directions_run

ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นาย อุสัน แหละหีม

ชื่อโครงการ ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-01865 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึง 30 กันยายน 2562


กิตติกรรมประกาศ

"ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง



บทคัดย่อ

โครงการ " ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 61-01865 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 299,860.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ทะเลสาบสงขลาเป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีพื้นที่ 1,040.24 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในจังหวัดพัทลุง สงขลา และนครศรีธรรมราช แบ่งเป็น 3 ตอน คือ ตอนบน ตอนกลาง และตอนล่าง โดยมีพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ อ.ควนขนุน อ.เมือง อ.เขาชัยสน อ.บางแก้ว ละอำเภอปากพะยูน ด้วยความเป็นนิเวศที่มีลักษณะเฉพาะ คือ น้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ขึ้นอยู่กับช่วงฤดูกาลส่งผลให้ทะเลสาบมีความอุดมสมบูรณ์มีพันธุ์สัตว์น้ำถึง 770 ชนิด (ไพโรจน์ ศิริมนตราภรณ์ และคณะ 2542) หล่อเลี้ยงชาวประมงที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรในการดำรงชีวิตรอบทะเลสาบถึง 169 หมู่บ้าน 8,900 ครัวเรือน (สมาพันธ์ชาวประมงทะเลสาบสงขลา 2558) ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำในทะเลสาบที่มี 3 น้ำ ทำให้สัตว์น้ำมีรสชาติที่อร่อย แตกต่างจากพื้นที่อื่นๆ ซึ่งส่งผลให้สัตว์น้ำในทะเลสาบเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้มีการจับสัตว์น้ำที่ขาดการวางแผน เน้นการจับให้ได้ปริมาณมากโดยใช้เครื่องมือทำลายล้าง และตาอวนขนาดเล็ก กอรปกับระบบนิเวศที่มีการเปลี่ยนแปลงจากการพัฒนาโครงการของรัฐ เช่น การปิดปากระวะ การสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลา ซึ่งเป็นการปิดทางเข้า-ออกของสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลากับอ่าวไทย การใช้เครื่องมือผิดกฎหมาย เช่น อวนรุน โพงพาง ในทะเลสาบตอนล่าง การปล่อยน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลต่อความตื้นเขิน การบุกรุกพื้นที่ป่าชายเลน การเกิดภัยพิบัติ การเพิ่มขึ้นของประชากรที่ใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและหลากหลายขึ้น ไม่มีมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มข้นและจริงจัง ฯลฯ เหล่านี้ส่งผลให้ทะเลสาบมีความเสื่อมโทรม สัตว์น้ำมีจำนวนลดลงเห็นได้ชัดในปี พ.ศ. 2535 – พ.ศ. 2540 ที่ชาวประมงเปลี่ยนอาชีพไปทำนา รับจ้างนอกชุมชน เช่น โรงงานถุงมือ จังหวัดสงขลาหรือไปเป็นลูกเรือในจังหวัดสตูล ทำให้ชุมชนต่างคนต่างอยู่เกิดความห่างเหินไม่มีการพึ่งพาช่วยเหลือเกื้อกูลเหมือนในอดีตและมีแนวโน้มจะนำไปสู่การล่มสลายของชุมชน


1.2 แนวทางแก้ไขปัญหาและผลที่เกิดขึ้น (รูปแบบช่องฟืนโมเดล) ภายใต้ความเชื่อมั่นว่า “ทะเลสาบคือหม้อข้าวหม้อแกง” ถึงแม้ว่าจะไม่สามารถแก้วิกฤติให้สามารถจับสัตว์น้ำทำการประมงเหมือนในอดีตได้ แต่ก็มีชาวประมงบางส่วนที่ไม่ยอมจำนนต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น พยายามร่วมคิดออกแบบหาทางออกที่หลากหลายในการที่จะฟื้นให้ทะเลสาบมีสัตว์น้ำที่สามารถทำมาหากินได้เหมือนเดิม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวประมงในชุมชนบ้านช่องฟืน หมู่ที่ 2 ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเป็นหนึ่งใน 11 หมู่บ้านในตำบลเกาะหมากที่อยู่ในนิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ซึ่งมีประชากร 256 ครัวเรือน ประชากร 1,009 คน 80% ประกอบอาชีพประมงเป็นอาชีพหลัก ก็เคยผ่านการประสบปัญหาการลดลงของสัตว์น้ำเช่นเดียวกับหมู่บ้านอื่นๆรอบทะเลสาบสงขลาชุมชนดังกล่าวได้พยายามรวมกลุ่มของชาวประมงในพื้นที่เพื่อร่วมกันหาทางออก คิดหารูปแบบต่างๆในการฟื้นฟูให้มีสัตว์น้ำ สามารถทำการประมงได้ในรูปแบบของการทดลองทำเขตอนุรักษ์ชุมชน ซึ่งเป็นเขตทะเลหน้าบ้านที่สมาชิกในชุมชนเห็นพ้องต้องกันยอมรับที่จะให้มีพื้นที่สำหรับอนุบาลและปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อเป็นแหล่งเพาะและขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น โดนมีอาณาเขตพร้อมกติกาข้อตกลงที่ชุมชนยอมรับและร่วมปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัด และมีประมงอาสาซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน ทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอย่างต่อเนื่องซึ่งวิธีการดังกล่าวได้มีการดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 จนถึงปัจจุบันโดยมีการร่วมประชุมทุกวันที่ 19 ของเดือนโดยมีองค์กรที่ทำหน้าที่ในการจัดให้มีเวทีการพูดคุยสรุปทบทวนวางแผนในการทำงานของชุมชนและชุมชนใกล้เคียงคือ “สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบ อ.ปากพะยูน” ซึ่งมีตัวแทนจากประมงอาสาและตัวแทนกลุ่มกิจกรรมในพื้นที่จำนวน 8 กลุ่ม เข้ามาเป็นกลไกขับเคลื่อนการทำงานและกิจกรรมเขตอนุรักษ์ถือว่าเป็นภารกิจหนึ่งของสมาคมฯที่นำไปสู่การฟื้นฟูเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำและยังเป็นกลไกร่วมในการบริหารจัดการทุกกลุ่มกิจกรรมในพื้นที่ จากการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำให้กิจกรรมอนุรักฟื้นฟูเกิดรูปธรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงการเพิ่มขึ้นของชนิดและพันธุ์สัตว์น้ำส่งผลให้ชาวประมงสามารถจับสัตว์น้ำได้ตลอดปี สร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้นของคนในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง จากเดิมที่มีรายได้จากการทำประมงวันละ 150 -300 บาท ปัจจุบันมีรายได้เฉลี่ยวันละ 500 – 1,000 บาท และสามารถทำประมงได้ตลอดทั้งเกือบทั้งปี ยกเว้นช่วงมรสุม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่ทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นของคนในชุมชน ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาวะซึ่งตอบโจทย์ความสุขของคนในชุมชนบ้านช่องฟืนที่จะนำไปสู่อาชีพประมงที่ยั่งยืนในอนาคต จากความสำเร็จดังกล่าวข้างต้นทำให้แกนนำในหมู่บ้านใกล้เคียงเกิดความสนใจและอยากจะนำไปดำเนินการในพื้นที่ของตนเองโดยพร้อมที่จะเข้ามาเป็นเครือข่ายของ“สมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบ อ.ปากพะยูน” และสนใจรูปแบบการติดตามกิจกรรมฟื้นฟูเขตทะเลหน้าบ้านในลักษณะเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน โดยมีกติกาข้อตกลงเป็นเครื่องมือที่จะปฏิบัติร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การสร้างความมือของคนในชุมชนในการร่วมฟื้นฟูทะเลให้ทรัพยากรสัตว์น้ำมีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งมีพื้นที่ที่สนใจจำนวน 6 พื้นที่ซึ่งอยู่ในพื้นที่นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ได้แก่
1.ม.6 บ้านบางขวน, ม.8 บ้านแหลมไก่ผู้ ต.ฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง 2.ม. 9 บ้านปากพล ,ม. 11 บ้านหัวปอ, ม. 14 บ้านคลองกะอาน ต.นาปะขอ อ.บางแก้ว จ.พัทลุง
3. ม. 1 บ้านแหลมจองถนน ต.จองถนน อ.เขาชัยสน จ.พัทลุง บ้านบางขวน และบ้านแหลมไก่ผู้ ซึ่งเป็นหนึ่งในชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ตำบลฝาละมี อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง ซึ่งเป็นตำบลหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมทะเลสาบตอนกลางของทะเลสาบสงขลา ถึงแม้ว่าอาชีพประมงจะไม่ใช่อาชีพหลักของคนทั้งสองชุมชนนี้แต่วิถีชีวิตก็ผูกพันกับประมงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยบ้านบางขวน และบ้านแหลมไก่ผู้นั่น เคยทำเขตอนุรักษ์ร่วมกันในบริเวณอ่าวบางขวน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 โดยมีพื้นที่เขตอนุรักษ์ความยาวประมาณ 4 กิโลเมตร และห่างออกไปจากฝั่ง 800 เมตร มีกฎกติกาเขตอนุรักษ์ คือ ห้ามทำการประมงทุกชนิด และมีทีมอาสาดูแลเขตอนุรักษ์ 20 คน มีการตรวจตราเขตเป็นประจำทุกสัปดาห์ และได้ล้มเลิกไปเมื่อปี พ.ศ. 2557 เนื่องจากตัวแกนนำเป็นคนละเมิดกฎกติกาเขตอนุรักษ์เสียเอง หลังจากการเขตอนุรักษ์ได้ล้มเลิกไป ทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำที่เคยมีนั้นเริ่มน้อยลง ชาวประมงต้องเริ่มออกไปทำประมงไกลบ้านขึ้นเรื่อยๆ บางคนก็เลิกทำประมงเนื่องจากไม่คุ้มกับการลงทุนซึ่งพื้นที่ดังกล่าวได้มีการทดลองดำเนินการมาแล้วแต่ไม่เกิดความต่อเนื่องจนต้องหยุดไปในบางช่วง แต่ยังมีแกนนำและชาวประมงบางส่วนมีความสนใจและพยายามที่จะดำเนินการโดยต้องการนำรูปแบบการทำงานของชุมชนช่องฟืนไปขยายผลดำเนินการในพื้นที่ของตนเองเพื่อให้ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ไม่ต้องออกไปหากินไกลๆ และต้องการให้เกิดกลุ่มกิจกรรมที่เข้มแข็งในชุมชนของตัวเองที่เข้ามามีบทบาทสำคัญในการร่วมฟื้นฟูเพื่อให้ทะเลมีความอุดมสมบูรณ์และมีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัยเพียงพอต่อการบริโภคสร้างเศรษฐกิจที่ดีให้กับคนในชุมชน ซึ่งจะส่งผลก่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็งสามารถจัดการตัวเองได้ในอนาคต
บทเรียนจากการอนุรักษ์ฟื้นฟูการเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำด้วยเขตอนุรักษ์ในพื้นที่ดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถประสบผลสำเร็จได้เนื่องจากการได้มาของกติกาข้อตกลงของชุมชนไม่ได้ผ่านการพูดคุยจากกลุ่มที่ไม่หลากหลายและไม่ต่อเนื่อง และการรับรู้ในชุมชนไม่แพร่หลายในขณะเดียวกันการทำงานของประมงอาสาภายใต้บทบาทหน้าที่ก็ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร ทำให้ไม่เกิดการยอมรับในชุมชนวงกว้างในขณะเดียวกันไม่มีองค์กรที่เป็นกลไกหลักมาเชื่อมร้อยให้มีเวทีการพูดคุยอย่างต่อเนื่อง ในรูปแบบชมรมฯหรือสมาคมฯ ที่มีหลายภาคียอมรับและเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการทำงาน ในขณะเดียวกันกติกาข้อตกลงชุมชนยังไม่มีการเผยแพร่หรือติดประการให้คนในชุมชนได้เห็นอย่างทั่วถึง ตลอดถึงกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูยังไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง เหล่านี้ล้วนส่งผลให้กิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูในพื้นที่ดังกล่าวไม่นำไปสู่การสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมของคนในชุมชน ส่งผลให้กิจกรรมไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องตามเป้าหมายที่วางไว้ 1.3 แนวทางที่นำไปสู่ความสำเร็จของโครงการ ในปลายปี พ.ศ. 2560แกนนำและชาวประมงมีความคิดเห็นที่จะฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ขึ้นมาใหม่อีกครั้ง และใช้กระบวนการทำงาน การดูแลเขตอนุรักษ์ของบ้านช่องฟืนเป็นต้นแบบในการฟื้นฟูเขตอนุรักษ์ในครั้งนี้โดยได้มีตัวแทนแกนนำชาวประมงและผู้ใหญ่บ้านเข้ามาร่วมกิจกรรมกับชุมชนช่องฟืนพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และรูปแบบการทำงานในการอนุรักษ์ฟื้นฟูด้วยรูปแบบเขตอนุรักษ์ พร้อมทั้งกลไกการขับเคลื่อนขององค์กรชาวประมงในพื้นที่ชุมชนช่องฟืนนำไปปรับใช้ในพื้นที่ของตัวเอง โดยเข้าร่วมประชุม 3-4 ครั้ง และแกนนำชุมชนบ้านช่องฟืนมองว่าการขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ไปยังพื้นที่ใกล้เคียง นอกจากเกิดการเชื่อมร้อยเครือข่ายชาวประมงด้วยกันแล้วยังเป็นการขยายพื้นที่เขตทะเลหน้าบ้านที่ส่งผลในการเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลสาบ ให้มีอาหารทะเลที่พอเพียง พร้อมทั้งสร้างอาชีพ เสริมรายได้ หลักประกันของชาวประมงที่มีอาชีพประมงที่ยั่งยืน เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารที่ปลอดภัย และมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของในการดูแลทะเลสาบซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของเครือข่ายชาวประมงทะเลสาบสงขลาที่ต้องการให้ทะเลสาบมีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัย และเกิดพื้นที่เขตอนุรักษ์ในทุกตำบลที่ติดริมทะเลสาบของพื้นที่ในจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่อำเภอควนขนุน – อำเภอปากพะยูน ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของจังหวัดพัทลุง ว่าด้วย “พัทลุงเมืองสีเขียว ทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ ชุมชนมีสิ่งแวดล้อมที่ดี” ซึ่งมีความเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงปี 2561 – 2564 ซึ่งมี 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์ที่ว่าด้วย “พัทลุง เมืองคนคุณภาพ สิ่งแวดล้อมดี ชุมชนเข้มแข็ง เติบโต และมั่งคั่งจากฐานการเกษตร วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ยั่งยืน” ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมาย ทิศทาง ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 10 ปีของ สสส. ที่ให้เกิดการกระจายโอกาสสร้างกลไกการทำงานร่วมของชุมชนและภาคีต่างๆอันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งและเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะและเป็นประเด็นคานงัดนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ร่วมกันกับจังหวัดพัทลุงในรูปแบบของ “พัทลุงสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี (Phatthalung Green City)” การดำเนินโครงการ “การขยายพื้นที่ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน” โดยใช้กระบวนการต่างๆ (รายละเอียดอยู่ในแผนกิจกรรม) จึงมีความจำเป็นที่จะดำเนินการเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนที่อยากเห็นทะเลมีความอุดมสมบูรณ์ มีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัยและเพียงพอ อันจะนำไปสู่การสร้างหลักประกันความมั่นคงด้านอาหาร ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุงดังกล่าวข้างต้น

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1.สร้างความรู้ความตระหนักร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบ
  2. 2.เกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล
  3. 3. เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน
  4. 4. นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลางมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ
  2. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ
  3. จัดทำขอมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง
  4. เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาของทะเลสาบสงขลาตอนกลาง (เวทีเปิดโครงการ)
  5. กิจกรรมสมัครประมงอาสาเพื่อทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของประมงอาสา
  6. เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง
  7. เวที่ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ
  8. เวทีค้นหาจิตอาสาเพื่อเข้ามาเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนร่วมบริหารจัดการโครงการ
  9. เก็บข้อมูลรายได้จากการทำประมงย้อนหลัง10ปี
  10. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ
  11. เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตอนุรักษ์
  12. ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์แต่ละพื้นที่
  13. เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง (ARE)
  14. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ
  15. เวทีแลกเปลียนเรียนรู้บทบาทการทำงานของประมงอาสาในนอกพื้นที่ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับพื้นที่บ้านในถุ้ง ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
  16. เวที่ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ
  17. เก็บขัอมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธ์สัตว์น้ำหลังการมีเขตอนุรัก
  18. เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง
  19. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ
  20. ซ่อมแซมปรับปรุงและขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ทั้ง6ชุมชน
  21. ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ2ครั้ง
  22. ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ
  23. เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง
  24. เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง (ARE)
  25. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ
  26. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
  27. เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง
  28. เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง
  29. เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง (ARE)
  30. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ
  31. เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับพื้่นที่ บ้านช่องฟืนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง
  32. เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง
  33. เวทีปิดโครงการ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ม. 1 บ้านแหลมจองถนน 70
ม. 11 บ้านหัวปอ 40
ม. 8 บ้านแหลมไก่ผู้ 70
ม. 9 บ้านปากพล 30
ม.14 บ้านคลองกะอาน 30
ม.6 บ้านบางขวน 50

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

คณะทำงาน ละผู้เข้าร่วมตลอดถึงชาวประมงและสมาชิกในชุมชนแต่ละพื้ที่มีความรู้ความเช้าใจ​ถึง ๆเป้าหมาย วัตถุประสงค์และแนวทางในการดำเนินงานโครงการที่เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของชนิดแลพันธ์ุสัตว์น้ำในทะเลสาบและได้ทราบ ถึงปัญหาสถานการณ์​ทะเลสาบและสามารถบอกต่อกันได้


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 10 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานผู้เข้าร่วมประชุม เพื่อทบทวนและสร้างความเข้าใจรวมบริหารการจัดการพร้อมบทบาทภาระกิจการทำงานของแต่ละฝ่ายให้สอดคลองกับเป้าหมายของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง -คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในเป้าหมายวัตถุประสงค์โครงการ ตัวชี้วัด ตลอดถึงการบริหารการจัดการโครงการและบทบาทภาระกิจของคณะทำงานแต่ละฝ่ายสามารถปฎิบัติภาระกิจของตัวเองได้ ผลผลิต -คณะทำงานเข้าร่วมประชุมจำนวน 15 คน ครอบคลุมตามบทบาทฝ่ายการทำงานในการบริหารจัดการโครงการ ผลลัพธ์ -คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจเป้าหมาย วัตถุประสงค์ในการขับเคลื่อนโครงการตลอดถึงการบิหารจัดการที่เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดและสามารถนำไปปฎิบัติและบอกเล่ากับคณะทำงานได้ ผลสรุปที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม คณะทำงานจำนวน 15 คน มีความรู้ความเข้าใจเป้าหมายวัตถุประสงค์โครงการตลอดถึงการมีร่วมบริหารจัดการให้ขับเคลื่อนไปได้ภายใต้ผลลัพธ์และตัวชี้วัดภายใต้การทำงานตามบทบาทภาระกิจหน้าที่ของแต่ละฝ่าย

 

15 0

2. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 10 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวทีประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้องผู้เข้ารวมประชุม 15 คน เพื่อทบทวนและสร้างความเข้าใจรวมบริหารการจัดการพร้อมบทบาทภาระกิจการทำงานของแต่ละฝ่ายให้สอดคลองกับเป้าหมายของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต -ประชุมคณะทำงานผู้เข้ารวมประชุมครบ จำนวน 15 คน ผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการ สามรถนำไปปฎิบัติในการขับเคลื่อนโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นจริง -คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารการจัดการโครงการและบททาบภาระกิจของแต่ละฝ่ายสามารถปฎิบัติภาระกิจของตัวเองได้

 

15 0

3. จัดทำขอมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง

วันที่ 15 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

จัดเก็บข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำในพื้นที่นเวศน์ทะเลสาบตอนกลางซึ่งเป็นพื้นทีที่ชาวประมงทำมาหากินในบริเวณดังกล่าวโดยใช้แบบสอบถามข้อมูล จำนวน 100 ชุด ในการหาข้อมูลแบ่งทีมรับผิดชอบในการทำแบบสอบถามและมีช่วงเวลาที่ชัดเจนในการนัดประชุมงานแต่ละครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนพร้อมที่จะนำไปใช้ในการวิเคราะห์นำเสนอข้อมูลให้สมาชิกในชุมชนได้รับรู้ พร้อมที่จะนำไปใช้ในการวางแผนการทำงมนของชุมชนในโอกาศต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง ได้จัดเก็บข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำในพื้นที่ชุมชนนเวศน์ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุง ผลผลิต-ได้ข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่ชาวประมงหากินได้ในพื้นที่ จำนวน 21 ชนิด เช่น ปลาหัวโม่ง ปลาชะโด ปลานิล ปลาดุกทะเล ปลาขี้ต้ง ปลากระเบน ปลากระบอก ปลากะพง ปลาวัว ปลาขี้เกะ ปลา ล่าปัง ปลาแมว ปลาช่อน ปลาซิวไม้ไผ่ ปลากะพงหิน กุ้งก้ามกราม กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวมัน กุ้งกุลาดำ กุ้งเคย และจำนวนเรือชาวประมงที่ทำมาหากินในพื้นที่ จำนวน 213 ลำ ซึ่งเป็นเรือหางยาว ขนาด ก้วาง 1.5 ยาว 12เมตร ใช้เครื่อง ฮอนด้า 13 แรงม้า ผลลัพธ์- แกนนำและสมาชิกในชุมชนได้รู้สถานการณ์ ชนิพันธุ์สัตว์น้ำที่จับได้ในพื้นที่นิเวศน์ทะเลสาบตอนกลาง อ ปากพะยูน ตลอดถึง จำนวน และประเภทเรือที่ชาวประมงในชุนชนใช้ทำมาหากินในพื้นที่บริเวณดังกล่าว พร้อมทั้สามารถนำข้อมูลไปบอกเล่าขยยายผล ห้กับสมาชิกคนอื่นๆในชุมชนได้ ผลที่เกิดขึ้นจริง คนในชุมชน ได้รับรู้สถานการณ์ นำนวนเรือประมงที่ใช้ในการทำมาหากิน ตลอดถึงชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่จับได้ในชุมชนที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเครื่องมือที่ใช้ทำมาหากินในพื้นที่ดังกล่าวที่นำไปสู่การวิเคราะห์การทำแผนฟื้นฟูทะเลและชายฝั่งในอนาคต

 

20 0

4. เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาของทะเลสาบสงขลาตอนกลาง (เวทีเปิดโครงการ)

วันที่ 30 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.ทำความเข้าใจและบอกเล่าที่มา เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ตลอดถึงรายละเอียดการบริหารจัดการโครงการ ที่มีเป้าหมายในการฟื้นควาอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบรวมถึงการทำความเข้าใจสถานการณ์ของทะเลสาบ โดยมีวิทยากรที่มีความรู้เรื่องการทำงานด้านการอนุรักษ์ฟื้นฟู มาให้ความรู้ 2.ประชุมคณะทำงานโครงการ หน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นหาวิธีการที่จะฟื้นฟูทะเลสาบตลอนกลาง ที่่ต้องมีอาสาสมัครชาวประมงทำหน้าที่เป็นตัแทนในการตรวจตราเขตอนุักษ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง ได้ทำความเข้าใจสถาณการณ์ของทะเลสาบและบอกเล่าที่มาเป้าหมายวัตถุประสงค์พร้อมถึงความสำคัญของประมงอสาที่มาจากชาวประมงในชุมชนอาสาเข้ามาเพื่อตรวจตราเขตอนุรักษ์ ผลผลิต - มีชาวประมงสมัครใจที่เข่าร่วมเป็นอาสมสมัครจำนวน 5 พื้นที่พื้นที่ละ15 คน รวมจำนวน 75 คน ที่มีความสนใจอาสาเข้ามามีสส่วนร่วมในกาดุแลรักาาทะเล ผลลัพธ์- แกนนำและประมงอาสาจำนวน 75 คนมีความรู้ความเข้าใจในการทำหน้าที่เป็นประมงอาสาออกตรวจตราเขตอนุรักษ์โดยมีแผนงานที่ชัดเจนและเป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน ผลสรุปสำคัญของกิจกรรม - ผู้เข้าร่วมตลอดถึงแกนนำชาวประมงในชุมชนมีความรูความเข้าใจถึงเป็าหมายการดำเนินโครงการตลอดถึงสถานการณ์ปัญหาทะเลสาบพร้อมทั้งร่วมหาแนวทางในการแก้ไขฟื้นฟูทะเลสาบโดยมีประมงอาสาทำหน้าที่ในการตรวจตราเขตอนุรักษ์ ทั้ง 5 ชุมชน จำนวน 75คน

 

80 0

5. กิจกรรมสมัครประมงอาสาเพื่อทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของประมงอาสา

วันที่ 31 มกราคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานกรรมการแลแกนนำประมงอาสา 1.ทบทวนคณะกรรมการ/กลไกโครงสร้าง 2.วัตถุประสงศ์ 2.1 ต้องการให้ชุมชนมีสว่นร่วมในการรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้ม 2.2 เพื่อประสานความร่วมมือกับภาคีต่างๆในการอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม 2.3 เพื่อสงเสริมอาชีพประมงที่ยั่งยืนเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผู้บริโภค 3. ระเบียบข้อบังคบสมาคมฯ 4. ที่ทำการสมาคมฯ/สถานที่ติดต่อ/ที่อยู่ คณะกรรมการ สมาคม ชาวประมงรักษ์ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัด พัทลุง ชุดก่อตั่ง 1.นาย น้อย แก่นแท่น นายกสมาคมฯ 2.นาย สมปอง เก่งแก้ว อุปนายก 1 3. นาย สุเดน พรรณราย อุปนายก 2 4. นาย อวบ ชูปู นายทะเบียน 5. นาง วรรณดี ทิพภักดี เลขานุการ 6. นาย อุเส็น หมัดหีม เหรัญญิก 7. นาง หนูเล็ก มูสิกะสา ประชาสัมพันธ์ 8. นาย คลิ้ง ดำสุ้น กรรมการ 9 นาย อนันต์ คงจันทร์ ปฎิคม 10. นาย หมัดอาหลี วีมาคะ กรรมการ 11. นาย สมชาย นิยมเดชา ผู้ช่วยเลขานุการ ที่ปรึกษา 1. นาย สุรสิทธ์ สุวรรโร ผุ้ใหญ่บ้าน ม.6 2.นาย เจริญ สุวรรณเจริญ ผุ้ใหญ่บ้าน ม. 8 3. นา ยสมชาย ชอบงาม ผุ้ใหญ่บ้าน ม.14 4. นาย สมใจ ดิษฐ์สุวรรณ ผุ้ใหญ่บ้าน ม.11 5. นาย ดนัย ด้วงแก้ว ผุ้ใหญ่บ้าน ม.1 6. นาย อูสัน แหละหีม นายกสมาคมรักษ์ทะเลสาบอ.ปากพะยูน จ.พัทลุง 7. นาง เบญจวรรณ เพ็งหนู เจ้าหน้าทีรักษ์ทะเลไทย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง ได้ประมงอาสาที่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตัวเอง ผลลัพธ์ ที่เกิดจริง

 

70 0

6. เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอและจัดทำแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งแต่ละพื้นที่ นำเสนอร่างข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำ และเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จัดทำข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลัง 10 ปีเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ตลอดถึงออสามัครทำหน้าที่ในการดูแลเขตแต่ละพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง จัดทำแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูแต่ละพื้นที่ รวม 5 พื้นที่พร้อมทั้งจัดทำต้นฉบับข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลังปีเพื่อนำไปสู้การเผยแพร่โดยมีคณะทำงานรับผิดชอบที่ชัดเจน ผลผลิต- ได้มีการจัดทำแผนฟื้นฟูและแนวเขตอนุรัก์ที่ชัเจน ทั้ง 5 พื้นที่ พร้อม ระมงอาสา พื้นที่ละ 15 คน ทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอรชนุรักษ์ของแต่ละชุมชน ผลลัพธ์ - ผู้เข้าร่วมสามรถบอกเล่าแผนการฟื้นฟูทรัยากรชายฝั้งได้ตลอดึงมี ระมงอาสาทำหน้าที่ออกตรวจตราดูแลเขตอนุรักษ์ของตัวเองอย่างชัดเจน ผลสรุปที่ได้จากกิจกรรม. - ทั้ง5 ชุมชนมีแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรพร้อมอาสาสมัครทำหน้าที่ในการออกตรวจตราดูแลเขตอย่างชชต่อเนื่องชัดเจน

 

15 0

7. เวที่ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวทีประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้องผู้เข้ารวมประชุม 15 คน เพื่อทบทวนและสร้างความเข้าใจรวมบริหารการจัดการพร้อมบทบาทภาระกิจการทำงานของแต่ละฝ่ายให้สอดคลองกับเป้าหมายของโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต -ประชุมคณะทำงานผู้เข้ารวมประชุม15 คน ผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจริง -คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารการจัดการโครงการและบททาบภาระกิจของแต่ละฝ่ายสามารถปฎิบัติภาระกิจของตัวเองได้

 

15 0

8. เวทีค้นหาจิตอาสาเพื่อเข้ามาเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนร่วมบริหารจัดการโครงการ

วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

ปรึกษาหารือแกนนำชาวประมง เรื่่อง การอนุรักษ์ฟื้ฟู ดว้ย -เขตอนุรักษ์ -บทบาทหน้าที่ประมงอาสา -การจดทะเบียนเรือ แผนกิจกรรมทำเขตอนุรักษ์ -พื้นที่เขตอนุรักษ์ ม.1 บ้านจองถนน แนวเขตยาว 2 กิโลเมตร กว้าง 150 เมตร ช่วงเวลา มีนาคม ปี 62 -พื้นที่เขตอนุรักษ์ ม.11 บ้านหัวปอ แนวเขตยาว 500เมตร กว้าง150 เมตร ช่วงเวลา มีนาคม ปี 62 -พื้นที่เขตอนุรักษ์ ม.14 บ้านคลองกะอาน แนวเขตยาว 2 ไร่ จากตะลิ่ง 1,000 เมตร ช่วงเวลา มีนาคม ปี 62 -พื้นที่เขตอนุรักษ์ ม. 6 บ้านบางขวน แนวเขตจากตะลิ่ง 500 เมตร กว้าง 3 กิโลเมตร ช่วงเวลา มีนาคม ปี 62 -พื้นที่เขตอนุรักษ์ ม.8 บ้านแหลมไก่ผู้ แนวเขตตะลิ่ง 500 เมตร กว้าง 2,000 เมตร ช่วงเวลา มีนาคม ปี 62.รับสมัครแกนนำชาวประมงและสนใจเพื่อเข้ามาทำหน้าที่หลักในการขับเคลื่อนโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง รับสมัครแกนนำชาวประมงและผู้สนใจเพื่อเข้ามาทำหน้าที่หลักในการขันเคื่อนโครงการ ผลผลิต -

 

70 0

9. เก็บข้อมูลรายได้จากการทำประมงย้อนหลัง10ปี

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานลงพื้นที่จัดเก็บข้อมูลรายได้ จากการทำประมงของชาวประมงในแต่ละพื้นที่ใช้แบบสอบถามในการจัดเก็บข้อมูลรายได้เศรษฐกิจในพื้นที่ ย้อนหลัง10ปี

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง คณะทำงานใช้แบบสอบถามในการจัดเก็บข้อมูล จัดทำข้อมูลรายได้เศรษฐกิจในพื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง ผลผลิต - การจัดเก็บข้อมูลรายได้ของชาวประมงในพื้นที่นิเวศน์ทะเลสาบรอนกลางโดยใช้แบบสอบถามและสนทนากลุ่มย่อย จำนวน 100 ชุด ผลลัพธ์ - ได้ข้อมูลลรายได้จากการประกอบอาชีพประมงที่เป็นรายได้หลักของครอบครัว เฉลี่ย วันละ 500-800 บาทต่อวัน เฉลี่ย ดือนละ12,000- 14,000 บาท สรุปผลที่สำคัญจากการทำกิจกรรม - ชุมชนมีระบบฐานข้อมูลยืนยันที่ชัดเจนที่มาจากการประกอบอาชีพประมง ซึ่งจะเป็นฐานข้อมูลที่จะนำไปเปรียบเทียบวางแผนการทำงานในอนาคตที่เชื่อมโยงกับการอนุรักษ์ฟื้นฟูในรูปแบบต่างๆที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

 

20 0

10. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 7 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวทีประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้องผู้เข้ารวมประชุม 15 คน เพื่อทบทวนและสร้างความเข้าใจรวมบริหารการจัดการพร้อมบทบาทภาระกิจการทำงานของแต่ละฝ่ายให้สอดคลองกับเป้าหมายของโครงการ กำหนดทิศทางวางแผนการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง- มีการประชุมคณะทำงานเพื่อสรุปทบทวนการทำงานที่ผ่านมาพร้อมทั้งปัญหาและข้อเสนอแนะวางแผนการทำงานในระยะต่อไปผลผลิต -ประชุมคณะทำงานผู้เข้ารวมประชุม15 คน ผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการและการหนุนเสริมอุดช่องว่งการทำกิจกรรมให้สามรถดำเสินงานไปได้ ผลที่เกิดขึ้นจริง -คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารการจัดการโครงการและบททาบภาระกิจของแต่ละฝ่ายสามารถปฎิบัติภาระกิจของตัวเองได้

 

20 0

11. เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตอนุรักษ์

วันที่ 11 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

: เวทีทบทวน กติกาขอตกลง เรื่องเขตรักษ์ -พื้ที่แนวเขตแต่ละพื้ที่ -ประมงอาสาที่มีอยู่แต่ละเขต -กติกาข้อตกลงแต่ละพื้ที่ กฏกติกาข้อตกลงพื้ที่เขตอนุรักษ์ 2 พื้นที่ 1. หมู่ที่ 8 บ้านแหลมไก่ผู้ 2. หมู่ที่ 6 บ้านบางขวน 1.กำหนดตาอวนไม่ตำ่กว่า4.5ซม. 2.ห้ามทำการประมงทุกชนิดในพื้ที่เขตอนุรักษ์(ยกเว้นช่วงมรสุม งมหอย) 3.ห้ามช็อดปลา 4.ห้ามใช้เครื่องมือผิดกฎหมายทุกชนิด (ตามประกาศกรมประมง) 5.ในกรณีทำประมงด้วยอวนล้อมกระทุ้งน้ำจะต้องทำประมงนอกเขตอนุรักษ์ 50 เมตรเป็นกันชน บทลงโทษ -พบผู้กระทำผิด ครั้งที่1 ตักเตือน ครั้งที่ 2 จับริบเครื่งมือและนำไปประมูลที่ศาลาหมู่บ้านตามราคาประมูลของเครื่องมือแต่ละชนอดภายใน1เดือน ครั้งที่3 เงินที่ได้จากการประมูลนำไปใช้ในการตรวจตราเขตอนุรักษ์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง -ได้มีกติกาข้อตกลงชุมชนว่าด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำในพื้นทั้ง5หมู่บ้าน ผลผลิต- เกิดการทบทวนกติกาข้อตลลงชุมชในการดูแลเขตอนุรักษ์ ที่มาจากความต้องการของชุมชนและนำไปใช้ปฎิบัติจริง จำนวน 5 พื้นที่ ผลลัพธ์- สมาชิกและแกนนำชาวประมงในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงรู้และเข้าใจในกติกาข้อตกลงพร้อมที่จะนำไปสู่ปฎิบัติการจริงได้ ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม- ได้ทำความเข้าใจร่วมกันคิดและตกลงกติกาข้อตกลงในพื้นที่ของแต่ละพื้นที่และเกิดการยอมรับนำไปสู่การใช้ปฎิบัติจริงได้

 

20 0

12. ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์แต่ละพื้นที่

วันที่ 20 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์ของแต่ละพื้นที่ ทั้ง5พื้นที่ 1.หมู่ 6 บ้านบางขวน 2. หมู๋ 8 บ้านแหลมไก่ผู้ 3.หมู่ 11 บ้านหัวปอ 4. หมู่ 14 บ้านคลองกะอาน 5. หมู่ 1บ้านแหลมจองถนน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง- ทั้ง5พื้นที่มีป้ายประชาสัมพันธ์และป้ายเขตอนุรักษ์ กติกาข้อตกลงชุมชนในการดูแลเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตวน้ำ ผลผลิต -แต่ละพื้นที่มีป้ายประชาสัมพันธ์ 1 ป้ายใหญ่ ป้ายเขตอนุรักษ์ 2 ป้าย ผลลัพธ์ - ประชาชนคนในพื้นที่ได้รับรู้ถึงข้อกำหนดกฎกติกาและสามารถนำไปปฎิบัติและบอกเล่าสมาชิกทั้งในแลนอกชุมชนได้ ผลที่ได้จากการทำกิจการม - มีป้ายประชาสัมพันธ์เพื่อรณรงค์บอกเล่าเผยแพร่ระเบียบกติกาข้อตกลงในการร่วมดูแลเขตอนุรักษ์ที่สมาชิกในและนอกชุมชนยอมรับและตกลงที่จะปฎิบัติร่วมกันอันจะส่งผลในการเพิ่มความสมบูรณ์ของชนิดและปริมาณสัตว์น้ำในพื้นที่ทะเลสาบและอาชีพประมงที่ยั่งยืน

 

5 0

13. เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง (ARE)

วันที่ 28 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

สรุปติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือนครั้ง ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้ที่เกียวข้องทบทวนการทำกิจกรรมที่ผ่านมากำหนดทิศทางแผนการทำงานแต่ละช่วง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง ทบทวนการดำเนินงานกิจกรรมในรอบ4เดือนที่ผ่านมาว่าเป็นไปตามที่วางไว้และกำหนดแผนในการดำเนินงานของกิจกรรมครั่งต่อไปตลอดถึงปัญหาอุสรรค พร้อมแนวทางแก้ไขในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ผลผลิต- มีคณะกรรมการและแกนนำชาวประมงพร้อมด้ายพีเลี้ยงและตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสรุปประเมิลผลการทำกินกรรม จำนวน 26 คน ผลลัพธ์ - ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันสรุปสะท้อนผลการขับเคลื่อนกิจกรรมที่ผ่านมาโดยดูตามบันไดผลลัพธ์และตัวชี้วัดของโครงการ ทำให้รู้ความคืบหน้าในการทำงาน พร้อมทั้งร่วมกันวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุของผลที่เกิดขึ้นจากการทำกิจกรรม จุดออ่น จุดแข็ง และแนวทางการขับเคลื่อนการทำงานในระยะต่อไปที่ตอบโจทย์เป้าหมาย วัตถุประสงค์และตัวชี้วัดภายใต้ผลลัพธ์. และสามารถนำไปอกเล่าได้ ผลทที่เกิดขึ้นจากดารทำกิจกรรม. ได้ผลการสรุปประเมิลในการขับเคลื่อนโครงการ พร้อมทั้งแนวทางที่จะนำไปสู่เป้าหทายความสำเร็จตามตัวชี้วัดและบันไดผลลัพธ์ที่แกนนำสามรถนำไปวางแผนขับเคลื่อนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

15 0

14. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 10 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานผู้เข้ารวมประชุม 15 คน ทบทวนรายชื่อคณะกรรมการชุดก่อตั่ง การทำโลโก เอกสารของกรรมการ แผนที่ของ ม.6 บ้านบางขวน ความคืบหน้าของการจัดตั่งสมาคมฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต -ประชุมคณะทำงานผู้เข้าร่วมประชุม15 คน ผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการ ตลอดถึงการสรุปทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา และวางแผนการขับเคลื่อนโครงการในระยะต่อไป ผลที่เกิดขึ้นจริง -คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการจดทะเบียนของสมาคมคนรักษ์ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุง ผลสรุปที่เกิดขึ้นจากการทำกิจการม - คณะทำงานและผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบความคืบหน้าในการดำเนินกิจกรรม พร้อมกับมการทบทวนความชัดเจน ของคณะกรรมการ ที่จจะยื่นจดทะเบียนในนามสมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบ กอภอปากพะยูน นังหวัดพัทลุง พร้อมโลโก้ที่สอดคล้องกับการเป้าหมายการทำงานของสมาคมที่ มุ่งหวังสร้างการมีส่วนร่วมของชาวประมงในการฟื้นฟูทะเลสาบ. ละเกิดอาชีพประมงที่สั่งยืนในอนาคต

 

15 0

15. เวทีแลกเปลียนเรียนรู้บทบาทการทำงานของประมงอาสาในนอกพื้นที่ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับพื้นที่บ้านในถุ้ง ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช

วันที่ 24 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้บทบาทการทำงานของประมงอาสา5 หมู่บ้าน ม.1 บ้านจองถนน ม. 6 บ้านบางขวน ม. 8 บ้านแหลมไก่ผู้ ม.11 บ้านหัวปอ ม. 14 บ้านคลองกะอาน ได้มาศึกษาดูงานที่ บ้านในถุ้ง ม.5 ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช การทำธนาคารปูม้า แลร้านคนจับปลา ท่าศาลาอ่าวทองคำ จ.นครศรีฯได้รวมกันลงเรือเพื่อปล่อยลูกปูม้าผูดคุยที่มาที่ไปของการก่อตั่งธนาคารปูม้า และร้านคนจับปลา ท่าศาลาอ่าวทองคำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต - ประมงอาสาคณะทำงานจำนวน24คนได้ไปศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรโดยมีประมงอสาทำหน้าที่เป็นอาสาสมัครในการดูแลเขตอนุรักษ์ ผลลัพธ์ - ประมงอาสาคณะทำงานได้รับรู้และเข้าใจถึงการทำงานการจัดการของธนาคารปูม้าและร้านคนจับปลา ท่าศาลาอ่าวทองคำ จ.นครศรีฯ ผลที่เกิดขึ้นจริง - ประมงอาสาคณะทำงานทุกพื้นที่ได้เอาไปปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง จำนวน 5 พื้นที่ในเขตทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุง ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม -ประมงอาสาและแกนนำที่ไปศึกษาดูงานมีความรู้ ได้เข้าใจและได้เอาไปปฎิบัติจริงในพื้นที่ของตนเอง

 

24 0

16. เวที่ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 14 พฤษภาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมคณะทำงานผู้เข้าร่วมประชุม 15 คน ทบทวนรายชื่อคณะกรรมการชุดก่อตั่ง การทำโลโก เอกสารของกรรมการ แผนที่ของ ม.6 บ้านบางขวน ความคืบหน้าของการจัดตั่งสมาคมฯ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลผลิต -ประชุมคณะทำงานผู้เข้ารวมประชุม15 คน ผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการสามารถนำไปช่วยในการดำเนินโครงการตามบทบาทหน้าที่ได้

ผลที่เกิดขึ้นจริง -คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการจดทะเบียนของสมาคมคนรักษ์ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุง ผลสรุปที่ได้จากการทำกิจกรรม - คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่. และสามรถปฎิบัติงานตามแผนงานที่ได้รับมอบหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจดทะเบียนสมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบตอนกลางจังหวัดพัทลุง ที่แสดงเห็นถึงการทำงานขององค์กรชาวประมงถูกต้องตามกฎหมาย มีแผนการทำงานที่ชัดเจน มีกลไกการขับเคลื่อนสอดคล้องกับความถนัด และมีการประชุมอย่างต่อเนื่อง

 

15 0

17. เก็บขัอมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธ์สัตว์น้ำหลังการมีเขตอนุรัก

วันที่ 4 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดเก็บขัอมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง
  2. ใช้แบบสอบถามในการหาข้อมูล
  3. แบ่งทีมรับผิดชอบในการทำแบบสอบถาม และมีช่วงเวลาที่ชัดเจนในการนัดสรุปงานแต่ละครั้งและข้อมูลที่สรุปได้ไปนำเสนอที่เวทีประชุมสมาคมเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและสมบรูณ์มากที่่สุด
  4. นำข้อมูลเพื่อนำเสนอเข้าแผนยุทธศาสตร์จัวหวัดผ่านกลไกลกรรมการประมงจังหวัด

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลางมีสัตว์น้ำอุดมสมบรูณ์

 

15 0

18. เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง

วันที่ 12 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอและจัดทำแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งแต่ละพื้นที่ นำเสนอร่างข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำ และเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จัดทำข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลัง 10 ปีเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ตลอดถึงออสามัครทำหน้าที่ในการดูแลเขตแต่ละพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง จัดทำแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูแต่ละพื้นที่ รวม 5 พื้นที่พร้อมทั้งจัดทำต้นฉบับข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลังปีเพื่อนำไปสู้การเผยแพร่โดยมีคณะทำงานรับผิดชอบที่ชัดเจน ผลผลิต- ได้มีการจัดทำแผนฟื้นฟูและแนวเขตอนุรัก์ที่ชัเจน ทั้ง 5 พื้นที่ พร้อม ระมงอาสา พื้นที่ละ 15 คน ทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอรชนุรักษ์ของแต่ละชุมชน ผลลัพธ์ - ผู้เข้าร่วมสามรถบอกเล่าแผนการฟื้นฟูทรัยากรชายฝั้งได้ตลอดึงมี ระมงอาสาทำหน้าที่ออกตรวจตราดูแลเขตอนุรักษ์ของตัวเองอย่างชัดเจน ผลสรุปที่ได้จากกิจกรรม. - ทั้ง5 ชุมชนมีแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรพร้อมอาสาสมัครทำหน้าที่ในการออกตรวจตราดูแลเขตอย่างชชต่อเนื่องชัดเจน

 

15 0

19. ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 14 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวทีประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้องผู้เข้ารวมประชุม 15 คน เพื่อทบทวนและสร้างความเข้าใจรวมบริหารการจัดการพร้อมบทบาทภาระกิจการทำงานของแต่ละฝ่ายให้สอดคลองกับเป้าหมายของโครงการ กำหนดทิศทางวางแผนการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต -ประชุมคณะทำงานผู้เข้ารวมประชุม15 คน ผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการสามารถนำไปช่วยในการดำเนินโครงการตามบทบาทหน้าที่ได้

 

15 0

20. ซ่อมแซมปรับปรุงและขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ทั้ง6ชุมชน

วันที่ 5 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดทำซอมแซมปรับปรุงโดยการปักหลักเขตและแนวเขต
  2. บำรุงดูแลรักษาป้ายและแนวเขตอย่างต่อเนื่อง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

มีพื้นที่เขตอนุรักษ์จากแนวเดิมออกไปเพิ่มขึ้นไม่ตำ่กว่า100เมตร

 

15 0

21. ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ2ครั้ง

วันที่ 8 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประมงอาสาร่วมกับชาวประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกันปล่อยพันธ์สัตว์น้ำเพื่อเป็นการเพิ่มความอุดมสมนรูณ์ให้กับทะเบสาบสงขลาตอนกลาง
  2. คณะทำงานจัดทีมติดตามสังเกตอัตราการรอดของสัตว์น้ำที่ปล่อยโดยการถ่ายภาพสัตว์น้ำหลังจากการปล่อยประมาณ3-4 เดือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

พันธ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่ตำ่กว่า3ชนิดเช่นปลาแป้น(ปลาลาปัง)ปลากระบอกกุ้งก้ามกราม

 

20 0

22. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 14 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวทีประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้องผู้เข้ารวมประชุม 15 คน เพื่อทบทวนและสร้างความเข้าใจรวมบริหารการจัดการพร้อมบทบาทภาระกิจการทำงานของแต่ละฝ่ายให้สอดคลองกับเป้าหมายของโครงการ กำหนดทิศทางวางแผนการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต -ประชุมคณะทำงานผู้เข้ารวมประชุม15 คน ผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการและการหนุนเสริมอุดช่องว่งการทำกิจกรรมให้สามรถดำเสินงานไปได้ ผลที่เกิดขึ้นจริง -คนโครงการสามารถนำไปช่วยในการดำเนินโครงการตามบทบาทหน้าที่ได้ ณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารการจัดการโครงการและบททาบภาระกิจของแต่ละฝ่ายสามารถปฎิบัติภาระกิจของตัวเองได้

 

15 0

23. เวทีคืนข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 3 -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง

วันที่ 16 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอและจัดทำแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งแต่ละพื้นที่ นำเสนอร่างข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำ และเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จัดทำข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลัง 10 ปีเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ตลอดถึงออสามัครทำหน้าที่ในการดูแลเขตแต่ละพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง จัดทำแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูแต่ละพื้นที่ รวม 5 พื้นที่พร้อมทั้งจัดทำต้นฉบับข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลังปีเพื่อนำไปสู้การเผยแพร่โดยมีคณะทำงานรับผิดชอบที่ชัดเจน ผลผลิต- ได้มีการจัดทำแผนฟื้นฟูและแนวเขตอนุรัก์ที่ชัเจน ทั้ง 5 พื้นที่ พร้อม ระมงอาสา พื้นที่ละ 15 คน ทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอรชนุรักษ์ของแต่ละชุมชน ผลลัพธ์ - ผู้เข้าร่วมสามรถบอกเล่าแผนการฟื้นฟูทรัยากรชายฝั้งได้ตลอดึงมี ระมงอาสาทำหน้าที่ออกตรวจตราดูแลเขตอนุรักษ์ของตัวเองอย่างชัดเจน ผลสรุปที่ได้จากกิจกรรม. - ทั้ง5 ชุมชนมีแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรพร้อมอาสาสมัครทำหน้าที่ในการออกตรวจตราดูแลเขตอย่างชชต่อเนื่องชัดเจน

 

15 0

24. เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง (ARE)

วันที่ 28 กรกฎาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

สรุปติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือนครั้ง ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้ที่เกียวข้องทบทวนการทำกิจกรรมที่ผ่านมากำหนดทิศทางแผนการทำงานแต่ละช่วง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง ทบทวนการดำเนินงานกิจกรรมในรอบ4เดือนที่ผ่านมาว่าเป็นไปตามที่วางไว้และกำหนดแผนในการดำเนินงานของกิจกรรมครั่งต่อไปตลอดถึงปัญหาอุสรรค พร้อมแนวทางแก้ไขในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

 

15 0

25. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 14 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวทีประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้องผู้เข้ารวมประชุม 15 คน เพื่อทบทวนและสร้างความเข้าใจรวมบริหารการจัดการพร้อมบทบาทภาระกิจการทำงานของแต่ละฝ่ายให้สอดคลองกับเป้าหมายของโครงการ กำหนดทิศทางวางแผนการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต -ประชุมคณะทำงานผู้เข้ารวมประชุม15 คน ผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการและการหนุนเสริมอุดช่องว่งการทำกิจกรรมให้สามรถดำเสินงานไปได้ ผลที่เกิดขึ้นจริง -คนโครงการสามารถนำไปช่วยในการดำเนินโครงการตามบทบาทหน้าที่ได้ ณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารการจัดการโครงการและบททาบภาระกิจของแต่ละฝ่ายสามารถปฎิบัติภาระกิจของตัวเองได้

 

15 0

26. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา

วันที่ 20 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. จัดเวทีสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
  2. พูดคุยแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นของแกนนำชุมชนและกลุ่มเป้าหมายที่เกี้ยวข้องเพื่อสรุปผลการดำเนินงาน
  3. จัดทำเอกสารเพื่อจัดทำรายงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คนในชุมชนอย่างน้อย ร้อยละ40เข้าใจปัญหาที่ผ่านมาเสื่อมโทรมของทะเลสาบสงขลาและร่วมกันแก้ใขปัญหาได้

 

15 0

27. เวทีคืนข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 4 -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง

วันที่ 25 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอและจัดทำแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งแต่ละพื้นที่ นำเสนอร่างข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำ และเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จัดทำข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลัง 10 ปีเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ตลอดถึงออสามัครทำหน้าที่ในการดูแลเขตแต่ละพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง จัดทำแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูแต่ละพื้นที่ รวม 5 พื้นที่พร้อมทั้งจัดทำต้นฉบับข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลังปีเพื่อนำไปสู้การเผยแพร่โดยมีคณะทำงานรับผิดชอบที่ชัดเจน ผลผลิต- ได้มีการจัดทำแผนฟื้นฟูและแนวเขตอนุรัก์ที่ชัเจน ทั้ง 5 พื้นที่ พร้อม ระมงอาสา พื้นที่ละ 15 คน ทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอรชนุรักษ์ของแต่ละชุมชน ผลลัพธ์ - ผู้เข้าร่วมสามรถบอกเล่าแผนการฟื้นฟูทรัยากรชายฝั้งได้ตลอดึงมี ระมงอาสาทำหน้าที่ออกตรวจตราดูแลเขตอนุรักษ์ของตัวเองอย่างชัดเจน ผลสรุปที่ได้จากกิจกรรม. - ทั้ง5 ชุมชนมีแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรพร้อมอาสาสมัครทำหน้าที่ในการออกตรวจตราดูแลเขตอย่างชชต่อเนื่องชัดเจน

 

15 0

28. เวทีคืนข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 5 -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง

วันที่ 2 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอและจัดทำแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งแต่ละพื้นที่ นำเสนอร่างข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำ และเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จัดทำข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลัง 10 ปีเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ตลอดถึงออสามัครทำหน้าที่ในการดูแลเขตแต่ละพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง จัดทำแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูแต่ละพื้นที่ รวม 5 พื้นที่พร้อมทั้งจัดทำต้นฉบับข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลังปีเพื่อนำไปสู้การเผยแพร่โดยมีคณะทำงานรับผิดชอบที่ชัดเจน ผลผลิต- ได้มีการจัดทำแผนฟื้นฟูและแนวเขตอนุรัก์ที่ชัเจน ทั้ง 5 พื้นที่ พร้อม ระมงอาสา พื้นที่ละ 15 คน ทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอรชนุรักษ์ของแต่ละชุมชน ผลลัพธ์ - ผู้เข้าร่วมสามรถบอกเล่าแผนการฟื้นฟูทรัยากรชายฝั้งได้ตลอดึงมี ระมงอาสาทำหน้าที่ออกตรวจตราดูแลเขตอนุรักษ์ของตัวเองอย่างชัดเจน ผลสรุปที่ได้จากกิจกรรม. - ทั้ง5 ชุมชนมีแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรพร้อมอาสาสมัครทำหน้าที่ในการออกตรวจตราดูแลเขตอย่างชชต่อเนื่องชัดเจน

 

15 0

29. เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง (ARE)

วันที่ 3 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

สรุปติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือนครั้ง ประชุมคณะทำงานโครงการและผู้ที่เกียวข้องทบทวนการทำกิจกรรมที่ผ่านมากำหนดทิศทางแผนการทำงานแต่ละช่วง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง ทบทวนการดำเนินงานกิจกรรมในรอบ4เดือนที่ผ่านมาว่าเป็นไปตามที่วางไว้และกำหนดแผนในการดำเนินงานของกิจกรรมครั่งต่อไปตลอดถึงปัญหาอุสรรค พร้อมแนวทางแก้ไขในการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

 

15 0

30. เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ

วันที่ 14 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวทีประชุมคณะทำงานโครงการและผู้เกี่ยวข้องผู้เข้ารวมประชุม 15 คน เพื่อทบทวนและสร้างความเข้าใจรวมบริหารการจัดการพร้อมบทบาทภาระกิจการทำงานของแต่ละฝ่ายให้สอดคลองกับเป้าหมายของโครงการ กำหนดทิศทางวางแผนการทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต -ประชุมคณะทำงานผู้เข้ารวมประชุม15 คน ผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อผลลัพธ์ -คณะทำงานรับรู้ เข้าใจถึงกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนโครงการและการหนุนเสริมอุดช่องว่งการทำกิจกรรมให้สามรถดำเสินงานไปได้ ผลที่เกิดขึ้นจริง -คนโครงการสามารถนำไปช่วยในการดำเนินโครงการตามบทบาทหน้าที่ได้ ณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของการบริหารการจัดการโครงการและบททาบภาระกิจของแต่ละฝ่ายสามารถปฎิบัติภาระกิจของตัวเองได้

 

15 0

31. เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับพื้่นที่ บ้านช่องฟืนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง

วันที่ 19 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

แลกเปลียนประสบการณ์ การทำงานของประมงอาสา พื้นทีทะเลสาบตอนกลาง กับบ้านช่องฟืน ความคาดหวังที่มาวันนี้ -แนวคิดการทำงานเป็นประมงอาสา -บทบาทหน้าที่ของประมงอาสา -การทำงานมีปัญหาอุปสรรคและผลสำเร็จ -ทิศทางข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะในการทำงาน ชี้แจงแนวเขตอนุรักษ์และการทำเขตอนุรักษ์ ตั่งแต่เริ่มทำจนถึงปัจจุบัน ปัญหาของการเริ่มต้นการทำเขตอนุรักษ์ การปล่อยพ้นธ์สัตว์น้ำ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้แผนการทำงานของประมงอาสาแต่ละพื้นที่

 

24 0

32. เวทีคืนข้อมูลชุมชน ครั้งที่ 6 -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง

วันที่ 26 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

นำเสนอและจัดทำแผนอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งแต่ละพื้นที่ นำเสนอร่างข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำ และเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จัดทำข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลัง 10 ปีเพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ตลอดถึงออสามัครทำหน้าที่ในการดูแลเขตแต่ละพื้นที่

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริง จัดทำแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูแต่ละพื้นที่ รวม 5 พื้นที่พร้อมทั้งจัดทำต้นฉบับข้อมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลางย้อนหลังปีเพื่อนำไปสู้การเผยแพร่โดยมีคณะทำงานรับผิดชอบที่ชัดเจน ผลผลิต- ได้มีการจัดทำแผนฟื้นฟูและแนวเขตอนุรัก์ที่ชัเจน ทั้ง 5 พื้นที่ พร้อม ระมงอาสา พื้นที่ละ 15 คน ทำหน้าที่ในการตรวจตราดูแลเขตอรชนุรักษ์ของแต่ละชุมชน ผลลัพธ์ - ผู้เข้าร่วมสามรถบอกเล่าแผนการฟื้นฟูทรัยากรชายฝั้งได้ตลอดึงมี ระมงอาสาทำหน้าที่ออกตรวจตราดูแลเขตอนุรักษ์ของตัวเองอย่างชัดเจน ผลสรุปที่ได้จากกิจกรรม. - ทั้ง5 ชุมชนมีแผนการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรพร้อมอาสาสมัครทำหน้าที่ในการออกตรวจตราดูแลเขตอย่างชชต่อเนื่องชัดเจน

 

15 0

33. เวทีปิดโครงการ ฟื้นเลให้สมบรูณ์ด้วยเขตอนุรักษ์พื้นที่ทะเลสาบสงขลา ตอนกลาง จังหวัดพัทลุง

วันที่ 29 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

เวทีสรุปผลการดำเนินงานโครงการ -ความสมบรูณ์ของสัตว์น้ำทั้งชนิด/ปริมาณก่อนหลังการทำเขตอนุรัษ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นเช่นปลากระบอก/ปลาลาปัง/นวลจันทร์/ปลากด/ปลาจิ้มฟันเข้/ปลากระเบน/ปลาวัว/กุ้งก้ามกาม - จำนวนเรือเพิ่มขึ้น หมู่6บ้านบางขวน เดิม27ลำ เพิ่มเป็น32ลำ หมู่ที่14บ้านคลองกะอาน เดิม50ลำ เพิ่มเป็น 51ลำ หมู่11บ้านหัวปอ เดิม25ลำ เพิ่มเป็น27ลำ
- รายได้จาการทำประมงก่อนหลังการมีเขตอนุรักษ์ จาก500บาทถึ่ง1000บาท - การบริโบริโภคสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น - จำนวนประมงอาสาบทบาทของารทำมือ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลที่เกิดขึ้นจริงคณะทำงาน ละผู้เข้าร่วมตลอดถึงชาวประมงและสมาชิกในชุมชนแต่ละพื้ที่มีความรู้ความเช้าใจ​ถึง เป้าหมาย วัตถุประสงค์และแนวทางในการดำเนินงานโครงการที่เป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของชนิดแลพันธ์ุสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาตลอนกลางและได้ทราบ ถึงปัญหาสถานการณ์​ทะเลสาบและสามารถบอกต่อกันได้

 

90 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1.สร้างความรู้ความตระหนักร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบ
ตัวชี้วัด : 1.คนในชุมชนมีความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสถาการณ์ทะเลสาบ 2. ได้ข้อมูลได้ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำและเครื่องมือการจับสัตว์น้ำบริเวณอ่าวปากพะยูน 3. ได้ร่างแผนการดำเนินงานของชุมชน
0.00 290.00

การทำกิจกรรมฟื้นฟูทะเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์มีรูปธรรมความสำเร็จที่ชัดเจน ทั้งชนิด และปริมาณของสัตว์น้ำที่ส่งผลให้ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้น จากวันละ 300 -500 เป็น 500-1500 บาท เนื่องจากชาวประมงในชุมชน เข้าใจถึงสถานการณ์ปัญหา และเห็นความจำเป็นสำคัญที่จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการฟื้นฟูทะเลสาบด้วยกิจกรรมต่างๆ ทำให้มีแกนนำชาวประมงในชุมชนใกล้เคียงสนใจที่จะนำรูปแบบกิจกรรมดังกล่าวไปขยายผล อีก 4 ชุมชน โดยมี นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ฝาละมี ร่วมสนับสนุน พร้อมที่ผลักดันบรรจุในแผนสิ่งแวดล้อมของตำบลเพื่อบรรจุในปีงบประมาณ ปี 63

2 2.เกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล
ตัวชี้วัด : 1.เกิดคณะทำงานในการขับเคลื่อนงานโครงการไม่ต่ำกว่า 15 คน 2. เกิดประมงอาสาดูแลเขตฯพื้นที่ละไม่ต่ำกว่า 11 คน 3. เกิดกติกาข้อตกลงในการดูแลเขตฯ 4.ได้แผนการทำงานของประมงอาสาแต่ละพื้นที่
0.00 15.00

ได้มีการนำเสนอรูปธรรมความสำเร็จของการอุนรักษ์ฟื้นฟู ทั้งด้านเศรษฐกิจที่ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจับสัตว์น้ำ /ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นเงื่อนไขสำคํญ คือการมีกลไก ที่มีความรู้ความเข้าในในการทำงาน และมีความมุ่งมั่นในการทำกิจกรรมที่มีเป้าหมายร่วมกัน ที่งกลไก กรรมการบิหารโครงการ ที่มีความเชื่อมโยงกับก,ไก ปฏิบัติการ คือประมงอาสา ในแต่ละพื้นที่ โดยทั้ง 2 กลไก มีการประชุทกันอย่างต่อเนื่อง และหนุนเสริการทำงานให้ขับเคลื่อนไปตามเป้าหมาย วัตถุประงค์ที่กำหนดไว้

3 3. เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน
ตัวชี้วัด : 1.มีการประชุมคณะทำงานเดือนละ 1 ครั้ง 2. ได้ข้อมูลผลการดำเนินงาน 3. มีป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงเรื่องเขตอนุรักษ์แต่ละพื้นที่
0.00 12.00

มีการพุดถึงรูปแบบการฟื้นฟู และรูปธรรมการทำงานของพื้นที่ ในเวทีการประชุมกำนันผู้ใหญ่บ้าน และการประชุมกรรมการประมงระดับจังหวัด ที่สนใจรูปแบบดังกล่างที่จะนำไขยายผลในชุมชนใกล้เคียง

4 4. นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลางมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์
ตัวชี้วัด : 1.พันธุ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 3 ชนิด เช่น ปลาแป้น(ปลาลาปัง) ปลากระบอก กุ้งก้ามกราม 2.ขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์จากแนวเดิมออกไปไม่ต่ำกว่า 100 เมตร
0.00 13.00

การที่ชาวประมงในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง มีรายได้เพิ่มขึ้น และเข้าถึงอาหารทะเลเพียงพอในการบริโภค จากการจับสัตว์น้ำได้หลากหลายชนิด ซึ่งตอบโจทย์เรื่องปากท้อง ส่งผลให้ รูแบแบบการขับเคลื่อนกิจกรรมตลอดถึงการกำหนดพื้นที่แนวเขตที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนที่สะดวกในการดูแลรักษา เอื้อต่อการทำประมงของคนในพื้นที่ ส่งผลให้การทำงานดังกล่าว นำไปสู่การสร้างความร่วมมือและการยอมรับจากชุมชนตลอดถึงภาคึความร่วมมือที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 290
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ม. 1 บ้านแหลมจองถนน 70
ม. 11 บ้านหัวปอ 40
ม. 8 บ้านแหลมไก่ผู้ 70
ม. 9 บ้านปากพล 30
ม.14 บ้านคลองกะอาน 30
ม.6 บ้านบางขวน 50

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1.สร้างความรู้ความตระหนักร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบ (2) 2.เกิดกลไกการทำงานร่วมกันในการรักษาทะเล (3) 3. เกิดกลไกติดตามการทำงานร่วมกัน (4) 4. นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลางมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ (2) เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ (3) จัดทำขอมูลชนิดพันธ์สัตว์น้ำและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนกลาง (4) เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาของทะเลสาบสงขลาตอนกลาง (เวทีเปิดโครงการ) (5) กิจกรรมสมัครประมงอาสาเพื่อทำความเข้าใจบทบาทหน้าที่ของประมงอาสา (6) เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง (7) เวที่ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ (8) เวทีค้นหาจิตอาสาเพื่อเข้ามาเป็นคณะทำงานขับเคลื่อนร่วมบริหารจัดการโครงการ (9) เก็บข้อมูลรายได้จากการทำประมงย้อนหลัง10ปี (10) เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ (11) เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตอนุรักษ์ (12) ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์แต่ละพื้นที่ (13) เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง  (ARE) (14) เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ (15) เวทีแลกเปลียนเรียนรู้บทบาทการทำงานของประมงอาสาในนอกพื้นที่ศึกษาดูงานแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับพื้นที่บ้านในถุ้ง ต.ท่าศาลา อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช (16) เวที่ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ (17) เก็บขัอมูลการเปลี่ยนแปลงชนิดพันธ์สัตว์น้ำหลังการมีเขตอนุรัก (18) เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง (19) เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ (20) ซ่อมแซมปรับปรุงและขยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ทั้ง6ชุมชน (21) ปล่อยพันธ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ2ครั้ง (22) ประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการ (23) เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง (24) เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง  (ARE) (25) เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ (26) จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมา (27) เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง (28) เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง (29) เวทีสรุปและติดตามประเมินผลการดำเนินงาน4เดือน/ครั้ง  (ARE) (30) เวที่การประชุมคณะทำงานเพื่่อขับเคลื่อนโครงการ (31) เวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานกับพื้่นที่ บ้านช่องฟืนตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูนจังหวัดพัทลุง (32) เวทีคืนข้อมูลชุมชน -จัดทำร่างแผนการดำเนินงานของแต่ละชุมชน-คืนข้อมูลชนิดพันธ์ส้ตว์น้ำและเครื่องมือประมง (33) เวทีปิดโครงการ

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ

ชื่อโครงการ ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง

รหัสโครงการ 61-01865 ระยะเวลาโครงการ 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 กันยายน 2562

แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้

  • ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
  • การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
  • ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
  • กระบวนการชุมชน
  • มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่

1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่

การที่ชุมชนใช้กิจกรรมการทำเขตอนุรักษ์เป็นช่องทางในการ ผ่อนปรนข้อกฏหมาย ของกรมเจ้าท่า ที่ออกประกาศห้ามปลูกสิ่งก่อสร้างลงในทะเลสาบ

ชุมชนใช้พื้นที่การ ทำเขตอนุรักษ์ เพื่อทดลองทำกระชังเลี้ยงปลา กระบอก ปลาขี้ตัง ซึ่งเป็นปลาเศรฐกิจสร้างรายได้เสริมให้กับประมงอาสา จำนวน 2 กระชัง ในพื้นที่ เขตอนุรักษ์ ม 6 บ้านบางขวน และ ม 8 บ้านแหลมไก่ผู้

จัดทำข้อมูล นำเสนอเป็นแหล่งเรียนรู้การเลี้ยงปลาเศรฐกิจในเขตอนุรักษ์ชุมชน โดยมีการดูแลรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องเชื่อมโยงกับการทำเขตอนุรักษ์ชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่

ประเด็นการมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะให้ทะเลมีสัตว์น้ำจับตลอดปี มีอาชีพประมงที่ยั่งยืน สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน และเข้าถึงแหล่งอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำที่ปลอดภัยเพียงพอสำหรับการบริโภคในชุมชน

เอกสารการเก็บข้อมูลการเพิ่มขึ้นชนิด และันธุ์สัตว์น้ำ ก่อน- หลังมีเขตอนุรักษ์ ตลอดถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการจับสัตว์น้ำของชาวประมงในชุมชน และคนในชุมนมีการบริโภคปลาเพิ่มข้น 5 มื้อต่อสัปดาห์

ขยายผลใไยังชุมชนใกล้เคียงและยกระดัยพื้นที่เดิมให้เเป็ยแหล่งเรียนรู้ พื้นที่ต้นแบบการทำกิจกรรมฟื้นฟูบนพื้นฐานการมีส่วนร่วมของชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่

เกิดกลุ่ม ที่มีโครงสร้างการทำงานที่หลากหลาย เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม ซึ่งมีความต่างจากรูปแบบเดิมที่มีฝ่ายปกครองเป็นกลไกหลักในการทำงาน

เอกสารบันทึกการประชุม และแผนผังกลไกโครงสร้างการขับเคลื่อนการทำงานของโครงการ

มีการออกแบแผนพัฒนา/รูปแบบการทำงานที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างหลากหลาย หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนการทำงานแทนกันได้

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่

เป็นแหล่งเรียนรู้การบรการจัดการทรัพยากรในระดับภูมินเวศน์ ในรูปแบการทำเขตอนุรักษษืที่สอดคล้องตอบโจทย์ความต้องการของชุมชน และสามารถออกแบบกิจกรรมต่อยอดที่ผ่อนปรนกฏหมายให้เอื้อต่อการทำมาหากิน สร้างรายได้ให้กับชุมชน

จัดทำเป็นกระชังเลี้ยงปลาเศรฐกิจกิจในแหล่งน้ำ ที่เป็นเขตอนุรักษ์ชุมชน ซึ่งเป็นพื้นที่ประกาศห้ามปลูกสิ่งก่อสร้างในทะเลของกรมเจ้าท่า ในรูปแบบการเลี้ยงปลาเศษฐกิจในกระชังเพื่อการเรียนรู้

ยกระดับเป็นศูนย์เรียนรู้การเลี้ยงปลาเศรฐกิจ ที่สามรถสร้างรายได้ให้กับชาวประมง ที่รว่มกันดูแลรักษาทะเล และมีกติกาข้อตกลงปฏิบัติร่วมกัน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
99. อื่นๆ

-

-

-

2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล

มีการบริโภคปลาที่จับได้ในชุมชนเพิ่มขึ้น 5 มื้อ ต่อ 1 สัปดาห์ จากเดิม บริโภคปลาแช่น้ำแข็ง

การเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างผู้บริโคบปลาที่จับได้ในชุมชน และการบอกเล่าของสมาชิกในชุมชนในขณะการประชุมเพื่อจัดทำข้อมูลตัวชี้วัดโครงการ ของการเพิ่มขึ้นในการบริโภคปลาของคนในชุมชน

วางแผนกับทางโรงเรียนในชุมชนเพื่อให้เด็กในโรงเรีบนบริโภคอาหารทะเลที่จับได้ในชุมชน โดยเพิ่มเป็นมื้ออาหารกลางวัน เพื่อให้เด็กเข้าถึงอาหารโปรตีนที่จับได้จากชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การบริโภค

คนในชุมชน มีการบริโภคปลา เพิ่มขึ้น จากเดิม กินหมู ไก่ ปลาแช่แข็ง แต่ปัจุบันหลังจากการทำกิจกรรมฟื้นฟูทะเล คนในชุมชนกินปลาเพิ่มขึ้น 5 มื้อ ต่อ สัปดาห์

การเก็บข้อมูลตัวชี้วัดโครงการตามบันไดผลลัพธ์ และการพูดคุยของสมาชิกในชุมชน

ผลักดันให้มีเนูอาหารกลางวันที่เป็นโปรตีนจากปลา/สัตว์น้ำที่จับได้ในชุมชนเป็นอาหารมื้อเที่ยงสำหรับเด็กในโรงเรียน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่

มีการลดารสูบบุหรี่ ในสถานที่ประชุม หรือขณะทำกิจกรรม

เป็นกติกาข้อตกลง พร้อมทั้งป้ายสัญลักษณ์ ว่าในขณะทำกิจกรรมห้ามสูบบุหรี่และกินเหล้า

ยกระดับเป็นกติกาชุมชน หรือ งานบุญในชุมชน ที่จะเป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ และเหล้า

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง

มีการใช้ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ามาบูรณาการใช้ในการดำรงชีวิต เช่น ชาวประมงมีวิถีการประกอบอาชีพ ที่สัมพันธ์กับ ดินฟ้า อากาศ และทิศทางลม ดังนั้น การออกทะเลไปวางอวน หรือการทำกิจกรรมในทะเลแต่ละครั้งต้องดู สภาพดินฟ้า อากาศ และทิศทางลม ซึ่งส่งผลต่อปริมาณ และฝูงปลา ในการดักจับสตว์น้ำแต่ละครั้ง

บันทึกการพูดคุย และเอกสารจากงานข้อมูล งานวิจัยชุมชน ของชุมชนประมง บ้านช่องฟืนซึ่งอยู่ในนิเวศน์ทะเลสาบตอนกลางเดียวกันกับพื้นที่บ้าน บางขวน ที่อยู่ในชุดการงานวิจัยลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มอ หาดใหญ่ ปี 2559

  • ควรจะมีการถอดบทเรียน ในรูปแบบองค์ความรู้ของชุมชนประมงชายฝั้งที่มีวิถีเชื่อม เชื่อมโยงกับการใช้ทรัพยากรที่มีภูมิปัญาท้องถิ่นสัมพันธุ์กับการกำหนดเคื่องมือและช่วงฤดูกาล เวลาที่เหมาะสมในการทำมาหากินโดยใช้นิเวศน์เป็นฐาน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของแกนนำชาวประมงที่เห็นได้ชัดคือ ชาวประมงที่อาสาสมัคร มาเป็นประมงอาสา ในแต่ละหมู่บ้าน มีการจัดการตัวเอง การทำงานอาสาสมัคร ให้มีความสัมพันธุ์ที่ลงตัวระหว่าง ครอบครัวและชุม โดยไม่ส่งผลกระทบกับรายได้ในครอบครัว มีการบริหารการวางแผนการทำงานเพื่อส่วนรวมอย่างลงตัว เพราะมีการวางแผนการทำงานร่วมในเวที และสมาชิกในครอบครัว/คนในชุมชน เห็นรูปธรรมความสำเร็จที่เกิดขึ้น สมาชิก คนในชุมชนได้ประโยนช์ร่วมกัน จากการร่วมขับเคลื่อนกิจกรรม ที่มาจากการจัดการเวลาที่ลงตัวในการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน

-การบันทึกการประชุมในการ แบ่งการทำกิจกรรมในแต่ละครั้ง พร้อมทั้งการประเมินความพึงพอใจ จากการเข้ามามีส่วนขับเคลื่อนกิจกรรมของ สมาชิกและแกนนำแต่ละคน และการประเมินตามตัวชี้วัดบันไดผลลัพธ์ ของโครงการ และการพูดคุยในวงน้ำชาของคนในชุมชน

  • ควรจะมีการจัดทำเป็นสื่อเพื่อเผยแพร่ ขยายผลจากการทำงานที่ส่งผลต่อการสร้างการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนในชุมชนหลังจากที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
9. อื่นๆ

-

-

-

3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ

-การขับเคลื่อนโครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ มีความเชื่อมยงสัมพันธุ์กับการจัดการน้ำ และป่าริมเล ที่เป็นนวศน์ชายฝั่ง การขับเคลื่อนกิจกรรมให้เกิดความสำเร็จที่นำไปสู่การเพิ่มขึ้นของสัตว์น้ำในทะเลสาบที่สมารถทำประมงได้ตลอดปี ต้องมีระบบนเวศน์ที่สมบูรณ์ทั้งป่าชายเล ที่เป็นแหล่งฟักไข่ของปลาและสัตว์น้ำวัยออ่น และสภาพน้ำที่ไม่เป็นมลพิษมีสภาพความเค็มเหมาะสมในแต่ละฤดูกาล

-มีการปลูกป่าริมโดยหาต้นไม้ที่มีความเหมาะสมกับสภาพความเค็มของน้ำ และเป็นไม้ประจำถิ่น เพื่อรักษาระบบนเวศนืริมเล ที่จะเป็นแหล่งอาศรัยและเพาะฟักของสัวืน้ำวัยออ่น โดยมีหลักฐานดูจากการทำกิจกรรมป,ูกป่าริมทะเลสาบของชุมชนประมงที่ทำเขตอนุรักษ์และการจัดทำข้อมูลวิจัยชุมชน ของแผนพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา

  • ควรจะมีการขยายผลและวางแผนรูปแบบการจัดการ ที่ชุมชนสามรถสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้กับการต่อสุขภาพและเชื่อมโยงส่งผลต่อมิติ เศรฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาวะ ของคนในชุมชน ที่เขาเข้าใจและมีส่วนร่วมในกสนวางแผนออกแบบการทำกิจกรรมดังกล่าว
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา

หลังจากการขับเคลื่อนโครงการ ส่งผลให้มีสัตว์น้ำเพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณ ชาวประมงสมารถทำการประมงได้ตอลอดปี ชาวประมงมีรายได้เพิ่มขึ้น จาก วเดิม วันละ 300 บาท ปัจจุบัน 1500 บาท ครัวเรือนมีรายได้เพิ่มขึ้น พ่อ แม่ ลูก อยุ้พร้อมหน้าพร้อมตา ไม่ต้องไปรับจา้งหารายได้เสริมนอกพื้นที่ ทำให้ครอครัวอบอ่น ลดปัญหาการแตกแยกและยาเสพติด การลักขโมย คนในชุมชนมีพื้ที่"ด้พบปะพูดคุยกันมากขึ้นโดยนำเรื่องการทำกิจกรรม และความภูมิใจในรูปธรรมความสมบูรณ์จากการฟื้นเล ทำให้เกิดพื้นที่ทางสังคมที่เอื้อต่อความสุขของคนในชุมชน

การบอกเล่าจากการพูดคุย ตามร้านน้ำชาในหมู่บ้าน และนำมาบอกเล่าในเวทีประชุมประจำเดือนของหม฿่บ้าน และการประชุมคณะทำงาน โดยมีการบันทึกเป็นลายลักอักษรที่ชัดเจน ในวาระการพุดคุย

ควรจะมีการยกระดับเชื่อมโยงที่ทำงานกับภาคี ที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น พม เพื่อร่วมออกแบบในการขับเคลื่อนกิจกรรมที่เชื่อมโยงกับงานเดิมที่ดำเนินการอยู่แล้ว

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้

รูปธรรมความสำเร็จของการขับเคลื่อนโครงการ ที่ทำให้ชาวประมงในพื้นที่ แกนนำ คระทำงาน ตลอดถึงภาคีความร่วมมือที่เกี่ยวข้องท้องถิ่น /ท้องที่ เกิดการยอมรับ คือ รายได้ที่เพิ่มขึ้นของชาวประมงในและพื้นที่ใกล้เคียง จากเดิม ได้วันละ 300 [บาท ปัจจุบัน ได้วันละ1500 บาท ซึ่งเกิดเศษฐกิจที่ดี สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้กับชาวประมงในพื้นที่และชุมชนใกล้เคียง จนทำให้ชาวประมง และคนกินปลาเหนคุณค่าของการมีส่วนร่วมในการฟื้นทะ้เลหน้าบ้านที่ทุกคนมีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของในการดุแลรักษา และใช้ประโยชน์ร่วมกันภายใต้กติกาข้อตกลงของชุมชน

การเก็บข้อมูลตัวชี้วัด การเปลี่ยนแปลงรายได่้ของการทำประมง ก่อน/หลังการทำกิจกรรม และภาพสัตว์น้ำที่สมาชิกในชุมชนจับได้บริเวณใกล้เขตอนุรักษ์ตลิดถึงการเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์สัตวืน้ำ ก่อน/หลังการทำกิจกรรมเขตอนุรักษ์

จัดทำแผนการขยายผลการทำกิจกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั่งยกระดังต่อยอดการทำงาน ในลักษณะการทำธุรกิจ แพชุมชน ที่สมาชิกลงหุ้นการรับซื้อผลผลิตสัตว์น้ำจากชุมชน ปลอดสารเคมี ส่งขายต่อผู้บริโภคโดยไมาผ่านพ่อค้าคนกลาง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

-

-

-

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. อื่นๆ

 

 

 

4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน

การฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ กระบวนการหนึ่งที่มีความสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ และมีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วม คือ การที่ชุมชนร่วมออกแบบ กำหนดกติกา ข้อตกลงและยอมรับที่จะปฎิบัติร่วมกัน เพื่อให้เขตอนุรักษ์มีความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งธาคารสัตว์น้ำ โดยร่วมออกกติกา ห้าม หรือ ยกเว้นการใช้เครื่องมือ บางประเภท ในการจับสัตว์น้ำ ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุชน เช่น การประกาศ เขต2 ชั้น ชั้น แรก ห้ามทำการประมงทุกชนิด ในพื้นที่ จาก ตลิ่ง อกกไป ในทะเล 500 เมตร คาวมยาว ตลอดแแนวชสยฝั่ง 1.5 เตมร หากใครฝ่าฝีน ทำประมงในเขตดังกล่าว ครั้งแรก กล่าวตักเตือน ครั้งที่ 2 ริบเครื่องมือ ครั้งที่ 3 จับ ปรับ ส่งตำรวจ ดำเนินคดีตามกฎหมาย

มีการติดป้ายประกาศกติกาข้อตกลงการห้ามทำประมงในเขตอนุรักษ์ อย่างชัดเจนในชุมชน พร้อมทั้งการประชาสัมพันธ์ประกาศหอกระจายข่าว แจ้งในเวที่การประชุมประจำเดือนของหมู่บ้าน และเวทีประชุมชประจำเดือนกำนัน ผู้ใหญ่บ้านในแต่ละอำเภอ ตลแดถึงการติประกาศเป็นใบปิงตามร้านน้ำชา และศาลาหมู่บ้าน

ควรจะมีการพัฒนารูปแบบกิติการข้อตกลง ว่าด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน โดยบูรณการทำงานกับท้องถิ่น ในลักษณะการออกเป็นประกาศเป็น เทศบัญญัติ / ข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือ ประกาศจังหวัด เพื่อนำไปสู่การเพิ่มพื้นที่ ธนาคารพันธ์ุสัตว์น้ำชุมชนที่บูรณาการความร่วมมือการทำงานร่วมกับท้อง ถิ่น ท้องที่ ราชการ และภาคีที่เกี่ยวข้อง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน

กติกาข้อตกลงของชุมชน ว่าด้วยเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำชุมชน ห้าม และยกเว้น เครื่่องมือทำประมง และช่วงเวลา ในการทำประมง ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน โดยคนในชุมชนร่วมออกแบบในการกำหนดและตกลงปฏิบัติร่วมกัน ถือว่าเป็นธรรมนูญชุมชน ( Community Law) ซึ่งเป็นมาตรการทางสังคมที่บังคับใช้ปฎิบัติร่วมกัน เพือที่จะนำไปสู่ความสุขของคนในชุมชน ที่มือาชีพประมงที่ยั่งยืน รายได้ที่มั่นคง

ประกาศ กติกา ข้อตกลงต่างไ ที่มีการติดป้ายประกาศให้เห็นตามที่ สาธารณะของหมู่บ้าน อย่างชัดเจน พร้อมกับการพูดคุยบอกเล่าได้ของสมาชิกในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง

ยกระดับขยายผลทำงานในพื้นที่ใกล้เคียง และผลักดันให้มีแผนในการฟื้นฟูในรูปแบบดังกล่าวในพื้นที่ชุมชน ทะเลสาบ จังหวัดพัทลุง ตำบล ละชุมชน ที่มีพื้นที่ติดทะเลสาบ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน

การที่คนในชุมชน มาร่วมกันแสดงความคิดเห็น แะเห็นพ้องต้องกัน ในการกำหนดกติกา ข้อตกลงและถือปฏิบัติร่วมกัน โดยมีเป้าหมาเดียวกัน คือ ต้องการฟื้นทะเลให้อุดมสมบูรณ์ มีอาชีพ รายได้การทำประมงที่มันคง และมีการกำหนดบทลงโทษ ถ้าหากมีการฝ่าฝืนทำผิด ระเบียบ จนได้รับการยอมรับและปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ถือว่า เป็นมาตรการทางสังคม หรือ ธรรมนูญชุมชน ที่พร้อมปฏิบัติร่วมกัน ส่งผลให้ชุมชนมีความสุข สส้างสุขภาวที่ดีให้กับคนในชุมชน และเกิดประชาธิปไตยที่ตอบโจทย์ปากท้องของคนในชุมชน

ป้ายประกาศ กติกา ข้อตกลงต่างๆ ที่คนในชุมชนถ่ายทอด บอกเล่าได้ พร้อมทั้งประกาศที่เป็นลายลักษณ์อักษร ที่มีให้เห็นชัดเจนในชุมชน

ผลักดัน ยกระดับการทำงานเป็นข้อบัญัิติท้องถิ่น หรือ เทศบัญญัติ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ

เป็นแนวทาง ในการยกระดับต่อยอดการทำงาน เพื่อให้เกิดการบูรณาการกับ ท้องถิ่น /ท้องท่ /สถาบันการศึกษา ตราชการ และภาคีความร่วมมือที่เกี่ยวข้อง โดยมีการจัดทำข้อมูลเพื่อนำไปรึกษา สมาชิก อบต นายก อบต. เพื่อปรึกษาในการนำเสนอเข้าวาระการประชุมสภาต่อไป

บันทึกการประชุม แผนการยกระดับขยายผลการทำงานของพื้นที่ ในการขับเคลื่อน การทำงานในปีต่อไป

ควรจะมีการผลักดันแผนการทำงานในหลายช่องทาง โดยผ่านกลไก กรรมการประมงระดับจังหวัด และเวทีสมัชชาประชาชน จังหวัดพัทลุง เพื่อนำไปศุ่การเชื่อมร้อยการผลักดันยุทธศาสตร์จังหวัดพัทลุง เมืองสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี

5. เกิดกระบวนการชุมชน

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)

มีการขับเคลื่อนกิจกรรมเพื่อสร้างพลังความร่วมมือขิงชาวประมงในชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อต้องการขยายผลในชุมชนต่างๆในการเพื่มพื้นที่ เขตอนุรักษ์ชุมชน สร้างบ้านปลา ให้ทะเสาบเป็นแหล่งโปรตีนอาหารทะเล นในพื้นที่สามารถเข้าถีงอาหารทะเลที่ปลอดภัย มีสัตว์น้ำเพียงพอตอ่คนในชุใชน จึงมีการเชื่อมโยงขยายเครือข่ายการทำงาน กับชาวประมงทะเลสาบ ทั้ง 3 ตอน คือ ทะเลน้อย ทะเลหลวง และทะเลสาบตอนกลาง ครอบคลุม 13 ท้องถิ่น 5 อำเภอ ที่มีพื้นที่ติดทะเสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง ในนามของเครืข่ายชาวประมงพื้นบ้านทะเลสาบสงขลา จังหวัดพัทลุง

มีการประชุม เครือข่ายชาวประมงทะเลสาบจังหวัดพัทลุง และเครือข่ายสมาพันธุ์ชาวประมงรอบทะเลสาบส่งขลา เพื่อทำแผนฟื้นฟูทะเลสาบรjวมกับ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เมื่อ วันที่ 26 สิงหาคม 2562

นำแผน ที่ได้จากการประชุม เสนอกรรมการประมงระดับจังหวัด หรือกรรมยุทธศาตร์จังหวัดเพื่อผลักดันให้เป็นแผนปฎิบัติการอย่างจริงจัง นำไปสู่การทำงานต่อไป

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)

จากการขับเคลื่อนกิจกรรมในรูแแบบต่าง เพื่อนำไปสู่การตอบโจทย์ความสำเร็จโครงการและความต้องการของชุมชน ในกิจกรรมต่างๆ เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้การ การออกแบบวางแผนที่จทำให้กิจกรรมดำเนินการไปได้ มีความสำเร็จ มีการปรับโครงการในรูปแบบสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน และทีมงานขัเคลื่อนได้ เป็นวางแผนเรียนรู้การแก้ปัญหา ด้วการประเมินความเป็นไปได้เพื่อให้โครงการเกิดความสำเร็จ และทีมงานมีความสุขในการร่วมขับเคลื่อนการทำงาน

การพูดคุย ออกแบบกระบวนการของคณะทำงานที่รับผิดชอบในการทำกิจกรรม ทั้งการคุยในวงประชุม และการคุยวงธรรมชาติ

ควรจะมีการจัดทำคู่มือ การทำงานชุมชน การประเมิน วางแผน การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เพื่อการทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน

การขับเคลื่อจกิจกรรมดังกล่าว มีการใช้ทระพยากรบุคลที่เป็นทุนสำคัญในการขับเคลื่อนการทำงานที่นำไปสู่ความสำเร็จและตอบตัวชี้วัดโครงการและความต้องการของชุมน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำชุมชน ที่เป็นผู้นำทางการ และผู้นำธรรมชาติ ปราชญ์ชุมชน ทั้งหญิง และชาย ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการ

รายชื่อ คณะทำงาน และคณะทำงานชุดต่างๆ ตลอดถึงบันทึกการประชุมและใบลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้งมั้งในชุมชน และเวที่แลกเปลี่ยนการทำงานระหว่างเครือข่าย หรือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ควรจะมีการพัฒนาศักยภาพ ของผู้นำที่หลากหลายเพื่อมาช่วยขับเคลื่อนการทำงานใรระยะต่อไป และเฟ้นหาทีมงานเพิ่มเติมเพื่อมาเป็นทีมเสริมการทำงานให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง

การดำเนินงานโครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์พื้นที่ทะเสาบตอนกลาง มีรูปธรรมที่ชัดเจนได้รับกายอมรับทั้งคนในและนอกชุมชน โดยมีกลไกการทำงานขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่องชัดเจนภายใต้แผนการทำงานตามตัวชี้วัดของโครงการที่เชื่อมโยงกับแผนความต้องการของชุมชน ซึ่งมีการประชุมคระทำงานทุกเดือน และขณะมีการรวมกลุ่มจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลถุกต้องตามกฎหมาย ในนาม สมคมชาวประมงทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุง มีคระกรรมการชุดก่องตั้ง จำนวน 9 คน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการยื่นเอกสารไปยังจังหวัดตรวจสอบความถุกต้อง และเสียค่าธรรมเนียมการจดทะเบียน

บันทึกการประชุมประจำเดือนของคณะทำงานและใบลงทะเบียนผ้เข้าร่วมการประชุมในแต่ละครั้ง ตลอดถึงเกสารการยื่นจดทะเบียนนิติบุคคล ใน นามสมาคมชาวประมงรักษ์ทะเลสาบตอนกลาง จังหวัดพัทลุง

เร่งติดตามความคืบหน้า ในการจเแจ้ง การจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลให้แล้วเสร็จ เพื่อนำไปสู่การประชุมจัดทำแผนการทำงาน ของสมาคมอย่างชัดเจน พร้อมทั้งการขยายพิ้นที่เครือข่ายสมาชิกในพื้นที่ชุมชนใกล้เคียง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน

จากการขับเคลื่อนโครงการจนสิ้นสุดการทำงาน ที่ต้องมีการปรับแผนการทำงานเพื่อให้เกิดความสอดคล้องและบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน เป็นกระบวนการหนึ่งที่ทำให้คณะทำงาน เกิดกระบานการจัดการความรู้นำมาปรับใช้ในการทำงาน ที่ลงตัว และสามารถนำมาเป็นต้นทุนวางแผนใช้ในการทำงานอนาคต

ข้อมูลการถอดบทเรียนประสบการณ์การทำงานของคณะทำงาน และบันทึกผลสรุปจากการดำเนินงานโครงการ และการประเมินผลการเรียนรู้และพัฒนา ในแต่ละครั้ง

นำข้อมูบทเรียนที่ได้จากการทำงาน ไจัดระบบสังเคราห์ให้เป็นประเด็นที่คม และนำไปวางแผนการทำงานในอนาคต

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ

จากการขับเคลื่อนการทำงานที่ผา่นมา มีการปรับรูปแบบ และช่วงเวลา ในการทำกิจกรรมเพื่อให้สอดคล้องกับฤดูกาล และสถานการ์ที่เกิดขึ้นในชุมชน ที่มีการใช้ข้อมูลมาวิเคระห์วางแผนในการตัดสินใจ ซึ่งนำไปสู่การเกิดทักษะในการบริหารจัดการโครงการที่ลงตัวโดยใ้ช้ชุมชนเป็นฐานในการจัดการโครงการและการวางแผนปฏิบัติการ

บันทึการประชุมคณะทำงาน และการวางแผนการทำกิจกรรมในแต่ละเดือน

ควรจะมีการถอดบทเรียน หรืการอบรม แกนนำ เนื้อหา ทักษะการจัดการโครงการที่นำข้อมูลมาใช้ตัดสินใจในการวางแผนและบริหารจัดการโครงการ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
7. อื่นๆ

 

 

 

6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน

การขับเคลื่อนโครงการ จนเกิดรูปธรรมความสำเร็จ นำไปสู่การยอมรับของสมาชิกในและนอกชุมชน ตลอดถึงหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องและเป็นแบบอย่างให้กับพื้นที่อื่นๆ ส่งผลให้คนในชุมชน คณะทำงานมีความภูมิใจ อยากที่จะชวนเพื่อนชุมชนใกล้เคียงได้ทำกิจกรรมในรูปแบบเดียวกัน และยิยดีที่จะไปช่วยในการพูดคุย ถ่ายทอดประสบการณ์ในการทำงาน

มีการชวนชุมชนพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจในการทำกิจกรรมมาร่วมวางแผนในการขยาพื้นที่อีก 4 ชุมชน ตลอดถึงการชวนท้องถิ่นมาเป็นเจ้าภาพร่วมในการขับเคลื่อนโครงการในระยะต่อไป

ชวนพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจ มายกร่างแนวในการดำเนินโครงการ พร้อมเฟ้นหาคระทำงานที่สนใจในการเข้าร่วมกิจกรรม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล

จากการทำงานจะห็นว่า คณะทำงานทุกคน ้มีภาระกิจสำคัญคือทำงานหารายได้เลี้ยงครอบครัว แต่มีเป้าหมายความต้องการตรงกันคือ การร่วมหาทางออกในการฟื้นเลให้เกิดความสมบูรณ์ จึงมีความจำเป็นที่ต้องวางแผนในการบริหารจัการเวลาให้ลงตัว ระหว่าง งานส่่วนตัว และงานสังคม ที่ต้องมีความสมดุลย์ทั้ง 2 ส่วนที่สมารถทำไปด้วยกันได้อย่างลงตัว

การพูดคุย ในวงประชุม ที่มีการวางแผนให้ลง ตัว ไม่กระทบกับงานส้วนตัวของครอคัว

ควรถือเป็นแนวทางรูปแบบปฏิบัติ ที่ได้ประโยชนืทั้งสองฝ่ายอย่างลงตัวระหว่างงานส่วนรวม และงานในครอบครัว

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง

ในการขับเคลื่อนกิจกรรม สมาชิก คณะทำงานใช้ชิวิตตามปรกติ เพียงแต่มารว่มกันทำกิจกรรมในการฟื้นทะเล ซึงสอดคล้องกับปรัญาเศรฐกิจพอเพียง อยู่แบบเรียบง่าย ตามวิถีของชุมชน

บรรยากาศ การพุดคุย ความรู้สึกของสมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมในแต่ละครั้ง พร้อมภาพถ่ายการทำกิจกรรมที่สามารถสังเกตุได้

ให้ยึอถือแนวทาง ปฎิบัติ ดังกล่าวไว้ เป็นการสร้างอัตลักษณ์ตัวตนที่ชัเจนในการใช้ชีวิตที่เรียบง่าย และพอเพียง

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร

กิจกรรมจะประสบผลสำเร็จได้ คนสว่นใหญ่ในชุมชนต้องมีเป้าหมายเห็นประโยชน์ร่วมกัน มีความเอื้ออาทรช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ไม่เห็นแก่ตัว ถือประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เช่นเดียวกับชุมชนประมง คนในชุมชนเห็นความสำคัญเข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนโครงการจนเกิดความสำเร็จมีรูปธรรมการทำงานที่ชัดเจน

บันทึกการประชุม และใบลงทะเบียนผู้ร่วมกิจกรรมแต่ละครั้งที่มีความหลากหาย และมีส่วร่วมในการแสดงความคิดเห็น และยึดถือปฏิบัติตามมติที่ประชุมส่วนใหย่อย่างคร่งครัด

ยกระดับการทำงานในการสร้างความรุ้สึกร่วม และช่วยเหลือกันให้เกิดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องและเหมาะสม

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา

เนื่องจากการทำงานดังกล่าว มีกลไกทำงานที่หลากหลาย จาก 5 ชุมชน และมีความคิดที่หลากหลาย ส่งผลให้บางครั้งต้องใช้เวลาพูดคุยทำความเข้าใจในทีมการทำงาน ที่ต้องใช้เหตุและผล ปํญญาในการตัดสินใจในการหาข้อตกลงร่วมกัน เพื่อให้ทีมงานมีความเข้มแข็งเกิดพลังในการร้วมขับเคลื่อนการทำงาน

บันทึกการประชุมในแต่ละครั้งที่ ใช้เวลา และคนเสนอในมุมงมองที่หลากหลาย นอกจากนั้นการพุดคุยในวงธรรมชาติที่มีการบอกเล่าถึงบรรยากาศพูดคุยในวงประชุมแต่ละครั้ง

เป็นรูปแบบการตัดสินใจที่มีเสน่ห์ บนพื้นฐานการใช้ปํญาที่ให้กลุ่มคนทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขและมองเป้าหมายเดียวกัน ควรจะรักษารูปแบบไว้แล้วนำไปปรับใช้ในพื้นที่อื่นๆ

คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น
ผลที่เกิดขึ้นรายละเอียด/การจัดการหลักฐาน/แหล่งอ้างอิงแนวทางการพัฒนาต่อ
ใช่ไม่ใช่
6. อื่นๆ

 

 

 

ฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ พื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง จ.พัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61-01865

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นาย อุสัน แหละหีม )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด