Node Flagship

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลดอุบัติเหตุบนท้องถนนรอบรั้วอุดมศาสน์
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดยะลา
รหัสโครงการ 63-00175-0014
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2563 - 31 มีนาคม 2564
งบประมาณ 100,400.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวยามีละห์ กระโด
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวรัยฮาน กีไร
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.49937,101.311723place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 22 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 22 มิ.ย. 2563 31 ส.ค. 2563 40,000.00
2 1 ก.ย. 2563 15 ธ.ค. 2563 50,000.00
3 1 ม.ค. 2564 15 มี.ค. 2564 10,400.00
รวมงบประมาณ 100,400.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การเกิดอุบัติเหตุรอบรั้วอุดมศาสน์
20.00
2 อัตราการเสียชีวิต
1.00
3 พิการ
3.00
4 บาดเจ็บ
20.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์ปัจจุบันโรงเรียนอุดมศาสน์วิทยายะลา พบปัญหาการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนของนักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน โดยส่งผลกระทบในด้านสุขภาพของประชากรดังนี้ ประชากรได้รับบาดเจ็บจากการเกิดอุบัติเหตุ ในที่นี้พิการ 3 ราย ต้องงดกิจกรรมที่หนักตลอดชีวิตเพราะผ่านการผ่าตัดศีรษะ และบางรายถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งภายหลังการเกิดอุบัติเหตุจะเกิดภาวะเครียดสะสม ในกรณีบางรายที่ไม่สามารถดำเนินชีวิตเช่นเดิมได้ และทำให้ผู้ประสบอุบัติเหตุหรือคู่กรณีจำเป็นต้องขาดเรียนหรือหยุดทำงาน ซึ่งในภาวะนี้อาจส่งผลต่อการก่อโจรกรรมหรืออาชญากรรมตามมา อีกทั้งยังส่งผลกระทบในด้านเศรษฐกิจของผู้ประสบอุบัติเหตุและคู่กรณี เช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ไม่มีรายได้เข้ามา จึงส่งผลกระทบไปยังค่าใช้จ่ายในการรักษาและค่าใช้จ่ายต่างๆต่อคู่กรณี ทั้งนี้ ทำให้เกิดการกู้ยืมเงิน ทั้งในระบบและนอกระบบ ในสถานการณ์ดังกล่าว ส่งผลกระทบในด้านสิ่งแวดล้อมเช่นกัน การเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่เพียงแค่ผู้ประสบภัยหรือคู่กรณีเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบ แต่ยังส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนและสิ่งแวดล้อมใกล้ที่เกิดเหตุเกิดความเสียหายจึงนำไปสู่การไกล่เกลี่ย โดยที่ต้องหาบุคคลอื่นมาไกล่เกลี่ย อาทิเช่น ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ตำรวจหรือบุคคลที่สามารถมาไกล่เกลี่ยได้เพื่อคลี่ปัญหาที่เกิดขึ้น อุบัติเหตุบนท้องถนนที่เกิดขึ้นของนักเรียน บุคลากร และคนในชุมชน มีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้รถบนถนน ดังนี้ ประชากรส่วนมากอายุยังน้อยไม่มีใบขับขี่ ทำให้ไม่มีความรู้ในเรื่องกฎจราจรการใช้ถนน จึงมีการขับรถย้อนศร ขับรถเร่งรีบฝ่าไฟแดง และแว๊นกันเป็นกลุ่ม ที่สำคัญประชากรไม่มีความตระหนักในความปลอดภัยการใช้ถนน คือ ไม่สวมหมวกกันน็อก เลี้ยวทันทีไม่เปิดไฟเลี้ยว ประมาท เล่นโทรศัพท์ในขณะที่กำลังขับรถจักรยานยนต์ กระโปร่งเข้าล้อ ง่วงแล้วขับทำให้หลับใน และมีการขับรถแซงในเขตห้ามแซง ทั้งนี้ยังมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เช่น ถนนครุคระเป็นหลุม/บ่อ ถนนลื่นจากน้ำยาง ความไม่พร้อมของรถจักรยานยนต์ จอดรถทางโค้ง และรถบรรทุกทรายที่ขาดการปิดผ้าใบ ทำให้ทรายตกหล่นบนท้องถนน หรือเข้าตาผู้ขับขี่บนท้องถนน ทำให้การมองและการขับรถบนท้องถนนเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ การเกิดอบัติเหตุดังกล่าวทำให้เกิดความเสียหายต่อตัวบุคคลเอง ตลอดจนเกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดเหตุอุบัติเหตุนั้นๆ ทั้งนี้ หากเกิดการรณรงค์สร้างความรู้ ความเข้าใจต่อประชากรเกี่ยวกับการขับขี่บนท้องถนน จะทำให้ประชากรเกิดความรู้และความเข้าใจต่อการใช้รถบนท้องถนนได้ เมื่อเกิดความรู้และความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว จะทำให้ประชากรตระหนักและเกิดความระมัดระวังต่อการใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย ทำให้การเกิดอัติเหตุลดลงได้

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

เกิดแกนนำและการมีส่วนร่วมของนักเรียน บุคลากร และประชาชนรอบรั้วโรงเรียนอุดมศาสน์วิทยายะลา ในการจัดการจุดเสี่ยงเพื่อป้องกันอุบัติเหตุทางถนนในชุมชนอีกทั้งเกิดกลไกในการจัดการพื้นที่เสี่ยงในการลดอุบัติเหตุและเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของนักเรียน บุคลากรและคนในชุมชนใกล้เคียง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอุบัติเหตุในนักเรียน

อุบัติเหตุในนักเรียนลดลง ร้อยละ 20

20.00
2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ

นักเรียนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 80

20.00 80.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 657 657
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและปลาย 500 500
บุคลากรโรงเรียนอุดมศาสน์วิทยา 97 97
แกนนำชุมชน 30 30
แกนนำโครงการ 30 30
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 กิจกรรมครั้งที่1 พัฒนาศักยภาพทีมจัดทำโครงการย่อย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 718 22,300.00 9 22,300.00
21 มี.ค. 46 - 2 ก.ย. 63 การพัฒนาศักยภาพทีมจัดทำโดยโครงการย่อย 20 0.00 0.00
1 มิ.ย. 63 เวทีปฐมนิเทศ และทำสัญญาโครงการย่อย 3 600.00 600.00
12 มิ.ย. 63 เวทีพัฒนาศักยภาพการรายงานผลลัพธ์ของโครงการย่อยฯ 2 600.00 600.00
15 มิ.ย. 63 จัดทำป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและบันไดผลลัพธ์โครงการ 597 1,000.00 1,000.00
14 ก.ย. 63 โครงการย่อยติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (AREครั้งที่1) 30 900.00 900.00
23 - 24 ต.ค. 63 กิจกรรมเวทีการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาAREครั้งที่ 1 3 4,160.00 4,160.00
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 จัดทำรายงานโครงการ 30 2,000.00 2,000.00
20 ส.ค. 64 ประชุมหน่วยขับเคลื่อนหน่วยจัดการระดับจังหวัด 3 6,040.00 6,040.00
1 ก.ย. 64 ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. หรือหน่วยจัดการระดับจังหวัด 30 7,000.00 7,000.00
2 กิจกรรมที่ 5 ปรับเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง เพื่อลดอุบัติเหตุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 1830 24,000.00 5 24,000.00
4 ก.ค. 63 - 6 ธ.ค. 63 วางแผนเรียนรู้และทดสอบการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง 20 7,600.00 7,600.00
4 ก.ค. 63 ทีมงานประชาสัมพันธ์ 10 4,000.00 4,000.00
1 ต.ค. 63 เอกสารประชาสัมพันธ์ 500 2,200.00 2,200.00
10 - 15 ต.ค. 63 ซ่อมแซมพื้นที่เสี่ยงหรื่อชำรุด 500 6,200.00 6,200.00
12 ต.ค. 63 ป้ายไวนิลเตือนจุดเสี่ยง 800 4,000.00 4,000.00
3 กิจกรรมที่4 กลไกเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 530 1,000.00 1 1,000.00
10 มิ.ย. 63 คืนข้อมูลอุบัติเหตุให้นักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน 530 1,000.00 1,000.00
4 กิจกรรมที่2 การจัดตั้งคณะทำงานโครงการและวางแผนการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2207 10,000.00 4 10,000.00
5 ส.ค. 63 สร้างความเข้าใจแก่คนในชุมชน 50 3,500.00 3,500.00
12 ก.ย. 63 ป้ายนี้ ที่เตือนกัน 500 1,000.00 1,000.00
15 - 20 ก.ย. 63 หนังสั้นสร้างความตระหนักแก่นักเรียน บุคลากร คนในชุมชน และคนอื่นๆในโลกโซเชียล 1,000 3,000.00 3,000.00
15 ต.ค. 63 ป้ายรณรงค์ขับขี่ปลอดภัย 657 2,500.00 2,500.00
5 กิจกรรมที่ 3 ขับขี่ปลอดภัยต้องตระหนักเร์่องอุบัติเหตุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 700 28,100.00 7 28,100.00
1 มิ.ย. 63 - 1 มี.ค. 64 จัดตั้งคณะทำงานโครงการและประชุมคณะทำงาน 30 3,000.00 3,000.00
27 มิ.ย. 63 ประชุมแกนนำ ครั้งที่ 1 30 900.00 900.00
17 ก.ค. 63 ประชุม ครั้งที่ 2 30 900.00 900.00
8 ส.ค. 63 ประชุม ครั้งที่ 3 30 900.00 900.00
17 ส.ค. 63 ประชุม ครั้งที่ 4 50 6,500.00 6,500.00
4 ก.ย. 63 ประชุม ครั้งที่ 5 30 900.00 900.00
22 ต.ค. 63 ตะลุยดินแดนแห่งจราจร 500 15,000.00 15,000.00
6 กิจกรรมที่ 6 ขับขี่ปลอดภัย อุบัติเหตุลดลง ความปลอดภัยเพิ่มขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 15,000.00 1 15,000.00
10 ก.พ. 64 เวทีแลกเปลี่ยน 200 15,000.00 15,000.00

แกนนำโครงการมีการวางแผนการดำเนินตามโครงสร้างที่ได้วางแผนไว้ ทั้งนี้เพื่อลดอัตราการเกิดอุบัติเหตุและลดความรุนแรงจากการเกิดอุบัติเหตุ โดยมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ขับขี่เป็นหลัก และมีการแก้ไขจุดเสี่ยงที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดแกนนำในโรงเรียนที่สามารถขับเคลื่อนงานได้ 1.1 มีโครงสร้างการดำเนินงานเกิดขึ้นในโรงเรียน 1.2 มีข้อมูล แผนการดำเนินงาน 1.3 แกนนำมีทักษะการดำเนินงาน

  2. คนในโรงเรียนเกิดความตระหนักเรื่องอุบัติเหตุ 2.1 เกิดกติกาและข้อตกลงภายในโรงเรียน 2.2 เกิดการปฏิบัติตามกฎวินัยจราจร 2.3 พฤติกรรมเสี่ยงลดลง ร้อยละ 50

3 .เกิดกลไกลเฝ้าระวังเรื่องอุบัติเหตุ 3.1 นักเรียน บุคลากร และคนในชุมชนรู้ข้อมูลอุบัติเหตุ 3.2 มีข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน บุคลากรและคนในชุมชน ร้อยละ 80 3.3 แกนนำมีการทบทวนแผนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ร้อยละ 80

(4.) คนในโรงเรียนและชุมชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสวมหมวกกันน็อค สภาพแวดล้อมได้รับกาเปลี่ยนแปลง 4.1 นักเรียน บุคลากรและคนในชุมชนสวมหมวกกันน็อกเพิ่มขึ้น ร้อยละ 50 จากประชากรผู้ขับขี่ 4.2 จุดเสี่ยงได้รับการแก้ไข ร้อยละ 50 ของจุดเสี่ยง

5 การเกิดอุบัติเหตุของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและผู้ปกครองในชุมชนลดลง 5.1 จำนวนการเกิดอุบัติเหตุลดลง ร้อยละ 50 5.2 อัตราการเสียชีวิตและการบาดเจ็บลดลง ร้อยละ 50 5.3 อัตราการเกิดความรุนแรงทางอุบัติเหตุลดลง ร้อยละ 50

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2563 00:06 น.