directions_run

ชาวปากเครียวร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ ชาวปากเครียวร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายจำนงค์ ไชยสินโณ

ชื่อโครงการ ชาวปากเครียวร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61018650 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 15 พฤศจิกายน 2561 ถึง 30 ตุลาคม 2562


กิตติกรรมประกาศ

"ชาวปากเครียวร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ชาวปากเครียวร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม



บทคัดย่อ

โครงการ " ชาวปากเครียวร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 61018650 ระยะเวลาการดำเนินงาน 15 พฤศจิกายน 2561 - 30 ตุลาคม 2562 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 97,800.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ชุมชนบ้านปากเครียว ที่มีการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคมค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ใกล้เคียง และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของประชากรในอนาคต จึงคาดหมายว่าจะมีผลทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะกับคลองฝาละมี ซึ่งถือว่าเป็นสายเลือดหล่อเลี้ยงคนในพื้นที่บริเวณดังกล่าว ในแต่ละวันมีปริมาณขยะในชุมชนมีจำนวนมาก ถังขยะส่วนใหญ่ในชุมชนเป็นถังขยะที่วางไว้หน้าบ้านเรือนของตนเอง ไม่มีการแบ่งแยกประเภทของถังขยะก่อนทิ้งชัดเจน การคัดแยกขยะของบ้านเรือนผู้คนในชุมชน ผู้คนส่วนใหญ่ทิ้งรวมกับขยะประเภทอื่น ทั้งลงในถังขยะในบ้านตนเอง และถังขยะสาธารณะ โดยรถขยะจะมาเก็บขยะจากถังขยะหน้าบ้าน และถังขยะสาธารณะ ทุกวันพุธ ปริมาณขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชนบ้านปากเครียว มีขยะจำนวนมาก
องค์การบริหารส่วนตำบลฝาละมี ได้มีการจัดเก็บขยะเฉลี่ยวันละ 2,400 กิโลกรัม ปีละ 840 ตัน(ข้อมูลจาก อบต.ฝาละมี) แสดงว่าจำนวนขยะตำบลฝาละมี มีจำนวนมากมายโดยไม่มีการแยกขยะเลย(จากรถเก็บขยะ อบต.)และจะส่งผลการจัดเก็บขยะในอนาคตต่อไป และหมู่ที่ 7 ตำบลฝาละมี มีจำนวนรัวเรือน จำนวน 126  หลังคาเรือนประชากร จำนวน 373 คน มีขยะเฉลี่ยวันละ 120 กิโลกรัม และขยะส่วนใหญ่เป็นขยะที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ (ข้อมูลจาก การสังเกตของพนักงานเก็บขยะ อบต.ฝาละมี) ดังนั้น หมู่ที่ 7 บ้านปากเครียว จึงเป็นหมู่บ้านที่มีปัญหาเรื่องขยะ เนื่องมา ประชากรส่วนใหญ่ไม่ได้เห็นความสำคัญในการพึ่งตนเองในการแยกและกำจัดขยะ และขยะบางส่วน ยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงและสัตว์นำโรค ซึ่งเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 3 ราย โรคอุจจาระร่วง จำนวน 23 ราย (ข้อมูลผู้รับบริการ ที่ รพ.สต.บ้านพระเกิด)
โดยหมู่ที่ 7 บ้านฝาละมี ตำบลฝาละมี อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง และได้ทำการสำรวจปัญหาในหมู่บ้านจากเวทีประชาคมหมู่บ้าน ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560 โดยจัดลำดับความสำคัญของปัญหาในพื้นที่ ดังนี้ ยาเสพติด 4 คะแนน คะแนน โรคเรื้อรังในชุมชน 6 คะแนน ความแตกแยกของคนในชุมชน 7 คะแนน และสิ่งแวดล้อมในชุมชน 10 คะแนน ซึ่งเป็นปัญหาที่มีคะแนนรวมมากที่สุดเพราะเนื่องจากหมู่ที่ 1 บ้านฝาละมี เป็นหมู่บ้านที่ติดถนนใหญ่ผู้คนสัญจรไปมามาก จึงทำให้สองข้างทางมีขยะที่ผู้คนผ่านไปมาทิ้งไว้ทำให้ดูไม่สะอาดตา และภูมิทัศน์ที่สวยงามก็ดูจะจืดจางไป ประชาชนในหมู่บ้านไม่เล็งเห็นความสำคัญเท่าที่ควร ประกอบกับเป็นชุมชนการเกษตร จึงมีขยะจากผลผลิตทางการเกษตรที่เหลือทิ้งจำนวนมาก รวมทั้งเศษอาหารจากครัวเรือนซึ่งไม่ได้มีการจัดการขยะอย่างเหมาะสม มีเฉพาะถังขยะของ อบต.