แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

Node Flagship จังหวัดพัทลุง


“ โครงการโรงเรียนขยะทองคำ นำสุขภาพสู่คนชะมวง ”

ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

หัวหน้าโครงการ
นางเพ็ญพร เพชรหัวบัว

ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนขยะทองคำ นำสุขภาพสู่คนชะมวง

ที่อยู่ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-00232-0002 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 สิงหาคม 2566


กิตติกรรมประกาศ

"โครงการโรงเรียนขยะทองคำ นำสุขภาพสู่คนชะมวง จังหวัดพัทลุง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ Node Flagship จังหวัดพัทลุง ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการโรงเรียนขยะทองคำ นำสุขภาพสู่คนชะมวง



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการโรงเรียนขยะทองคำ นำสุขภาพสู่คนชะมวง " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง รหัสโครงการ 65-00232-0002 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 54,130.00 บาท จาก Node Flagship จังหวัดพัทลุง เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นสมาชิกในชุมชนจำนวน 0 คน หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

ชมรมคนชะมวงรักษ์สิ่งแวดล้อม ตั้งอยู่เลขที่ 16 หมู่ที่ 6 ตำบลชะมวง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ข้อมูลทั่วไปของพื้นที่ตำบลชะมวง มีพื้นที่จำนวน 61.14 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 38,212 ไร่ มีหมู่บ้านทั้งหมด 16 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 3,646 ครัวเรือน มีประชากรรวม 8,509 คน มีโรงเรียน 3 โรงเรียน มีวัด 3 วัด มีปั้มน้ำมันปตท. จำนวน 1 แห่ง มีเซเว่นอีเลฟเว่น จำนวน 2 แห่ง มีศูนย์พัฒนาเล็กเล็ก จำนวน 2 ศูนย์ มีวิทยาลัยการอาชีพ จำนวน 1 แห่ง มีขนส่ง จำนวน 1 แห่ง
สถานการณ์ขยะของพื้นที่ตำบลชะมวง องค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง ได้จัดเก็บขยะตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันเสาร์ ปริมาณขยะมูลฝอยประมาณ 2-3 ตัน/วัน โดยรถยนต์บรรทุกขยะมูลฝอยขนาด 6 ตัน 6 ล้อ ปริมาตรกระบอกสูบไม่ต่ำกว่า 6,000 ซีซี หรือกำลังเครื่องสูบสูงสุด ไม่ต่ำกว่า 170 กิโลวัตต์ แบบอัดท้าย จำนวน 1 คัน สถานที่กำจัดโดยวิธีฝังกลบ ใช้สถานที่ฝังกลบขององค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง  พนักงานเก็บขยะ จำนวน 2 คน พนักงานขับรถ 1 คน มีค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการขยะ เช่น ค่าน้ำมันรถ ค่าซ่อมแซมรถ ค่าจ้างพนักงาน ค่าปรับเกลี่ยหลุมขยะ รวมค่าใช้จ่าย 800,000 บาทต่อปี จากข้อมูลสถานการณ์ขยะในพื้นที่แยกประเภทได้ดังนี้ ขยะอินทรีย์ร้อยละ 60 ขยะรีไซเคิล ร้อยละ 25 ขยะทั่วไปร้อยละ 10 และขยะอันตรายร้อยละ 5 มีการสำรวจข้อมูลปริมาณและแหล่งที่มาของขยะดังกล่าวพบว่า ประชาชนมีการคัดแยกในระดับครัวเรือน จำนวน 1,000 ครัวเรือน ยังไม่คัดแยก 2,646 ครัวเรือน จึงส่งผลให้เกิดปัญหาขยะมีปริมาณมากขึ้นทุกปี ทำให้มีผลกระทบ ต่อคนในชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ภายในชุมชน โดยปัญหาหลักที่พบมากมาจากคนนอกพื้นที่นำขยะมาทิ้งในเขตพื้นที่ตำบลชะมวง และครัวเรือนขาดกระบวนการคัดแยกที่ต่อเนื่อง ระบบการจัดการขยะในพื้นที่มีเจ้าหน้าที่รับผิดชอบจำนวนน้อย  จากปัญหาดังกล่าวส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจาก คนในพื้นที่ขาดจิตสำนึก ขาดความรู้เรื่องการคัดแยกขยะที่ถูกวิธี ไม่นิยมนำถุงผ้าหรือตะกร้ามาจากบ้านในการจ่ายตลาด น้ำในลำคลองเสียทำให้ประชาชนนำน้ำมาใช้อุปโภคไม่ได้ ส่งผลต่อปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน จากสถิติการเจ็บป่วย เมื่อปี 2563 มีไข้เลือดออก จำนวน 40 คน  และมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมการระบาดของโรค ปีหนึ่งประมาณ 50,000 บาทต่อปี
ชมรมคนชะมวงรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้ให้ความสำคัญในการจัดการขยะ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือปริมาณขยะลดลง โดยให้เกิดกลไกการจัดการขยะในระดับครัวเรือน/ระดับหมู่บ้าน /ตำบล และให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะที่ต่อเนื่อง มีกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ โดยการดำเนินงานโครงการจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อการขับเคลื่อนเป้าหมายของ Node Flagship ที่ขับเคลื่อนให้ประเด็นสุขภาวะในระดับจังหวัดตามกรอบเป้าหมายระยะยาว Phatthalung Green City ได้รับการแก้ไขอย่างมีส่วนร่วมสามารถบรรลุเป้าหมายการลดขยะในระดับภาพรวมของจังหวัดต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะระดับครัวเรือนและระดับชุมชน
  2. เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะที่ครบวงจรและต่อเนื่อง
  3. เพื่อให้เกิดกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ
  4. เพื่อให้ปริมาณขยะลดลง
  5. เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน
  2. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร
  3. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส.
  4. ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน
  5. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้นที่จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม
  6. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1/2565
  7. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2/2565
  8. เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1
  9. ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส.
  10. รณรงค์ BIG CLEANING DAY
  11. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3/2566
  12. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4/2566
  13. คณะทำงานติดตามเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลง
  14. ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์
  15. เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2
  16. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5/2566

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
ตัวแทนครัวเรือน /เจ้าของปั้ม ปตท. 400

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน

วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับทุนโครงการเข้าร่วมทำความเข้าใจขั้นตอนในการดำเนินงานโครงการ ณ เทศบาลเมืองพัทลุง โดยมีค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เป็นเงิน 200 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับทุนมีความรู้ในการดำเนินโครงการได้

 

0 0

2. ค่าเปิดบัญชีธนาคาร

วันที่ 11 พฤษภาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน ได้สำรองจ่ายเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาทเพือเปิดบัญชีธนาคารรับเงินสนับสนุนโครงการย่อย จาก สสส.

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ทางโครงการย่อยได้เปิดบัญชีธนาคารเรียบร้อยแล้ว และทำการเบิกเงินสำรองจ่ายคืน จำนวน 500 บาท

 

0 0

3. จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส.

วันที่ 7 มิถุนายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

ทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  จำนวน 4 ป้าย ติดที่องค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง 1 ป้าย ติดโรงเรียนในเขตรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบลชะมวง 3 ป้าย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จำนวน 4 ป้าย

 

46 0

4. ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน

วันที่ 22 มิถุนายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทำหนังสือเชิญประชุมคณะทำงาน
จัดทำป้ายโครงการโรงเรียนขยะทองคำ นำสุขภาพสู่คนชะมวง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานมีความเข้าใจในตัวโครงการ และแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน มีแผนการดำเนินงาน คัดเลือกครัวเรือน ร่วมปฏิบัติการจัดการขยะนำร่องจาก 16 หมู่บ้าน

 

46 0

5. พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้นที่จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม

วันที่ 30 มิถุนายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทำหนังสือถึงสำนักงานเทศบาลตำบลชะรัดและสำนักงานเทศบาลตำบลโคกม่วง เพื่อนำคณะทำงานเข้าศึกษาดูงาน
ทำหนังสือแจ้งคณะทำงานให้เข้าร่วมกิจกรรม
เตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการขยะของเทศบาลตำบลชะรัด และเทศบาลตำบลโคกม่วง และนำความรู้ที่ได้มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทการบริหารจัดการขยะของตำบลชะมวง

 

50 0

6. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1/2565

วันที่ 20 กรกฎาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำหนังเชิญเข้าร่วมประชุม จัดสถานที่ในการประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยร้อยละ 80

 

46 0

7. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2/2565

วันที่ 27 กันยายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำหนังสือเชิญประชุมคณะทำงาน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 80

 

46 0

8. เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1

วันที่ 17 ตุลาคม 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทำหนังสือเชิญภาคีเครือข่ายเข้าร่วมประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ภาคีเครือข่ายร่วมแสดงความคิดเห็น แก้ไขข้อบกพร่องตามบันไดผลลัพธ์

 

46 0

9. ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส.

วันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ปฐมนิเทศผู้รับทุน เทศบาลเมืองพัทลุง จำนวน 1 คน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 200 บาท
เวทีระดมความคิด ห้องประชุมลำปำรีสอร์ท จำนวน 3 คน ๆ ละ 200 บาท เป็นเงิน 600 บาท
เวทีระดมความคิดเกี่ยวกับการพัฒนาข้อบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการขยะ เทศบาลนาโหนด จำนวน 2 คนๆ ละ 288 บาท เป็นเงิน 576 บาท
เข้าร่วมเวทีประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาโครงการฯ จำนวน 3 คน ๆ ละ 160 บาท เป็นเงิน 480 บาท
เข้าร่วมงานสมัชชาพัทลุงมหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2 จำนวน 2 คน เช่ารถ 1 คัน เป็นเงิน 600 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้รับความรู้เกี่ยวกับโครงการ การเบิกจ่ายเงิน และการคีย์ข้อมูลในระบบ
ได้แนวทางการจัดทำโครงการตามบันไดผลลัพธ์
ได้แนวทางการพัฒนาข้อบัญญัติเกี่ยวกับการจัดการขยะ
ได้รู้แนวทางการประเมินผลเพื่อการเรียนรู้
ได้ดูบู๊ทต่างๆ

 

5 0

10. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3/2566

วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เตรียมสถานที่ในการประชุม ทำหนังสือเชิญคณะทำงาน เตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุมร้อยละ 80

 

46 0

11. รณรงค์ BIG CLEANING DAY

วันที่ 2 ธันวาคม 2565 เวลา 14:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำป้ายไวนิลขนาด 1 x 2 เมตร จำนวน 1 ป้าย จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการออกรณรงค์ BIG CLEANING DAY นัดกลุ่มเป้าเหมายพร้อมกัน จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ วันที่ 7 ธันวาคม 2565 สายหน้าโรงเรียนบ้านหยีในสามัคคีสุดสายศาลาหมู่ที่ 16 เริ่มดำนินการเวลา 13.00 น. โดยดำเนินการแยกชาวบ้าน และคณะทำงานออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มแรกเริ่มดำเนินการเก็บขยะสองฝั่งถนนจากหน้าโรงเรียนบ้านหยีในสามัคคีโดยมีนักเรียนและคณะครูร่วมกิจกรรมด้วย อีกกลุ่มเริ่มเก็บขยะสองฝั่งถนนจากศาลาหมู่ที่ 16 มาบรรจบกันที่ศาลาหมู่ที่ 14 ดำเนินการเก็บขยะตลอดเส้นทางเรียบร้อยดี มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 60 คน วันที่ 16 ธันวาคม 2565 สาย 4018 เริ่มเก็บขยะสองข้างทางจากปากทางหมู่ที่ 10 ผ่านหมู่ที่ 2 หน้าวัดพิกุลทอง ผ่านหน้าอบต.ชะมวง จนสุดสายถนนหมู่ที่ 15 โดยมีชาวบ้านหมู่ที่ 2,10 ,11 และคณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 50 คน
วันที่ 22 ธันวาคม 2565 สายปากทางหมู่ที่ 4 สุดสายที่ศาลาหมู่ที่ 13 เริ่มกิจกรรมตั้งแต่ 13.00 น. โดยมีชาวบ้านหมู่ที่ 4, 5 ,13 และคณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 คน วันที่ 9 มกราคม 2566 สายปากทางเข้าหมู่ที่ 6 สุดสายขนส่งสาขาควนขนุน โดยมีชาวบ้านหมู่ที่ 1, 6, และคณะทำงานเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 50 คน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ถนนทั้ง 4 สาย สะอาดน่ามองมากขึ้น

 

50 0

12. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4/2566

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

เตรียมสถานที่ในการประชุม ทำหนังสือเชิญคณะทำงาน เตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่ม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมประชุม ร้อยละ 80

 

46 0

13. คณะทำงานติดตามเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลง

วันที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

คณะทำงานลงติดตามการคัดแยกขยะในครัวเรือน การทำถังขยะเปียก การทำสิ่งประดิษฐ์ ECO-Bricks

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ได้ถังขยะเปียกเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 ได้สิ่งประดิษฐ์ ECO-Bricks เพื่อลดขยะทั่วไป

 

46 0

14. ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

รายงานข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ ค่าใช้จ่าย ค่าอินเตอร์เน็ต  เป็นเงิน 1000 บาท

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ส่งข้อมูลในระบบตามระยะเวลาที่กำหนด

 

46 0

15. เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

จัดทำหนังเชิญประชุมคณะทำงาน ภาคีเครือข่าย
จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และห้องประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานและภาคีเครือข่ายได้สรุปผลการดำเนินงานโครงการขยะทองคำ นำสุขภาพสู่คนชะมวง ว่าได้ดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนดหรือไม่ พี่เลี้ยงช่วยเติมเต็มข้อมูลให้เข้าใจง่ายขึ้น

 

46 0

16. ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5/2566

วันที่ 22 สิงหาคม 2566 เวลา 13:30 น.

กิจกรรมที่ทำ

ทำหนังเชิญประชุมคณะทำงาน จัดสถานที่ประชุม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

คณะทำงานเข้าร่วมประชุมอย่างน้อยร้อยละ 70

 

46 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะระดับครัวเรือนและระดับชุมชน
ตัวชี้วัด : 1. มีคณะทำงานที่มาจากหลายภาคส่วน 2. มีการแบ่งบทบาทหน้าที่ 3. มีแผนการดำเนินงาน 4. มีการประชุมทุก 2 เดือน 5. คณะทำงานมีความรู้ในการจัดการขยะที่ถูกต้อง
80.00

 

2 เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะที่ครบวงจรและต่อเนื่อง
ตัวชี้วัด : 1. ครัวเรือนจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 80 % 2. ในโรงเรียน/ศูนย์เด็กเล็กจัดกาขยะรที่ถูกต้อง ทุกแห่ง 3. ขยะในปั้มน้ำมันได้รับการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 80 % 4. มีร้านค้าจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 18 ร้าน
80.00

 

3 เพื่อให้เกิดกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ
ตัวชี้วัด : 1. มีกติกาในด้านสิ่งแวดล้อมที่บรรจุไว้ใน “ธรรมนูญสุขภาพสุขภาพตำบลชะมวง” 2. มีการติดตามการคัดแยกขยะในระดับครัวเรือน ในโรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ปั้มน้ำมัน ทุกเดือน 3. มีต้นแบบการจัดการขยะที่ถูกต้อง อย่างน้อย 16 แห่ง 4. ถนนปลอดขยะ 2 สาย
16.00

 

4 เพื่อให้ปริมาณขยะลดลง
ตัวชี้วัด : 1. ปริมาณขยะที่อบต.ชะมวงจัดเก็บลดลงร้อยละ 30 2. มีการใช้ประโยชน์จากขยะ ร้อยละ 40
30.00

 

5 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
ตัวชี้วัด : โครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์
100.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 400
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ตัวแทนครัวเรือน /เจ้าของปั้ม ปตท. 400

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อให้เกิดกลไกการจัดการขยะระดับครัวเรือนและระดับชุมชน (2) เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในการจัดการขยะที่ครบวงจรและต่อเนื่อง (3) เพื่อให้เกิดกติกาและเฝ้าระวังติดตามการจัดการขยะ (4) เพื่อให้ปริมาณขยะลดลง (5) เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เข้าร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศผู้รับทุน (2) ค่าเปิดบัญชีธนาคาร (3) จัดทำป้ายเขตปลอดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และป้ายชื่อโครงการ สสส. (4) ประชุมคณะทำงานเพื่อสร้างความเข้าใจร่วมกัน (5) พัฒนาศักยภาพคณะทำงานเรียนรู้ศึกษาดูงานพื้นที่จัดการขยะแบบมีส่วนร่วม (6) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1/2565 (7) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2/2565 (8) เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 1 (9) ค่าเดินทางและค่าที่พักเพื่อเข้าร่วมประชุมกับ สสส. (10) รณรงค์ BIG CLEANING DAY (11) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3/2566 (12) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4/2566 (13) คณะทำงานติดตามเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลง (14) ค่าอินเตอร์เน็ตเพื่อจัดทำรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบออนไลน์ (15) เวทีประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนา(ARE) ครั้งที่ 2 (16) ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5/2566

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการโรงเรียนขยะทองคำ นำสุขภาพสู่คนชะมวง จังหวัด พัทลุง

รหัสโครงการ 65-00232-0002

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางเพ็ญพร เพชรหัวบัว )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด