จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่3.3)
จัดเวทีสร้างแรงจูงใจด้วยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ และ สาธิตการใช้พลังงานสะอาดในครัวเรือน ครั้งที่ 3 (กิจกรรมที่3.3)
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ขั้นตอนการเตรียมการ
1.จัดเตรียมเอกสารคู่มือประกอบการเรียนรู้ เรื่องระบบโซล่าเซลล์ขั้นพื้นฐาน
2. จัดทำวิดีทัศน์ในการฝึกอบรมและแผ่นป้ายประกอบการอบรม
3. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ประกอบการเรียนการสอนที่เกี่ยวข้องในการอบรม เช่น แผ่นโซล่าเซลล์ คอนโทรลชารท์ แบตเตอรี่ สายไฟ และหลอดไฟ เป็นต้น
4. จัดหาวิทยากรอบรมให้ความรู้ และ สาธิตการใช้งานจากพลังงานแสงอาทิตย์
5. ประกาศรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อเข้ารับการอบรม โดยการประชาสัมพันธ์ผ่านทาง Facebook, ทางไลน์(Line)กลุ่มเครือข่ายพันธุกรรมพืช, เครือข่ายฅนกินแดด, เครือข่ายประมงอาสา และช่องทางอื่นๆ โดยมีเป้าหมาย มีผู้สมัคร รวม 20 คน
6. จัดเตรียมสถานที่เพื่อจัดการอบรม
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
การดำเนินการวันฝึกอบรม เป้าหมายในการอบรมจำนวน 20 คน 1.แนะนำคณะทำงานโครงการ ฯ ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รู้จัก และชี้แจงวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้รับทราบ
2. นายชำนาญ สงชูเป็นวิทยากรในการอบรม แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้ - องค์ประกอบและอุปกรณ์ที่สำคัญในระบบโซล่าเซลล์ - ความรู้พื้นฐานการผลิตและชนิดของแผ่นโซล่าเซลล์
3. นายจิรัฐพล สอนทองเป็นวิทยากรในการอบรม แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้ - ความรู้เรื่องหน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์ในระบบโซล่าเซลล์ - ความรู้เรื่องหลักการเลือกใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าให้เหมาะสมกับระบบโซล่าเซลล์ - ความรู้หลักการบริหารการใช้พลังงานที่ผลิตได้จากระบบโซล่าเซลล์ - หลักการคำณวนและการใช้สูตรของไฟฟ้าเบื้องต้น - การคิดและคำณวนการลงทุนในการติดตั้งระบบไฟฟ้าโซล่าเซลล์ในครัวเรือน - การสาธิตการต่อวงจรในระบบโซล่าเซลล์แบบออฟกริด โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ลงมือปฎิบัติจริงจากอุปกรณ์สื่อการสอนที่เตรียมไว้ - การใช้เครื่องมือและอ่านค่าต่างของเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับระบบโซล่าเซลล์และแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในระบบโซล่าเซลล์ - ให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้ศึกษาดูงานการใช้ระบบโซล่าเซลล์ภายในครัวเรือนและการใช้ระบบสูบน้ำด้วยโซล่าเซลล์เพื่อการเกษตร
ผลจากการทำกิจกรรม
- ความรู้ที่ได้รับ แบ่งเป็นหัวข้อต่างๆ ดังนี้
- พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานโซลาร์เซลล์ สามารถนำมาผลิตไฟฟ้า เพื่อใช้ในบ้านเรือนและในภาคการเกษตรได้ ซึ่งถือเป็นพลังงานสะอาด เป็นพลังงานทางเลือก ที่มีให้ใช้หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลาจนกว่าโลกนี้จะไม่มีดวงอาทิตย์
- พลังงานแสงอาทิตย์ เหมาะสมที่จะนำมาใช้กับบ้านเรือน หรือสถานที่ ที่สายส่งไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่าย เช่น ค่าเสาไฟฟ้า ค่าลงเสา และค่าสายไฟที่ยิ่งส่งไกลจะยิ่งแพงขึ้น เป็นต้น การผลิตไฟฟ้าใช้เอง ทำให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงานภายในครัวเรือนไม่ต้องพึ่งพาพลังงานจากภายนอก
- ได้เรียนรู้ว่า อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากดวงอาทิตย์ มีอะไรบ้าง และแต่ละอย่างมีหลักการทำงานอย่างไร
- ได้เรียนรู้วิธีคิด คำนวนหาปริมาณการใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน และคำนวนหาค่าใช้จ่าย ที่ต้องใช้ลงทุนเพื่อผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ได้ ให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความตระหนัก ต่อการบริหารจัดการ การใช้พลังงานอย่างประหยัด ลดการใช้พลังงานอย่างสิ้นเปลือง เพื่อให้มีพลังงานไว้ใช้ไปอีกยาวนานชั่วลูกชั่วหลาน
2. ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความตั้งใจว่าจะนำความรู้ที่ได้รับไปต่อยอดการใช้งานดังนี้
- ไปติดตั้งเครื่องสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้รดน้ำต้นไม้ในสวนเกษตร
- ไปติดตั้งระบบน้ำหมุนเวียน ให้ออกซิเจนในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ อ.ปากพะยูน จ.พัทลุง
- ไปติดตั้งระบบแสงสว่างภายในบ้าน เพื่อช่วยลดค่าไฟฟ้า โดยเริ่มจากระบบเล็กๆ ลงทุนทีละน้อยแล้วค่อยขยายปริมาณการผลิตให้เพิ่มขึ้น ซึ่งถือเป็นข้อดีของระบบการผลิตไฟฟ้าของโซลาร์เซลล์ที่ไม่ต้องใช้เงินลงทุนสูงถ้างบประมาณยังมีไม่เพียงพอ
- ไปติดตั้งระบบสูบน้ำ และ ระบบแสงสว่างในห้องอบสมุนไพร และโฮมสเตย์ ที่ อ.ศรีนครินทร์ จ.พัทลุง
หมายเหตุ
- มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ทั้งหมด 29 คน เกินเป้าหมายที่วางไว้ 9 คน - เกิดเครือข่ายผู้ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 3 ราย - ผู้ที่ยังไม่เคยใช้งานแต่มีความต้องการจะใช้ในอนาคต 26 คน
ประเภทรายจ่าย | รวมรายจ่าย | สถานะ | |||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | ||
4,800.00 | 0.00 | 4,770.00 | 2,350.00 | 0.00 | 0.00 | 11,920.00 |