่าโมเดลต้นแบบและพื้นที่จริง เริ่มตั้งแต่การเลือกไม้ไผ่เพื่อนำมาเหลาไม้ในแต่ละชิ้นส่วน การใช้เชือกและวิธีการผูก รัดเชือก และนำมาประกอบที่ละส่วนจนเกิดเป็นรูปฝาย ให้ทีมทำงานหลักของการสร้างโครงสร้างมีความเข้าใจและเกิดทักษะจนลงมือสร้างโครงสร้างฝายได้เสร็จสิ้นเพียงเวลาแค่ 1 วัน และอีก 1 วันของการประเมินพื้นที่ในการเลือกตำแหน่งที่ตั้งของฝาย และสุดท้าย 7 วันของกระบวนการสร้างความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการตัก ใส่ ผูก รัด ขน จัด เรียง ทรายในทุกกระสอบจนสำเร็จเกิดเป็นปราชญ์ชาวบ้านในนามครูฝายมีชีวิต นายนิวัติ ด้วงอุบล ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ม.1 บ้านโหล๊ะพันหงส์

ครูฝาย จำนวน 1 คน คือ นายนิวัตร์ ด้วงอุบล

  • สร้างการเรียนรู้ให้กับเด็กเยาวชน นักเรียนในพื้นที่ตำบลร่มเมือง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

เวทีทำความเข้าใจโครงการ จึงได้หยิบเอาศาสนา ความศรัทธา วัฒนธรรม และวิถีชีวิตของชาวบ้านชุมชนชนบทอย่างร่มเมือง มาผสมผสานกับการจัดการธรรมชาติป่าไม้ สายคลอง สิ่งมีชีวิตที่ผูกติดกัน จนเกิดเป็นการบวชป่า ณ สวนป่านาโอ่ เรียกได้ว่าเสริมแรงกำลังใจในการขับเคลื่อนงานของฝ่ายปกครองได้อย่างสวยงามที่มีประชาชนในตำบลร่มเมืองเข้าร่วมกิจกรรมอย่างล้นหลามถือเป็นการตอบรับจากภาคประชาชน

กิจกรรมบวชป่า

การเชื่อมโยงวิถีเข้าสู่ความทันสมัยของยุคปัจจุบันด้วยการสอดแทรกวิถีเข้าสู่กิจกรรมในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

ตลอดช่วงเวลา 10 เดือนของกิจกรรมผู้นำฝ่ายปกครองที่ไม่เคยได้รับงบประมาณมาดำเนินการที่เรียกว่าครบทุกขั้นตอนตั้งแต่นับ 1 ถึง 10 ทำให้ผู้นำได้เรียนรู้ตนเองและมองเห็นการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อเติมเต็มให้มีความพร้อมในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับตนเอง ชุมชน สังคม ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่หลากหลายรูปแบบ เช่น การทำงานนำเสนอ การประมวลรูปภาพ การจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยการใช้คอมพิวเตอร์

การใช้ระบบรายงานผลของโปรแกรมคนใต้สร้างสุข

การให้ผู้นำฝ่ายปกครองเรียนรู้การใช้ระบบสารสนเทศในการทำงานมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

การเห็นร่วมของคนในตำบลที่จะช่วยดูแลสายคลองให้มีความเชื่อมโยง ต่อชุมชน สังคม และวิถีคนร่มเมือง

กองทุนอนุรักษ์คลองนาโอ่

การร่วมกันจัดการดูลคุณภาพทรัพยากรธรรมชาติของตลอดสายคลองในตำบลร่มเมือง และการฟื้นคืนคำว่า สายน้ำมีชีวิต

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

การเรียนรู้การสร้าง ความสำคัญ การเชื่อมโยงของวิถีชีวิต ความสัมพันธ์เกื้อหนุนของมนุษย์ ต้นไม้ สายน้ำ และสิ่งมีชีวิตทั้งในคลองและสองฝั่งคลอง

