การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2562 (กิจกรรมที่ 5.1)
การจัดเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้พลังงานในครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด เดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม 2562 (กิจกรรมที่ 5.1)
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
การเตรียมการ
1. ประชุมทีมโครงการ เพื่อออกแบบวิธีการเก็บข้อมูล และจัดทำเอกสารแบบบันทึกข้อมูล
2. นัดวันลงพื้นที่เก็บข้อมูลรายครัวเรือน โดยประสานงานกับชาวบ้านในครัวเรือนที่ร่วมโครงการ
3. ลงบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์
4. นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อการจัดทำแผนพลังงานชุมชน
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผลการดำเนิการ การลงพื้นที่เก็บข้อมูลการใช้พลังงาน เป้าหมายครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด และครัวเรือนที่ยังไม่ได้ทำการปรับเปลี่ยน จำนวน 13 ครัวเรือน
**ผลการใช้งานเตาชีวมวล (สำหรับครัวเรือนที่ทำการปรับเปลี่ยน และจัดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ระดับครัวเรือน) 1. เตาชีวมวลมีการประหยัดไม้ฟืนได้จริง โดยปกติจะมีการใช้ไม้ฟืนเดือนละ 35กระสอบ ตอนนี้ลดลงเหลือ 20กระสอบ สำหรับครัวเรือนที่มีอาชีพปรุงแกงขาย 2. เตาชีวมวลจุดติดไฟได้เร็ว 3. เตาชีวมวลบางบ้านบอกว่าให้ความร้อนช้า ควรปรับปรุงให้เพดานรองฟืน ขยับขี้นมาใกล้กับขาวางของหม้อหุงต้ม 4. บางครัวเรือน สามารถใช้ฟืนมาแทนแก๊สแอลพีจี ตั้งแต่มีเตาชีวมวล ค่าใช้จ่ายด้านแก๊สจึงลดลงมา
**ข้อมูลที่่ควรวิเคราะห์
1. พลังงานที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากที่สุด คือ พลังงานน้ำมัน
2. ช่วงเดือนเมษายน มีการใช้น้ำมากขึ้นทุกบ้าน โดยปริมาณการใช้น้ำเพิ่มเป็นสองเท่าจากเดิม
3. มีแนวโน้มการใช้พลังงานไฟฟ้าลดลง จากการสร้างความตระหนักถึงค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น
**ปัญหาที่เกิดขี้นระหว่างดำเนินกิจกรรมเก็บข้อมูลปฏิบัติการลงพื้นที่
การลงพื้นที่ ต้องมีการนัดล่วงหน้า และบางบ้านต้องไปซ้ำ เพราะเจ้าของบ้านไม่อยู่บ้าน สาเหตุคือลืมนัด หรือ ติดธุระกระทันหัน
ควรลงพื้นที่อย่างน้อย 2 คน เพื่อความสะดวกในการทำงาน