directions_run

โครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืน ภายใต้กลุ่มออมทรัพย์บ้านสันติ

assignment
บันทึกกิจกรรม
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงานร่วมกับชุมชน30 พฤษภาคม 2566
30
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

นางกรณัท  สายแวว ได้นัดหมายกลุ่มเป้าหมายทั้ง 37 คน เพื่อเข้าร่วมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พร้อมสรุปบทเรียนการดำเนินงานร่วมกับชุมชนม เวลา 09.00 น. กลุ่มเป้าหมายทุกคนพร้อมกัน ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสันติ และกล่าวต้อนรับ และชี้แจงกิจกรรม จากนั้นนางกรณัท  สายแววได้ทำการสรุปกิจกรรมที่ผ่านมา จากบันไดผลลัพธ์ และสรุปปัญหา อุปสรรคจากการดำเนินกิจกรรมตลอดทั้งปี  โดยการประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับรู้เกี่ยวการดำเนินงานของโครงการ และของกลุ่มออมทรัพย์ จากนั้นคณะทำงาน และกำหนดเป้าหมายการพัฒนาในอนาคต โดยการกำหนดวิธีการหาช่องทางการตลาดเพื่อขายสินค้าให้เกิดรายได้ต่อไปให้กับกลุุ่ม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดระบบความมั่นคงทางอาหารในชุมชนอย่างยั่งยืน เกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 1 กลุ่ม เกิดแผนการเป้าหมายในอนาคต

อบรมเชิงปฏิบัติการมัคคุเทศก์น้อย27 พฤษภาคม 2566
27
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวลา 09.00 น. นางกรณัท  สายแวว ประธานโครงการได้จัดอบรมมัคคุเทศน์น้อยโดยได้เชิญวิทยากรจาก อำเภอสุคิรินมาให้ความรู้กับเด็กเพื่อปลูกฝังให้เด็กมีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่และประชาสัมพันธ์การปลูกผักปลอดสารเคมี ประชาสัมพันธ์ให้กับบุคคลภายนอกได้เข้ามาสึกษาเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านและส่งเสริมให้เด็กมีความกล้าแสดงออกและเป็นผู้บรรยายเมื่อมีคนเข้ามาศึกษาเรียนรู้ที่ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของหมู่บ้านและเป็นแกนนำจิตอาสาในหมู่บ้านในการทำกิจกรรมต่าง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดมัคคุเทศน์น้อยในการทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายและมีส่วนร่วมในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในพื้นที่

เก็บข้อมูลครั้งที่ 3 ช่วงใกล้เสร็จโครงการ21 พฤษภาคม 2566
21
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน 7 คน นัดหมายรวมตัว ณ ศาลาหมู่บ้านสันติ เพื่อเตรียมตัวลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้น นางกรณัท  สายแวว ได้อธฺิบายการสำรวจตามแบบสำรวจทบทวนทำความเข้าใจเนื้อหาในแบบสำรวจต่อคณะทำงานก่อนลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นแบ่งคณะทำงานตามโซนรับผิดชอบที่ได้จัดตั้งไว้ และลงพื้นที่สำรวจตามครัวเรือนเป้าหมายตามโซนรับผิดชอบของตนเอง โดยมีนางกรณัท  สายแววเป็นผู้รวบรวมเอกสารแบบสำรวจ รายได้ รายจ่าย หนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย และการทำบัญชีครัวเรือน การทำบัญชีครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย 37 ครัวเรือน พบว่า กลุ่มเป้าหมายทำบัญชีครัวเรือนทุกครัวเรือน โดยส่วนใหญ่เป็นรายได้จากการทำการเกษตรกรีดยาง ครัวเรือนเป้าหมาย 37 ครัวเรือน มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นเฉลี่ยครัวเรือนละ 200 บาท มีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งสิ้นเฉลี่ยนครัวเรือนละ 400 บาท และมีจำนวนเงินออมทรัพย์เพิ่มขึ้น 400 บาท

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ครัวเรือนมีบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเองและสามารถจัดการกับรายจ่ายที่ฟุ่มเฟือยได้

ติดตามการดำเนินงานโครงการ20 พฤษภาคม 2566
20
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวลา 09.00 น. คณะทำงานพร้อมกัน ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน เพื่อเตรียมความพร้อมลงพื้นที่ติดตาม และประเมินผลการบริหารจัดการ การเงินในครัวเรือน และกลุ่มออมทรัพย์ โดยแบ่งการลงพื้นที่ ติดตาม ตามโซนรับผิดชอบ ประกอบด้วยข้อมูล ดังนี้
-ครัวเรือนมีการปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อการบริโภคในครัวเรือน
-ข้อมูลด้านการเพิ่มรายได้ ประกอบด้วยครัวเรือนมีการปลูกพืชหมุนเวียน ครัวเรือนมีการแปรรูปผลผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่า
-ข้อมูลด้านการออม ประกอบด้วย ครัวเรือนมีการวางแผนการใช้จ่ายเงินในครัวเรือน ครัวเรือนมีการออม เช่นเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ฯ,กลุ่มสัจจะ เป็นต้น
-ข้อมูลด้านการดำรงชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วยข้อมูลครัวเรือนมีการทำบีญชีรายรับ-รายจ่าย ครัวเรือนมีการวางแผนชีวิตหรือ แผนครอบครัว ครัวเรือนรู้จักพอประมาณในการลงทุน การประกอบอาชีพ เป็นต้น
จากนั้นคณะทำงานทุกคนลงพื้นที่ติดตามครัวเรือนเป้าหมายตามโซนรับผิดชอบของตนเอง

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีข้อมูลการติดตามการปลูก ข้อมูลการเพิ่มรายได้ ข้อมูลการออม ข้อมูลด้านการดำรงชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 36 พฤษภาคม 2566
6
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมสรุปผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา เวลา 09.00 น. คณะทำงาน ทุกคนเข้าร่วมประชุม ณ ศาลาหมู่บ้านสันติ โดยวาระการประชุมดังนี้ วาระที่ 1 เรื่อง แจ้งเพื่อทราบในเรื่องการดำเนินโครงการที่ผ่านมาตลอดระยะเวลาหนึ่งปีทางหมู่บ้านได้เกิดผลลัพธ์ดังนี้ 1.มีศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนเพื่อเป็นแหล่งอาหารของชุมชนและเป็นแหล่งเรียนรู้ของคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงมาศึกษาดูงาน 2.มัคคุเทศน์น้อยที่เข้าถึงแหล่งอาหารของชุมชนและเห็นความสำคัญของการบริโภคผักที่ปลอดสารเคมีที่มีประโยชน์กับร่างกายและเป็นแบบอย่างให้กับเด็กๆที่ไม่ชอบบริโภคผักหันมาบริโภคผัก 3.มัคคุเทศน์น้อยที่สามารถประชาสัมพันธ์ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนให้บุคคลภายนอกได้รู้จักและมาศึกษาดูงานได้ 4.เกิดเครือข่ายความร่วมมือความมั่นคงทางอาหารทั้งในและนอกพื้นที่ดังนี้

  1.เครือข่ายเกษตรสันติ
  2.เครือข่ายผู้ใช้น้ำ
  3.เครือข่ายปลูกผักยกแคร่
  4.เครือข่ายพัฒนาชุมชนอ.สุคิริน
  5.เครือข่ายเกษตรอ.สุคิริน
  6.เครือข่าย กศน.ต.สุคิริน 5.เกิดการออมทรัพย์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน

ดำเนินการจัดทำข้อมูลประกอบการจัดตั้งศูนย์1 พฤษภาคม 2566
1
พฤษภาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ดำเนินการทำข้อมูลการจัดตั้งศูนย์ ดำเนินการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับคนในชุมชนและชุมชนใกล้เคียงมาศึกษาดูงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดศูนย์เรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

กิจกรรมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ครบวงจร23 เมษายน 2566
23
เมษายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

กิจกรรมจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ครบวงจร เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับการถ่ายทอดการดำเนินงานทางการเกษตรที่ครบวงจร โดยเน้นฐานการเรียนรู้ต่างๆ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จัดตั้งแหล่งเรียนรู้ที่ครบวงจร โดยมีฐานการเรียนรู้ดังนี้ -การปลูกผักยกแคร่ -การทำฟาร์มเห็ดตัวอย่าง -การเลี้ยงปลาเพื่อการแปรรูป -กลุ่มออมทรัพย์บ้านสันติ

อบรมการทำสบู่สมุนไพร20 กุมภาพันธ์ 2566
20
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คณะทำงานจำนวน 7 คนได้อบรมสบู่โดยมีวิทยากรคือ นางสุจิน  นิลกระวัตร มาสอนการทำสบู่สมุนไพรเพื่อให้มีความหลากหลายในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคณะทำงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีรายได้เสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้น

อบรมการทำน้ำจิ้ม17 กุมภาพันธ์ 2566
17
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คณะทำงานจำนวน 7 คนได้อบรมการทำน้ำจิ้มโดยมีวิทยากรคือ นายมะยูนัน  มามะ มาสอนการทำน้ำจิ้มเพื่อให้มีความหลากหลายในเรื่องความมั่นคงทางอาหาร เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับคณะทำงาน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีรายได้เสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวทำให้เกิดความมั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้น

เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงานโครงการ12 กุมภาพันธ์ 2566
12
กุมภาพันธ์ 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวลา 09.00 น. ผู้เข้าร่วมพร้อมกันที่ห้องประชุมโรงแรมซาวท์เทิร์นแอร์พอร์ต อำเภอหาดใหญ่ จากนั้นพิธีกรกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมทุกคน และประธานโครงการกล่าวชี้แจงกำหนดการกิจกรรมคร่าวๆ จากนั้น แบ่งกลุ่มผู้เข้าร่วมตามพี่เลี้ยงที่รับผิดชอบโครงการ จากนั้นทำการถอดบทเรียนการดำเนินงานโครงการที่ผ่านมา โดยพี่เลี้ยงสอบถามในประเด็นหัวเรื่อง ดังนี้ ลักษณะของกลุ่มอาชีพโครงการฯ ลักษณะกลุ่มเป้าหมายหลักโครงการฯ ความรอบรู้ด้านการเงิน โดยแบ่งเป็น 2 คือจำนวนผู้ที่ผ่านการอบรม จำนวนผู้ที่มีการเปลี่ยนแปลง ความรอบรู้ด้นสุขภาพ แบ่งเป็น 2 คือ จำนวนผู้ที่ผ่านการอบรม และจำนวนผู้ที่มรการเลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงของกลุ่มเป้าหมาย (มีอะไรบ้างและมีกี่คน) รายได้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มเป้าหมาย รายจ่ายที่ลดลงของกลุ่มเป้าหมาย การออมของกลุ่มเป้าหมาย ปัญหาอุปสรรค์ และบทเรียนที่ได้รับ โดยให้ผู้เข้าร่วมเขียนในโน๊ตแล้วไปแปะที่กระดาษ จากนั้นพี่เลี้ยงทำการสรุปผลจากกระดาษโพสอิกที่ผู้เข้าร่วมไปแปะไว้ โดยการสรุปในรุปแบบภาพรวม จากนั้น พี่เลี้ยงแต่ละคนนำเสนอผลสรุปจากการถอดบทเรียนโครงการร่วมกัน  ช่วงที่ 2 พิธีกรกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม และส่งมอบให้วิทยากร บรรยายเรื่องการเอกสารการเงินที่ถูกต้อง โดยอธิบายการใช้เอกสารประกอบหลักการเงิน และการบนทึกรายการค่าใช้จ่ายในการทำกิจกรรมต่างๆในโครงการฯ จากนั้นเปิดให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมสอบถามปัญหารที่ไม่เข้าใจเกี่ยวกับหลักฐานการเงินต่างๆ จากนั้นส่งมอบให้พิธีกรสันทนาการผู้เข้าร่มและเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมจัดการเอกสารที่ยังค้างทั้งในระบบ และหลักฐานต่างๆ จากนั้นประธานโครงการกล่าวสรุปกิจกรรมและขอขอบคุณผู้เข้าร่วมทุกคน และกล่าวปิดพิธี

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

มีการทบทวนการดำเนินงานกิจกรรมโครงการฯที่รับผิดชอบอยู่ในขั้นตอนใหน และมีข้อบกพร่องใด มีความรู้ ความเข้าใจในการเตรียมหลักฐานการเงิน และการลงบันทึกค่าใช้จ่ายกิจกรรมในระบบ

เก็บข้อมูลครั้งที่ 2 ช่วงกลางโครงการ31 มกราคม 2566
31
มกราคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน 7 คน นัดหมายรวมตัว ณ ศาลาหมุ่บ้านสันติ เพื่อเตรียมตัวลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้น นางกรณัท  สายแวว ได้อธฺิบายการสำรวจตามแบบสำรวจทบทวนทำความเข้าใจเนื้อหาในแบบสำรวจต่อคณะทำงานก่อนลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย พร้อมพูดคุยกับครัวเรือนถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆและหาแนวทางแก้ไขปัญหาให้กับครัวเรือนเป้าหมาย

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เก็บข้อมูลรายได้และรายจ่ายของครัวเรือนเป้าหมายเพื่อมาเทียบเทียบระหว่างช่วงต้นโครงการและช่วงกลางโครงการว่ามีรายได้เพื่มขึ้นและหนี้สิ้นลดลงหรือมากขึ้น

