เวทีจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบฯ ข้อมูลโครงการย่อยฯ ระดับพื้นที่
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
สำนักงานสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยหน่วยจัดการระดับจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship Yala) ได้กำหนดจัดเวทีการจัดทำรายงานผลการดำเนินงานผ่านระบบฯ ปี 2566 ของโครงการย่อยฯ เพื่อช่วยให้การบันทึกการดำเนินงานและเอกสารสำคัญของโครงการย่อยฯ ระดับพื้นที่ มีความสะดวก รวดเร็วและสามารถเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้กับพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ณ สำนักวิทยบริการ ชั้น 4 ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผลผลิต คณะทำงานโครงการย่อยฯ ร่วมกิจกรรม จำนวน 3 คน
ผลลัพธ์ คณะทำงานโครงการย่อยฯ สามารถบันทึกข้อมูลรายละเอียดการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมาได้และ มีความรวดเร็วมากขึ้น ร้อยละ 90
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 750.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 750.00 | lock_open |
- เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ ปัญหาอุปสรรค โอกาสพัฒนา การดำเนินงานความปลอดภัยทางถนนระดับตำบล
นายอำเภอรามันพร้อมกับส่วนราชการ
กล่าวรายงานโดย ปลัดอำเภองานป้องกัน
กล่าวเปิดกิจกรรมโดย นายอำเภอรามัน
บรรยากาศเปิดกิจกรรม
บรรยากาศเปิดกิจกรรม
เป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรม
บรรยากาศเรียนรู้ชมนิทรรศการของหน่วยงาน
บรรยากาศเรียนรู้ชมนิทรรศการของหน่วยงาน
บรรยากาศเรียนรู้ชมนิทรรศการของหน่วยงาน
มอบป้ายสามภาษา ให้กับ อปท.
มอบสื่อการเรียนการสอน ให้กับ ครูผู้ดูแลเด็ก
บรรยากาศเรียนรู้ชมนิทรรศการของหน่วยงาน
บรรยากาศเรียนรู้ชมนิทรรศการของหน่วยงาน
บรรยากาศเรียนรู้ชมนิทรรศการของหน่วยงาน
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ศปถ.อ.รามัน กำหนดจัดกิจกรรมติดตามเสริมพลัง การดำเนินงาน ศปถ.ตำบล (เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ วิเคราะห์ ปัญหาอุปสรรค โอกาสพัฒนา การดำเนินงานความปลอดภัยทางถนนระดับตำบล) ณ อาคารอเนกประสงค์องค์การบริหารส่วนตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตั้งแต่เวลา 09.00 น. - 14.00 น. โดยได้เชิญภาคีเครือข่าย ดังนี้ 1. หน่วยจัดการ Node Flagship yala 2. สำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา 3. สาธารณสุขอำเภอรามัน 4. รพ.สต.โกตาบารู 5. ร้อย ทพ.4111 6. สภ.โกตาบารู 7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง 8. ครูผู้ดูแลเด็กศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 17 แห่ง 9. อปพร. 10. สมาชิก อส. 11. นักเรียนโรงเรียนบ้านยือโร๊ะ 12. นักเรียนโรงเรียนบ้านบาโงย 13. นักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 14. โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยา ต.โกตาบารู 15. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รายละเอียดกิจกรรม เปิดพิธีโดย นายจรูญศักดิ์ หมาดเท่ง นายอำเภอรามัน กล่าวรายงานโดย นายอุสมาน ซาและ ปลัดอำเภองานป้องกัน และมอบป้ายสื่อการเรียน การสอน จักรยาน กรวยให้กับครูผู้ดูแลเด็ก จำนวน 17 แห่ง พร้อมทั้งให้เด็กเล็กสาธิตการขับขี่บนสื่อการเรียนการสอนดังกล่าว และมอบป้ายสามภาษา " ชาวรามัน ใช้รถใช้ถนนปลอดภัย อุ่นใจ ทุกการขับขี่ โดยได้รับงบประมาณจาก แผนงานสนับสนุนการป้องกัน อุบัติเหตุจราจร ระดับจังหวัด (สอจร.)
