directions_run

โครงการคนบางดีก้าวใหม่ ผลิตข้าวปลอดภัย สู่วิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนบางดีก้าวใหม่ ผลิตข้าวปลอดภัย สู่วิถีชีวิตใหม่ที่ยั่งยืน
ภายใต้องค์กร Node Flagship จังหวัดตรัง
รหัสโครงการ 65-00-0144-0025
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2565 - 30 กันยายน 2566
งบประมาณ 120,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มข้าวไร่ตำบลบางดี
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิโรจน์ ศรีสมจิตร
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 087-2739335
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสำราญ สมาธิ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบางดี อำเภอห้วยยอด จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 1 มิ.ย. 2565 30 ก.ย. 2565 48,000.00
2 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 1 ต.ค. 2565 31 ม.ค. 2566 60,000.00
3 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 1 ก.พ. 2566 30 ก.ย. 2566 12,000.00
รวมงบประมาณ 120,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตำบลบางดี มี 12 หมู่บ้าน พื้นที่ทั้งหมดของตำบล 74.63 ตร.กม. จำนวนประชากรปี 2565 มีจำนวน 9,594 คน ในอดีตการปลูกข้าวของตำบลบางดีมีทั้งการทำนาและทำไร่ แพร่กระจายขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ดอนหรือ พื้นที่สูง สำหรับการปลูกข้าวในอดีต ถ้าเป็นข้าวไร่นั้นผู้คนจะเน้นปลูกเพื่อบริโภคภายในครอบครัวเท่านั้น เนื่องจากคนสมัยก่อนมีลูกมาก อีกทั้งผลผลิตข้าวไร่ก็ได้ในปริมาณที่ไม่มากพอเพื่อทำการค้าขาย ประกอบกับการ ใช้แรงงานและเครื่องมืออย่างง่ายที่ผลิตขึ้นเองเลยปลูกข้าวได้ในพื้นที่ที่ไม่มาก การปลูกข้าวไร่ในอดีตจะต้องมีการ ล้มต้นไม้ใหญ่ ถางป่าและเผาป่า โดยมีบริเวณที่ไม่กว้างมาก ยังไม่มีการใช้สารเคมีใด ๆ ทั้งสิ้น สภาพดินดีมาก ใช้ วิธีการปลูกข้าวโดยการแทงสัก น่ำข้าว อาศัยแรงงานในครอบครัวเป็นหลัก ส่วนการทำนาในสมัยก่อนนั้นจะมีพื้นที่ นาจำนวนมาก บ้านใครมีนาถือเป็นคนมีฐานะ มีทุนในการซื้อเครื่องจักรกลขนาดเล็กมาช่วยเสริมแรง และส่วนมาก จะทำไว้เพื่อขาย นอกเหนือจากการบริโภคภายในครัวเรือน จะใช้วัวใช้ควายหรือควายเหล็กในการไถ และอาศัย การลงแขกดำนาและเก็บข้าว การเก็บข้าวของภาคใต้ก็จะใช้เครื่องมือ คือ แกระ เก็บข้าวทีละรวง แล้วมัดเป็นเลียง อีกที ผู้คนในตำบลบางดีปลูกข้าวพื้นเมืองหลายสายพันธุ์ สายพันธุ์ข้าวไร่ เช่น ข้าวดอกพะยอม ข้าวดอกข่า ข้าว หอมเจ็ดบ้าน ข้าวนางกอง ข้าวช่อมะขาม ส่วนข้าวนาก็จะมีข้าวกข. ข้าวเบายอดม่วง ข้าวเล็บนก มีจุดประสงค์ หลักของการทำไร่ จะทำไว้เพื่อการบริโภคในครัวเรือนเท่านั้น ส่วนการทำนา สำหรับคนที่มีนาเยอะ ก็จะทำไว้เพื่อ บริโภคและขายเป็นหลัก และรายได้หลักก็จะมาจาการทำนา การแปรรูปจากข้าวก็ยังไม่มีความหลากหลาย ผู้ใหญ่ จะนำมาตำเป็นแป้ง แล้วนำมากวนเพื่อเด็กทารกได้กิน มีการโม่แป้ง นำมาทำขนมจีน ขนมโบราณต่าง ๆ ส่วนการปลูกข้าวในสมัยปัจจุบัน เนื่องจากรัฐบาลได้สนับสนุนให้มีการปลูกยางพารา มีการนำเครึ่องจักร ขนาดใหญ่ที่ทันสมัย มาใช้ทุ่นแรงและเวลา มีการใช้สารเคมียาฆ่าหญ้า ยาปราบศรัตรูพืช คนในชุมชนจึงพลิกฟื้น ส่วนที่ 2: รายละเอียดโครงการ 5 หันมาปลูกยางพารากันมากขึ้น เหลือพื้นที่เพียงไม่กี่ไร่ในตำบลบางดี ที่ยังมีการทำนา ในปี พ.ศ.2550 มีการ ส่งเสริมให้มีการปลูกข้าวไร่ จากผู้ใหญ่ลาภ ชูเมือง ปราชน์เกษตร ในเขต สปก.ของตำบลบางดี มีการรวมกลุ่ม เกษตรกร ทำข้าวไร่ ปลูกแซมระหว่างแถวยางพารา ในช่วงอายุปลูก 3 ปีแรก ระหว่างแถวการปลูกยางพารา แต่ก็ เพียงเพื่อบริโภคเองภายในครัวเรือนเท่านั้น อีกทั้งยังพบปัญหาดินเสื่อมสภาพ และสารเคมีตกค้างในดินเป็นจำนวน มาก ถ้าหากทำขายส่วนใหญ่ราคาจะสูง เป็นเหตุให้คนที่มีรายได้ต่ำไม่ค่อยนิยมบริโภค และหันไปซื้อข้าวเคลือบ สารเคมี ซึ่งมีราคาที่ต่ำกว่ามาก นับได้ว่าช่วงเวลาดังกล่าวตำบลบางดีมีความรุ่งเรืองในการปลูกข้าวทั้งข้าวนาและ ข้าวไร่เป็นที่สุด กลายเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องข้าวไร่ในระดับภาคใต้ แต่ภายหลังที่ผู้ใหญ่ลาภ ชูเมือง เสียชีวิตลง เมื่อ 5 ปีที่แล้ว การพัฒนาการปลูกข้าวในตำบลบางดีก็ชะงักลงไป ปัจจุบันประชาชนในตำบลบางดีมีการใช้เครื่องจักรขนาดใหญ่ (รถไถแทรกเตอร์)ในการไถดิน และมีการใช้ ยาฆ่าหญ้าก่อนการไถ ใช้การหว่านเมล็ดพันธุ์แทนการลงแขกน่ำข้าว เพราะสะดวกและรวดเร็ว แต่ข้อเสียคือ ใช้ เมล็ดพันธุ์ในปริมาณสูง (อัตรา 8 กก./ไร่) และได้ผลผลิตข้าวในปริมาณต่ำ มีวัชพืชแซมมาก ส่วนบางพื้นที่ที่มีการ ใช้เครื่องปลูกเมล็ดข้าว ข้อดีคือสะดวก ใช้เมล็ดพันธุ์ในอัตราต่อไร่ต่ำ (3.5 กก./ไร่) ให้ผลผลิตข้าวในปริมาณที่สูง กว่า อีกทั้งกำจัดวัชพืชได้ง่าย ส่วนวิธีการเก็บเกี่ยวข้าว ก็จะใช้รถเกี่ยวข้าวเป็นส่วนใหญ่ เลยเป็นข้อเสียทำให้ไม่ได้มี การคัดรวงข้าว เพื่อนำมาทำเมล็ดพันธุ์ในปีต่อไป ข้าวที่ปลูกจึงมีลักษณะเด่นของสายพันธุ์ที่ไม่เหมือนเดิม อีกทั้ง ประเพณีเกี่ยวกับการปลูกข้าวที่ดีงามก็หมดไป ไม่มีลูกหลานสืบทอด พันธุ์ข้าวที่ปลูกในปัจจุบันของตำบลบางดียังคงมีการปลูกข้าวพื้นเมืองอยู่ เช่น ข้าวดอกข่า ข้าวดอก พะยอม ข้าวหอมบอน ข้าวหอมเจ็ดบ้าน ข้าวเมล็ดฝ้าย ข้าวเล็บนกไร่ ข้าวเข็มทองไร่ แต่พันธุ์ข้าวส่วนใหญ่ จะเป็น พันธุ์ที่มีการปนเพราะไม่ได้มีการคัดเมล็ดพันธุ์ข้าว เป็นพันธุ์ข้าวไม่บริสุทธิ์ กระแสนิยมรักสุขภาพของคนในตำบลบางดีเริ่มเพิ่มมากขึ้นอีกครั้ว จึงหันมาทานข้าวพื้นเมืองเพิ่มมากขึ้น แต่ยังมีข้อจำกัด ในการขายคือ ราคาสูง คนที่มีรายได้ต่ำเลยไม่นิยมทานข้าวพื้นเมือง และจากที่ข้าวไร่จะให้ผลผลิต ในปริมาณที่ไม่สูง จึงปลูกข้าวแค่ไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดีประชากรในตำบลบางดีส่วน ใหญ่นิยมรับประทานข้าวสารจากตลาดที่หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก หรือไม่ก็นิยมบริโภคข้าวหอมมะลิราคาปานกลาง โดยมีทัศนคติเชิงลบกับข้าวที่ปลูกเองภายในชุมชน ข้าวสารจากภายนอกชุมชนจึงเข้ามามีบทบาทหลักต่อการ ตัดสินใจเลือกข้าวมาบริโภคตามวิถีชีวิตสมัยใหม่อีกด้วย ในช่วงวิกฤตโควิด 2 ปีที่ผ่านมานี้เราพบว่าประชาชนในตำบลได้รับผลกระทบในด้านข้าวสารที่จะนำมา บริโภคจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 เป็นอย่างมากเนื่องจากมีข้อมูลการผลิตข้าวในปีผลิต 64/65 ตำบล บางดีมีการปลูกข้าว จำนวน 388.99 ไร่ ได้ผลผลิตทั้งหมด 97,247.5 กิโลกรัม(ข้อมูลจากเกษตรตำบลหรือเกษตร อำเภอ) สามารถคำนวณเป็นข้าวสารได้ทั้งหมด 68,073.25 กิโลกรัม (นำข้าวเปลือกคูณกับ 70% จะได้เป็นปริมาณ ข้าวสารกล้อง) มีการจำหน่ายข้าวที่ปลูกเองในตำบลจำนวน 10 แห่ง และข้อมูลการบริโภคข้าวภายในตำบลต่อ 1 ปีประชากรในตำบลมีจำนวน 9,594 คน สามารถคำนวณข้าวสารที่ต้องบริโภคในจำนวน 1 ปี เท่ากับ 796,302 กิโลกรัม ดังนั้นอัตราส่วนที่เราสามารถผลิตได้ในตำบลได้เพียงร้อยละ 12.12 ของปริมาณข้าวสารที่ต้องการบริโภค ทั้งหมดในตำบลเท่านั้น นับได้ว่ามีปริมานน้อยมากไม่เพียงพอต่อการบริโภคภายในตำบล เมื่อวิกฤตโรคโควิด 19 ระบาดเราจึงพบว่าพี่น้องในตำบลต้องขาดแคลนข้าวสาร มีปริมาณข้าวสารไม่เพียงพอสำหรับบริโภค เกิดความไม่ มั่นคงทางอาหารประเด็นเรื่องข้าวขึ้นมาภายในตำบล ประชาชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้าวไม่สมบูรณ์ ส่งผล ให้ในระยะยาวหากไม่มีการตื่นตัวของชุมชนก็สามารถคาดการณ์ถึงวิกฤตที่จะเกิดขึ้นมาได้อีก

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนากลไก คณะทำงานความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิด : ข้าวตรัง ในระดับ ตำบล

1.1 คณะทำงานประกอบด้วยภาคีดำเนินการ เช่นอปท. เจ้าหน้าที่เกษตร รพ.สต. ท้องที่ ตัวแทนกลุ่มนาแปลงใหญ่ ตัวแทนกลุ่มนาอินทรีย์ ตัวแทน กลุ่มข้าวไร่ กลุ่มองค์กรภาคประชาชนในพื้นที่
1.2 คณะทำงานมีความรู้ความเข้าใจประเด็นความมั่งคงทางอาหารกรณี ข้าวในระดับตำบลและการผลิตข้าวตรังปลอดภัยไม่ต่ำจากร้อยละ 80
1.3 คณะทำงานมีแผนการดำเนินกงานสร้างความมั่นคงทางอาหารใน ภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง
1.4 มีฐานข้อมูลการวิเคราะห์ความมั่นคงทางอาหารข้าวตรังในตำบล ครอบคลุมข้อมูลการผลิตข้าวตรัง ปลอดภัย จำนวนครัวเรือนผลิตข้าว จำนวนพื้นที่การผลิตข้าว การวิเคราะห์ระดับความมั่นคงทางอาหารข้าว ตรังของชุมชน และการบริโภคข้าวตรังในตำบล
1.5 มีข้อตกลงของชุมชนในพื้นที่ตำบลดำเนินโครงการสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโควิด ข้าวตรัง ที่เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร ข้าวตรังในตำบลและการร่วมมือกันผลิตข้าวตรังปลอดภัย
1.6 สมาชิกในพื้นที่รับรู้และปฏิบัติตามข้อตกลงที่ร่วมกัน

2 เพื่อพัฒนาสร้างความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤตโค วิดด้วยการฟื้นฟูข้าวตรัง ปลอดภัย ผ่านกระบวนการ ผลิต การตลาดและการ บริโภค

2.1 พื้นที่ปลูกข้าวตรังในตำบลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 20 จากพื้นที่ปลูก ข้าวที่มีอยู่เดิม
2.2 มีการจัดการเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพได้เพียงพอต่อความต้องการปลูกใน พื้นที่
2.3 มีการพัฒนาคุณภาพการผลิตข้าวสู่มาตรฐานข้าวปลอดภัย เช่น มาตรฐานที่ชุมชนร่วมกันรับรอง มาตรฐาน GAP และมาตรฐานอินทรีย์
2.4 มีการเพิ่มผลผลิตข้าวอย่างน้อยตำบลละ 1 แนวทาง
2.5 ประชาชนในตำบลเห็นคุณประโยชน์ข้าวตรัง ปลอดภัยหันมาบริโภค เพิ่มขึ้น
2.6 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคภายในตำบล
2.7 มีการจัดการตลาดข้าวตรังเพื่อกระจายข้าวสู่ผู้บริโภคในระดับ เครือข่ายตำบลที่ดำเนินโครงการ

3 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชน ชาวตรังได้บริโภคข้าวตรัง ปลอดภัย

3.1 จำนวนครัวเรือนของผู้บริโภคข้าวตรังในชุมชนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ10
3.2 ข้าวตรังที่ผลิตโดยชุมชนมีความปลอดภัยตามมาตรฐานสาธารณสุข

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 530
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คนในพื้นที่และนอกพื้นที่ เด็กนักเรียน ผู้ป่วย 500 -
เกษตรกรร่วมโครงการ 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 65ก.ค. 65ส.ค. 65ก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 4,750.00                                
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 9,650.00                                
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 42,950.00                                
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 39,650.00                                
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 3,000.00                                
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 20,000.00                                
7 บัญชีธนาคาร(1 มิ.ย. 2565-31 มี.ค. 2566) 0.00                                
รวม 120,000.00
1 พัฒนากลไกคณะทำงานความมั่นคงทางอาหาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 133 4,750.00 9 5,591.00
10 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 5 475.00 978.00
12 มิ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 6 475.00 245.00
9 ก.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 3 37 475.00 1,160.00
20 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 4 การจัดเวทีทำข้อตกลงแบบมีส่วนร่วม 30 475.00 1,050.00
16 ต.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 5 30 475.00 863.00
1 - 30 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 6 5 475.00 630.00
1 - 31 ธ.ค. 65 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 7 5 475.00 175.00
1 - 31 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 8 5 475.00 175.00
1 - 28 ก.พ. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 9 10 475.00 315.00
1 - 31 มี.ค. 66 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 10 0 475.00 -
2 พัฒนาข้อตกลงดำเนินงานสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับตำบล กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 75 9,650.00 3 3,970.00
9 ก.ค. 65 ประชุม คณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหารในภาวะวิกฤต ครั้งที่ 1 30 9,650.00 1,121.00
16 ต.ค. 65 ประชุมคณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหาร ครั้งที่2 (ARE ระดับตำบล ครั้งที่ 1) 30 0.00 1,239.00
24 เม.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการความมั่นคง ทางอาหาร ครั้งที่3 (ARE ระดับตำบล ครั้งที่ 2) 15 0.00 1,610.00
3 การพัฒนาสร้างความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤติ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 42,950.00 6 38,753.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 อบรมเตรียม ความพร้อมสู่ความมั่นคงทาง อาหารการผลิตข้าวปลอดภัย GAP ครั้งที่ 1 30 11,300.00 2,650.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 การจัดทำแหล่ง เรียนรู้แปลงข้าวไร่ตำบลบางดี ครั้งที่ 1 30 18,300.00 17,790.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 จัดตั้งธนาคาร เมล็ดพันธุ์ตำบลบางดี 25 13,350.00 11,775.00
1 ธ.ค. 65 อบรมเตรียม ความพร้อมสู่ความมั่นคงทาง อาหารการผลิตข้าวปลอดภัยGAP ครั้งที่ 2 25 0.00 1,763.00
1 ม.ค. 66 อบรมเตรียม ความพร้อมสู่ความมั่นคงทาง อาหารการผลิตข้าวปลอดภัย GAP ครั้งที่ 3 0 0.00 3,975.00
26 มิ.ย. 66 ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน 0 0.00 800.00
4 ประชาชนชาวตรังสามารถเข้าถึงข้าวตรังปลอดภัย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 230 39,650.00 2 50,309.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 การแปรรูปข้าว เพื่อเพิ่มมูลค่า 30 15,300.00 13,369.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 การแปรรูปข้าว เพื่อเพิ่มมูลค่าและตลาดเครือข่ายในระดับ จังหวัด 200 24,350.00 36,940.00
5 ประชาชนชาวตรังบริโภคข้าวตรังมากขึ้น กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 3,000.00 0 0.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ข้้าวบางดีสู่ข้าว คุณภาพ ปลอดภัยต่อชีวิต 0 3,000.00 -
6 ส่วนที่ สสส. สนับสนุนเพิ่มเติม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 59 20,000.00 10 14,644.00
1 - 15 มิ.ย. 65 ปฐมนิเทศโครงการย่อย 0 1,700.00 452.00
16 - 17 ก.ย. 65 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 1 0 1,700.00 1,720.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 2 3 1,700.00 804.00
1 ต.ค. 65 - 31 มี.ค. 66 พัฒนาศักยภาพ ครั้งที่ 3 3 1,700.00 948.00
1 ต.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 ARE ครั้งที่ 1 5 1,700.00 1,500.00
1 ต.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 ARE ครั้งที่ 2 5 1,700.00 1,060.00
1 ต.ค. 65 - 30 เม.ย. 66 ARE ครั้งที่ 3 0 1,800.00 -
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ประสานงานและจัดทำโครงการ 0 3,000.00 3,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 ป้ายปลอดบุหรี่ 0 1,000.00 1,000.00
1 ต.ค. 65 - 31 ก.ค. 66 นิทรรศการ 30 2,000.00 2,160.00
17 ธ.ค. 65 - 6 ก.พ. 66 ถอดบทเรียนความรู้ระหว่างการดำเนินงานโครงการข้าวปลอดภัย 3 0.00 -
9 ม.ค. 66 วันสาธิตเทคโนโลยีการผลิตและเก็บเกี่ยวข้าวไร่ภาคใต้ "คืนพันธุ์ข้าวไร่ ให้แผ่นดินถิ่นใต้" 10 0.00 -
21 ก.พ. 66 จัดทำบัญชี 0 2,000.00 2,000.00
7 บัญชีธนาคาร กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 1 500.00
1 มิ.ย. 65 - 31 มี.ค. 66 ค่าเปิดบัญชีธนาคาร 0 0.00 500.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 ก.ย. 2565 17:06 น.