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 216 ธันวาคม 2565
16
ธันวาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ประชุมความก้าวหน้าของโครงการตามแผนที่กำหนด รวบรวมปัญหาเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการ เวลา 09.00 น. คณะทำงานทั้ง 7 คน เข้าร่วมประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 2 ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสันติ โดยนางกรณัท  สายแวว ประธานโครงการฯ กล่าวเปิดการประชุม และชี้แจงวัถุประสงค์การประชุม คือ ประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมการลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย ของกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ระยะที่ 1 ก่อนดำเนินโครงการฯ จำนวน 37 คน โดยคณะทำงานบริหารที่เข้าร่วมประชุมร่วมกันคิดวางแผนการดำเนินกิจกรรม ดังนี้ แบ่งกลุ่มคณะทำงานเก็บข้อมูลตามโซนของหมู่บ้าน เพื่อการทำงานที่รวดเร็ว และทั่วถึง จำนวน 3 โซน โซนที่ 1 โซนโรงรม  ผู้รับผิดชอบ นางจีราพร  เต็มภูมิ โซนที่ 2 โซนสายหลัก ผู้รับผิดชอบ นางเตือนใจ  ทองบุญ, นางสุคนธ์  แก้วเมฆ โซนที่ 3 โซนซาไก ผู้รับผิดชอบ นางสุจิน  นิลกระวัตร, นายอนันต์  เพ็ชรภาน จากนั้นคณะทำงานร่วมกันคิดออกแบบแบบสำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สิน ของกลุ่มเป้าหมาย ตามวัตถุประสงค์ ตัวชี้วัดโครงการฯที่กำหนด โดยรายละเอียดการเก็บข้อมูลมีดังนี้ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั้วไปของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ชื่อ-สกุล อายุ เพศ ระดับการศึกษา อาชีพหลัก อาชีพเสริม  จำนวนสมาชิกในครัวเรือนทั้งหมด จำนวนสมาชิกที่อาศัยอยู่จริงในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย ส่วนที่ 2 ข้อมูลรายได้ของกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย รายได้ที่เป็นตัวเงิน และรายได้ที่เป็นสินทรัพย์ ส่วนที่ 3 ค่าใช้จ่ายในการบริโภคของครัวเรือนประกอบด้วย ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ค่าใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภค ค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพ ส่วนที่ 4 หนี้สินทั้งหมดของครัวเรือนเป้าหมาย ประกอบด้วย หนี้สินในระบบ และหนี้สินนอกระบบ จากนั้นประธานกำหนดวันส่งแบบสำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อส่งมอบให้นางสาวนาดียา เด็งมะระสรุปข้อมูล และบันทึกข้อมูล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

เกิดแผนการดำเนินงานการเก็บข้อมูลสำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย มีเอกสารประกอบแบบสำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินของครัวเรือนเป้าหมายและสามารถดำเนินการตามแผนเมื่อมีปัญหาก็สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน19 พฤศจิกายน 2565
19
พฤศจิกายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

วันที่ 19 เดือนพฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. นางกรณัท  สายแวว ได้เข้าร่วมกิจกรรมอบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการเงิน ณ โรงแรมปาร์คอินทาวน์จังหวัดปัตตานี  โดยมีพิธีกรกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประอบรมทุกท่าน และส่งมอให้ประธานโครงการกล่าวเปิดกิกจกรรมการอบรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การอบรม เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านสุขภาพ และการเงินของกลุ่มเป้าหมายโครงการต่างๆ  จากนั้นส่งมอบให้วิทยากร บรรยายความรอบรูัทางสุขภาพ โดยอธิบายความสามารถในการเข้าถึง เข้าใจ ใช้ข้อมูล เพื่อนำมาใช้ในการจัดการตนเอง และสามารถชี้แนะเรื่องสุขภาพแก่ผู้อื่นได้ องค์ประกอบรอบรู้ทางสุขภาพ 6 ด้าน จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมอบรมร่วมกันสำรวจความรอบรู้ด้านสุขภาพจากอาชีพ และการทำงาน ของกลุ่มเป้าหมายในโครงการที่รับผิดชอบ และส่งตัวแทนผู้เข้าร่วมอบรมนำเสนอ กลุ่มละ 1 โครงการ จากนั้นวิทยากร อธิบายต่อเรืองการลดพฤติกรรมเสี่ยงด้วยการปรับพฤติกรรม ปรับวิธีการทำงาน และปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน และแนะนำแอปพลิเคชั่น H4U ในการเข้าถึงข้อมูล และบริการสุภาพ โดยให้ผู้เข้าร่วมการอบรมทดลองเข้าใช้แอปพลิเคชั่นดังกล่าว จากนั้นบรรยายต่อเรื่องความรอบรู้ด้านการเงิน โดบอาจาย์สุทย์ หมาดอะดำ เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่องการเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานที่จะเกิดขึ้น ความรอบรู้สู่ความมั่นคงทางการเงิน รู้หา รู้ใช้ รู้เก็บ รู้ต่อยอด จากนั้นให้ผู้เข้าร่วมสำรวจตนเองในการใช้เงินและสุ่มตัวแทนนำเสนอ  จากนั้นอธิบายการวางแผนการเงินในครัวเรือน และการติดตามแผนการใช้เงิน จากนั้นร่วมกันทำกิจกรรมสำรวจความมั่งคั่งส่วนบุคคลของตนเอง โดยการสำรวจสินทรัพย์ - หนี้สิน = ความั่งคั่งสุทธิของตนเอง จากนั้นพิธีกรกล่าวขอบคุณวิทยากทุกท่าน และปิดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานมีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพ และการเงินสามารถนำไปใช้และบอกต่อกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำไปปฏิบัติได้

ครัวเรือนลงมือปฏิบัติการปลูกและบริโภคผักปลอดสารเคมี28 ตุลาคม 2565
28
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คณะทำงาน และกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการปลูกผักในครัวเรือนจำนวน 37 คน ณ แปลงรวมของบ้านสันติ หมู่ที่ 7 ตำบลสุคิริน โดยนางกรณัท  สายแววประธานโคงการฯ กล่าวเปิด และชี้แจงกิจกรรมคร่าวๆ จากนั้นเริ่มการปลุกผักสวนครัว ปลุกผักพื้นบ้าน ปลูกผักแบบผสมผสานในครัวเรือนตามฤดูกาลและความเหมาะสมของบริบทพื้นที่ครัวเรือนลงมือปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารเคมีในแปลงรวมผักยกแคร่และแปลงส่วนตัว และเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ และเก็บเมล็ดพันธ์เพื่อลดรายจ่ายในการซื้อพันธ์ผัก เพื่อความมั่นคงทางอาหารในครัวเรือนและชุมชน กล่าวขอบคุณวิทยากร และปิดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ครัวเรือนลงมือปฏิบัติการปลูกผักปลอดสารเคมีทั้งในแปลงส่วนตัว แปลงรวมผักยกแคร่และการเลี้ยงปลา เลี้ยงไก่เพื่อบริโภคอย่างพอเพียง และเก็บเมล็ดพันธ์เพื่อลดรายจ่ายในการซื้อพันธ์ผัก

ศึกษาดูงานที่ฟาร์มตัวอย่างโคกปาฆาบือซา ม.5 ต.กะลุวอเหนือ อ.เมือง จ.นราธิวาส27 ตุลาคม 2565
27
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

ครัวเรือนที่เข้าโครงการได้ศึกษาดูงานการปลูกผักในฟาร์มตัวอย่างในพระราชดำริบ้านโครปาฆาบือซา โดยมีวิทยากรนายอาสือนัน อาแวดาโละ ได้ให้ความรู้เรื่อง การปลูกผักในอิฐบล็อกเพื่อป้องกันไม่ให้ดินและปุ๋ยไหลออกมาและการปลูกพืชด้วยการคลุมด้วยพลาสติกในช่วงฝนตกปลูกพืชหมุนเวียน การเพาะเมล็ดก่อนลงแปลงปลูก การปลูกถั่วพูร้อยสาย แนะนำวิธีการปลูกผักชีที่ได้ผล การปลูกมะละกอพันธุ์มะละกอเรดเลดี้ที่เป็นที่ต้องการของตลาด และได้ให้ความรู้เรื่องการปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งพืชไร่ พืผัก และไม้ผลเป็นหลัก

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ครัวเรือนมีความรู้ในการปลูกพืชในแบบต่างๆเพื่อควบคุมวัชพืชและควบคุมปุ๋ยทำให้พีชผักอุดมสมบูรณ์ ครัวเรือนมีความรู้ในเรื่องวิธีที่ทำให้เมล็ดพันธู์งอกก่อนลงแปลงปลูก ครัวเรือนมีความรู้ในเรื่องการเพาะต้นกล้าก่อนลงแปลงปลูก

ประชาคมหมู่บ้านและพัฒนาศักยภาพชุมชน10 ตุลาคม 2565
10
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวลา 09.00 น. ประธานกล่าวเปิดและชี้งแจงวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพชุมชนโดยมีกิจกรรมดังนี้ -การให้ความรู้โดยวิทยากร นายอาซิด ดาโอ๊ะ นวก.สาธารณสุขชำนาญการ โรงพยาบาลสุคิริน มาให้ความรู้เรื่องโควิด-19และการป้องกันตนเองจากโควิด-19
-คณะทำงานให้ความรู้เรื่องบัญชีครัวเรือนและตรวจสอบบัญชีครัวเรือนของครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ -คณะทำงานให้ความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารเคมี การเพาะเห็ด สาธิตการทำปุ๋ยใช้เองในครัวเรือน -คณะทำงานเจาะเลือดคัดกรองสารเคมีในเลือดในช่วงต้นโครงการ -กำหนดกติกาในการปลูกผักปลอดสารเคมีที่ปฏิบัติได้จริงดังนี้ 1.ทุกครัวเรือนต้องปลูกผักอย่างน้อย 10 ชนิดขึ้นไป 2.ทุกครัวเรือนต้องไม่ใช้สารเคมีทุกชนิด 3.ทุกครัวเรือนต้องทำบัญชีครัวเรือน 4.ทุกครัวเรือนต้องเข้าร่วมกิจกรรม -คืนข้อมูลจากแบบสำรวจให้ชุมชนได้ทราบถึงสถานการณ์ด้านการเงิน รายได้ ค่าใช้จ่ายของแต่ละครัวเรือน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

-ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องโรคโควิด-19 เพิ่มขึ้น -ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องบัญชีครัวเรือนและทำได้ถูกต้อง -ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารเคมี การเพาะเห็ด สาธิตการทำปุ๋ยใช้เองในครัวเรือนโดยไม่ต้องซื้อ -ครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการได้รู้เรื่องปริมาณสารเคมีในเลือดและได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทำให้สารเคมีในเลือดลดลง -เกิดกติกาในการปลูกผักปลอดสารเคมีที่ใช้และปฏิบัติได้จริงในชุมชน

เก็บข้อมูลครั้งที่ 1 ช่วงต้นโครงการ3 ตุลาคม 2565
3
ตุลาคม 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวลา 09.00 น. คณะทำงาน 7 คน นัดหมายรวมตัว ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสันติ จากนั้น นางกรณัท สายแววได้อธฺิบายการสำรวจตามแบบสำรวจทบทวนทำความเข้าใจเนื้อหาในแบบสำรวจต่อคณะทำงานก่อนลงพื้นที่สำรวจรายได้ รายจ่าย และหนี้สินในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย จากนั้นแบ่งคณะทำงานตามโซนรับผิดชอบที่ได้จัดตั้งไว้ และลงพื้นที่สำรวจตามครัวเรือนเป้าหมายตามโซนรับผิดชอบของตนเอง คณะทำงานลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูลสถานการณ์ด้านรายได้ความเดือดร้อนจากโควิด-19 ข้อมูลการปลูกผักปลอดสารเคมีเพื่อบริโภค ชนิดผักที่ปลูก พื้นที่ปลูก ปัญหาและอุปสรรคต่างๆของครัวเรือเป้าหมายเก็บข้อมูลลง Google Forms เพืื่อวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ด้านรายได้ความเดือดร้อนจากโควิด-19 ข้อมูลการปลูกผักปลอดสารเคมีเพื่อบริโภค ชนิดผักที่ปลูก พื้นที่ปลูก ปัญหาและอุปสรรคในช่วงต้นโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานรู้ข้อมูลสถานการณ์ด้านรายได้ความเดือดร้อนจากโควิด-19
คณะทำงานรู้ข้อมูลการปลูกผักปลอดสารเคมีเพื่อบริโภค ชนิดผักที่ปลูก พื้นที่ปลูก ปัญหาและอุปสรรคต่างๆของครัวเรือเป้าหมาย คณะทำงานสามารถวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ของครัวเรือนเป้าหมายได้ถูกต้อง

ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 130 กันยายน 2565
30
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวลา 09.00 น.คณะทำงานจำนวน 7 คน เข้าร่วมประจำเดือนครั้งที่ 1 ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสันติ โดยมีนานายชำนาญ  นิลกระวัตร ผู้ใหญ่บ้าน  กล่าวเปิดการประชุมและชี้แจงวาระการประชุมให้ที่ประชุมรับทราบ ดังนี้ วาระที่ 1 แจ้งเพื่อทราบ หมู่บ้านบ้านสันติได้รับงบประมาณโครงการสนับสนุนระบบความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการเงินในชุมชน โดยได้รับบงประมาณทั้งสิ้น 100000 บาท ระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่ 1 กันยายน- 31 สิงหาคม มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนภายใต้กลุ่มออมทรัพย์บ้านสันติ เพื่อส่งเสริมสนับสนันการบริหารจัดการการเงินและหนี้สินของชุมชน และเพื่อจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในการแปรรูปอาหารของชุมชน โดยมีนายมะยูนัน  มามะ เป็นพี่เลี้ยงโครงการ  คณะทำงานที่เข้าร่วมประชุมเสนอการคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายในชุมชนโดยกลุ่มเป้าหมายต้องเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19  ครัวเรือนยากจนในชุมชน จำนวน 37 คน และมีการคัดเลือกคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยการเสนอและพิจารณาจากคณะทำงานที่เข้าร่วมประชุม มีโครงสร้าง ดังนี้ประธานนางกรณัท สายแวว รองประธานนางเตือนใจ  ทองบุญ เหรัญญิกนางจีราพร เต็มภูมิ  ฝ่ายประสานงานนางสุคนธ์  แก้วเมฆ ฝ่ายสถานที่นายอนันต์  เพ็ชรภาน ฝ่ายสวัสดิการนางมาลี  คงนวน และกรรมการ นางสุจินต์  นิลกระวัตร โดยมีบทบาทหน้าที่ ดังนี้ ประธานมีหน้าที่ดูแลภาพรวมของโครงการร่วมกับคณะทำงานบริหาร รองประธานมีหน้ามี่เป็นผู้ช่วยประธานร่วมกับคณะทำงานบริหาร เหรัญญิกมีหน้าที่ดูแลการเงินและเก็บเงินออมของกลุ่มเป้าหมาย ฝ่ายประสานงานมีหน้าที่ประสานงานและประชาสัมพันธ์งานในกลุ่ม ฝ่ายสถานที่มีหน้าที่จัดเตรียมสถานที่จัดกิจกรรมร่วมกับคณะทำงานบริหาร ฝ่ายสวัสดิการมีหน้าที่จัดเตรียมอาหาร และอำนวยความสะดวกให้กับกลุ่ม โดยทุกคนในที่ประชุมรับทราบ และเห็นด้วย จากนั้นประธานสรุปการประชุม และกล่าวปิดการประชุม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

คณะทำงานที่เข้าร่วมประชุมมีความเข้าใจวัตถุประสงค์โครงการฯ เกิดโครงสร้างคณะกรรมการบริการโครงการฯ และมีการกำหนดบทบาทหน้าที่

เวทีสร้างความเข้าใจโครงการให้แก่ชุมชน21 กันยายน 2565
21
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวลา 09.00 น. คณะทำทำงานแกนนำหลัก 7 คน และกลุ่มเป้าหมาย 37 คน เข้าร่วมกิจกรรมชี้แจงโครงการฯ ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านสันติ โดยประธานโครงการฯกล่าวเปิดกิจกรรม และชี้แจงวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมโครงการฯเพื่อสร้างความเข้าใจให้กลุ่มเป้าหมาย โดยชี้แจงความเป็นมาของการทำโครงการฯ จากปัญหาสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ที่ส่งผลกระทบกับชุมชนทำให้เกิดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ และสังคมของคนในชุมชนเป็นอย่างมาก จึงมีความคิดที่จะทำโครงการระบบสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารเพื่อจัดการบริหารการเงินในชุมชน จากนั้นประธานมอบหมายให้นางกรณัท  สายแววชี้แจงกิจกรรมบันไดผลลัพธ์กิจกรรมต่างๆที่จะทำ ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น ดังนี้ เกิดคณะทำงานที่มีความเข้าใจโครงการฯ กลุ่มเป้าหมายมีความรู้และทักษะการดำเนินงานจากกิจกรรมที่เข้าร่วม เกิดเครื่องมือกลไกการบริหารจัดการกลุ่ม และเกิดระบบความมั่นคงทางอาหารในชุมชน และชี้แจงตัวชี้วัดของกิจกรรมต่างๆ จากนั้นจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมเสนอ และเห็นชอบร่วมกัน จากนั้นประธานสรุปกิจกรรม และกล่าวปิดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

กลุ่มเป้าหมายโครงการ 37 คนกลุ่มเป้าหมายมีความเข้าใจโครงการฯ มีการจัดตั้งโ๕รงสร้างคณะทำงานดำเนินการ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่คณะทำงานดำเนินการ มีการกำหนดกติการข้อตกลงร่วมกัน

ถอนเงินเปิดบัญชี20 กันยายน 2565
20
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

คณะทำงานจำนวน 2 คน(ตามเงื่อนไข 2ใน3)เบิกเงินเปิดบัญชีที่ ธนาคารกรุงไทย สาขาสุไหงโกลกคืนให้กับหัวหน้าโครงการ

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

หัวหน้าโครงการได้เงินเปิดบัญชีคืนจำนวน 500  บาท

ป้ายไวนิลโครงการ20 กันยายน 2565
20
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

นางกรณัท  สายแววทำการออกแบบป้ายไวนิลชื่อโครงการ ประกอบด้วยโลโก้ สสส. ให้บ้านสันติ ชื่อโครงการเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารอย่างยั่งยืนภายใต้กลุ่มออมทรัพย์บ้านสันติ หมู่ที่ 7 ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส และได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ขนาด 1.2X2.4  และไวนิลไม่สูบ ไม่ดื่ม ไม่เสพ ขนาด 1.2X2.4  จากนั้นได้ดำเนินการประสานติดต่อร้านรุส ดีไซน์ เลขที่ 123/10 ม.1 ต.แว้ง อ.แว้ง จ.นราธิวาส 96190 เลขประจำตัวผู้เสียภาษี 1960800078683 และกำหนดวันเวลารับป้ายไวนิล

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ไวนิลชื่อโครงการ 1 แผ่น และไวนิล ไม่สูบ ไม่ดื่ม ไม่เสพ เพื่อประกอบการดำเนินโครงการในแต่ละกิจกรรม

เวทีปฐมนิเทศโครงการ18 กันยายน 2565
18
กันยายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย wantana5338
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติ

เวลา 09.00 น. ลงทะเบียน เตรียมความพร้อมเข้าร่วมประชุมโดยมีพิธีกรกล่าวต้อนรับคณะทำงานทุกคน จากนั้นหัวหน้าโครงการฯ ชี้แจงนำเสนอกรอบโครงการและเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ที่คาดหวังของโครงการฯ และแบ่งกลุ่มย่อยตามพี่เลี้ยงและร่วมกันคลี่โครงการฯ ตามโครงการที่รับผิดชอบ ดังนี้
1.ทำความเข้าใจเป้าหมายร่วมของโครงการ
2.การเชี่ยมโยงระหว่างผลลัพธ์ ตัวชี้วัด และกิจกรรม
3.การทำความเข้าใจรายละเอียดกิจกรรม ผลลัพธ์/ผลลัพธ์ตัวชี้วัดรายกิจกรรม
จากนั้นตัวแทนกลุ่มนำเสนอตัวอย่างการคลี่กิจกรรม กลุ่มละ 1 โครงการ ช่วงที่ 2 วิทยากร บรรยาย เรืองการบริหารจัดการโครงการ(การจัดการข้อมูล การรายงานผลข้อมูล ความรอบรู้เรื่องสุขภาพ และการเงิน) โดยอธิบายขั้นตอนการการเบิกเงินตามงวด โดยการเบิกแบ่งออกเป็น 3 งวด ดังนี้ งวดที่ 1 วันที่1/9/65 งวดที่ 2 วันที่ 1/3/66  เมื่อผู้รับทุนส่งมอบรายงานการดำเนินงานงวดที่ 1 และรายงานการใช้จ่ายเงินของงวดที่ 1 ที่ผ่านมาเรียบร้อย งวดที่ 3(งบสนับสนุน) วันที่ 1/7/66 เมื่อผู้รับทุนได้ดำเนินการตามแผนเสร็จสิ้นครบถ้วนและได้จัดส่งรายงานการดำเนินงาน และรายงานการเงินที่ผ่าการตรวจสอบของทีมสนับสนุนฉบับสมบูรณ์เป็นที่เรียบร้อย  จากนั้น วิทยากรได้สอนการลงทะเบียนเข้าใช้ระบบการบันทึกกิจกรรม (คนสร้างสุข) และอธิบายเรื่องการรายงานกิจกรรมในระบบ โดยแบ่งกลุ่มย่อยตามพี่เลี้ยง และร่วมกันทำความเข้าใจ ดังนี้ สวนที่ 1 รายละเอียดโครงการฯ ให้บันทึกรายละเอียดโครงการฯ และกิจกรรมทั้งหมดของโครงการฯ รวมทั้งงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมของแต่ละกิจกรรม สวนที่2 ปฏิทินกิจกรรมโครงการฯโดยให้ร่างกำหนดการกิจกรรมต่างในปฏิทิน สวนที่3 กิจกรรมแบ่งออกดังนี้ ชื่อกิจกรรม วันที่ปฏิบัติกิจกรรม รายละเอียดการดำเนินงานกิจกรรม และผลผลิตที่เกิดจริงโดยการบันทึกให้ละเอียด (ใคร ทำอะไร ที่ไหน อย่างไร) วันที่ 2 พิธีกรกล่าวเปิดกิจกรรม จากนั้นมอบให้วิทยากรสอนปฏิบัติวิธีการบันทึกข้อมูลกิจกรรมการดำเนินงานต่างๆในระบบ จากนั้นหัวหน้าโครงการกล่าวปิดกิจกรรม

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1.คณะทำงานมีความเข้าใจเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ที่คาดหวังของโครงการ 2.คณะทำงานสามารถบริหารจัดการข้อมูล และการรายงานผลข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.คณะทำงานมีความเข้าใจเรื่องการบริหารจัดการงบประมาณโครงการ และการเขียนรายงานสรุปการใช้เงินโครงการได้ 4.คณะทำงานสามารถคลี่โครงการได้เพื่อง่ายต่อการดำเนินโครงการจนเสร็จสิ้นโครงการ