directions_run

ส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารโปรตีนปลอดภัย(หมูและไก่พื้นเมือง) ชุมชนบ้านควนสามโพธิ์

แบบการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมของโครงการ (Process Evaluation)

กิจกรรมระยะเวลาเป้าหมาย/วิธีการผลการดำเนินงานปัญหา/อุปสรรค/แนวทางแก้ไข
ตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริงตามแผนปฏิบัติจริง
กิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ 20 มิ.ย. 2563 20 มิ.ย. 2563

 

1.ชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม 2.คลี่บันไดผลลัพธ์ 3.ออกแบบจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัด 4.ออกแบบแผนการดำเนินงานโครงการ 5.การบริหารจัดการการเงิน 6.การเขียนรายงานผานระบบHappy Network

 

ได้วิเคราะห์บันไดผลลัพธ์โครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารโปรตีนปลอดภัย(หมูและไก่พื้นเมือง)บ้านควนสามโพธิ์ ซึ่งมีบันไดทั้งหมด 4 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 สร้างความรู้ความเข้าใจในการผลิตอาหารโปรตีนปลอดภัย มีตัวชี้วัด คือ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ และมีข้อมูลเรื่องแหลงผลิตและการบริโภค จำนวน 1 ชุด ขั้นที่ 2 ปรับสภาแวดล้อมและปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินงาน มีตัวชี้วัด คือ มีกติกาชุมชน, มีกลุ่มผลิตอาหารโปรตีนปลอดภัย, และมีแหล่งจำหน่ายอาหารโปรตีนปลอดภัย ขั้นที่ 3 เกิดกลไกการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน มีตัวชี้วัด คือ มีการติดตามเยี่ยมแหล่งผลิต
ขั้นที่ 4 มีแหล่งผลิตอาหารโปรตีนปลอดภัยต้นแบบ 10 แห่ง และประชาชนมีการบริโภคอาหารโปรตีนปลอดภัยที่ผลิตในชุมชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 50

และมีออกแบบการจัดเก็บข้อมูลตัวชี้วัดทั้ง 8 ตัวชี้วัด โดยทำร่างแบบเก็บข้อมูลเบื้องต้น เพื่อให้ทราบข้อมูลว่าประชาชนมีการบริโภคเนื้อหมูและไก่ จำนวนเท่าได และซื้อจากไหน หรือ มีแหล่งผลิตจากที่ไหนบ้าง

มีการให้คำแนะนำเรื่องการจัดทำเอกสารทางการเงิน การเขียนใบเสร็จรับเงิน บิลเงินสด ลายมือชื่อ และหลักฐานอื่นๆ

มีการให้คำแนะนำการทำรายงานในระบบออนไลน์ เวปไซต์คนใต้สร้างสุข เรียนรู้การกรอกข้อมูลลงในระบบเบื้องต้น

 

ประชุมประจำเดือนสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 1 27 มิ.ย. 2563 27 มิ.ย. 2563

 

กิจกรรมประชุมประจำเดือน ของแกนนำหมู่บ้าน ในครั้งแรก เป็นการนัดแกนนำมาเพื่อนำผลที่ได้จากการเข้าร่วม ในเวทีปฐมนิเทศโครงการ โดยผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศจะนำเรื่องราวมาเล่าให้แกนนำคนอื่นๆได้ฟัง ทั้งในส่วนของการดำเนินงานและการจัดทำรายงาน ในรูปแบบต่างๆ

ขั้นตอนการประชุม

ตัวแทนที่เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศโครงการ ได้พูดคุยเล่า ขั้นตอนการทำงาน โครงการกับสสการทำรายงานด้วยเว็บไซต์ และการทำรายงานการเงิน หลังจากนั้นผู้รับผิดชอบโครงการ จะกำหนดและวางแผนที่จะดำเนินกิจกรรม แรกของโครงการคือ จัดกิจกรรมเปิดโครงการและสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน โดยมีการเตรียมความพร้อมต่างๆ

 

ผลผลิตที่เกิดขึ้น มีผู้เข้าร่วมประชุมจำนวน 13 คน และมีการกำหนดวันเปิดโครงการและสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในวันที่ 10 กรกฎาคม 2563 เวลา 13.00 น สถานที่ศาลาเอนกประสงค์ของหมู่บ้าน โดยจะเชิญประชาชนและภาคีเครือข่ายต่างๆเข้ามาร่วม เพื่อ ชี้แจงรายละเอียดของโครงการและรับสมัครสมาชิกต่อไป