ที่จัดรองรับไว้เป็นจุดๆและทิ้งขยะปะปนกันทุกประเภท ปัจจุบันพฤติกรรมการทิ้งขยะส่วนใหญ่ของผู้คนในชุมชน คือ การทิ้งขยะหลายประเภทลงในถังเดียวกัน นำไปไว้หน้าบ้านและรอรถขยะมารับ ซึ่งในถังขยะใบนั้นประกอบด้วยขยะทั่วไป ขยะอันตราย และขยะรีไซเคิล ซึ่งเมื่อดูจากปริมาณขยะมูลฝอยแต่ละวันแล้ว ถึงแม้จะมีการคัดแยกขยะที่ปลายทาง ก็ยังมีคงเหลืออยู่อีกมาก จึงจำเป็นต้องมีการคัดแยกตั้งแต่ต้นตอของขยะ นั่นคือบ้านเรือนของผู้คนในชุมชน แต่เนื่องจากปัญหาอย่างหนึ่งคือผู้คนส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการทิ้งขยะลงในถังโดยไม่เลือกประเภทขอขยะ คิดว่าทิ้งลงถังเหมือนกัน ทางผู้จัดทาจึงเห็นว่าเราควรจัดทาโครงการ “ชุมชนร่วมใจ แยกขยะรีไซเคิล” ขึ้นมา เพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้กับผู้คนในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้คนในชุมชนได้เห็นถึงคุณค่าของขยะรีไซเคิล สร้างกระแสการคัดแยกขยะขึ้นในชุมชน โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบของถังขยะให้เข้าถึงทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อีกทั้งยังส่งเสริมให้ผู้คนแยกขยะจนเป็นนิสัย สามารถแยกขยะรีไซเคิลออกมาเพื่อให้รถขยะมารับได้ดังเช่นขยะทั่วไป โดยเน้นการสร้างแรงกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอ ผลพลอยได้นอกจากจะเป็นการอนุรักษ์พลังงานแล้ว ยังลดปริมาณขยะ และอาจสร้างรายได้ให้กับผู้คนในชุมชน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญ/ตระหนักในผลกระทบจากขยะ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะในครัวเรือน
  2. เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ครัวเรือนมีการใช้ประโยชน์จากขยะ
  3. เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
  4. เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ประชุมชี้แจงแก่ คณะทำงาน/กรรมการสภาผู้นำชุมชน เพื่อให้รับทราบความสำคัญและความจำเป็น ตลอดจนกิจกรรมที่ต้องเข้าร่วมในโครงการ
  2. การจัดเวทีประชาคมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อ จัดเวทีประชาคม ร่วมทำแผนงาน โครงการ
  3. จัดอบรมให้ความรู้อันตรายจากขยะและวิธีการคัดแยกขยะ
  4. 4. ศึกษาดูงานที่เทศบาลตำบลควนโดน เรียนรู้ถึงวิธีการจัดการขยะ เพื่อที่ได้นำมาปรับใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชน อย่างเป็นระบบ
  5. 5 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง
  6. ุ6. จัดประกวด “บ้านเรือนปลอดขยะ”
  7. 7. จัดกิจกรรมบูรณาการผสมผสาน การลดขยะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต
  8. 8. จัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ/น้ำหมักชีวภาพ
  9. 9 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. 1. ประชุมชี้แจงแก่ คณะทำงาน/กรรมการสภาผู้นำชุมชน เพื่อให้รับทราบความสำคัญและความจำเป็น ตลอดจนกิจกรรมที่ต้องเข้าร่วมในโครงการ

