directions_run

โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-36
วันที่อนุมัติ 31 สิงหาคม 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายมะอูเซ็ง ปูมูลูกือจิ
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0847477390
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ Pumu3366@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ อิสมาแอล สิเดะ
พื้นที่ดำเนินการ บ้านปุโรง ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.466616,101.239357place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
2 1 มี.ค. 2566 31 ก.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 25,000.00
3 1 ส.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) มีแนวโน้มการแพร่ระบาดที่เพิ่มมากขึ้น และประเทศไทยอาจเข้าสู่การระบาดในระยะที่ 3 โดยองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้การระบาดของโรคดังกล่าวเป็นภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขระหว่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงได้ประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) เป็นโรคติดต่ออันตรายตามพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID – 19) ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก เปรียบได้กับการทำสงครามโลกครั้งที่ 3 ซึ่งเป็นสงครามระหว่างคนกับไวรัส คู่ต่อสู้ที่จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น และปราศจากรูปแบบการรบตามตำราที่ผ่านมา หากผลกระทบที่รุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงแรก คือ การบริการสุขภาพที่ต้องปรับตัว ไม่เพียงแค่การดูแลรักษาสำหรับโควิด-19 หากระบบสุขภาพทั้งมวลกลับต้องเปลี่ยนแนวทางการบริการ เนื่องจากเกิดข้อจำกัดต่าง ๆ เช่น การอยู่บ้าน การเว้นระยะห่างทางกายภาพ  อีกทั้งมีผลกระทบต่อเนื่องถึงวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน การทำงานของประชาชนทุกคนอย่างเลี่ยงไม่ได้ ส่งผลกระทบต่อภาคเกษตรกรรมและอาหาร มีการกักตุนอาหาร ร้านค้า ร้านอาหาร ตลาด ปิดให้บริการ โรงงานหยุดประกอบกิจการ การขาดแคลนแรงงาน ประชาชนตกงาน มาตรการกักกันโรคส่งผลกระทบต่อการทำงาน และการขนส่งและกระจายผลิตผล ไปจนถึงผู้บริโภคไม่สามารถเดินทางได้โดยสะดวก การมีอาหารไม่หลากหลาย ในขณะที่ผู้มีรายได้น้อยและคนตกงานไม่มีเงินพอที่จะซื้อหาอาหารได้อย่างเพียงพอ ไม่สามารถเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือเดินทางออกนอกพื้นที่ได้อย่างสะดวก และชุมชนก็ไม่ได้เตรียมตัว ไม่ปรับตัว จนเกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอก 2 ในสภาวการณ์เช่นนี้ พวกเราทุกคนต้องเรียนรู้ในการปรับตัวและวางแผนต่าง ๆ ให้ทันต่อเหตุการณ์ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เรื่องง่ายที่ทุกคนจะสามารถปรับตัวได้ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันจะช่วยให้เราได้โอกาสในการเตรียมตัวรับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
บ้านปุโรง หมู่ที่ 2 ตำบลปุโรง อำเภอกรงปินัง จังหวัดยะลา โดยมีครัวเรือนทั้งหมด 275 ครัวเรือน มีประชากร จำนวน 1,015 คน เพศชาย 507 เพศหญิง 508  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 100 เปอร์เซ็น ประกอบอาชีพ เกษตรกรรม ร้อยละ 80 อาชีพค้าขาย ร้อยละ 15 และอาชีพอื่นๆร้อยละ 5 บ้านปุโรงเป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID–19) โดยตั้งแต่ต้นปี 2564 ทำให้มีแรงงานกลับมาจากมาเลเซียจำนวน 50 คน จาก 40 ครัวเรือน และบ้านปุโรง มีกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต มีสมาชิก ทั้งหมด 50 ราย มีเงินสัจจะออมทรัพย์ ในกลุ่ม ประมาณ 30,000 บาท โดยการส่งเงินสัจจจะ เดือนละ 50 บาท และมีการออมเพิ่มด้วย จุดอ่อนด้านกรรมการขาดความรู้และความเข้าใจแนวคิดของการตั้งกลุ่ม ส่วนด้านสมาชิก ด้านสถานที่ทำการ และด้านการบริหารจัดการ ด้านโอกาสในการพัฒนาที่ขาดกระบวนการมีส่วนร่วม และยังไม่เห็นความสำคัญของการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต ที่อยู่บนพื้นทีฐานของการช่วยเหลือกัน จนเงินไม่จนน้ำใจ และลดต้นการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค อีกทั้งการรวมกลุ่มออมเงินแล้วให้สมาชิกกู้ยืมเป็นทุนที่ปราศจากดอกเบี้ย หลังจากการระบาดของโรคของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ระลอกแรกคลี่คลาย ประชาชนยังคงใช้ชีวิตเหมือนเดิม มีภาวะหนี้สิน นอกระบบ โดยการยืมเงินคนในชุมชนและญาติ เถ้าแก่ในชุมชน ส่วนในระบบจะมีการกู้เงินกับธนาคาร ใช้เงินเป็นต้นทุนในการทำเกษตรกรรรม ในพื้นทีไม่มีการปรับเปลี่ยนและเตรียมพร้อมในการดำรงชีวิตหากมีการระบาดระลอกใหม่ขึ้นมา จนกระทั้งมีการระบาดระลอก 2 ทำให้กลุ่มเกิดความตระหนัก ให้ความสำคัญในการจัดการ การดำรงชีวิตประจำวัน จึงมีความคิดที่จะจัดการให้ชุมชนและครัวเรือนไม่มีเงินออมในการดำรงชีวิตอย่างเพียงพอ ได้วิเคราะห์ศักยภาพของตนและกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตไปสู่ลดการพึ่งพาสังคมภายนอก
ทางกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านปุโรง จึงมีแนวคิดที่จะให้สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตมีรายได้และความมั่นคงทางด้านอาชีพ ด้วยการเสริมทักษะการพัฒนาศักยภาพของสมาชิกกลุ่ม เพื่อให้กลุ่มออมทรัพย์ มีการพัฒนากลุ่ม และสามารถส่งเสริมการออมให้กับครัวเรือน และส่งเสริมให้สมาชิกในชุมชนเกิดการรวมตัวกันพัฒนา สร้างกลุ่มอาชีพ เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายครัวเรือน ส่งเสริมความร่วมมือและสร้างความสามัคคีในชุมชนต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อสนับสนุนการสร้างอาชีพให้กับสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตให้เกิดรายได้เสริมและลดหนี้สิน

1.คณะทำงานมีการจัดโครงสร้าง แบ่งบทบาทหน้าที่ในการทำงานชัดเจน ตลอดจนมีแผนการทำงาน 2.เกิดข้อตกลงร่วมของคณะทำงาน
3.กลุ่มออมทรัพย์มีการบริหารจัดการกลุ่มอย่างเป็นระบบ 4.เกิดรูปแบบการช่วยเหลือคนในชุมชนชัดเจนมากขึ้นผ่านกลุ่มออมทรัพย์

2 2เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะด้านการเงิน สุขภาพ และสังคม แก่ สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตของชุมชน

1ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถทำบัญชีครัวเรือนได้ 2 เกิดแผนการออมและการจัดการหนี้ระบบครัวเรือน

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
คณะกรรมการกลุ่ม 10 10
สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ (ผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด) 40 40
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการกับ สสส.(1 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 9,520.00                        
2 ประชุมคณะทำงานโครงการ(18 ก.ย. 2565-31 ส.ค. 2566) 6,200.00                        
3 เวทีชี้แจงโครงการ(30 ก.ย. 2565-30 ก.ย. 2565) 6,700.00                        
4 อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม(14 ต.ค. 2565-14 ต.ค. 2565) 10,500.00                        
5 อบรมการฝึกอาชีพ การทำขนมโบราณ(28 ต.ค. 2565-28 ต.ค. 2565) 20,500.00                        
6 อบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด(10 พ.ย. 2565-10 พ.ย. 2565) 7,500.00                        
7 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต(15 พ.ย. 2565-15 พ.ย. 2565) 11,700.00                        
8 เวทีถอดบทเรียน(13 ก.ค. 2566-13 ก.ค. 2566) 7,700.00                        
รวม 80,320.00
1 กิจกรรมร่วมกับหน่วยจัดการกับ สสส. กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 58 9,520.00 6 9,520.00
1 ก.ย. 65 - 31 ส.ค. 66 ทำป้ายไวนิลและตรายาง 50 1,000.00 1,000.00
17 - 18 ก.ย. 65 เวทีปฐมนิเทศโครงการ ระดับหน่อยจัดการ 2 2,500.00 2,500.00
21 ต.ค. 65 คืนเงินเปิดบัญชี 0 500.00 500.00
19 พ.ย. 65 อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงิน 2 500.00 500.00
11 - 12 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 2 2,500.00 2,500.00
15 - 16 ก.ค. 66 เวทีแลกเปลี่ยนผลลัพธ์และบทเรียนการดำเนินงาน 2 2,520.00 2,520.00
2 ประชุมคณะทำงานโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 70 6,200.00 6 4,860.00
29 ก.ย. 65 ประชุมคณะทำงานโครงการ 10 1,400.00 860.00
17 พ.ย. 65 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 2 10 800.00 800.00
10 ม.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 10 800.00 -
24 พ.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 3 10 800.00 800.00
13 มิ.ย. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 4 10 800.00 800.00
4 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 5 10 800.00 800.00
11 ก.ค. 66 ประชุมคณะทำงานโครงการ ครั้งที่ 6 10 800.00 800.00
3 เวทีชี้แจงโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 6,700.00 1 6,700.00
24 ต.ค. 65 เวทีชี้แจงโครงการ 50 6,700.00 6,700.00
4 อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 10,500.00 1 10,490.00
13 ต.ค. 65 อบรมทักษะการเงิน บัญชีครัวเรือน สุขภาพ สังคม 50 10,500.00 10,490.00
5 อบรมการฝึกอาชีพ การทำขนมโบราณ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 20,500.00 1 22,745.00
19 มิ.ย. 66 ฝึกอบรมการทำขนมโบราณ 50 20,500.00 22,745.00
6 อบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 7,500.00 1 7,500.00
7 ก.ค. 66 อบรมให้ความรู้พัฒนาผลิตภัณฑ์และช่องทางการตลาด 50 7,500.00 7,500.00
7 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 11,700.00 1 11,700.00
9 ก.พ. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต (ศึกษดูงาน) 50 11,700.00 11,700.00
8 เวทีถอดบทเรียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 7,700.00 1 7,700.00
8 ก.ค. 66 ถอดบทเรียนการทำงาน 50 7,700.00 7,700.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สมาชิกกลุ่มออมทรัพย์มีทักษะความรอบรู้ด้านการเงิน ด้านสุขภาพ และสังคม ไปสู่การปฎิบัติในครอบครัว 2.เกิดกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตที่สามารถดำเนินกิจกรรมช่วยเหลือชุมชนอย่างเป็นระบบรูปแบบอิสลาม 3.คนในชุมชนมีแหล่งเงินทุนของชุมชนในการประกอบอาชีพ โดยไม่ต้องไปพึ่งจากแหล่งเงินกู้นอกพื้นที

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2565 07:04 น.