directions_run

ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน ”

จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นายสหจร ชุมคช

ชื่อโครงการ ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน

ที่อยู่ จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ ุ63001690015 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2563 ถึง 31 มีนาคม 2564


กิตติกรรมประกาศ

"ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน



บทคัดย่อ

โครงการ " ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน " ดำเนินการในพื้นที่ จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ ุ63001690015 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 108,000.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ปัจจุบันยางพาราเข้าครอบครองพื้นที่ทําการเกษตรอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลพื้นที่ปลูกยางพาราของสถาบันวิจัยยาง ปีพ.ศ. 2558 รายงานว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกยางทั้งสิ้น 18,761,231 ไร่ ประกอบด้วย พื้นที่ปลูกยางของภาคใต้จํานวน 11,906,882 ไร่ รองลงมาคือ พื้นที่ปลูกยางพาราของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จํานวน 3,477,303 ไร่ ภาคตะวันออกรวมกับภาคกลาง จํานวน 2,509,644 ไร่ ส่วนภาคเหนือพื้นที่ปลูกยางพาราน้อยที่สุด จํานวน 867,402 ไร่ พื้นที่ปลูกยางทั้งหมดของประเทศที่กล่าวถึง มีจํานวน พื้นที่ซึ่งเปิดกรีดไปแล้ว จํานวนรวมทั้งสิ้น 10,896,957 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 85 ของพื้นที่ปลูกยางทั้งหมด ในจํานวนนี้ให้ผลผลิตเฉลี่ย 282 กิโลกรัม/ไร่/ปี  อย่างไรก็ตามพื้นที่ปลูกยางของประเทศไทยยังมีอัตราที่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องมาจากสภาวะวิกฤติน้ำมันเชื้อเพลิง มีส่วนช่วยสร้างโอกาสให้กับยางธรรมชาติขึ้นมาอยู่เหนือยางเทียม อย่างไม่คาดคิด ความต้องการยางธรรมชาติในเชิงอุตสาหกรรมจึงสูงขึ้น ช่วยฉุดให้ราคายางพาราสูงตาม ส่งผลให้พื้นที่ปลูกยางพารา ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากป่าบนพื้นที่สูงจะถูกแทนที่ด้วย สวนยางพาราแล้ว บริเวณที่ราบลุ่มที่เคยเป็นบ้านของพืชไร่ วันนี้ยังถูกแทนที่ด้วยยางพาราจํานวนไม่น้อย ทั้งๆ ที่ผลผลิตเฉลี่ยตอไรจะต่ำมากก็ตาม เมื่อรวมพื้นที่ปลูกยางพาราของทั้งจังหวัดสงขลา จังหวัด พัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช เขาดวยกันพบวามีพื้นที่ปลูกยาง ทั้งสิ้นประมาณ 3,430,422 ไร ในจํานวนพื้นที่นี้พบวามีพื้นที่ปาอนุรักษรวมอยูดวยจํานวนหนึ่ง จากขอมูลภาพถายทางอากาศเมื่อป พ.ศ. 2545 ซึ่งกรมทรัพยากรปาไมลุมน้ำทะเลสาบสงขลา ไดรายงาน โดยอางจากรายงานโครงการจัดทําแผนแมบทการพัฒนาลุมน้ำทะเลสาบสงขลา สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรและสิ่ง - แวดลอม  ปพ.ศ. 2548 พบวาพื้นที่ปาอนุรักษไดถูกบุกรุกประมาณ 23,618 ตารางกิโลเมตร ซึ่งพื้นที่เหลานี้สวนใหญเปนพื้นที่ในเขตลุมน้ำทะเลสาบสงขลา ที่ครอบคลุมบางสวนของจังหวัดสงขลา จังหวัด พัทลุง และจังหวัดนครศรีธรรมราช การรุกปาเพื่อเปลี่ยนเปนพื้นที่การเกษตร สืบเนื่องจากพื้นที่เดิม ดินเกิดสภาวะเสื่อมโทรมสงผลใหผลผลิตลดจํานวนลง การแกปญหาของเกษตรกรวิธีที่งายที่สุดก็คือการขยายพื้นที่ปลูก เพื่อให ผลิตตอไรคงที่หรือเพิ่มมากขึ้น แตดวยไมมีพื้นที่วางเปลาเหลืออยู เกษตรกรจึงเลือกที่จะรุกเขาไปทําแปลงเกษตรในพื้นที่อนุรักษซึ่งสวนใหญอยูในบริเวณพื้นที่ตนน้ำ แตดวยถูกปลูกฝงมาใหยึดติดกับระบบเกษตรกระแสหลักที่ยึดเอาเทคโนโลยีเปนตัวตั้ง เกษตรกรจึงทําเกษตร ในระบบการปลูกพืชเชิงเดี่ยว สงผลใหสวนยางพาราทั้งหมดในทุกพื้นที่ เปนสวนยางพาราเชิงเดี่ยวทั้งสิ้น ในมิติที่เปนประโยชนของการจัดการ เกษตรกรรมระบบนี้เกษตรกรจะไดคาตอบแทนสูง แตจะชักนําใหตนทุนสูงตามไปดวย ทั้งนี้เพราะตองวิ่งตามเทคโนโลยีไปตลอดไม สิ้นสุด ในทางกลับกันหากพิจารณาในมิติความยั่งยืนของการจัดการเชิงเดี่ยวที่ปลูกในที่พื้นที่เดิมตอเนื่องกันประมาณ 3 รอบ ใชเวลา ประมาณ 60 ปหรือมากกวา จะพบวาอัตราการเจริญเติบโตของตน ยางพาราจะคอยๆ ลดขนาดลงตามลําดับ สงผลใหตนยางพารามี เปลือกบางลง และใหน้ํายางนอย เนื่องจากดินในแปลงปลูกพืช เชิงเดี่ยวเสื่อมคุณภาพลง ดวยเพราะเกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสรางของดิน ทั้งทางดานกายภาพ เคมีและชีววิทยา ที่สืบเนื่องมาจากการ ใชปุยเคมีและสารเคมีในแปลงปลูกยางพาราเปนเวลายาวนาน ส่งผลกระทบก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของดิน ทําใหเศษซากดังกลาว ตกคางอยูในดินยาวนานกวาที่ควรจะเปน ขณะเดียวกันกลไกดังกลาว มีสวนสนับสนุนใหผิวอนุภาคดินมีไฮโดรเจนไอออนจับเกาะในปริมาณ มากขึ้น จึงไมใชเรื่องแปลกที่ดินจะคอยๆพัฒนาไปสูความเปนกรดขึ้น อยางตอเนื่อง การเสื่อมของคุณภาพดินยังสรางผลกระทบกับวงจรธาตุ อาหารของระบบนิเวศทั้งระบบ เชน วงจรของธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและธาตุอาหารอื่น วงจรธาตุอาหารดังกลาวจะถูกตัดตอน ใหขาดเปนชวงๆ ระบบนิเวศของดินในพื้นที่ปลูกยางพาราจึงขับเคลื่อน วงจรธาตุอาหารลดประสิทธิภาพลงอยางตอเนื่อง สงผลใหขาดธาตุ อาหารจําพวกไนโตรเจนในดินลดจํานวนลง    สวนฟอสฟอรัสแมจะยังมี อยูก็มิอาจใชประโยชนไดเนื่องจากไมไดอยูในรูปของฟอสเฟตที่ละลายน้ำไดดวยเพราะดินเปนกรด ดินที่ขาดธาตุอาหารหรือมีธาตุอาหารแตอยูในรูปที่ใช ประโยชนไมได จัดเปนดินที่เสื่อมความอุดมสมบูรณพืชที่อาศัยอยูใน ดินลักษณะดังกลาวจึงเติบโตไดนอยและใหผลผลิตต่ำ ทางออกของ เกษตรกรอยางงาย ก็คือการนําเขาธาตุอาหารดังกลาวสูดินมากขึ้นตามลําดับ แตอยางไรก็ตามแมวาจะเพิ่มปุยเคมีลงไปเทาใดก็หาเปน ประโยชนไม เพราะดินที่เปนกรดทําใหธาตุอาหารฟอสฟอรัสไมแตกตัว เปนไอออน โดยจะอยูในรูปสารประกอบของโลหะเปนสวนใหญ รากพืชจึงไมสามารถนําเขาเพื่อใชประโยชนได ดังนั้นแมวาเกษตรกรจะเพิ่มปุยเคมีลงไปในดินมาก สักเพียงใด ก็จะไมเกิดประโยชนกับตนยางพารา    ดวยเพราะไม สามารถนําธาตุอาหารชนิดนี้เขาสูรากเพื่อสงตอไปยังสวนตางๆของ เนื้อเยื่อที่ไดรับคําสั่งมา สุดทายก็จะเกิดสภาวะขาดแคลนธาตุอาหาร เมื่อหันกลับมาพิจารณามิติของการปลูกยางพาราเชิง บูรณาการ ที่อาจเปนการใชพืชหลายชนิดปลูกแซม ป่าร่วมยาง หรืออาจพัฒนาให ซับซอนสูการสรางสังคมพืช จะพบวาวิธีนี้เปนวิธีที่สอดคลองกับ ธรรมชาติเนื่องจากมีสวนชวยใหโครงสรางของดิน ทั้งทางกายภาพ เคมีและชีววิทยา ไดมีการพัฒนาตนเองไปสูการสรางสัดสวนขององคประกอบของโครงสรางของดินใหเหมาะสม เชน หากดินมีสภาพ ทางกายภาพที่มีชองวางระหวางเม็ดดินติดตอเชื่อมโยงถึงกันทั้งหมด ก็จะชวยใหอากาศแพรผานลงไปในดินไดลึกมากขึ้น ขณะเดียวกันชวย ใหคารบอนไดออกไซดที่ถูกกักเก็บสามารถแพรออกจากดินสู บรรยากาศไดไมยุงยาก รากพืชก็จะทําหนาที่ไดสมบูรณขึ้น ทุกครั้งที่ฝนตก หากดินมีชองวางระหวาง อนุภาคดินติดตอ เชื่อมโยงเปนเครือขายถึงกันอยางเปนระบบ การระบายน้ำลงสูดินชั้น ลางจะกระทําไดเปยมประสิทธิภาพ จะไมมีน้ำถูกกักขังอยูระหวางชองวางอนุภาคดิน สงผลใหรากพืชไมเครียดเพราะขาดออกซิเจน สําหรับหายใจ เมื่อดินสามารถกักอากาศเอาไวในชองวางระหวาง อนุภาคดินไดมาก ก็จะมีไนโตรเจนสําหรับให้  จุลินทรียตรึงเพื่อ เปลี่ยนเปนไนเตรต ขณะเดียวกันก็มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอสําหรับ ใหรากพืช สัตวในดิน และจุลินทรียใชในการหายใจเพื่อสรางพลังงาน หากการสรางพลังงานไมติดขัด การขับเคลื่อนวิถีภายในระบบชีวิตของ แตละสรรพชีวิตก็จะสะดวกและคลองตัว สงผลใหสภาวะแวดลอมของ ดินดีขึ้น สภาวะเชนวานี้จะสนับสนุนใหเกิดการชักนําใหสรรพชีวิตอื่นๆ ในที่อยูอาศัยอื่น ไดอพยพเขามามากขึ้นตามลําดับ หากเปนเชนนี้ไดก็ จะชวยใหดินพัฒนาไปสูสุขภาวะอยางตอเนื่อง ในธรรมชาติพัฒนาการ ของสังคมพืชไดใ ห ความสําคัญ กับความ หลากหลายของพันธุกรรม ทั้งพืช สัตวและจุลินทรีย ไดมีสวนรวมในการทําหนาที่ อ ยางเปนระบบ กรอบ ความคิด ดังกลาวมีสวน สนับสนุนใหเครื่องจักรมีชีวิต ในดินแตละภาคสวนไดทําหน้าที่สนับสนุนการ ขับเคลื่อนวงจรธาตุอาหาร ใหเคลื่อนตัวไดเร็วขึ้น และขยายเครือขายสูวงกวางมากขึ้น ทําใหมีปุยธรรมชาติคืนกลับสูดิน เพียงพอสําหรับการเฉลี่ยและแบงปนกัน ผลลัพธก็คือความแข็งแรง ของระบบนิเวศที่จะทยอยคืนกลับมาอยางชาๆ แตมั่นคง สุดทาย ระบบเกษตรเชนวานี้จะกาวยางสูมิติของความยั่งยืน หากเราสรางกรอบคิดการปลูกยางพารา โดยอาศัยหลักการ และเหตุผลดังกลาวขางตน ก็จะมี สวนชวยใหสังคมพืชปายางพารา ไดปรับตัวจากความเปราะบางสูความแข็งแรงของระบบ แมวาจะมี การคุกคามที่ทําใหเกิดภาวะเครียด จากตัวแปรใดๆ ก็ตาม สรรพชีวิต ก็สามารถปรับตัวโดยอาศัยกลไกการปองกันตัวเอง ชวยแกปญหา ทั้ง การแกปญหาเฉพาะสวนตัวหรือการแกปญหาแบบมีสวนรวม เชน จุลินทรียกลุมหนึ่งอาจชวยกันแยงชิงอาหาร หรือตัวรับอิเล็กตรอน ของจุลินทรียกอโรค ทําใหจุลินทรียกอโรคขาดอาหาร หรือพลังงาน สุดทายจุลินทรียกอโรคจะคอยๆ ลดจํานวนประชากรลงตามลําดับ อยางตอเนื่อง และหายไปในที่สุดโดยเกษตรกรไมตองพึ่งพาสารเคมี ที่เปนพิษแตอยางใด สังคมพืชสวนยางพารา มองดูก็คลายกับสังคมพืชใน ปาดิบชื้น เพียงแตมีจํานวน เรือนยอดของพืชเสมือนรม ขนาดและรูปแบบที่ซอน เหลื่อมในแนวดิ่งจํานวนนอย กวา แตจํานวนที่นอยกวานี้ก็ สามารถทําหนาที่ชวยดูดซับ และสะทอนรังสีอัลตราไวโอเลตไมใหกระทบกับประชากร ของจุลินทรียโดยตรง ทั้งนี้เพื่อใหเครื่องจักรที่มีชีวิตเหลานี้ไดทําหนาที่ ผลิตอินทรียวัตถุ และชวยคืนกลับธาตุอาหารใหกับดินผานกลไกของ การยอยสลายเพื่อสงตอใหกับพืช ทํานองเดียวกันธรรมชาติยังได ออกแบบใหโปรโตซัว คอยทําหนาที่ควบคุมประชากรของแบคทีเรีย ไมใหเพิ่มจํานวนเร็วมากเกินไป ทั้งนี้เพื่อความสอดคลองกับปริมาณใบ พืชที่รวงหลน รวมทั้งเศษซากพืชที่มีจํานวนสอดคลองกับประชากร ของสัตวกินซาก

ขอมูลที่กลาวมาขางตนทั้งหมด ลวนบงชี้ใหเห็นวาระบบ เกษตรเชิงเดี่ยวในบริเวณพื้นที่ปาตนน้ำ นาจะเปนจุดเริ่มตนของ ประเด็นปญหาหลายๆ ประเด็นที่สัมพันธและเชื่อมโยงกันอยางเปน ระบบ จากตนน้ำสูปลายน้ำ และรายทาง กอใหเกิดผลกระทบกับ สรรพชีวิตที่เปนสวนประกอบของโครงสรางระบบนิเวศ ภายใตระบบ ธรรมชาติที่ซับซอน หากประสงคจะแกปญหาดังกลาวจะตองมองให ครบทุกมิติหลังจากนั้นจึงเริ่มตนแกปญหาแบบมีสวนรวมโดยเริ่มที่ตนน้ำ แลวเชื่อมโยงสูกลางน้ำและปลายน้ำอยางเปนระบบ ถึงจะทํา ใหทุกขของสรรพสิ่งของลุมน้ําคอยๆ คลี่คลายลงอยางมีพัฒนาการ
ดังนั้นในการขับเคลื่อนส่งเสริมฟื้นชีวิตคืนเศรษฐกิจชาวสวนยางพัทลุงด้วยกระบวนการพัฒนาสวนยางเป็นพื้นที่พืชร่วมยาง ผลลัพธ์ของการดำเนินงาน เกิดเครือข่ายป่าร่วมยางยั่งยืน สมาชิกในเครือข่ายได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลกระทบของยางเชิงเดี่ยวและการใช้สารเคมีที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ทำให้มีชาวสวนยางจำนวน 54 ครอบครัว ปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบป่ายางยั่งยืน มีการปลูกพืชแซมในสวนยาง โดยในการขับเคลื่อนงานนั้นการดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ได้มีกลไกขับเคลื่อน “คณะทำงานป่าร่วมยาง” มีคณะทำงานจำนวน 20 คน มีแกนนำหลักในการขับเคลื่อนและการบริหารจัดการจำนวน 6 คน ที่ได้มีส่วนร่วมในการร่วมคิด ร่วมทำ และสามารถวิเคราะห์แก้ปัญหาได้ ได้มีการแบ่งบทบาทการทำงาน และรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย มีกติกาข้อตกลง ได้ทำตามข้อตกลงและสมาชิกในเครือข่ายยอมรับและเข้าร่วม สำหรับแกนนำบางส่วนใหม่กระบวนการทำงานเป็นทีมยังขาดทักษะความชำนาญในเรื่องการบริหารจัดการและการขับเคลื่อนงานแบบมีส่วนร่วม การทำงานได้รับความร่วมมือและสนับสนุนจากภาคีความร่วมมือ เนื่องได้มีกระบวนการร่วมในกิจกรรม และแปลงรูปธรรมต้นแบบทำให้ได้รับความยอมรับ และเห็นความตั้งใจร่วมแรงร่วมใจของเครือข่ายฯ เช่น เทศบาลตำบลลำสินธุ์ ธกส. สปก.พัทลุง
เกิดวิชาต้องไม่พาตาย ถ่ายทอดความรู้ของชุมชนสู่คนรุ่นใหม่ มีเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และนำความรู้ที่ได้ไปใช้ ในการเพาะกล้าไม้ การขยายพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด ที่สามารถขยายพันธุ์พืชสำหรับเตรียมปลูกร่วมในป่าร่วมยาง เกิดธนาคารพันธุ์พืช มีโรงเรือนเพาะและขยายพันธุ์พืชจำนวน 16 โรง มีระบบการกระจายแบ่งปันให้กับสมาชิก และมีรายได้จากการจำหน่ายพันธุ์กล้าไม้ให้กับคนที่สนใจเพิ่มความหลายหลายในแปลง ส่งผลให้ธนาคารพันธุ์พืชมีความเติบโต และมีพันธุ์กล้าไม้ที่เหมาะสมในการปลูกรวมในสวนยางแต่ละระยะจำนวน 30 ชนิด นอกจากนี้ผลผลิตในแปลงที่ปลูก หรือที่เว้นไว้ในส่วนยางมีระบบการรวบรวมและจัดการกระจายผลผลิต และบริโภคในครัวเรือน มีการเพิ่มมูลค่านำพืชใช้ประโยชน์อาหาร ใช้สอย ไม้ประดับ เพิ่มรายได้ให้กับชาวสวนยาง ซึ่งเฉลี่ยมีรายได้เพิ่มขึ้นเดือนละ 1,000 บาท มีระบบตลาด ระบบร้านค้าชุมชน ศูนย์เรียนรู้พันธุกรรมพืชตำบลลำสินธุ ซึงจากการดำเนินการนั้น ทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนเกษตร ผลผลิตที่นำมานั้นยังสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าพืชร่วมในสวนยางนั้นยังมีน้อย
ช่องว่างในกระบวนการดำเนินงานในการจัดการกระบวนการขับเคลื่อนของกลไกเครือข่ายที่สามารถดำเนินการขับเคลื่อนงานได้ คณะทำงานร้อยกว่า 50 ของคณะทำงานมีความตั้งใจและสามารถขับเคลื่อนงานได้ แต่มีร้อยละ 50 นั้นขาดทักษะความชำนาญในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนงาน หรือบางคนมีการแบ่งเวลาไม่เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต มีการปรับเปลี่ยน
มีกระบวนการทำซ้ำเพื่อเติมส่วนช่องว่างของโมเดลป่าร่วมยางยังยืนที่ยังไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะในการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดผลลัพธ์ยังไม่ครบถ้วน และการวิเคราะห์ข้อมูลยังไม่ชัดเจน และทดสอบเพิ่มความมั่นใจโมเดล ในการขยายพื้นที่ป่าร่วมยางยั่งยืนคืนชีวิตชาวสวนยางพัทลุง ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีสุขภาวะ
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มวิถีชุมชนคนเกษตรร่วมกับกลุ่มเครือข่ายคนอินทรีย์วิถีเมืองลุง จึงได้จัดทำโครงการฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน เพื่อปรับกระบวนทัศน์ในการทำสวนยางพาราของคนเมืองลุงให้เปลี่ยนจากระบบพืชเชิงเดี่ยวไปสู่ระบบพืชร่วมยางขึ้น รวมถึงสร้างและพัฒนากลไกเครือข่ายภาคประชาชน เกษตรกรคนเล็กคนน้อยในชุมชนพัทลุง ให้รู้และตระหนักถึงการพิษภัยของการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อยกระดับเป็นโมเดลการจัดการป่าร่วมยางยั่งยืน เป็นแนวทางหนึ่งที่นำไปสู่เมืองโดยมีเป้าหมายสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์จังหวัดของภาคประชาชนในการสร้างพัทลุงให้เป็นเมืองสีเขียวเกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้ที่มั่นคง และมีความมั่นคงทางด้านอาหาร
เพื่อให้โมเดลป่าร่วมยางยั่งยืน นำไปสู่การขยายผลต่อไปได้ ในปีที่ 2 มีแนวทางในการขับเคลื่อนป่าร่วมยางเพื่อมีปรับเปลี่ยนของชาวสวนยางเข้าสู่ระบบป่าสวนยางยังยืนที่เหมาะสมกับพื้นที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น กระบวนการปลูก การจัดจัดการผลผลิตเชื่อมร้อยแลกเปลี่ยนระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค มีกระบวนการพัฒนากลไกขับเคลื่อนและพัฒนาศักยภาพแกนนำให้สามารถขับเคลื่อนงานมีคณะทำงานที่อย่างเข้มแข็ง ร่วมคิด ร่วมวิเคราะห์ ประเมินการดำเนินงาน แก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม และขับเคลื่อนงานให้บรรลุตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้  พัฒนากลไกเครือข่ายให้มีกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบ่งปันพันธุ์พืช ผลผลิต ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน กระบวนการในการยกระดับพัฒนาระบบตลาด ตลาดนัดชุมชน แบ่งปันพืชผัก อาหารปลอดภัย งานจักสาน ซึ่งใช้วัสดุจากป่าร่วมยาง และพัฒนาระบบตลาดออนไลน์ มีกระบวนการเพิ่มเติมความรู้ในการจัดการและบรรจุ การขนส่งที่มีคุณภาพที่ดี ส่งเสริมการนำผลผลิตจากป่าร่วมยางสร้างรายได้ เสริมแรงให้ชาวสวนยางปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบป่ายางยังยืน สนับสนุนครัวเรือนอยางน้อยง 50 ครัวเรือนในการทำป่าร่วมยางเพิ่มพื้นที่ป่าร่วมยางในจังหวัดพัทลุง และถอดบทเรียน โมเดลคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยระบบป่าร่วมยางยั่งยืน

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. 1. เพื่อให้กลไกขับเคลื่อนป่าร่วมยางได้อย่างเข้มแข็ง
  2. 2. เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ระบบป่าร่วมยางครบวงจร
  3. 3. มีป่าร่วมยางยั่งยืนเป็นพื้นที่ผลิตอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการ NFSจังหวัดพัทลุง
  2. 1 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1
  3. 2 เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำ
  4. 7 สนับสนุนเกษตรกรปลูกพืชร่วมยาง และการขยายลดใช้สารเคมีในสวนยาง
  5. กิจกรรมที่ 5 เวทีสาธารณะเพื่อปรับกระบวนการสวนยางสู่ป่ายาง
  6. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายป่าร่วมยาง ครั้งที่ 2
  7. เวทีเชื่อมร้อยเครือข่าย
  8. กิจกรรมที่ 3 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1
  9. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3
  10. ปิดงวดโครงการงวดที่ 1
  11. กิจกรรมที่ 4 เวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายคนป่ายาง
  12. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายป่าร่วมยาง ครั้งที่ 4
  13. จัดทำป้ายเขตปลอดเหล้าบุหรี่
  14. กิจกรรมที 9 พัฒนายกระดับผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์/เมนูอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 1
  15. กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนใต้โคนยางกระจายตามภูมิเวศเมืองลุง
  16. กิจกรรมที่ 3 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2
  17. ค่าอินเตอร์เน็ด
  18. กิจกรรมที่ 9 พัฒนายกระดับผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์/เมนูอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 2
  19. กิจกรรมที่ 10 ส่งเสริมการกระจายผลผลิตจากเครือข่ายคนป่ายางสู่ชุมชน
  20. จัดทำนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ
  21. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายป่าร่วมยาง ครั้งที่ 5
  22. เวทีประเมินผลการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา AREร่วมหน่วยจัดการฯ
  23. กิจกรรมที่ 8 ขับเคลื่อนธนาคารพันธุ์พืชพืชพื้นถิ่น
  24. กิจกรรมที่ 11 เวทีสรุปผลการดำเนินโครงการ
  25. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาARE ร่วมหน่วยจัดการฯ
  26. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เมื่อโครงการแล้วเสร็จ หรือเมื่อทุนของ สสส. หมดลง จะมีการดำเนินการต่อเนื่องหรือไม่ อย่างไร
    โครงการแล้วเสร็จหรือเมื่อทุนของ สสส. จะมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จากการดำเนินงานของโครงการนี้เสริมให้เกิดกลไกขับเคลื่อนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มีการรวมกลุ่มหนุนเสริมการปรับเปลี่ยน มีการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตของเกษตรกรชาวสวนยางมีต้นแบบ มีรูปธรรมพืชร่วมยางชัดเจนและสร้างรายได้ ลดต้นทุนการผลิต กระบวนการผลิตไม่ใช้สารเคมี มีความมั่นคงทางด้านอาหาร สิ่งแวดล้อมดีขึ้น คืนระบบนิเวศน์ให้กับชุมชน จากต้นแบบดังกล่าวเป็นตัวอย่างในการขยายผลต่อไป
2.ระบุวิธีการขยายผลจากการดำเนินโครงการ และชุมชน หรือผู้อื่นจะใช้ประโยชน์จากผลของโครงการนี้อย่างไร     กลไกโครงสร้างเครือข่ายป่าร่วมยางยั่งยืนเกิดขึ้น เช่น โรงเรียนใต้โคนยาง ธนาคารปุ๋ยหมัก ธนาคารพันธุ์พืช ตลาดสีเขียว เป็นแหล่งสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถขยายแนวคิดด้วยการสร้างความรู้ความตระหนักให้กับเกษตรกรในชุมชน และผู้สนใจเรียนรู้และปรับเปลี่ยนมาปลูกพืชร่วมยางที่สอดคล้องกับภูมินิเวศน์ และมีกลไกสนับสนุนเกิดความมั่นคง กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชื่อมร้อยเครือข่าย และมีกลไกการติดตามหนุนเสริมของเครือข่ายคนอินทรีย์วิถีเมืองลุง และสามารถนำโมเดลเป็นต้นแบบ ประสานความร่วมมือส่งต่อให้กับจังหวัด ใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อตอบยุทธศาสตร์เพื่อสุขภาวะ ที่จะนำไปสู่เมืองลุงสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการ NFSจังหวัดพัทลุง

วันที่ 20 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

ชี้แจงจุดประสงค์ NFS จากผู้รับผิดชอบหน่วยจัดการ NFS นาย ไพฑรูณ์ ทองสม ทำความเข้าใจบันไดผลลัพธ์ วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดใต้บันได และสามารถวางแผนปฏิทินกิจกรรมได้เหมาะสมกับ ทำแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับการอบรมให้ความรู้ทำเอกสารเบิกจ่ายการเงินที่ถูกต้อง ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบเบิกจ่ายมากขึ้นใช้ระบบรายงานข้อมูล Happy network ได้ทบทวนทำให้มีความคุ้นชินกับการรายงานข้อมูล ซึ่งง่ายและสะดวกในการติดตามกิจกรรม 5.การเปิดบัญชีธนาคาร ได้เปิดบัญชีธนาคาร โดยมีความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารเงินที่ใช้ตามกิจกรรมที่วางแผนจัดขึ้นตามปฏิทินเวลา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. มีความรู้และความเข้าใจบันไดผลลัพธ์ วัตถุประสงค์ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดใต้บันได และสามารถวางแผนปฏิทินกิจกรรมได้เหมาะสม
  2. มีความรู้ความเข้าใจการทำเอกสารเบิกจ่ายการเงินที่ถูกต้อง
  3. สามารถการใช้ระบบรายงานข้อมูล Happy network โรงเรียนได้ทบทวนทำให้มีความคุ้นชินกับการรายงานข้อมูล ซึ่งง่ายและสะดวกในการติดตามกิจกรรม
    4.  ได้หนังสือถึงธนาคารเพื่อเปิดบันชีโครงการ

 

3 0

2. 1 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1

วันที่ 25 มิถุนายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีสมาชิกทุกคน -แนะนำสมาชิกน้องใหม่อีก 1 คน คือ นางสาวอารียา ข้างแก้ว -แจ้งให้ทราบว่าเดือนเราจะเริ่มทำกิจกรรมของ สสส. -แจ้งรายละเอียดของงบประมาณที่ได้รับในปีนี้และรายละเอียดของกิจกรรม -แจ้งให้รู้ว่า งบที่ได้มา เราจะเน้นมาทำเรื่องตลาดกับธนาคารต้นไม้เป็นหลัก -แจ้งให้รู้ว่า สปก.จังหวัด จะมาร่วมกิจกรรมกับเรารวมทั้ง กศน.ด้วย -แจ้งให้รู้ว่า ทางพลังงานจังหวัดได้มารับมอบตู้อบพลังงานแสงอาทิตย์เรียบร้อยแล้ว หากสมาชิกคนไหนมีของที่ต้องการจะอบแห้ง ก้อให้เอามาอบได้เลย -แจ้งให้รู้ว่า บัญชีเงินของกิจกรรม ได้ไปเปิดเรียบร้อยแล้ว
-แจ้งให้รู้ว้่า กองทุนยาไส้-ยาใจ สมาชิกคนไหนมีเมล็ดพันธุ์ก้อให้เก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกเองและถ้ามีมากก้อให้เอามาแบ่งเข้ากองทุนยาไส้-ยาใจได้

-

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-สมาชิกได้รับรู้ เกี่ยวกับกิจกรรมตัวใหม่ที่เราจะได้ทำร่วมกัน -สมาชิกได้ร้บรู้ถึงความเป็นไปในงานของกลุ่มว่าตอนนี้เราได้ทำอะไรบ้าง -เปิดโอกาสให้สมาชิกทุกคนได้ซักถามในข้อสงสัยต่างๆ ที่ตัวเองยังไม่เอาเข้าใจและได้คำตอบที่ตัวเองพอใจ -สมาชิกทุกคนได้มาพบปะ ปรึกษาหารือ และได้พูดคุยกัน ทำให้เห็นถึงความผูกพันธ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่่ม

 

20 0

3. 2 เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำ

วันที่ 2 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ประธานกล่าวต้อนรับและสวัดีสมาชิก คณะทำงาน ภ่าคีเครือข่ายที่เข้าร่วมกิจกรรมในวันนี้
  • ประธานแจ้งให้รู้ถึงวัตถุประสงค์ที่จัดกิจกรรมในวันนี้ให้กับผู้เข้าร่วมได้รับทราบ
  • แนะนำสมาชิก แกนนำโรงเรียนใต้โคนยางให้ได้รู้จัก
  • ให้ความรู้แลกเปลี่ยน การปลูกพืชรวมยางของแต่ละพื้นที่ร่่่วมกัน ประธานเพิ่มเติมให้ความรู้การดำเนินงานในส่งเสริมและขยายสมาชิกในโรงเรียนใต้โคนยาง กระบวนการกลุ่มที่สร้างความร่วมมือของมาชิกให้รู้สึกเป็นเจ้าของร่วมกัน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์และปัญหา การฝึกพัฒนาทักษะการบริหารกลุ่มจากการปฏิบัติจริงและมีการเพิ่มเติมความรู้ที่ขาด การวางแผนงานในการพัฒนากลุ่ม/เสริมแรงป่าร่วมยางเพิ่มขึ้น สมาชิกมีความมั่นคงเรื่องอาหาร เศรษฐกิจ  ชุมชนช่วยเหลือซึ่งกันและกันนำไปสู่ความรักความสามัคคี สิ่งล้อมที่ดี ฟื้นความเสื่อมโทรมจากการปลูกพืชเชิงเดี่ยว เพิ่มความหลากหลายพันธุ์กรรมพื้นบ้าน/ท้องถิ่นที่เกิดจากการดูแล รักษา ขยายพันธุ์ส่งต่อไปยังชุมชนและเครือข่ายต่อไป
    -  บอกกล่าวปัญหาที่พบในการปลูกพืชร่วมยาง  ร่วมแลกเปลี่ยนหาสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหา
    -  ร่วมกันวางแผนปฏิบัติการนำกระบานการประเมินไปใช้ในการติดตามภายในกลุ่มของตัวเอง เครือข่ายให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-มีผู้นำที่มีความสามารถและมันใจเกิดขึ้นหลังจากมีการเรียนรู้ทฤษฎีป่าร่วมยางร่วมกัน -ผู้นำสามารถไปเป็นแกนนำผู้อื่น เพื่อทำป่าร่วมยางสู่การปฏิบัติจริง -มีการประเมิน วัดผล ทำสถิติ การปลูกพื่ชร่วมยางตามแผนที่ตกลงกันไว้ และสามารถแสดงผลงานอย่างต่อเนื่อง -สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขี้นได้โดยตัวเอง -ได้รู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้ -ได้รู้จักกับสมาชิกใหม่

 

30 0

4. 7 สนับสนุนเกษตรกรปลูกพืชร่วมยาง และการขยายลดใช้สารเคมีในสวนยาง

วันที่ 15 กรกฎาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-เมื่อชำต้นไม้พร้อมเบิก ก็แจ้งสมาชิกให้รับทราบ -เมื่อสมาชิกต้องการต้นไม้ชนิดไหนที่มีก็ทำเบิกไปปลูกในแปลงของต้นเอง

-ลงบันทึกจำนวนต้นไม้ที่สมาชิกได้เบิกไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • สมาชิกได้นำต้นไม้ไปปลูกในสวนยางมีจำนวนมากขึ้น
  • เกิดการขยายสมาชิก ป่าร่วมยางเพิ่มขึ้น
  • มีพื้นที่การทำป่าร่วมยางเพิ่มขึ้น

 

35 0

5. กิจกรรมที่ 5 เวทีสาธารณะเพื่อปรับกระบวนการสวนยางสู่ป่ายาง

วันที่ 10 สิงหาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมงาานรวมตั้งภาคีเครือข่าย -ประธานกลุ่มกล่าวสวัสดีและต้อนรับทุกคนที่ได้มาร่วมกิจกรรมเปิดโครงการป่าร่วมยางปี2ได้พูดถึง ผลการดำเนินงานของป่าร่วมยางปี ที่1 ว่าได้ผลตอบรับจากสมาชิกป่าร่วมยางที่ดีมาก จนต่อยอดมาถึงป่าร่วมยางอย่างยั่งยืน ปี2 -แจ้งจำนวนไร่ให้สมาชิกได้รับทราบ ถึงจำนวนไร่ที่ได้สมาชิกป่าร่วมยางปีที่ 1ว่ามีถึง 449ไร่จากที่ตั้งเป้าไว้แค่ 200ไร่ ซึ่งเกินเป้าที่ตั้งไว้มากเลยทีเดียว และปีนี้เราตั้งเป้าไว้ที่ 300ไร่
-ประธานแจ้งว่าปีนี้เราจะเน้นในจังหวัดพัทลุงก่อนเพื่อนให้สอดคล้องกับนโยบายจังหวัด ทั่จะทำจังหวัดพัทลุงให้เป็นเมืองสีเขียว โดยทางปรธานจะแจ้งวาเราจะเน้นในอำเภอศรีนครินทร์เป็นหลัก -แจ้งเรื่องการจัดตั้งกลุ่ม การทำงานของกลุ่ม ทำยังไงให้กลุ่มเราเข้มแข็งแก่ผู้เข้าร่วมทุกคนฟัง -ประธานให้สมาชิกใหม่ที่มาในวันนี้และที่จะจัดตั้งเป็นโรงเรียนใต้โคนยางของแต่ละอำเภอ  แนะนำตัวแก่สมาชิกให้ได้รู้จัก -ประธานกลุ่ม เรียนเชิญท่าน ผอ.กยท พัทลุง มากล่าวเปิดโครงการป่าร่วมยางปี 2และได้รับพูดคุยรับฟังปัญาที่เกิดขึ้นและพร้อมจะให้คำปรึกษากับสมาชิกทุกคนรวมตั้งภาคีเครือข่าย และหน่วยงานของรัฐที่ได้มาร่วมกิจกรรมไนวันนี้ด้วย -มีการตั้งคำถาม-ตอบระหว่างท่าน ผอ.กยทกับสมาชิกป่าร่วมยางโดยและเปลี่ยน เรียนรู้ การจัดการสวนยางให้เป็นป่ายางที่ให้เหมาะสมกับพื้นที่ของตัวเอง


ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-  ผู้เข้าร่วมได้มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานโครงการ และความร่วมมือของ สสส.ในการสนับสนุนส่งเสริมสุขภาพของโครงการ พร้อมพูดถึงสถานการณ์การปลูกพืชเชิงเดี่ยว ของจังหวัดพัทลุงและพยายามทำสวนยางให้เป็นป่ายาง
-  ช่วยสร้างแรงบันดาลใจ ในการทำสวนยางให้เป็นป่ายางและพร้อมหาต้นไม้ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่ของแต่ละคน - ได้ภาคีเครือข่ายในการทำป่าร่วมยาง เพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ชุมชน เพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัยให้กับครอบครัวตัวเองและคนรอบข้าง เนื้องจากมีการลดการใช้สารเคมี และยาฆ่าหญ้าน้อยลง
- ช่วยสร้างความหลากหลายให้กับพื้นที่ สร้างความอุดมสมบุรณ์ให้กับชุมชน
- มีการสร้างรายได้เพิ่มขึ้น จากการขายสินค้าที่ได้ปลูกไว้ไนป่ายาง
- เพิ่มพื้นทีสีเขียวให้กับชุมชนของตัวเอง
- เพิ่มพื้นที่อาหารปลอดภัย ปลอดสารเคมี
- รู้ถึงคุณค่าและประโยชน์ในการทำสวนยางให้เป็นป่ายาง

 

80 0

6. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายป่าร่วมยาง ครั้งที่ 2

วันที่ 25 กันยายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ประธานกล่าวต้อนรับและสวัสดีสมาชิกทุกคนที่เข้าร่วมประชุมในวันนี้
  • ประธานแจ้งวาระการประชุมครั้งที่แล้วให้สมาชิกได้รับทราบอีกครั้ง
  • แจ้งให้ทราบ่ว่า ในเดือนที่ผ่านมา มีกิจกรรมอะไรบ้างที่ทางกลุ่มของเราได้ดำเนินการทำกิจกรรมไปแล้ว เช่น ประชุมคณะทำงาน การแจกพันธุ์ไม้ให้สมาชิกใหม่และเก่าให้กลับนำไปปลูกใว้ในสวนยาง
    ใครไม่มีสวนยางก้อให้ปลูกที่บ้านหรือใส่กระถางไว้ เพื่อไว้เป็นอาหารหรือจำหน่ายต่อไป
  • แจ้งให้ทราบว่าตอนนี้ มีสมาชิกใหม่ที่สมัครเป็นสมาชิกป่าร่วมยางอีก 184 ไร่่ ใน 6 อำเภอ
  • ประธานปรึกษาและเสนอแนวทางในการขยายสมาชิก กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เราจะเน้นสมาชิกในจังหวัดพัทลุงก่อน โดยเฉพาะในอำเภอศรีนครินทร์ และกำหนดทีมในการชักชวนและให้ความรู้รูปแบบทำป่าร่วมยาง ออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ เน้นความหลากหลาย ไม่ใช้สารเคมี มีพืชหลากหลายพืชอาหาร ไม้ใช้สอย สมุนไพร เพื่อเป็นการส่งเสริมและดูแลสุขภาพของชาวสวนยางและชุมชน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-  สมาชิกได้รับต้นไม้ของปีนี้ ไปปลูกเพิ่มในสวนบางของตัวเอง
-  ทำให้ทราบถึงการดำเนินงานว่าไปถึงไหนแล่่้ว แล้วเราจะทำอะไรก้นต่อไป
-  ได้เพิ่มพื้นที่ป่าร่วมยางมากขึ้น จากการรับสมาชิกป่าร่วมยางใหม่
-  มีอาหารที่กินและปลอดภัยเพิ่มขึ้น
- มีพื้นที่ป่าร่วมยางเพิ่มขึ้นอีก 184 ไร่ใน 6 อำเภอ
- สมาชิกได้รับรู้ถึงว่าเราจะเน้นการทำป่าร่วมยางโดยจะเน้นในอำเภอศรีนครินทร์
- สมาชิกได้ร้บรู้จำนวนเงิน จากการออมในแต่ละเดือน

 

20 0

7. เวทีเชื่อมร้อยเครือข่าย

วันที่ 7 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรมนันทนาการ  กิจกรรมทางกาย
กล่าวต้อนรับผู้ร่วมดำเนินการโดย  นายทวี  เสนแก้ว นำเสนอความเป็นมาของโครงการโหนดเฟชชิฟ  ยุทธศาตร์เมืองลุงสีเขียว
ผู้ว่าราชการจังหวัดพัทลุง  กล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ ยุทธศาสตร์การสร้างชุมชนสีเขียว นำเสนอผลการดำเนินงานชุมชนน่าอยู่ แบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นยุทธศาตร์  แลกเปลี่ยน นำเสนอ  แนวทางความร่วมมือกับภาคียุทธศาสตร์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้รับผิดชอบโครงการได้นำเสนอผลงานของตัวเองเป็นโมเดล โมเดลได้รับการยอมรับจากเครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดพัทลุง ที่นำความรู้ในการทำป่าร่วมยางยั่งยืน ไปปรับใช้ และคณะทำงานป่าร่วมยางยั่งยืนพร้อมเป็นที่ปรึกษาให้กับสามาชิกเครือข่าย และกลุ่มองค์กรสนใจได้
  • ได้เพื่อนภาคีเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ได้ความรู้เรื่องอาหารปลอภัยเกษตร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม  และได้มีข้อเสนอเชิงนโยบาย ยุทธศาตร์
  • ได้มีการออกแบบกระบวนการหนุนเสริมซึ่งกันและกันในการขับเคลื่อนร่วมกันได้

 

4 0

8. กิจกรรมที่ 3 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1

วันที่ 15 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ประธานกล่าวสวัสดีและต้อนรับสมาชิก คณะทำงานและภาคเครือข่ายทุกคน ชึ้แจงรายละเอียดกิจกรรม
  • ประธานได้สรุปทบทวนผลลัพธ์การดำเนินงานในปีที่ 1 ซึ่งเป็นข้อมูลก่อนเริ่มโครงการในปีที่ 2 นำข้อมูลความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในปีที่ 2 ระยะที่ 1 มีความก้าวหน้าเกิดผลลัพธ์ตามที่เป้าหมายหรือไม่จากกระบวนการดำเนินงานโครงการป่าร่วมยางยั่งยืน  และได้ให้สมาชิกและภาคีที่เข้าร่วมได้ร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียน  ปัญหาอุปสรรค์
    แจ้งถึงผลการดำเนินงานที่ผ่านมา 3เดือนแรก แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน รวมถึงปัญหาที่ได้พบ
  • ทีมพี่เลี้ยงจากหน่วยจัดการ Nod Flagies จังหวัดพัทลุง ได้ร่วมให้ข้อคิดเห็นและตั้งคำถามในการช่วนคิดวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน  กระบวนการสำคัญ ประเมินอยู่บันไดผลลัพธ์ใหน และปัญหาที่เกิดขึ้นจะทำอย่างไรได้ตามเป้าหมายและวัตถุประสงค์ตามระยะเวลาที่กำหนด
  • ได้นั่งพูดคุย สอบถามกับภาคีเครือข่ายถึงการทำป่าร่วมยางของแต่พื้นที่ว่ามีปัญหาอะไรบ้าง และแนวทางความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการป่าร่วมยางและยกระดับโมเดลไปสู่การขยายผลต่อไปโดยมีหน่วยงานเช่น สกย.พัทลุง สนง.เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง ขับเคลื่อนขยายพื้นที่ป่าร่วมยางเพิ่มพื้นที่สีเขียว สร้างความมั่นคงทางอาหาร ชาวสวนยางมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-สมาชิกและภาคีเครือข่ายได้พบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในการทำป่าร่วมยางร่่วมกัน ทำให้เกิดความรักความผูกพันธ์และช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และมีความตั้งใจร่วม่กันสร้างป่าสวนยางของแต่ละคนให้เป็นแบบอย่างและนำไปสู่การขยายผล ช่วยกันหาเพื่อนที่ปรับเปลี่ยนมาทำพืชร่วมยางเพื่อให้มีความมั่นคง ยั่งยืนในด้านเศรษฐกิจ สุขภาพ สิ่งแวลดล้อม ชุมชนสัมคมมีความสุข อยู่ดี กินดี
-ทราบถึงผลการดำเนินงานที่ฝานมา ว่าได้ทำและขยับไปในทิศทางไหน ประเมินตัวเองกับการดำเนินงานที่ผ่านมา ได้เป็นไปตามแผนงานและเป้าหมายที่กำหนด แม้นจะต้องมีการปรับรูปแบบการดำเนินงานเนื่องจากเกิดสถานการณ์โควิด คณะทำงานได้ใช้มาตรการในการป้องกันและดูแลสุขภาพเพื่อไม่ให้มีการเผยแพร่และกระจายโควิด 19 อย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ และได้้รับความร่วมมือของสมาชิก ทำให้การดำเนินงานสามารถดำเนินงานไปได้ทุกส่วนต่างช่วยกันดูแล
-  มีการขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ คณะทำงาน 20 คน มีแกนหลักในการขับเคลื่อนงานจำนวน 10 คน กระจายอยู่ในพื้นที่ อำเภอศรีนครินทร์ อำเภอเขาชัยสน อำเภอกงหรา อำเภอตะโหมด ที่ร่วมแรงรวมใจช่วยกันขับเคลื่อนงานตามความถนัด กรณีมีบางคนได้รับหน้าที่ไม่ถนัดมีการทบทวนและปรับปรุง พร้อมทั้งมีสมาชิกเข้ามาเพิ่มขึ้นจำนวน 5 คนในการทำงานมีแนวคิดและมีความตั้งใจร่วมเป็นคณะทำงาน ทักษะความรู้ที่ยังขาดความชำนาญก็มีการเพิ่มเติมจากคณะทำงานที่มีทักษะความชำนาญ หรือจากหน่วยจัดการในการบริหารจัดการทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  ทุกคนรู้หน้าที่ของตนเองมากขึ้น และสามารถทำหน้าที่แทนกันได้
- คณะทำงานสามารถ วิเคราะห์ปัญหาการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพขึ้น ได้มีการการปรับปรุงแผนงานเพื่อแก้ปัญหาและช่องว่างที่เกิดขึ้นได้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์
- สมาชิกป่าร่วมยางที่เข้าร่วมโครงการ ร้อยละ 80 มีความรู้ ตระหนักถึงความสำคัญของป่าร่วมยาง มีการกำหนดแผนแปลงที่ปลูกพืชร่วมได้อย่างเหมาะสม ตามแนวคิดปลูกป่า 3 ป่าได้ประโยชน์ 4 อย่าง พืชอาหาร ไม้ใช้สอย สมุนไพร มีความรู้ธรรมชาติของต้นไม้กำหนดพืชร่วมยางได้ และมีความรู้ในการเพาะขยายพันธุ์พืช ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์จากพืชในการเพิ่มอาหารปลอดภัย และส่วนเกิดเพิ่ม่มูลค่าสร้างรายได้ในครัวเรือน ลดรายจากการการปลูกเน้นการพึ่งตนเองใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น รวมกันทำปุ๋ยหมัก เรียนรู้การจัดการกระจายผลผลิตเพิ่มคุณค่าสร้างมูลค่าจากพืชร่วมยาง เช่น เมนูอาหารพื้นบ้าน  จักรสาน (วิชาไม่พาตาย)
-  มีสมาชิกป่าร่วมยางเพิ่มขึ้น 23 คน จำนวน 211 ไร่ ไน6 อำเภอ ได้แก่ ศรีบรรพต กงหรา ป่าบอน เขาชัยสน ศรีนครินทร์และเมือง
-  เกิดโรงเรียนใต้โคนยางเพิ่ม อีก 4 แห่ง

 

25 0

9. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3

วันที่ 25 ตุลาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีและต้อนรับคณะทำงานและสมาชิกทุกคน -ประธาน พูดถึงวาระก่อนประชุมในวันนี้ เกี่ยวกับการพาสมาชิกไปดูงานที่ กลุ่มวิสาหกิจบ้านทุ่งยาว ตำบลโคกม่วง จังหวัดพัทลุง เพื่อจะแจ้งให้สมาชิกคนไม่ได้ไปดูงานได้รับทราบ และถามถึงการไปดูงานในครั้งนั้น พวกเราได้นำหลักคิดอะไรบ้างที่สามารถนำมาปฏิบัติกับกลุ่มของพวกเราได้บ้าง -การเงิน กองทุนยาไส้-ยาใจ แจ้งยอดเงินที่ขายเมล็ดพันธ์ุให้สมาชิกได้รับทราบ -การเงิน การออมเงินของกลุ่มทำการแจ้งยอดเงินกลุ่มและทำการฝากเงินประจำเดือนให้กับสมาชิก -ประธานแจ้ง ให้สมาชิกได้รับทราบว่า กิจกรรมที่ได้ทำมาทั้งหมด ของงวดแรกได้เสร็จภายในเดือนนี้ ซึ่งกิจกรรม จะมี 3 งวด งวดนีัก้อเสร็จในกิจกรรมนี้ คือประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 -งวดที่ 2 เราจะเริ่มต้นเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ปีหน้า -ประธานได้ถามถึงสมาชิกที่ได้เบิกต้นไม้ไปปลูก ว่าได้นำไปปลูกกันหรือยัง เพราะช่วงนี้เริ่มเข้าหน้าฝนแล้ว ต้นไม้ที่นำไปปลูกจะมีโอกาสรอดมาก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • สมาชิกได้ร้บรู้ถึงการทำงานของกลุ่ม
  • สมาชิกได้มาพบปะ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ สอบถามปัญหาของแต่ละคน
  • ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขั้น ให้บรรลุลุล่วงไปโดยดี
  • สมาชิกไปดูงาน จำนวน 25 คน
  • สมาชิกได้ความรู้ การบริหารจัดการกลุ่ม
  • สมาชิกได้ความรู้ การผลิตปุ๋ย และการปลูกผักอินทรีย์
  • มีการปรับปรุง แผนงานของกลุ่ม เครือข่าย ในการแปรรูปพืชผัก จากป่าร่วมยางในการทำเครื่องแกง มีการวางแผนปลูกผักอินทรีย์ใส่กระสอบข้างบ้าน และในป่ายางอายุ 1-4ปี

 

20 0

10. จัดทำป้ายเขตปลอดเหล้าบุหรี่

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ได้จัดทำป้าย เขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้นำป้ายไปติดที่ทำการกลุ่ม

 

1 0

11. ปิดงวดโครงการงวดที่ 1

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

โครงการป่าร่วมยางยั่งยืน เข้าร่วมตรวจสอบเอกสารการเงิน และรายงานความก้าวหน้ากิจกรรมผ่านระบบเวป  คณะทำงานประกอบไปด้วย  ผู้รับผิดชอบโครงการ  เจ้าหน้าที่การเงินโครงการ  ผู้รายงานความก้าวหน้าผ่านระบบเวปไซ้ด์ โดยผู้ตรวจความถูกเอกสารการเงินพร้อมระบบหน้าเวปไซ้ด์  นายจำรัส รันตอุบล  การตรวจสอบความถูกต้อง สามารถปิดงวดที่1 เป็นที่เรียบร้อย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เอกสารได้รับการตรวจสอบจากผู้รับผิดชอบ และระบบการกรอกข้อมูลเข้าเวปไซ้ด์ ถูกต้อง ครบถ้วน

 

3 0

12. กิจกรรมที่ 4 เวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายคนป่ายาง

วันที่ 18 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

  • ลงทะเบียน ผู้เข้าร่วมกิจกรรม และแจกเมล็ดดาหลาให้กับผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมทุกคน เพื่อได้นำไปเป็นการขยายพันธ์ุต่อไป
  • จัดนิทรรศการโมเดลป่าร่วมยางยั่งยืน แลกเปลี่ยนให้ความรู้ป่าร่วมยางยั่งยืน การออกแบบป่าร่วมยาง
  • ให้ความรูู้กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับการปลูกพืชป่าร่วมยาง
  • แนะนำต้นไม้ที่จะนำไปปลูกในป่าร่วมยางให้ก้บผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ที่สนใจได้รู้จัก
  • สาธิตการทำอาหาร ผลผลิต จากป่าร่วมยาง
  • แนะนำงานจักสาน ที่ทำจากต้นคลุ้มที่ปลูกในป่าร่วมยาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน มีความตั้งใจปลูกพืชเพิ่มในสวนยางและได้นำเมล็ดพันธุ์และกล้าไม้ ที่ได้แจกไป นำกลับไปปลูกในสวนยางเพิ่มมีต้นไม้หลากหลายขึ้น
    ุ- ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ความรู้ จากการแนะนำ วิธีการปลูก การเพาะและชำต้นไม้ที่จะปลูกในป่าร่วมยางได้ หรือในพื้นที่ของตัวเองได้บ้าง
    -ได้เมนูอาหาร 10 ชนิด เช่น แกงเลี้ยงผักสมรม ข้าวยำจากผักพื้นบ้าน 10 ชนิด น้ำพริกใบทำมังคู่กับผักพื้นบ้าน ที่มีการนำพืชผักจากป่าร่วมยาง หรือพืชผักข้างบ้านมาทำเป็นอาหาร ทำให้คนที่เข้าร่วมได้ตื่นตัว รู้วิธีการนำพืชผักพื้นบ้านมาปรุงเป็นอาหารสำหรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ ตระหนักความสำคัญคุณค่าของพืชพื้นบ้านบ้างชนิดหลากคนไม่รู้วิธีการนำมาประกอบอาหารซึ่งเป็นอาหารปลอดภัย ปราศจากสารเคมี ทำให้มีสุขภาพที่ดี
  • คนตระหนักความสำคัญของพืชผักพื้นบ้าน ได้มีสัญญาใจร่วมกันในการปลูกผักพื้นบ้านและกินผักพื้นบ้านที่ปลูกในสวนยางที่ปรับเข้าสู่ป่าร่วมยางยั่งยืน ไม่ใช้สารเคมีในแปลง ปรับเปลี่ยนมาประกอบอาหารที่ใส่ใจสุขภาพเพื่อป้องกันและลดโรค
  • ได้มีความรู้การนำพืชจากป่าร่วมยางมาทำงานจักสานทีทำมาจากต้นคลุ้ม รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่กำลังจะสููญหายไป ซึ่งสามารถนำมาแปรรูปได้หลากหลาย เช่น ตะกล้า หมอน เสื่อ แต่ละครอบครัวนำมาใช้ในชีวิตได้ และยังทำให้เกิดรายได้เสริมให้กับคนที่สาน และคนที่ปลูกต้นคลุ้มในป่าร่วมยางด้วย
  • มีความร่วมมือกับภาคีที่เข้าร่วมเช่น สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพัทลุง  มหาวิทยาลัยทักษิณ  ในการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกพืชร่วมในสวนยางที่ยกระดับไปสู่ป่าร่วมยางยั่งยืนต่อไป

 

50 0

13. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายป่าร่วมยาง ครั้งที่ 4

วันที่ 25 พฤศจิกายน 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีและต้อนรับคณะทำงานและสมาชิกทุกคน -ประธาน แจ้งให้ทราบว่า ในเดือนธันวาที่จะถึงนี้ เราจะมีการจัดกิจกรรมฝึกอบรมการจัดสาน จากต้นคลุ้ม ให้กับสมาชิก ต้นคลุ่มเราก้อเอามาจากสวนยางของประธานเรา

-การเงิน กองทุนยาไส้-ยาใจ แจ้งยอดเงินที่ขายเมล็ดพันธ์ุให้สมาชิกได้รับทราบ -การเงิน การออมเงินของกลุ่มทำการแจ้งยอดเงินกลุ่มและทำการฝากเงินประจำเดือนให้กับสมาชิก -ประธานแจ้ง ให้สมาชิกได้รับทราบว่า กิจกรรมที่ได้ทำมาทั้งหมด ของงวดแรกได้เสร็จภายในเดือนนี้ ซึ่งกิจกรรม จะมี 3 งวด งวดนีัก้อเสร็จในกิจกรรมนี้ คือประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 -งวดที่ 2 เราจะเริ่มต้นเดือน พฤศจิกายน ถึง กุมภาพันธ์ ปีหน้า -ประธานได้ถามถึงสมาชิกที่ได้เบิกต้นไม้ไปปลูก ว่าได้นำไปปลูกกันหรือยัง เพราะช่วงนี้เริ่มเข้าหน้าฝนแล้ว ต้นไม้ที่นำไปปลูกจะมีโอกาสรอดมาก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • สมาชิกได้รับต้นไม้ของปีนี้ ไปปลูกเพิ่มในสวนบางของตัวเอง
  • มีอาหารที่กินและปลอดภัยเพิ่มขึ้น
  • มีพื้นที่ป่าร่วมยางเพิ่มขึ้นอีก 184 ไร่ใน 6 อำเภอ และจะต้องให้ครบ 300 ไร่ภายในเดือนมีนาคมปีหน้า
  • สมาชิกได้มีแนวทางร่วมกัน คณะทำงาน/โรงเรียนใต้โคนยางแต่ละพื้นที่ได้ รับสมาชิกเพิ่ม เราจะเน้นการทำป่าร่วมยางโดยจะเน้นในอำเภอศรีนครินทร์
  • สมาชิกได้ร้บรู้จำนวนเงิน จากการออมในแต่ละเดือน -ได้กำหนดการทำกิจกรรมในเดือนต่อไปว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง

 

20 0

14. กิจกรรมที 9 พัฒนายกระดับผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์/เมนูอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 1

วันที่ 2 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวต้อนรับและสวัสดี สมาชิกผู้เข้าฝึกอบรมทุกคน -แจ้งให้รู้ว่าวันนี้ เราจะทำการฝึกอบรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากต้นคลุ้มซั่งเป็นผลผลิตจากป่าร่วมยาง -แจ้งให้รู้ว่า จะให้สมาชิกที่ทำเป็นอยู่แล้ว ช่วยกันฝึกสอนสมาชิกที่ยังทำกันไม่เป็น -แนะนำให้ปลูกต้นคลุ้มไว้ให้มากๆ ในป่ายาง เพราะมันจะสร้างรายใด้ให้กับเราได้ เรามีตลาดที่จะรับซื้ออยู่บ้างแล้ว -แจ้งให้สมาชิก มาเบิกต้นคลุ้มที่บ้านประธานได้เลย เพราะมีต้นกล้าเยอะในสวนยาง -แจ้งให้รู้ว้า ผลิตภัณฑ์ที่ทำเสร็จแล้ว จะทำการเก็บรวบรวมไว้ที่ทำการกลุ่ม หรือ จะเอากลับบ้านก้อให้ แต่ถ้าไว้ที่ทำการกลุ่ม เราจะไว้เพื่อจำหน่ายต่อไป

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

สมาชิกได้มีการฝึกอบรม เชิงปฏิบัติ และได้ลงมือทำเองและได้รู้จักกับลักษณะต้นคลุ้มที่นำมาฝึกด้วย -ได้พัฒนาฝีมือของตัวเองให้มีความชำนาญมากขึ้น -ได้นำต้นคลุ้มไปปลูกเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป -มีทีรวบรวมผลผลิต ผลิตภัณฑ์จากฝีมือของทางสมาชิกเพื่อใว้จำหน่ายต่่อไป -ทำให้สมาชิกที่เข้าฝึกอบรมมีรายได้เพิ่มขึ้น

 

20 0

15. กิจกรรมที่ 6 ส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนใต้โคนยางกระจายตามภูมิเวศเมืองลุง

วันที่ 11 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

จัดกิจกรรมวันที่  10 -11  ธันวาคม  2563ตัวแทนโรงเรียนใต้โคนยางได้แลกเปลี่ยนความรู้ป่าร่วมยางยั่งยืน ที่สามารถจัดการและเป็นพื้นที่ต้นแบบ และมีชุดความรู้อะไรบ้างที่ให้คนได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนประสบการณ์
หัวหน้าโครงการป่าร่วมยางฯ  ได้ชี้แจ้งที่มาของโรงเรียนใต้โคนยาง และชวนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ความรู้ในการปลูกพืชร่วม การเลือกพืชที่เหมาะสม การกำหนดแผน กรอบกติกาส่งเสริมให้มีพืชหลากหลายชนิดสร้างป่าและพืชอาหารในส่วนยาง ตัวแทนได้ชมโรงเรียนป่าร่วมยาง ส่วนของการเพาะกล้าไม้ สำหรับปลูกในส่วนและขยายพันธุ์ให้กับผู้สนใจ แลกเปลี่ยนความรู้ในการใช้ประโยชน์พืชจากป่าร่วมยางเป็นพืชอาหาร  พืชสมุนไพร ไม้ใช้สอย การดูแลรักษาและการขยายพันธุ์ พร้อมแนวทางในการพัฒนาโรงเรียนใต้โคนยางทั้ง 2 สาขา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. เกิดโรงเรียนใต้โคนยางที่เป็นที่ให้ความรู้ และเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำสำหรับสมาชิกที่สนใจ เป็นแหล่งเรียนรู้มีรูปธรรมป่าร่วมยางเป็นต้นแบบ
  2. มีความรู้ในเรื่องของการปลูกพืชร่วมยาง ที่เหมาะสมกับพื้นที่โซนเขา การขยายพันธุ์พืช ตลอดถึงการสร้างคุณค่าและเพิ่มมูลค่าในการนำพืชแต่ละชนิดในป่าร่วมยางมาใช้ประโยชนได้ เช่น เต่าร้างเป็นอาหาร การย้อมสีผ้าด้วยใบไม้ได้จากป่าร่วมยาง/สวนสมรม
  3. ได้ความรู้และแผนงานในการเชื่อมร้อยเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้ช่วยเหลือกันและกันระหว่างโรงเรียนใต้โคนยาง  และแผนยกระดับเพิ่มมูลค่าเชื่อมโยงการตลาดแปรรูปต่อไป นำไปสู่การพึ่งตนเองทางอาหารและเพิ่มความมั่นคงทางรายได้ให้กับชาวสวนยาง
  4. ได้ให้กำลังใจและสร้างความรักความผูกพันธ์ของเครือข่าย

 

30 0

16. กิจกรรมที่ 3 เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2

วันที่ 20 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวต้อนร้บสมาชิกทุกคน -แจ้งให้ทราบว่า กิจกรรมในวันนี้จะเป็นกิจกรรมสุดท้ายของปีนี้ -แจ้งผลการดำเนินงาน ป่่ารวมยาง  สมาชิกและจำนวนไร่ที่เพิ่มขึ้นในการทำป่าร่วมยาง -สอบถามสมาชิกเก่าในการทำป่าร่วมยาง ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ต้นไม้สมาชิกที่เบิกไปปลูกแล้วตาย ก้อสมารถให้เบิกใหม่ได้ ที่บ้านประธานกลุ่ม -แจ้งให้ทราบว่า เรายังยึดอุดมการณ์เดิมในกาารทำป่าร่วมยาง คือ ลด ละ เลิก การใช้สารเคมีในสวนยาง -แจ้งให้ทราบถึงผลการดำเนินงาน กลุ่มเครื่องแกง พร้อมทั้งแจ้งให้ทราบว่า วันนี้เราจะปันผลค่าหุ้น ค่าแรงทำเครื่องแกงให้แก่สมาชิก -ทำการออมประจำเดือน พร้อมแจ้งยอดเงิน และถอนเงินให้แก่สมาชิกที่อย่ากจะถอนเงินไปใช้ -แลกเปลี่ยน ความคิดเห็น สอบถามปัญหาที่เกิด พร้อมให้คำแนะนะแก่สมาชิกทุกคน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ทราบถึงผลการดำเนินงานของป่าร่วมยาง จำนวนไร่ จำนวนสมาชิกที่เพิ่มขี้นในแต่ละพื้นที่ ของแต่ละอำเภอ -สมาชิกกลุ่มเครื่องแกง ได้รับทราบถึงผลการดำเนินงาน การแบ่งปันผลกำไร ค่าหุ้นและได้รับเงินปันผลโดยพร้อมเพรียงกัน -ได้มาพบปะ พูดคุยกันเพื่อให้เกิดความสามัคคีกันในกลุ่มและได้ทำกิจกรรมร่วมกัน -มีรายได้เพิมขึ้น จากการเข้าร่วมกลุ่มสมาชิกเครื่องแกง -ได้มีรายได้ เพิ่มขึ้น จากการขายวัตถุดิบในการทำเครื่องแกง

-

 

25 0

17. ค่าอินเตอร์เน็ด

วันที่ 21 ธันวาคม 2563

กิจกรรมที่ทำ

สมัครใช้อินเดอร์เพื่อเปิดใช้ในการทำรายงานระบบออนไลน์

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้อินเตอร์เน็ตในการจัดทำรายงาน มีรายงานความก้าวหน้า รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน

 

2 0

18. กิจกรรมที่ 9 พัฒนายกระดับผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์/เมนูอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 2

วันที่ 15 มกราคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีและทักทายเจ้าของสถานที่ ไร่เคียงตะวัน และผู้เข้าร่วมกิจกรรม -แจ้งให้รู้ถึงรายละเอียดในการจัดกิจกรรมในวันนี้ ว่าเราจัดเกี่ยวกัยเมนูอาหารปลอดภัย ซึ่งเราสามารถหาพืชผักมาได้ จากป่ายางที่เรามี ผัดข้างบ้าน ผักสวนครัวที่เราได้ปลูกไว้ ซึ่งพืชผักที่เราจะใช้ในวันนี้เราจะเน้นผักที่ปลอดสารพิษ ไม่ฉีดยาฆ่าหญ้า ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ -แจ้งให้ทราบว่า ถ้าใครมีพืชผักมากพอที่จะนำมาแบ่งปัน ก็สามารถแจ้งให้ประธานรู้ได้ เพราะเราจะได้ ทำการหาตลาดไว้ให้ และสอนวิธีการบรรจุสินค้าเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายก่อนถึงมือลูกค้า -ประธานได้สอบถาม ว่าวันนี้ ใครนำมาพืชผักอะไรมาแลกเปลี่ยนเพื่อที่จะนำมาเป็นเมนูอาหารในวันนี้บ้าง -สมาชิก ได้ร่วมกันทำกิจกรรม ปรุงเมนูอาหารจากพืชผักที่แต่ละคนได้นำมาในวันนี้ เพื่อร่วมกันรับประทานเป็นเมนูอาหารปลอดภัย เพื่อสุขภาพของทุกคน -ประธานแจ้งให้รู้ว่า ที่ทำการกลุ่มของปรธาน จะเป็นที่รวบรวมผลผลิตและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สมาชิกได้นำมาฝากขาย เพราะได้เปิด หลาดนัด โดยใช้ชื่อว่า หลาดปันรักษ์ และขายสินค้าต่างออนไลน์ด้วย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้มาพบปะ พูดคุยกัน -สมาชิกและผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้มีความสุข สนุก แลกเปลี่ยนเรียนรู้พืชผักแต่ละชนิดที่ได้นำมาทำเป็นเมนูอาหารในวันนี้ -ได้เมนูอาหารพื้นบ้านจำนวน 5 เมนู กินและชิมเมนูอาหารร่วมกัน
-ได้รู้ถึงวิธีการ บรรจุสินค้า เวลาจำหน่ายเพื่อลดความเสียหายของพืชผัก -ได้มีที่รวบรวม ผลผลิต และผลิตภัณฑ์กเพื่อไว้จำหน่าย

 

20 0

19. กิจกรรมที่ 10 ส่งเสริมการกระจายผลผลิตจากเครือข่ายคนป่ายางสู่ชุมชน

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีและต้อนรับ คณะทำงาน สมาชิก เครือข่าย และชาวบ้านทุกคนที่ได้มาร่วมกันในวันนี้ -ประธานแจ้งวัตถุประสงต์ในการจัดตั้งตลาดชุมชนให้ทุกคนได้รับรู้ว่าเราทำตลาดชุมชนขึ้นมาเพื่อรองรับสินค้าที่เรามีในชุมชนออกมาตั้งขาย คนในชุมชนด้วยกันและคนในหมู่บ้านใกล้เคียงที่สนใจ ได้มาทำการ จับ-จ่ายใช้สอยของในชุมชนของเรา -ประธานพูดว่า ใตรมีสินค้าอะไรก็สามารถนำมาวางขายได้และตอนนี้เรามีสินค้าที่ขายเพิมค่ือ เครื่องแกง ซึ่งเราใช้วัตถุดิบจากชุมชนของสมาชิก เพื่อผลิตอาหารปลอดภัย -ประธานแจ้งว่า เราเน้นขายที่หน้าบ้าน ที่หลาดปันรักษ์ ซึ่งเป็นตลาดชุมชน ที่เราได้สร้่างขึ้นมา รวมทั้งเรามีตลาดออนไลน์ด้วย สำหรับคนที่สนใจแต่ไม่สามารถมาที่ตลาดได้ ตลาดออนไลน์เราเน้นขายต้นไม้ เครื่องจักสานของสมาชิก ส่วนตลาดหน้าบ้าน เราเน้นเรื่องพืชผัก ผลไม้ ขนมพื้นบ้าน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-เกิดตลาดสีเขียวในชุมชน -ได้มีการพัฒนาตลาดออนไลน์ เพื่อกระจายผลผลิตจากป่ายางไปให้ผู้บริโภคได้มากชึ้น -ได้มีการติดตามประเมินผลการดำเนินงานของตลาดชุมชน -ได้มีการจัดทำเพจตลาดปันรักษ์ ขึ้นเพื่อเป็นแนวทางเชื่อมโยงให้ผู้ทีสนใจสามารถมาเยี่ยมตลาดได้สะดวกขึ้น -ชาวบ้าน สมาขิกมีรายได้จากการขายสินค้า --เพิมพื้นที่สีเขียว อาหารปลอดภัยให้ชุมชน

 

50 0

20. กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายป่าร่วมยาง ครั้งที่ 5

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2564

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีทุกคนรวมทั้งคณะทำงาน -ประธานได้สอบถามว่าในสวนยาง ที่ทำอยู่ตอนนี้ปลูกอะไรไว้บ้าง สมาชิกส่วนใหญ่ก็มี สะเดาเทียม หมาก ไคร้ ขมิ้น ฯลฯ -นายสมยศ เพชรา เจ้าของโรงเรียนใต้โคนยางบ้านบุปผา ได้พูดถึงเรื่องที่จะโค่นยาง ถ้าโคนยางเราจะปลูกอะไรดี สมาชิกทุกคนตอบก้อปลูกตามความถนัด -นส.นิภาพร เรืองเทพ เจ้าของโรงเรียนใต้โคนยาง สวนเติมฝัน บอกว่า ที่บ้านมีสวนยางประมาณ 3ไร่ แต่มียางแค่  70 ต้นที่เหลือลงเป็นผัก พริก สละอินโด มะนาว พริกสด พริกหยวก ผักสลัด รายได้ต่อเดือนเป็นที่น่าพอใจ เพราะมีรายได้ทุกวัน
-เรื่องตลาด เราควรทำสื่อเพื่อการตลาดและเป็นอัตลักษณ์ -นส.จุุฑาทิป สอบถามว่า วัตถุดิบที่ทางกลุ่มเอามาทำเครื่องแกงมี เพียงพอหรือไม่ ประธานตอบว่า พวก ตะโคร้ ขมิ้น เรามีพอแต่ตัวอื่นเรายังต้องพึ่งจากที่อื่น -พี่สมยศ ได้ถามถึงราคาพริกไทย ราคาตลาด 110 บาท แต่ขายทางกลุ่ม กลุ่มจะรับซื้อไว้ในราคาที่สูงกว่าตลาด -ปัญหาในการปลูกต้นไม้ คือ เวลา น้ำ -การทำสื่อให้แต่ละโรงเรียน ควรให้มีอัตลักษณ์เป็นของตัวเอง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้มีการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ ของสมาชิกแต่ละคน เกี่ยวกับเรื่องพันธุ์ไม้
-เชื่อมโยงเครือข่าย ช่วยเหลือแปรรูป ผลผลิต เพื่อจำหน่าย -โรงเรียนใต้โคนยางมีความหลากหลาย เช่น แพทย์แผนไทย ผ้ามัดย้อม ปุ่ยหมัก-ปุ่ยคอก ผักสวนครัว -ได้กำหนดวันแลกเปลี่ยน โรงเรียนใต้โคนยาง ที่เหลือ -ได้กำหนดแผนงานที่เหลือของกิจกรรม -จัดทำสื่อเพื่อเป็นอัตลักษณ์ ของแต่ละโรงเรียน

 

20 0

21. เวทีประเมินผลการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา AREร่วมหน่วยจัดการฯ

วันที่ 20 มีนาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

-8.30-9.00 ลงทะเบียนรับเอกสาร
-9.00-9.30 กิจกรรม กลุ่มสัมพันธ์ -9,30-10.00 ชี้แจงวัตถุประสงค์การประชุม โดย อ.ไพทูรย์ ทองสม ผจก.หน่วยแฟลชชิพ -10.00-11.30 แบ่งกลุ่ม จำนวน 4 กลุ่มเพื่อนำเสนอผลงานการขับเคลื่อนงานของแต่ละกลุ่มและพื้นที่และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนำเสนอตามขั้นบันได ว่าแต่ละพื้นที่อยู่ที่บันไดขั้นไหนแล้ว -กลุ่มที่่ 1 ประเด็นสิ่งแวดล้อม (ขยะ) -กลุ่มที่ 2 ประเด็นสิ่งแวดล้มอ (น้ำเสีย) -กลุ่มที่ 3 ประเด็นทรัพยากร -กลุ่มที่่ 4 ประเด็นอาหารปลอดภัย -11.30-12.00 นำเสนอผลลัพธ์ภาพรวมของแต่ละกลุ่ม โดยตัวแทนกลุ่ม -12.00-13.00 รับประทานอาหารกลางวัน -13.00-13.30 สันทนาการ -13.30-15.30 แบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม เพื่อแลกกเปลี่ยนเรียนรู้ในรูปแบบ world cafa -15.30-16.00 นำเสนอผลการดำเนินงาน ระดมความคิดเห็น ดำเนินการโดยคุณเบญจวรรณ เพ็งหนู สรุปผลการ ARE และแนวทางการดำเนินการในโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้พบปะภาคีเครือข่าย ได้พูดคุยแลกเปลี่ยนเรียรู้ถึงกิจกรรมของแต่กลุ่มว่าได้ดำเนินงานกันไปถึงไหนแล้ว

 

4 0

22. กิจกรรมที่ 8 ขับเคลื่อนธนาคารพันธุ์พืชพืชพื้นถิ่น

วันที่ 25 พฤษภาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

-ประธานกล่าวสวัสดีและต้อนรับสมาชิกทุกคน แนะนำที่มาเครือข่าย -ประธานแจ้งว่า แต่เราก้อยังติดตามผลการดำเนินงานของแต่โรงเรียน และสมาชิกเหมือนเดิม -กิจกรรมที่จะทำในวันนี้ เกี่ยวกับการขับเคลือนธนาคารพันธุ์พืชพืชพื้นถิ่น ซึ่งที่จริงแล้วพวกเราก้อได้ทำเกี่ยวการเก็บเมล็ดพันธุ์กันไว้อยู่แล้วเหมือนกัน -ประธานสอบถามว่า ใครมีเมล็ดพันธุ์นอกเหนือจากการเก็บไว้ปลูกเองแล้ว ก้อสามารถนำมาขายให้กับทางกลุ่มได้ เราจะรับซื้อไว้ เพื่อไว้จำหน่ายให้กับสมาชิกและผู้ที่สนใจต่อไป -การเงินของธนาคารเมล็ดพันธู์แจ้งยอดเงินที่คงเหลืออยู่ให้สมาชิกได้รับทราบ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-เกิดธนาคารพันธุ์ไม้เพิ่มขึ้นจำนวน 4 ธนาคาร มีสมาชิกเพาะพันธุ์พืช พืชอาหาร สมุนไพร ไม้ใช้สอย สมาชิกสามารถซื้อ-ขายเมล็ดพันธุ์ที่มีอยู่ หรือน่ำมาแลกเปลี่ยนกันนำไปพันธุ์พืชไปปลูกเพิ่มพื้นที่ป่าร่วมยางยั่งยืนที่เข้าร่วมโครงกการฯ -มีอาหารหลากหลาย ไว้ขาย หรือไว้กินเพิ่่มมากขึ้น

-ทำให้เกิดกิจกรรมกับครอบครัวมากขึ้น

 

50 0

23. กิจกรรมที่ 11 เวทีสรุปผลการดำเนินโครงการ

วันที่ 25 มิถุนายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

-  ประธานกล่าวสวัดีและต้อนรับสมาชิก คณะทำงานทุกคน - แจ้งให้ทราบว่าต้องระวังตัวเองให้มากในช่วงนี้ เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิท-19 ถึงแม้ว่าคนในชุมชนของเรายังไม่มีใครเป็นทีก้อตาม เวลาออกข้างนอกบ้านก็ขอให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครึ้งและล้างมือบ่อยๆ
-  แจ้งให้ทราบว่่าเรื่องที่เราจะมาพูดคุยกันวันนี้ มีอยู่ 3 เรื่องด้วยกัน คือ 1.เรื่องเวทีสรุปผลการดำเนินโครงการป่าร่วยางปี 2 ที่เราได้ทำกันมา โดยเราจะประชุมกันโดยคนและสมาชิกในชุมชนของเราเท่านนั้น เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด่ของโรคโควิด 19 แต่กระนั้นสมาชิกที่อยู่ไกลออกไปเราก้อยังติดตามผลการดำเนินงานกันทางโทรศัพท์เป็นหลัก 2.แจ้งยอดผลดำเนินงานกลุ่มแครื่องแกงและแจกเงินปันผล
3.กลุ่มออมทรัพย์ของทางกลุ่ม
-  ประธานแจ้งให้ทราบว่า สมาชิกป่าร่วมยางปีนี้ ได้ครบตามจำนวนที่เราตั้งเป้าไว้ คือ 300 ไร่
-  ประธานแจ้งให้ทราบว่า ปีนั้กิจกรรมของ สสส. ไม่ค่อยได้เชิญสมาชิกหรือภาคีเครือข่ายมาเข้าร่วมประชุมก็เพราะว่า การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 แต่ถึงอย่างไรเราก็ยังติดต่อและติดตามอยู่เป็นระยะๆ สำหรับโรงเรียนใต้โคนยางสาขาต่างๆ ก็ยังติดตามความก้าวหน้าอยู่เหมือนเดิมเช่นกัน
-  ประธานได้สอบถามถึงเรื่องต้นไม้และธนาคารต้นไม่รวมถึงเมล็ดพันธุ์ ที่เราได้นำไปปลูกว่าเป็นอย่างไรกันบ้างให้สมาชิกสามารถบอกและแนะนำให้เพื่อนได้รู้
- ประธานแจ้งให้รู้ว้า ปีนี้กลุ่มเครืองแกงได้นำผลผลิตที่ปลูกในป่ายาง นำมาขายให้ทางกลุ่มเครื่องแกง เช่น พริกสด ขมิ้น ตะใคร้ มีจำนวนพอทีจะทำการผลิต ซึ่งผลก็อเป็นที่น่าพอใจ และทางกลุ่มก้อจะให้ราคาที่รับซื้อมากกว่า ท่ี่สมาชิกนำไปขายให้กับแม่ค้าคนกลาง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-ได้ผลการดำเนินงานตั้งแต่เริ่มโครงการจนถึงปิดโครงการ มีความเปลี่ยนแปลงเกิดผลลัพธ์และตัวชี้วัดรายละเอียดดังนี้คือ
-มีรายได้จากการขายผลผลิตให้กับกล่่มเครื่องแกง -มีรายได้จากการปันผลค่าแรงและค่าหู้นของกลุ่มเครื่องแกง ซึ่งทุกคนที่ได้รับเงินจากส่วนนี้ก็อดีใจกันมากๆเลย ถือว่ามีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางนึง -ได้มาพบปะพูดคุยกัน -มีการเพิ่มป่าร่วมยางอีก 300 ไร่ -เพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่อาหารปลอดภัยให้กับชุมชน และลดการใช้สารเคมี

 

50 0

24. จัดทำนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ

วันที่ 30 สิงหาคม 2564

กิจกรรมที่ทำ

-  ประธานได้ให้สมาชิก นัดออกแบบชุดนิทรรศการ แบ่งงานกันให้แต่ละคนได้เตรียมวัสดุและอุปกรณ์ ส่วนขอป้ายนิทรรศการให้ตัวแทนไปจัดทำร้านป้าย ป้ายแสดงขั้นตอนการดำเนินงาน ผลลัพธ์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการดำเนินการ มีชาวสวนป่าร่วมยางยั่งยืนเพิ่มขึ้น  นัดทีมจัดนิทรรศการจำนวน 10 คน ประกอบด้วยไวนิลนำเอาผลผลิต สินค้า เครื่องจักสานที่ทางเรามืมาทำการ จัดทำนิทรรศการเพื่อการเรียนรู้ป่าร่วมยางยั่งยืน ให้แก่สมาชิก และผู้ที่สนใจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • มีชุดนิทรรศการป่าร่วมยางยั่งยืน กระบวนการและผลลัพธ์โครงการฯ ที่นำไปใช้ในการขยายผลต่อไป และใช้ประกอบการให้ความรู้ให้กับชาวสวนยางและคนที่เข้ามาเรียนรู้ป่าร่วมยางยั่งยืน

 

5 0

25. เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาARE ร่วมหน่วยจัดการฯ

วันที่ 12 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

  • พี่เลี้ยงโครงการชี้แจงที่มาของกิจกรรมปรับรูปแบบในการติดตามประเมินผลรวมของหน่วยจัดการจังหวัดพัทลุงสอดคล้องกับสถานการณ์โควิด
  • หัวหน้าโครงการได้นำเสนอผลลัพธ์และตัวชี้วัดที่เกิดจากการดำเนินงานโครงการฯ จัดนิทรรศการนำเสนอผลลัพธ์ โมเดลป่าร่วมยางยั่งยืน จากการได้มีการจัดเวทีติดตามประเมินผลในระดับพื้นที่  ปัญหาอุปสรรค พร้อมแนวทางในการแก้ปัญหา
  • คณะทำงานเป็นตัวแทนโรงเรียนใต้โคนยางทั้ง 7 พื้นที่ได้ร่วมแลกเปลี่ยนบทเรียน รูปแบบป่าร่วมยางยั่งยืน ของแต่ละโรงเรียนกระจายอยู่ในอำเภอศรีนครินทร์ 3 โรงเรียน  อำเภอเขาชัยสน 1 โรงเรียน อำเภอกงหรา 1 โรงเรียน อำเภอศรีบรรพต 1 โรงเรียน  แนวทางที่ร่วมกันเดินต่อไปสานเครือข่าย -  ทีมหน่วยจัดการฯจังหวัดพัทลุง ชวนแลกเปลี่ยนตั้งคำถามได้ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดชัดเจน และข้อเสนอแนะในการดำเนินงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  1. คณะทำงาน มีความตั้งใจและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็นอย่างพร้อมเพรียง
  2. ชาวสวนยางจำนวน 35 ครอบครัวได้ปรับเปลี่ยนจากสวนยางเชิงเดี่ยวเป็นป่าร่วมยางยั่งยืน เป็นพื้นที่เพิ่มขึ้นจำนวน 338 ไร่
  3. ชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจัดการพืชร่วมยางในแปลงให้มีคุณค่าเพิ่มมูลค่าครัวเรือนละ 1,200 บาท ได้มาจาก พืชผัก พันธุ์พืชพันธุ์ไม้ แปรรูปจักรสาน เครื่องแกง ฯลฯ
  4. เกิดโมเดลป่ายางสร้างสุข มีกระบวนการ 1.กลไกขับเคลื่อน กลุ่ม /กติกา 2.สร้างความรู้ความเข้าใจป่าร่วมยาง วงแลกเปลี่ยน 3ออกแบบการปลูกพืชร่วมฯ/แปลงปลูก
      4. รวบรวมและเชื่อมโยงกลไกตลาด มีระบบตลาด ออนไลน์ ค้าปลีก ค้าส่ง ได้อาหารปลอดภัย มีรายได้ ได้ความรู้
  5. ได้มีแนวทางการดำเนินงานในการยกระดับศูนย์การเรียนรู้ โรงเรียนใต้โคนยาง และพัฒนาเรื่องการแปรรูปพืชป่าร่วมยาง อาหาร ยาสมุนไพร

 

15 0

26. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 30 กันยายน 2564

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับทุนโครงการได้ยืมเงินทดรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับทุนได้รับเงินคืนทดรองจ่ายค่าเปิดบัญชีธนาคารเรียบร้อยแล้ว

 

0 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 1. เพื่อให้กลไกขับเคลื่อนป่าร่วมยางได้อย่างเข้มแข็ง
ตัวชี้วัด : 1. มีกลไกคณะทำงานอย่างน้อย 15 คน ที่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างต่อเนื่อง มีการแบ่งบทบาท ความร่วมคิด ร่วมทำ วิเคราะห์ปัญหาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับการยอมรับ 2. เครือข่ายอนุรักษ์พันธุ์กรรมพืชในป่ายางอย่างน้อย 1 เครือข่าย ขับเคลื่อนป่าร่วมยางมีการขยายไปสู่ชาวสวนยาง
15.00 0.00
  • กระบวนการทำงานมีการทบทวนเป็นระยะทำให้การขับเคลื่อนงานได้รู้สถานะและได้ช่วยกันวิเคราะห์กำหนดแนวทางที่เหมาะสมเพื่อให้งานสามารถขับเ่คลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับสถานการณ์ เมื่อมีปัญหาโควิดระยะที่ 2 ปรับรูปแบบกระจายกลไกแต่ละศูนย์เรียนรู้ของแต่ละอำเภอขับเคลื่อน ประสานผ่านระบบออนไลน์เพิ่มเติม
  • การบริหารจัดการโปร่งใส่ มีการเบิกจ่ายตามแผนงาน
2 2. เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ระบบป่าร่วมยางครบวงจร
ตัวชี้วัด : 1.ชาวสวนยางมีความรู้และความตระหนักความสำคัญของป่าร่วมยาง 2. เกิดครัวเรือนปรับเปลี่ยนการปลูกยางพาราเพียงอย่างเดียวสู่พืชร่วมยางที่มีพืชอย่างน้อย 5 ประเภทไม่น้อยกว่า 30 ครัวเรือน พื้นที่อย่างน้อย 300 ไร่ 3. มีระบบการกระจายพืชผักและผลผลิตที่ได้จากป่าร่วมยาง มีตลาดทางเลือกจำนวน 2 ตลาด 4.มีแผนการแลกเปลี่ยนแบ่งปันผลผลิตในระดับชุมชนและนอกชุมชนเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าให้กับป่าร่วมยาง พร้อมขับเคลื่อนแลกเปลี่ยนแบ่งปันผลผลิต
30.00
  • การวางแผนและออกแบบในการปลูกพืชหลากหลาย มีรายได้รายวัน รายเดือน รายปี ทำให้เกิดรายได้
    -ในการปลูกเลือกระยะเวลาที่เหมาะสม ประเมินจากสภาพอากาศ ใช้ความรู้ท้องทิ้นในช่วงที่ปลูกเพื่อจะให้พืชที่ปลูกมีอัตราการรอดสูง
  • การจัดการผลผลิตแบ่งปัน ขาย แลกเปลี่ยนความรู้ภูมิปัญญาคุณค่าประโยชน์ของพืชในป่ายางและระดับเพิ่มคุณค่ามูลค่า ทำให้ชาวสวนยางได้ใช้ประโยชน์และช่องทางในการสร้างรายได้
3 3. มีป่าร่วมยางยั่งยืนเป็นพื้นที่ผลิตอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น
ตัวชี้วัด : 1. เกิดพื้นที่ป่าร่วมยางในจังหวัดพัทลุงไม่น้อยกว่า 300 ไร่ 2. ผู้เข้าร่วมโครงการมีรายได้จากการสร้างพื้นที่ป่าร่วมยางอย่างน้อย 1,000 บาทต่อไร่ต่อเดือน
300.00 300.00

ป่ายางสร้างสุข สร้างฐานความมั่นคงทางอาหาร ฐานสิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจ ชาวสวนยางปรับเปลี่ยนวิธีคิด ปรับรูปแบบที่เหมาะสม

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) 1. เพื่อให้กลไกขับเคลื่อนป่าร่วมยางได้อย่างเข้มแข็ง (2) 2. เพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสู่ระบบป่าร่วมยางครบวงจร (3) 3. มีป่าร่วมยางยั่งยืนเป็นพื้นที่ผลิตอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้น

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) ปฐมนิเทศผู้รับทุนโครงการ NFSจังหวัดพัทลุง (2) 1 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 (3) 2 เวทีพัฒนาศักยภาพแกนนำ (4) 7 สนับสนุนเกษตรกรปลูกพืชร่วมยาง และการขยายลดใช้สารเคมีในสวนยาง (5) กิจกรรมที่ 5 เวทีสาธารณะเพื่อปรับกระบวนการสวนยางสู่ป่ายาง (6) กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายป่าร่วมยาง ครั้งที่ 2 (7) เวทีเชื่อมร้อยเครือข่าย (8) กิจกรรมที่ 3  เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 1 (9) กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน ครั้งที่ 3 (10) ปิดงวดโครงการงวดที่ 1 (11) กิจกรรมที่ 4  เวทีเชื่อมร้อยเครือข่ายคนป่ายาง (12) กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายป่าร่วมยาง ครั้งที่ 4 (13) จัดทำป้ายเขตปลอดเหล้าบุหรี่ (14) กิจกรรมที 9 พัฒนายกระดับผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์/เมนูอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 1 (15) กิจกรรมที่ 6  ส่งเสริมการจัดตั้งโรงเรียนใต้โคนยางกระจายตามภูมิเวศเมืองลุง (16) กิจกรรมที่ 3  เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 (17) ค่าอินเตอร์เน็ด (18) กิจกรรมที่ 9  พัฒนายกระดับผลผลิตเป็นผลิตภัณฑ์/เมนูอาหารปลอดภัย ครั้งที่ 2 (19) กิจกรรมที่ 10 ส่งเสริมการกระจายผลผลิตจากเครือข่ายคนป่ายางสู่ชุมชน (20) จัดทำนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการ (21) กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานเครือข่ายป่าร่วมยาง ครั้งที่ 5 (22) เวทีประเมินผลการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา AREร่วมหน่วยจัดการฯ (23) กิจกรรมที่ 8 ขับเคลื่อนธนาคารพันธุ์พืชพืชพื้นถิ่น (24) กิจกรรมที่ 11  เวทีสรุปผลการดำเนินโครงการ (25) เวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาARE  ร่วมหน่วยจัดการฯ (26) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ฟื้นคืนชีวิตชาวสวนยางด้วยวิถีป่าร่วมยางยั่งยืน จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ ุ63001690015

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นายสหจร ชุมคช )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด