directions_run

โครงการฟื้นเลปากประ รักษาระบบนิเวศน์ ขยายแนวเขตอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำ

assignment
บันทึกกิจกรรม
เข้าร่วมกิจกรรมสรุปผลการดำเนินงานโครงการร่่วมกับหน่วยจัดการฯ "งานสมัชชาคนเมืองลุงหิ้วชั้นมาชันชี 2 )15 สิงหาคม 2566
15
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

...

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

....

เข้าร่วมเวทีจัดทำแผนและข้อเสนอการจัดการทรัพยากรชายฝั้งร่วมกับหน่วยจัดการจังหวัดฯ15 มิถุนายน 2566
15
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

...

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

...

เข้าร่วมเวทีจัดทำแผนและข้อเสนอการจัดการทรัพยากรชายฝั้งร่วมกับหน่วยจัดการจังหวัดฯ15 มิถุนายน 2566
15
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

...

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

...

เข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยจัดการระดับจังหวัด (ARE ) รายประเด็น30 พฤษภาคม 2566
30
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

....

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

....

เข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานโครงการร่วมกับ หน่วยจัดการจังหวัดพัทลุง29 พฤษภาคม 2566
29
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

....

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

....

ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง28 เมษายน 2566
28
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เดือนกรกฎาคม 2565 ปล่อยพันกุ้งก้ามกรามยังเขตอนุรักษ์ เดือนกันยายน 2565 ปล่อยพันธุ์ปลาน้ำจืด เดือนเมษายน 2566 ปล่อยพันธุ์กุ้งก้ามกราม เดือนกรกฎาคม 2566 ปล่อยพันธุ์ปลาน้ำจืด

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมประมงอาสาร่วมกับชาวประมงร่วมกัน
- ปล่อยพันธ์กุ้งก้ามกรามจำนวน 1 ล้านตัวลงสู่แหล่งน้ำบริเวณเขตอนุรักษ์ เดือนกรกฎคม2565 - ปล่อยพันธ์ปลาน้ำจืดจำนวน 3 แสนตัวลงสู่แหล่งน้ำบริเวณเขตอนุรักษ์ เดือนกันยายน 2565 - ปล่อยพันธ์กุ้งก้ามกรามจำนวน 1 ล้านตัวลงสู่แหล่งน้ำบริเวณเขตอนุรักษ์ เดือนเมษายน 2566 - ปล่อยพันธ์กุ้งก้ามกรามจำนวน 1.5 แสนตัวลงสู่แหล่งน้ำบริเวณเขตอนุรักษ์ เดือนกรกฎคม2566 รวมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำจำนวน 4 ครั้ง ทั้งหมด 2,450,000 ตัว

เวทีทบทวนและปรับปรุงกติกาเขตฯ25 เมษายน 2566
25
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมวางแผนและทบทวนกฏกติกาเขต เพื่อให้สอดคร้องกับบริบทของพื้นที่ และให้เป็นที่ยอมรับของชาวประมงในพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงาน ประมงอาสา ร่วมกับชาวประมงในพื้นที่ร่วมกำหนดกติกาชุมชน 1.ห้ามทำการประมงในเขตอนุรักษ์ทุกประเภท 2.ห้ามทำการประมงในเขตอนุรักษ์ทุกช่วง 3.หากฝ่าฝืนจะทำการตรวจยึดเครื่องมือประมงและจ่ายค่าปรับกับทางหมู่บ้าน 4.ประชาสัมพันธ์กฏกติกาให้ประชาชนโดยทั่วไปได้รับทราบ

ค่าบริการอินเตอร์เน็ต20 เมษายน 2566
20
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ค่าบริการอินเตอร์เน็ตในการบันทึกข้อมูลเข้าสู่ระบบ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

บันทึกข้อมูลการทำโครงการเข้าสู่ระบบ ตลอดโครงการจำนวน 12  เดือน

เวทีปิดโครงการ10 เมษายน 2566
10
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • จัดเวทีแสดงนิทรรศการผลผลิตสัตว์น้ำจาการกฟื้นฟูเลหน้าบ้าน
  • เสวนาตัวแทนชุมชน่วมกับท้องที่ ท้องถิ่น ภาคีคว่ามร่วมมือ
  • นำเสนอข้อมูลการทำเขตอนุรักษ์ เปรียบเทียบข้อมูล ก่อน หลัง การทำโครงการ
  • สรุป แลกเปลี่ยน ข้อมูลกับผู้เข้าร่วมประชุม
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จากการทำเขตอนุรักษ์

เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการเดือนละครั้ง (ต.ค. 65 - เม.ย.66) รวม 7 ครั้ง1 เมษายน 2566
1
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เดือนตุลาคม 65 กำหนดแนวทางการดูแลเขต เฝ้าระวัง การบุกรุกทำการประมงในเขตอนุรักษ์ เดือนมีนาคม 66 วางแผนการสุ่มตรวจจำนวน ปริมาณสัตว์น้ำในบ้านปลา ทั้งภายในเขตและภายนอกเขตอนุรักษ์ทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเปรียบเทียบผลการทำเขตอนุรักษ์ เดือนเมษายน 66 กำหนดแนวทางการซ่อมแซมบ้านปลาที่ชำรุด เสียหายจากคลื่นลม และแนวทางการทำบ้านปลาเพิ่มในเขตอนุรักษ์ เดือนพฤษภาคม 66 ประชุมจัดประมงอาสาเข้าเวรยาม เพื่อเฝ้าระวัง และทำการจับกุมผู้กระทำความผิดบุกรุกเขตอนุรักษ์ เดือนมิถุนายน 66 ประชุมสมาชิกเพื่อประชาคมชาวบ้านในการขอขยายแนวเขตอนุรักษ์ จากเดิม 117 ไร่ เป็น  250 ไร่
เดือนกรกฎาคม 66 จัดทีมปักป้ายแนวเขต พร้อมกติกาเขต และให้ประมงอาสาร่วมกันประชาสัมพันธืให้ชาวประมงในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียงได้รับทราบ
เดือนสิงหาคม 66  วิเคราะห์ปัญหาการบุกรุกเขตอนุรักษ์ การจับกุมผู้กระทำความผิด และการดำเนินคดีตามกฎหมาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทีมมีความรู้ความเข้าใจในโครงการ 2.สามารถกำหนดกรอบการดำเนินตามช่วงเวลาของโครงการ 3.ทีมสามารถวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา การขาดแคลนทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ 4.ทีมสามารถขยายผลการอนุรักษ์ให้กับประชาวประมงในพื้นที่ 5.ชาวประมงในพื้นที่หวงแหนทรัพยากรสัตว์น้ำยิ่งขึ้น 6.ประมงอาสามีความรู้ความเข้าใจในการดูและ และการปราบปรามผู้กระทำผิดในเขตอนุรักษ์ 7.ขยายผลการอนุรักษ์ไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เพิ่มแนวเขตอนุรักษ์

จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนบน...3.สรุปข้อมูล16 กุมภาพันธ์ 2566
16
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจ
    -วิเคราะห์ข้อมูล -แยกประเภทข้อมูล
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • จากการสำรวจพบการใช้เครื่องมือประมงจำนวน 12 ประเภท ได้แก่ ไซราว ไซซั้ง ยอ ทอดแหทุ่น ทอดแหปลายสาร ทอดแหหลักแพร่(ทางโตนด) กัด อวนลาก อวนล้อม เบ็ดราว บอก
    -จากการสำรวจและสอบถามข้อมูลพบว่ามีปลาท้องถิ่นในพื้นที่ จำนวน 65 ชนิด สามารถแบ่งประเภทได้ ดังนี้ ปลาท้องถิ่นที่สูญพันธุ์ จำนวน 9 ชนิด ปลาท้องถิ่นที่กำลังสูญพันธุ์ จำนวน 14 ชนิด และปลาท้องถิ่นที่ไม่ เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ จำนวน 42 ชนิด -เวลาในการทำการประมงจำนวน 3-8 ชั่วโมง ต่อวัน
    -รายได้จากการทำการประมง 500-800 บาท ต่อวัน
จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนบน...2.ลงพื้นที่สำรวจ10 ธันวาคม 2565
10
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ลงพื้นที่สำรวจเก็บข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนบน ในพื้นที่ชุมชนปากประ หมู่ที่ 11 ต.ลำปำ จากชาวประมงในหมู่บ้านจำนวน 52 ครัวเรือน  โดยการตอบแบบสอบถาม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ให้เยาวชนในหมู่บ้าน ลงสำรวจเก็บข้อมูล กลุ่มชาวประมงในชุมชนจำนวน 52 ครัวเรือน เพื่อตอบแบบสอบถาม ข้อมูล ชนิดพันธุ์สัตว์น้ำที่จับได้ และกำลังจะหายไป เครื่องมือประมงที่ใช้จับ  เวลาในการทำการประมง และรายได้จาการทำการประมงในแต่ละเดือน เพื่อรวบรวมข้อมูลเปรียบเทียบ ก่อน-หลัง การทำเขตอนุรักษ์

ทำธนาคารกุ้งก้ามกราม1 ธันวาคม 2565
1
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดซื้ออุปกรณ์เพื่อทำธนาคารกุ้งก้ามกราม ได้แก่ 1.กระชังอวน ตำนวน 3 กระชัง 2.ตะกร้าใส่แม่พันธุ์กุ้งก้ามกราม 3.สายเคเบิ้ลไทน์เพื่อรัดตะกร้า 4.แผ่นทุ่นลอยน้ำเพื่อยึดติดตะกร้า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประมงอาสา และชาวประมงในพื้นที่ ร่วมกันนำกุ้งไข่ มาฝากยังธนาคารกุ้งก้ามกรามของชุมชน เพื่อรอแม่กุ้งสลัดไข่ ก่อนจะน้ำแม่กุ้งไปขาย
  • ชาวประมงร่วมมือกันไม่จับแม่กุ้งไข่แก่ และกุ้งขนาดเล็ก รวมถึงบางส่วนนำมาฝากธนาคารเพื่อรอให้กุ้งได้สลัดไข่ก่อนนำไปขาย
วางแผนการทำงานของทีมประมงอาสา29 พฤศจิกายน 2565
29
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมวางผนการทำงานของทีมประมงอาสา
จัดประชุมทีมเพื่อวางแผนการทำงาน กำหนดแผนการทำงาน สรุปแผนและนาวทางการทำงานพร้อมมอบหมายหน้าที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมเสนอการประชาสัมพันธ์แนวเขตเพื่อสร้างความรับรู้แก่ประชาชน กำหนดแนวทางการดำเนินการเฝ้าระวังเขตและการดูแลรักษา กำหนดทีมลาดตระเวณในเวลากลางคืนโดยแบ่งทีม ทีมละ 4 คน

ทำป้ายเขตแสดงพื้นที่เขตอนุรักษ์30 ตุลาคม 2565
30
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดทำป้ายแสดงอาณาเขตแนวพื้นที่อนุรักษ์ ด้วยเสาปูน จำนวน 4 ต้น พร้อมป้ายไม้บอกเขตพื้นที่อนุรักษ์ จำนวน 4 ป้าย พร้อมติดตั้ง ทั้ง 4 จุด ในพื้นที่แนวเขตอนุรักษ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประมงอาสา 6 คน ร่วมกันปักเสา แนวเขตตามจุดที่กำหนดที่ได้ขออนุญาตเป็นแนวเขตคฟื้นฟูอนุรักษ์สัตว์น้ำของชุมชน เพื่อแสดงแนวเขตที่ชัดเจน พร้อมทั้งติดตั้งป้าย และธงแสดงแนวเขต ชาวประมงในพื้นที่สามารถมองเห็นหลักเขตได้ชัดเจน ลดการบุกรุกการทำการประมงในแนวเขตอนุรักษ์

ค่าจัดทำป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่27 ตุลาคม 2565
27
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดทำป้ายรณรงค์พื้นที่ปลอดบุหรี่และเครืี่องดื่ม แอลกอฮอร์ เพื่อติดตั้งป้ายในเวทีประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เข้าร่วมประชุมเกิดการตระหนักในพิษภัยของบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอร์ ทุกชนิด และกำหนดให้บริเวณพื้นที่ประชุมเป้นพื้นที่ปลอดบุหรี่ และเคร ื่องดื่มแอลกอฮอร์ทุกชนิด

ทำป้ายประชาสัมพันธ์กติกาข้อตกลงของเขตอนุรักษ์แต่ละพื้นที่15 ตุลาคม 2565
15
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

จัดทำป้ายกติกา ข้อตกลงของเขตอนุรักษ์ จำนวน 2 ป้าย พร้อมติดตั้งบริเวณศาลาหมู่บ้านจำนวน 1 ป้าย และบริเวณเขตอนุรักษ์จำนวน 1 ป้าย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ประชาชนในหมู่บ้านสามารถรับทราบกติกา ข้อตกลงของเขตอนุรักษ์ และผู้ใหญ่บ้านสามารถประชุมประชาสัมพันธ์ในเวที่ประชุมหมู่บ้าน
  • ชาวประมงสามรถรับทราบถึงข้อตกลง กติกา จากป้ายประชาสัมพันธ์ ที่ติดตั้งบริเวณเขตอนุรักษ์
จัดทำบ้านปลา 12 จุด2 กันยายน 2565
2
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ทำบ้านปลาในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ จำนวน 12 หลัง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ประมงอาสาร่วมกับ ชาวประมงในพื้นที่ร่วมกันทำหมำ บ้านปลาจำนวน 12 หลัง แต่ละหลังขนาด 3 x 3 เมตร ลึก 2.5 เมตร โดยใช้เสาไม้ไผ่ และกิ่งไม้ในพื้นที่ เช่น กิ่งลำพู กิ่งเสม็ด กิ่งหว้า กิ่งชมพู่ กิ่งตรุด ปักรวมกันในบ้านปลาแต่ละหลัง  กระจายภายในเขตอนุรักษ์ทีมีพื้นที่ 117 ไร่

ศึกษาดูงานชุมชนบ้านช่องฟืน/บ้านบางขวน19 มิถุนายน 2565
19
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ศึกษาดูงานการจัดทำเขตอนุรักษ์กลุ่มอนุรักษ์บ้านช่องฟืน พูดคุยแลกเปลี่ยน การจัดการแนวเขตอนุรักษ์ ของพื้นที่ช่องฟืน และพื้นที่ปากประ เพื่อนำแนวทางปฏิบัติ มาปรับปรุง และบูรณาการใช้ในพื้นที่

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทีมประมงอาสาในพื้นที่ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลกัน 2.ทีมสามารถนำแนวคิดและวิธีการทำเขตอนุรักษ์บ้านช่องฟืนมาปรับใช้ในพื้นที่ 3.มีเครือข่ายอนุรักษ์ทะเลสาบสงขลา 4.ศึกษาดูงานโรงงาน และกระบวนการแปรรูปสัตว์น้ำให้ได้มาตฐาน อย.

จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำบริเวณทะเลสาบสงขลาตอนบน...1.ออกแบบแบบสำรวจ10 มิถุนายน 2565
10
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมคณะทำงาน วิเคราะห์สถานการณ์เลหน้าบ้าน ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม น้ำเสียจากต้นน้ำ การลดจำนวน และปริมาณของสัตว์น้ำ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ทีมสามารถเสนอความเห็น วิเคราะห์ความเป็นไปได้ของการลดจำนวนประชากรสัตว์น้ำในทะเลหน้าบ้าน โดยผลการวิเคราะห์การลดจำนวน และปริมาณ ได้ดังนี้ 1. ปัญหาน้ำเสียจากตลาด
2.ปัญหาน้ำเสียจากภาคการเกษตร 3.เครื่องมือประมงแบบทำลายล้าง 4.ปัญหาการจับสัตว์น้ำเกินกำลังผลิตจากธรรมชาติ (over fishing) 5.จำนวน และชนิดสัตว์น้ำ 6.ระยะเวลาการออกจับสัตว์น้ำในพื้นที่ และออกแบบสำรวจการจัดเก็บข้อมูลสัตว์ในห้วงเวลา 5- 10 ปี ที่ผ่านมา

เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการเดือนละครั้ง (พ.ค. 65 - ก.ย.65) รวม 5 ครั้ง30 พฤษภาคม 2565
30
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมทีมคณะทำงาน ขับเคลื่อโครงการที่ได้รับการแต่งตั้งจากเวทีประชุมเปิดโครงการ จำนวน 15 คน เพื่อดำเนินการกำหนดทิศทางและวางแผนการทำงานในแต่ละช่วง ตลอดโครงการ
เดือนพฤษภาคม 65  วิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการอนุรักษ์ ของเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำของชุมชน เดือนมิถุนายน  65  กำหนดกรอบและขอบเขตการอนุรักษ์ ชี้เป้าแนวเขตที่ชัดเจน เดือนกรกฎาคม 65 พูดคุยปัญหา/อุปสรรค การทำงาน ในการปักเขตอนุรักษ์ เดือนสิงหาคม 65 พูดคุยแนวทางการปฎิบัติงานกับประมงอาสาเพื่อขยายผลกับชาวประมงในพื้นที่ เดือนกันยายน 65 พูดคุยผลการดำเนินงาน และการให้ความร่วมมือของชาวประมงในพื้นที่ เดือนตุลาคม 65 กำหนดแนวทางการดูแลเขต เฝ้าระวัง การบุกรุกทำการประมงในเขตอนุรักษ์ เดือนมีนาคม 66 วางแผนการสุ่มตรวจจำนวน ปริมาณสัตว์น้ำในบ้านปลา ทั้งภายในเขตและภายนอกเขตอนุรักษ์ทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง เพื่อเปรียบเทียบผลการทำเขตอนุรักษ์ เดือนเมษายน 66 กำหนดแนวทางการซ่อมแซมบ้านปลาที่ชำรุด เสียหายจากคลื่นลม และแนวทางการทำบ้านปลาเพิ่มในเขตอนุรักษ์ เดือนพฤษภาคม 66 ประชุมจัดประมงอาสาเข้าเวรยาม เพื่อเฝ้าระวัง และทำการจับกุมผู้กระทำความผิดบุกรุกเขตอนุรักษ์ เดือนมิถุนายน 66 ประชุมสมาชิกเพื่อประชาคมชาวบ้านในการขอขยายแนวเขตอนุรักษ์ จากเดิม 117 ไร่ เป็น  250 ไร่
เดือนกรกฎาคม 66 จัดทีมปักป้ายแนวเขต พร้อมกติกาเขต และให้ประมงอาสาร่วมกันประชาสัมพันธืให้ชาวประมงในหมู่บ้าน และพื้นที่ใกล้เคียงได้รับทราบ
เดือนสิงหาคม 66  วิเคราะห์ปัญหาการบุกรุกเขตอนุรักษ์ การจับกุมผู้กระทำความผิด และการดำเนินคดีตามกฎหมาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ทีมมีความรู้ความเข้าใจในโครงการ 2.สามารถกำหนดกรอบการดำเนินตามช่วงเวลาของโครงการ 3.ทีมสามารถวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหา การขาดแคลนทรัพยากรสัตว์น้ำในพื้นที่ 4.ทีมสามารถขยายผลการอนุรักษ์ให้กับประชาวประมงในพื้นที่ 5.ชาวประมงในพื้นที่หวงแหนทรัพยากรสัตว์น้ำยิ่งขึ้น 6.ประมงอาสามีความรู้ความเข้าใจในการดูและ และการปราบปรามผู้กระทำผิดในเขตอนุรักษ์ 7.ขยายผลการอนุรักษ์ไปยังพื้นที่ใกล้เคียง เพิ่มแนวเขตอนุรักษ์

เวทีประชุมหมู่บ้าน (เวทีเปิดโครงการ)28 พฤษภาคม 2565
28
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวทีประชุมเปิดโครงการ ทำความเข้าใจสถานการณ์ของทะเลสาบสงขลา โดยเฉพาะพื้นที่เลปากประ ภาวะวิกฤตขาดแคลนพันธุ์สัตวน้ำ  โดยมีนางวิจิตรา อมรวิริยะชัย ผู้ทำงานด้านการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลา เป็นวิทยากรให้ความรู้และพูดคุยแลกเปลี่ยน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.ประชาชนในพื้นที่มีความเข้าใจถึงภาวะวิกฤตขาดแคลนพันธุ์สัตว์น้ำ 2.เกิดความตระหนักในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูเลหน้าบ้าน 3.เกิดการจัดตั้ง คณะทำงานประมงอาสาในหมู่บ้าน

ค่าเปิดบัญชีธนาคาร11 พฤษภาคม 2565
11
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Churee
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ผู้รับผิดชอบโครงการและคณะทำงาน สำรองจ่ายเงินค่าเปิดบัญชีธนาคาร จำนวน 500 บาท เพื่อเปิดบํัญชีธนาคารรับเงินสนับสนุนโครงการย่อย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้รับผิดชอบโครงการได้เปิดบัญชีธนาคาร เพื่อรับเงินสนับสนุนโครงการย่อยเรียบร้อยแล้ว และทำการเงินสำรองจ่ายคืน

ประชุมปฐมนิเทศ10 พฤษภาคม 2565
10
พฤษภาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย suchat
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
  • ประชุมปฐมนิเทศผู้ได้รับทุน ภายใต้การสนับสนุนจากหน่วยจัดการ Node Flagship พัทลุง ณ ห้องประชุมเทศบาลเมืองพัทลุง
  • ประชุมแลกเปลี่ยนโครงการ สสส. ณ บ้านคลองขุด (29 พ.ค. 65)
  • ประชุม ARE ณ การยางบางแก้ว (30 พ.ค. 65)
  • ประชุมจัดทำแผนงาน และข้อเสนอแนะการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งพัทลุง ณ ห้องประชุม อบจ.พัทลุง (15 มิ.ย.66)
  • ร่วมงานสมัชชาพัทลุง มหานครแห่งความสุข ครั้งที่ 2 ณ หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยทักษิณ (15 ส.ค.66)
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการการเงิน 2.คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจในการบันทึกข้อมูล ผ่านระบบ happynetwork 3.คณะทำงานแลกเปลี่ยนการทำงานโครงการอนุรักษ์ กับพื้นที่อื่นๆในจังหวัดพัทลุง 4.คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจ ปัญหา อุสรรค และแนวทางการแก้ปัญหา 5.คณะทำงานสามารถสรุปผลการดำเนินการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.คณะทำงานสามารถนำเสนอผลการดำเนินงาน และผลสัมฤทธิ์ในโครงการ