directions_run

3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ 3. ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ภายใต้องค์กร องค์การบริหารส่วนจังหวัดสตูล
รหัสโครงการ 65-10154-004
วันที่อนุมัติ 5 มกราคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 5 มกราคม 2566 - 15 พฤศจิกายน 2566
งบประมาณ 80,000.00 บาท
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอภิรัฐ แซะอามา
เบอร์โทรผู้รับผิดชอบโครงการ 0835395048
อีเมล์ผู้รับผิดชอบโครงการ apirat.za@obec.moe.go.th
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวราฎา กรมเมือง
พื้นที่ดำเนินการ หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.753467,100.069365place
stars
2. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ม.ค. 2566 15 มิ.ย. 2566 5 ม.ค. 2566 15 มิ.ย. 2566 50,000.00
2 15 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 15 มิ.ย. 2566 30 ก.ย. 2566 25,000.00
3 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 1 ต.ค. 2566 15 พ.ย. 2566 5,000.00
รวมงบประมาณ 80,000.00
stars
3. ประเด็นที่เกี่ยวข้อง
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
4. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุหรือคนชรา ตามความจำกัดความขององค์การอนามัยโลก หมายถึง คนที่มีอายุ 60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลก มีอัตราการเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และการพัฒน
1.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ผู้สูงอายุหรือคนชรา ตามความจำกัดความขององค์การอนามัยโลก หมายถึง คนที่มีอายุ 60 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิง ปัจจุบันประเทศต่างๆทั่วโลก มีอัตราการเพิ่มจำนวนผู้สูงอายุมากขึ้นเรื่อยๆทุกปี เหตุที่เป็นเช่นนี้ เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และการพัฒนาทางด้านสาธารณสุข ทำให้สุขภาพอนามัยของประชาชนดีขึ้น และมีอายุยืนยาว ทำให้ผู้สูงอายุในประเทศไทยมีแนวโน้มมากขึ้น องค์การอนามัยโลก ได้นิยามไว้ว่า “สุขภาพ” หมายถึง สุขภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย จิตใจ สังคม และปัญญา มิใช่เพียงการปราศจากโรค หรือความพิการ เท่านั้น “ สุขภาพ” ขององค์การอนามัยโลก และ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 หรือสุขภาวะที่สมบูรณ์ทุกๆทางเชื่อมโยงกัน สะท้อนถึงความเป็นองค์รวมอย่างแท้จริงของสุขภาพที่เกื้อหนุนและยั่งยืน การมีสุขภาวะดีครบทั้งสี่ด้าน ได้แก่ สุขภาวะทางกาย หมายถึง การมีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง มีเศรษฐกิจดี มีสิ่งแวดล้อมดี ไม่มีอุบัติภัย สุขภาวะทางจิต หมายถึง จิตใจที่เป็นสุข ผ่อนคลาย ไม่เครียด คล่องแคล่ว มีความเมตตากรุณา มีสติ มีสมาธิ สุขภาวะทางสังคม หมายถึง การอยู่ร่วมกันด้วยดีในครอบครัว ในชุมชน ในที่ทำงาน ในสังคม ซึ่งรวมถึงการมีบริการทางสังคมที่ดีและมีสันติภาพ สุขภาวะทางปัญญา หมายถึง ความสุขอันประเสริฐที่เกิดจากจิตใจที่สูงเข้าถึงความจริง ลด ละ ความเห็นแก่ตัว ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางอย่างเกิดขึ้นก่อให้เกิดภาวะคุกคามต่อ สุขภาวะของคนไทย การเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวกับอาหาร วิถีชีวิต ค่านิยม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ล้วนแล้วแต่ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพ ประเทศไทยกำลังก้าวสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น โครงสร้างอายุของประชากรมีแนวโน้มที่จะสูงอายุขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งจะก่อให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญที่มีผลต่อสังคมไทยอย่างมาก ผลการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทยปี 2557 พบว่าผู้สูงอายุร้อยละ 95 มีปัญหาสุขภาพด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม โรคถุงลมโป่งพอง โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตายและอัมพาต รวมทั้งยังมีภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่ามีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 26.5 มีการออกกำลังกายเป็นประจำ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อทั้งตัวผู้สูงอายุเอง ครอบครัว รวมถึงภาครัฐที่จะต้องใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสุขภาพ ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องตลอดจนการปรับพฤติกรรมสุขภาพให้เหมาะสม ในด้านสังคม พบว่า ในปี 2560 มีผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม/ชมรมผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 33.7 ส่วนด้านสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินชีวิต พบว่า ผู้สูงอายุกว่าร้อยละ 10 เคยมีประสบการณ์ในการหกล้ม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ราวจับ และการปรับสภาพพื้นที่ในบ้านและนอกบ้านให้เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างปลอดภัยและป้องกันการหกล้ม ซึ่งเป็นสาเหตุของการบาดเจ็บอันนำไปสู่ภาวะติดบ้านและติดเตียงตามมา ในด้านเศรษฐกิจ พบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 34.3 เป็นผู้สูงอายุที่ยากจน โดยผู้สูงอายุ 4.4 ล้านคน (ร้อยละ 37) ยังคงทำงานอยู่ ซึ่งผู้สูงอายุชายทำงานมากกว่าผู้สูงอายุหญิงเกือบ 2 เท่า อีกทั้ง ในปัจจุบันผู้สูงอายุเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ซึ่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตนั้นง่ายต่อการสื่อสาร แต่มีทั้งคุณและโทษ จึงควรพัฒนาช่องทางสื่อสารไปยังผู้สูงอายุเพื่อให้เกิดการเข้าใจปัญหา และการเตรียมความพร้อมในการแก้ไขปัญหา เช่น การแก้ไขปัญหาข่าวลวง และความเชื่อที่ไม่มีหลักฐาน ดังนั้น เพื่อรองรับสังคมสูงอายุและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ กลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในระดับหมู่บ้านหรือชุมชนถือเป็นกลไกสำคัญที่มีบทบาทสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีความใกล้ชิด เข้าใจสภาพปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุ รวมถึงสามารถเข้าถึงและพัฒนาผู้สูงอายุในชุมชนได้ดีที่สุด แต่ในปัจจุบันกลับพบว่ากลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุในบางพื้นที่ยังขาดความเข้มแข็งในการดำเนินงานเพื่อสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม กล่าวคือ บางกลุ่มเพิ่งอยู่ในระยะเริ่มต้นของการรวมตัว หรือบางกลุ่มแม้จะมีการรวมตัวมานานแล้วแต่ขาดการดำเนินกิจกรรมอย่างต่อเนื่องให้แก่ผู้สูงอายุในชุมชน
ชุมชนบ้านเขาน้อย ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล มีจำนวนครัวเรือน 140ครัวเรือน มีประชากรจำนวน 700 คนเศษ มีผู้สูงอายุจำนวน 92 คน ผู้สูงอายุติดสังคม 80 คน ผู้สูงอายุติดบ้าน
3 คน ผู้สูงอายุติดเตียง 2 คน ผู้สูงอายุพิการ 7 คน ผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านสุขภาพ 15 คน เป็นความดันโลหิตสูง
30 คน เป็นโรคเบาหวาน 3 คน เป็นโรคหัวใจ 0 คน อยู่ตามลำพัง 0 คน มีสุขภาพดี 44 คน (แหล่งที่มาของข้อมูล จาก รพ.สต.ย่านซื่อ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล) หมู่บ้านได้จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย ดำเนินกิจกรรมมาเป็นระยะเวลา 1 ปีกว่า โดยดำเนินกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุอย่างต่อเนื่อง กลุ่มผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย มีความตระหนักถึงคุณค่าและสุขภาพของผู้สูงอายุ จึงได้จัดกิจกรรมต่างๆให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของผู้สูงอายุ โดยมุ่งหวังให้เกิดการมีส่วนร่วมของครอบครัว เน้นในด้านการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพที่ดี ไม่เป็นภาระต่อครอบครัว และสังคมต่อไป

stars
5. กรอบแนวคิดและยุทธศาสตร์หลัก

ไม่มี

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างความเข้มแข็งแกนนำและให้กับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุให้มีความรู้ในการสร้างเสริมสุขภาพให้แก่ผู้สูงอายุทั้งกาย ใจ และสังคม

-คณะกรรมการ 13 คน มีความเข้าใจและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย เชิงคุณภาพ -คณะกรรมการ 13 มีความเข้าใจในการส่งเสริมสุขภาพและสามารถออกแบบกิจกรรมที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุในชุมชนได้ -มีข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชนที่ครบถ้วน

2 สมาชิกชมรมผู้สูงอายุและครอบครัวมีความรู้และตระหนักในการดูแลผู้สูงอายุ

-ผู้สูงอายุ 30 คนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน มีความรู้ในการดูแลสุขภาพ -ผู้สูงอายุ 30 คนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คนมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้อย่างเหมาะ -มีข้อตกลงของชุมรมผู้สูงอายุ

3 สมาชิกชมรมผู้สูงอายุเข้มแข็งมีกการปฏิบัติตามข้อตกลงและติดตามต่อเนื่อง

-ชมรมผู้สูงอายุมีการทำกิจกรรมหรือดำเนินการตามข้อตกลงร่วมของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุเป็นประจำทุกสัปดาห์ -มีข้อมูลภาวะสุขภาพและพฤติกรรมของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุรวมทั้งการคืนข้อมูลแก่ชมรมผู้สูงแก่ครอบครัวเป็นประจำ

4 ผู้สูงอายุได้รับการดูแลและมีพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม

1.ผู้สูงอายุ 30 คนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน ออกกำลังกายแบบรวมกลุ่มหรือที่บ้านอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที 2. ผู้สูงอายุ30 คนจากผู้เข้าร่วมกิจกรรม 50 คน ร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตเดือนละ 1 ครั้ง 3.มีการจัดกิจกรรมชมรมเดือนละ 1 ครั้ง 4. ผู้ป่วยติดเตียงบ้าน ติดเตียง และผู้สูงอายุที่พิการได้รับการเยี่ยมบ้านทุก 3 เดือน(จำนวน 12 คน)

stars
7. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ผู้สูงอายุบ้านเขาน้อย 50 -
stars
8. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณม.ค. 66ก.พ. 66มี.ค. 66เม.ย. 66พ.ค. 66มิ.ย. 66ก.ค. 66ส.ค. 66ก.ย. 66ต.ค. 66พ.ย. 66
1 ไม่มีกลุ่มกิจกรรม(9 ม.ค. 2566-9 ม.ค. 2566) 500.00                      
2 ค่าบริหารจัดการโครงการ(28 ม.ค. 2566-31 ต.ค. 2566) 2,270.00                      
3 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ(5 ก.พ. 2566-23 ก.ย. 2566) 4,230.00                      
4 การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง(15 ก.พ. 2566-15 ก.พ. 2566) 8,400.00                      
5 การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน(25 ก.พ. 2566-16 ก.ย. 2566) 4,830.00                      
6 การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ(4 มี.ค. 2566-18 มี.ค. 2566) 6,430.00                      
7 กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ(5 มี.ค. 2566-8 ต.ค. 2566) 24,144.00                      
8 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง(14 พ.ค. 2566-21 พ.ค. 2566) 18,400.00                      
9 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน(2 ต.ค. 2566-2 ต.ค. 2566) 8,220.00                      
รวม 77,424.00
1 ไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 500.00 1 500.00
16 ม.ค. 66 เปิดบัญชีธนาคาร 0 500.00 500.00
2 ค่าบริหารจัดการโครงการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 2 2,270.00 8 5,242.00
5 ม.ค. 66 เซ็น MOU 0 0.00 192.00
28 ม.ค. 66 ปฐมนิเทศโครงการ 2 270.00 216.00
24 ก.พ. 66 ตรายางโครงการ 0 0.00 190.00
24 ก.พ. 66 ป้ายไวนิล 0 0.00 1,284.00
27 เม.ย. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 0 0.00 560.00
18 ส.ค. 66 กิจกรรมชี้แจงรายละเอียดการจัดทำเอกสารการเงินให้กับโครงการย่อย 0 0.00 290.00
26 ก.ย. 66 เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครั้งที่ 2 0 0.00 510.00
30 ก.ย. 66 จัดทำรายงานและบันทึกรายงานความก้าวหน้าผ่านระบบรายงานความก้าวหน้าออนไลน์ 0 2,000.00 2,000.00
3 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 78 4,230.00 6 4,230.00
5 ก.พ. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1/6 13 1,955.00 455.00
11 มี.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/6 13 455.00 455.00
2 เม.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 3/6 13 455.00 455.00
23 พ.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 4/6 13 455.00 455.00
9 ส.ค. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 5/6 13 455.00 1,955.00
16 ก.ย. 66 ประชุมคณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 6/6 13 455.00 455.00
4 การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 64 8,400.00 4 8,400.00
17 - 19 เม.ย. 66 การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 1/4 16 2,100.00 2,100.00
2 - 4 ก.ค. 66 การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 2/4 16 2,100.00 2,100.00
5 - 7 ส.ค. 66 การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 3/4 16 2,100.00 2,100.00
3 - 5 ก.ย. 66 การเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดบ้าน ผู้ป่วยติดเตียง ครั้งที่ 4/4 16 2,100.00 2,100.00
5 การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 26 4,830.00 2 4,830.00
25 ก.พ. 66 การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 1/2 13 2,415.00 2,415.00
17 ก.ย. 66 การสำรวจและจัดทำข้อมูลสถานการณ์ผู้สูงอายุในชุมชน ครั้งที่ 2/2 13 2,415.00 2,415.00
6 การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 26 6,430.00 2 6,560.00
4 มี.ค. 66 การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 1/2 13 3,280.00 3,410.00
18 มิ.ย. 66 การอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการชมรมผู้สูงอายุ ครั้งที่ 2/2 13 3,150.00 3,150.00
7 กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 250 24,144.00 5 24,360.00
5 มี.ค. 66 กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 1/5 50 4,872.00 5,960.00
6 พ.ค. 66 กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 2/5 50 4,872.00 4,000.00
24 มิ.ย. 66 กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 3/5 50 5,200.00 5,200.00
20 ส.ค. 66 กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 4/5 50 4,000.00 4,000.00
2 ก.ย. 66 กิจกรรมชมรมผู้สูงอายุเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ ครั้งที่ 5/5 50 5,200.00 5,200.00
8 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 100 18,400.00 2 18,400.00
4 มิ.ย. 66 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ครั้งที่ 1/2 50 9,200.00 9,200.00
8 ก.ค. 66 การอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุในเรื่องการดูแลสุขภาพด้วยตนเอง ครั้งที่ 2/2 50 9,200.00 9,200.00
9 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 50 8,220.00 1 8,220.00
18 ก.ย. 66 เวทีสรุปบทเรียนการดำเนินงาน 50 8,220.00 8,220.00
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 1 5.16
8 พ.ย. 66 เบิกดอกเบี้ยนำมาคืน อบจ. 0 0.00 5.16

 

stars
9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 

stars
10. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 2566 13:51 น.