และแบ่งกลุ่ม เพื่อเรียนรู้บูธนิทรรศการของหน่วยงาน จำนวน 6 หน่วย ดังนี้ ขนส่งจังหวัดยะลา ให้ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติขนส่งทางบก สัญลักษณ์การจราจร การขับขี่ปลอดภัย
โรงพยาบาลรามัน ให้ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการให้ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ
สาธารณสุขอำเภอรามันและ รพ.สต.โกตาบารู ให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน
สถานีตำรวจภูธรโกตาบารูให้ความรู้เรื่องวินัยจราจรและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
หน่วยกู้ชีพอิควะห์รามันให้ความรู้เรื่องการช่วยเหลือผู้ประสบเหตุเบื้องต้น
โรงเรียนศรีฟารีดาบารูวิทยาให้ความรู้เรื่องกระบวนการบริหารจัดการลดอุบัติเหตุทางถนนในโรงเรียนแก่บุคลากรและนักเรียน
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผลสรุปที่ได้รับการดำเนินการจัดกิจกรรม (วัดจากการถามตอบ)
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 90 คน ได้เสริมพลังในเรื่องการดำเนินงานความปลอดภัยทางถนน เพื่อเป็นแรงกระตุ้นหรือพลักดันให้การขับเคลื่อนงานด้านป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน และได้รับความรู้ ดังนี้
ศปถ.ตำบลมีความรู้เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติขนส่งทางบก สัญลักษณ์การจราจร การขับขี่ปลอดภัย ร้อยละ 80
มีความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลและช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุในเบื้องต้น ได้อย่างถูกต้อง ร้อยละ 80
เกิดทักษะการป้องกันการลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน ร้อยละ 100
มีการปฏิบัติตามกฎวินัยจราจรและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 90
บุคลากรและนักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้การลดอุบัติเหตุทางถนนในโรงเรียน ร้อยละ 90
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
3,600.00 | 0.00 | 11,700.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 15,300.00 | lock_open |
ติดตามประเมินการดำเนินงาน ศปถ. ARE 1
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ศปถ.อ.รามัน กำหนดจัดกิจกรรมติดตามประเมินการดำเนินงาน ศปถ. ARE ๑ ณ ห้องประชุมช้างเผือก ชั้น ๒ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตั้งแต่เวลา 13.30 - 16.30 น. โดยได้เชิญภาคีเครือข่าย ดังนี้ 1. สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยะลา 2.แขวงทางหลวงยะลา 3. หน่วยจัดการ Node Flagship yala 4. สถานีตำรวจภูธรรามัน 5. โรงพยาบาลรามัน 6. สาธารณสุขอำเภอรามัน 7. ฉก.ทพ.41 8. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง 9. รพ.สต.โกตาบารู 10. สถานีตำรวจภูธรจะกว๊ะ 11. หมวดทางหลวงรามัน 12. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รายละเอียดกิจกรรม ประธานกิจกรรมครั้งนี้โดย นายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และ ศปถ.อ.รามัน นำเสนอผลการดำเนินงานและจุดเสี่ยงถนนสายรามัน - ตะโล๊ะหะลอ เนื่องจากเกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง เพื่อดำเนินการแก้ไขถนนดังกล่าว
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผลผลิต ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งหมด 67 คน
ผลลัพธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีข้อสั่งการให้ แขวงทางหลวงยะลา ดำเนินการแก้ไขถนนสายรามัน - ตะโล๊ะหะลอ โดยการติดตั้งป้ายเตือน แบริเออร์ เส้นชะลอความเร็ว และไฟกระพริบต่างๆ แขวงทางหลวงยะลา รับทราบข้อสั่งการ
ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม ช่วงประมาณ 1 เดือน แขวงทางหลวงยะลาได้ดำเนินการติดตั้งป้ายเตือน แบริเออร์ เส้นชะลอความเร็ว บริเวณถนนสายรามัน - ตะโล๊ะหะลอ
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 2,010.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 2,010.00 | lock_open |
เวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ระดับหน่วยจัดการ ครั้งที่ 2
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
สำนักงานสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยหน่วยจัดการระดับจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship Yala) ได้กำหนดจัดเวทีติดตามประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา ARE ครั้งที่ 2 เพื่อให้หนุนเสริมโครงการย่อยฯ เกิดผลลัพธ์ ความสำเร็จตามแผนงานโครงการ ณ ห้องประชุมแกรนด์พาเลส จังหวัดยะลา ตั้งแต่เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผลผลิต คณะทำงานโครงการย่อยฯ จำนวน 2 คน 1.นายไบหากี เตะมะแอ 2. นายอัฟนัน ฆานิเซ็ง ผลลัพธ์ ได้รับความรู้จากการนำเสนอผลการดำเนินโครงการของโครงการย่อยฯแต่ละโครงการ และได้ร่วมวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานของแต่ละโครงการ ทำให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาโครงการของตนต่อไป
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 560.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 560.00 | lock_open |
- ครั้งที่ 4 ประชุมเพื่อสรุปผลการดำเนินงานโครงการ
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
คปถ.อ.รามัน เชิญประชุมคณะทำงาน มีวาระ ดังนี้ 1. การประเมินและสรุปผลการดำเนินโครงการ 2. การขอขยายเวลา การดำเนินกิจกรรม 3. การการดำเนินโครงการที่ยังไม่แล้วเสร็จ 4. การทำแผนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการลดอุบัติเหตุทางถนนในพืนที่อำเภอรามัน (สำหรับแผนต่อไป)
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
คณะทำงานมีมติการประชุม ดังนี้ 1. สรุปกิจกรรมที่สามารถดำเนินการในห้วงต่อไป ให้รีบดำเนินการทันที 2. สำหรับโครงการและกิจกรรมที่ยังไม่แล้วเสร็จ สามารถขอขยายเวลาการทำกิจกรรมได้ 3. อำเภอรามันและสาธารณสุขอำเภอรามัน จัดทำแผนการดำเนินโครงการเกี่ยวกับการลดอุบัติเหตุทางถนนในพืนที่อำเภอรามัน
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 500.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 500.00 | lock_open |
ป้ายปลอดบุหรี่
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ปิดป้ายประกาศห้ามสูบบุหรี่สถานที่ราชการ
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ไม่มีคนสูบบุหรี่ตามที่ปิดป้ายประกาศ
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 700.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 700.00 | lock_open |
- ครั้งที่ 3 สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 2 ทบทวนกรณีอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
แจ้งคณะทำงานร่วมประชุม วัน เวลา ดังกล่าว สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน พร้อมทั้งร่วมหารือ วิเคราะห์ การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุที่ผ่านมาและพิจารณาแนวทางการรณรงค์กรณีการสวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย การขับเคลื่อนการใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ และหาแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในการลดความรุนแรงของปัญหาจากการเกิดอุบัติเหตุทางถนนในอำเภอรามัน
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
- คณะทำงาน รับรู้การดำเนินการด้านการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน มีกิจกรรมที่ต้องดำเนินการ
- วิเคราะห์ การเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่อำเภอรามัน ดังนี้ 2.1 กรณีที่สะพานแม่น้ำสายบุรี ต.ตะโล๊ะหะลอ คือ คอสะพานต่างระดับ 2.2 ถนนลื่น เกิดจากน้ำที่ขนทราย 2.3 หลับใน ขณะขับขี่ 2.4 การขับขี่มีความเร็ว ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย และไม่สวมหมวกนิรภัย
- เสนอแนวทางการณรงค์การสวมหมวกนิรภัย การคาดเข็มขัดนิรภัยและการใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ ดังนี้ 3.1 ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำร่องดำเนินการสวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย เมื่อเข้า - ออก ในองค์กรของตน 3.2 ติดตั้งป้ายรณรงค์การสวมหมวกนิรภัยและคาดเข็มขัดนิรภัย และการขับเคลื่อนการใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 500.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 500.00 | lock_open |
ป้ายชื่อโครงการ
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
สั่งทำป้ายไวนิล เพื่อติดตั้งในการจัดกิจกรรมย่อยของโครงการและในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ประชาสัมพันธ์ป้ายโครงการฯให้ผู้เข้าร่วมโครงการรับทราบ
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 300.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 300.00 | lock_open |
- ไวนิล โรลอับสื่อประชาสัมพันธ์ และแผ่นพับ รณรงค์อุบัติเหตุ ช่วงเทศกาล ปีใหม่ 2566 และเทศกาลสงกรานต์ ปี 2566
สแตนอินอุบัติเหตุ
สแตนอินอุบัติเหตุ
แผ่นพับรณรงค์อุบัติเหตุ
แผ่นพับรณรงค์อุบัติเหตุ
แจกจ่ายให้ ศปถ.อปท.
แจกจ่ายให้ ศปถ.อปท.
แผ่นพับรณรงค์อุบัติเหตุ
แผ่นพับรณรงค์อุบัติเหตุ
แผ่นพับรณรงค์อุบัติเหตุ
ติดตั้งสแตนอิน
ติดตั้งสแตนอิน
ไวนิลรณรงค์
ติดตั้งจุดตรวจหน้า รพ.สต.โกตาบารู
ติดตั้งจุดตรวจหน้า สภ.รามัน
แจกแผ่นพับรณรงค์อุบัติเหตุ
แจกแผ่นพับรณรงค์อุบัติเหตุ
แจกแผ่นพับรณรงค์อุบัติเหตุ
แจกแผ่นพับรณรงค์อุบัติเหตุ
แจกแผ่นพับรณรงค์อุบัติเหตุ
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ศปถ.อ.รามัน กำหนดจัดกิจกรรมชีวิตวีถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ ณ หน้าสถานีตำรวจภูธรรามัน ตั้งแต่เวลา 13.30 - 15.30 น. โดยได้เชิญภาคีเครือข่ายมาร่วมกิจกรรม ดังนี้ 1. สภ.รามัน 2. ร้อย ทพ. 4104 3. โรงพยาบาลรามัน 4. สาธารณสุขอำเภอรามัน 5. เทศบาลเมืองรามันห์ 6. อปพร. 7. อสม. 8. สมาชิก อส. 9. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รายละเอียดกิจกรรม กล่าวรายงานโดย นายยืนยง คิดถูก ปลัดอาวุโสอำเภอรามัน ประธานเปิดกิจกรรมโดย นายธีรุตม์ ศุภวิบูลย์ผล รองผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา และมอบของเยี่ยมให้กับเจ้าหน้าที่ประจำจุดตรวจ รณรงค์การสวมหมวกนิรภัย และแจกจ่ายแผ่นพับ สแตนอินและไวนิล รณรงค์การป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนจัดตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด ช่วงเทศกาลปีใหม่ ให้ประชาชนที่สัญจรที่ได้รับทราบ และรณรงค์การขับขี่รถจักรยานยนต์โดยการสวมหมวกนิรภัย 100%กำหนด
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100 คน
ผลลัพธ์ ประชาชนที่สัญจรได้รับแผ่นพับการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนทำให้รับรู้และตระหนักในการขับขี่รถให้มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 27,200.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 27,200.00 | lock_open |
อบรมการช่วยเหลือผุ้ประสบอุบัติเหตุทางถนนให้กับประชาชนในพื้นที่ จำนวน 90 คน
ปลัดอำเภอกล่าวรายงาน
นายอำเภอรามันเปิดกิจกรรม
ประธานและผู้เข้าร่วมกิจกรรม
หน่วยกู้ชีพอิควะห์รามันบรรยาย
โรงพยาบาลรามันบรรยาย
สาธิตวิธีการจับงู
บรรยากาศการอบรม CPR
บรรยากาศการอบรม CPR
บรรยากาศการอบรม CPR
บรรยากาศการอบรม CPR
บรรยากาศการอบรม CPR
บรรยากาศการอบรม CPR
บรรยากาศการอบรม
บรรยากาศการอบรม
บรรยากาศการอบรม
มอบของรางวัลให้ผู้ที่ตอบคำถาม
ร่วมถ่ายภาพกับผู้เข้าอบรม
ร่วมถ่ายภาพกับผู้เข้าอบรม
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ศปถ.อ.รามัน กำหนดจัดกิจกรรม อบรมการช่วยเหลือผุ้ประสบอุบัติเหตุทางถนนให้กับประชาชนในพื้นที่ จำนวน 90 คน ณ ให้หอประชุมพระเศวตสุรคชาธาร ที่ว่าการอำเภอรามัน จังหวัดยะลา ตั้งแต่เวลา 08.00 - 14.00 น. โดยมีภาคีเครือข่ายดังนี้ 1. หน่วยจัดการ Node Flagship yala 2. โรงพยาบาลรามัน 3. สาธารณสุขอำเภอรามัน 4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 17 แห่ง 5. อปพร. 6. สมาชิก อส. 7. อสม. 8. หน่วยกู้ชีพอิควะห์รามัน 9. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รายละเอียดกิจกรรม กล่าวเปิดกิจกรรมโดย นายเอกณัฎฐ์ สังขพันธ์ นายอำเภอรามัน และกล่าวรายงานโดย นายอุสมาน ซาและ ปลัดอำเภองานป้องกัน
และมอบเวทีให้วิทยากรจากโรงพยาบาลรามันและหน่วยกู้ชีพอิควะห์รามันอบรมให้ความรู้การช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุทางถนน และได้แบ่งกลุ่มเป็น 4 กลุ่ม เพื่อแยกไปเรียนรู้และปฏิบัติจริง ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ให้ความรู้หลักการช่วยชีวิต ลดความรุนแรงการบาดเจ็บของผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ กลุ่มที่ 2 ให้ความรู้พื้นฐานในการปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิต กลุ่มที่ 3 ให้ความรู้หลักการและวิธีในการปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ชีพขั้นพื้นฐาน กลุ่มที่ 3 ให้ความรู้ในการวิธีการจับงู เมื่อเข้าในบ้านกำหนด
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผลผลิต มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม 90 คน ผลลัพธ์ (วัดจากการถามตอบ) ร้อยละ 80 ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความรู้ มีทักษะการช่วยชีวิต ลดความรุนแรงการบาดเจ็บของผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิต การปฏิบัติการช่วยเหลือกู้ชีพขั้นพื้นฐาน วิธีการจับงู เมื่อเข้าในบ้าน
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
3,600.00 | 0.00 | 9,000.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 12,600.00 | lock_open |
เวทีการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
เรียนรู้และพัฒนาการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ (คลิป) ให้กับคณะทำงานโครงการย่อยฯ ระดับพื้นที่ยุทธศาสตร์เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของพื้นที่ และมุ่งให้เป็นการขยายผลลัพธ์ให้กระจายเป็นวงกว้าง
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
แกนนำผู้รับผิดโครงการย่อยได้แก่ 1. นายไบหากี เตะมะแอ 2. นายซัดดัม บีรู 3. นายซุลกิพลี เลาะแมปาตา แกนนำสามารถทำสื่อประชาสัมพันธ์ (คลิป) ได้โดยใช้แอพพลิเคชั่น CAPCUT ในการตัดต่อคลิปวิดีโอ
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 870.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 870.00 | lock_open |
เวทีปฐมนิเทศโครงการย่อยฯ ปี 2565
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
สำนักงานสร้างสรรค์โอกาส (สำนัก 6) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ โดยหน่วยจัดการระดับจุดเน้นสำคัญ (Node Flagship Yala) ได้กำหนดจัดประชุมเวทีปฐมนิเทศและจัดทำข้อสัญญาโครงการย่อยฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเริ่มต้นการขับเคลื่อนงานของพื้นที่ต่อไป ณ ห้องประชุมราชาวดี ชั้น 2 อาคารศรีฟ้า 3 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา ตั้งแต่เวลา 08.30 - 16.00 น.
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผลผลิต คณะทำงานโครงการย่อยฯ จำนวน 2 คน ผลลัพธ์ 1.แกนนำเข้าใจเจตนารมณ์การขับเคลื่อนประเด็นยุทธศาสตร์ระดับจังหวัด ร้อยละ 80 2.แกนนำเรียนรู้และเข้าใจการบันทึกข้อมูลในระบบ ร้อยละ 90 3.แกนนำสามารถขับเคลื่อนงานประเด็นลดอุบัติเหตุทางถนนได้ ร้อยละ 90
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 440.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 440.00 | lock_open |
เวทีพัฒนาศักยภาพโครงการย่อยฯ (การจัดการข้อมูล)
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
พัฒนาศักยภาพและผลลัพธ์ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมวังแก้ว โรงแรมแกรนด์พาเลซยะลา ในหัวข้อเรื่องของการคีย์บันทึกรายงานผลลัพธ์และการจัดการการเงินที่ได้ดำเนินการ เพื่อเรียนและได้ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพื่อเตรียมการเบิกงบประมาณงวดในงวดที่ 2 ตามแผนต่อไป
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผลผลิต คณะทำงานโครงการย่อยฯ เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 2 คน ผลลัพธ์ สามารถการคีย์บันทึกรายงานผลลัพธ์และการจัดการการเงินที่ได้ดำเนินการ มีความเข้าใจและดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนเพื่อเตรียมการเบิกงบประมาณงวดในงวดที่ 2 ตามแผนต่อไป
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 560.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 560.00 | lock_open |
- กิจกรรมฐานการเรียนรู้ความปลอดภัยทางถนน 5 ฐาน (การวิเคราะห์จุดเสี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน เครื่องหมายการจราจร สิทธิจาก พ.ร.บ. ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ )
ปลัดอาวุโสประธานพิธีเปิด
หัวหน้าส่วนเข้าร่วมกิจกรรม
ปลัด ปภ อ.รามัน กล่าวรายงาน
กลุ่มนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนเข้าร่วมอบรม
ปลัดอาวุโสพบปะกลุ่มนักเรียนและบุคลากร
กลุ่มนักเรียนผุ้เข้าร่วมโครงการ
ถ่ายรูปร่วมกัน
สำนักงานขนส่งมอบหมวกกันน็อกให้กับตัวแทนนักเรียน
ฐานการปฐมพยาบาล
ฐานช่วยชีวิตและฟื้นคืนชีพ
ฐานป้ายจราจร
ฐานป้ายจราจร
ฐานแจ้งเหตุและช่วยเหลือเบื้องต้น
ฐานแจ้งเหตุและช่วยเหลือเบื้องต้น
ฐานอิ่มท้องผ่อนคลายขับสบายๆ
ฐานกฏหมายจราจร
ฐานกฏหมายจราจร
ฐานการป้องกันอุบัติเหตุในชุมชน
สรุปกิจกรรมที่ได้ครั้งนี้
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ศปถ.อ.รามัน จัดกิจกรรมฐานการเรียนรู้ความปลอดภัยทางถนน 5 ฐาน (การวิเคราะห์จุดเสี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงในโรงเรียน เครื่องหมายการจราจร สิทธิจาก พ.ร.บ. ปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ) ณ โรงเรียนบ้านตะโละหะลอ ตั้งแต่เวลา 08.30 - 13.30 น. โดยมีภาคีเครือข่าย ดังนี้ 1. หน่วยจัดการ Node Flagship Yala 2. ขนส่งจังหวัดยะลา 3. โรงพยาบาลรามัน 4. สาธารณสุขอำเภอรามัน 5. สถานีตำรวจภูธรจะกว๊ะ 6. หน่วยกู้ชีพอิควะห์รามัน 7. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน 8. นายก อบต.ตะโละหะลอ 9. นักเรียนโรงเรียนบ้านตะโละหะลอ รายละเอียดกิจกรรม ประธานเปิดกิจกรรมโดย นายชัยวัฒน์ อินอ่อน ปลัดอาวุโสอำเภอรามัน และกล่าวรายงานโดย นายอุสมาน ซาและ ปลัดอำเภองานป้องกัน ได้ดำเนินการจัดแบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 5 กลุ่ม เพื่อให้เรียนรู้ตามฐานทืี่วิทยากร/หน่วยงาน ได้จัดทำไว้ ดังนี้ 1. สำนักงานขนส่งจังหวัดยะลา จะให้ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.การขนส่งเบื้องต้น สัญลักษณ์การจราจร และการขับขี่ปลอดภัย 2. โรงพยาบาลรามัน จะให้ความรู้เกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือเรียกว่า การทำ PCR 3. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอรามัน จะให้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน 4.สถานีตำรวจภูธรจะกว๊ะ จะให้ความรู้เกี่ยวกับจราจร และจิตอาสาจราจร 5.หน่วยกู้ชีพอิควะห์รามัน จะให้ความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการแจ้งเหตุ และช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ ณ สถานที่เกิดเหตุ
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผลผลิต ผู้เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 90 คน ผลลัพธ์ ข้อสรุปที่นักเรียนได้ฝึกอบรม (วัดจากการถามตอบ) ดังนี้ 1. ร้อยละ 90 นักเรียนได้ความรู้เกี่ยวกับ พรบ.การขนส่งเบื้องต้น สัญลักษณ์การจราจร และการขับขี่ปลอดภัย 2. ร้อยละ 80 นักเรียนสามารถปฏิบัติการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือเรียกว่า การทำ PCR 3. ร้อยละ 80 นักเรียนเกิดทักษะการป้องกันลดการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนน 4. ร้อยละ 90 นักเรียนได้ความรู้เกี่ยวกับจราจร และจิตอาสาจราจร 5. ร้อยละ 90 นักเรียนสามารถรู้วิธีการแจ้งเหตุ และช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุ ณ สถานที่เกิดเหตุได้
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
3,000.00 | 0.00 | 11,700.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 14,700.00 | lock_open |
ให้ความรู้แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางถนนกับผู้ประกอบการยางก้อนถ้วย
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ให้ความรู้แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางถนนกับผู้ประกอบการยางก้อนถ้วย โดยได้เชิญส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. นายอำเภอรามัน
2. นายอุสมาน ซาและ ปลัดอำเภอ (จพง.ปค.ชำนาญการ)
3. ว่าที่ร้อยตรีจุรินทร์ มะหมัด ปลัดอำเภอ (จพง.ปค.ปฏิบัติการ)
4. นางรอสือน๊ะ กะลูแป จนท.ปค.ชำนาญงาน
5. ผู้แทน สภ.รามัน
6. ผู้แทน สภ.โกตาบารู
7. ผู้แทน สภ.จะกว๊ะ
8. ผู้แทน สภ.ท่าธง
9. รพ.รามัน
10. สาธารณสุขอำเภอรามัน
11. บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ
12. คณะหน่วยจัดการ Node Flagship จังหวัดยะลา
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
สรุปการให้ความรู้แนวทางการเฝ้าระวังป้องกันอุบัติเหตุเนื่องจากสภาพแวดล้อมทางถนนกับผู้ประกอบการยางก้อนถ้วย ดังนี้ 1. สร้าง LINE กลุ่ม เพื่อติดตามการดำเนินงานผู้ประกอบการยางก้อนถ้วย 2. วางแผนจัดทำ MOU ระหว่างส่วนราชการกับผู้ประกอบยางก้อนถ้วย 3. สามารถเก็บข้อมูลขั้นตอนการลำเลียงยางก้อนถ้วย โดย รถยนต์ มอเตอร์ไซต์
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1,800.00 | 0.00 | 5,200.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 7,000.00 | lock_open |
- ครั้งที่ 2 สรุปข้อมูลการติดตามครั้งที่ 1 ทบทวนกรณีอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ติดตามการจัดโครงการฯ ครั้งล่าสุด ทบทวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในพื่นที่ ที่ผ่านมา แจ้งผลการดำเนินการ อปท. สำรวจจุดเสี่ยง/จัดตั้ง ศปถ.อปท หารือวางแผนวางแผนดำเนินกิจกรรมโครงการต่อไป
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
- สามารถรับรู้ สถิติ/จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่ เสียชีวิต 5 ราย จำนวนครั้ง 128 ครั้ง รถยนต์ 19 ครั้ง จักรยานยนต์ 84 จักรยาน 25 บาดเจ็บ 280 คน ชาย 165 หญิง 115 สวมหมวก สวมหมวกกันน็อก 26.15 % ไม่สวม 73.85% ขาดเข็มขัดนิรภัย 14.71% ไม่ขาด 85.29%
- คณะทำงานรับรู้ผลการติดตาม ที่ อปท.สำรวจจุดเสี่ยงในแต่ละพื้นที่
- คณะทำงานรับรู้การจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- วางแผนดำเนินกิจกรรมโครงการต่อไป
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 2,000.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 2,000.00 | lock_open |
- ครั้งที่ 1 ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน แบ่งบทบาทหน้าที่ พร้อมวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
เชิญคณะทำงาน ร่วมประชุมเพื่อมอบหมายแบ่งงานที่ชัดเจน โดยมีคณะทำงาน ดังนี้ 1. นายอุสมาน ซาและ ปลัดอำเภอ (จพง.ปค.ชำนาญการ) 2. ว่าที่ร้อยตรีจุรินทร์ มะหมัด ปลัดอำเภอ (จพง.ปค.ปฏิบัติการ) 3. นางรอสือน๊ะ กะลูแป จนท.ปค.ชำนาญงาน 4. ผู้แทน สภ.รามัน 5. ผู้แทน สภ.โกตาบารู 6. รพ.รามัน 7. สสอ.รามัน 8. หมวดทางหลวงรามัน 9. คณะหน่วยจัดการ Node Flagship ยะลา 10. หน่วยกู้ชีพอิควะห์รามัน
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ข้อสรุปจากการประชุมคณะทำงานโครงการ ดังนี้
1. ภาคีเครือข่าย เข้าใจโครงการ
1.1 สภ.รามัน
1.2 สภ.โกตาบารู
1.3 สภ.จะกว๊ะ
1.4 สภ.ท่าธง
1.5 รพ.รามัน
1.6 สสอ.รามัน
1.7 หมวดทางหลวงรามัน
1.8 หน่วยกู้ชีพอิควะห์รามัน
2. มีการแบ่งหน้าทีที่ชัดเจน
2.1 อำเภอรามัน วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูล ลงสอบสวน
2.2 รพ.รามัน + สสอ.รามัน รายงาน จำนวน สถิติ การเกิดอุบัติเหตุ
2.3 สถานีตำรวจ บังคับใช้กฎหมายในส่วนเกี่ยวข้อง
2.4 หมวดทางหลวงรามัน ดำเนินการแก้ไขเรื่องถนน
2.5 หน่วยกู้ชีพอิควะห์รามัน ประสานให้ความช่วยเหลือและรายงานเกิดอุบัติเหตุเบื้องต้น
3. วางแผนการดำเนินงานโครงการร่วมกัน
4. เกิดข้อเสนอ เชิงนโยบาย ในการป้องกันและลดอุบัติเหตุการปล่อยน้ำยางบนถนน โดยเชิญประชุมผู้ประกอบการขนส่งน้ำยาง
5. มีแผนการ choaching วิธีการป้องกันและลดอุบัติเหตุแก่ศูนย์ปฏิบัติการ (ศปก.) ตำบล
6. มีแผนการลงสอบสวน วิเคราะห์ กรณีการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่อำเภอรามัน
7. ทางหลวงรับปรับแก้จุดเสี่ยง (จุดเสี่ยงโกตาบารู หัวสะพานแม่น้ำสายบุรี เป็นต้น)
8. มีแผนจัดประชุม พูดคุย กับ จนท. เรื่อง พรบ.จราจรทางบก
9. เกิดอนุกรรมการ
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 1,000.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 1,000.00 | lock_open |
- อบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการจัดตั้ง ศปถ.ตำบล และแนวทางการดำเนินงานความปลอดภัยทางถนนระดับตำบล นำเสนอ ศปถ.ตำบล ต้นแบบ จากทีม ศปถ.ตำบลโกตาบารู
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
- ทำหนังสือเชิญ อปท. เข้าร่วมประชุม
- ทำหนังสือเชิญ รพ.รามัน สภ.รามัน สภ.โกตาบารู สภ.จะกว๊ะ สภ.ท่าธง หมวดทางหลวงรามัน บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ สาขายะลา ศปถ.ตำบลโกตาบารู และ คณะหน่วย Node Flagship จังหวัดยะลา
- ให้ อปท.รับรู้ถึงตำบลที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด
- อบรมเรื่องการจัดตั้ง ศปถ.อปท.
- นำเสนอ ศปถ.ต้นแบบ จากทีม ศปถ.ตำบลโกตาบารู
- สำรวจจุดเสี่ยงในพื้นที่
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
- ศปถ.อำเภอ เป็นพี่เลี้ยงหรือผู้ประสานงานให้ ศปถ.อปท.
- อปท. เห็นชอบในการจัดตั้ง ศปถ.อปท.
- อปท. ได้ดำเนินการสำรวจจุดเสี่ยงในพื้นที่
- อปท. สามารถรับรู้ตำบล/หมู่บ้าน ที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุด ตั้งแต่มกราคม - มิถุนายน 2565 ดังนี้ 1. ต.กายูบอเกาะ จำนวน 16 ครั้ง 2. ต.โกตาบารู จำนวน 14 ครั้ง 3. ต.ท่าธง จำนวน 14 ครั้ง 4. ต.ตะโล๊ะหะลอ จำนวน 13 ครั้ง 5. ต.เนินงาม จำนวน 11 ครั้ง 6. ต.อาซ่อง จำนวน 11 ครั้ง 7. ต.กาลูปัง จำนวน 9 ครั้ง 8. ต.บาลอ จำนวน 8 ครั้ง 9. ต.เกะรอ จำนวน 7 ครั้ง 10. ต.กอตอตือร๊ะ จำนวน 7 ครั้ง 11. ต.บือมัง จำนวน 7 ครั้ง 12. ต.จะกว๊ะ จำนวน 6 ครั้ง 13. ต.ยะต๊ะ จำนวน 6 ครั้ง 14. ต.วังพญา จำนวน 6 ครั้ง 15. ต.บาโงย จำนวน 5 ครั้ง 16. ต.กาลอ จำนวน 4 ครั้ง
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
3,600.00 | 0.00 | 11,700.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 15,300.00 | lock_open |