directions_run

โครงการความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤตข้าว ตำบลนาข้าวเสีย

แบบประเมินผลการดำเนินงาน (Performance/Product Evaluation)

 เป้าประสงค์หรือวัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด(Indicator)สถานการณ์เป้าหมายผลผลิต
(Output)
ผลลัพธ์
(Outcome)
ผลกระทบ
(Impact)
อธิบายข้อสังเกตที่สำคัญ
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล
ตัวชี้วัด : 1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่น นายกองค์การบริหารส่วน ตำบลนาข้าวเสีย. เจ้าหน้าที่เกษตรตำบล รพ.สต.นาข้าวเสีย รพ.สต.เกาะปุด กำนัน ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์๓ กลุ่ม ตัวแทนกลุ่ม ข้าวไร่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่ เช่น สภาองค์กรชุมชนตำบล ชมรม ผู้สูงอายุตำบลนาข้าวเสีย และภาควิชาการ โรงเรียนในพื้นที่ 3 โรงเรีน ศูนย์ พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 20 คน 1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณีข้าวใน ระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ ๘๐ 1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต โควิด ข้าวตรัง 1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบลครอบคลุม ข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าวจำนวนพื้นที่การผลิต ข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังของชุมชน และการ บริโภคข้าวตรังในตำบล 1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลดำเนินโครงการสร้างความมั่นคงทาง อาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังใน ตำบลและการร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย 1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน
1.00

1.คณะทำงานมีจำนวนและองค์ประกอบครบตามโครงการ 2.เกิดกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วม ทำงานเป็นระบบทีมงาน 3.กำหนดทิศทางการพัฒนาความมั่นคงทางอาหารในตำบลนาข้าวเสียได้

1.การทำงานแบบมีส่วนร่วมได้ข้อมูลเชิงสุขภาพที่สำคัญ ส่งผลให้เกิดการขยายผลไปสู่กิจกรรมอื่น ๆ เช่น การฟื้นฟูสุขภาพประชาชนภายในตำบล 2.มีหน่วยงานที่จะเข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มขึ้น 3.การเชื่อมโยงตลาดข้าวสู่ตลาดระดับจังหวัด

กลไกคณะทำงานมีผู้ประสานในระดับชุมชนที่มีความสามารถ ได้รับการยอมรับในชุมชน บวกกับผู้ประสานงานในโครงการมีความรู้ความเข้าใจ การสานพลังกัน 2 ส่วนนี้ทำให้เกิดความร่วมมือในระดับตำบลได้ดี

2 เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค
ตัวชี้วัด : 2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูกข้าวที่ มีอยู่เดิม 2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกในพื้นที่ 2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์ 2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง 2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภคเพิ่มขึ้น 2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล 2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับเครือข่าย ตำบลที่ดำเนินโครงการ
2.00

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในด้านการเพิ่มศักยภาพการผลิตทำให้โครงการรู้คุณภาพดินในตำบล สามารถวางแผนเพิ่มผลลิตในโอกาสต่อไปได้ วางแผนจัดการธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวในชุมชน สร้างทีมงาน gap ในระดับตำบลขึ้นมาใหม่ กำหนดแนวทางในการเก็บข้อมูลพื้นที่การผลิตเพื่อทราบพื้นที่ปลูกข้าวจากการรณรงค์ในโครงการให้ชัดเจนมากขึ้น

มีการพบว่าชุมชนมีศักยภาพจัดการพันธุ์ข้าวด้วยตนเอง มีการคัดเลือกพันธุ์ข้าวบางสายพันธุ์แล้วในตำบล เช่น ข้าวเบายอดม่วงขาว ข้าวช่อจังหวัดที่มีความนุ่มมากกว่าในอดีต สร้างการเรียนรู้ในระดับตำบลมากขึ้นกว่าเดิม

แกนนำโคงการมีเทคโนโลยีช่วยทำนา เช่น รถไถ รถดำนา ทำให้การส่งเสริมเป็นไปรวดเร็ว แต่มีปัญหากับสภาวะลานิญามี่ทำให้ฝนตกตลอดปีเป็นอุปสรรคตาการขยายพื้นที่ปลูกข้าวเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามชุมชนมีความตั้งใจสูงในการส่งเสริมการปลูกข้าวในปีถัดไป รวมถึงเตรัยมการจัดการนาปรังในรอบที่จะถึงนี้ด้วย

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย
ตัวชี้วัด : 3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข