directions_run

โครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคและพัฒนากลไกความร่วมมือเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องในโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวข้องเนื่องกับบรมวงศานุวงศ์

stars
1. ชื่อโครงการ
โครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคและพัฒนากลไกความร่วมมือเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องในโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวข้องเนื่องกับบรมวงศานุวงศ์
stars
2. องค์กรที่รับผิดชอบ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา
stars
3. เป้าประสงค์
groups
เป้าประสงค์ที่สอดคล้องกับประเด็นขับเคลื่อน
ส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิการบริการพื้นฐาน

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันโรคอุบัติใหม่ และสนับสนุนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน การตรวจคัดกรองวัณโรค เอดส์ ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบซี ในเรือนจำ ทัณฑสถาน

ลดผลกระทบจากวิกฤตโควิด-๑๙ เสริมศักยภาพให้สามารถเข้าถึงปัจจัย ๔ เพื่อการดำรงชีพ และสามารถช่วยเหลือตนเองได้

เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานป้องกันโรคและสนับสนุนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีนในเรือนจำ ทัณฑสถาน

มีรายได้เพิ่มขึ้น ลดหนี้สินครัวเรือน

 

groups
เป้าประสงค์เฉพาะ
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 12000
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
ผู้ต้องขังในเรือนจำและทัณฑสถานในเขต 12 12,000 -
stars
5. ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่มีความเสี่ยงในประเทศไทย มี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) โรคติดต่ออุบัติใหม่หรืออุบัติซ้ำที่เกิดขึ้นแล้วในประเทศไทย เช่น โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 (2009) เป็นต้น 2) โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจแพร่มาจากต่างประเทศ เช่น โรคไข้เหลือง โรคไข้เวสไนล์ โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา SARS ฝีดาษลิง เป็นต้น และ 3) โรคติดต่ออุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น โรคที่เกิดจากการกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคที่เกิดจากเชื้อดื้อยาชนิดใหม่ ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรค ได้ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องบูรณาการและดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ พ.ศ. 2560–2564 โดยเขตสุขภาพที่ 12 ได้มีการกำหนดพื้นที่เสี่ยงเพิ่มเติมในการดำเนินงาน คือ พื้นที่เสี่ยงที่อาจเกิดการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่และโรคติดต่ออุบัติใหม่ได้ง่าย สถานที่ที่มีผู้คนอยู่รวมกันเป็นจำนวนมาก เช่น เรือนจำ ทัณฑสถาน สถานพินิจ-คุ้มครองเด็กและเยาวชน ในปี 2564 สคร. 12 สงขลา ได้รับแจ้งการระบาดโรคไข้หวัดใหญ่จาก 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 2 เหตุการณ์ ได้แก่ มหาวิทยาลัยในเดือนมีนาคม จำนวน 16 ราย และเรือนจำจังหวัดยะลา ในเดือนมิถุนายน จำนวน 430 ราย และปี 2565 จำนวน 2 เหตุการณ์ ได้แก่ โรงพยาบาลในเดือนมกราคม จำนวน 83 ราย และเรือนจำปัตตานี จำนวน 40 ราย และจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปี 2565 (1 ม.ค. – 26 ก.ย. 2565) พบผู้ป่วยยืนยันในเรือนจำ 235 ราย นอกจากนี้ยังคงมีความเสี่ยง ต่อการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออุบัติใหม่อื่นๆ ในอนาคต เนื่องจากทุกแห่งเป็นสถานที่ที่มีความแออัด สถานที่และสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการติดต่อของโรคต่างๆ โดยมาตรการที่สนับสนุนการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคในเรือนจำที่สำคัญ คือ การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน จากการลงพื้นที่ติดการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคด้วยวัคซีน มีจำนวนผู้ต้องขังรวมประมาณ 11,007 ราย เจ้าหน้าผู้คุมประมาณ 510 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2565) พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ต้องขังได้รับวัคซีน Covid-19 เข็มกระตุ้นเข็มที่ 3 ส่วนในผู้คุมนั้นเริ่มมีการให้บริการเข็มกระตุ้นที่ 4 แต่สำหรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีนหัด ส่วนใหญ่มีการให้บริการได้ร้อยละ 100 ของจำนวนวัคซีนที่ได้รับจัดสรร แต่มีปัญหาการจัดการข้อมูล ไม่มีฐานข้อมูลที่รองรับสำหรับการบันทึกประวัติการรับวัคซีนของผู้ต้องขัง ส่งผลให้มีปัญหาเรื่องการรวบรวมข้อมูลสำหรับการนำมาวิเคราะห์ระดับความครอบคลุมของวัคซีนแต่ละชนิดที่ให้กับผู้ต้องขัง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 จ.สงขลา) ได้มีคำสั่งที่ 319/2563 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2563 แต่งตั้งกลุ่มงานโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่อง กับพระบรมวงศานุวงศ์ (เป็นการภายใน) ให้มีหน้าที่และอำนาจดำเนินการ สนับสนุนการขับเคลื่อน ประสานงาน รวบรวม ติดตามและรายงานผลโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการ ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เหมาะสม เกิดความคล่องตัวในการประสานขับเคลื่อนการดำเนินงาน มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามนโยบายการขับเคลื่อนที่ต้องดำเนินการของ กรมควบคุมโรค จากผลการดำเนินการปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม 2564-30 พฤษภาคม 2565) พบว่า มีการดำเนินงานโครงการพระราชดำริ มี 1 โครงการ คือ โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ โดยมีบทบาทในการประสานการขับเคลื่อนงาน ร่วมตรวจเยี่ยมเสริมพลังโรงพยาบาลแม่ข่าย และราชทัณฑ์ และติดตามผลการดำเนินงาน การบริการสุขภาพในบทบาทด้านการป้องกันควบคุมวัณโรค โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ โรคไข้หวัดใหญ่ และรณรงค์การให้วัคซีนป้องกันโรคหัด ในเรือนจำ โครงการเฉลิมพระเกียรติ มี 1 โครงการ คือ โครงการศักยภาพจิตอาสาในการค้นหาผู้ป่วยโรคเรื้อนรายใหม่ในชุมชนด้วยนวัตกรรมแอพพลิเคชั่นไลน์แอด เฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และ โครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ คือ 1) โครงการเฝ้าระวังป้องกันควบคุมและเสริมศักยภาพเพื่อกำจัดโรคมาลาเรียในพื้นที่โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 2) โครงการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคหนอนพยาธิในนักเรียนและเยาวชนในพื้นที่ถิ่นทุรกันดาร และพื้นที่แผนภูฟ้าพัฒนาตามพระราชดำริ สมเด็จพระขนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 3) โครงการเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าให้หมดไปในปี ค.ศ.2020 ตามพระปณิธานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมาร กรมพระศรีสวางควัฒนวรขัติยราชนารี และ 4) สนับสนุนพระราชกรณียกิจ เช่น รถเก็บตัวอย่างพระราชทาน ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความคล่องตัว จึงจำเป็นต้องจัดทำโครงการสนับสนุนการเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคและพัฒนากลไกความร่วมมือเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องในโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวข้องเนื่องกับบรมวงศานุวงศ์ เพื่อบูรณาการความร่วมมือขับเคลื่อน พัฒนากลไกความร่วมมือเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์
stars
6. รูปแบบการจัดกิจกรรม
Online
Onsite
Hybridge
stars
7. ประเภทของกิจกรรม
การพัฒนากลไก เช่น สนับสนุนกลไกในการทำงาน การรวมกลุ่ม สร้างชุมชนเข้มแข็ง การประสานส่งต่อความช่วยเหลือ

 

การสำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย

สนับสนุนการตรวจคัดกรองวัณโรค เอดส์ ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบซี

การตรวจคัดกรองกลุ่มเป้าหมาย

 

การทำแผน กติกา การขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ การวางแผนครอบครัว

 

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น การส่งเสริมทักษะทางกาย ใจ การนำหลักศาสนามาใช้

 

การป้องกันและลดปัญหา เช่น ด้านยาเสพติด การป้องกันและลดปัญหาด้านโภชนาการ การป้องกันและลดปัญหาด้านเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พร้อม

 

การบริการรักษาสุขภาพ เช่น การพัฒนาระบบบริการเชิงรุก การฉีดวัคซีน การแพทย์ทางร่วม การลดภาวะซีดในหญิงมีครรภ์ การดูแลสุขภาพจิต การใช้สมุนไพรทางเลือก

 

การปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก กายอุปกรณ์

 

การส่งเสริมสุขภาพ

 

การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

 

การรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ สื่อสารสาธารณะ

 

การพัฒนาศักยภาพ เช่น ให้ความรู้ การดูงาน

ประชุมราชการขับเคลื่อนการดำเนินงานในโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์ (Online ร่วมกับ Onsite)

ด้านการเงิน งบประมาณ (การให้ความช่วยเหลือทางการเงิน ปัจจัยการผลิต กองทุนหมุนเวียน กองทุนกลาง การออมทรัพย์ สวัสดิการ)

 

การส่งเสริมอาชีพ การสร้างอาชีพ และรายได้ ลดรายจ่าย

 

การส่งเสริมการตลาดในชุมชน การส่งเสริมตลาดกรีน/ตลาดอาหารสุขภาพ

 

การบังคับใช้กฏหมาย

 

การเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง

 

การประเมินติดตามผล

นิเทศ กำกับ ติดตาม เยี่ยมเสริมพลัง และประเมินผล การดำเนินงานในโครงการพระราชดำริ โครงการเฉลิมพระเกียรติ และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับพระบรมวงศานุวงศ์

การจัดการความรู้ งานวิจัย

 

อื่นๆ

 

stars
8. พื้นที่ดำเนินการ
จังหวัดอำเภอตำบลลักษณะพื้นที่
ตรัง เมืองตรัง place directions
นราธิวาส เมืองนราธิวาส place directions
ปัตตานี เมืองปัตตานี place directions
ยะลา เมืองยะลา place directions
ยะลา เบตง place directions
สตูล เมืองสตูล place directions
สงขลา เมืองสงขลา place directions
สงขลา นาทวี อื่น ๆ place directions
พัทลุง เมืองพัทลุง place directions
stars
9. งบประมาณ
งบประมาณ
157,600.00 บาท
ได้รับงบประมาณจาก
กรมควบคุมโรค

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 27 ม.ค. 2566 11:24 น.