directions_run

โครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งบ้านคลองขุด จ.พัทลุง

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นเลให้สมบูรณ์ด้วยเขตอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งบ้านคลองขุด จ.พัทลุง
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดพัทลุง
รหัสโครงการ ุ65-00232-0030
วันที่อนุมัติ 25 พฤษภาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 102,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มอนุรักษ์บ้านคลองขุด
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสมนึก ชุมประยูร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาว เบญจวรรณ เพ็งหนู
พื้นที่ดำเนินการ บ้านคลองขุด ม.8 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 1 พ.ค. 2565 30 ก.ย. 2565 40,800.00
2 1 ต.ค. 2565 31 มี.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ส.ค. 2566 51,000.00
3 1 เม.ย. 2566 30 เม.ย. 2567 10,200.00
รวมงบประมาณ 102,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ทะเลสาบสงขลาตอนกลางเป็นพื้นที่หนึ่งของทะเลสาบสงขลา อยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดพัทลุง มีพื้นที่โดยรวม 1,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งอยู่ในเขตจังหวัดพัทลุง 4 อำเภอ ได้แก่ อำเภอปากพะยุน อำเภอบางแก้ว อำเภอเขาชัยสนและ อำเภอเมืองพัทลุง โดยมีประชากรที่ใช้ฐานทรัพยากรในทะเลสาบสงขลาเป็นอาชีพและรายได้หลักจากการทำประมงในพื้นที่ดังกล่าวจำนวน 2,800 - 3,000 ครัวเรือน มีเรือที่ใช้ในการทำประมง จำนวน 2,310 ลำ ชาวประมงจับสัตว์น้ำมีรายได้เฉลี่ยวันละ 300- 500 บาท (ฐานข้อมูลชาวประมงที่พื้นที่ทะเลสาบสงขลา, สมาคมรักษ์ทะเลไทย สิงหาคม 2562) จากข้อมูลดังกล่าวจะเห็นว่า จากจำนวนประชากรที่ใช้ทะเลสาบเป็นแหล่งรายได้หลักในการประกอบอาชีพ ส่งผลให้มีการใช้ทรัพยากรที่ขาดการบริหารจัดการที่เป็นระบบ มีการใช้เครื่องมือประมงที่ผิดกฎหมาย เช่น ไซหนอน โพงพาง อวนล้อม การวางยาเบื่อ ตลอดถึงการใช้อวนตาถี่จับสัตว์น้ำต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตร ฯลฯ อีกทั้งสาเหตุที่มาจากระบบนิเวศที่ทีมีความเปลี่ยนแปลง เกิดมลพิษน้ำเสีย นอกจากนั้นมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายที่ขาดความเข้มข้นไม่จริงจังรวมถึงการบูรณาการจากภาคีความร่วมมือจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องไม่เป็นระบบขาดความต่อเนื่องในเชิงยุทธศาสตร์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบและระดับนโยบายของจังหวัด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญที่ทำให้ทรัพยากรสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลาลดจำนวนลงอย่างเห็นได้ชัด อย่างไรก็ตามในช่วงปี 2558 – 2564 ได้มีการรวมตัวของชุมชนประมงได้ร่วมคิดหารูปแบบสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเกี่ยวข้องในการฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของทะเลสาบในพื้นที่เขตอำเภอปากพะยูน เช่น ชุมชนบ้านช่องฟืน ชุมชนบ้านบางขวน ชุมชนบ้านแหลมไก่ผู้ ฯลฯ ในอำเภอบางแก้วในรูปแบบการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนที่ร่วมออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับพื้นที่ ทั้งการทำเขตอนุรักษ์ การสร้างบ้านปลา การร่วมกำหนดระเบียบกติกาข้อตกลง การมีอาสาสมัครในการออกตรวจตราดูแลเขต การจัดทำข้อมูลองค์ความรู้ตลอดถึงการรวมกลุ่มจัดการผลผลิตสัตว์น้ำแปรรูปพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสร้างรายได้กับสมาชิกในชุมชน ภายใต้มาตรฐานอาหารทะเลปลอดภัย ‘บลูแบลนด์” ซึ่งเป็นชุมชนประมงต้นแบบที่มีการขับเคลื่อนกิจกรรมในการฟื้นฟูทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นทั้งชนิดและปริมาณ รวมถึงรายได้จากการทำประมง เฉลี่ยวันละ 800 -1,500 บาท จนเป็นพื้นที่รูปธรรมและเป็นต้นแบบที่ชุมชนประมงในพื้นที่เครือข่ายยอมรับและมีความต้องการนำมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนของชุมชนตัวเองเพื่อฟื้นความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์น้ำตลอดถึงการเกิดหลักประกันความมั่นคงทางด้านอาหารทะเลที่ปลอดภัย อาชีพประมงที่ยั่งยืนและชุมชนเข้มแข็ง บ้านคลองขุด หมู่ที่ 8 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง เป็นหมู่บ้านที่อยู่ติดชายฝั่งในพื้นที่ทะเลสาบสงขลาตอนกลาง มีพื้นที่หมู่บ้านทั้งหมด 4,319 ไร่ มีพื้นที่แนวชายฝั่งระยะทาง 1,700 เมตร และมีอาณาเขตติดต่อของหมู่บ้าน ดังนี้ - ทิศเหนือติดต่อกับบ้านปากหวะ หมู่ที่ 10 ตำบลลำปำ อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง
- ทิศใต้ติดต่อกับบ้านแหลมดิน หมู่ที่ 6 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
- ทิศตะวันตกติดต่อกับบ้านทอนโดน หมู่ที่ 9 ตำบลหานโพธิ์ อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
- ทิศตะวันออกติดต่อกับทะเลสาบสงขลา
บ้านคลองขุด มีครัวเรือนทั้งหมด 207 ครัวเรือน มีประชากรทั้งหมด 715 คน อาชีพหลักของคนในหมู่บ้าน คือ การทำสวนควบคู่กับการทำประมง มีชาวบ้านทำการประมงทั้งหมด 42 ครัวเรือน มีเรือที่ใช้สำหรับทำการประมงทั้งหมด 48 ลำ มีรายได้เฉลี่ยจากการทำประมงแต่ละวัน 300 – 500 บาท สัตว์น้ำที่จับได้โดยส่วนใหญ่เป็นปลาหัวโหม้ง ปลาลำปำ ปลาชะโด ปลานิล กุ้งก้ามกราม และในบางช่วงที่จับสัตว์น้ำได้ปริมาณมาก ขายได้ราคาถูก สมาชิกในชุมชนได้มีการแปรรูป เช่น ทำปลาเค็มแดดเดียว ขายในราคากิโลกรัมละ 100 บาท เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มสัตว์น้ำ เสริมรายได้ให้กับสมาชิกในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย แต่ยังเป็นลักษณะต่างคนต่างทำ จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้ชาวบ้านส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ซึ่งในผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นส่งผลทำให้ชาวบ้านส่วนหนึ่งประสบปัญหาการว่างงานตามมา เมื่อว่างงานชาวบ้านจึงได้หันมาทำการประมงเพิ่มขึ้น มีเรือและเครื่องมือในการจับสัตว์น้ำเพิ่มขึ้น ส่งผลทำให้สัตว์น้ำมีปริมาณไม่เพียงพอ บ้านคลองขุดจึงมีความจำเป็นที่จะต้องขยายเขตอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง (ซึ่งเดิอมีอยู่แล้ว เป็นเขตชั้น 1 จำนวน 340 ไร่ )ซึ่งห้ามทำการประมงทุกชนิด และจะขยายเขตเป้นชั้นที่ 2 ต่อเนื่อจากเขตชั้นที่ 1  ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งธนาคารสัตว์น้ำของชุมชนในการขยายและเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำเพื่อให้มีเพียงอเเพียงพอต่อชาวประมงที่ทำการประมงเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นยังมีการประมงผิดกฎหมาย เช่น ใช้อวนล้อมจับ และใช้อวนตาถี่ขนาดต่ำกว่า 2.5 เซนติเมตรในการทำประมง ทางหมู่บ้านจึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการแก้ไขและป้องกันปัญหาดังกล่าว     ทางสมาชิกในหมู่บ้านเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหา โดยใช้วิธีการประชุมคณะกรรมการหมู่บ้านและใช้เวทีประชุมประจำเดือนของหมู่บ้านเพื่อหารือในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการกำหนดการขยายแนวเขตอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งขึ้นในบริเวณชายฝั่งบ้านคลองขุด ซึ่งในปัจจุบันมีเนื้อที่เขตอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งบ้านคลองขุดอยู่แล้วประมาณ 340 ไร่ (ชายฝั่งกว้างประมาณ 700 เมตร ชายฝั่งยาวลงไปในทะเลประมาณ 800 เมตร) ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ห้ามใช้เครื่องมือทุกชนิดในการจับสัตว์น้ำ และมีเป้าหมายจะขยายเขตดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 270 ไร่ (จากเดิมชายฝั่งกว้าง 700 เมตร ขยายเป็นกว้าง 1,100 เมตร และจากเดิมชายฝั่งยาวลงไปในทะเล 800 เมตร ขยายเป็นยาว 900 เมตร) โดยพื้นที่ที่จะขยายนี้ จะทำเป็นเขตไข่ขาวที่ห้ามใช้เครื่องมือประมงบางชนิด เช่น เบ็ดกระชาก อวนล้อม และเครื่องมือที่ผิดกฎหมายทุกชนิด โดยบริเวณที่เลือกใช้เป็นเขตอนุรักษ์นั้นค่อนข้างมีระบบนิเวศอุดมสมบูรณ์ มีพืชพรรณต่าง ๆ เช่น สายบัว ผักกระเฉด สาหร่ายหางกระรอก ต้นราโพธิ์ ฯลฯ และมีลักษณะเป็นอ่าวกำบังลม เหมาะแก่การเจริญเติบโตและขยายพันธุ์ของสัตว์น้ำขนาดเล็กและตัวอ่อน จากการประชุมร่วมกันหาแนวทางในการแก้ปัญหาดังกล่าว ทำให้มีการรวมกลุ่มกันของคณะทำงานซึ่งมีทั้งสมาชิกเดิมและสมาชิกใหม่เข้ามาร่วมด้วย ชาวประมงได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะทำงานในการฟื้นฟูทะเลสาบให้สมบูรณ์และยั่งยืนตลอดไป โดยได้มีการทำความเข้าใจกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งและเพื่อเพิ่มพันธุ์สัตว์น้ำ เช่น กิจกรรมปรับปรุงซ่อมแซมบ้านปลาและขยายแนวเขตอนุรักษ์ การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ การทำข้อมูลเรือประมง รายได้ ทบทวนและปรับปรุงกฎกติกา และทบทวนบทบาทหน้าที่ของกลุ่มประมงอาสาเพื่อทำหน้าที่ดูแลเขตอนุรักษ์ โดยในแต่ละกิจกรรมต้องมีการร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ท้องถิ่น ท้องที่ หน่วยงานกรมประมง ตลอดถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันฟื้นฟูทะเลสาบให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาชีพ แหล่งรายได้ และแหล่งอาหารทะเลที่มีคุณภาพและปลอดภัยภายใต้ความร่วมมือก่อให้เกิดพลังที่เข้มแข็งของชุมชนในการจัดการตัวเองเพื่อให้ทะเลหน้าบ้านมีความอุดมสมบูรณ์มีอาชีพประมงที่ยั่งยืน       จากการดำเนินกิจกรรม ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการจะทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากร มีพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ทำให้ชาวประมงจับสัตว์น้ำได้มากขึ้น รายได้ของชาวประมงเพิ่มมากขึ้น และมีแหล่งอาหารทะเลที่ปลอดภัยและเพียงพอต่อผู้บริโภค ซึ่งสอดคล้องกับ เป้าหมาย ทิศทาง ยุทศาสตร์การดำเนินงาน 10 ปี ของ สสส. ที่ให้เกิดการกระจายโอกาสการทำงานร่วมกันของชุมชนและภาคีต่าง ๆ อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งและเกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะและเป็นประเด็นอันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของจังหวัดพัทลุง ว่าด้วย “พัทลุงสีเขียว คนมีคุณภาพชีวิตที่ดี” (Phatthalung Green City) ซึ่งเป็นเป้าหมายภาพรวมของจังหวัดและความต้องการของคนพัทลุง

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เกิดกลไกที่เข้มแข็งทำงานร่วมกันในการรักษาทะเลสาบ

1.  มีคณะทำงานที่มีทั้งผู้นำชุมชน ชาวประมง หน่วยงานรัฐ หน่วยงานท้องถิ่นเข้ามาร่วมเป็นคณะทำงาน 2. ผู้นำท้องที่ท้องถิ่นเป็นแกนนำในคณะทำงาน .3. คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาแบบมีส่วนร่วม 4. มีข้อมูลเกี่ยวกับทะเลสาบสงขลาตอนกลางในทุกมิติ (จำนวนเรือ ชนิดสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำที่จับได้ ปฏิทินสัตว์น้ำ เครื่องมือประมง พฤติกรรมการหาปลาของชาวประมง รายได้จากการทำอาชีพประมง)

0.00
2 เพื่อให้เกิดมาตรการชุมชนและการเฝ้าระวังการดำเนินการตามกติกาชุมชนที่เข้มแข็ง

2.1 มีกติกาเขตอนุรักษ์แบบมีส่วนร่วมจากชาวประมง คนในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (แนวเขต เครื่องมือการจับ ช่วงเวลาในการจับ ข้อห้าม บทลงโทษ) 2. มีประมงอาสาไม่ต่ำกว่า 15 คน 3.มีเครือข่ายประมงอาสาที่เป็นที่ยอมรับของคนในชุมชน 4. มีกองทุนประมงอาสา 5. เกิดธรรมนูญหมู่บ้านเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งในพื้นที่

0.00
3 เพื่อให้เกิดการปรับสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการฟื้นฟูทะเลสาบสงขลาตอนกลาง
  1. มีการยายพื้นที่เขตอนุรักษ์ให้เพิ่มขึ้นประมาณ 270 ไร่ (จากเดิมชายฝั่งกว้าง 700 เมตร ขยายเป็นกว้าง 1,100 เมตร และจากเดิมชายฝั่งยาวลงไปในทะเล 800 เมตร ขยายเป็นยาว 900 เมตร)
    2 มีการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านปลาจำนวน 6 หลัง
  2. มีการปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำไม่น้อยกว่า 1 ครั้งต่อปี ครั้งละไม่น้อยกว่า 100,000 ตัว
  3. ชาวประมงปฏิบัติตามกฎกติกา
  4. จำนวนเครื่องมือประมงผิดกฎหมายลดลง
0.00
4 เพื่อให้นิเวศทะเลสาบสงขลาตอนกลางได้รับการฟื้นฟูและมีสัตว์น้ำอุดมสมบูรณ์ขึ้น

4.1 จำนวนสัตว์น้ำที่จับได้เพิ่มขึ้นในแต่ละฤดูกาล 4.2 จำนวนพันธุ์สัตว์น้ำเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 5 ชนิด 4.3 รายได้จากการขายปลาสดเพิ่มขึ้น 4.4 รายได้จากการแปรรูปสัตว์น้ำเพื่อจำหน่ายเพิ่มขึ้น

0.00
5 เพื่อให้การบริหารจัดการโครงการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

คณะทำงานรู้บทบาทหน้าที่ สามรรถปฎิบัติงานภายไต้ความรับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินกิจกรรมตามแผนงานได้

0.00
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 80
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ชาวประมงพื้นบ้าน ในพื้นที 80 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
1 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการเดือนละ 1 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 4,500.00 5 1,875.00
14 พ.ค. 65 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือนพฤษภาคม 15 4,500.00 375.00
7 มิ.ย. 65 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือนมิถุนายน 15 0.00 375.00
7 ก.ค. 65 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือนกรกฎาคม 15 0.00 375.00
7 ส.ค. 65 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือนสิงหาคม 15 0.00 375.00
7 ก.ย. 65 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือนกันยายน 15 0.00 375.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 592 97,500.00 26 92,927.00
6 พ.ค. 65 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00
9 พ.ค. 65 ปฐมนิเทศผู้รับทุน 3 3,000.00 512.00
14 พ.ค. 65 เวทีพูดคุยทำความเข้าใจสถานการณ์ในเขตอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งบ้านคลองขุด (เวทีเปิดโครงการ) 80 13,200.00 9,820.00
14 พ.ค. 65 ค่าป้ายปลอดบุหรี่และแอลกอฮอล์ 0 1,000.00 1,000.00
15 พ.ค. 65 จัดทำข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำในพื้นที่ทะเลสาบบริเวณชายฝั่งบ้านคลองขุด 42 11,960.00 820.00
15 ก.ค. 65 เวทีคืนข้อมูลชนิดพันธุ์สัตว์น้ำ เครื่องมือและรายได้จากการจับสัตว์น้ำในพื้นที่ทะเลสาบบริเวณชายฝั่งบ้านคลองขุด 33 3,465.00 3,465.00
5 ส.ค. 65 การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง 10 1,300.00 990.00
15 ส.ค. 65 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 4 เดือนครั้ง ครั้งที่ 1 33 1,125.00 1,125.00
10 ก.ย. 65 เวทีทบทวนและปรับปรุงกฎกติกาเกี่ยวกับเขตอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งบ้านคลองขุด 50 7,000.00 7,000.00
5 ต.ค. 65 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือน ตุลาคม 15 0.00 375.00
5 พ.ย. 65 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือน พฤศจิกายน 15 0.00 375.00
15 ธ.ค. 65 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 4 เดือนครั้ง ครั้งที่ 2 33 1,125.00 825.00
15 ก.พ. 66 การปรับปรุงซ่อมแซมบ้านปลา 20 15,890.00 15,890.00
5 มี.ค. 66 เวทีทำความเข้าใจรูปแบบวิธีการจัดการผลผลิตสัตว์น้ำชุมชนและการสร้างมูลค่าเพิ่ม 20 1,900.00 1,900.00
5 เม.ย. 66 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือน เมษายน 15 0.00 375.00
15 เม.ย. 66 เวทีสรุปและติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) 4 เดือนครั้ง ครั้งที่ 3 33 1,125.00 825.00
5 พ.ค. 66 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือน พฤษภาคม 15 0.00 375.00
5 มิ.ย. 66 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือน มิถุนายน 15 0.00 375.00
5 ก.ค. 66 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือน กรกฎาคม 15 0.00 375.00
17 ก.ค. 66 การขยายแนวเขตอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งบ้านคลองขุด 20 14,290.00 14,290.00
25 ก.ค. 66 การศึกษาดูงานนอกสถานที่ (ชุมชนต้นแบบ เช่น การบริหารจัดการโครงการ/การดำเนินงาน) 15 6,450.00 6,450.00
30 ก.ค. 66 จัดทำข้อมูลชนิดพันธ์ุสัตว์น้ำ เครืองมือและรายได้จากการจัดสัตว์น้ำในพื้นที่ทะเลสาบบริเวณชายฝั่งบ้านคลองขุด ครั้งที่2 0 0.00 11,540.00
5 ส.ค. 66 เวทีประชุมคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนโครงการประจำเดือน สิงหาคม 15 0.00 375.00
28 ส.ค. 66 เวทีประชุมกลุ่มประมงอาสาเพื่อสรุปปัญหาของกลุ่มประมงอาสา และข้อเสนอแนะ 15 1,950.00 1,950.00
31 ส.ค. 66 เวทีปิดโครงการ 80 11,720.00 10,400.00
31 ส.ค. 66 ค่าบริการอินเตอร์เน็ต 0 1,000.00 1,000.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2565 14:32 น.