วันที่ 10 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.การจัดเวทีประชาคมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อจัดเวทีประชาคม ร่วมทำแผนงานโครงการ 2.ประชุมคณะทำงานของพื้นที่เพื่อสร้างเครือข่ายชุมชนกำหนดแนวทาง การมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การประชุมครั้งที่1 วันที่ 19 ธ.ค. 2561 ผลผลิต 1.จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 20 คน 2.ชี้แจงการดำเนินโครงการจัดการขยะ 3.ชี้แจงงบประมาณที่ได้รับ 4.วางแผนการทำกิจกรรมตามโครงการ ผลลัพธ์ 1.คณะทำงานเข้าใจการดำเนินโครงการจัดการขยะ 2.เข้าใจขั้นตอนการทำงาน

การประชุมครั้งที่ 2 วันที่ 27 มี.ค. 2562 ผลผลิต 1.จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 40 คน 2.วิทยากรชี้แจงกระบวนการเรียนรู้นำไปสู่เรื่องการกำจัดขยะ 3.วางแผนการไปดูงานที่ จ.สตูล ผลลัพธ์ 1.ผู้เข้าร่วมประชุมเข้าใจถึงกระบวนการการกำจัดขยะ

การประชุมครั้งที่ 3 วันที่ 1 มิ.ย. 2562 ผลผลิต 1.จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 29 คน 2.ผู้ใหญ่บ้านเปิดการประชุมเก็บขยะในวันเฉลิมพระชนมพรรษา ผลลัพธ์ 1.สมาชิกร่วมกันเก็บขยะประจำเดือนในบริเวณหมู่บ้าน 2.สมาชิกร่วมกันพัฒนาหมู่บ้านเพื่อเทิดพระเกียรติพระราชินี

 

20 0

2. 2. การจัดเวทีประชาคมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ เพื่อ จัดเวทีประชาคม ร่วมทำแผนงาน โครงการ

วันที่ 19 ธันวาคม 2561

กิจกรรมที่ทำ

1.กิจกรรมสร้างมาตรการทางสังคม ด้านการจัดการขยะ 2.ประชุมคณะทำงานของพื้นที่และแกนนำ/กลุ่มเยาวชนเพื่อสร้างเครือข่ายชุมชน กำหนดแนวทางในการรักษาสิ่งแวดล้อมด้านการจัดการขยะและน้ำเสีย 3.ประสานผู้นำชุมชนร่วมกับส่วนราชการต่างๆ ในการประชาสัมพันธ์โครงการและประชาสัมพันธ์ครอบครัวที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ 2.ผู้ใหญ่บ้านชี้แจงวัตถุประสงค์และการดำเนินกิจกรรมโครงการจัดการขยะ 3.พี้เลี้ยงโครงการชี้แจงการดำเนินโครงการและการติดตาม 4.เจ้าหน้าที่การเงินชี้แจงงบประมาณที่ได้รับ 5.เชิญวิทยากรด้านการจัดการขยะจากบ้านกล้วยเภาให้ความรู้เรื่องการจัดการขยะในชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 80 คน

ผลลัพธ์ 1.ผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 50 คนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงการจัดการขยะในชุมชนมากขึ้น  ชาวบ้านยินดีให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการดำเนินการจัดการขยะในชุมชน ตั้งใจแยกและจัดการขยะในครัวเรือน ผลสรุปที่สำคัญ 2.ได้แผนการดำเนินงานและมีสัญญาประชาคม ทุกวันที่ 1 ของเดือน เดินรณรงค์เก็บขยะและพัฒนาในหมู่บ้าน ให้สะอาดและสวยงาม 3. ได้ภาคีความร่วมมือ เช่น รพ.สต บ้านพระเกิด รพ.สต บ้านฝาละมี  อบต.ฝาละมี และอสม. พร้อมร่วมช่วยสนับสนุนโครงการ

 

80 0

3. 3. จัดอบรมให้ความรู้อันตรายจากขยะและวิธีการคัดแยกขยะ

วันที่ 13 มีนาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

9.00 น.  ลงทะเบียน 9.30 น.  ผู้ใหญ่พูดคุยพบปะผู้เข้าร่วมกิจกรรม 10.00 - 12.00 น.  วิทยากรให้ความรู้เรื่องอันตรายจากขยะและการคัดแยกขยะ 12.00 - 13.00 น.  พักกลางวัน 13.00 - 15.00 น.  วิทยากรให้ความรู้เรื่องอันตรายจากขยะและการคัดแยกขยะ (ต่อ)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 80 คน 2.หมอเสงี่ยม สินทวี กล่าวเรื่องการบริหารจัดการขยะ จะทำแบบไหน จะพัฒนาให้ชุมชนมาเข้าร่วมได้อย่างไร 3.หมอพิทยา ทองหนูนุ้ย มาให้ความรู้และวิธีการคัดแยกขยะ

ผลลัพธ์ 1.ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจในโครงการที่เข้าร่วมประชุม 2.สามารถนำความรู้เกี่ยวกับวิธีการคัดแยกขยะมาพัฒนาที่บ้านตนเองได้ 3.สามารถหลีกเลี่ยงและจัดการอันตรายจากขยะได้ด้วยตนเอง

มาตรการ/ข้อตกลง ในการลดขยะของหมู่บ้านปากเครียว 1.การใช้ถุงผ้า/ตะกร้า ในการบรรจุสิ่งของแทนถุงพลาสติก 2.ร่วมกันกำจัดขยะที่บ้านของตนเอง 3.ร่วมกับผู้นำชุมชน พัฒนา จัดเก็บขยะในชุมชน ทุกวันที่ 1 ของทุกเดือน 4.ไม่ทิ้งขยะบริเวณถนน ลำคลอง หรือสถานที่สาธารณะ

 

80 0

4. 4. ศึกษาดูงานที่เทศบาลตำบลควนโดน เรียนรู้ถึงวิธีการจัดการขยะ เพื่อที่ได้นำมาปรับใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชน อย่างเป็นระบบ

วันที่ 3 เมษายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

การศึกษาดูงาน ณ เทศบาลตำบลควนโดน จังหวัดสตูล 07.00 - 09.00 น.  เดินทางไปยังจังหวัดสตูล
09.30 น.      ทุกคนพร้อมเพรียงกัน ณ ห้องประชุม ศูนย์ประสานงานการดำเนินงาน กิจกรรมเด็กและเยาวชน
              - รองนายกเทศบาลตำบลควนโดน กล่าวต้อนรับคณะ
              - วิทยากรให้ความรู้การจัดการขยะ การดำเนินงานของชุมชน รวมถึงสิ่งที่ชุมชนได้รับจากการดำเนินโครงการนี้
11.30 น.      เข้าฐานการเรียนรู้ขยะ 4 ฐาน
              - ฐานที่ 1 การทำน้ำหมักชีวภาพ
              - ฐานที่ 2 การทำก๊าซชีวภาพ
              - ฐานที่ 3 ร้านค้า 0 บาท
              - ฐานที่ 4 ขยะรีไซเคิล
12.30 - 13.30 น.  รับประทานอาหารกลางวัน
13.30 น.      มอบของที่ระลึก พร้อมถ่ายรูปร่วมกัน
14.00 น.      เดินทางกลับ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1.ผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน จำนวน 50 คน 2.การศึกษาดูงาน ณ เทศบาลตำบลควนโดน จังหวัดสตูล เรียนรู้วิธีการจัดการขยะอย่างครบวงจรของชุมชน

ผลลัพธ์ 1.คณะทำงานและสมาชิกหมู่บ้านจำนวน 50 ได้ความรู้เรื่องการคัดแยกขยะ ประเภทของขยะ ขยะแต่ละประเภทมีการนำขยะไปใช้ประโยชน์ สร้างจิตสำนึก หัวใจสำคัญของการจัดการขยะ คือ การมีส่วนร่วมของคณะทำงาน และมีส่วนร่วมของชุมชนเข้ามาเป็นสมาชิก  มีความร่วมมือหลากหลาย มีการแบ่งบทบาทที่หลากหลาาย
2.ได้แนวทางในการนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ และ

