แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ ลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านบ้านควนคง

ชุมชน จังหวัดพัทลุง

รหัสโครงการ 61-01865 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2562

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน พฤศจิกายน 2561 ถึงเดือน มิถุนายน 2562

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ประชุมคณะทำงานครั้งที่1

วันที่ 10 ธันวาคม 2561 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผู้เข้าร่วมประชุม ของคณะทำงานโครงการ จำนวน 10 คน  แจ้งรายละเอียดของการได้รับทุนสนับสนุนโครงการ ลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านควน และเรื่องของงบประมาณที่ได้รับมา  กำหนดหน้าที่แบ่งบทบาทกันทำในการเข้าร่วมเซ็นต์สัญญารับทุน ผู้รับผิดชอบโครงการ  เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ  กำหนดวันประชุมเตรียมความพร้อมในการทำกิจกรรมเวทีสร้างเข้าใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การประชุมคณะทำงานโครงการ ลดสารเคมีการทำเกษตรอินทรีย์ที่บ้านควนคง ที่ศาลาหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมตามเป้าหมาย มีคณะทำงาน และ ภาคีเข้าร่วม จำนวน 10 คน นายกระจ่าง นุ่นดำ  ผู้ใหญ่บ้าน ได้แจ้งวาระ ในการประชุม สำหรับบ้านควนคงมีกษารเสนอโครงการเพื่อรับทุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ในนามโครงการลดสารเคมีส่งการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านควนคง เนื่องด้วยมีการประชุมกรรมการหมู่บ้านและได้เล้งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องสุขภาพประกอบการตรวจเลือดคนในชุมชน พบว่ามีสารเคมีตกค้างในเลือด ร้อยละ 90 เปอร์เชนต์ ที่ประชุมมีความเห็นตรงกันต้องหาแนวทางแก้ไข มีมิติให้มีการเขียนโครงการเสนอของทุนจากหน่วยงานกองทุนสำนักงานสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ และมีการเสนอไปในเดือน พฤศจิกายน 2561 คณะทำงาน จำนวน 3 คน ได้เข้าให้ข้อมูลความสำคัญที่จะแก้ไขปัญหากับผู้ทรงคุณวุฒิ และต่อมาในต้นเดือน ที่ผ่านมา ได้มีหนังสือถึงผู้ใหญ่บ้านแจ้ง ว่า ทางกองทุนสำนักงานสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) อนุมัติงบประมาณให้โครง ลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ ที่บ้านควนคง เป็นที่เรียนร้อยแล้ว  และมีการนัดทำสัญญารับทุนพร้อมชี้แจงรายละเอียด ผู้ที่ต้องเข้าร่วมในครั้งนี้ ผู้รับผิดชอบโครงการ  การเงินโครงการ  ที่เทศบาลเมือง  จึงแจ้งในผู้ที่เกี่ยวข้องรับทราบ

และเมื่อการเซ็นต์สัญญาเป็นที่เรียบร้อย  ทางคณะทำงานจะมีประชุมสร้างความเข้าใจ ในส่วนของการรับผิดชอบแบ่งบทบาทหน้าที่กันให้ชัดเจนอีกครั้ง  พร้อมร่วมกันกำหนดแผนการดำเนินงานของโครงการ  เป็นการทำกิจกรรมเวทีสร้างความเข้าใจ กำหนดวันประชุมคณะทำงานอีกครั้ง  ในวันที่  10 มกราคม  2562

  • photo
  • photo

 

10 0

2. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 2

วันที่ 10 มกราคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การแบ่งบทบาทหน้าที่ ในการทำงานของคณะทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงาน จำนวน 13 คน ที่ศาลาหมู่บ้าน นายกระจ่าง นุ่นดำ แจ้งวาระในการประชุม เป็นเรื่องการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงาน เวทีสร้างความเข้า ชี้แจ้งรายละเอียดใน ของการดำเนินของโครงการที่ได้รับทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของแต่ละฝ่าย

มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ ดังนีี้
1.การประชาชนแจ้งข่าวสมาชิกครัวเรือนต้นแบบ เป็น หน้าที่ของ นายกระจ่าง นุ่นดำ ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน และทำหนังสือเชิญ
2. ฝ่ายประสานงาน เชิญ วิทยากรและหน่วยงาน ภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวที นายชำเนิน หนูเกลี้ยง 3. ฝ่ายจัดเตรียมสถานที่ นายเฉลิม เชนพูน และทีม 4. ฝ่ายต้อนรับและลงทะเบียน  นายสมคิด ฝ้ายทอง และทีม 5. ฝ่ายบริการอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มแม่บ้าน

  • photo
  • photo

 

13 0

3. เวทีสร้างความเข้าใจโครงการ

วันที่ 15 มกราคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เวทีสร้างความเข้าใจเปิดโครงการลดสารเคมีส่งเกษตรอินทรีย์ที่บ้านควนคง มีผู้เข้าร่วมตามเป้าหมาย มีหน่วยงานภาคีเข้า เกษตรอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตำนาน กำนันตำบลตำนาน เจ้าหน้าพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล นักวิชากการเกษตรอำเภอ ได้มีการสร้างความเข้าในเรื่องการดำเนินงานโครงการ โดย ผู้รับผิดชอบโครงการ นายกระจ่าง นุ่นดำ แนวทางการดำเนินงาน เริ่มต้นจากการร่วมกลุ่มที่จะเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ในทำเกษตรอินทรีย์จากการรับสัมครจำนวน 40 คน มีการตรวจเลือดก่อนและ หลัง ในการตรวจเลือดสารตกค้างในเลือด และจะมีการดำเนินงานกิจกรรมอย่างต่อเนื่องและจะแจ้งผลการดำเนินงานในการประชุมประจำเดือนหมู่ทุกครั้ง

    คนในชุมชนได้รับทราบข้อมูลสถานการณ์การใช้สารเคมี และผลกระทบในการใช้สารเคมี จากวิทยากร เจ้าหน้าที่สาธารณสุขบ้านโตระ เพื่อในคนในชุมชนเกิดการตระหนักถึงพิษภัยของการใช้สารเคมีในการเกษตร และผลกระทบที่มีต่อการบริโภคที่ไม่ปลอดภัยส่งผลต่อเรื่องสุขภาพ และยังส่งกระทบต่อสิงแวดล้อมอีกด้วย

    รับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ ได้ตามที่กำหนดไว้ จำนวน 40 คน มีการสร้างความเข้าใจเบื้องต้น ในการทำกิจกรรมร่วมกันในการเป็นตัวแทนหรือต้นแบบในการเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีและปฏิบัติการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และจะมีการประชุมกลุ่มอีกครั้งใน วันที่ 26 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

เวทีสร้างความเข้าใจโครงการลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ ที่บ้านควนคง มีผู้เข้าร่วมเวทีตามเป้าหมาย คนในชุมชน และหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้ใหญ่บ้าน กล่าวเปิดรายงาน ต่อประธานในพิธี ในเรื่องความเป็นมาในการของโครงการมาปรับแก้ปัญหาในด้านสุขภาพ เนื่องจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านโตระ ได้มีการสำรวจตรวจเลือดเพืี่อคัดกลองผู้ที่มีสารเคมีตกค้างในเลือกจากผู้เข้าเจาะเลือดในช่วงอายุ35ปีขึ้นไป จำนวน 40 คน พบว่า มีสารเคมีตกค้างในร่างกายทุกคน และผู้ที่อยู่ในขั้นภาวะเสี่ยงถึง 35 คน เมื่อทราบข้อมูลแล้ว ทางหมู่บ้านโดยคณะกรรมการ เป็นแกนนำประชุมหารือ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา มีมิติที่ประชุมให้มีการเขียนโครงการ การลด ละ เลิก การใช้สารเคมี เนื่องจากเป็นสาเหตุหลัก ที่ทำให้คนในชุมชนมีภาวะเลี่ยงมีสารตกค้างในเลือด ได้เสนอขอโครงการจากกองทุนสนับสนุนสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ผ่านหน่วยจัดการพัทลุง และได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการทำโครงการในครั้งนี้

นายพงค์เทพ ประทุมสุวรรณ นายอำเภอเมืองัทลุง ประธานในพิธี กล่าวเปิดโครงการลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ ได้กล่าวชื่มชมผู้ใหญ่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน ที่เล้งเห็นความสำคัญเรื่องด้านสุขภาพของคนในชุมชน และนำเอาโครงการดีๆเข้ามาเพื่อสร้างเสริมสุขภาพของคนในชุมชนให้ดีขึ้น ปัจจุบันคนไม่ค่อยคำนึงถึงเรื่องดูแลสุขภาพกันสักเท่าไร เพราะรีบเร่งกับการทำงานเสียมากกว่า และอาศัยความสะดวกรวดเร็วในการซื้อหา ในการบริโภค ละเลยที่จะดูแลสุขภาพ ส่วนการทำเกษตรในปัจจุบันเน้นเชิงประมาณทำมากเข้าว่าและเน้นพืชผักที่สวย เลยต้อใช้สารเคมีเป็นตัวช่วย ไม่คิดถึงผลกระทบที่ตามมา ไม่ว่าเป็นเรื่องของสุขภาพที่ต้องเสี่ยงต่อการใช้สารเคมี ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และยังผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดินเสื่อม มีสารเคมปนเปลื้อนในน้ำ สัตว์น้ำสูบหาย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งกระทบเป็นระยะ ถ้าเราไม่หันมาช่วยกัน จึงอยากจะฝากไว้ในเรื่องการ ลด ละ เลิก การใช้สารเกษตรในการเกษตร ให้หันมาใช้สิ่งที่มีอยู่ในชุมชน เช่น การปลูกผักผลไม้ ใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปลูกเองกินเองเป็นสิ่งเบื้องต้นในการดูแลสุขภาพ ลดการสะสมของสารเคมีในร่างกาย สุดท้ายของให้คนในชุมชนดำรงค์ชีวิตตามแนวของในหลวงรัชกาลที่9 อยู่แบบเรียบง่ายใช้เศรษฐกิจพอเพียง

นางตรีภัช คงแก้ว ตำแหน่ง พยายาลวิชาชีพประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านโตระ วิทยากรมาให้ความรู้ ในปัจจุบันนี้มีการใช้สารเคมีในการเกษตรแบบแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการในการปลูกพืขผักผลไม้ เพราะเน้นเชิงประมาณเป็นเชิงธุระกิจ มีการใช้ตั้งแต่การเตรียมการปลูก ฉีดยาหญ้า หรือใช้สารคุมหญ้าเป็นการกำจัดวัชพืช ต่อจากนั้นแล้วก็จะเป็นขั้นตอนการบำรุงให้ผักผมไม้เจริญเติบแบบเร่งด่วนเพื่อในทันในการขาย ก็ใช้ปุ๋ยเคมีแบบต่างๆ บำรุงต้น บำรุงใบ ใส่กันเข้าไป ยังไม่พอต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืชที่มากินทำให้ใบไม่สวยลำต้นเป็นแผบ เวลาไปขายทำให้ขาดราคา ถ้าเป็นผลไม้ก็ใช้ยาเร่งให้สุกเร็ว จะเห็นได้ตั้งแต่การปลูกจนถึงกระบวนการดูแล มีการใช้สารเคมีอย่างต่อเนื่อง ผลให้มีสารเคมีตกค้างในพืชผักผลไม้ และส่งต่อมายังผู้บริโภครับสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย ทำให้เกิดโรคภัย เช่นโรคมะเร็ง ที่เป็นกันจำนวนมากในปัจจุบัน และนอกจากการใช้สารเคมีจะส่งกระทบต่อผู้บริโภค ผู้ผลิตเองก็ต้องรับสารเคมีที่ใช้ ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ เช่น โรคผิวหลังที่เกิดจากการแพ้สารเคมี โรคทางเดินหายใจที่สูดดมเข้าไป ตามมาก็คือโรค มะเร็ง สาเหตุที่สารเคมีเข้าสู่ร่างของคนเรามี 3 ทางด้วยกัน 1. การกิน โดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ 2. การสัมผัดโดยตรง 3. การหายใจสูดดมเข้าไป นี้คือผลกระทบที่มีต่อสุขภาพทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค และผลกระทบอีกอย่างคือ กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดินและน้ำ การใช้สารเคมีจำนวนมากทำให้สภาพดินเสื่อม ดินกระด้าง มีสารปนเปลื้อนในแหล่งน้ำ ทำให้สัตว์น้ำสูญพันธ์ สังเกตุกันได้ง่ายๆ สมัยปู่ ย่า ตา ยายปลูกผัก ทำนา ไม่ใช้สารเคมี ในนาข้าวยังมี กุ้ง หอย ปู ปลา อุดมสมบรูณ์และสามารถจับมาบริโภคกันได้โดยต้องกลัวสารเคมีตกค้าง แต่ต่างจากปัจจุบันไม่มี กุ้ง หอย ปู ปลา ให้เห็นมากนักเนื่องจากการใช้สารเคมี สุขภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเอง หลีกเลี่ยงการบริโภคที่ไม่ปลอดภัย  ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการเกษตร เราควรแก้ที่ต้นเหตุ มิใช่แก้ที่ปลายเหตุ

เมื่ือเสร็จพิธีการในช่วงเช้าแล้ว    ช่วงบ่ายรับสมัครผู้ที่สนใจเป็นต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ มีผู้เข้าร่วมที่จะเป็นต้นแบบ จำนวน 40 คน      ตามเป้าหมายของโครงการ
นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งรายละเอียดให้ผู้เข้าร่วม การเป็นต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์เพื่อ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี    จะมีการทำกิจกรรมร่วมกันตั้งแต่ 1 ร่วมเรียนรู้ตามกระบวนการ 2 ร่วมเป็นกลไกขับเคลื่อนกำหนดกติกาและปฏิบัติการเป็นต้นแบบของชุมชน 3 ร่วมดำเนินการอย่างจริงจังสร้างนวัตกรรมและเป็นแหล่งเรียนรู้ของชุมชน เพื่อเป็นต้นแบบให้คนในชุมชนได้ทำเกษตรอินทรีย์ร่วมกัน และได้มีการกำหนดวันประชุมสร้างความเข้าใจของกลุ่ม ร่วมกันกำหนดกติกาของการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในการเกษตร และตรวจเลือดสารเคมีตกค้าง ในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

100 0

4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. การทบทนวการทำงานของเวทีสร้างความเข้าใจ
  2. วางแผนการดำเนินกิจกรรมประชุมต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 40 คน มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ของคณะทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมครั้งที่ 3 ที่ศาลาหมู่บ้าน กลุ่มเป้าหมาย คณะทำงาน 13คน ผ้ํูรับผิดชอบโครงการ นายกระจ่าง นุ่นดำ แจ้งวาระการประชุม 1. การทบทนวการทำงานของเวทีสร้างความเข้า 2. วางแผนการดำเนินกิจกรรมประชุมต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 40 คน


วาระที่ 2. คณะทำงานทบทวนผลการทำกิจกรรมเวทีสร้างความเข้าใจ การทำกิจกรรมเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน และตามที่การกำหนดแบ่งบทบาทหน้าที่กันทำ เริ่มจากการจัดสถานที่ มีการปรับภูมิทัศน์ มีการเตรียมเต้นท์ เพื่อเป็นที่รับประทานอาหารกลางวัน มีป้ายต้อนรับ ป้ายโครงการ ป้ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายลงทะเบียนจัดไว้ที่หน้าศาลาสะดวกต่อการ ต้อนรับและการลงเบียน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ประชาสัมพัน์อย่างเนื่อง ฝ่ายประสานงานติดต่อสื่อสารเชิญหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ ท้องที ท้องถิ่น หน่วยงาน ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี กลุ่มเป้าหมายได้ตามเป้า การรับสมัครตัวแทนครัวเรือนต้นแบบได้ครบ 40 ครัวเรือน การใช้จ่ายงบประมาณกิจกรรม จ่ายตามงบ มีค่าประสานงาน 300 บาท ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ 1000 บาท ค่าอาหารว่าง 5000 บาท ค่าอาหารกลางวัน 8000 บาท รวมค่าใช้จ่าย 13000 บาท  ส่งที่ควรประปรุงหรือปัญหาอุปสรรค ต้องปรับในเรื่องกำหนดการและเวลา ให้กระชับ สรุปกิจกรรมเวทีสร้างความเข้าใจเป็นไปตามที่วางแผนงาน


วาระที่ 2. การจัดประชุมตัวแทนครัวเรือนต้นแบบจำนวน 40 คน พร้อมกับคณะทำงาน 10 คน เพื่อ   - คัดเลือกแกนนำครัวเรือนต้นแบบขับเคลื่อนการลดสารเคมีในการเกษตรจาก 3 กลุ่มบ้านรวม 6 คน ร่วมกับคณะทำงานตามโครงการ 4 คน รวมเป็น 10 คน   - ร่วมกำหนดกติกาครัวเรือนต้นแบบเพื่อการเกษตรปลอดสารเคมี 2. ตรวจวัดสารเคมีตกค้างในเลือดตัวแทนครัวเรือนต้นแบบจำนวน 40 คน พร้อมกับคณะทำงาน 10 คน ครั้งที่ 1 กำหนดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ ดังนีี้
1.การประชาชนแจ้งข่าวสมาชิกครัวเรือนต้นแบบ เป็น หน้าที่ของ นายกระจ่าง นุ่นดำ ประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน และทำหนังสือเชิญ 2. ฝ่ายประสานงาน เชิญ วิทยากรและเจ้าหน้าสาธารณสุขในการเจาะเลือดตรวจสารคมีตกค้าง นายสมคิด ฝ้ายทอง 3. ฝ่ายจัดเตรียมสถานที่ นายเฉลิม เชนพูล 4. ฝ่ายต้อนรับและลงทะเบียน นายชำเนิน หนูเกลี้ยง 5. ฝ่ายบริการอาหาร กลุ่มแม่บ้าน ปิดการประชุม

  • photo
  • photo

 

13 0

5. ประชุมสมาชิกครัวเรือนต้นแบบการเกษตรปลอดสารเคมี

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

จัดประชุมตัวแทนครัวเรือนต้นแบบจำนวน 40 คน พร้อมกับคณะทำงาน 10 คน เพื่อ   - คัดเลือกแกนนำครัวเรือนต้นแบบขับเคลื่อนการลดสารเคมีในการเกษตรจาก 3 กลุ่มบ้านรวม 6 คน ร่วมกับคณะทำงานตามโครงการ 4 คน รวมเป็น 10 คน


ร่วมกำหนดกติกาครัวเรือนต้นแบบเพื่อการเกษตรปลอดสารเคมี

  1. ไม่ใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

  2. ไม่ใช้สารกำจัดแมลง ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง

  3. ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในสถานที่ปลูกผัก

  4. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด


    ตรวจวัดสารเคมีตกค้างในเลือดตัวแทนครัวเรือนต้นแบบจำนวน 40 คน พร้อมกับคณะทำงาน 10 คน ครั้งที่ 1 ผลการการตรวจเลือด ไม่พบ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4  รวมพบ 46 คิดเป็นร้อยละ 96

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม จัดประชุมตัวแทนครัวเรือนต้นแบบจำนวน 40 คน พร้อมกับคณะทำงาน ที่ศาลาหมู่บ้าน นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการ ชี้แจงรายละเอียดของกิจกรรม จากเวทีสร้างความเข้าใจของโครงการ ได้มีการรับสมัครตัวแทนครัวเรือนต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 40 คน ได้ตามที่กำหนด และมีการนัดแนะ มาทำความเข้าใจกระบวนการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติการทำเกษตรอินทรีย์ที่ถูกต้องได้ผลจริง และ จะมีการ คัดเลือกแกนนำครัวเรือนต้นแบบขับเคลื่อนการลดสารเคมีในการเกษตรจาก 3 กลุ่มบ้านรวม 6 คน ร่วมกับคณะทำงานตามโครงการ 4 คน รวมเป็น 10 คน เพื่อการทำงานขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลการดำเนินงานของโครงการอย่างต่อเนื่อง ในระยะดำเนินงานเป็น เวลา 10 เดือน เป็นการทำงานแบบมีส่วนร่วมครอบคลุมทั่วชุมชน และร่วมกันกำหนดทิศทางการดำเนินงานของตัวแทนครัวเรือนต้นแบบ การทำเกษตรอินทนรีย์ เป็นต้นแบบให้กับคนในชุมชนได้เรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ และชุมชนอื่นๆที่สนใจ การลด ละ เลิก หันมา ทำการเกษตรอินทรีย์ ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบ จำนวน 40 คน ต้องมีการทำกิจกรรมตามแผน การเรียนรู้ดูงานพื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ เรียนรู้การทำ และใช้สารสิ่งทดแทนสารเคมี การสร้างวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ และร่วมสรุปการทำเกษรตรของกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ คืนข้อมูลการทำเกษตรอินทรีย์สู่ชุมชน ทั้งหมดเป็นเรียนรู้และสู่การปฏิบัติ เป็นตัวแทนของคนในชุมชนตามแผนสู่การทำเกษตรอินทรีย์พื้นที่บ้านควนคง

ช่วงบ่าย คณะทำงานและ ตัวแทนครัวเรือนต้นแบบ ร่วมกำหนดกติกาครัวเรือนต้นแบบเพื่อการเกษตรปลอดสารเคมี มี ดังนี้

  1. ไม่ใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
  2. ไม่ใช้สารกำจัดแมลง ใช้สารทดแทนที่ผลิตเอง
  3. ไม่ใช้ยาฆ่าหญ้าในสถานที่ปลูกผัก
  4. ปลูกผักกินเองอย่างน้อย 5 ชนิด

การตรวจสารเคมีในเลือดของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ ครั้งที่ 1จำนวน 50 คน โดย คุณสมนึก นุ่นด้วง นักวิชาการสาธาสุข ผลเป็นดังนี้

  1. ไม่พบ จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4

  2. พบปลอดภัย จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 16

  3. พบเสียง จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 22

  4. พบไมปลอดภัย จำนวน 29 คน คิดเป็นร้อยละ 58


    สรุป ผลการการตรวจเลือด ไม่พบ 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4 รวมพบ 46 คิดเป็นร้อยละ 96

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

40 0

6. การเรียนรู้ดูงานพื้นที่ต้นแบบเกษตรปลอดสารเคมี/เกษตรอินทรีย์

วันที่ 9 มีนาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

คณะทำงานและตัวแทนกลุ่มจำนวน 13 คน ได้เรียนรู้การจัดการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี จากพื้นที่ปฏิบัติการจริงและมีผลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง

  1. ได้เรียนรู้กระบวนการ การทำเกษตรปลอดสารเคมี ทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ

2.ได้เรียนรู้การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ

3.เรียนรู้การสร้างความร่วมมือเพื่อการเกษตรปลอดสารเคมี

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานของชุมชนและตัวแทนกลุ่มการปลูกผักและภาคี ได้ไปศึกษาเรียนรู้พื้นที่ต้นแบบการจัดการ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมี และเรียนรู้การสร้างความร่วมมือเพื่อการเกษตรปลอดสารเคมี ที่บ้านทุ่งยาว หมู่ที่ 11 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังพัทลุง  และ ศึกษาดูงานการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำปุ๋ยน้ำ ที่บ้านเกาะทองสมใหม่ หมู่ที่15 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
    การเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ที่บ้านทุ่งยาว  มี ผู้ใหญ่บ้าน นายมนูญ สุขรัตน์ และ คณะทำงาน ต้อนรับ  บ้านทุ่งยาวมีการทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ เนื่องจาก ราคายางพาราตกต่ำ รายได้ไม่เพี่ยงในครัวเรือน ทางชุมชนเอง หันมาสร้างอาชีพเสริมโดยการปลูกพืชอาหารสวนผสมผสานในสวนยาง มีการปลูกพืชผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน แบ่งปัน และ ขายพืชผัก โดยการปลูกหรือขั้นตอนผลิตจะไม่มีการใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่ผลิตเองในชุมชน มีหน่วยงานที่เข้ามาหนุนเสริมให้ความรู้เรื่องของการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ มอ.ทักษิณสงขลา เข้ามาส่งเสริมกระบวนการผลิตผักอินทรีย์เพื่อจำหน่าย ให้ความรู้ความเข้าใจช่องทางตลาด เพราะปัจจุบันคนหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น การบริโภคอาหารที่ปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ     ส่วนในเรืองการสร้างความร่วมมือในการทำเกษตรปลอดสารเคมี ของชุมชน คำนึงถึงกระบวนการการผลิตที่ปลอดสารเคมี ที่จะส่งผลผู้บริโภค โดยตรง กลุ่มสมาชิกการทำเกษตร จะมีข้อตกลง ในกระบวนการผลิต เพื่อจัดจำหน่าย มีกลุ่มทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ กระจายปุ๋ยในแก่สมาชิก และจะมีช่องทางจัดจำหน่ายพืชผักปลอดสารให้แก่สมาชิก จึงเป็นการทำเกษตรอินทรีย์ที่สมาชิกเข้าใจร่วมกัน     ลงดูพื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรปลอดสารปลูกพืชอาหารผสมผสาน ของ คุณสมมิตร ปานเพ็ชร  ในบริเวณบ้านที่มีพื้นที่สามารถปลูกพืชผัก สวนครัวเรือน ไว้บริโภค ในครัวเรือน อีกส่วนหนึ่งปลูกพืชผลผสมผสาน เช่น ข้าวโพด มะนาว พริกไทย กล้วย มะพร้าว  และมีการปลูกพืชผักอินทรีย์เพื่อจำหน่าย ส่วนหนึ่งจะ เป็นโรงเรือนเพาะชำต้นกล้า
การทำเกษตรอินทรีย์ ของคุณสมมิตร ปานเพ็ชร ได้รับการสนับสนุนจาก มอ.ทักษิณสงขลา เรื่องความรู้ ด้านเกษตรอินทรีย์ เป็นที่ปรึกษาในเรื่องการเกษตรผสมผสาน

    ศึกษาดูงานการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำปุ๋ยน้ำ ที่บ้านเกาะทองสมใหม่ หมู่ที่15 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ผู้ใหญ่บ้าน นายวิโรจน์ เหตุทอง ชุมชนบ้านเกาะทองสมใหม่ ได้กล่าวว่า การที่ได้มาเป็นศูนย์เรียนรู้นั้นมาจาก การทำหมู่บ้านปรับปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ปฏิบัติโดยยึดหลัก 3 อ. อาหาร ออกกำลังกาย อารมย์ จุดเปลี่ยนเริ่มต้นที่ ร.พ.ส.ต มาเจาะเลือดตรวจหาสารพิษในร่างกาย ผลการตรวจของสมาชิกในชุมชนเป็นกลุ่มเลี่ยงเป็นจำนวนมาก ทางชุมชนจึงเล็งเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพ ด้วยการเริ่มต้นที่การผลิตอาหารที่ปลอดภัย ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ชีวภาพ ไม่ใช้สารเคมี ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นปุ๋ยหมัก วัสดุดิบส่วนมามีอยู่แล้วในชุมชน ประกอบไปด้วย มูลสัตว์ ขี้หมู ขี้วัว ขี้เป็ด ขี้ไก่ ขี้แพะ หรือจะเป็นเศษอาหารก็นำมาทำเป็นปุ๋ยหมักน้ำ แล้วแต่สูตรในการทำปุ๋ย

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

13 0

7. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 4

วันที่ 10 มีนาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทบทวนการทำกิจกรรมประชุมตัวแทนครัวเรือนต้นแบบ
  2. กำหนดการทำกิจกรรม การเรียนรู้ดูงานที่บ้านทุ่งยาว แบ่งหน้าที่คณะทำงานในการรับผิดชอบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การประชุมคณะทำงานของโครงการ ลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านควนคง ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน  มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 13 คน นายกระจ่าง  นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งวาระการประชุม
1. ทบทวนการทำกิจกรรมประชุมตัวแทนครัวเรือนต้นแบบ 2. กำหนดการทำกิจกรรม การเรียนรู้ดูงานที่บ้านทุ่งยาว

การทำกิจกรรมประชุมตัวแทนครัวเรือนต้นแบบในการทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 40 คน คณะทำงาน 10 คน ผู้เข้าร่วมประชุมครบตามเป้าที่กำหนดไว้ การดำเนินงานในส่วนกิจกรรมเป็นไปตามแผน เพราะมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ ที่ชัดเจนขึ้น สถานที่พร้อม ฝ่ายประสานงานประสานได้ครบ ฝ่ายต้อนรับและลงทะเบียน เรียบร้อย ฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มไม่ขาดตกบกพร่อง การจัดสรรเวลาในการทำกิจกรรมเป็นตามที่วางแผนงานไว้ งบประมาณในทำกิจกรรม 1. ค่าประสานงาน 300 บาท 2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 50คนๆละ25บาทจำนวน2มื้อเป็นเงิน 2,500 บาท  3.ค่าอาหารกลางวัน 50คนๆละ80 บาทเป็นเงิน 4,000 บาท 4.ค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ตรวจสารเคมี 1,000 บาท 5. ค่าวัสดุในการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือกจำนวน50คนๆละ45บาทเป็นเงิน 2,250 บาท  รวมงบกิจกรรมที่ 3 10,050 บาท ค่าใช้จ่ายเป็นไปตามแผนการจ่าย

