7 ปฏิบัติการขยายผลนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง ครั้งที่ 2
7 ปฏิบัติการขยายผลนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง ครั้งที่ 2
21 สิงหาคม 2562
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
- ประชุมเตรียมคณะทำงานพื้นที่บ้านดอนนูด แบ่งบทบาทการทำงาน
- ประธานธนาคารพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านดอนนูด เล่าที่มาของธนาคารพันธุ์ข้าวชุมชน ความสำคัญของการอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน สำรวจข้อมูลเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
3.แลกเปลี่ยนแนวทางในการขับเคลื่อนธนาคารพันธุ์ข้าวชุมชน เพื่อชุมชนมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ส่งเสริมในการผลิตข้าวอินทรีย์ - กำหนดกติกาของธนาคารเมล็ดพันธุ ประกาศใช้กติกา
- จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
- ชาวนาตระหนักความสำคัญและมีการอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน เกิดชาวนากลับมาคัดและเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน จำนวน 5 คน และมีแปลงพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน มีพันธุข้าวพื้นบ้าน 3 ชนิด เพียงพอใช้ในชุมชน คือ สังหยด เล็บนก ข้าวเหนียวตอก เฉี้ยง ที่สามารถแลกแบ่งปันในชุมชนและเครือข่าย
- ธนาคารมีระเบียบข้อตกลง ในการสมาชิกรับพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เหมาะสม ใช้ในการทำนาผลผลิตที่ได้ใช้บริโภคในครัวเรือน และแบ่งปันและขายในชุมชน ให้มีการคัดและเก็บพันธุ์ใช้เอง และส่วนคืนกลับให้กับกองทุนเท่ากับพันธุ์ข้าวที่รับไป
3.มีคณะทำงาน 5 คนในการจัดการธนาคาร ฯ ในการดูแลและขับเคลื่อนการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวและการดูแลบริหารจัดการธนาคารฯ