ผลสรุปที่สำคัญ 1.ชาวบ้านเกิดแรงผลักดันในการจัดการขยะมากขึ้น 2.เรียนรู้การจัดการขยะแบบครบวงจร

 

50 0

5. 5 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์ ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง

วันที่ 15 มิถุนายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

  1. ประชุมสภาผู้นำ ร่วมกันแลกเปลี่ยนกำหนดจุดในการเก็บและเส้นทางรณรงค์ประชาสัมพันธ์ 2.  สภาผู้นำได้ร่วมกำหนดจำนวนป้ายรณรงค์  6 ป้าย และวิธีการ  มีการแบ่งงานกันรับผิดชอบในการประสานงาน  การเตรียม 3.  เดินรณรงค์ประชาสัมพัน
  2. ร่วมกันเดินเก็บขยะทุกวันที่ 1 ของเดือน บนทางสาธารณะหมู่บ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-  ชาวบ้าน  50  ได้มีความรู้และตระหนักความสำคัญ ร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษในพื้นที่สาธารณะ
-  ขยะริมถนนสองข้างทางลดลง  ร้อยละ 50 ของขยะที่มีริมสองข้างทาง  คนทิ้งขยะรินถนนลดลง  และทำให้ขยะในหมู่บ้านลดลง -  มีจุดรณรรงค์และมีป้ายประชาสัมธ์ให้จัดการขยะ  ทิ้งขยะเป็นที่เป็นทาง  และแยกขยะ  นำขยะไปใช้ประโยชน์ -  ร่วมกันเดินเก็บขยะทุกวันที่ 1 ของเดือน บนทางสาธารณะหมู่บ้าน

 

80 0

6. 8. จัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ/น้ำหมักชีวภาพ

วันที่ 23 สิงหาคม 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.สร้างโรงเก็บและคัดแยกขยะ รวมทั้งนำตะแกรงแยกขยะไปติดตั้งตามจุดต่างๆ ในหมู่บ้าน รวมทั้งแจกถุงกระสอบแยกขยะให้ครอบครัวที่ร่วมโครงการ 2.จัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมัก
    - ถังหมักรวมศาลาประจำหมู่บ้าน     - ถังหมักประจำครัวเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. ประชาสัมพันธ์โครงการปุ๋ยหมักให้คนในชุมชนรับทราบ

ผลลัพธ์ 1. เกิดกลุ่มปุ๋ยหมัก 1 กลุ่ม 2. มีตะแกรงคัดแยกขยะติดตั้งตามจุดต่างๆ เพื่อความสะดวกต่อการคัดแยก

 

80 0

7. ุ6. จัดประกวด “บ้านเรือนปลอดขยะ”

วันที่ 14 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.ประชุมชี้แจงรายละเอียดโครงการประกวดบ้านเรือนปลอดขยะ 2.จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานการประกวดบ้านเรือนปลอดขยะ 3.รับสมัครและลงทะเบียนครอบครัวที่เข้าร่วมโครงการบ้านเรือนปลอดขยะ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน    คน 2. ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงรายละเอียดการประกวดบ้านเรือน

ผลลัพธ์ 1. มีครัวเรือนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมประกวดบ้านเรือน 2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าใจในกฎ/กติกา ของการประกวดบ้านเรือน

 

6 0

8. 7. จัดกิจกรรมบูรณาการผสมผสาน การลดขยะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต

วันที่ 27 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.ประสานงานกับ อบต.ฝาละมี และกองทุนสุขภาพตำบลฝาละมีปฏิบัติการทำปุ๋ยหมัก จัดเก็บขยะ รีไซเคิลตามกลุ่มเป้าหมาย 2.จัดเวทีร่วมกับ อบต.ฝาละมี จัดมหกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการขยะ 3.การประกวดครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ 4.รณรงค์การลด ละ เลิกการใช้ถุงพลาสติก เพิ่มการใช้ถุงผ้า 5.การรวบรวมขยะ/การรับซื้อขยะ ในวันรวมกลุ่มของชาวบ้าน ( ทุกวันที่ 1 ของเดือน )

