เวทีถอดบทเรียนและสรุปผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพกลุ่มเปราะบางบ้านท่าคลองส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายอาชีพและการตลาด
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายอาชีพและการตลาด
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
การสร้างเครือข่ายเพื่อการขยายอาชีพและการตลาด
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
1,200.00 | 0.00 | 5,500.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 6,700.00 | lock_open |
การติดตามการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่ 3.
เวทีแลกเปลี่ยนกับหน่วยจัดการ สสส.ครั้งที่3
ประชุมครั้งที่5
การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่3
การติดตามการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่2.
การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่2
การติดตามการประเมินผลการออมและการทำบัญชีครัวเรือน ครั้งที่1.
การติดตามประเมินผลกลุ่มอาชีพและระบบการบริหารจัดการกลุ่ม ครั้งที่1
พี่เลี้ยง ARE/ทำแบบประเมินครั้งที่3
จัดตั้งกลุ่มอาชีพ การออมและการลงหุ้น
30ครัวเรือนลงมือปฏิบัติการปลูกผัก
ปฏิบัติการจัดทำแผนลดรายจ่ายเพิ่มรายได้รายครัวเรือนและกลุ่ม -หลักการใช้จ่ายอย่างพอประมาณ -การจัดทำบัญชี ครัวเรือน อย่างง่าย - การออมเงิน
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
วิทยากรคุณคนึงนิจ มากชูชิด เดินทางมาถึงสถานที่บ้านท่าคลอง กล่าวสวัสดีและแนะนำตัวต่อผู้เข้าร่วม อธิบายหัวข้อกิจกรรมประเด็นจัดทำแผนลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ การออม กฏระเบียบและตารางการทำบัญชี
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
พี่นิจ
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2,400.00 | 0.00 | 4,200.00 | 300.00 | 0.00 | 0.00 | 6,900.00 | lock_open |
เวทีคืนข้อมูลและจัดทำแผนที่ข้อมูลแหล่งอาหารและเส้นทางอาหารในชุมชน
ประชุมครั้งที่4
ประชุมครั้งที่3
ประชุมครั้งที่2
สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ ครั้งที่ 3.
สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ ครั้งที่ 2
พี่เลี้ยงคลี่แผน/ARE/ทำแบบประเมิน ครั้งที่2
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
วันที่ 23 มกราคม 2566 เวลา 09.00 น.คณะทำงาน 10 คน รวมตัวสถานที่ทำการบ้านผู้ใหญ่บ้าน ม.10 บ้านท่าคลอง ต.โคกโพธ์ เริ่มต้นโดยนางสาวมารีก๊ะ หวังจิ ชี้แจงรายละเอียดว่าวันนี้เป็นการพูดคุยและร่วมประเมินกิจกรรมการทำ ARE ครั้งที่2.มีการชวนคุยถึงกิจกรรมที่กลุ่มได้ปฏิบัติผ่านมาแล้วว่ามีกิจกรรมกรรมอะไรบ้าง จากนั้นพี่เลี้ยง คุณกัลยา เอี่ยวสกุล ได้สักถามความคิดเห็นร่วมกันของกลุ่ม ได้แก่ 1.ทบทวน 1.1ความคาดหวัง 1.1.1รายได้เพิ่มเกิดการออม 1.2กลุ่มเป้าหมาย 30 คน ได้แก่คณะทำงาน10คน กลุ่มเปราะบาง 20 คน โดยแบ่งย่อยเป็น ผู้มีรายได้น้อย 18คนและคนที่กลับจากมาเลเซีย 2คน 1.3ปัญหาสาเหตุ ฝนตกน้ำท่วมติดต่อกัน 1.4 ผลกระทบ แปลงผักได้รับความเสียหายจากพายุแรงทำให้ต้นไม้ใหญ่หล่นทับ 2.บันไดผลลัพธ์ 2.1เกิดคณะทำงานที่มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการสื่อสารและยกระดับเป็นวิสาหกิจชุมชน 2.2 เกิดคณะทำงาน10 คน 2.2.1แกนนำสตรี 10 คน เยาวชน 3 คน อสม.2คน2.2.2การแบ่งบทบาทหน้าที่ ได้แก่ ประธานนางสาวมารีก๊ะ หวังจิ รองประธานนางสาวฮาบีบะ แวสะมะแอ เลขานุการนางสาวนูรีซะห์ สีบู บัญชีนางสาวบิลกีส เบนอาดัม ประชาสัมพันธ์นางยารีนี หวังจิ ผู้ช่วยประชาสัมพันธ์นางสาวฮามีดา โวะ 3.ข้อมูลสถานการณ์ 4.ข้อตกลงคณะทำงานกลุ่มละ 50 คน มีการตั้งกติกา 5.การปฏิบัติตามแผน 5.1 การสำรวจ 5.2 รายรับ 5.3 หนี้สิน 6.ปัญหาอุปสรรค ก่อนเริ่มโครงการ หลังดำเนินโครงการ 7.การเปลี่ยนแปลง/สิ่งดีๆที่เกิดขึ้น ต่อมาก็ได้ให้กลุ่มประเมินบันไดผลลัพธ์การให้คะเเนนแต่ละหัวข้อได้แก่ โครงสร้างคณะทำงานให้ 3 คะแนน บทบาทหน้าที่ให้ 3 คะแนน แผนงานชัดเจนให้ 5 คะแนน การปฏิบัติตามแผนให้ 3 คะแนน และการสื่อสาร/ประชาสัมพันธ์ให้ 3 คะแนน เมื่อประเมินเสร็จทุกข้อก็ได้ทำการโยงในรูปแบบใยแมงมุม สมาชิกในกลุ่มต่างยอมรับและจะขอพัฒนาปรับปรุงให้การประเมินครั้งหน้าดีขึ้นกว่าเดิม
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ได้เรียนรู้ระบบการทำงานและร่วมประเมินกิจกรรม
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | lock_open |
พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เป็นผู้ประกอบการและ การบริหารการเงิน -พัฒนาช่องทางการตลาด ครั้งที่2.
พัฒนาศักยภาพแกนนำให้เป็นผู้ประกอบการและ การบริหารการเงิน -พัฒนาช่องทางการตลาด ครั้งที่1.
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
วิทยากรคุณคนึงนิจ มากชูชิตได้เดินทางมาถึงและกล่าวสวัสดีแก่สมาชิกและคณะทำงานจากนั้นก็ได้ชวนคุยในเรื่องอาชีพของครัวเรือนในชุมชน,วัตถุดิบที่มีในชุมชนรวมถึงปัญหาหนี้สินในชุมชน เป็นโอกาสดีที่ผู้ใหญ่บ้านได้แวะเข้ามาพบปะและพูดคุยและได้กล่าวยินดีกับชาวบ้านที่มีโครงการดีดีแบบนี้เข้ามาสนับสนับในชุมชน เมื่อได้ประเด็นแล้ววิทยากรก็ได้ติดกระดาษชาร์ปเพื่อแสดงตัวอย่างการบันทึกบัญชีรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนเพื่อให้คณะทำงานและสมาชิกได้รู้จักการออมมากขึ้นอีกทั้งฝึกให้คนในชุมชนลดภาระการเกิดหนี้สิน ทางคณะทำงานได้มีการแจกสมุดและปากกาแก่สมาชิกเพื่อบันทึกรายรับ-รายจ่ายในครัวเรือนของตนเอง จากนั้นจะมีการนัดมาสรุปเปรียบเทียบว่าสมาชิกมีรายรับ-รายจ่ายต่างกันอย่างไร
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
คณะทำงานและสมาชิกได้เรียนรู้เทคนิควิธีการทำบัญชีต้นทุนอาชีพโดยการเขียนบันทึกรายรัย-รายจ่ายของแต่ละครัวเรือน
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2,400.00 | 0.00 | 4,200.00 | 100.00 | 0.00 | 0.00 | 6,700.00 | lock_open |
การอบรมพัฒนาทักษะอาชีพ การปลูกผัก การทำปุ๋ย การทำบัญชีต้นทุนอาชีพ
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
คณะทำงานและสมาชิกถึงที่ทำการผู้ใหญ่บ้านม.10 บ้านท่าคลองพร้อมลงทะเบียน หลังจากนั้นทีมวิทยากรจากเกษตรอำเภอโคกโพธิ์และปราชญ์ชาวบ้านบ้านคลองปอมได้เดินทางมาถึง นางสาวมารีก๊ะ หวังจิ ประธานโครงการได้กล่าวสวัสดีและแนะนำชื่อวิทยากรทั้ง2ท่านให้แก่สมาชิกได้ทราบกัน จากนั้นก็ได้สรุปที่มาของโครงการและกิจกรรมที่ต้องดำเนินคร่าวๆว่าเป็นกิจกรรมรูปแบบไหนบ้าง กระบวนการถัดมาวิทยากรได้กล่าวสวัสดีคณะทำงานและสมาชิกแล้วเข้าสู่ขั้นตอนการสอนในเรื่องการทำบีเอสโดยผสมเชื้อไตรโครเดอร์มา การขยายต้นกล้าลงถาดหลุมและ โดยเริ่มสอนและปฏิบัติตามลำดับขั้นต่อไปนี้ 1.การขยายต้นกล้าลงถาดหลุม โดยเริ่มจากการเพาะพันธุ์ผักในตะกร้าขนมจีนเล็กๆรองแผ่นทิชชู่แล้วใส่ปุ๋ยลงไป กดเล็กน้อยและพรหมน้ำในปุ๋ย จากนั้นก็โรยเม็ดพันธุ์ผักลงไป แล้วพรหมน้ำอีกครั้ง ทิ้งไว้ให้ครบ1สัปดาห์ ต่อมาเป็นวิธีการทำบีเอสโดยผสมเชื้อไตรโคเดอร์มา 1.ล้างข้าวสารให้สะอาด 2.เติมน้ำข้าวว3 ส่วน น้ำเปล่า 2 ส่วน 3.ตักข้าวใส่ถุงถุงละ 2 ขีดครึ่ง 4.รอข้าวเย็น 5.หยดเชื้อไตรโคเดอร์มา 7-10 หยด จากนั้นเอายางรัดปากถุงเขย่าๆให้เชื้อเข้ากันแล้วใช้เข็มเจาะรอบๆถุง ข้อแนะนำจากวิทยากรคือ ต้องวางที่โล่งโปร่งแสง อย่าให้แมลงหรือสัตว์มาตอม วิทยากรสาธิตเสร็จแล้วให้สมาชิกและคณะทำงานได้ลงมือปฏิบัติเองทุกขั้นตอน ส่วนพันธุ์ผักที่เพาะใส่ตะกร้าให้แต่ละคนเพาะลากไปจนถึง 20 วัน หลังจากนั้นให้ถอนใส่ถาดหลุม
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
1.คณะทำงานและสมาชิกเกิดการเรียนรู้วิธีการเพาะพันธ์ผักและได้เคล็ดลับในการหารายได้เสริมหลังจากกรีดยาง 2.คณะทำงานและสมาชิกได้เรียนรู้วิธีการทำปุ๋ยบีเอสผสมเชื้อไตรโคเดอร์มาซึ่งเป็นอีกหนึ่งเคล็ดลับในการใช้ปุ๋ยที่ทำให้ได้ผลผลิตในการปลูกพืชผักอย่างมีคุณภาพปราศจากเการเกิดชื้อราในผักทุกชนิด
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
2,400.00 | 0.00 | 3,300.00 | 1,800.00 | 0.00 | 0.00 | 7,500.00 | lock_open |
ถอนเงินธนาคารกรุงไทย สสส.สนับสนุน
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
โดยนางสาวมารีก๊ะ หวังจิ ประธานโครงการเป็นคนเดินทางไปเบิกถอนเงินที่ธนาคารกรุงไทยสาขาบิ๊กซีปัตตานี
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ถอนเงินธนาคารกรุงไทยสาขาบิ๊กซีปัตตานี
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 280.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 280.00 | lock_open |
สสส.สนับสนุน
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ไวนิลโครงการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้กลุ่มเปราะบางบ้านท่าคลอง ขนาด100*200 ซม. ตรายางหมึกในตัวรหัสโครงการ
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ไวนิลโครงการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้กลุ่มเปราะบางบ้านท่าคลอง ขนาด100*200 ซม. ตรายางหมึกในตัวรหัสโครงการ
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 0.00 | 1,551.50 | 0.00 | 0.00 | 1,551.50 | lock_open |
อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
เวลา09.00น.เดินทางถึงโรงแรมและเข้าห้องประชุมพร้อมลงทะเบียน ดำเนินรายการและชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการโดย คุณนฤมล ฮะอุระ พร้อมเริ่มต้นให้ความรู้เรื่องประเด็นที่1.เรื่องความรอบรู้ทางสุขภาพ องค์ประกอบความรู้ทางสุขภาพ 6 ด้าน ได้แก่ 1.การเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและบริการสุขภาพ เป็นการปฏิบัติตนจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเข้าใช้บริการสุขภาพ เช่นการค้นหาข้อมูลจาก เว็บไซต์ FacebookและTikTok 2.ความรู้ ความเข้าใจ เป็นการค้นหาข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการดูแลตนเองและนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง 3.ทักษะการสื่อสาร ทั้งการพูด อ่านและเขียนเพื่อให้ผู้อื่นได้เข้าใจถูกต้อง โน้มน้าวให้ผู้อื่นได้ข้อมุลที่ถูกต้อง 4.ทักษะการจัดการตนเอง เป็นการวิเคราะห์ ทำตามเป้าหมายตามแผนที่กำหนดในการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง 5.ทักษะการตัดสินใจ เป็นการกำหนดทางเลือก การเลี่ยงวิธีการที่ไม่เหมาะสม การใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ผลดี ผลเสียและการเกิดผลกระทบน้อยที่สุด 6.การรู้เท่าทันสื่อ เป็นการตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่สื่อนำเสนอ พักเบรก 15นาที่ เข้าสู่เเนื้อหาประเด็นที่2.เป็นการทดสอบความเข้าใจเกี่ยวกับการลดพฤติกรรมความเสี่ยงจากอาชีพ การทำงาน โดยให้ผู้เข้าร่วมแต่ละโครงการอธิบายความเข้าใจในประเด็นอาชีพ อะไรคือความเสี่ยงและภัยคุกคาม และการลดพฤติกรรมเสี่ยงด้วยตัวเองนั้นควรปฏิบัติอย่างไร ซึ่งผู้เข้าร่วมได้ยกตัวอย่างได้แก่ อาชีพ ทำนา ทำสวน สวนปาล์มและค้าขาย เสี่ยงต่อการปวดเมื่อย การปรับพฤติกรรมคือต้อง ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หมั่นตรวจสุขภาพ บริหารข้อมือ และเรียนรู้เทคนิคการดูแลสุขภาพรวมถึงการออกกำลังกายเป็นต้น ประเด็นที่3.การเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ จากแหล่งสืบค้นข้อมูลแอปพลิเคชั่นในการติดตามสุขภาพ รู้เรื่องสิทธิช่องทางรับบริการตรวจรักษา บริการส่งเสริมป้องกันโรคและการร้องเรียน
ประเด็นที่4.ความเข้าใจข้อมูลด้านสุขภาพ เช่น การอ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อสามารถป้องกันโรคระบาด รู้จักคุณประโยชน์ของอาหาร มีการบันทึกสุขภาพตนเองและครอบครัวและการจับประเด็นข่าวสารสุขภาพได้ ประเด็นสุดท้ายคือการโต้ตอบ ซักถามและแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ เช่นการบอกเล่าอาการเจ็บป่วยได้ การซักถาม ประเมินก่อนตัดสินใจ การแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ อสม.และเจ้าหน้าที่ได้และชุมชนมีการทำแผนเกี่ยวกับสุขภาพ
พักรับประทานอาหารเที่ยงพร้อมกัน เวลา 13.00น. เข้าห้องประชุม ให้ความรู้และชวนคุยประเด็นความรอบรู้ทางการเงิน โดย อาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำ ความรู้ด้านการเงินคือ ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการเงิน รวมทั้งมีทักษะในการบริหารจัดการ เช่น การจัดงบประมาณการใช้เงินในหมวดหมู่ต่างๆ การลงทุน การกู้ยืม ภาษี และการบริหารจัดการเรื่องการเงินส่วนตัวในภาพรวม เป้าหมายความรอบรู้ทางการเงิน เหตุผลที่ต้องวางแผนการเงิน การเปลี่ยนแปลงในตลาดแรงงานที่จะเกิดขึ้น เคล็ดลับจัดการเงินให้พอใช้และเหลือเก็บออม การวางแผนและติดตามแผนการใช้เงิน บักเบรก 15 นาที ต่อด้วยกิจกรมชวนคิดหัวข้อเรื่อง เงินหายไปไหน อะไรที่ไม่จำเป็นแต่ซื้อบ่อย เงินที่จ่ายซื้อต่อครั้ง ซื้อบ่อยแค่ไหนและใน 1ปีจ่ายไปเป็นเงินเท่าไหร่ สรุปแนวทางการจัดการการเงินครัวเรือนโดยให้ข้อคิดสำหรับการจัดทำแผน/เป้าหมายทางการเงินในครัวเรือน ได้แก่การออม ไม่ฟุ่มเฟือย เก็บเงินสดไว้แค่พอใช้จ่าย การรู้ถึงโทษของหนี้ ลดจำนวนวันที่ไปห้างและตลาดนัดโดยกำหนดเป็นวันจัดกิจกรรมของครอบครัว ช่วยกันปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรมมีความเข้าใจเกียวกับความรู้ด้านสุขภาพและการเงิน มีการเเลกเปลี่ยนความคิดเห็นและการร่วมทดสอบกิจกรรมเป็นเกมเกี่ยวกับด้านสุขภาพและการเงิน ผู้เข้าร่วมให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ตลอดการอบรม
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 309.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 309.00 | lock_open |
สำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ ก่อนเริ่มดำเนิน 3 ระยะ ครั้งที่1.
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
คณะทำงานแบ่งหน้าที่ในการสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในชุมชนโดยใช้เอกสารแบบเก็บข้อมูลครัวเรือนรายบุคคล ในเอกสารมีรายละเอียดการเก็บข้อมูลจำแนกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังต่อไปนี้ ส่วนที่1.ข้อมูลรายบุคคลได้แก่ ชื่อ สกุล เพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา โรคประจำตัว ความพิการ การได้รับบัตรสวัสดิการ ดื่มสุราหรือไม่ สูบบุหรี่หรือไม่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ150 นาที่ต่อสัปดาห์ หรือไม่ และมีความสุขอยู่ในระดับใด ส่วนที่2.ข้อมูลด้านเศรษฐกิจในครัวเรือน ได้แก่ รายได้เฉลี่ยและรายจ่ายของครัวเรือนต่อปี หนี้สินและการทำบัญชีครัวเรือน ส่วนที่3. ข้อมูลด้านสังคม ได้แก่ การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชุมชน ส่วนที่4.ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม ได้แก่ รูปแบบการจัดการขยะ การตรวจแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายและการประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติ ส่วนที่5.ข้อมูลด้านสุขภาพ ได้แก่ มีการปลูกผักหรือไม่ และการประสบอุบัตเหตุทางถนนหรือไม่ในรอบ1ปีที่ผ่านมา จากการเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายได้ให้ความร่วมมือในการกรอกข้อมูลทุกครัวเรือน ส่งผลให้การสำรวจข้อมูลกลุ่มเป้าหมาย ก่อนเริ่มดำเนิน ครั้งที่1.สำเร็จลุล่วงด้วยดี
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
-เกิดฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการด้านเศรษฐกิจชุมชน อาชีพ รายได้ รายจ่ายและหนี้สิน
-สมาชิกกลุ่มเปราะบาง 30 ครัวเรือนให้ความร่วมมือในการตอบรับการเข้าร่วมโครงการเนื่องจากอยากมีรายได้ การสร้างอาชีพ การปลูกผักไว้กินเองและการลดรายจ่ายรวมถึงการลดภาระหนี้
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 900.00 | 100.00 | 0.00 | 0.00 | 1,000.00 | lock_open |
ประชุมครั้งที่1
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
แจ้งคณะทำงานเข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามและวางแผนการทำงาน มอบหมายงานตามหน้าที่และให้คำแนะนำโดย ประธานนางสาวมารีก๊ะ หวังจิ ได้ชี้แจงแก่คณะทำงานทุกคนหากมีข้อสงสัยในส่วนของกิจกรรมใดจากโครงการหรือไม่เข้าใจให้สอบถามและหากต้องการจะเสนอแนะในส่วนที่คณะทำงานมีความเห็นต่างก็สามารถเสนอแนะเพื่อให้รับทราบร่วมกัน การทำงานจะได้มีความชัดเจนและเกิดความสามัคคี
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
คณะทำงานมีความเข้าใจในเรื่องการวางแผนเพื่อติดตามทำให้ทำงานรวดเร็วและง่ายขึ้นโดยติดตามและขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 800.00 | 100.00 | 0.00 | 0.00 | 900.00 | lock_open |
พี่เลี้ยงคลี่แผน/ทำแผนประเมินครั้งที่1
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
พี่เลี้ยงคุณกัลยา เอี่ยวสกุล เดินทางมาที่บ้านท่าคลอง ม.10 ได้แนะนำตัวพูดคุยทำความรู้จักกับคณะทำงานด้วยความเป็นกันเองและได้ชี้แจงคร่าวๆถึงที่มาของโครงการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้กลุ่มเปราะบางบ้านท่าคลอง จากนั้นก็พูดถึงเนื้อหาการคลี่แผน/ทำแผนประเมิน ตรวจเชคและสอนพร้อมให้คำแนะนำการวิธีการคลี่ตัวชี้วัด,การคลี่กิจกรรมทั้งแบบเขียนร่างลงกระดาษและการคีย์ข้อมูลลงในระบบเพื่อให้ชัดเจนและง่ายต่อการทำความเข้าใจในแต่ละกิจกรรม และเน้นย้ำในเรื่องการตรวจสอบช่องที่ใส่งบประมาณตามแผนกิจกรรมให้ถูกต้อง คณะทำงานมีความเข้าใจและให้ความร่วมมือทุกคน พี่เลี้ยงกล่าวสวัสดีก่อนเดินทางกลับพร้อมแจ้งคณะทำงานหากมีข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจให้ทักถามหรือโทรถามได้ตลอด คณะทำงานกล่าวสวัสดีขอบคุณพี่เลี้ยงพร้อมถ่ายภาพร่วมกัน
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
คณะทำงานมีความเข้าใจและรับผิดชอบตามหน้าที่ที่จัดตั้งตามแผนที่ประชุมร่วมกัน
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | lock_open |
ประชุมร่วมกับหน่วยจัดการและ สสส.ครั้งที่1
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ผู้เข้าร่วมเดินทางมาถึงโรงแรมอัลฟาฮัจย์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เวลา 9.00 น. ลงทะเบียน เตรียมความพร้อมในเวทีและดำเนินรายการโดย นายมะยูนัน มามะ กล่าวต้อนรับและหัวหน้าโครงการได้ชี้แจงนำเสนอกรอบโครงการและเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ที่คาดหวังร่วมกันระหว่างหน่วยจัดการและกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. โดยนางนฤมล ฮะอุรา 10.00 น.ชี้แจงรายละเอียดสัญญาโครงการย่อย ได้แบ่งกลุ่มย่อยตามพี่เลี้ยงและร่วมกันคลี่โครงการดังต่อไปนี้ 1.ทำความเข้าใจเป้าหมายร่วมของโครงการ 2.การเชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์ ตัวชี้วัดและกิจกรรม 3.การทำความเข้าใจรายละเอียดกิจกรรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดรายกิจกรรม จากนั้นตัวแทนกลุ่มนำเสนอตัวอย่าง กลุ่มละ 1 โครงการ 12.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.30 น.เข้าห้องประชุมร่วมกันแบ่งกลุ่มย่อยตามพี่เลี้ยง เรื่องการการบริหารจัดการโครงการ(การจัดการข้อมูล,การรายงานผลข้อมูล)ดังต่อไปนี้ 1.การทำความเข้าใจ เรื่องความรอบรู้เรื่องสุขภาพ 2.การทำความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ทางการเงิน 3.การจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและแนวทางการนำข้อมูลไปสนับสนุนการทำงาน 16.00 น.รับประทานอาหารเย็นและแยกย้ายเข้าที่พัก วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน 2565 เวลา 9.00 น. เตรียมความพร้อมเวทีและดำเนินรายการโดยนายมะยูนัน มามะ ทำความเข้าใจระบบการรายงานกิจกรรมและรายงานการเงินผ่านระบบออนไลน์ โดยอาจารย์สุวิทย์ หมาดอะดำ 12.00 น.ทำความเข้าใจแนวทางปฏิบัติด้านการเงินของโครงการย่อยว่าด้วยระเบียบและข้อบังคับทางการเงิน โดยทีมหน่วยจัดการ 12.00 น.ปิดกิจกรรมโดยคุณนฤมล ฮะอุรา และรับประทานอาหารกลางวันพร้อมเดินทางกลับบ้าน
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
-ผู้เข้าร่วมเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับกรอบโครงการและเป้าหมายเชิงผลลัพธ์ที่คาดหวังระหว่างหน่วยจัดการและกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส.
-การเชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์ ตัวชี้วัดและกิจกรรม
-การทำความเข้าใจเรื่องความรู็เรื่องสุขภาพ
-การทำความเข้าใจเรื่องความรอบรู้ทางการเงิน
-การจัดเก็บข้อมูลกลุ่มเป้าหมายและแนวทางการนำข้อมูลไปสนับสนุนการทำงาน
-ได้ทำความเข้าใจระบบการรายงานกิจกรรมและรายงานการเงินผ่านระบบออนไลน์
-ทำความเข้าใจแนวทางปฏิบัติด้านการเงินของโครงการย่อยว่าด้วยระเบียบและข้อบังคับทางการเงิน
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 2,040.00 | 0.00 | 0.00 | 0.00 | 2,040.00 | lock_open |
เวทีชี้แจงโครงการ และจัดตั้งคณะทำงาน พร้อมกำหนดบทบาทหน้าที่ในการทำงาน
กิจกรรมที่ปฎิบัติ
ผู้เข้าร่วมทยอยมาเข้าร่วมกิจกรรมและมีการลงทะเบียน โดยนางสาวบิลกีส เบนอาดัม รับผิดชอบในหน้าที่ฝ่ายลงทะเบียน แนะนำตัวโครงการต่อผู้เข้าร่วมประชุม โดยนางสาวมารีก๊ะ หวังจิและชี้แจงรายละเอียด แผนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมอาชีพและเพิ่มรายได้กลุ่มเปราะบาง บ้านท่าคลอง ม.10 ต.โคกโพธิ์ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี และได้จัดตั้งคณะทำงานโดยผู้เข้าร่วมทุกคนเสนอรายชื่อคณะทำงาน 1.นางสาวมารีก๊ะ หวังจิ ตำแหน่งประธานโครงการมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบดูแลและบริหารจัดการโครงการให้เป็นไปตามแผนงานโครงการ 2.นางสาวฮาบีบะ แวสะมะแอ ตำแหน่งเลขานุการ ทำหน้าที่จดบันทึกรายการกิจกรรม 3.นางสาวนูรีซะห์ สิบู ตำแหน่งเหรัญญิก ทำหน้าที่บริหารจัดการการเงิน จัดทำบัญชีโครงการและรายงานการเงิน 4.นางยารินี หวังจิ ตำแหน่งคณะกรรมการ ทำหน้าที่ในการประชาสัมพันธ์ข่าวสารการรวมกลุ่มตลอดการจัดกิจกรรม 5.นางสาวบิลกีส เบนอาดัม ตำแหน่งคณะกรรมการ ทำหน้าที่ดูแลในเรื่องการลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรม 6.นางสาวฮามีดา โวะ ตำแหน่งคณะกรรมการ ทำหน้าที่ในเรื่องการเก็บภาพถ่ายกิจกรรม 7.นางสาวนิภาวาตี นิโอะ และ8.นางสาวนูรมา รีนิแซ ตำแหน่งคณะกรรมการ ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลประสานในเรื่องอาคารสถานที่และจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในการจัดกิจกรรม 9.นางโนรีซัน สีบู และ10นางสาวตอยอีบ๊ะ สีบู ตำแหน่งคณะกรรมการ ทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการจัดหาอาหาร ลำดับถัดมาได้ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมโดยการเสนอว่าให้ปลูกผักที่สามารถสร้างรายได้ยอดขายที่รวดเร็วเป็นที่ต้องการของตลาดนัดชุมชนและพ่อค้าคนกลางที่เข้ามารับซื้อเองถึงที่ในชุมชน นอกจากนี้ยังได้กล่าวอีกว่า"ในชุมชนของเราไม่ใช่แค่เฉพาะคนในชุมชนที่ซื้อ-ขายผักทานกันเองแต่ยังมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อผักในชุมชนถึงที่โดยคนในชุมชนไม่่ต้องไปวางขายที่ตลาด ทำให้ประหยัดเวลาประหยัดค่าใช้จ่ายและทำให้มีรายได้ที่รวดเร็ว ทุกคนมีความเห็นชอบและมีความหวังต่อโครงการครั้งนี้เพราะมองว่าตนเองประสบปัญหารายได้ไม่เพียงพอและเป็นหนี้ผู้เข้าร่วมทุกคนมีคสามตั้งใจอยากให้โครงการนี้ประสบผลสำเร็จต่อตนเองและคนในชุมชน จากนั้นร่วมกันคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายโดยนางสาวมารีก๊ะ หวังจิเสนอแนะให้แต่ละครัวเรือนที่มีพื้นที่ปลูกผักสามารถปลูกได้ในพื้นที่ของตนเองและสำหรับผู้มี่ไม่มีพื้นที่เพาะปลูกสามารถปลูกได้บริเวณที่ทำการกลุ่มและดูแลร่วมกัน ผูัเข้าร่วเข้าใจร่วมกันและนางสาวมารีก๊ะ หวังจิกล่าวปิดกิจกรรมและได้ชี้แจงแก่ผู้เข้าร่วมทุกคนให้ทราบว่ากิจกรรมถัดไปจะจัดขึ้นตรงกับที่วันที่เท่าไหร่ ผู้รับมอบหมายตามหน้าที่ได้แก่ นางยารินี หวังจิ จะประชาสัมพันธ์ให้ทราบอีกครั้ง
ผลที่เกิดขึ้นจริง / ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
มีคณะทำงานกลุ่มกลุ่มเปราะบางจำนวน10 คนประกอบด้วยแกนนำชุมชน อาสาสมัคร จิตอาสา กลุ่มสตรี และเยาวชน - คณะทำงานมีการแบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงาน -เกิดข้อตกลงร่วมของคณะทำงาน -คณะทำงานมีข้อมูลของแหล่งอาหารในชุมชน
ค่าตอบแทน | ค่าจ้าง | ค่าใช้สอย | ค่าวัสดุ | ค่าสาธารณูปโภค | อื่น ๆ | รวมรายจ่าย | สถานะ |
---|---|---|---|---|---|---|---|
0.00 | 0.00 | 3,750.00 | 300.00 | 0.00 | 0.00 | 4,050.00 | lock_open |