stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวิสาหกิจข้าวเหนียวไก่ ณ นาเคียน
ภายใต้โครงการ โครงการการฟื้นฟูคุณภาพชีวิต และพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากแก่ผู้ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 เพื่อการสร้างเสริมสุขภาวะจังหวัดภาคใต้
ภายใต้องค์กร Node โควิค ภาคใต้
รหัสโครงการ 65-10018-14
วันที่อนุมัติ 1 กันยายน 2565
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กันยายน 2565 - 31 สิงหาคม 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ บ้านนาเคึยน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
ผู้รับผิดชอบโครงการ กานดา โต๊ะยีอิด
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 064-2591796
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ kanda30319@gmail.com
พี่เลี้ยงโครงการ นางสิทธิพรรณ เรือนจันทร์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลนาเคียน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 1 ก.ย. 2565 28 ก.พ. 2566 50,000.00
2 1 มี.ค. 2566 31 ก.ค. 2566 1 มี.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 25,000.00
3 1 ก.ค. 2566 31 ส.ค. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เป็นมา/ หลักการและเหตุผล/ ความสำคัญของปัญหา (ไม่เกิน 1.5 หน้า)
      ตำบลนาเคียนอำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตำบลที่ถูกก่อตั้งขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี โดยออรังมาลายู (ชาวมลายู) ปาตานี สายบุรี ลังกาวี ซึ่งถูกกวาดต้อนมาหลังเสร็จสงคราม เดิมทีประชาชนของตำบลนาเคียนเป็นเชลยศึกที่มาจากเมืองปัตตานี สายบุรี ลังกาวี โดยเชลยศึกเหล่านี้จะถูกกวาดต้อนจากปัตตานีไปยังกองทัพของกรุงสยาม โดยจะถูกกวาดต้อนไปยังกองทัพสยามที่เมืองนครศรีธรรมราช สงขลา และพัทลุง ซึ่งเชลยศึกเหล่านี้ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ตามเขตชายฝั่งทะเล นอกเขตเมืองและบางส่วนอยู่ในกรุงสยาม เชลยศึกที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราชส่วนหนึ่ง ได้ทำการบุกเบิกป่านาเคียน ซึ่งเป็นป่ารกร้างที่ปกคลุมด้วยต้นตะเคียน เพื่อทำแปลงนาปลูกข้าวส่งให้กับกองทัพนครศรีธรรมราช ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการประกาศเลิกทาส และให้ที่ดินที่นาแก่ประชาชนเพื่อประกอบอาชีพทางการเกษตร โดยคนในสมัยนั้นได้ทำการปลูกข้าวครั้งแรกเรียกว่า “นาหยาม” ซึ่งทำได้ไม่กี่ปี สภาพพื้นที่ก็ไม่เอื้ออำนวยทำให้ขาดทุน และต่อมาก็ได้ทำเป็น “นาปี” ด้วยความที่ชาวบ้านให้ความสำคัญกับธรรมชาติ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามภูมิศาสตร์และลักษณะของพื้นที่หมู่บ้านว่า “บ้านนาตะเคียน” หลายปีผ่านมาชาวบ้านจึงเรียกว่า “บ้านนาเคียน” และได้เรียกติดปากกันมาจนถึงปัจจุบันนี้       ตำบลนาเคียนสภาพพื้นที่เดิมเป็นป่ามีทุ่งนาบางส่วน ราษฎรมีอาชีพขายน้ำมันยางและยางตะเคียน พื้นที่มีต้นตะเคียนทองมาก และที่สำคัญคือมีต้นตะเคียนขนาดใหญ่อยู่บริเวณทางผ่านของผู้คนอำเภอลานสกาและพรหมคีรี ราษฎรผ่านไปมาใช้ต้นตะเคียนเป็นที่พักร้อน และเรียกชื่อที่พักนี้ว่า "ศาลานาเคียน" เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง จึงให้ชื่อว่า "ตำบลนาเคียน" ตำบลนาเคียนแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ 1 บ้านปากสระ หมู่ 2 บ้านหัวทะเล หมู่ 3 บ้านทุ่งโหนด หมู่ 4 บ้านคลองดิน หมู่ 5 บ้านนาเคียนเหนือ หมู่ 6 บ้านนาเคียนใต้ หมู่ 7 บ้านใหม่ หมู่ 8 บ้านโคกม่วง หมู่ 9 บ้านทวดเหนือ มีประชากรทั้งหมด 12,025 คน หรือ ประมาณร้อยละ 4.51 ของประชากรอำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เป็นชาย 5,949 คน หญิง 6,076 มีครัวเรือน นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 97 ศาสนาอิสลามร้อยละ 97 ศาสนา นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 3 มีประชากรแฝงในพื้นที่ เป็นกลุ่มอาชีพรับจ้างเป็นส่วนใหญ่
ทุนและศักยภาพทางสังคมของตำบลนาเคียน พบว่า เป็นตำบลที่มีกลุ่มอาชีพหลากหลายอาชีพ กลุ่มอาชีพ 15 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเลี้ยงสัตว์ (แพะ โคพันธุ์พื้นเมือง) กลุ่มอาชีพ (เย็บผ้า ปลูกผัก ปลูกข่า ปักผ้า ผลิตภัณฑ์ลูกปัด) กลุ่มออมทรัพย์ รวมถึงกลุ่มแม่บ้าน(กลุ่มสตรี เครื่องแกง ย่านลิเพา ดอกไม้ประดิษฐ์ ไม่ดัดไม่ประดับ นอกจากนั้น หมู่ที่ 4 มีกลุ่มอาชีพย่านลิเพาที่ได้รับรางวับโอทอประดับประเทศ และมีกลุ่มผักไฮโรโปนิค “กลุ่มบารากัตฟาร์ม” ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงาน จากสถานการณ์ 3 ปีที่ผ่านมา ตำบลนาเคียนเป็นตำบลหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด 19 มาตลอด เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่อยู่ใกล้เขตเมือง การเดินทาง การทำงาน และมีอาชีพ เชื่อมโยงสัมพันธ์กับเขตเมือง อีกทั้งบริบทประชาชนในชุมชนอาศัยอยู่แบบญาติมิตรมีการทำกิจกรรมในชุมชนร่วมกันตลอดเวลาทั้งกิจกรรมศาสนา ประเพณี หรือการไปมาหาสู่เยี่ยมเยียนกันแบบธรรมเนียมคนไทย นอกจากนั้นผลกระทบที่สำคัญคือ ประชาชนประสบปัญหา การประกอบอาชีพโดยเฉพาะอาชีพค้าขาย (ร้อยละ 36) รายได้ลดลง และผู้ที่เป็นลูกจ้างถูกเลิกจ้างงาน (ร้อยละ 31) กลับมาอยู่ที่บ้าน ซึ่งส่งผลทำให้เกิดร้านค้าย่อยรายใหม่ทั่วหมู่บ้านเพิ่มขึ้นจาก 28 ร้าน เป็น 45 ร้าน (ปี 2564-2565) จำหน่าย อาหารประเภททอด ได้แก่ ไก่ทอด ลูกชิ้นทอด ไส้กรอกทอด ไก่ย่าง กล้วยแขก ขนมทอดต่าง ตลอดจนร้านขายเครื่องดื่มรสหวานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งร้านเหล่านี้ใช้ระยะเวลาจำหน่ายอาหารเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็สามารถสร้างรายได้ได้ ซึ่งพบว่า ร้านค้ารายย่อยเปิดขายอาหารโดยใช้เวลา 3 ชั่วโมงต่อวัน จนถึง 8 ชั่วโมงต่อวัน จากการสำรวจของแกนนำชุมชนวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 พบว่า ในหมู่ที่ 4, 5, 6, 7 พบว่า ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด มีร้านขายเหนียวไก่ทอด และไก่ย่างในตำบลนาเคียนจำนวน 19 ร้าน ขณะเกิดสถานการณ์โควิดมีร้านขายข้าวเหนียวไก่มาเปิดเพิ่ม 18 ร้าน และทั้ง 37 ร้านสามารถอยู่ต่อจนปัจจุบัน โดยบางร้านจำหน่ายเฉพาะช่วงเวลาเช้าหรือช่วงเวลาหลังเลิกเรียน และจำหน่ายตั้งแต่เช้าจนถึงค่ำ จากการสัมภาษณ์ร้านข้าวเหนียวไก่ทอด 3 ร้าน พบว่ามีกำไรจากการขายครั้งละ 200 – 600 บาท ซึ่งน้อยมาก แต่จำเป็นต้องทำเนื่องจากทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ประกอบกับต้นทุน วัตถุดิบมีราคาเพิ่มขึ้นทุกร้าน บางร้านอยากใช้วัตถุดิบที่ดี แต่ราคาแพง ส่งผลต่อต้นทุนสูงขึ้น นอกจากนั้นด้วยบริบทของชุมชนนั้น การรับประทานข้าวเหนียวไก่ทอด หรือไก่ย่าง เป็นอาหารประจำชุมชน โดย ในตอนเช้าจะขายดีมาก เนื่องจากเป็นอาหารเช้ามื้อหลักของนักเรียน และวันทำงาน อีกทั้งการบริโภคข้าวเหนียวไก่เป็นประจำ นั้น ทำให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพได้คือ ได้สารอาหารไม่เพียงพอ ได้รับสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรทและไขมันสูง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนได้ อีกทั้งจาการสัมภาษณ์พบว่า ช่วงสถานการณ์โควิดระบาดนั้น มีแม่ค้าข้าวเหนียวไก่มาเป็นคู่แข่งเปิดร้านเพิ่ม ทำให้ลูกค้าประจำไปซื้อร้านเปิดใหม่เพราะอยากทดลองรสชาติใหม่ และระยะทางเข้าถึงร้านอยู่ใกล้บ้านมากที่สุด นอกจากนั้นพบว่า ความรู้ และทักษะการขายข้าวเหนียวไก่นั้นไม่ได้ผ่านการอบรบ หรือค้นหาข้อมูลเรื่องกระบวนการผลิต และขายที่ปลอดภัยเป็นมิตรต่อสุขภาพผู้บริโภค ส่วนใหญ่เกิดจาดประสบการณ์ที่เคยปรุงบริโภคในครัวเรือน หรือสังเกตจากแม่ค้าอื่นๆ เมื่อแกนนำทราบว่ามีแหล่งงบประมาณเพื่อมาพัฒนาเรื่องกลุ่มวิสาหกิจ อาชีพในชุมชน จึงเปิดเวทีพัฒนาข้อเสนอโดยมีผู้เข้าร่วม 16 คน ดังนี้ 1.แกนนำชุมชนจำนวน 11 คน 2. พยาบาลวิชาชีพใน รพ.สต. 1 คน 3. แพทย์แผนไทยใน รพ.สต. 1 คน 4. แม่ค้าขายข้าวเหนียวไก่ 3 คน ร่วมกันวิเคราะห์ โดยลงความเห็นว่า อยากพัฒนากลุ่มแม่ค้าขายข้าวเหนียวไก่ทอด และไก่ย่าง ให้ขายอาหารให้ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพผู้บริโภคและสุขภาพของแม่ค้าเอง และมีรายได้ที่ดีเหมาะสม เพื่อจัดทำข้อเสนอของโครงการดังนี้ สาเหตุแห่งปัญหา สาเหตุแห่งปัญหาด้านบุคคล ได้แก่ ด้านแม่ค้าขายข้าวเหนียวไก่ โดย ใช้ประสบการณ์เดิมจากประสบการณ์ของแม่ค้าคนอื่น หรือไปพบเห็นวิธีการปรุงแบบง่ายๆ ขาดความรู้เรื่อง 1) การคัดสรรวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สด ใหม่ ได้แก่ การเลือกไก่สด ผงปรุงรส แป้งที่ใช้ผสม น้ำมันทอด รวามถึงสมุนไพรที่ทำให้กลิ่นและรสชาติดีขึ้น 2) กระบวนการเตรียมที่ถูกสุขลักษณะ 3) ขั้นตอนการปรุง ได้แก่ ไฟที่เหมาะสม ความร้อนที่เหมาะสม วัสดุที่ใช้ใส่หลังปรุงเสร็จ รวมถึงน้ำจิ้มไก่ 4) ภาชนะที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนที่เป็นมิตรกับสุขภาพ 5) ความรู้เรื่องประโยชน์ ผลกระทบเรื่องสัดส่วนสารอาหารที่ทุกคนควรได้รับที่เหมาะสมในแต่ละวัน 6) ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์ การขาย การประชาสัมพันธ์ ทั้งขายในร้าน ขายแบบส่งถึงบ้าน 7) การพัฒนาบุคลิก การแต่งกาย รวมถึงสุขภาพของแม่ค้าเอง ด้านผู้บริโภค พบว่า คำนึงถึงความอร่อยเป็นหลัก โดยไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องสารอาหารที่ควรได้รับอย่างเหมาะสม และยึดถือความสะดวกสบายซื้อง่าย พกพาไปไปรับประทานได้ง่าย สาเหตุแห่งปัญหาด้านสังคม สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ร้านขายข้าวเหนียวไก่ส่วนใหญ่มักอยู่ริมถนนอาจส่งผลเรื่องความเสี่ยง อุบัติเหตุจราจรทั้งแม่ค้า และผู้บริโภค อีกทั้งแม่ค้าทั้ง 29 ร้านนั้นไม่มีภาชนะปกปิดฝุ่น หรือละอองต่างๆ ภูมิอากาศที่เป็นใจทำให้การขายข้าวเหนียวไก่ ขายได้ปริมาณเพิ่มขึ้นคือ ฤดูฝน ขายดีมากกว่าฤดูร้อน กลุ่มวัยที่ชื่นชอบคือ วัยเด็กเล็ก วัยเรียน และวัยรุ่น
สาเหตุแห่งปัญหาด้านระบบ/กลไก ได้แก่ ไม่มีภาครัฐ ภาคท้องถิ่น รวมถึงองค์กรต่างในชุมชนเคยคิดถึงการพัฒนาเรื่องนี้มาก่อน อาจพบบ้างในหน่วยงานสาธารณสุขที่ให้ความรู้ว่า ข้าวเหนียวไก่ทอดเป็นอาหารที่มีไขมันสูง ส่งผลทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้ แต่ไม่มีแผนจัดการ ไม่มีกิจกรรมการพัฒนากลุ่มแม่ค้าขายข้าวเหนียวไก่ ผลกระทบของปัญหา ด้านบุคคล ส่งผลให้คนบริโภคเป็นประจำได้รับสารอาหารไม่เหมาะสม เป็นโรคเรื้อรังได้ และได้รับสิ่งที่ไม่เหมาะสมที่เข้าสู่ร่างกายจากกระบวนการเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการปรุง ตลอดถึงขั้นตอบการขายได้ ด้านแม่ค้าอาจขายได้ดีในช่วงแรกๆ แต่เมื่อกระบวนการต่างๆไม่เหมาะสมส่งผลให้คนมาซื้อน้อยลงได้ และแม่ค้าเองเกิดความเครียดจากการมีรายได้น้อยลง ด้านสังคมสิ่งแวดล้อม กลุ่มวัยที่ชื่นชอบการบริโภคคือ วัยเด็กเล็ก วัยเรียน และวัยรุ่น ได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัยเหมาะสมกับสุขภาพ และหน่วยงานต่างๆควรเข้ามาสนใจในประเด็นนี้ และสังคมข้าวเหนียวไก่เกิดขึ้น การขายที่มีคุณภาพในทุกฤดูกาล รายได้ของแม้ค้าเพิ่มขึ้น ด้านระบบ/กลไก ภาครัฐ ภาคท้องถิ่น รวมถึงองค์กรต่างในชุมชนเข้าร่วมมือกันตระหนักในเรื่องง่ายๆ ที่เป็นสาเหตุหนึ่งส่งผลให้คนในชุมชนสุขภาพดี และเข้ามาสนับสนุนความรู้ งบประมาณ หรือส่งเสริมการรวมกลุ่มเพิ่มขึ้น

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

 

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อจัดตั้งกลุ่มแกนนำขับเคลื่อนวิสาหกิจเหนียวไก่
  1. มีรายชื่อและสมาชิกกลุ่มอย่างน้อย 25 คน
  2. มีแผนการพัฒนากลุ่ม และพัฒนางานของแกนนำขับเคลื่อนวิสาหกิจเหนียวไก่
  3. มีรายงานการประชุมประจำเดือนของแกนนำขับเคลื่อนวิสาหกิจเหนียวไก่
2 2. เพื่อให้สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงิน
  1. สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจมีความรอบรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงินร้อยละ 80
  2. สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจนำความรอบรู้ด้านสุขภาพและด้านการเงินไปขยายผลให้กับสมาชิกกลุ่มอื่นในชุมชนอย่างน้อย 4 กลุ่ม ในชุมชน
3 3. เพื่อให้แม่ค้าข้าวเหนียวไก่มีรายได้เพิ่มขึ้น
  1. แม่ค้าข้าวเหนียวไก่มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 80
  2. แม่ค้าข้าวเหนียวไก่ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย สม่ำเสมอติดต่อกัน 6 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 80
4 4. เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวเหนียวมีคุณภาพ
  1. ผู้บริโภคได้บริโภคข้าวเหนียวไก่มีคุณภาพ ร้อยละ 100
stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
แม่ค้าเหนียวไก่ 30 คน 30 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณก.ย. 65ต.ค. 65พ.ย. 65ธ.ค. 65ม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66
1 กลุ่มวิสาหกิจประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง(17 ก.ย. 2565-17 มิ.ย. 2566) 3,300.00                        
2 รับสมัครเลือกแกนนำชุมชนรวมถึงแม่ค้าข้าวเหนียวไก่เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจ(17 ก.ย. 2565-17 ก.ย. 2565) 8,000.00                        
3 กิจกรรมร่วมกับ สสส(1 ต.ค. 2565-1 ต.ค. 2565) 23,640.00                        
4 แกนนำชุมชนกลุ่มวิสาหกิจ สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการคัดสรรวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์ของแม่ค้าเหนียวไก่ /จัดทำความรู้เรื่อง การัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารขข้าวเหนียวไก /ทำคู่มือการค้าการขายเหนียวไก่ ณ นาเคียน(12 ต.ค. 2565-12 ต.ค. 2565) 3,340.00                        
5 5. กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพความรู้ ทักษะ ให้แก่แม่ค้า ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเงิน และบัญชีรายรับรายจ่าย(22 ต.ค. 2565-19 พ.ย. 2565) 20,420.00                        
6 แกนนำเยี่ยม แม่ค้า และผู้บริโภค(13 ม.ค. 2566-4 ส.ค. 2566) 12,620.00                        
7 กิจกรรมพัฒนาช่องทางการขาย แบบออนไลน์ และในร้าน(5 ก.พ. 2566-5 ก.พ. 2566) 1,000.00                        
8 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของแม่ค้าข้าวเหนียวไก่ และเสียงสะท้อนจากผู้บริโภค(18 มี.ค. 2566-18 มี.ค. 2566) 11,720.00                        
9 มหกรรมเหนียวไก่ปลอดภัย ณ นาเคียน(15 ก.ค. 2566-15 ก.ค. 2566) 10,200.00                        
รวม 94,240.00
1 กลุ่มวิสาหกิจประชุมเดือนละ 1 ครั้ง จำนวน 10 ครั้ง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 110 3,300.00 10 3,300.00
17 ก.ย. 65 ประชุมครั้งที่ 1 11 330.00 330.00
9 ต.ค. 65 ประชุมครั้งที่ 2 11 330.00 330.00
17 พ.ย. 65 ประชุมครั้งที่ 3 11 330.00 330.00
17 ธ.ค. 65 ประชุมครั้งที่ 4 11 330.00 330.00
17 ม.ค. 66 ประชุมครั้งที่ 5 11 330.00 330.00
17 ก.พ. 66 ประชุม ครั้งที่ 6 11 330.00 330.00
17 เม.ย. 66 ประชุม ครั้งที่ 8 11 330.00 330.00
17 พ.ค. 66 ประชุม ครั้งที่ 9 11 330.00 330.00
23 พ.ค. 66 ประชุม ครั้งที่ 7 11 330.00 330.00
17 มิ.ย. 66 ประชุม ครั้งที่ 10 11 330.00 330.00
2 รับสมัครเลือกแกนนำชุมชนรวมถึงแม่ค้าข้าวเหนียวไก่เพื่อจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 8,000.00 1 8,000.00
26 ก.ย. 65 รับสมัคร และชี้แจงวัตถุประสงค์โครงการ 100 8,000.00 8,000.00
3 กิจกรรมร่วมกับ สสส กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 63 23,640.00 6 12,250.00
1 - 2 ต.ค. 65 ปฐมนิเทศน์ 2 3,000.00 3,260.00
5 - 6 พ.ย. 65 อบรมความรอบรู้ด้านสุขภาพและการเงินกับหน่วยจัดการ ณ เขาพับผ้่ารีสอร์ท 3 3,200.00 3,200.00
5 ก.พ. 66 ARE ครั้งที่่1 ร่วมกับภาคีในพื้นที่ตำบลนาเคียน 21 900.00 900.00
9 ก.พ. 66 ถอนเงินออกจากบัญชีธนาคารกรุงไทย 0 500.00 500.00
10 - 12 ก.พ. 66 กิจกรรมAREครั้งที่ 1ร่วมกับ สสส ที่โรงแรมเซาเทรินแอร์พอต อ.หาดใหญ่ 3 4,040.00 4,040.00
2 มี.ค. 66 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้ง ที่ 1 2 4,200.00 -
1 พ.ค. 66 - 29 เม.ย. 67 วัสดุในโครงการ 30 3,000.00 350.00
8 ก.ค. 66 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้ง ที่ 2 2 4,800.00 -
4 แกนนำชุมชนกลุ่มวิสาหกิจ สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการคัดสรรวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์ของแม่ค้าเหนียวไก่ /จัดทำความรู้เรื่อง การัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารขข้าวเหนียวไก /ทำคู่มือการค้าการขายเหนียวไก่ ณ นาเคียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 41 3,340.00 2 2,740.00
12 ต.ค. 65 สำรวจข้อมูลพฤติกรรมการคัดสรรวัตถุดิบ การปรุง การขาย และการประชาสัมพันธ์ของแม่ค้าเหนียวไก่ /จัดทำความรู้เรื่อง การัฒนาด้านสุขาภิบาลอาหารขข้าวเหนียวไก /ทำคู่มือการค้าการขายเหนียวไก่ ณ นาเคียน 11 2,740.00 2,140.00
4 มี.ค. 66 ค่าทำคู่มือการขายข้าวเหนียวไก่ 30 เล่ม 30 600.00 600.00
5 5. กิจกรรมอบรมพัฒนาศักยภาพความรู้ ทักษะ ให้แก่แม่ค้า ความรอบรู้ด้านสุขภาพด้านการเงิน และบัญชีรายรับรายจ่าย กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 120 20,420.00 4 20,420.00
22 ต.ค. 65 ครั้งที่ 1 กิจกรรมการออกแบบการบันทึกรายรับ รายจ่าย ในการขายข้าวเหนียวไก่ และครอบครัว 30 4,800.00 4,800.00
29 ต.ค. 65 ครั้งที่ 2 การคัดสรรวัตถุดิบ และบัญชีรายรับรายจ่าย 30 4,800.00 4,800.00
5 พ.ย. 65 ครั้งที่ 3 การปรุง 30 6,020.00 6,020.00
27 พ.ย. 65 ครั้งที่ 4 การขาย และการประชาสัมพันธ์การขาย 30 4,800.00 4,800.00
6 แกนนำเยี่ยม แม่ค้า และผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 88 12,620.00 8 12,620.00
14 ม.ค. 66 แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 1 11 1,840.00 1,540.00
11 มี.ค. 66 แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 4 11 1,540.00 1,840.00
8 เม.ย. 66 แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 5 11 1,540.00 1,540.00
8 เม.ย. 66 แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 6 11 1,540.00 1,540.00
13 พ.ค. 66 แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 7 11 1,540.00 1,540.00
29 พ.ค. 66 แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 2 11 1,540.00 1,540.00
4 มิ.ย. 66 แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 3 11 1,540.00 1,540.00
10 มิ.ย. 66 แกนนำเยี่ยมแม่ค้าครั้งที่ 8 11 1,540.00 1,540.00
7 กิจกรรมพัฒนาช่องทางการขาย แบบออนไลน์ และในร้าน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 30 1,000.00 1 1,000.00
26 มี.ค. 66 พัฒนาการขาย 30 1,000.00 1,000.00
8 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของแม่ค้าข้าวเหนียวไก่ และเสียงสะท้อนจากผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 130 11,720.00 3 11,720.00
18 มี.ค. 66 ครั้งที่ 1 แม่ค้า 30 คน แลกเปลี่ยนปัญหา อุปสรรค ความสำเร็จ แนวทางพัฒนาการขาย 30 4,200.00 4,200.00
26 มี.ค. 66 ครั้งที่ 2 แม่ค้า 30 คน และผู้บริโภค 30 คนแลกเปลี่ยน รับฟังเสียงสะท้อนของผู้บริโภค 60 4,800.00 4,800.00
8 เม.ย. 66 ครั้งที่ 3 แม่ค้า 30 คน และ หน่วยงานในพื้นที่ ได้แก่ อบต. รพ.สต. ผู้ใหญ่บ้าน ฯลฯ 40 2,720.00 2,720.00
9 มหกรรมเหนียวไก่ปลอดภัย ณ นาเคียน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 150 10,200.00 1 10,200.00
9 ก.ค. 66 . มหกรรมเหนียวไก่ปลอดภัย ณ นาเคียน 150 10,200.00 10,200.00

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ย. 2565 07:52 น.