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 100 คน

ผลลัพธ์ 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมให้ความสนใจกับการจัดการขยะมากขึ้น

 

100 0

9. 9 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม

วันที่ 29 กันยายน 2562

กิจกรรมที่ทำ

1.จัดประชุมคณะทำงาน เพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม 2.คืนข้อมูลผลการดำเนินโครงการสู่ชุมชน 3.การขอความร่วมมือจากร้านค้าในชุมชนในการลดการใช้ถุงพลาสติกบรรจุสินค้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผลผลิต 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 90 คน

ผลลัพธ์ 1. ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความเข้าใจในโครงการที่เกิดขึ้นทั้งก่อนเริ่มโครงการ จนถึงจบโครงการ 2. ปริมาณขยะลดลงอย่างเห็นได้ชัด 3. ประชาชนหันมาใช้ถุงผ้ามากขึ้น

 

80 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญ/ตระหนักในผลกระทบจากขยะ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะในครัวเรือน
ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนในชุมชน ร้อยละ 80 มีการคัดแยกขยะได้ถูกต้อง 2. มีแผนชุมชนการจัดการขยะในชุมชน จำนวน 1 ชุด 3. มีครัวเรือนต้นแบบการจัดการขยะ จำนวน 30 ครัวเรือน
0.00

 

2 เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ครัวเรือนมีการใช้ประโยชน์จากขยะ
ตัวชี้วัด : 1. เกิดกลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กลุ่ม 2. มีจุดรวบรวมขยะ และส่งขายเดือนละ 1 ครั้ง
0.00 0.00

 

3 เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
ตัวชี้วัด : 1.ประชาชนสามารถลดปริมาณขยะในครัวเรือนและในชุมชนได้ ร้อยละ 60 2. ทุกครัวครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีการใช้ถุงผ้า อย่างน้อย จำนวน 100 ครัวเรือน
80.00

 

4 เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1. มีการประชุมต่อเนื่องทุกเดือน 2. คณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนเข้าร่วมประชุมแต่ละครั้งไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 3. มีการมอบหมายหน้าที่รับผิดชอบที่ชัดเจน
0.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้ของคนในชุมชนให้เห็นความสำคัญ/ตระหนักในผลกระทบจากขยะ และนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการจัดการขยะในครัวเรือน (2) เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ครัวเรือนมีการใช้ประโยชน์จากขยะ (3) เพื่อลดปริมาณขยะก่อนนำเข้าสู่กระบวนการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี (4) เพื่อให้มีสภาผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประชุมชี้แจงแก่ คณะทำงาน/กรรมการสภาผู้นำชุมชน  เพื่อให้รับทราบความสำคัญและความจำเป็น ตลอดจนกิจกรรมที่ต้องเข้าร่วมในโครงการ (2) การจัดเวทีประชาคมชี้แจงวัตถุประสงค์ของโครงการ  เพื่อ จัดเวทีประชาคม ร่วมทำแผนงาน โครงการ (3) จัดอบรมให้ความรู้อันตรายจากขยะและวิธีการคัดแยกขยะ (4) 4. ศึกษาดูงานที่เทศบาลตำบลควนโดน  เรียนรู้ถึงวิธีการจัดการขยะ เพื่อที่ได้นำมาปรับใช้เป็นแนวทางการแก้ปัญหาขยะและสิ่งแวดล้อมของชุมชน อย่างเป็นระบบ (5) 5 การรณรงค์ประชาสัมพันธ์  ในชุมชน อย่างต่อเนื่อง (6) ุ6. จัดประกวด “บ้านเรือนปลอดขยะ” (7) 7. จัดกิจกรรมบูรณาการผสมผสาน การลดขยะ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต (8) 8. จัดกิจกรรมการทำปุ๋ยหมักชีวภาพ/น้ำหมักชีวภาพ (9) 9 จัดประชุมคณะทำงานเพื่อติดตามประเมินผลการดำเนินงานแต่ละกิจกรรม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ชาวปากเครียวร่วมใจ คัดแยกขยะ ลดมลพิษ เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 61018650

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายจำนงค์ ไชยสินโณ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด