directions_run

โครงการส่งเสริมและพัฒนาขบวนการนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง

assignment
บันทึกกิจกรรม
14. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 530 กันยายน 2563
30
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประธานที่ประชุมแจ้งเพื่อทราบในการประชุมครั้งนี้ 2. รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน และสรุปบทเรียนการดำเนินงาน เพื่อการวางแผนในการขับเคลือนงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. เกิดกลไกการทำงานขับเคลื่อนนาอินทรีย์ ที่มีการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง มีปัญหาคณะทำงานชุดใหม่มีประสบการณ์ขับเคลื่อนการทำงานแนวทางในการพัฒนาศักยภาพ เริ่มกระบวนการพี่ช่วยน้อง เพิ่มทักษะในการจัดการ ทำงานแบบมีส่วนร่วม
  2. กติกาข้อตกลงได้รับการยอมรับกลุ่มเป้าหมายได้นำไปใช้และปฏิบัติร้อยละ 70
  3. มีชาวนามีการปรับเปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์ 35 ครัวเรือน พื้นที่นา 150 ไร่ ร้อยละ 80 บริโภคข้าวที่ปลูก และได้มีการแบ่งปันขาย ให้ผู้บริโภค การขับเคลื่อนขยายได้ช้า แต่บทเรียนที่จะนำไปใช้ในการคัดเลือก ส่งเสริมและขับเคลื่อนนาต่อไป เกษบตรกรมีรายได้แต่น้อย มีการวางแผนการผลิตและปรับแผนการกระจายผลผลิต และเพิ่มมูลค่า
  4. มีแนวทางในการพัฒนายกระดับองค์ความรู้ และการจัดการตลาดเป็นจุดอ่อน
13 เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาการดำเนินงาน25 กันยายน 2563
25
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

1.ประสานผู้เข้าร่วม 2.เตรียมข้อมูลผลการดำเนินงาน 3.นำบันไดผลลัพธ์ใช้เป็นเครื่องมือประเมินผลความเปลี่ยนแปลง บรรลุตามกำหนดไว้หรือไม่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผลลัพธ์การดำเนินที่ผ่านมา  มีนาอินทรีย์  150 ไร่  ชาวนาปรับเปลี่ยน 2.  กลไกขับเคลื่อนงานได้  มีคณะทำงาน  20  คน  มีแกนหลักในแต่ละพื้นที่
    3.  มีบทเรียนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน  และพัฒนาศักยภาพให้กับคณะทำงาน  เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
    4.มีการขยายเครือข่ายในอำเภอเพิ่มขึ้น
8 จัดตั้งธนาคารน้ำหมักชุมชนและธนาคารปุ๋ยหมักชุมชน19 กันยายน 2563
19
กันยายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. กลุ่มวางแผนจัดตั้งธนาคานน้ำหมักชุมชน
  2. จัดทำกติกาข้อตกลง
  3. ทำน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักอินทรีย์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  มีการทำน้ำหมักใช้ในกลุ่มและได้มีการนำไปใช้ทำปุ๋ยหมักอินทรีย์  มีการแบ่งปันให้กับสมาชิกในกลุ่ม  และแบ่งจำหน่ายให้คนที่สนใจ
2.  มีข้อตกลงร่วมกัน  เช่น 1. ให้สมาชิกร่วมกันทำปุ๋ยหมักและน้ำหมัก  2.  สมาชิกร่วมทำแบ่งปัน  ที่จำหน่ายนำมาเป็นทุนหมุนเวียนทำต่อครั้งต่อไป  3.สมทบค่าน้ำค่าไฟให้กับกลุ่ม

7 ปฏิบัติการขยายผลนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง ครั้งที่ 221 สิงหาคม 2563
21
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ประชุมเตรียมคณะทำงานพื้นที่บ้านดอนนูด  แบ่งบทบาทการทำงาน
  2. ประธานธนาคารพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านดอนนูด เล่าที่มาของธนาคารพันธุ์ข้าวชุมชน ความสำคัญของการอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน สำรวจข้อมูลเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
    3.แลกเปลี่ยนแนวทางในการขับเคลื่อนธนาคารพันธุ์ข้าวชุมชน เพื่อชุมชนมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ส่งเสริมในการผลิตข้าวอินทรีย์
  3. กำหนดกติกาของธนาคารเมล็ดพันธุ ประกาศใช้กติกา
    1. จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชาวนาตระหนักความสำคัญและมีการอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน เกิดชาวนากลับมาคัดและเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน จำนวน 5 คน และมีแปลงพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน มีพันธุข้าวพื้นบ้าน  3 ชนิด เพียงพอใช้ในชุมชน  คือ สังหยด เล็บนก  ข้าวเหนียวตอก  เฉี้ยง ที่สามารถแลกแบ่งปันในชุมชนและเครือข่าย
  2. ธนาคารมีระเบียบข้อตกลง  ในการสมาชิกรับพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เหมาะสม ใช้ในการทำนาผลผลิตที่ได้ใช้บริโภคในครัวเรือน และแบ่งปันและขายในชุมชน  ให้มีการคัดและเก็บพันธุ์ใช้เอง และส่วนคืนกลับให้กับกองทุนเท่ากับพันธุ์ข้าวที่รับไป
    3.มีคณะทำงาน 5 คนในการจัดการธนาคาร ฯ ในการดูแลและขับเคลื่อนการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวและการดูแลบริหารจัดการธนาคารฯ
14. ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 420 สิงหาคม 2563
20
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ประสานคณะทำงาน
  2. จัดประชุมเพื่อติดตามการดำเนินงาน
  3. คณะทำงานร่วมกันกำหนดแผนแนวทางการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้ติดตามก้าวหน้าการดำเนินงาน คณะทำงานแต่ละพื้นที่ได้มีการดำเนินการขับเคลื่อนอย่างต่อเนื่อง แต่ในช่วงฤดูกาลทำนาเน้นหนักในเรื่องปฏิบัติการ

3 ส่งเสริมและพัฒนาศูนย์เรียนรู้ตามภูมินิเวศเมืองลุง16 สิงหาคม 2563
16
สิงหาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. รับสมัครเครือข่ายที่มีความพร้อมพัฒนาเป็นศูนย์เรียนรู้
  2. ประชุมพัฒนาและจัดทำแผนพัฒนาแหล่งเรียนรู้
  3. ประชุมกำหนดกติกาศูนย์เรียนรู้
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผลลัพธ์ 1.เกิดแหล่งเรียนรู้นาอินทรีย์วิถีเมืองลุง 1 แหล่ง  ศูนย์เรียนรู้ใต้ต้นไทร บ้านดอนนูด ตำบลควนขนุน จังหวัดพัทลุง 2.มีกติกาของศูนย์เรียนรู้
3. มีความรู้ในการทำนาอินทรีย์ครบวงจรที่สอดคล้องกับวิถีวัฒนธรรม พร้อมมีวิทยากรให้ความรู้จำนวน 5 คน กระบวนการผลิต แปรรูป การบริโภคและการแลกเปลี่ยนแบ่งปันผลผลิตและพันธุ์มีสื่อวัสดุประกอบการเรียนรู้ วิถีนาอินทรีย์ และมีความรู้นาอินทรีย์ครบวงจรบ้านดอนนูด

14 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 320 กรกฎาคม 2563
20
กรกฎาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ความก้าวหน้าของการดำเนินงานขับเคลื่อนนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง 2.ร่วมกันกำหนดแนวทางในการดำเนินงาน  และเตรียมในการจัดกิจกรรมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  ได้มีคณะทำงานเพิ่มขึ้น  3 คนมีความตั้งใจและร่วมขับเคลื่อนงานในพื้นที่  มีคณะทำงานจำนวน 5 คน  ในพื้นที่  ตำบลพนางตุง  ตำบลทะเลน้อย  ตำบลควนขนุน  อำเภอควนขนุน  จังหวัดพัทลุง 2.  ได้มีความรู้และแนวทางในการเคลื่อนการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม  ซึ่งทางคณะทำงานได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมขับเคลื่อนขบวนขับเคลื่อนนาอินทรีย์ของจังหวัดพัทลุง  จำนวน 3 คน  ได้มีการนำความรู้ที่ได้มาปรับและกำหนดข้อตกลงร่วมกันมาตรฐานนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง  แรงเสริมให้คนปรับเปลี่ยนมาผลิตข้าวอินทรีย์/ผลิตข้าวปลอดภัย
3.เตรียมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา  กำหนดวันที่ 28 กรกฎาคม  2562  ณ วิชชาลัยรวงข้าว  แบ่งบทบาท และเตรียมข้อมูลเพื่อนำมาใช้  ทีมประสานงาน  ตัวแทนแต่ละพื้นที่ตำบล  และมีการปรับเปลี่ยนการจัดตั้งธนาคารน้ำหมัก  อุปกรณ์ใช้ในการตรวจดินครั้งที่ 2  ไม่พร้อมรอทางบริษัทที่สั่งซื้อส่งมา  เลื่อนเป็นเดือน  สิงหาคม  62

ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 220 มิถุนายน 2563
20
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. รายงานผลการดำเนินงานของเดือนที่ผ่านมา
  2. วางแผนการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนทำนาอินทรีย์/นาแปลงพันธุ์ข้าวร่วมกับศูนย์เมล็ดพันธุ์ 3.วางแผนการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ได้แนวทางการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนทำนาอินทรีย์  และให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมกำหนดกรอบร่วม 2.  ได้เตรียมจัดกิจกรรมสนับสนุนปฏิบัติการขยายผลนาอินทรีย์  วันที่    15 มิถุนายน
3. ได้มีคณะทำงาน  อาสาเข้ามาร่วมขับเคลื่อนนาอินทรีย์เพิ่มขึ้น 2 คน

10 จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์15 มิถุนายน 2563
15
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ประชุมเตรียมคณะทำงานพื้นที่บ้านดอนนูด  แบ่งบทบาทการทำงาน
  2. ประธานธนาคารพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านดอนนูด เล่าที่มาของธนาคารพันธุ์ข้าวชุมชน ความสำคัญของการอนุรักษ์ฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน สำรวจข้อมูลเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นเมือง
    3.แลกเปลี่ยนแนวทางในการขับเคลื่อนธนาคารพันธุ์ข้าวชุมชน เพื่อชุมชนมีพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ส่งเสริมในการผลิตข้าวอินทรีย์
  3. กำหนดกติกาของธนาคารเมล็ดพันธุ ประกาศใช้กติกา
    1. จัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.  ชาวนาตระหนักความสำคัญและมีการอนุรักษ์และฟื้นฟูพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน  เกิดชาวนากลับมาคัดและเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน  จำนวน  5 คน  และมีแปลงพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน  มีพันธุข้าวพื้นบ้าน  3 ชนิด เพียงพอใช้ในชุมชน  คือ  สังหยด  เล็บนก  ข้าวเหนียวตอก  เฉี้ยง  ที่สามารถแลกแบ่งปันในชุมชนและเครือข่าย 2. ธนาคารมีระเบียบข้อตกลง  ในการสมาชิกรับพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่เหมาะสม  ใช้ในการทำนาผลผลิตที่ได้ใช้บริโภคในครัวเรือน  และแบ่งปันและขายในชุมชน    ให้มีการคัดและเก็บพันธุ์ใช้เอง  และส่วนคืนกลับให้กับกองทุนเท่ากับพันธุ์ข้าวที่รับไป
3.มีคณะทำงาน 5 คนในการจัดการธนาคาร ฯ ในการดูแลและขับเคลื่อนการอนุรักษ์พันธุ์ข้าวและการดูแลบริหารจัดการธนาคารฯ

7 ปฏิบัติการขยายผลนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง ครั้งที่ 115 มิถุนายน 2563
15
มิถุนายน 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ชี้แจงรายละเอียด  วัตถุประสงค์  การปฏิบัติการขยายผลนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง
  2. ระดมความคิดเห็นกำหนดกรอบข้อตกลงร่วมในการสนับสนุนแปลงนาอินทรีย์ 3.  สนับสนุนเกษตรกรลงมือปลูกและการเก็บข้อมูลการปลูก  ทำความเข้าใจแบบบันทึก
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ได้ชาวนาปรับเปลี่ยนทำนาอินทรีย์จำนวน 35 ครัวเรือน มีความตั้งใจและยอมรับในข้อตกลง ใช้ในการทำนาอินทรีย์
  2. ได้ข้อตกลงร่วมกันในการทำนาอินทรีย์  คือ แปลงเข้าร่วมโครงการ  ไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ใช้ปุ๋ยหมักน้ำหมัก  มีการทำแปลงพันธุ์ข้าว เก็บข้าวไว้ใช้เอง  บริโภคข้าวที่ได้มาจากแปลงนาที่ทำ
1 เวทีสาธารณะเพื่อการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์วิถีเมืองลุง28 พฤษภาคม 2563
28
พฤษภาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. หัวหน้าโครงการแนะนำทำความเข้าใจที่มาของโครงการและสถานการณ์เกษตรอินทรีย์ในจังหวัดพัทลุง
  2. พี่เลี้ยงโครงการแนะนำที่มาของโครงการ และการสนับสนุน สสส.
  3. แลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนนาอินทรีย์
  4. รับสมัครอาสาสมัครขับเคลื่อนนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง
  5. ออกแบบเก็บข้อมูลการทำนาอินทรีย์ในพื้นที่
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ชาวนาได้ความรู้และตระหนักความสำคัญของขับเคลื่อนนาอินทรีย์ ร้อยละ 80 ที่เข้าร่วมเวทีฯ
  2. มีอาสาสมัคร 30 เข้าร่วมในการปรับเปลี่ยนมาทำนาอินทรีย์และพร้อมร่วมขับเคลื่อนนาอินทรีย์วิถีเมืองลุง
  3. ได้แนวทางและความร่วมมือในการขับเคลื่อนนาอินทรีย์
  4. ได้ความรู้การออกแบบเก็บข้อมูลการทำนาอินทรีย์และมีเครื่องมือในการจัดทำข้อมูลนาอินทรีย์ใน ตำบลพนางตุง ตำบลควนขนุน อ.ควนขนุน จังหวัดพัทลุง
12 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 114 พฤษภาคม 2563
14
พฤษภาคม 2563รายงานจากพื้นที่ โดย จุฑาธิป
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. ทบทวนทำความเข้าใจรายละเอียดโครงการ และแนวทางการขับเคลื่อนงาน
  2. ร่วมแลกเปลี่ยนเรื่องการทำนาอินทรีย์ให้ยั่งยืนจัดระเบียบเรื่องราคาข้าวอินทรีย์
  3. ฝึกอบรมโซล่าเซลพลังงานแสงอาทิตย์
  4. กำหนดกติกาข้อตกลงในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. มีคณะทำงานขับเคลื่อนนาอินทรีย์จำนวน 15 คน ในพื้นที่อำเภอควนขนุน จ.พัทลุง พื้นที่ตำบลพนางตุง ตำบลควนขนุน อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง มีความพร้อมและความตั้งใจในการขับเคลื่อนเพิ่มพื้นที่นาอินทรีย์ และปรับเปลี่ยนทำนาอินทรีย์เป็นแบบอย่างกับสมาชิก
  2. ได้มีการแบ่งบทบาทและแนวทางร่วมกันในขับเคลื่อนในการเพิ่มพื้นที่ทำนาอินทรีย์ ให้มีความมั่นคงทางอาหาร มีอาหารปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือนและส่วนที่เหลือแบ่งปัน จำหน่ายสร้างรายได้ให้กับชาวนา
  3. มีเตรียมในการจัดเวทีเปิดโครงการ/เวทีสาธารณะ แบ่งบทบาทคณะทำงานจัดเวที ประสานงานผู้เข้าร่วม จัดเตรียมสถานที่ ทีมบันทึกข้อมูล ฯลฯ
  4. ได้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการ
2 เวทีเรียนรู้นาอินทรีย์วิถีเมืองลุง25 พฤษภาคม 2562
25
พฤษภาคม 2562รายงานจากพื้นที่ โดย ammorn
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  1. อบรมการทำนาอินทรีย์ครบวงจร วิทยากรให้ความรู้ในการทำนาอินทรีย์ครบวงจร ประกอบด้วยเนื้อหา แนวคิดนาอินทรีย์ครบวงจร  การปลูกข้าวอินทรีย์  กระบวนการบำรุงรักษา การจัดการโรคและเมลงในนาข้าว  การแปรรูปเพิ่มคุณค่าและมูลค่า การบริโภคข้าวอินทรีย์ กระบวนการร่วมกลุ่มจัดการผลผลิต
  2. อบรมให้ความรู้ในเรื่องของ คุณภาพดิน ความสำคัญของดิน  การวัดคุณภาพดิน/ธาตุอาหารในดิน เพื่อได้นำข้อมูลมาใช้ในกระบวนการผลิตและการวางแผนในการปรับปรุงดิน ปรับปรุงสูตรปุ๋ยอินทรีย์ให้เหมาะสมกับพื้นที่
  3. ให้ความรู้ในการพัฒนาน้ำหมักชีวภาพที่เหมาะสมกับดินในแต่ละพื้นที่ และประโยชน์ในการใช้ในเรื่องของการปรับปรุงบำรุงดิน การไล่แมลง หรือป้องกันเชื้อโรค
  4. วางแผนปฏิบัติการในการพัฒนาสูตรน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยหมักอินทรีย์
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผู้เข้าร่วม 30 ได้ความรู้ในการทำนาอินทรีย์ครบวงจร และมีความตั้งใจนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนทำนาอินทรีย์ให้ได้ผลดี
  2. ได้ความรู้และสามารถตรวจและวิเคราะห์ดิน และมีแผนปฏิบัติการร่วมกันในการพัฒนาน้ำหมักและปุ๋ยหมักให้มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับแต่ละพื้นที่
  3. ได้เกิดความรักความสามัคคีในการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้และได้ทำจริง
  4. ได้ภาคีความร่วมมือ คือ สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดพัทลุง ที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการปรับปรุงบำรุงดินและพัฒนาสูตรน้ำหมัก/ปุ๋ยหมักที่เหมาะสม