 

จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และป้ายชื่อโครงการ สสส. 27 มิ.ย. 2563 1 ก.ค. 2563

 

ทำป้ายไวนิลชื่อโครงการและป้ายเขตปลอดบุหรี่

 

มีป้ายชื่อโครงการ จำนวน 1 ผืน ป้ายเขตปลอดบุหรี่ 1 ผืน

 

เปิดโครงการและสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน 10 ก.ค. 2563 10 ก.ค. 2563

 

กิจกรรมเปิดโครงการและสร้างความเข้าใจแก่ประชาชน

มีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

เปิดการประชุมโดยผู้ใหญ่บ้านนายสุวิทย์ ทองเอม

ได้พูดคุยเล่ารายละเอียดของโครงการอย่างย่อๆให้ประชาชนได้รับทราบว่าในปีนี้ บ้านควนสามโพธิ์ได้รับงบประมาณจาก สสส.มาจัดทำโครงการในเรื่องของการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารโปรตีนปลอดภัยคือหมูและไก่พื้นเมือง โดยได้รับงบประมาณมาจำนวน 7,0000 บาทเพื่อนำมาใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม ซึ่งจะเกิดผลดีต่อประชาชนในพื้นที่ ที่จะมีอาหารโปรตีนที่มีความปลอดภัยไว้บริโภค

ต่อมา

นายสมศักดิ์ นวลขาวซึ่งเป็นปราชญ์ของหมู่บ้านที่มีความรู้ในเรื่องของการเลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติเลี้ยงแบบปลอดภัยโดยไม่ต้องใช้สารเคมีชนิดต่างๆ โดยได้เล่า ประสบการณ์และเรื่องราวการทำงานในรูปแบบนี้ ยังเยอะๆให้พี่น้องประชาชนได้รับฟังและรับทราบ ว่าการเลี้ยงสัตว์ โดยวิธีเกษตรธรรมชาติ สามารถให้ผลผลิตที่เหมือนๆกัน ที่สำคัญคือมีความปลอดภัยเพราะไม่ต้องใช้สารเคมีในการเลี้ยง มีการผลิตอาหารสัตว์ใช้เองและใช้น้ำหมักชีวภาพทดแทน ยาและสารเคมีอื่นๆ

ต่อมา

นายชัยรัตน์

ซึ่งเป็นเกษตรกรที่เป็นสมาชิกกลุ่ม NAG พัทลุง หรือกลุ่มเกษตรธรรมชาติ ถือเป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องของการเลี้ยงสัตว์ และการทำเกษตรธรรมชาติ ได้ร่วมพูดคุยในเรื่องของผลลัพธ์ที่ได้จากการทำเกษตรธรรมชาตินั่นคือเราจะมีอาหารโปรตีนที่ปลอดภัยไว้บริโภคในครัวเรือน สามารถลดต้นทุนการผลิตโดยการทำอาหารสัตว์ และลดการใช้ยาและสารเคมี

หลังจากนั้นมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขผอ. รพ. สต.บ้านไสนายขัน คุณหมอเอมอร ชะหนู ได้ร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนในเรื่องของอาหารปลอดภัยโดย ได้ให้คำแนะนำแก่ประชาชนในการเลือกซื้ออาหารที่มีประโยชน์และปลอดภัยต่อชีวิต และได้ให้ความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีที่จะสามารถผลิต หมูและไก่พื้นเมือง ที่เลี้ยงโดยธรรมชาติและปลอดภัยไว้บริโภคในหมู่บ้านได้

ต่อมาพี่เลี้ยงของโครงการคือนางสาวสายพิณ โปชะดา ได้ร่วมพูดคุยให้ประชาชนได้ รู้จัก สสส. และที่มาของงบประมาณต่างๆ รวมถึงแนวทางการดำเนินงานและวัตถุประสงค์ ที่ทางสสสสนับสนุนงบประมาณมาให้ประชาชนในการดำเนินกิจกรรม โดยได้ชี้แจงว่า สสส.เน้นกระบวนการเรียนรู้ให้ประชาชนได้ลงมือทำอย่างต่อเนื่องและจริงจัง จนมีความเคยชินและทำได้อย่างธรรมชาติมีการเรียนรู้ และประเมินผล รวมถึงหาแนวทางแก้ไขเมื่อมีปัญหาในการดำเนินงานต่างๆ และขอให้ชาวบ้านจงมั่นใจ ว่าโครงการส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารโปรตีนปลอดภัย หมูและไก่พื้นเมืองบ้านควนสระภูจะมีประโยชน์ต่อประชาชนในพื้นที่ หากประชาชนในพื้นที่ให้ความร่วมมือและร่วมดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

ต่อมาผู้ใหญ่บ้านได้สรุป

แนวทางการดำเนินโครงการโดยชี้แจงว่าจะรับสมัครบุคคลที่สนใจจะร่วมผลิตอาหารโปรตีนปลอดภัยเพื่อให้ผลบ้านควนสามโพธิ์ได้บริโภคโดยสามารถแจ้งความประสงค์ได้ที่ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน และหลังจากนี้จะได้ร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานด้วยกันและร่วมกันผลิตร่วมกันบริโภคอาหารโปรตีนที่มีประโยชน์และปลอดภัยสำหรับคนบ้านเรา

 

มีประชาชนร่วมฟังการชี้แจงโครงการ จำนวน ุ72 คน รับสมัครสมาชิกโครงการได้ จำนวน 16 คน

 

ประชุมประจำเดือนสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 2 19 ก.ค. 2563 25 ก.ค. 2563

 

ประชุมสภาผู้นำ โดยมีการพูดคุยในเรื่อง ประเมินผลที่ได้จากการศึกษาดูงาน และการวางแผนการเก็บข้อมูลครัวเรือน เรื่องปริมาณการบริโภคหมูและไก่ของประชาชน และ แหล่งผลิตอาหารโปรตีนปลอดภัย

 

สมาชิกโครงการมีการตื่นตัว และให้ความสนใจในการผลิตอาหารโปรตีนปลอดภัยมากขึ้น การตัดเก็บข้อมูล ทำโดยประสานความร่วมมือไปยัง รพ.สต. เพื่อให้ อสม.เป็นผู้เ็บข้อมูลให้

 

การจัดการข้อมูลเรื่องการผลิตและการบริโภคอาหารโปรตีนปลอดภัย(หมูและไก่พื้นเมือง) 19 ก.ค. 2563 25 ก.ค. 2563

 

สภาผู้นำร่วมกันออกแบบเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเรื่องปริมาณการบริโภคเนื้อหมูและไก่ของประชาชนในหมู่บ้าน รวมถึงแหล่งผลิตอาหารโปรตีน และแหล่งซื้อของประชาชนในหมู่บ้านด้วย

 

ได้แบบเก็บข้อมูลจำนวน 1 ชุด

 

ศึกษาดูงานแหล่งผลิตอาหารโปรตีนปลอดภัย ณ ศูนย์เรียนรู้เกษตรธรรมชาติ สุพิศ ฟาร์ม 26 ก.ค. 2563 19 ก.ค. 2563

 

พาสมาชิกโครงการจำนวน 40 คน ไปศึกษาดูงานที่ สุพิศฟาร์ม โดยจ้างเหมารถยนต์ส่วนบุคคลไป จำนวน 8 คัน เริ่มเวลา 08.30-17.00 น. การเรียนรู้แบ่งเป็นเรียนรู้ในห้องเรียน และการเรียนรู้จากในฟาร์ม โดยสุพิศฟาร์ม จะมีการเลี้ยงสัตว์หลายชนิด ได้แก่ กบ ปลาดุก วัว โค แพะ เป็ด ไก่ หมูหลุม
เรียนรู้เรื่องจุลินทรีย์ เรื่องการทำอาหารสัตว์ วิธีการเลี้ยง การดูแล เป็นต้น

 

สมาชิกโครงการทั้ง 40 คนมีความรู้เพิ่มมากขึ้น และเกิดแรงบันดาลใจในการกลับไปทำของตนเอง

 

ประชุมประจำเดือนสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 3 22 ส.ค. 2563 22 ส.ค. 2563

 

แกนนำโครงการ่วมประชุมประจำเดือนเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมโครงการ สสส

 

แกนนำโครวการจำนวน 10 คน เข้าร่วมประชุม เพื่อร่วมกันวางแผนการดำเนินกิจกรรม โดยมีการกำหนดการอบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติและการทำน้ำหมักชีวภาพ 7 ชนิด แก่สมาชิกโครงการ จำนวน 40 คน ในวันที่ 5 กันยายน 2564 นี้ โดยให้แกนนำ ได้ไปแจ้งให้สมาชิกโครงการทราบ และเข้าร่วมการอบรม ในส่วนของวัสดุที่ต้องใช้ในการอบรม ได้มอบหมายให้แกนนำโครงการได้ช่วยกันจัดหามา

 

อบรมให้ความรู้เรื่องการเลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติและการทำน้ำหมักชีวภาพ 7 ชนิด 5 ก.ย. 2563 24 ส.ค. 2563

 

อบรมให้ความรู้แก่สมาชิกโครงการเรื่องการเลี้ยงสัตว์แบบธรรมชาติและการทำน้ำหมักชีวภาพ 7 ชนิด วิทยากรโดย นายชัยรัตน์ เทียบพุฒ ซึ่งได้สอนถึงคุณประโยชน์ของการใช้น้ำหมักชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์ รายละเอียด ดังนี้ บวันนี้เราจะมาเรียนรู้การทำน้ำหมักเชื้อจุลินทรีย์จากพืชสีเขียวนะครับ

พืชสีเขียวให้ประโยชน์ก็คือได้แร่ธาตุ

วันนี้เราจะมาสอนในการทำน้ำหมักจากพืชสีเขียวมาวัสดุที่ใช้ผักบุ้งหน่อไม้หน่อกล้วยแปลว่าวันนี้เราจะมาสอนการทำจากหน่อกล้วยวิธีการเก็บ หน่อกล้วยนะครับจะต้องเก็บในตอนเช้าก่อนตะวันขึ้น ความยาวของหน่อกล้วยประมาณ 50 cm ถึง 70 cm นะครับเลือกเอาส่วนที่เขียวที่สุด

ข้อสำคัญก็คือห้ามล้างโดยเด็ดขาดนะครับวัสดุที่ใช้ 1 ภาชนะปากกว้าง 2 น้ำตาลทรายแดงเกลือทะเล 3 กระดาษกรุ๊ปและเชือกอัตราในการใช้ก็คือ 731 วัสดุสีเขียวใช้ 7 กิโลกรัมน้ำตาล 3 กิโลเกลือ 1 กำมือ

วิธีทำนะครับหนึ่งต้องหันวัสดุหน่อกล้วยขนาด 2 ถึง 4 เซนติเมตรแบบแบบทแยงมุม 2 แบ่งน้ำตาลทรายออกเป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน 3 เอาน้ำตาลทรายแดงส่วนที่ 1 มาคลุกเคล้ากับวัสดุแบบเบาๆนะครับฟรีนำไปบรรจุในภาชนะปากกว้าง 5 เอาของหนักทับทิ้งไว้จำนวน 1 คืน

6 เอาของหนักออก เจ็บนำน้ำตาลทรายแดงส่วนที่ 2 โรยหน้าให้ทั่วแล้วนำเกลือหนึ่งกำมือ โรยทับเส้นเดิมแล้วนำเอาของหนักทับไว้เหมือนเดิม 8 ปิดด้วยกระดาษแล้วมัดเชือกทิ้งไว้ 8-10 วัน

และจะต้องตั้งไว้ในที่เป็นพื้นดินโดยอยู่ในร่ม

5 นะครับการเก็บน้ำหมักจากหน่อกล้วยเราต้องเก็บใส่ขวด 2 ส่วน 3 ของขวดปิดฝาไว้ให้ในไว้ในที่ร่ม อัตรา 2 ช้อนต่อน้ำ 10 ลิตรใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ให้ครบทั้ง 7 ชนิดในอัตราส่วนน้ำหมัก 2 ช้อนน้ำ 10 ลิตร ข้อดีของน้ำหมักจากหน่อกล้วย

ได้เลขธาตุและป้องกันโรคจากพืชและสัตว์ได้

การนำไปใช้ของน้ำหมักหน่อกล้วยใช้ในอัตรา 2 ช้อนต่อน้ำ 10 ลิตรสามารถนำไปใส่รากต้นพืชได้การล่าสุดก็คือ 3 5 7 ต่อเดือน 3 ก็คือใช้ในวันที่ 3-5 ก็คือใส่ในวันที่ 8 ก็คือใส่ในวันที่ 15 ของแต่ละเดือนน้ำหมัก นำไปผสมให้สัตว์ลืมหรือนำไปผสมกับอาหารให้สัตว์กินและยัง พัฒนาสิ่งแวดล้อมไม่ให้มีกลิ่นด้วยข้อดีของน้ำหมักจากหน่อกล้วย
อนนี้เราก็มาเรียนรู้การทำน้ำหมักจุลินทรีย์จากผลไม้สุกนะครับผลไม้สุกเพื่อให้ได้วิตามินบำรุงร่างกายวัสดุที่ใช้นะครับผลไม้ต้องสุกผลไม้ประจำท้องถิ่นสุขเกินที่มนุษย์จะกินได้ ไม้ต้องมีอย่างน้อย 3 ชนิดและผลไม้แต่ละชนิดเราก็ไม่ควรนำไปล้างน้ำนะครับชนิดหนึ่งก็คือกล้วยน้ำว้า 2 มะละกอ 3 ฟักทองหรือถ้าไม่มีเอาอะไรก็ได้มะม่วงชมพู่กระท้อนก็ได้ตามที่เรามี 2 น้ำตาลทรายแดง

และเราต้องเตรียมภาชนะกระดาษหรือเชือกการปรับอัตราการใช้ก็คือผลไม้ 1 ส่วนน้ำตาล 1 ส่วนถ้าใช้ผลไม้ 1 กิโลกรัมน้ำตาลต้อง 1 กิโลกรัมแต่ตอนนี้เรามาใช้อย่างละ 2 กิโลกรัมกล้วย 2 กิโลกรัมมะละกอ 2 กิโลกรัมฟักทองอีก 2 กิโลกรัมรวมเป็น 6 กิโลกรัมน้ำตาลทรายแดงก็ต้องอกกิโลกรัม

วิธีทำและการหมักต้องเอาผลไม้สุกเป็นชิ้นเล็กๆประมาณ 2-4 ซมเมื่อเราฝานทั้ง 3 ผลไม้เข้าด้วยกันแล้วเรานำมากองให้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วแบ่งน้ำตาลออกเป็น 2 ส่วนส่วนที่ 1 นำมาคลุกมะพร้าวกับผลไม้ที่เราอันกองไว้แล้วแบบเบาๆไปกลับ 2 รอบ

เมื่อเรานำแล้วเราก็นำไปบรรจุในภาชนะตบให้ไอ้เสมอกันแล้วเอาน้ำตาลส่วนที่ 2 โรยหน้าไว้แล้วก็ปิดกระดาษกรุ๊ปแล้วเอาเชือกมามัดทิ้งไว้ 8-10 วัน

วิธีการเก็บก็ต้องบีบเอาหรือใช้ตาข่ายเขียวกรองเพื่อนำแยกกากกับน้ำออกด้วยกันการใช้ก็คือ 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 10 ลิตรไปปล้นเหมือนเช่นเดียวกันครับพืชสด 357 ข้อดีก็คือผสมน้ำให้ตัดกลิ่นผสมอาหารให้สัตว์กิน หรือนำไปทำปุ๋ยหมักก็ได้

 

สมาชิกโครงการมีความรู้เพิ่มมากขึ้น ในการทำน้ำหมักชีวภาพ 7 ชนิด ได้เรียนรู้พร้อมลงมือปฏิบัติจริง

 

ประชุมประจำเดือนสภาผู้นำชุมชน ครั้งที่ 4 26 ก.ย. 2563 25 ก.ย. 2563

 

ประชุมแกนนำโครงการเพื่อวางแผนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ต่อไป

 

คณแกนนำโครงการ จำนวน 6 คน ได้ร่วมประชุมหารือเพื่อจัดเตรียมการอบรมให้ความรู้เรื่องการผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ โดยใช้วัตถุดิบที่มีในชุมชน คือ ต้นกล้วย นำมาหมัก และผสมกับส่วนผสมอื่นๆ โดยคณะกรรมการได้แบ่งหน้าที่จัดหาวัตถุดิบชนิดต่างๆมาใช้ในการอบรม วันที่ 26 กันยายน 2564

 

อบรมให้ความรู้เรื่องการผลิตอาหารสัตว์แบบธรรมชาติ 26 ก.ย. 2563 8 ก.ย. 2563

 

อบรมให้ความรู้เรื่องการผลิตอาหารสัตว์แบบธรรมชาติ

 

สมาชิกมีความรู้เพิ่มมากขึ้น

 

ค่าเดินทางร่วมกับหน่วยจัดการนำเสนผลงาน 7 ต.ค. 2563 7 ต.ค. 2563

 

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงานโครงการ จำนวน 3 คน เดินทางเข้าร่วมกิจกรรมที่หน่วยจัดการจังหวัดพัทลุงจัดขึ้น

 

ผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเสนอผลการดำเนินงานกิจกรรมของโครงการให้ทางหน่วยจัดการทราบ

 

กิจกรรมสร้างแหล่งวัตถุดิบการผลิตอาหารสัตว์(แปลงกล้วยรวม) และแหล่งจำหน่ายอาหารโปรตีนปลอดภัยในชุมชน 10 พ.ย. 2563 10 ก.พ. 2564

 

เป็นการทำแหล่งวัตถุดิบเพื่อผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ โดยใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์ของหมู่บ้าน เนื้อที่ 3 งาน โดยให้สมาชิกโครงการ ร่วมกับชาวบ้าน มาช่วยกันปลูก และดูแล

 

สมาชิกโครงการและประชาชน จำนวน 100 คน ได้มาช่วยกันปลูกกล้วย เพื่อทำแปลงกล้วยรวม เป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบสำหรับการทำอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ โดยมีหน่อกล้วย จำนวน 250 หน่อ ปลูกในเนื้อที่เกือบ 1 ไร่ ปลูกระยะ 2*2 เมตร และใช้ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อให้ต้นกล้วยมรการเจริญเติบโตได้ดีขึ้น

โดยการดูแลก็ให้สมาชิกโครงการได้ร่วมกันดูและ และสามารถนำต้นกล้วยไปใช้ประโยชน์ได้เมื่อต้นกล้วยเติบโต ในส่วนของผลกล้วยก็ให้ประชาชนสามารถมาเก็บไปกินได้

 

ติดตามเยี่ยมและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน (จิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน) ครั้งที่ 1 17 พ.ย. 2563 17 พ.ย. 2563

 

สมาชิกโครงการ ไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฟาร์มตัวอย่าง โดยไปฟาร์ม ส.รัตนากร (บ้านน้ารัตน์)

 

สมาชิกโครงการจำนวน 24 คน ได้เดินทางไปจิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน ครั้งที่ 1 ที่ ส.รัตนากรฟาร์ม (บ้านน้ารัตน์) โดยเจ้าของฟาร์มได้แนะนำให้สมาชิกได้ไปดูการเลี้ยงหมูหลุม จำนวน 10 ตัว เป็นหารเลี้ยงแบบคอกเปิด ให้กินอาหารที่ผลิตเอง มีการเลี้ยงไก่พื้นเมือง จำนวน 50 ตัว เลี้ยงแบบกึ่งปล่อย มีโรงเรือนห้พักตอนกลางคืน ตอนกลางวันปล่อยให้หากินเองตามธรรมชาติส่วนหนึ่ง และผลิตอาหารสัตว์เอง โดยมีเครื่องสับย่อย เครื่องผสมอาหารที่ผลิตขึ้นเอง ทำให้มีความสะดวกในการผลิต (หยวกที่หมักเอง) นอกจากกนี้ในฟาร์มมีการเลี้ยงปลาหมอ ปลาดุก ในนาข้าว ซึ่งเจริญเติบโตได้เร็ว มีบ่อปลานิล ปลาทับทิม จำนวน 1 งาน มีการทำนาข้าว เนื้อที่ 1 งาน

สมาชิกโครงการได้ร่วมเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาการเลี้ยงสัตว์ของตนเอง

 

เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 4 ธ.ค. 2563 4 ธ.ค. 2563

 

จัดเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 1

 

แกนนำโครงการและสมาชิกโครงการ ได้เข้าร่วมเวทีการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 1 โดยประเมินผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นตามบันไดผลลัพธ์ ดังนี้

 

ประชุมกำหนดกติกาชุมชน 4 ธ.ค. 2563 4 ธ.ค. 2563

 

ประชุมสมาชิกโครงการ เพื่อกำหนดกติกาชุมชน สำหรับให้สมาชิกโครงการได้ร่วมกันปฏิบัติ โดยให้สมาชิกได้ร่วมเสนอ และให้ความเห็นและสรุปเป็นกติกาที่ใช้ร่วมกัน

 

กติกาชุมชนสำหรับสมาชิกโครงการ มีจำนวน  6 ข้อ คือ 1.สมาชิกโครงการต้องเลี้ยงหมุ/ไก่พื้นเมือง 2.ต้องมีโรงเรือน/คอกสำหรับการเลี้ยง 3.ต้องผลิตอาหารสัตว์ด้วยตนเอง/รวมกลุ่ม โดยใช้วัตถุดิบที่หาได้ในชุมชน 4.สมาชิกต้องบริโภคหมู/ไก่ ที่จัดเลี้ยงโดยสมาชิก ในครัวเรือน/ชุมชน 5.หสมาชิกต้องมาทำกิจกรรมและร่วมประชุม ุ6.สมาชิกต้องเข้าร่วมกิจกรรมจิบกาแฟอย่างน้อย 4 ครั้ง

 

ติดตามเยี่ยมและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน (จิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน) ครั้งที่ 2 16 ธ.ค. 2563 16 ธ.ค. 2563

 

สมาชิกโครงการไปจิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน (บ้านหมออารีย์) เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และนำผลที่ได้จากการเรียนรู้ไปใช้พัฒนาฟาร์มของตนเอง

 

สมาชิกโครงการ จำนวน 20 คน ได้เดินทางไปจิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน (บ้านหมออารีย์) โดยฟาร์มบ้านหมออารีย์ มีการเลี้ยงหมูหลุม จำนวน 2 คอก 10 ตัว ใช้ขี้เลื่อย แกลบ สำหรับรองในหลุม มีการเลี้ยงไก่ไข่ จำนวน 100 ตัว และไก่พื้นเมือง จำนวน 20 ตัว เลี้ยงโดยใช้คอก มีการแนะนำให้สมาชิกได้เรียนรู้การเตรียมคอกสำหรับเลี้ยงสัตว์

 

งานสมัชชาสุขภาพ หิ้วชั้นมาชันชี ครั้งที่ 2 25 ธ.ค. 2563 25 ธ.ค. 2563

 

ร่วมประชุมกับหน่วยจัดการงานมัชชาสุขภาพ หิ้วชั้นมาชันชีครั้งที่ 2

 

ร่วมประชุมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินกิจกรรมโครงการในพื้นที่ของตนเอง ในเรื่องการผลิตอาหารโปรตีนปลอดภัย หมูและไก่พื้นเมือง

 

ติดตามเยี่ยมและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน (จิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน) ครั้งที่ 3 30 ธ.ค. 2563 30 ธ.ค. 2563

 

สมาชิกโครงการไปร่วมกิจกรรมจิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน ครั้งที่ 3 ที่สานโพงฟาร์ม (บ้านน้าปู)

 

สมาชิกโครงการจำนวน 26 คน ได้รวมตัว นัดแนะไปจิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน ครั้งที่ 3 ที่สานโพงฟาร์ม โดยฟาร์มดังกล่าว มีการเลี้ยงสัตว์หลายประเภท ทั้งวัว โคขุน ไก่พื้นเมือง หมูหลุม ไก่ไข่ แพะ
สมาชิกได้ดูการทำคอกเลี้ยงสัตว์ และสาธิตการทำอาหารสัตว์ด้วยวัตถุดิบในชุมชนด้วย

 

ติดตามเยี่ยมและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน (จิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน) ครั้งที่ 4 17 ม.ค. 2564 17 ม.ค. 2564

 

สมาชิกโครงการ เดินทางไปติดตามเยี่ยมฟาร์มของเพื่อนสมาชิกโครงการด้วยกัน เพื่อเรียนรู้และแลกเปลี่ยนการดำเนินงาน พร้อมทั้งนำปิ่นโตไปร่วมรับประทานอาหารเที่ยงด้วยกัน

 

สมาชิกโครงการจำนวน 20 คน ได้เดินทางไปเยี่ยมชมจิรเมธฟาร์มเกษตรธรรมชาติ ซึ่งมีการเลี้ยงเป็ด ไก่ วัว ปลา เลี้ยงแหนแดง ไว้ให้สัตว์กิน มีการทำอาหารสัตว์เอง หมักหยวกกล้วย ทำน้ำหมักชนิดต่างๆ ใช้ในฟาร์ม

 

เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ร่วมกับหน่วยจัดการพัทลุง (ARE) 20 มี.ค. 2564 20 มี.ค. 2564

 

ร่วมเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้กับหน่วยจัดการพัทลุง

 

แลกเปลี่ยนผลการประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ของพื้นที่ตนเองกับหน่วยจัดการ

 

ติดตามเยี่ยมและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน (จิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน) ครั้งที่ 5 30 มี.ค. 2564 30 มี.ค. 2564

 

สมาชิกโครงการไปร่วมจิบกาแฟแลฟาร์มที่ กรองทองฟาร์ม (บ้านน้ายา)

 

สมาชิกโครงก่าร จำนวน 12 คน

 

ติดตามเยี่ยมและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน (จิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน) ครั้งที่ 6 4 เม.ย. 2564 4 เม.ย. 2564

 

สมาชิกโครงการไปร่วมจิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน ครั้งที่ 6 ที่ฟาร์มบ้านผู้ใหญ่

 

สมาชิกโครงการ จำนวน 12 คน

 

ติดตามเยี่ยมและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน (จิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน) ครั้งที่ 7 2 พ.ค. 2564 2 พ.ค. 2564

 

สมาชิกโครงการไปจิบกาแฟแลฟาร์มเพื่อน ครั้งที่ 7 ที่บ้านน้ารัตน์ ครั้งที่ 2 เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งใหม่ที่มีเพิ่มเติม

 

สมาชิกโครงการ จำนวน 17 คน

 

เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 16 พ.ค. 2564 16 พ.ค. 2564

 

จัดเวทีประะเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

 

แกนนำโครงการและตัวแทนสมาชิกโครงการเข้าร่วมเวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้ครั้งที่ 2 โดยมีการประเมินตามบันไดผลลัพธ์ทั้ง 4 ขั้น

 

แลกเปลี่ยนเรียนรู้/ถอดบทเรียน คืนข้อมูลให้ชุมชน 23 พ.ค. 2564 23 พ.ค. 2564

 

การคืนข้อมูลผลการดำเนินกิจกรรมโครงการให้ประชาชนได้รับทราบ

 

กิจกรรมคืนข้อมูลให้กับประชาชนได้รับทราบผลการดำเนินกิจกรรม ด้วยสถานการณ์การระบาดของ covid-19 ในพื้นที่ จึงไม่สามารถจัดประชุมประชาชนเพื่อดำเนินเวทีดังกล่าวได้ จึงได้จัดทำแผ่นพับสรุปผลการทำงาน รวมถึงป้ายไวนิลแสดงผลงาน และการประชาสัมพันธ์ผ่านหอกระจายข่าว
โดยผลการดำเนินการตามบันไดผลลัพธ์ พบว่า บ้านควนสามโพธิ์มีแหล่งผลิตอาหารโปรตีนปลอดภัย หมูและไก้พื้นเมือง จำนวน 10 แห่ง ปละประชาชนในชุมชนมีการบริโภคอาหารโปรตีนปลอดภัยที่ผลิตขึ้นในชุมชนเพิ่มมากขึ้น 63 %

 

จัดทำรายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการ 31 พ.ค. 2564 31 พ.ค. 2564

 

จัดทำรายงานการเงิน และรายงานหน้าเวป

 

มีการจัดทำรายงานการเงิน (เอกสารการจ่ายเงินโครงการตามระเบียบ) และจัดทำรายงานทางเวปไซต์ คนสร้างสุข (Happynetwork)

 

ค่าจัดทำชุดนิทรรศการนำเสนอผลการดำเนินงาน 31 พ.ค. 2564