กำหนดการทำกิจกรรม การเรียนรู้ดูงาน 1. เรียนรู้ดูงานพื้นที่ต้นแบบเกษตรปลอดสารเคมี /เกษตรอินทรีย์ ที่บ้านทุ่งยาว หมูที่ 11 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง 2. เรียนรู้ดูงานเกี่ยวการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยน้ำที่บ้านเกาะทองสมใหม่ หมู่ที่ 15 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง 3. เรียนรู้การสร้างความร่วมมือเพื่อการเกษตรปลอดสารเคมี

แบ่งบทบาทหน้าที่รับผิด 1. การประสานงานเป็นหน้าที่ของผู้รับผิดชอบโครงการ 2. การจดบันทึก รายละเอียดในการดูงานแต่ละที่ เป็นหน้าที่ของ ผู้รายงานกิจกรรมผ่านเว็ป

กำหนดวันที่จะไปศึกษาเรียนรู้ดูงาน ทั้ง 2 ที่ ในวันที่ 9 มีนาคม 2562 พร้อมกันที่ศษลาหมู่บ้าน เวลา 9.00 น.  ปิดการประชุมของคณะงาน

  • photo
  • photo

 

13 0

8. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5

วันที่ 10 เมษายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทบทวนการทำกิจกรรมการเรียนรู้ดูงานที่พื้นที่ต้นแบบเกษตรปลอดสารเคมี/เกษตรอินทรีย์

  2. ร่วมกำหนดแผนงานการดำเนินงาน กำหนดการทำกิจกรรม การรวบรวมข้อมูลการใช้และผลกระทบจากการสารเคมี

  3. มอบหมายหน้าที่ในการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานจำนวน 13 คน ร่วมกันประชุม ผลการดำเนินงานโครงการ ลดสารเคมีส่งการทำเกษตรอินทรีย์ ในการประชุมในครั้งที่เป็นครั้งที่ 5 ประชุม ณ ศาลาหมู่บ้าน การประชุมคณะทำงานของโครงการ ลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านควนคง ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 13 คน นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งวาระการประชุม
  1. ทบทวนการทำกิจกรรมการเรียนรู้ดูงานที่พื้นที่ต้นแบบเกษตรปลอดสารเคมี/เกษตรอินทรีย์ 2. กำหนดการทำกิจกรรม การรวบรวมข้อมูลการใช้และผลกระทบจากการสารเคมี การทำกิจกรรมการเรียนรู้ดูงานพื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรปลอดสารเคมี/เกษตรอินทรีย์ และเรียนรู้การสร้างความร่วมมือเพื่อการเกษตรปลอดสารเคมีที่ บ้านทุงยาว หมู่ที่11 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จุงหวัดพัทลุง และการเรียนรู้ดูงานการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำปุ๋ยหมัก การทำปุ๋ยน้ำ ที่บ้านเกาะทองสมใหม่ หมู่ที่15 ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วม คณะทำงานแกนนำกลุ่มและภาคี จำนวน 13 คน การเรียนรู้ดูงานเป็นไปตามแผนการดำเนินงาน และ สมาชิกผู้เข้าเรียนรู้สนใจไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการทำปุ๋ยหมัก ปุ๋ยน้ำ มีการพูดคุยซักถาม สูตรการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ วิธีการทำ วิธีการใช้ ถือว่าเป็นการไปเรียนรู้ดูงานที่ถูกต้องตามกระบวนการ ไปเรียนรู้ นำม่สู่การปฏิบัติ การทำเกษตรปลอดสารเคมี งบประมาณค่าใช้จ่าย ใช้จ่ายตามแผน งบกิจกรรม 6180 บาท
1. ค่าประสานงาน 300 บาท 2. ค่าอาหารและเครื่องดื่ม 13 คนๆละ 30 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 780 บาท 3. ค่าตอบแทนวิทยากร 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1300 บาท 4. ค่าอาหารกลางวัน 13 คนๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 1300 บาท 5. ค่าเช่ารถตู้1 คันๆละ 1800 บาท บวกค่านำ้เหมาจ่าย เป็นเงิน 2600บาท รวมงบกิจกรรมทั้งหมด 6180 บาท

  1. กำหนดการทำกิจกรรม การรวบรวมข้อมูลการใช้และผลกระทบจากการสารเคมี แจ้งรายละเอียดของกิจกรรม 1. เก็บข้อมูลการใช้สารเคมี และข้อมูลผลกระทบจากการใช้สารเคมีในชุมชน ตามแบบที่คณะทำงานงานกำหนด 2. นำข้อมูลการใช้สารเคมีมาวิเคราะห์ โดยคณะทำงาน และภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องแล้วนำข้อมูลคืนสู่ชุมชนในเวทีปิดโครงการ การทำกิจกรรมการเก็บรวบรวมสำรวจข้อมูลการใช้และผลกระทบจากสารเคมี จะแบ่งงานกัน เป็น 2 ช่วง การดำเนินงาน ช่วงที่ 1 จะเป็นการออกสำรวจข้อมูลโดยคณะทำงาน จำนวน 2 วัน กำหนดวันในวันที่ 25-26 พค 2562 ช่วงที่ 2 จะนำข้อมูลที่เก็บมาวิเคราะห์ข้อมูล โดย คณะทำงาน แกนนำกลุ่ม ภาคีเครือข่าย ร่วมกันวิเคราะห์ในวันประชุมคณะทำงานของเดือนถัดไป
  • photo
  • photo

 

13 0

9. เรียนรู้การทำ และใช้สารสิ่งทดแทนสารเคมี

วันที่ 7 พฤษภาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ 40 ครัวเรือน ได้เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักแห้งและลงมือปฏิบัติทดลองทำจริง
  2. สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ 40 ครัวเรือน ได้เรียนรู้การทำสารไล่แมลงจากสมุนธรรมชาติ ที่หาวัสดุดิบได้ตามท้องถิ่น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม เรียนรู้การทำปุ๋ย และใช้สารทดแทนสารเคมี จัดขึ้นที่พื้นที่บ้านต้นแบบ บ้านผู้ใหญ่บ้าน มีผู้เข้าร่วมจำนวน 41 คน  เพื่อเข้าร่วมเรียนรู้การำปุ๋ยหมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ และเรียนรู้การใช้เกษตรชีวภัณฑ์ โดยช่วงเช้าเรียนร้ํูการทำปุ๋ยหมักแห้ง และการปุ๋ยหมักน้ำ มีวิทยากร นายเสนอ  จันทร์งาม  หมอดินอาสาประจำตำบล ตำนาน มาให้ความรู้เกี่ยวกับการทำปุ๋ย หมักแห้ง ปุ๋ยหมักน้ำ  และให้สมาชิกมีการลงมือปฏิบัติทำจริง ในการทำปุ๋ยหมักแห้ง  มีวัสดุดิบ  มูลวัว เศษหญ้าแห้ง ฟ่างแห้ง และใบไม้  กากน้ำตาล  สารเร่ง พ.ด 1
วิธีทำการทำปุ๋ยหมักแห้ง
1. นำวัสดุดิบมาฝากซ้อนเป็นชั้นๆ 2. แล้วรดด้วยกากน้ำตาล สารเร่ง พ.ด 1 3. คลุมด้วยพลาสติกสีดำ
4. เมื่อถึงระยะที่กำหนดในการพริก 10 วัน/ครั้ง เป็นจำนวน 3 ครั้ง เมื่อกำหนดก็นำปุ๋ยหมักแห้งมาใช้ได้เลย

ช่วงบ่าย เรียนรู้การทำสมุนไพรไล่แมลง โดย วิทยากร นายพงค์พันธ์  เตชะนราสงค์  เกษตรตำบลตำนาน
ส่วนผสมของน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง  ได้แก่ 1. ตะไคร้ 2. ข่าแก่ 3. น้ำส้มสายชู 4. แอลกฮอล์ 40 ดีกรี(เหล้าขาว)

วิธีทำน้ำหมักสมุนไพรไล่แมลง 1.  นำข่าแก่ กับ ตะไคร้ ซอยเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ลงในถังหมัก คลุมเคล้าให้เข้ากัน 2. จากนั้นนำน้ำส้มสายชู 1 แก้ว ใส่ตามลงไป น้ำส้มสายชูนั้นมีกลิ่นฉุนรุนแรง และมีฤทธิ์กัดกร่อนช่วยกำจัดไข่แมลงได้ดีระดับหนึ่ง 3. นำแอกฮอลล์ 40 ดีกรีใส่ตามลงไปพอท่มสมุนไพร แอกฮออล์จะไปทำปฎิกิริยากับ ข่า ตะไคร้ ในถังหมักช่วยสกัดน้ำมนหอมระเหย และกลิ่นฉุนจากสมุนไพร อย่าง ตะไคร้ และ ข่า ออกมาได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นกลิ่นฉุนที่แมลงไม่ชอบ ช่วยขับไล่แมลงได้ผลดี 4. จากนั้นปิดฝาถังหมัก หมักทิงไว้ 24 ชั่วโมง  สูตรนี้เป็นน้ำหมักสมุนไพรแบบเร่งด่วนหมักไว้แค่ 1 วัน ก็สามารถนำออกมาใช้ได้เลย แต่หากหมักไว้แล้วใช้ไม่หมดสามารถหมักเก็บไว้ได้เรื่อย ๆ เพาระสูตรนี่ยิ่งหมักนานตัวน้ำมันหอมระเหยในพืชก็เข้มข้น ทำให้น้ำหมักสมุนไพรเข้มข้นและใช้ผลมากขึ้น

การใช้งาน  อัตราส่นในการใช้ คือ น้ำหมักสมุนไพร 2 ช้อนโต๊ะ น้ำยาล้างจาน 2 ช้อนชา ต่อน้ำ 20 ลิตร เก็บไว้ในที่ร่ม หลีกเลี่ยงแสงแดด สามารถเก็บไว้ได้นานเป็นปี ยิ่งหมักนาน ยิ่งใช้ได้ผลดีเยี่ยม เวลาที่เหมาะสมในการใช้น้ำหมักสมุนไล่แมลงตัวนี้ คือ ช่วงพลบค่ำ ซึ่งแมลงจะชอบออกมาหากินในช่วงนั้น  ทั้งนี้ กลิ่นฉุน จากน้ำหมักนั้นใช้ได้ผลสำหรับการขับไล่แมลงเท่านั้น ไม่สามารถกำจัดได้แบบสารเคมี  แต่ไม่ทิ้งสารตกค้างไว้ และ ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้ใช้เอง

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

40 0

10. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6

วันที่ 10 พฤษภาคม 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. ทบทวนติดตามแผนการดำเนินงาน กิจกรรมเรียนรู้การทำ และใช้สารทดแทนสารเคมี

  2. ร่วมกำหนดแผนงานการดำเนินงาน กำหนดการทำกิจกรรมสนับสนุนการสร้างนวัฒกรรมและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

  3. มอบหมายหน้าที่ในการทำกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

คณะทำงานจำนวน 13 คน ร่วมกันประชุม ผลการดำเนินงานโครงการ ลดสารเคมีส่งการทำเกษตรอินทรีย์ ในการประชุมในครั้งที่เป็นครั้งที่ 6 ประชุม ณ ศาลาหมู่บ้าน การประชุมคณะทำงานของโครงการ ลดสารเคมีส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ที่บ้านควนคง ที่ศาลาประจำหมู่บ้าน มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 13 คน นายกระจ่าง นุ่นดำ ผู้รับผิดชอบโครงการ แจ้งวาระการประชุม
1. ทบทวนการทำกิจกรรมการเรียนรู้ การทำและใช้สารทดแทนสารเคมี 2. กำหนดการทำกิจกรรม การรวบรวมข้อมูลการใช้และผลกระทบจากการสารเคมี

  1. กิจกรรมการ เรียนรู้การทำ และใช้สารทดแทนสารเคมี มีผู้เข้าร่วมเรียนรู้ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 41 คน เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักแห้ง และปุ๋ยน้ำหมัก เรียนรู้การใช้สารเกษตรชีวภัณฑ์ เช่นการดักจับแมลง สารไล่แมลง สมาชิกกลุ่มต้นแบบ ให้ความสนใจเรียนรู้การทำ และปฏิบัติการทำปุ๋ยหมักแห้ง และทำสารเกษตรชีวภาพจับแมลง สารไล่แมลง โดยมีวิทยากรผู้ชำนาญการและหมอดินอาสา ให้ความรู้ สร้างความเช้าใจ งบประมาณค่าใช้จ่าย กิจกรรม ทั้งหมด 12900 บาท ค่าประสานงาน 300 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 40 คนๆละ 25 บาท 2 มื้อ เป็นเงิน 2000 บาท ค่าอาหารกลางวัน 40 คนๆละ 80 บาท เป็นเงิน 3200 บาท ค่าตอบแนวิทยากรจำนวน 4 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 2400 บาท ค่าวีสดุสนับสนุนการเรียนรู้การทำปุ๋ยหมัก 3000 บาท ค่าวัสดุสนับสนุนการเรียนรู้การทำสารทดแทนสารเคมี 2000 บาท
    ผลลัพัธ์ที่เกิดขึ้นจริงในกระบวนการเรียนรู้การทำและใช้สารสิ่งทดแทนสารเคมี
  2. สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ 40 ครัวเรือน ได้เรียนรู้การทำปุ๋ยหมักแห้งและลงมือปฏิบัติทดลองทำจริง
  3. สมาชิกครัวเรือนต้นแบบ 40 ครัวเรือน ได้เรียนรู้การทำสารไล่แมลงจากสมุนธรรมชาติ ที่หาวัสดุดิบได้ตามท้องถิ่น


  4. กำหนดการทำกิจกรรม
    สนับสนุนการสร้างนวัฒกรรมและแหล่งเรียนรู้ แจ้งรายละเอียดกิจกรรม 1. คัดเลือกครอบครัวที่มีความโดดเด่นในการทำเกษตรปลอดสารเคมี 2. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์สนับสนุนการสร้างนวัฒกรรมแก่ครอบครัวที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ร่วมกำหนดแผนกิจกรรม วันที่ 15 มิถุนายน 2562 แบ่งหน้าที่มอบหมายงาน
  • photo
  • photo
  • photo

 

13 0

11. สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้

วันที่ 15 มิถุนายน 2562 เวลา น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

  1. เกิดครัวเรือนต้นแบบการทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 3 ครัวเรือน ที่สามารถถ่ายทอดความรู้เป็นวิทยากร ในการทำเกษตรอินทรย์
  2. เกิดแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 1 แปลง

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรม สนับสนุนการสร้างนวัฒกรรมและแหล่งเรียนรู้ในชุมชน มีสร้างความเข้าใจกับสมาชิกกลุ่มต้นแบบการเกษตรปลอดสารเคมี จำนวน 40 ครัวเรือน ในการคัดเลือกครัวเรือนที่มีความโดดเด่นในการทำเกษตรอินทรีย์ จำนวน 3 ครัวเรือน และจะมีการส่งเสริมสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์การสร้างนวัฒกรรมแก่ครอบครัวที่ได้รับคัดเลือดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ครัวเรือนต้นแบบที่มีความโดดเด่น 3 ครัวเรือน 1. ครัวเรือนของ นายกระจ่าง นุ่นดำ 2. ครัวเรือน 3. ครัวเรือน
คัดเลือดโดยสมาชิกกลุ่มครัวเรือนต้นแบบ ทั้ง 3 ครัวเรือน เป็นครัวเรือนที่มีความโดดเด่นในการทำเกษตรอินทรีย์ ตั้งแต่กระบวนการผลิต กระบวนการดูแลรักษา การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ปุ๋ยน้ำหมัก ปุ๋ยหมักแห้ง การใช้สารทดแทนสารเคมี ที่สามารถผลิตใช้เองได้ และสามารถทอดถ่ายวิธีการทำให้แก่สมาชิกครัวเรือนต้นแบบและบุคคลที่สนใจ ได้เป็นอย่างดี มีการปลูกพืชผักแบบผสมผสาน ตามความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เป็นการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง และเน้นการเลิกใช้สารเคมี ในการทำเกษตร เหมาะสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

สรุปการคัดเลือกครัวเรือนต้บแบบที่มีความโดดเด่นในการทำเกษตรปลอดสารเคมี 1. ได้ครัวเรือนต้นแบบ 3 ครัวเรือน
2. ได้แหล่งเรียนรู้การทำเกษตรปลอดสารเคมี จำนวน 1 แปลง ครัวเรือนต้นแบบ 3 ครัวเรือน จะได้รับการสนับสนุน วัสดุ อุปรกรณ์ ในการทำเกษตรปลอดสารเคมีและส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชน

  • photo
  • photo
  • photo
  • photo
  • photo

 

3 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 17 11                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 72,910.00 52,380.00                  
คุณภาพกิจกรรม 44 0                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

 

 

 

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

  1. เรียนรู้การทำ และใช้สารสิ่งทดแทนสารเคมี ( 7 พ.ค. 2562 )
  2. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 ( 10 พ.ค. 2562 )
  3. สนับสนุนการสร้างนวัตกรรมและแหล่งเรียนรู้ ( 15 มิ.ย. 2562 )
  4. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 ติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ( 20 มิ.ย. 2562 )
  5. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 ( 10 ก.ค. 2562 )
  6. การเก็บรวบรวมสำรวจข้อมูลการใช้ และผลกระทบจากสารเคมี ( 27 ก.ค. 2562 - 28 ก.ค. 2562 )
  7. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9 ( 17 ส.ค. 2562 )

(................................)
นายกระจ่าง นุ่นดำ
ผู้รับผิดชอบโครงการ