directions_run

สนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ ุ64-00214-0012
วันที่อนุมัติ 12 เมษายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 12 เมษายน 2564 - 31 มกราคม 2565
งบประมาณ 70,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายไซลฮูดิง สาอิ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ กัลยา เอี่ยวสกุล
พื้นที่ดำเนินการ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.685962,101.560106place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12 เม.ย. 2564 31 ส.ค. 2564 12 เม.ย. 2564 31 ส.ค. 2564 40,000.00
2 1 ก.ย. 2564 30 พ.ย. 2564 1 ก.ย. 2564 31 ม.ค. 2565 25,000.00
3 1 ธ.ค. 2564 31 ม.ค. 2565 5,000.00
รวมงบประมาณ 70,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หมู่บ้านลูโบ๊ะซูลง มาจากคำว่า ลูโบ๊ะ” เป็นภาษามลายูท้องถิ่น แปลว่า พื้นที่ ๆ มีลักษณะเป็นพรุ มีน้ำท่วมขังและเป็นหลุมลึกกว้าง ส่วนคำว่า ”ซูลง” เป็นชื่อของบุคคลที่เป็นลูกชายคนโตของครอบครัวหนึ่งที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน วันหนึ่ง ”ซูลง” ได้พลัดตกลงไปเสียชีวิตในพรุที่เรียกกันว่าลูโบ๊ะ จึงนำคำว่า ลูโบ๊ะซูลง มารวมกันและใช้เป็นชื่อหมู่บ้านจนถึงปัจจุบัน บ้านลูโบะซูลง หมู่ที่ 10 ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี จากการลงสำรวจแบบสอบถามครัวเรือนด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม วันที่ 1 มีนาคม 2562 หมู่บ้านลูโบ๊ะซูลง มีพื้นที่ 680 ไร่ มีลักษณะเป็นที่ราบ ล้อมรอบด้วยสวนยางพารา สวนผลไม้ มีจำนวนครัวเรือนทั้งสิ้น 152 ครัวเรือน และมีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 720 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 368 คน หญิง 352 คน ผู้สูงอายุ 60 ปี ขึ้นไปทั้งหมด 55 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 25 คน หญิง 30 คน ผู้พิการทั้งหมด 13 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 9 คน หญิง 4 คน เด็กกำพร้าทั้งหมด 7 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 4 คน หญิง 3 คน เด็กแรกเกิดทั้งหมด 5 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 3 คน หญิง 2 คน ช่วงอายุ 1-4 ปีทั้งหมด 46 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 29 คน หญิง 17 คน ช่วงอายุ 5-14 ปีทั้งหมด 153 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 83 คน หญิง 70 คน ช่วงอายุ 15-18 ปีทั้งหมด 54 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 28 คน หญิง 26 คน ช่วงอายุ 19-59 ปีทั้งหมด 373 คน โดยแบ่งเป็น ชาย 171 คน หญิง 202 คน และมีเยาวชนทั้งหมด 130 คน แยกเป็นประเภทชาย 90 คน ประเภทหญิง 40 คน มีโรงเรียนตาดีกา 1 โรงเรียน โดยคนในชุมชนมีระดับการศึกษา ไม่เรียนหนังสือมีทั้งหมด 60 คน ชาย 38 หญิง 22 คน กำลังศึกษา ป.6 ทั้งหมด 239 คน ชาย 140 คน หญิง 99 คน กำลังศึกษา ม.3 ทั้งหมด 54 คน ชาย 29 คน หญิง 25 คน กำลังศึกษา ม.6 มีทั้งหมด 73 คน ชาย 33 คน หญิง 40 คน และกำลังศึกษา ปริญญาตรีทั้งหมด 57 คน ชาย 16 คน หญิง 36 คน ในส่วนอาณาเขตติดต่อกันทิศเหนือติดกับ หมู่ที่ 5 บ้านชะเมาสามต้น ทิศใต้ติดกับ หมู่ที่ 4 บ้านสือดัง ทิศตะวันออกติดกับหมู่ที่ 6 บ้านบาโงมูลง ทิศตะวันตกติดกับ หมู่ที่ 11 บ้านกะลูบี ตำบลเตราะบอน ประชากรในหมู่บ้านสวนใหญ่มีอาชีพ รับจ้าง กรีดยาง ทำนา เพาะพันธ์ยาง ค้าขาย ข้าราชการ และรับจ้างทำงานนอกพื้นที่เช่น กรุงเทพ ภูเก็ต และประเทศมาเลเซีย เป็นต้น จากการลงสำรวจแบบสอบถามครัวเรือน ข้อมูลด้านเศรษฐกิจในครัวเรือน รายได้และรายจ่ายของครัวเรือนต่อปี รายได้จากอาชีพหลัก 1,000,000 บาทต่อปี 5 ครัวเรือน 200,000 บาทต่อปี 67 ครัวเรือน 100,000 บาทต่อปี 42 ครัวเรือน และ 38,000บาทต่อปี 38 ครัวเรือน ส่วนรายได้จากอาชีพเสริม 50,000 บาทต่อปี 32 ครัวเรือน 30,000 บาทต่อปี 45 ครัวเรือน และ 10,000 บาทต่อปี 30 ครัวเรือน และส่วนรายได้จากการทำ/ปลูก การเลี้ยงสัตว์ และการหาไว้กินเอง 10,000 บาทต่อปีมีทั้งหมด 5 ครัวเรือน
จากสถานการณ์โรคระบาดโคโรน่าไรรัสในช่วงปลายปีพ.ศ.2562 ผ่านมาได้แพร่ระบาดเชื้อไปยังทั่วโลกนั้น ส่งต่อทำให้ผู้คนต้องใช้ชีวิตด้วยความวาดกลัวและวิตกกังวล กลัวการเข้าอยู่ในสังคมบริเวณที่มีการร่วมกลุ่มกันเป็นจำนวนมากๆ เพราะเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือโควิด 19 นั้นแพร่เชื่อได้ง่าย เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและผลอันตรายจากเชื้อมีความเสี่ยงต่อชีวิตเป็นอย่างมาก จึงทำให้ผู้คนพากันเก็บตัวอยู่กับบ้าน ไม่มีการร่วมสร้างสรรค์ร่วมกลุ่มดังช่วงที่มาก ร้านค้าต่างก็ต้องปิดตัวลงเพื่อลดการระบาดเชื้อโรควิด เศรษฐกิจย่ำแย่ บางประเทศที่พบผู้ติดเชื้อจำนวนมากพากันปิดประเทศ ส่งผลให้แรงงานแห่กันอพยพกับมาปักลักในพื้นที่บ้านเกิดขึ้น ไม่มีรายได้ดั่งเช่นเคย อยู่ในสสภาพวะตึงเครียดเนื่องจากตั้งรับภาระค่าใช้ที่สูงต่อการดำรงชีวิตประจำ หมู่บ้านลูโบ๊ะซูลงเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่มีประชาการร้อยละ 10 (50-70 คน) ประกอบอาชีพรับจ้างเป็นแรงงานนอกพื้นที่ได้แก่ ประเทศมาเซีย กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต สงขลา ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด 19 จำใจกลับมาอาศัยอยู่ที่บ้านด้วยสถานะที่ว่างงาน ไม่มีอาชีพประกอบ ขาดรายได้ในการดำรงชีพ แต่เดิมนั้นแรงงานดั่งกล่าวมีรายได้เฉลี่ยวันละ 400 - 600 บาทต่อวัน 12,000 – 18,000 ต่อเดือน ใช้ชีวิตด้วยความสะดวกสบายเพราะมีรายได้เข้าวันต่อวัน แต่เนื่องด้วยสถานการณ์แพร่เชื้อโควิด 19 ระบาดหนักทำให้กลุ่มดังกล่าวขาดรายได้ ไม่มีงานทำ ใช้จ่ายด้วยเงินเก็บส่วนที่เหลือใช้ไม่มีเพียงพอต่อการดำรงชีพ คนบางกลุ่มกลับมาเริ่มต้นด้วยการปลูกผักเพื่อบริโภคและขายหารายได้ บางกลุ่มเป็นลูกจ้างร้านอาหารพื้นที่ใกล้บ้าน บางกลุ่มประกอบอาชีพเป็นกรรมกร และบางกลุ่มไม่ได้ประกอบอาชีพพึงแม่ที่บ้าน จากสถานการณ์ดังกล่าวนั้นจึงทำให้แรงงานบางคนเลือกวิธีแก้ไขปัญหาชีวิตด้วยการกู้หนี้ยืมสิ้น เฉลี่ยหนี้สิ้น 20,000 – 50,000 บาท เนื่องจากต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเยอะ ตกอยู่ในภาวะตึงเครียด มีสุขภาพจิตใจที่ค่อนข้างน่าเป็นห่วง จนกระทั้งได้มีการหารือปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนในที่ประชุมประจำเดือนของคณะกรรมการสภาผู้นำชุมชนและอาสาสมัครจึงได้มีการลงมติในที่ประชุมจะทำ “โครงการสนับสนุนการสร้างระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชนบ้านลูโบ๊ะซูลง ตำบลเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี” ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนให้กลุ่มดังกล่าวมีความมั่นคงอาหารมีระบบการจัดการที่ดี ลดภาระค่าใช้จ่าย มีเงินเก็บออม มีสุภาพจิต กาย สังคมที่ดี และการมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปในอนาคต

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก
  1. พัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม (บังคับเลือก)
  2. สร้างความมั่นคงทางอาหาร
stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาความรู้และ ทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ผู้ ได้รับผลกระจากการ ระบาดโควิด 19

1.เชิงปริมาณ

  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ด้านการด้านผลิตอาหารปลอดภัยเพิ่มขึ้ น - ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ 3อ 2ส
  1. เชิงคุณภาพ
  • ผู้เข้าร่วมโครงการมีการป้องกันตนเองทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้านและเข้าสังคม
  • มีการสรุปและวิเคราะห์สถานะทางการเงินของตนเองได้
80.00
2 เพื่อสนับสนุนการสร้าง ระบบความมั่นคงทางอาหารของชุมชน
  1. เชิงปริมาณ

- มีฐานข้อมูลแหล่งผลิตอาหารของชุมชนทั้งระบบ - มีการจัดตั้งร้านค้าออมทรัพย์ชุมชนจำนวน 1 ร้านค้า - มีผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนที่ปลอดภัย - มีระบบการจัดการความมั่นคงทางอาหาร
2.เชิงคุณภาพ - การเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มผลิตอาหารปลอดภัยในการสร้างความมั่งคงอาหารในชุมชน - กลุ่มสมาชิกและชุมชนมีระบบการจัดการอาหารที่ดี และปลอดภัยในการบริโภค

80.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มผู้ๆด้รับผลกระทบในชุมชนขอเข้าร่วทกิจกรรม 15 -
ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 30 30
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 935 70,000.00 25 70,250.00
12 เม.ย. 64 ปฐมนิเทศโครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้ 5 1,300.00 1,300.00
28 เม.ย. 64 ค่าจัดทำป้าย 30 1,500.00 1,500.00
30 เม.ย. 64 เวทีชีแจ้งทำความเข้าใจกลุ่มอาชีพผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 30 2,200.00 2,200.00
5 พ.ค. 64 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 1 30 1,800.00 1,800.00
15 พ.ค. 64 สำรวจข้อมูลกลุ่มผลอาชีพแหล่งอาหารชุมชนก่อนเริมดำเนิน 3 ระยะ 30 2,600.00 2,600.00
4 มิ.ย. 64 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 2 30 1,000.00 1,000.00
10 มิ.ย. 64 พัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารและสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน) 30 4,450.00 8,680.00
9 ก.ค. 64 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 3 30 1,000.00 1,000.00
16 ก.ค. 64 อบรมให้ความรู้การดูเเลสุขภาพ 3 อ 2 ส. 166 10,960.00 8,900.00
30 ก.ค. 64 อบรมให้ความเรื่่องการับมือสถานการณ์โควิด19 และสาธิตการรับมือเผชิญเหตุเชิงปฏบัติงาน 166 10,530.00 9,800.00
6 ส.ค. 64 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 4 30 1,000.00 1,000.00
15 ก.ย. 64 ประชุมคณะทำงานประจำเดือนครั้งที่ 5 30 800.00 800.00
22 ก.ย. 64 กิจกรรม ARE ครั้งที่ 1 0 0.00 0.00
30 ก.ย. 64 อบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนเก็บออมการจัดการบริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน 166 10,760.00 7,753.00
2 ต.ค. 64 เสาร์สร้างสรรค์ ครั้งที่ 1 ถอดรหัส "โอกาศ ฝ่าวิกฤตด้วยเศรษฐกิจฐานราก 3 150.00 150.00
4 ต.ค. 64 ปรึกษาพี่เลี้ยงโครงการในเรื่องการคีย์ข้อมูลในระบบ 5 800.00 800.00
17 ต.ค. 64 จัดตั้งกลุ่มร้านค้าสหกรณ์ชุมชนพร้อมระเบียบการบริหารกลุ่ม (การรวมหุ้น เก็บออม) 30 4,750.00 2,850.00
11 พ.ย. 64 กิจกรรมถนอมอาหารปลอดภัย 30 3,650.00 6,267.00
18 พ.ย. 64 การติดตามและการประเมินผลการจัดการบริหารออมทรัพย์และการทำบัญชีครัวเรือน 30 800.00 1,650.00
25 พ.ย. 64 การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายแหล่งผลิต อาหารปลอดภัย 30 1,650.00 1,650.00
30 พ.ย. 64 สรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลสู่ชมชน (ถอดบทเรียนการทำงาน) 30 2,050.00 3,050.00
19 ธ.ค. 64 ปรึกษาพี่เลี้ยง ตรวจรายงานการเงิน 0 754.00 254.00
25 - 26 ธ.ค. 64 เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อสังเคราะห์บทเรียนและเขียนรายงานปิดโครงการ 4 4,996.00 4,746.00
23 ม.ค. 65 ARE ครั้งที่ 2 0 0.00 0.00
28 ม.ค. 65 ค่าจัดทำรายงาน 0 500.00 500.00

ชื่อกิจกรรม 1.เวทีชีแจ้งทำความเข้าใจกลุ่มอาชีพผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 19 2.สำรวจข้อมูลกลุ่มผลอาชีพแหล่งอาหารชุมชนก่อนเริมดำเนิน 3 ระยะ 3.ประชุมคณะทำงานร่วมกันประจำเดือน 4.อบรมให้ความรู้การดูแลสุขภาพ 3 อ 2 ส. 5.อบรมความรู้เรื่องการรับมือสถานการณ์โควิด 19 และสาธิตการรับมือแผนเผชิญเหตุเชิง ปฏิบัติงาน 6.อบรมเสริมความรู้เรื่องการจัดทำบัญชีครัวเรือนเก็บออมการจัดการบริหารการเงิน และกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน 7.พัฒนาศักยภาพกลุ่มผลิตอาหารและสาธิตผลิตอาหารปลอดภัยการปลูกผักแปลงใหญ่ (ศูนย์กลางชุมชน) 8..จัดตั้งกลุ่มร้านค้าสหกรณ์ชุมชนพร้อมระเบียบการบริหารกลุ่ม (การรวมหุ้น เก็บออม) 9.กิจกรรมถนอมอาหารปลอดภัย 10.การติดและการประเมินผลการจัดการบริหารออมทรัพย์และการทำบัญชีครัวเรือน 11.การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายแหล่งผลิต อาหารปลอดภัย 12.สรุปผลการดำเนินงานและคืนข้อมูลสู่ชมชน(ถอดบทเรียนการทำงาน)

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • มีคณะทำงานกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด19 อย่างน้อย 30 คน
  • เกิดฐานข้อมูลแหล่งผลิตอาหารในชุมชน
  • เกิดกาติกาข้อตกลงร่วมกัน
  • มีแผนงานการปฏิบัติงานที่ชัดเจน
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพ 3อ 2ส
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีแผนการรับมือเผชิญเหตุสถานการณ์โควิด 19
  • ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้การจัดทำบัญชีครัวเรือน การบริหารเงิน และบริการกลุ่มออมทรัพย์
  • สมาชิกกลุ่มร้อยละ 80 มีศักยภาพในการผลิตอาหารที่ปลอดภัย -เกิดการบริหารจัดการกลุ่มและผลิตอาหารในชุมชน -เกิดกฎระเบียบการจัดการบริหารกลุ่มออมทรัพย์ชุมชน
  • สมาชิกมีการเก็บเงินออมทรัพย์ -มีอาหารปลอดภัยที่ได้รับการยอมรับภายในชุมชน เกิดระบบความมั่นคงทางอาหารในชุมชน -เกิดการเชื่อมโยงระบบความมั่นคงทางอาหารในชุมชน -เกิดระบบความมั่นคงทางอาหารภายในชุมชน
stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2564 14:40 น.