directions_run

โครงการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่และไข้หวัดใหญ่ ปี 2566

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคติดต่ออุบัติใหม่และไข้หวัดใหญ่ ปี 2566
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ยกระดับคุณภาพชีวิตในแม่และเด็ก ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสามารถเข้าถึงบริการ วางแผนครอบครัว ชะลอการตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

พัฒนาระบบบริการ ลดการเสียชีวิตของแม่และเด็ก ลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ เพิ่มการเข้าถึงระบบสุขภาพแบบเชิงรุก/พัฒนาเด็กด้านพัฒนาการ โภชนาการ วัคซีนและการดูแลสุขภาพช่องปาก
  1. เพื่อเฝ้าระวังควบคุมโรคไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่จังหวัดที่มีการระบาด
  2. พัฒนาระบบข้อมูลและการบริหารจัดการวัคซีน
groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
เพิ่มรายได้ ลดความยากจนในกลุ่มครอบครัว ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

 

ผลักดันนโยบายเงินอุดหนุนเด็กเล็กแบบถ้วนหน้า เข้าถึงสิทธิเบี้ยเลี้ยง/เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด

 

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 10
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
เครือข่ายสาธารณสุขในจังหวัด 10 -
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา (influenza virus) อาการที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ ไข้สูง คัดจมูก เจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ ไอและรู้สึกเหนื่อย โดยโรคไข้หวัดใหญ่ สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ และกลุ่มเสี่ยงที่อาจเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ได้ง่าย คือ สถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก ในปี 2565 (ณ วันที่ 12 พฤษภาคม 2565) ในพื้นที่ เขต 12 พบผู้ป่วย 143 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2.86 ต่อประชากรแสนคน ไม่มีรายงานผู้ป่วยเสียชีวิต จังหวัดที่พบอัตราป่วยสูงสุดคือ จังหวัดนราธิวาส 11.61 ต่อประชากรแสนคน (94 ราย) รองลงมา คือ จังหวัดสตูล 4.31 ต่อประชากรแสนคน (14 ราย) จังหวัดตรัง 2.03 ต่อประชากรแสนคน (13 ราย) จังหวัดยะลา 1.48 ต่อประชากรแสนคน (8 ราย) จังหวัดปัตตานี 1.10 ต่อประชากรแสนคน (8 ราย) จังหวัดพัทลุง 0.96 ต่อประชากรแสนคน (5 ราย) และจังหวัดสงขลา 0.07 ต่อประชากรแสนคน (1 ราย) เมื่อจำแนกจำนวนผู้ป่วยเป็นรายเดือน พบว่าจำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นสูงในช่วงเดือนกรกฎาคม – สิงหาคมของทุกปี ในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคมของทุกปี กระทรวงสาธารณสุขจะมีการรณรงค์วัคซีนไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล ใน 7 กลุ่มเสี่ยง ได้แก่ 1) หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป 2) เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปีทุกคน 3) ผู้มีโรคเรื้อรัง ดังนี้ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน 4) บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป 5) โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) 6) โรคอ้วน (น้ำหนัก> 100 กิโลกรัม หรือ BMI > 35 กิโลกรัมต่อตารางเมตร) และ7) ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ข้อมูลการได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ปี 2564 จากระบบข้อมูล Health Data Center พบว่าส่วนใหญ่วัคซีนจะถูกฉีดให้กับกลุ่มผู้สูงอายุร้อยละ 44.69 และผู้ป่วยเรื้อรังร้อยละ 16.76 ในขณะที่กลุ่มเด็ก 6 เดือนถึง 2 ปี ได้เพียงร้อยละ 1.66 ซึ่งเป็นกลุ่มที่พบอัตราป่วยสูงที่สุดในเขต ยังได้รับการฉีดวัคซีนที่ค่อนข้างต่ำ และยังคงมีวัคซีนที่นำไปบริหารจัดการนอกกลุ่มอีกจำนวนมากถึงร้อยละ 30.96 ในปี 2563 – 2565 ที่ผ่านมาได้ดำเนินโครงการพัฒนารูปแบบการดำเนินงานไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่จังหวัดตรัง และจังหวัดพัทลุง ซึ่งผลการดำเนินงานสามารถเพิ่มสัดส่วนการนำวัคซีนไข้หวัดใหญ่กลับมาใช้ ในกลุ่มเด็กเล็กได้มากขึ้นโดยผ่านการบริหารจัดการวัคซีนและเครือข่ายระดับอำเภอ รวมไปถึงการสนับสนุนเวชภัณฑ์เพื่อการเตรียมรับมือการระบาดของโรค จากข้อมูล HDC ในปี 2564 จังหวัดสตูลมีสัดส่วนการใช้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ใน 7 กลุ่มเสี่ยง ปี 2564 ได้แก่ 1) หญิงตั้งครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป ร้อยละ 3.76 2) เด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี ร้อยละ 3.04 3) ผู้มีโรคเรื้อรัง ร้อยละ 18.83 4) บุคคลที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป ร้อยละ 44.61 5) โรคธาลัสซีเมียและผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ) ร้อยละ 0.90 6) โรคอ้วน ร้อยละ 1.01 และ7) ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ร้อยละ 0.49 และกลุ่มอื่นๆ ร้อยละ 27.36 ในปี 2566 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา จึงได้นำรูปแบบขยายไปยังจังหวัดสตูลซึ่งอัตราป่วยเป็นอันดับที่ 2 และมีความพร้อมในการดำเนินงานให้สามารถรองรับสถานการณ์การเกิดโรคในพื้นที่ โดยการรวมวางแผนในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้วัคซีนตามกลุ่มเป้าหมายต่อไป
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

ประชุมราชการวางแผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการวัคซีนไข้หวัดใหญ่จังหวัดสตูล สนับสนุนเวชภัณฑ์ การจัดส่ง และการกระจาย วัคซีน ยาต้านไวรัส และ PPE
นิเทศสนับสนุนการดำเนินงานไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่เสี่ยง

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

 

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

 

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

นิเทศสนับสนุนการดำเนินงานไข้หวัดใหญ่ในพื้นที่เสี่ยง

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
สตูล place directions
สตูล place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
22,000.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
กรมควบคุมโรค

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 10:58 น.