ฝายมีชีวิตโหล๊ะพันหงส์ ม.1 ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง

การดูแลให้ฝายมีชิตมีคุณภาพและประสิทธิภาพเพื่อให้ผลประโยชน์ต่อชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

 

 

 

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

 

 

 

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

กิจกรรมการเฝ้าระวังคุณภาพน้ำที่บ่งชี้ถึงคุณภาพน้ำคลองตลอดสายคลองที่มีเครื่องมือที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ การดูลักษณะกายภาพของสิ่งแวดล้อมของสองฝั่งคลอง และสายน้ำถึงการทิ้งขยะของครัวเรือนริมคลอง หรือมีขยะในสายน้ำของคลอง

-ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำที่รายงานผ่านเวทีการประชุมของคณะทำงานโครงการและการประชุมฝ่ายปกครอง -การใช้สีธงแสดงสัญลักษณ์ ณ บริเวณตรวจวัดเพื่อให้ประชาชนรับทราบ

  • การสร้างทีมในการใช้เครื่องมือตรวจวัดที่เป็นภาคีของชุมชนทดแทนเจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลร่มเมือง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

กิจกรรมในโครงการมีเป้าหมายคือการมีระบบนิเวศน์ของริมคลองและคลองให้มีความอุดมสมบูรณ์และการกลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจครัวเรือน ดังนั้นการปลูกต้นไม้เพิ่มมูลค่า การปลูกต้นไม้เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน การเพิ่มปริมาณระดับน้ำในคลอง การทำให้น้ำในคลองมีคุณภาพที่ดี ล้วนแต่เป็นวัฏจักรที่จะช่วยเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายให้ครัวเรือนในรูปแบบวิถีชีวิตแบบชุมชนชาวบ้าน

  • รายได้เพิ่มขึ้นจากการใช้ประโยชน์ของดินหัวสวน เนื่องจากมีระดับน้ำเพียงพอในการทำเกษตรเพิ่มขึ้น
  • รายจ่ายลดลงจากการต้องจ่ายค่าน้ำประปาของครัวเรือน โดยการกลับมาใช้น้ำคลองเพิ่มขึ้น สังเกตุได้จากมีบันไดท่าน้ำระดับครัวเรือนเพิ่มขึ้น การมีเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กสำหรับการเกษตรเพิ่มขึ้น

การสร้างคุณภาพน้ำในคลองให้มีความสะอาด ปลอดภัย อย่างต่อเนื่อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

 

 

 

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

เกิดกลุ่มคณะทำงานอนุรักษ์คลองนาโอ่ ที่จัดตั้งขึ้นมาของตัวแทนประชาชน ผู้นำ ที่ตกผลึกในแนวทางในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติในตำบลร่มเมือง

ประกาศรายชื่อคณะทำงานอนุรักษ์คลองนาโอ่

การแสดงบทบาทของคณะทำงานต่อชุมชนตำบลร่มเมืองที่มีแผนการขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับผู้นำในตำบลร่มเมือง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

การกำหนดเวทีร่างกติการ่วมกันของชุมชนผ่านเวทีหมู่บ้านในแต่ละหมู่บ้าน และนำมาเปิดวงคุยให้ได้มาตรการร่วมของตำบลในการดูแลทรัพยากรธรรมชาติของตำบลร่มเมือง

ปริญญาร่มเมือง

การบังคับใช้ปริญญาร่มเมืองอย่างต่อเนื่องในทุกการประชุมของฝ่ายปกครอง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

ปี 2560 เทศบาลตำบลร่มเมืองได้มีการนำเอาธรรมนูญสุขภาพเข้ามาขยับจังหวะการทำงาน ด้านสิ่งแวดล้อม โดยบรรจุไว้ในหมวดที่ 11 จนมาถึงในช่วงเดือนตุลาคม 2561 ธรรมนูญสุขภาพ หมวดที่ 11 รักษ์สิ่งแวดล้อม ก็มุ่งเข้าสู่ภาคีท้องที่ผ่านเวทีการประชุมประจำเดือนของฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง

ธรรมนูญสุขภาพตำบลร่มเมือง หมวดที่ 11

การขยับปริญญาร่มเมืองภายใต้ธรรมนูญสุขภาพตำบลร่มเมืองให้มีรูปธรรมอย่างต่อเนื่องในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

 

 

 

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

กิจกรรมการระดมทุนในการสร้างฝายมีชีวิต ที่เหล่าผู้นำชุมชนได้แสดงศักยภาพของพนธมิตรต่างๆเกื้อหนุนในการดูแลชุมชนตลอดมา ทั้งในนามส่วนบุคคล และนามส่วนรวม แม้กระทั่งภาคประชาชนที่หนุนเสริมกองทัพในการร่วมมือที่หยิบยื่นด้วยตนเองและระดมจากภายนอกด้วยศักยภาพของตนเอง ที่บ่งบอกถึงความร่วมแรงร่วมใจของคนในชุมชนจนเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาของสาธารณชนภายนอกโดยเฉพาะในกลุ่มหน่วยงานภาครัฐภายนอก เช่น อำเภอเมืองพัทลุง

ภาพความร่วมมือของการทำฝายมีชีวิต

การคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันของกลุ่มผู้นำในการจัดกิจกรรมทั้งจากภายในชุมชนและภาคีภายนอก

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

กิจกรรมการจัดทำข้อมูลคลอง เป็นการสร้างมูลค่าให้กับการขับเคลื่อนกิจกรรมในโครงการเพราะทีมสำรวจ จัดทำข้อมูลล้วนแล้วแต่เป็นบุคคลภายในชุมชนที่มีการรวบรวมผู้เฒ่าผู้แก่ จนมาถึงผู้นำ ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ภายในบนรากฐานข้อมูล ข้อเท็จจริง และเรียนรู้วิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลง จนก่อเกิดเป็นปัญหาที่มีในปัจจุบัน แล้วค้นหาช่องว่าเหล่านั้นด้วยตนเองเพื่อวางแผนแก้ไข

การกำหนดกิจกรรมในโครงการตอนเริ่มต้น และการปรับเพิ่มกิจกรรมเสริมของกลุ่มผู้นำในระหว่างทางการทำงานโครงการ เช่นกิจกรรมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการในครั้งแรก ก็นำเอาวิถีศาสนาเข้ามาช่วยเสริม จนเป็นกิจกรรมบวชป่า

การนำกระบวนการข้อมูล ข้อเท็จจริง การวิเคราะห์สถายการณ์ของชุมชนในงานด้านอื่นของชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

กิจกรรมการสร้างฝายมีชีวิต เป็นกิจกรรมบ่งชี้ชัดเจนของคำว่ามีชีวิต เพราะเป็นการแสดงออกของประชาชนในชุมชน องค์ในชุมชน ร้านค้าในชุมชน ชาวบ้านในชุมชน ด้วยการแบ่งสรรปันส่วนทุนในรูปแบบต่างๆ เช่น เด็กๆใช้แรงงานตนเอง ผู้สูงอายุแบ่งปันอาหารข้างบ้านมาจัดเลี้ยง แนะนำความคิดเห็น ชี้แนะจากประสบการณ์ รพ.สต.ระดม อสม.มาช่วยลงแขก ร้านค้าบริจาควัสดุ อุปกรณ์ เช่น กระสอบ เชือก ชาวบ้านบริจาคไม้ไผ่ในพื้นที่บ้านตนเอง ฟาร์มสุกร ฟาร์มไก่สนับสนุนกระสอบ เป็นต้น

รายนามผู้บริจาคที่ผู้รับผิดชอบโครงการจัดทำทะเบียน

การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนได้เรียนรู้ร่วมกันในการดูแลชุมชนของตนเอง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

กลุ่มผู้นำฝ่ายปกครอง ร่วมด้วยกลุ่มอนุรักษ์คลองนาโอ่ และเทศบาลตำบลร่มเมือง ได้มีการดำเนินการคลองเฉลิมพระเกียรติฯ ในการจัดการคลองตลอดสายคลองนาโอ่ ด้วยการพัฒนาคลองอย่างต่อเนื่อง เพื่อคงไว้ซึ่งระบบคลองที่มีความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ต่อได้เริ่มดำเนินการมาจากโครงการอนุรักษ์คลองนาโอ่

การได้รับคัดเลือกให้เป็นต้นสายของคลองเฉลิมพระเกียรติฯ ของจังหวัดพัทลุง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง

การดูแล เฝ้าระวัง พัฒนาคลองอย่างต่อเนื่องผ่านงบประมาณเทศบัญญัติรายจ่ายประจำปี 2563

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

การกำหนดกิจกรรมของโครงการที่มีรูปแบบ ขั้นตอน ที่มา ที่ไป ที่คนในชุมชนในกลุ่มวัยทำงานรู้สึกได้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตที่พวกเขายังเยาว์วัย จนมาถึงทุกวันนี้ ผ่านกระบวนการจัดทำข้อมูลของกลุ่มเด็กนักเรียน และบอกเล่าผ่านกลุ่มวัยผู้สูงวัยในชุมชน ทำให้การสื่อสารที่ถ่ายออกไปสู่ชุมชนจึงมีภาพที่ชัดเจนในความคิดของคนในชุมชนทั้งตำบล และการจัดกระบวนการความรู้ในครั้งนี้ผ่านผู้นำส่วนท้องที่ ท้องถิ่น เป็นหลัก ทำให้ชาวบ้านมีความมั่นใจ ศรัทธาในการร่วมแรงใจ

การถ่ายทอดเรื่องราวกระบวนการกิจกรรม ข้อมูลต่างๆ ผ่านเวทีการประชุมหมู่บ้าน และเวทีการประชุมฝ่ายปกครองประจำเดือน

การดึงเอาปราชญ์ชาวบ้านในชุมชนมาเป็นผู้ช่วยในการให้ข้อมูลมากขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

สืบเนื่องจากโครงการครั้งนี้ผู้รับผิดชอบโครงการคือกลุ่มผู้นำฝ่ายปกครองตำบลร่มเมือง นั่นคือ กำนัน ผู้ใหญ๋บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นหลัก ซึ่งกลุ่มคนหล่าวนี้ล้วนแต่ดำเนินการขับเคลื่อนกิจกรรมให้กับอำเภอเป็นส่วนใหญ่ หมายถึงดำเนินการตามการสั่งการของหน่วยอำเภอ แต่การรับงบประมาณครั้งนี้พวกเขาจะต้องมาเรียนรู้กระบวนการเลือกสิ่งที่ต้องการขับเคลื่อน โดยจะต้องรู้ว่าเรื่องที่เลือกมีที่มาอย่างไร นั่นคือ ข้อมูลสถานการณ์แท้จริง และแนวโน้มในข้างหน้า ค้นหาสาเหตุ ถึงแม้จะทำให้พวกเขารู้สึกท้อถอยพราะความไม่คุ้นชินกับการทำงานในลักษณะนี้ แต่ก็เป็นโอกาสให้กลุ่มผู้นำฝ่ายปกครองเกิดความเข้าใจคำว่า ระบบ กระบวนการ แผนงาน การวิเคราะห์ ข้อมูล

การประชุมคณะทำงานโครงการในแต่ละครั้ง และการประชุมฝ่ายปกครองตำบลร่มเมืองประจำเดือน

จัดกิจกรรมเสริม พัฒนาศักยภาพผู้นำสุขภาวะตำบลร่มเมือง ตามโครงการนักจัดการสุขภาวะตำบลร่มเมือง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

การร่วมกันระดมทุนในทุกรูปแบบในการสนับสนุนการสร้างฝายมีชีวิต การสร้างความร ู้สึกความเป็นเจ้าของร่วม

ฝายมีชีวิตบ้านโหล๊ะพันหงส์

การสร้างจิตสำนึกความเป็นเจ้าของให้กับประชาชนในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

การสร้างฝายมีชีวิต เป็นการสร้างบทเรียนหลายด้านให้กับชุมชน คนในตำบลร่มเมือง เรียนรู้ถึงการได้รับประโยชน์ร่วมกันของกลุ่มมากในชุมชน เรียนรู้การเสียสละของกลุ่มคนที่มีสักยภาพสูงกว่าของกลุ่มคนบางคนในชุมชน โดยมองเป้าหมายร่วมกันว่าทำให้ชุมชนของตนเองมีความเข้มแข็ง น่าอยู่

การเสียสละทรัพย์สินส่วนบุคคลของประชาชนในชุมชนแม้ตนเองจะไม่ได้รับผลประโยชน์โดยตรง เช่นการร่วมกันระดมทุนในการสร้างฝายมีชีวิตโหล๊ะพันหงส์

การสร้างความตระหนักร่วมในการมองชุมชนของตนเองคือบ้านของตนเอง ผ่านกิจกรรมต่างๆของเทศบาลและฝ่ายปกครอง เช่น การจัดการขยะในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

การสร้างคุณภาพระบบนิเวศน์ของคลองที่จะมีการฟื้นฟูวิถีชีวิตของคนร่มเมืองที่ใช้ประโยชน์จากคลอง เช่น การปลูกพืชผักริมคลอง การใช้น้ำเพื่อการเกษตร การใช้น้ำเพื่ออุปโภค เช่น อาบน้ำ ซักผ้า การมีท่าน้ำของครัวเรือนเพื่อเด็กๆเล่นน้ำ การหาสสัตว์น้ำในคลองเพื่อเป็นอาหาร

เกิดท่าน้ำเล็กๆเพิ่มขึ้น ณ ครัวเรือนที่อาศัยริมคลอง

การสร้างคุณภาพน้ำให้มีคุณภาพ และเพิ่มการเรียนรู้ของชุมชนในการดูแลบริเวณริมคลอง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

กิจกรรมระดมทรัพยากรในการร่วมแรงร่วมใจสร้างฝายมีชีวิต เป็นการแสดงศักยภาพของชุมชนที่เอื้ออาทรต่อกันในการให้ความช่วยเหลือที่มีหลากหลายรูป ของคนทุกเพศทุกวัย ที่มาร่วมด้วยช่วยกันทั้งบริการน้ำดื่ม ขนม ผลไม้ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะที่หยอกล้อกัน บ่งบอกถึงความมีน้ำจิตน้ำใจเอื้ออาทรต่อกันของการช่วย

ภาพถ่ายกิจกรรมที่มีมากมายในการร่วมสร้างฝายมีชีวิตบ้านโหล๊ะพันหงส์

การสร้างความร่วมมือที่เกิดขึ้นโดยการมีส่วนร่วมที่ทำให้ประชาชนเห็นร่วมกันถึงความเป็นสาธารณของชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่พิกัดของการสร้างฝายจากเดิม โดยคำแนะนำของผู้เฒ่าในชุมชนที่ชี้แนะจากประสบการณ์ และวิธีการเลือกพิกัดพื้นที่ที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด จากพิกัดเดิมจะอยู่ ณ บริเวณตอนบนของสะพานคลองนาโอ่ แล้วย้ายลงมาพื้นที่ โหล๊ะพันหงส์

รายงานการประชุมคณะทำงานของคลองนาโอ่ ประจำเดือนเมษายน 2562

การมีที่ปรึกษาอาวุโสในการขับเคลื่อนกิจกรรมในชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ

 

 

 

อนุรักษ์คลองนาโอ่ ตำบลร่มเมือง อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-01856

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายประพาส แก้วจำรัส )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด